หัวข้อ: จะเริ่มอันไหนดีก่อนครับ เริ่มหัวข้อโดย: mankho2001 ที่ กรกฎาคม 26, 2012, 01:17:57 PM ระหว่างวิปัสนา กับสมถะ ใช้ต่างกันยังไง เริ่มอันไหนก่อนดีครับ
หัวข้อ: Re: จะเริ่มอันไหนดีก่อนครับ เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 27, 2012, 09:56:29 AM สมถะ แบ่งเป็นทางใหญ่ๆ สองทางคือ
1.การเพ่งอารมณ์ เพื่อให้จิตเสพกับอารมณ์นั้น อยู่ตลอดเป็นการพักผ่อนเพื่อไม่ให้จิตส่งออกข้างนอก เช่น ท่องพุธโธๆ ระหว่างที่ทำสมถะ หรือการดูลมหายใจ เข้า - การดูลมหายใจออก , การดู ท้องพอง-ท้องยุบ เป็นต้น 2.การเห็นลักษณะของอารมณ์ คือสมถะ เพื่อให้จิตตั้งมั่น เพื่อใช้ในการเดินวิปัสสนา สมถะแบบนี้จะทำให้จิตมีความตั้งมั่น เช่น ท่องพุทโธๆ ไปเรื่อยๆ แล้ว เมื่อมีจิตส่งออกนอก คือหลงไปคิด ปรุงแต่ง เรื่องไรขึ้นมา ให้รู้ทัน จะทำให้จิตตั้งมั่นขึ้นมา ชั่วครู่ แล้วถ้าหลงไปใหม่ ก็ให้รู้ทันใหม่ ส่วนวิปัสสนา คือการตามรู้ ตามเห็น ตามความเป็นจริงลงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การปฏิบัติภาวนาวิปัสสนาต้องอาศัยจิตที่ตั้งมั่น มาตามรู้ตามเห็น สภาวะ ที่เกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ให้เห็นในลักษณะจนจิตมีความรู้เป็น สัมมาทิฏฐิ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต้องรักษาไว้เสมอ คือ ศีล ต้องมั่นคงในศีลด้วยนะครับ สาธุ หัวข้อ: Re: จะเริ่มอันไหนดีก่อนครับ เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ สิงหาคม 14, 2012, 11:05:31 PM แนะนำ นะท่าน
ไปดาวน์โหลด หลวงพ่อปราโมทย์มาฟัง เหอะ แล้ว น้ำตาจะไหล เพราะ การมีครูบาอาจารย์ ที่รู้จริง และ ยังมีแรงสอน พวกเรา อยู่ มีน้อย เหลือเกินแล้วๆๆๆๆ ;D หัวข้อ: Re: จะเริ่มอันไหนดีก่อนครับ เริ่มหัวข้อโดย: yusamui ที่ สิงหาคม 21, 2012, 12:32:30 PM ระหว่างวิปัสนา กับสมถะ ใช้ต่างกันยังไง เริ่มอันไหนก่อนดีครับ ไปแบบควบคู่กันครับ หัวข้อ: Re: จะเริ่มอันไหนดีก่อนครับ เริ่มหัวข้อโดย: AVATAR ที่ สิงหาคม 21, 2012, 07:56:53 PM สมถะหรือวิปัสสนาก่อน ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ? พระอานนท์ตอบ ว่า “....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....” ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐) ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔ ตอ. G.S. II : ๑๖๒ |