หัวข้อ: กาลามสูตร 10 ประการ ในพระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ กรกฎาคม 13, 2012, 04:58:18 PM พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย.......... *อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา *ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา *อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินว่าอย่างนี้ *อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา *อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง *อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน *อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ *อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตน *อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้ *อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรม เหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้ บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ปราศจากความ โลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติ มั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอด โลก ทั่วสัตว์ทุกข์เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วย อุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประโยชน์มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่ เศร้าหมองอย่างนี้มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการใน ปัจจุบันว่าก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็นเครื่อง ให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจ ข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดี ทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่ ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าเมื่อ บุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใครๆ ไหนเลยทุกข์ จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๓ นี้ พระอริย สาวกนั้นได้แล้ว ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็น ตนว่าเป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๔ นี้ พระอริย สาวกนั้นได้แล้ว ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่มีเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้ว อย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน ฯ กา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น อย่างนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิต ไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ท่านย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบัน ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระองค์โปรดทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป หัวข้อ: Re: กาลามสูตร 10 ประการ ในพระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: yusamui ที่ กรกฎาคม 23, 2012, 01:21:42 PM ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย.......... *อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา *ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา *อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินว่าอย่างนี้ *อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา *อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง *อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน *อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ *อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตน *อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้ *อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา หลักความเชื่อกาลามสูตร 10 ประการ นี่ดูเหมือนหลายคนจะท่องกันได้ แต่ในทางปฏิบัติกลับเชื่อกันง่ายดายไปหมด 1*อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา 2*ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา 3 *อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินว่าอย่างนี้ 3 ข้อนี้ส่วนมากจะตรงกันข้าม ส่วนใหญ่เมื่อได้ยินเรื่องเราอะไรมา มักจะเชื่อไว้ก่อน เช่นได้ยินข่าวว่าหมอดูแม้น เรื่องพระยานาค ผีสางนางไม้ ข่าวลือต่างๆ เชื่อกันไปหมด ทั้งที่ตัวเองยังไม่ได้เห็น 4*อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา ข้อนี้สำคัญ ส่วนใหญ่ เมื่อได้ไปอ่าน ตำรา หนังสือ พระไตรปิฏก ก็เชื่อตามตัวหนังสือเสียหมดสิ้น โดยไม่เคยสืบสาวราวเรื่องก่อน (โดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาธรรมะ) 5*อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง 6*อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน 7*อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ 8*อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตน 4 ข้อนี้ คือเชื่อโดยไม่มีเหตุผล เอาตัวเองเป็นใหญ่ มักจะไม่รับฟังคนอื่นๆ 9*อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้ 10*อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา 2 ข้อ สุดท้ายนี้ แม้นพระพุทธองค์ ทรงยอมให้พุทธบริษัทพิสูจน์พระองค์ก่อน ที่จะเชื่อในเรื่องที่พระองค์สอน ซึ่งจะต่างจากศาสดาคนอื่น ที่ไม่เปิดโอกาศให้สงสัยเลย |