หัวข้อ: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 31, 2012, 08:55:02 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20091012150059_img_5910.jpg)
~ ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม ~ "อยากปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมนะ ต้องทำอย่างนี้ 1. มักน้อย - หมายถึงมีเยอะก็บริโภคน้อย 2. สันโดษ - ก็ยินดีพอใจในสิ่งที่ได้มา จากการที่เราทุ่มเททำงานเต็มที่ กระทั่งเราภาวนานะ เราทำเต็มที่แล้วมันได้แค่นี้ก็พอใจแค่นี้ นี่สันโดษ 3. ไม่คลุกคลี - ไม่เฮๆฮาๆ 4. ปรารภความเพียร - วันๆนึงก็คิดแต่จะสู้กิเลส จะล้างกิเลสออกจากใจ จะปลดความทุกข์ออกจากใจ 5. ฝึกสติ - ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก 6. ฝึกสมาธิ - (เช่น) พุทโธไป หายใจไป จิตไหลไปคิดก็รู้ จิตไหลไปเพ่งก็รู้ พอเราฝึกได้สติ เราฝึกได้สมาธิ แล้วคราวนี้เราต้องเจริญปัญญาต่อ 7. การเจริญปัญญา - ก็คือการมีสติรู้กายรู้ใจตามที่เค้าเป็น แต่ต้องรู้ด้วยจิตที่ทรงสมาธิ คือจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางอยู่ ถ้าจิตไม่ทรงสมาธิ จิตก็ไหลไป ไปรู้ลมหายใจ จิตก็ไหลไปที่ลมหายใจ มันก็ไม่เกิดปัญญา ถ้าสติระลึกรู้ลมหายใจ มีจิตตั้งมั่นเป็นคนดู มันจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจไม่ใช่ตัวเรา เห็นเองเลย จะเห็นเลย เห็นแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การเจริญปัญญานั้นต้องเห็นไตรลักษณ์ ในนักธรรมเอกเค้าสอนบอกว่า - ถ้ามีปัญญานะ เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร จิตจะเบื่อหน่ายในความทุกข์ นี่คือทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้น - ถ้าเรามีปัญญาเห็นความทุกข์ของสังขารนะ จิตจะเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่คือทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้นเหมือนกัน - ถ้าเราเห็นสภาวะทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา มีปัญญาเห็นสภาวะทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา จิตก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์อีก นี่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้น เพราะงั้นทางแห่งความบริสุทธิ์ ทางแห่งวิสุทธิ คือ การที่เรามีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของรูปของนามของกายของใจนั่นเอง นี่หลักของวิปัสสนากรรมฐานอยู่ตรงนี้เอง ถ้าเรามีความมักน้อย มีความสันโดษ มีความไม่คลุกคลี เราปรารภความเพียร เราพัฒนาสติ พัฒนาสมาธิ พัฒนาปัญญาเรื่อยไป ในที่สุดวิมุติก็ต้องเกิด ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจะต้องเกิดขึ้นมา นี่เป็นทางเดินที่พระพุทธเจ้าท่านวางไว้ สอนเอาไว้ *พวกเราต้องเดินตาม* ถ้าเราทำธรรมะที่หลวงพ่อบอกนี้ได้นะ เรามักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร มีสติ สมาธิ ปัญญา ๗ ประการนี้ได้ เราจะเจอประการที่ ๘ คือ “ไม่เนิ่นช้า” (http://www.kammatan.com/gallary/images/20091012150046_img_5909.jpg) ธรรมะของพระพุทธเจ้า ธรรมะของมหาบุรุษประการที่ ๘ “ไม่เนิ่นช้า” เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างรวดเร็วมากเลย แล้วเราจะทึ่งว่าพระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง พระสงฆ์มีจริง เราจะเชื่อแน่นแฟ้นเพราะเราเห็นด้วยตัวของเราเองไม่ใช่เชื่อเพราะน้อมใจเชื่อ" หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันอาทิตย์ ที่ ๒๕ มีนาคม 2555 หัวข้อ: Re: ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เริ่มหัวข้อโดย: noot2010 ที่ มกราคม 04, 2014, 07:42:21 AM ขอบคุณมากๆจ้า สำหรับหลักปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม 7 ข้อ ;D
หัวข้อ: Re: ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 10, 2014, 09:30:42 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20120118193433_lpld.jpg)
พระศาสดาท่านทรงสอนทิ้งท้ายด้วยเรื่อง ความไม่ประมาท ผมจึงต้องอัญเชิญเรื่อง ความไม่ประมาท มาเป็นธรรมทิ้งท้ายให้กับพวกเรา เพราะไม่มีธรรมอันใด สมควรเป็นของฝากส่งท้ายมากกว่านี้อีกแล้ว เมื่อผมไม่อยู่แล้ว วันใดที่นึกถึงผม ขอให้นึกถึง รู้ คือนึกถึงการเจริญสติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดที่มนุษย์ ผู้หนึ่งควรปฏิบัติให้ได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุด จากการได้เป็นมนุษย์ในยุคที่พระศาสนายังรุ่งเรืองอยู่ คุณปราโมทย์ วันพฤหัสที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ หัวข้อ: Re: ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 22, 2014, 10:22:00 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20140922222137_ajan_pramote.jpg)
ถาม: การแยกจิตผู้คิด กับจิตผู้รู้ออกจากกันทำยังไงคะ เวลานั้นยังคงเป็นจิตดวงเดียวกันหรือเปล่าคะ เรื่อง "จิตคิด" กับ "จิตรู้"ที่จริงถ้าเราแยกนามธรรมได้ชำนาญ เราจะไม่กล่าวถึง "จิตคิด" กับ "จิตรู้"เพราะจิตนั้น มันมีคุณสมบัติหลายอย่าง ตั้งแต่ รู้สึก จำ คิด รับรู้ และเสพอารมณ์หากเราแยกนามได้ชำนาญ เราจะพบว่า คุณสมบัติแต่ละอย่างของจิตนั้นก็คือนามขันธ์ แต่ละตัวนั่นเองคือความรู้สึกสุข ทุกข์ ก็คือเวทนา ไม่ใช่จิตความจำก็คือสัญญา ไม่ใช่จิตความคิดนึกปรุงแต่งก็คือสังขาร ไม่ใช่จิตความรับรู้ก็คือวิญญาณ ไม่ใช่จิตเอาเข้าจริง สิ่งที่เราเรียกว่าจิต ก็ไม่ใช่จิตแต่เพราะเราไม่รู้เท่าทัน ไม่ปล่อยให้ขันธ์แต่ละขันธ์เขาทำหน้าที่ของเขา จึงไปยึดเอานามธรรมว่าเป็นจิตเรา แล้วให้มันร่วมมือกันทำงานจนหลอกเราได้ เช่น -พอรู้ว่ามีความสุข ก็ยึดเอาว่า จิตสุข หรือเราสุข ไม่ได้เห็นว่าความสุข ก็เป็นสิ่งภายนอก เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา -พอมีความจำได้หมายรู้ ก็ยึดว่าเราจำได้หมายรู้ ไม่เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา -พอมีความคิดนึกปรุงแต่ง ทั้งที่เป็นอกุศล กุศล และเป็นกลางก็ว่าจิตเราดี จิตเราชั่ว จิตเราเป็นกลาง ไม่เห็นว่าความคิดนึกปรุงแต่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา -พอมีความรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ว่าจิตเรารับรู้ ไม่เห็นว่าความรับรู้เป็นสภาพธรรมที่เป็นอิสระ อยู่นอกเหนือการบังคับบัญชาของเรา จิตนั้นอาศัย "จิตตสังขาร" คือเวทนา สัญญา และสังขาร จึงรู้สึกว่าเป็นจิต ขอเพียงปล่อยวางนามขันธ์เสียให้หมด ไม่เห็นว่าเป็นเราธรรมชาติรับรู้ล้วนๆ ก็จะปรากฏขึ้นและธรรมชาติอันนั้น จะไม่มีความรู้สึกแม้แต่นิดเดียวว่า เป็นตัวเรา หรือจิตเราอย่าไปสำคัญว่า นี่คือจิตรู้ จิตคิด จิตจำ จิตเห็นสิ่งเหล่านั้น เป็นการประกอบกันขึ้นของนามขันธ์เท่านั้นเองครับรักษาสติ สัมปชัญญะไว้ให้แจ่มใส ต่อเนื่องรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง รูป และนาม เขาจะทำหน้าที่ของเขาไปตามเหตุปัจจัย ให้ดูต่อหน้าต่อตาทีเดียว ถาม: ธรรมชาติรับรู้คืออะไรคะ ไม่ใช่จิตแล้วเป็นอะไร ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ก็คือจิตนั่นแหละครับ เพียงแต่ เมื่อจิตไม่ถูกปรุงแต่งด้วยความคิดนึกปรุงแต่ง (สังขารขันธ์)จิตจะไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่า มันคือจิต ที่มันคิดว่า อันนี้คือจิต และเป็นเรา ก็เพราะสังขารหรือความคิดนึกปรุงแต่งนั่นเองท่านจึงสอนว่า "สังขารทั้งหลาย สงบเสียได้ เป็นสุข"คือจิตที่พ้นจากความปรุงแต่งนั้น มันเป็นสุข เป็นอิสระโดยไม่ต้องอิงอาศัยอารมณ์ภายนอกเลย ถาม: การรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง หมายถึง เรารู้สิ่งที่กำลังเกิดตอนนั้นว่า เกิดจากเหตุปัจจัยอะไร แล้วไม่เข้าไปยึดมั่นหมายมั่น ใช่รึเปล่า เราเพียงรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจรู้อย่างเดียวก็พอครับ ไม่จำเป็นต้องไปใช้ความคิดว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่งนี้เกิดจากอะไรเพราะขณะที่หลงคิดนั้น เราไม่ได้รับรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้นแล้ว แต่หลงไปในโลกของความคิดเสียแล้ว ก่อนที่เราจะรู้สภาพธรรม หรืออารมณ์ที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงได้นั้น จิตจะต้องมีสัมมาสมาธิเสียก่อนคือ จิตจะต้องตั้งมั่นไม่วอกแวก รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏด้วยความเป็นกลาง และไม่มีความยินดียินร้ายต่ออารมณ์นั้น จิตจึงจะเห็นสภาพที่แท้จริงของอารมณ์หรือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริงได้แต่ ถ้าระหว่างที่รู้อารมณ์อยู่นั้น จิตเกิดความยินดียินร้ายขึ้นแล้วเกิดแรงผลักดันให้เข้าไปยึดถือ หรือให้มีพฤติกรรมต่างๆ ก็ให้รู้ทันจิตใจตนเองที่กำลังถูกผลักดันด้วยกระแสตัณหา ไม่ใช่ไปกดข่มไม่ให้จิตยินดียินร้ายนะครับ ถาม: เคยฝึกให้สมองตัวเองว่างโดยการคิดว่า ตอนนี้กำลังคิดอะไรอยู่ฉะนั้น พอลองมองดูจิต ผมก็เลยไปมองดูว่า ตอนนี้คิดอะไรอยู่ ไม่ทราบถูกหรือเปล่าแล้วก็กลายเป็นว่า หาอะไรไม่เจอครับ ทั้งความคิด ทั้งอารมณ์ ขณะนั้นไม่ทราบว่า ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรครับ แล้วอีกอย่างหนึ่งผมจะรู้ได้ยังไงว่า ตัวรู้ผมอยู่ตรงไหนครับแล้วตัวรู้มันออกอาการยังไงบ้างครับ ผมแยกไม่ออกครับ ระหว่างความคิด กับตัวรู้ครับ เรื่องตัวรู้นั้น มันไม่มีตัว มีตน หรือมีจุด มีดวง อะไรหรอกครับเอาเข้าจริงในการปฏิบัตินั้น ก็มีแต่เรื่อง จิต กับ อารมณ์"จิต" เป็นผู้รู้ ผู้คิด ผู้นึกส่วน "อารมณ์" เป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ (สิ่งที่รู้ได้ทางใจ) เวลาที่คุณเกิด "ความสงสัย"ถ้ามีสติระลึกรู้เข้าไปที่ความรู้สึกสงสัยนั้น (ไม่ใช่รู้ "เรื่อง" ที่สงสัย นะครับ แต่รู้ที่ "ความรู้สึก" สงสัย) จะเห็นชัดว่า ความสงสัยเป็นสิ่งที่ถูกรู้ในร่างกายและจิตใจเรานั้น มีอีกสิ่งหนึ่ง ที่เป็นผู้ไปรู้ความสงสัยนั้นเข้า อันนี้แหละครับที่สมมุติเรียกไปก่อนว่าผู้รู้เอาเข้าจริง ผู้รู้ ก็คือจิตที่ประกอบด้วยสติ สัมปชัญญะ อุเบกขา เอกัคตาหรือจิตที่ประกอบด้วยสัมมาสมาธินั่นเอง คือเป็นจิตที่เป็นผู้รู้ ที่มีความเป็นกลางและตั้งมั่น ไม่หลง"ไหล" ไปตามอารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า (ผมจงใจใช้คำว่า หลง"ไหล" ไม่ได้ใช้คำว่า หลงใหล) ในขั้นแรก อย่าพยายามไปค้นหาจิตผู้รู้ เพราะหาอย่างไรก็หาไม่พบ เนื่องจากจิตกำลังหลงอยู่กับอาการเที่ยวค้นหาผู้รู้ แต่ให้พยายามรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏไปก่อนเช่น สงสัย ก็รู้ว่าสงสัย เห็นชัดว่าความสงสัยไม่เที่ยง คือมีระดับความรุนแรงของความสงสัย ที่ไม่คงที่เดี๋ยวก็สงสัยมาก เดี๋ยวก็สงสัยน้อย เดี๋ยวก็ดับหายไปจิตก็จะว่างๆ อยู่ ต่อมาความคิดเกิดขึ้นอันนี้อย่าไปเพ่งใส่ความคิดนะครับ มันจะดับไปเฉยๆ ควรปล่อยให้จิตมันคิดของมันไปเมื่อจิตทำงานอยู่อย่างนั้น ไม่นานก็จะเห็นกิเลสตัณหาต่างๆ เกิดขึ้นอีกหรืออาจเกิดเวทนา เช่น รู้สึกเป็นสุขสบาย หรืออึดอัดขัดข้องใจก็ให้รู้สภาวธรรมทั้งปวงที่ปรากฏขึ้นนั้น ในลักษณะเดียวกับที่รู้ความสงสัยนั่นเองคือให้รู้มัน ในฐานะที่มันถูกรู้ แล้วมีผู้รู้เป็นคนดูอยู่ต่างหากหัดทำอย่างนี้ไม่นาน ก็จะเข้าใจได้ว่า อะไรคือจิต (ผู้รู้) อะไรคืออารมณ์ (ที่ถูกรู้) และเห็นสิ่งที่ถูกรู้ แสดงไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลารวมทั้งเห็นด้วยว่า เมื่อใดจิตเกิดความยินดียินร้ายต่ออารมณ์จิตเข้าไปยึดอารมณ์ จิตจะเกิดทุกข์พอรู้ทันอย่างนั้น จิตจะกลับมาตั้งมั่น เป็นกลาง และรู้อารมณ์ต่อไปอีกจิตเพียง "รู้สักว่ารู้" จะเห็นอารมณ์เกิดดับไปเรื่อยๆ โดยจิตเป็นกลาง ไม่เข้าไปแทรกแซงอารมณ์ก็ให้เพียรปฏิบัติไปมากๆ ครับ ถาม: ในพาหิยสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่ได้กล่าวถึง การบรรลุอรหัตตผลของท่านพาหิยะ เมื่อได้อ่านครั้งแรกผมก็มีความรู้สึกว่า "เป็นไปได้" แต่ผมไม่รู้ว่า "เป็นไปได้อย่างไร"เพียงคำว่า "สักแต่ว่าๆ " ไม่น่าจะทำให้คนๆ หนึ่ง สามารถบรรลุอรหัตตผลได้เลย ไม่มีเหตุผลกลใดเลย ที่จะทำให้เราคิดออกว่า จะเป็นไปได้ด้วยเหตุผลกลใดผมไม่สงสัยในความเป็นไปได้ แต่ผมสงสัยว่า "เป็นไปได้อย่างไร" ถ้าสติปัญญาทำงานทันผัสสะจริงๆจึงจะ "สักแต่ว่า" ได้ครับคือ จิตไม่ปรุงแต่งต่อไป รู้แล้ววางอยู่แค่นั้นเลย หรือแม้ว่า จิตจะปรุงแต่งต่อไปอีกถ้าจิตไม่หลงยึดถือไปตามความปรุงแต่งนั้น อันนี้ก็ยังถือว่า "สักแต่ว่า" ได้เหมือนกัน เมื่อวานซืน ยืมลูกคุณหมอท่านหนึ่งมาเป็นอุปกรณ์ทางการศึกษาคือชี้ให้ดูว่า สิ่งที่เห็นเป็นเด็กนั้น ที่จริงคือสีที่ตัดกันเท่านั้นแล้วตาก็ไม่รู้หรอกว่า นี่สีอะไร รวมกันแล้วเป็นรูปอะไรอาศัยสัญญา จึงรู้ว่า นี้เป็นรูปที่บัญญัติเรียกว่าอะไรเมื่อจิตรู้ว่า นี้คือลูกแล้วสังขารคือความคิดนึกปรุงแต่งก็ทำงานต่อ มีความรักเกิดขึ้นปกติจิตของเราทำงานเร็วมากในทางทฤษฎี ถ้าตาเห็นสีแล้วหยุดอยู่เพียงนั้น ก็เรียกว่า สักแต่ว่าเห็นแต่ในความเป็นจริง ช่วงต่อระหว่างที่ตาเห็นสี กับสัญญาแปลความหมายนั้นสั้นมากพอเห็นปุ๊บ ก็สรุปว่านี้คือ ลูกเรา เสียแล้วแล้วสังขารก็ทำงานต่ออย่างรวดเร็วปรุงเป็นความรักใคร่หวงแหนห่วงใยขึ้นมาแล้ว นักปฏิบัติที่ยึดตำรามากเกินไป ที่บอกว่าทำสติรู้ สี อย่างเดียวนั้นเอาเข้าจริงจึงเป็นการหลอกตัวเอง เพราะพอเกิดผัสสะทางตาแล้ว วับเดียวก็เกิดผัสสะทางใจตามมาแล้วถ้าเมื่ออารมณ์ทางใจเกิดขึ้น แล้วทำเป็นไม่รับรู้เพราะ "อยาก" รู้สีอย่างเดียว เพื่อให้เป็นปัจจุบันและต่อเนื่อง มันจึงไม่ใช่ปัจจุบัน เพราะ ปัจจุบันมันย้ายไปเป็นอารมณ์ทางใจเสียแล้ว เมื่ออารมณ์ทางใจปรากฏเด่นชัด ก็ควรรู้มัน ไม่ใช่ปฏิเสธมัน เพราะจะเอาแต่รู้อารมณ์ทางตาอย่างเดียว แต่การรู้อารมณ์ทางใจนั้น ก็ให้ "สักแต่ว่ารู้"คือรู้ตามที่มันเป็น ไม่ใช่หลงปล่อยให้เกิดตัณหาผลักดันจิต ให้ทะยานเข้าไปยึดอารมณ์แบบไม่รู้ทัน รวมความแล้ว สักแต่ว่า ก็ต้องอาศัย สติ รู้อารมณ์ตามที่มันเป็นตามที่คุณถามไว้นั่นเอง แม้ตอนแรกจะรู้อารมณ์ทางตา ขณะต่อมารู้อารมณ์ทางใจก็สามารถ สักแต่ว่ารู้ ได้ทั้งนั้น ทั้งที่ตาและที่ใจหากไม่สักแต่ว่ารู้ อะไรจะเกิดขึ้น?สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือปฏิจจสมุปบาทจาก ผัสสะ เวทนาตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ จนถึงทุกข์ นั่นเองหากสักแต่ว่ารู้ แม้มันจะก้าวกระโดดจากการรู้สีด้วยตา ไปรู้ธรรมารมณ์ทางใจก็ตาม จิตที่ไม่หลงยินดีไปกับธรรมารมณ์ ก็จะไม่ปรุงแต่งจนเกิดความทุกข์ขึ้นมา คำว่า "สักแต่ว่า" จึงเป็นสิ่งที่จะตัดวงจรของปฏิจจสมุปบาทให้ขาดตอนลงไม่เกิดตัณหา อุปาทาน ขึ้นหรือแม้เกิดตัณหา ก็ไม่ หลง "ไหล" ตามตัณหาไปจนเป็นอุปาทานท่านพระพาหิยะ ฟังธรรมแค่ สักแต่ว่า สักแต่ว่า เพียง ๑-๒ คำท่านเข้าใจ และตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทขาด และท่านก็เข้าใจปฏิจจสมุปบาท หรืออริยสัจจ์ตลอดสายคือ "รู้" ว่าทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่เกิดขึ้นได้อย่างไรอวิชชา ความ "ไม่รู้" ก็ขาดออกจากจิตของท่านในขณะนั้น หัวข้อ: Re: ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 04, 2015, 05:07:16 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20150104170626_luangpor_pramote_2015.jpg)
พรปีใหม่ 2558 จากหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี. หัวข้อ: Re: ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 08, 2015, 01:01:31 PM จิตแต่ละคนมันมีพลังนะ
จิตที่ดี ไปสัมผัสกับวัตถุนะ วัตถุก็มีพลังที่ดี จิตที่ไม่ดี ไปสัมผัสอะไร ก็มัวไปหมด งั้นพวกเรา...พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีนะ ทำจิตของเราให้สว่างไสว เข้าใกล้ใคร เค้าก็สว่างไปด้วย อย่าเข้าใกล้ใคร เค้ามืดไปด้วยล่ะ อยู่ในบ้านเรานะ บ้านเราสว่าง กลางวันก็สว่าง กลางคืนก็สว่าง จิตเราสว่าง ถ้าใจเรามืดนะ อยู่ไหนก็มืดหมดอ่ะ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2015, 10:15:59 AM "ท่านบอกว่าบุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา จะบรรลุมรรคผลได้ก็ด้วยปัญญานี่แหละ
แต่อยู่ๆ ปัญญาไม่เกิดหรอก ต้องมาเจริญสตินะ พัฒนาสติขึ้นมาก่อน ในสติปัฏฐานเบื้องต้นท่านสอนให้เกิดสติ เบื้องปลายท่านสอนให้เกิดปัญญา" พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่บ้านจิตสบาย วันที่ 1 ก.พ. 58 หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 07, 2015, 04:33:46 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20150307163323_luangpor_pramote.jpg)
ครูบาอาจารย์ท่านสอนมา ตั้งหลักให้ดีๆนะ........ เรารู้จักดำรงชีวิตนะแล้วทุกข์น้อยหน่อย ไม่รู้จักดำรงชีวิตทุกข์เยอะ... ยังไม่มี ก็ดิ้นรนเป็นทุกข์อยากให้มีนะ มีแล้วก็ดิ้นรนกลัวมันหายไป...ทุกข์ทั้งนั้นเลย มาเรียนรู้ความจริงนะ แล้วก็ตั้งอกตั้งใจภาวนาไป เราต้องพ้นทุกข์ให้ได้ เราภาวนาเพื่อพ้นทุกข์... ไม่ใช่เพื่อชื่อเสียงเพื่อให้คนนับถือ.. ไม่ใช่เพื่อมีศีลไว้อวดกัน.. ไม่ใช่เพื่อทำความสงบจิต.. ไม่ใช่เพื่ิอความฉลาดรอบรู้ในธรรมะ.. เราภาวนาเพื่อให้เห็นความจริงของ รูป นาม กายใจนี้ มันจะปล่อยวาง ไม่ทุกข์หรอก ถ้ายังทุกข์อยู่ไม่จริงหรอก ภาวนายังไม่จริงหรอก ยังผิด ยังมีหน้าที่ต้องทำอีก งานหลักของเราคือเพื่อยกระดับใจของตัวเองนะ ไม่ใช่เพื่อชนะคนอื่นนะ ตั้งหลักไว้ให้ดี. ^__^ กราบสาธุเจ้าคะ โอวาทธรรม หลวงพ่อ ปราโมทย์ ปราโมชฺโช หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 09:03:48 AM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20150712090320_luangpor_pramote.jpg)
หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 06, 2015, 10:01:33 AM (http://kammatan.com/gallary/images/20090907143409_dsc___8824.jpg)
# เช้านี้ ที่สวนสันติธรรม # ห้าธันวาฯ คนที่ทำอะไรเพื่อคนอื่นได้ขนาดนี้ ไม่ธรรมดา ครูบาอาจารย์บอกว่า ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ หลวงพ่อไม่รู้หรอกนะ อดีตท่านจะเป็นใครมา อนาคตท่านจะเป็นพระพุทธเจ้าหรือเปล่า หลวงพ่อก็ไม่รู้ด้วยหรอก แต่รู้ว่าปัจจุบันน่ะ ท่านไม่มีใครเหมือนเลย คนซึ่งมีอำนาจในบ้านเมืองเรา เป็นที่พึ่งไม่ได้เลย ก็เห็นท่านอยู่องค์เดียวนี่แหละ ท่านอายุเยอะ ไม่ค่อยสบาย บางคนก็ปรามาส ว่าท่านไม่สบาย ทำอะไรก็ไม่ได้ ฯลฯ อะไรอย่างนี้ ลืมคิดไปนะ อย่างพ่อแม่เรา เลี้ยงเรามาจนโตแล้ว พอพ่อแม่เราแก่แล้ว เราไปปรามาสพ่อแม่ ก็อกตัญญู หลวงพ่อเห็นมานาน ตั้งแต่สมัยไหน ๆ เวลาบ้านเมืองวุ่นวาย ก็ได้ท่านนี่แหละ เข้ามาจัดการช่วย หลายยุคหลายสมัย รอดมาได้ แต่ก่อน คนบ้านนอก ไม่มีคนสนใจ ท่านก็สนใจเข้าไปพัฒนา ไปช่วย คนที่ทำงานมาตลอดชีวิตขนาดนี้นะ ไม่ยกย่อง ก็ไม่รู้จะไปยกย่องใครแล้ว . . . . . . . . วันนี้เราฟังธรรม มาทำบุญทำทาน เจริญสติกัน หายใจออก รู้สึกตัว หายใจเข้า รู้สึกตัว เคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน รู้สึกตัว ใจมีสมาธิ ใจเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เห็นร่างกาย เห็นจิตใจ ไม่ลืมมัน มีสมาธิ ได้บุญตรงนี้ก็คิดถึงท่าน ขอให้ท่านมีส่วนแห่งบุญของเราด้วย หรือเราสามารถมากกว่านั้น แยกรูปนามได้แล้ว เห็นรูปนามแสดงไตรลักษณ์ได้ เราทำวิปัสสนา เป็นบุญใหญ่กว่าสมาธิเสียอีก บุญของการเจริญปัญญา เป็นบุญสูงที่สุด งั้นพวกเราลองรู้สึกซิ กายกับใจคนละอันกัน รู้สึกไหม ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ขณะนี้จิตใจเราสุข หรือจิตใจเราทุกข์ ดูออกไหม เห็นไหมว่า ความสุข ความทุกข์ ที่กำลังปรากฎอยู่ ไม่ใช่ใจเราหรอก เป็นสิ่งที่ใจเราไปรู้เข้า เห็นไหมว่า ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ ไม่คงที่ สุขมาก แล้วก็เหลือลดลง ลดลง แล้วก็เป็นอุเบกขา ความทุกข์ พอเราไปรู้ ก็ลดลง ๆ ก็เป็นอุเบกขา ความสุข มันเหมือนคลื่นนะ สูงขึ้นไป ความทุกข์ มันเหมือนน้ำที่ยุบลงบนคลื่น สูงบ้างต่ำบ้าง จิตที่อุเบกขา เหมือนจิตที่ไม่มีคลื่น ไม่มีลม ราบเรียบ สบาย ดูออกไหม ว่าความสุข ความทุกข์ ไม่คงที่ นี่คือการเจริญปัญญา เราเจริญปัญญาแล้วเป็นบุญเป็นกุศลนะ นึกถึงพระเจ้าอยู่หัวนะ ขอให้ท่านมีส่วนแห่งบุญนี้ด้วย [หลวงพ่อเว้นช่วง ญาติโยมร่วมน้อมจิตระลึกถึงพระเจ้าอยู่หัว] . . . . . . . . ที่จริงเราทำบุญหลายอย่างนะวันนี้ บางคนก็ทำทาน เอาอาหารมา ก็เป็นบุญ บางคนก็ไปช่วยเขาจัดโต๊ะ ช่วยเขาทำโน้นทำนี้ เป็นไวยาวัจมัย ก็เป็นบุญ การที่พวกเรามานั่งฟังธรรม การฟังธรรม ก็เป็นบุญ การแสดงธรรม ก็เป็นบุญ เห็นไหม บุญอยู่รอบ ๆ ตัวเรา เยอะแยะไปหมดเลย นี่ถ้าเรารู้จักนะ ใจเราระลึกถึง อารมณ์ที่เป็นบุญเป็นกุศลไปเรื่อย บางอย่างก็เป็นบุญ บางอย่างเป็นทั้งบุญ เป็นทั้งกุศล ถ้าประกอบด้วยปัญญา ก็เป็นกุศลอย่างใหญ่ [หลวงพ่อเว้นช่วง ญาติโยมร่วมระลึกถึงบุญกุศลรอบตัวเราวันนี้] นี่นึกถึงนะ ใจของเราขณะนี้เป็นกุศล อันใหญ่เหมือนกัน นึกถึงพระเจ้าอยู่หัวนะ ขอให้ท่านแข็งแรง ให้ท่านมีความสุข เหมือนที่ท่านได้ให้ความสุข กับคนอื่นมามากแล้ว _/\_ [หลวงพ่อเว้นช่วง ญาติโยม ร่วมระลึก น้อมถวายพระราชกุศลแด่พระเจ้าอยู่หัว] ปฏิบัตินะ ปฏิบัติบูชาท่าน . . . . . . . . #หลวงพ่อปราโมทย์ ๕ ธ.ค. ๒๕๕๘ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 10, 2016, 02:04:52 PM พวกเราแต่ละคนอยู่กับโลก
โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ สังเกตดูโลกมันไม่เคยหยุดนิ่ง โลกไม่เคยมีความสุขที่แท้จริงเลย สำรวจชีวิตของเราดู.... ปัญหาก็วิ่งเข้ามากระทบตัวเรา เหมือนคลื่นในทะเลวิ่งกระทบเรืออยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่งเลย.... หมดปัญหานี้ก็มีปัญหาโน้นรออยู่ บางทีมาหลายๆปัญหาพร้อมกัน ทนไม่ได้เป็นบ้าไป ทนไม่ได้ฆ่าตัวตายไป นี่เพราะว่าจิตใจไม่มีธรรมะเป็นที่พึ่งที่อาศัย อะไรจะเกิดขึ้นในชีวิตเรานี้ไม่แน่นอน หัดเจริญสติไว้ หัดรู้กายหัดรู้ใจตัวเองบ่อยๆ มันจะเกิดภูมิต้านทานความทุกข์ขึ้นมา วันใดที่ความทุกข์มันโผล่ขึ้นมาถึงจิตถึงใจเรา " สติปัญญานี้แหละเป็นธรรมะที่จะช่วยเรา " กราบหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 10, 2016, 04:16:57 PM คนซึ่งฝึกสติดีแล้ว
สตินั่นแหละคุ้มครอง เวลาเกิดอะไรฉุกเฉินไม่ตกอกตกใจหรอก ตกใจวูบแรกเท่านั้นเอง ถัดจากนั้นจิตจะตั้งมั่นขึ้นมา แล้วจิตที่ตั้งมั่นนี่ มันทำให้เกิดสติปัญญาแก้ไขปัญหาได้ ผ่อนหนักเป็นเบาได้ หัวกำลังจะโขกตรงนี้แล้วก็หลบหลีกได้ เอาแค่หน้าแฉลบๆ ไปโดน นี่สติช่วยเราได้นะ กระทั่งในเวลาฉุกเฉิน กราบหลวงพ่อปราโมทย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ Cr.หนังสือประมวลธรรมเทศนา เล่ม ๒ หน้าที่ ๓๕๐ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 12, 2016, 09:20:35 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20160412211937_luangpor_pramote.jpg)
หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 15, 2016, 08:01:30 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20160415200226_luangpor_pramote22.jpg)
{ ถาม }.. การใช้ชีวิตฆราวาสบางครั้งจำเป็นต้องทำผิดศีล เช่น ปลวกขึ้นบ้านก็ต้องหาทางกำจัด สุนัขมีหมัดมีเห็บก็ต้องฆ่าหมัดและเห็บ ค้าขายต้องโกหกเช่นต้องบอกต้นทุนเกินจริงบ้าง โฆษณาคุณภาพสินค้าเกินจริงบ้าง เวลาอยู่ที่ทำงานบางทีเจ้านายก็ใช้ให้โกหก เช่น คนมาขอพบเจ้านาย ก็ต้องโกหกว่าเจ้านายไม่อยู่ หรือกำลังประชุมบ้าง { ตอบ }.. ที่คุณกล่าวมานี้เหมือนคำบ่นมากกว่าคำถาม เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน คุณต้องการรักษาศีลหรือเปล่า " ถ้าต้องการรักษาเพื่อสร้างสมบารมี ก็ต้องยอมสูญเสียบางอย่าง " " แต่ถ้าพลาดไปทำผิดศีลเข้าจริงๆ ก็ต้องหัดวางใจให้ถูก เพื่อให้เกิดโทษน้อยลง " เช่น ปลวกขึ้นบ้านก็อย่าคิดฆ่าปลวก ให้คิดรักษาบ้าน ทำนองเดียวกันอย่าคิดฆ่าหมัด แต่ให้คิดอนุเคราะห์ให้สุนัขอยู่สุขสบาย ถ้าเจ้านายใช้ให้โกหกก็อย่าคิดว่าเราจะโกหก ให้คิดว่าเราจะทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ส่วนการค้าขายนั้นถ้าคุณซื่อสัตย์ต่อลูกค้า คุณน่าจะได้ประโยชน์ในระยะยาว มากกว่าการโกหกลูกค้า --------------- ที่มาจากหัวข้อ ธรรมเสวนาในสวนโพธิ์ จากหนังสือ "ประทีปส่องธรรม" หลวงพ่อ ปราโมทย์ ปาโมชฺโช (-/\-) หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 15, 2016, 08:04:14 PM "ทำทาน รักษาศีล ก็เพื่อลดละความเห็นแก่ตัว"
อดทน กล้า รักษาศีลนะ ยอมเสียชีวิตดีกว่าเสียศีลเนี่ย ความยึดถือความหวงแหนในรูปนามกายใจนี้ ต้องเบาบาง ถ้ายึดถือในอัตตาตัวตนแรงนะ ทำไม่ได้หรอก มันจะสละทุกอย่างนะ เพื่อผลประโยชน์ เพื่ออัตตาตัวตน ถ้าใจเราเด็ดเดี่ยวในการพัฒนาตัวเอง ในการทำความดีทั้งหลายทั้งปวงเนี่ย จุดมุ่งหมายนั้นมุ่งหมายมาที่การลดละความยึดถือในตัวในตนนั่นแหละ ความดีขั้นสูงสุดคือขั้นเจริญปัญญา เห็นความจริงของตัวตนเลยว่า ไม่ใช่ของดีของวิเศษแล้ว ไม่ยึดถือเลย ขั้นรองลงมาจากนั้นก็เป็นขั้นทุเลาเอา ค่อยๆละค่อยๆละเอา ค่อยๆฝึก ยกตัวอย่างบางคนไม่เคยถือศีล ๘ ลองถือศีล ๘ ดู ต้องต่อสู้มากมายเลยกว่าจะรักษาศีล ๘ ได้ ฆราวาสเนี่ยไม่ต้องรักษาศีล ๘ ทุกวันนะ ไม่จำเป็นขนาดนั้น ศีล ๕ เอาให้รอดก่อน ถ้าศีล ๕ รอดนะ โอกาสจะได้มรรคผลก็มีแล้วล่ะ แต่วันไหนมีความพร้อมก็ลองศีล ๘ ดูบ้าง เราจะพบว่า มันต้องต่อสู้มากเลย ต่อสู้กับการคิดถึงอาหารเย็น บางคนตอนเย็นปกติกินนิดเดียวอยู่แล้วนะ ไม่ค่อยกินอะไรโดยธรรมชาติของตนเอง แต่พอมาถือศีล ๘ เนี่ย เย็นๆจะคิดแต่เรื่องกินน่ะ ใจจะวกไปอยู่ในเรื่องนั้นเรื่อยๆ ต้องต่อสู้ ต้องฝึก การทำทานนะ ก็เพื่อลดละความหวงแหนในตัวในตน อย่างอภัยได้นะ ใจต้องกว้าง ถ้าใจแคบก็อภัยคนอื่นไม่ได้ เป็นเรื่องที่ว่าจะต้องไม่เห็นแก่ตัว ค่อยๆฝึกไปทำทานการรักษาศีล ทำทานก็เพื่อไม่ให้เห็นแก่ตัว ลดความเห็นแก่ตัว สู้กับกิเลส รักษาศีลก็เพื่อลดความเห็นแก่ตัว ยกตัวอย่างยุงเข้ามา ถ้าเป็นหลวงพ่อมียุงเข้ากุฎินะ ถ้าเข้ามามากๆก็ใช้วิธี ตอนเย็นน่ะ เปิดหน้าต่างไว้ เราก็ไปอยู่ข้างนอกนะ ข้างใจปิดไฟไว้ เดี๋ยวยุงก็ต้องไปทำมาหากิน ยุงก็บินออก หรือถ้ามีไม่กี่ตัวนะ หลวงพ่อมีแก้วอยู่ใบหนึ่งนะ แก้วใสๆ ต้องเลือกด้วยนะ แก้วที่ยุงชอบต้องใสๆ ถ้าแก้วมีลวดลาย พอเข้าใกล้มันจะบินหนีแล้ว แก้วใส ครอบสบาย แล้วก็เอากระดาษเสียบ พาไปปล่อย เสียบหนึ่งตัว เปิดประตูไปปล่อย เข้ามาสามตัว อะไรอย่างนี้ก็มีนะ ถ้าเราเห็นแก่ตัว ไม่ต้องทำอะไรมากมายนักน่ะ ตีทีเดียวก็ตายแล้ว นี่เห็นแก่ตัวแล้ว เอาแต่ประโยชน์ของตนเอง ทำลายคนอื่น กระทั่งรักษาศีลนะ ต้องไม่เห็นแก่ตัว หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า File: 551231A CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘ ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๒๔ ถึงนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔๑ เว็บไซต์ Dhammada.net ที่มา หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 17, 2016, 09:05:58 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20160417210544_luangpor_pramote.jpg)
หลวงพ่อไม่รู้หรอกว่าศาสนาพุทธจะอยู่เมืองไทยนานแค่ไหนนะ แทนที่เอาเวลามาคอยตามพันแข้งพันขาหลวงพ่อ " ..เอาเวลาไปภาวนา... " อย่ามาผูกพันอยู่กับครูบาอาจารย์แบบลูกแหง่นะ ไม่ใช่ลูกวัวลูกควายนะ คอย พันขาพ่อขาแม่ไปเรื่อย..ไม่ใช่ สอนให้เป็นลูกมนุษย์ ผู้มีใจสูง ต้องเข้มแข็ง ต้องพัฒนาตัวเองนะ ฝึกตัวเองแล้วก็ช่วยผู้อื่น เนี่ยรักษาสืบทอดไป ------------- ค่อยเรียน ค่อยปฎิบัติไปนะ พวกเราฟังแล้วไปปฏิบัติ รู้เรื่องแล้วเนี่ย เข้าใจดีแล้วนะ ไปอ่านปริยัติ มันจะช่วยให้เราแม่นขึ้น ตอนนี้ถ้าไปเรียนปริยัติก่อน จะภาวนายาก มันจะคิดมาก ภาวนาอย่างนี้มันไปคิด นี่ขึ้นวิถีจิตอย่างนี้แล้ว นี่วิถีจิตชนิดนี้ นี่ชนิดนี้ มันฟุ้งนั่นแหละนะ..ฟุ้ง ภาวนาไปก่อน จับหลักให้แม่น ธรรมะทั้งหมดนะอยู่ในกรอบของอริยสัจทั้งนั้นเลยนะ " ธรรมะทั้งหมดเลย อยู่ในกรอบของอริยสัจ ถ้าหลุดออกจากกรอบอริยสัจนะ ไม่ใช่แล้วล่ะ " อย่างนั่งสมาธิแล้วเห็นผี เห็นโลกพระนิพพาน เห็นอะไรอย่างเนี้ย ไม่เกี่ยวกับอริยสัจแล้วนะ มันเตลิดเปิดเปิงไปแล้ว ถ้ารู้ทุกข์เนี่ยนะ รู้ทุกข์.. ทุกข์คือรูปกับนามนะ รู้ไป ใช้ได้ ********** พระธรรมเทศนาบางช่วงบางตอน หลวงพ่อ ปราโมทย์ ปาโมชฺโช (-/\-) แผ่นที่ ๖๔ File ๕๙๐๒๒๐ วัดสวนสันติธรรม วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 19, 2016, 09:32:55 PM อย่าเว้นวรรค.....
การปฏิบัติเหมือนพายเรือทวนน้ำ ถ้าเว้นวรรคหยุดเมื่อไหร่ จะถอยหลัง พอถอยหลังหลายๆ หน จะหมดแรง หมดกำลังใจ สู้ตาย อย่าหยุด หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 24, 2016, 06:31:38 PM " ให้เมตตาตัวเองก่อน "
อย่าเบียดเบียนตัวเองนะ เช่น การทำผิดศีล ๕ อย่าไปทำ ไปกินเหล้านี่เบียดเบียนตัวเองนะ ทุกครั้งที่กินเหล้าเข้าไป เซลล์ในสมองต้องตายไปส่วนหนึ่ง ถูกแอลกอฮอล์ทำลาย ทำลายแล้วทำลายเลยไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว ฉะนั้นจะเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ นี่มันเบียดเบียนตัวเอง สงสารตัวเองนะ .. อย่าไปกินเหล้า สงสารตัวเอง .. อย่าไปเป็นชู้กับเขา อย่าไปมีกิ๊ก สงสารตัวเอง .. อย่าตลบตะแลง ปลิ้นปล้อนหลอกลวง สงสารตัวเอง .. อย่าไปรังแกคนอื่น รักตัวเองได้ก็รักคนอื่นบ้าง คนอื่นเขาก็รักชีวิตของเขา สัตว์อื่นเขาก็รักชีวิตของเขา ค่อยๆ ทำความรู้สึกแบบนี้ขึ้นมา แผ่เมตตาให้ตัวเองแล้ว ก็ค่อยๆ แผ่ไปถึงคนอื่น สัตว์อื่น ต่อมาเราก็เมตตาคนใกล้ๆ ตัวในบ้านเรา สามีเรากลับบ้านดึก เราโกรธแล้ว ก่อนจะโกรธต้องสืบสวนก่อน ทำไมกลับดึก บางทีก็จำเป็นต้องกลับดึก นี่คอยมองในแง่ดีบ้าง หรือบางทีคนอยู่ด้วยกันทำผิด เป็นไปได้ไหมอยู่ด้วยกันทำผิด เป็นไปได้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะคนทุกคนมีโอกาสทำผิดทั้งนั้นแหละ เขาพลาดพลั้งทำผิดไป ก็มองด้วยสายตาเห็นอกเห็นใจบ้าง ไม่ใช่อาฆาตแค้น กราบหลวงพ่อปราโมทย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ Cr.หนังสือประมวลธรรมเทศนา เล่ม ๓ หน้าที่ ๑๘๕ - ๑๘๖ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 24, 2016, 06:33:22 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20160424183305_luangpor_pramote.jpg)
หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 06, 2016, 05:57:43 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20160506175720_luangpor_pramote.jpg)
หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 17, 2016, 12:13:12 PM วิธีปฏิบัติของหลวงพ่อ
หลวงพ่อภาวนาด้วยวิธีอย่างนี้ ตกค่ำ ไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ เดินจงกรม เป็นข้อวัตรก็ทำไปทุกวัน วันไหนเหน็ดเหนื่อยฟุ้งซ่านมาก ก็ทำเพื่อความสงบ วันไหนจิตใจสงบดีแล้ว เราไหว้พระสวดมนต์ รู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไปเรื่อยๆ อย่างเราเห็นปากมันอ้ามันหุบ เห็นร่างกายมันสวดมนต์ ใจเราเป็นคนดู เรารู้สึกเลยตัวที่กำลังอ้าปากอยู่นี้ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา หรือเรานั่งภาวนา หายใจเข้าหายใจออกอยู่ ใจหนีไปคิดก็รู้ทัน ใจไปเพ่งลมหายใจรู้ทัน ใจเป็นอย่างไรรู้ทัน หรือบางทีจิตรวมเข้าไปนะ เห็นแต่สภาวธรรมบางอย่างที่มันไหวๆ อยู่ภายใน ไม่รู้ว่าคืออะไร พอจิตเรารวมเข้าภายใน เราเห็นข้างในมีความกระเพื่อมไหวอยู่ แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ก็ไม่จำเป็นต้องรู้ เราก็รู้สภาพไหวๆ นั้นไป พอเรารู้สภาพไหวๆ แล้วจิตเราถลำลง เราก็รู้ทันว่าจิตถลำลงไป เราดูความเคลื่อนไหวภายในแล้วจิตเกิดสงสัยว่าอันนี้คืออะไร รู้ว่าสงสัย การภาวนานี่จะไม่เว้นวรรคเว้นตอนนะ ค่อยๆ ฝึกอย่างนี้ กราบพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ กราบหลวงพ่อปราโมทย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ Cr.หนังสือประมวลธรรมเทศนา หน้าที่ ๓๓๐ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 23, 2016, 01:29:59 PM ที่ไหนมีกายมีใจอยู่นะ ก็มีธรรมะอยู่
เพราะธรรมะก็คือกายกับใจเรานี่เอง กายก็เรียกว่ารูปธรรม ใจก็เรียกว่านามธรรม เป็นธรรมะ งั้นเรียนธรรมะนะ ไม่ต้องเรียนที่อื่นหรอก ให้เรียนที่กายที่ใจของตัวเอง มีสติรู้กายรู้ใจไปเรื่อยๆ อย่าลืมมัน ไม่มีอะไรมาก...ง่าย มีสติรู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน งั้นเราคอยรู้สึกนะ รู้สึกตัวไว้เรื่อยๆ แล้วก็ขยันดู ไม่ใช่นานๆ รู้สึกทีนึง นานๆ รู้สึกทีนึง เวลาส่วนใหญ่ก็หลงผิดไป นี้บางคนนะสงสัยว่า...... เอ้..ภาวนานานแล้วไม่ได้ผลสักที คือเราสะสมทั้งความรู้ถูกความเข้าใจถูก แล้วก็สะสมความเข้าใจผิดไปด้วยพร้อมๆกันแหละ สลับกันไป แต่ถามตรงๆนะ คนไหนที่อยากบรรลุเร็วๆ หลวงพ่อถามตรงๆ วันหนึ่งๆ นะ จิตเป็นกุศลมาก หรือจิตเป็นอกุศลมากกว่ากัน จิตรู้สึกตัว หรือจิตหลงมากกว่ากัน หลงใช่มั้ย..? หลงไป ๕ นาที แล้วรู้สึกแว๊บนึง นึกออกมั้ย..? หลงไป ๑ นาที รู้สึกแว็บนึง นี่เก่งมากแล้วนะ หลงไป ๑๐ วินาที รู้สึกแว๊บนึง เนี่ยถ้าเทียบสัดส่วนกันสิ เทียบกันไม่ติดหรอก ยังดีว่า..... ธรรมะนะ มันไม่ใช่ว่า..... ต้องรู้ตัว ๑ นาที แล้วไปล้างความไม่รู้ตัว ๑ นาที มันไม่ใช่ขนาดนั้น . . . . . . . . . . . ตลอดเวลาที่ผ่านมานะ เราสะสมแต่ความรู้ผิดความเข้าใจผิด ตั้งแต่เกิดมาเราก็รู้สึกตลอดใช่มั้ย..มีตัวเรา ๆ ในนี้มีเราอยู่คนนึง ร่างกายนี้ยังหน้าตาเปลี่ยนไปเรื่อยๆนะ ตอนเด็กๆ ก็หน้าตาอย่างนึง โตขึ้นมาหน้าตาอย่างนึง แต่ในนี้มีเราอยู่คนนึงซึ่งไม่เคยเปลี่ยนเลย รู้สึกในใจเรานี้เอง..คือเป็นตัวเรา ไม่ว่าทำอะไรตลอดมา ก็ทำเพื่อสนองความมีตัวเราตลอด เพื่อย้ำกับตัวเองว่า ฉันยังอยู่ๆ ไม่ว่าทำอะไรนะ ลองไปสังเกตดู มันเพื่อย้ำตัวเองเท่านั้นนะว่า ฉันยังอยู่นะ ฉันยังอยู่ในโลก อย่างบางคนนะ ต้องการให้มีเพื่อนฝูงยอมรับ ทำไมต้องการมีเพื่อนฝูงยอมรับ..? เพื่อจะได้ประกาศยืนยันว่า ฉันยังอยู่นะ ฉันยังมีตัวมีตนอยู่ในโลกจริงๆ ทำไมฉันต้องใช้กระเป๋าหลุยส์วิตตอง เพื่อฉันยังอยู่ ฉันยังมีอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างนะ ไม่ว่าทำอะไรนะ เบื้องหลังมันนะ เพื่อจะประกาศ เพื่อจะยืนยัน เพื่อจะย้ำกับตัวเองนะ ว่าฉันยังอยู่ ..... งั้นไม่มีอะไรเลยที่รักมากกว่าตัวเอง รักตัวเองที่สุดเลย หวงแหนตัวเองที่สุดเลย ตลอดเวลาก็สะสมมาแต่สิ่งเหล่านี้ ต่อเมื่อมาหัดเจริญวิปัสสนากรรมฐาน มามีสติรู้กายรู้ใจไป ตามความเป็นจริง พึ่งจะเห็นบ้างว่า..... ว่ากาย(รูปธรรม)...ไม่ใช่ตัวเรา เวทนา... คือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ ไม่ใช่เรา สัญญา... คือความจำได้ ความหมายรู้ ไม่ใช่ตัวเรา ตัวสังขาร.. คืิอความปรุงดีปรุงชั่วทั้งหลาย..ไม่ใช่ตัวเรา นี้ต้องมีสตินะ มีใจตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ)ขึ้นมา แล้วก็เห็น แต่ยังไม่เห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา รู้สึกมั้ย..? เห็นสิ่งโน้นสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวเรา เหลืออันนึง เหลือจิตเป็นตัวเราอยู่ . . . . . . . . . ..... กระทั่งการภาวนา บางคนทุ่มเทการภาวนาแทบเป็นแทบตายนะ เบื้องลึกลงไปนะ ก็คือเพื่อรักษาความเป็นตัวเราไว้อีก ภาวนา เราต้องทุ่มเทนะ สู้ตายนะ เพื่อวันนึง..เราจะได้ดี นี่ภาวนาเอาดีนะ ..... ภาวนา ถ้าชุ่ยกว่านั้นนะ ภาวนาเอาชื่อเสียง ภาวนาเพื่อให้คนเค้ายอมรับว่าเราเป็นนักภาวนา เห็นมั้ย..ให้สังคมยอมรับ เพื่อประกาศอัตตาให้เราเป็นนักภาวนา ..... บางคนก็ภาวนาหาลาภสักการะ มีทรัพย์สมบัติมาก มีเยอะนะ ภาวนามีทรัพย์สมบัติมาก มีของมาก ก็เพื่อประกาศอัตตา นี่ไม่ว่าเราทำอะไรนะ ถือศีลก็ภูมิใจ ว่าฉันเป็นคนมีศีลนะ แกไม่มีศีล มีฉันมีแกขึ้นมาอีกแล้ว มันประกาศอัตตา ไม่ว่าทำอะไรนะ กระทั่งทำความดี ภาวนาเนี่ย ฉันนั่งโต้รุ่งได้ คนโน้นนั่งไม่ได้ สู้ฉันไม่ได้ ฉันอดข้าวได้ทีนึงตั้ง ๗ วัน ฉันเก่งกว่า เนี่ย แต่ละอย่างๆ หรือฉันเดินจงกรมได้ทน เดินได้จนเท้าแตก..ภูมิใจ "... ถ้าทำความเพียรจนเท้าแตก..อันนั้นดีนะ แต่ถ้าทำสนองอัตตาจนเท้าแตก อันนั้นกิเลสยิ่งหนา.." งั้นกระทั่งภาวนานะ ก็อดจะเพื่อเซิร์ฟอัตตาไม่ได้ . . . . . . . . . ..... ยากมากนะที่เราจะภาวนาจนกระทั่งทะลุลงมา แล้วยอมรับความจริงได้ว่า..... "กายนี้ใจนี้ ไม่ใช่ตัวเราหรอก" ตัวเราไม่มี พวกเราบางคนมาหัดภาวนา เริ่มเห็นความจริงแล้ว..ว่าตัวเราไม่มี คนที่มาเรียนกับหลวงพ่อตอนนี้ แล้วเห็นว่าตัวเราไม่มีเนี่ย เยอะแล้ว แต่ยังยอมรับไม่ได้ พอรู้สึกว่าตัวเราหายไปเนี่ย บางคนกลัวเลย บางคนรู้สึกเวิ้งว้าง รู้สึกโหวงๆ ตายแล้วชีวิตนี้ไม่มีที่พึ่งที่อาศัยแล้ว ตัวเราหายไปแล้ว บางคนเบื่อ..... เบื่อทุกสิ่งทุกอย่างในโลก น่าเบื่อ ตัวเราหายไปแล้ว ไม่รู้จะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร แต่พอตัวตนเกิดขึ้นแล้วภูมิใจ ดีใจ ตัวตนมาแล้ว . ..... งั้นภาวนานะ บางคนจะเห็นเลย ในความเป็นจริงแล้ว ขันธ์ ๕ คือกายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ตัวตนหรอก ความเป็นตัวเป็นตนนะมันผุดขึ้นมาเป็นคราวๆ มันปรุงขึ้นมาเป็นคราวๆ มันคิดขึ้นมาเป็นคราวๆ พอเห็นมัน ถ้ามีสติรู้ทันมัน มันก็จะสลายตัวไป ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน . . . . . . . . . . . *** เนี่ยภาวนาไปจนวันหนึ่งใจยอมรับนะ ไม่มีตัวตนก็ไม่กลุ้มใจ ไม่เบื่อหน่ายนะ ไม่ทุกข์ร้อน เห็นจริงๆ เอ้อ..จริงๆกายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ตัวเราหรอก ถ้าเห็นอย่างนี้ มากเข้าๆนะ วันนึงปัญญามันแจ้ง ยอมรับความจริง ไม่ใช่ยอมรับด้วยเหตุด้วยผลแล้ว "แต่ยอมรับด้วยใจ" ตรงที่ยอมรับความจริงด้วยใจนี้ ก็เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม ยอมรับธรรมะแล้ว ตัวเราจริงๆไม่มีหรอก พอตัวเราไม่มีแล้ว ใครมันทุกข์..? มีความทุกข์มั้ย..? ...มี ใครมันทุกข์..? กายมันทุกข์ ใจมันทุกข์ แต่ไม่ใช่เราทุกข์ หรือขันธ์มันทุกข์ไม่ใช่เราทุกข์ มีความทุกข์แต่ไม่มีผู้ทุกข์ เนี่ยพวกเป็นพระโสดาบันจะรู้สึกอย่างนี้ มีความทุกข์แต่ไม่มีผู้ทุกข์ ส่วนยังเป็นปุถุชนอยู่ มีความทุกข์ แล้วก็มีเราผู้เป็นทุกข์ด้วย พอความทุกข์อยู่ที่กาย ก็ร่างกายของเราเป็นทุกข์ ใจเราเป็นทุกข์ ตัวเราเป็นทุกข์ รู้สึกอย่างนี้ . ..... งั้นภาวนาต้องใจเย็นๆนะ กว่าใจจะยอมรับความจริงเนี่ย มันยอมรับได้ยาก ที่ยอมรับยาก "เพราะเห็นน้อยไป" เห็นความจริงน้อยไป ต้องเห็นนานๆ เห็นบ่อยๆ เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าตัวเราไม่มี ๆ ความเป็นตัวตน เกิดจากความคิดปรุงแต่งขึ้นมาเป็นคราวๆ เมื่อไหร่ขาดสตินะ ก็หลงว่า มีตัวเราๆ นี้วันๆหนึ่งนะ ขาดสติเยอะ-- ขาดสติเยอะ รู้สึกตัวน้อย .....เพราะฉะนั้น ทั้งวันนะ ส่วนใหญ่ก็คือมีแต่ตัวตนทั้งนั้นเลย งั้นต้องอดทน อย่าใจร้อน ไม่ใช่ภาวนา ดูปุ๊บๆ ปั๊บๆ แล้วก็ยอมรับความจริง จิตยอมรับแล้วว่าตัวเราไม่มี มันไม่ง่ายขนาดนั้นหรอก มีเหมือนกันบางคนภาวนาเร็ว ใช้เวลาไม่กี่เดือน ภาวนาเร็ว อันนั้นเค้าเคยลำบากมามากแล้ว เคยภาวนามามากแล้ว ชีวิตนี้เกิดมาเลยภาวนาได้เร็ว ภาวนาได้ง่าย _/|\_ _/|\_ _/|\_ #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ 27 File : 511031A พระธรรมเทศนาระหว่างนาที 0:24 -- 9:08 ดาวน์โหลดไฟล์เสียงธรรมะได้ที่ Dhamma.com ..... กราบคุณพระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูง กราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 23, 2016, 01:31:21 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20160523133051_luangpor_pramote.jpg)
หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 23, 2016, 08:40:26 PM " พ่อแม่มีบุญคุณมากที่สุดเลย
เพราะพ่อแม่ให้ตาหูจมูกลิ้นกายมาให้เรา " พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้นะ ว่าพ่อแม่มีบุญคุณมากที่สุดเลย เพราะพ่อแม่ให้ตาหูจมูกลิ้นกายมาให้เรา ให้โลก ให้เราสัมผัสกับโลกได้ เหมือนพ่อแม่ให้โลกกับเรา ฉะนั้นบุญคุณของพ่อแม่นี่มากมาย กราบพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ กราบหลวงพ่อปราโมทย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ Cr.หนังสือประมวลธรรมเทศนา หน้าที่ ๕๔๗ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 12, 2016, 07:50:32 AM เราใช้สภาวะร่างกายของมนุษย์ธรรมดาที่เรามีนี่แหละ
เราใช้จิตใจของมนุษย์ธรรมดาอย่างที่เรามีนี่แหละ เป็นของดีของวิเศษ เป็นต้นทุนที่เรามีอยู่ เป็นต้นทุนที่ดีมากๆเลยนะ ในการภาวนา ร่างกายของเราที่ไม่เอาไหนนี่แหละ เป็นต้นทุนของการภาวนา ไม่สุขมากไป ไม่ทุกข์มากไป จิตใจของเราก็เป็นต้นทุนการภาวนาที่ดี มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่สุขเกินไป ไม่ทุกข์เกินไป ไม่ดีเกินไป ไม่ชั่วเกินไป หมุนเวียนเปลียนแปลงไปเรื่อยๆ ........................... นอบน้อมกราบสาธุ สาธุ สาธุ ในพระธรรมโอวาท...หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เจ้าค่ะ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 16, 2016, 10:07:32 AM ถ้าผิดแล้วอย่าไปคิดซ้ำ
อยู่ในโลกนะ พระพุทธเจ้าบอกว่า อยู่ในโลกนะ จะประพฤติธรรม จะถือศีลให้บริสุทธิ์หมดจดนี่ยาก เพราะโลกมันสกปรก แต่ว่าเมื่อเราทำผิดศีลผิดธรรมไปแล้วเนี่ย " อย่าไปคิดซ้ำ " เราต้องแบ่งเวลาเราเป็นช่วงเล็กๆ นาทีนี้เราพลาดไปแล้ว โกหกไปแล้ว เวลาที่เหลืออีกสามชั่วโมง ไม่ได้โกหก เห็นไหม ส่วนที่ดีมีเยอะนะ แต่เราก็ไม่มองส่วนที่ดี เรามองแต่ส่วนที่เลว เหมือนเรามีผ้าขาวหนึ่งผืน สะอาดขาวทั่วผืนเลย มีอะไรเปื้อนอยู่นิดเดียว เราจะดูแต่รอยเปื้อน เราไม่ดูว่าผ้าส่วนใหญ่มันสะอาด เราจะไปวนเวียน โอ้ย เปื้อนอยู่นั่น เปื้อนอยู่นั่น คิดซ้ำอยู่อย่างนี้แหละนะ ให้ดูนะ ส่วนที่ดีมันเยอะกว่าส่วนที่ไม่ดี จะไม่ให้มันไม่ดีเลยเนี่ย ไม่ได้ อยู่กับโลกมันก็เป็นอย่างนั้นแหละ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 13, 2016, 11:48:30 AM ชิงธงในสงครามใหญ่ ครั้งสุดท้ายของชีวิต
หนึ่ง ถือศีล ๕ สอง ฝึกในรูปแบบ สาม การเจริญสติในชีวิตประจำวัน ตัวนี้ล่ะ ตัวแตกหัก ถ้าเราซ้อมมาดี ทำในรูปแบบ คือการซ้อมที่จะปฏิบัติ เหมือนนักมวยเข้าค่ายซ้อม การเจริญสติในชีวิตประจำวัน คือการขึ้นชกมวยจริงๆ ขึ้นเวทีจริงแล้ว จะแพ้จะชนะ เดี๋ยวก็รู้ หรือเหมือนทหาร ตอนที่ทำในรูปแบบเหมือนการซ้อมรบ ตอนที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน คือการออกสนามรบ แล้วสนามรบที่ทุกคนจะต้องเจอครั้งสุดท้าย เป็นสนามรบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเลย ในชีวิตเราแต่ละคน คือวาระที่ใกล้จะตาย วาระนั้นครูบาอาจารย์บอกว่าสงครามใหญ่ครั้งสุดท้ายตอนนั้น เป็นสงครามที่ไม่แพ้ก็ชนะ ไม่มีเสมอ ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านสอนถึงขนาดนี้ ว่าที่เราฝึกกันแทบเป็นแทบตายก็เพื่อนาทีสุดท้ายนี่ล่ะ ไปชิงธงกัน ว่าจะชนะหรือจะแพ้ แต่ถ้าเราบรรลุมรรคผลแล้ว ตรงนี้ไม่มีความหมาย แต่เรายังไม่บรรลุมรรคผลนี่ ไปชิงเอานาทีสุดท้าย ว่าจิตดวงสุดท้ายของเราจะเป็นกุศลหรือจิตอกุศล แล้วจิตที่เป็นกุศลอกุศล..บุญบาปนั่นล่ะ จะพาเราไปสูภพภูมิใหม่ อย่าไปนึกว่าตายแล้วสูญ มันมองไม่เห็นเอง ฉะนั้นเรามาฝึกภาวนาเข้า บางคนก็เห็น บางคนก็รู้อยู่ มันไม่ใช่ตายแล้วสูญไป สงครามใหญ่ครั้งสุดท้ายกำลังรอเราอยู่ข้างหน้า ต้องเจอแน่นอน เพราะฉะนั้นเราฝึกตัวเองให้พร้อม คนไหนที่จะพร้อม ? คนที่มั่นใจในความดีของตนเองจะพร้อม ถ้าเราไม่มีความมั่นใจในคุณงามความดีของตัวเอง นาทีสุดท้ายจะไม่มีความพร้อมเลย จะมีแต่ความกลัว ความหวั่นไหว กลัวอะไร ? กลัวความสูญเสียในสิ่งที่มีอยู่ กลัวว่าจะต้องไปเจอสิ่งซึ่งไม่ดี ไม่ดีอย่างเก่า นี่ ใจมันจะกังวล แต่ถ้าใจเรามีศีลมีธรรมสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่กลัวหรอก มันมีความมั่นใจในตัวเอง ทำสงครามด้วยความมั่นใจ กับทำสงครามด้วยความลังเลใจ ฝีมือไม่เท่ากันหรอก ฉะนั้นฝากเราฝึกนะ ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ณ วัดสวนสันติธรรม วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ จากซีดีแสดงธรรม แผ่นที่ ๖๒ ไฟล์ 581108A Cr. ธรรมะโดนใจ ๔ หน้า ๖๐-๖๒ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 30, 2016, 09:07:05 PM "ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์"
โลกเต็มไปด้วยปัญหา คนเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาก็จะแยกไม่ออกว่า ปัญหากับความทุกข์เป็นคนละส่วนกัน โลกมันไม่เที่ยง มันเคลื่อนไปเรื่อยๆ ปัญหาก็เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น สุขภาพ เรารักษาเอาไว้ดีแล้ว ไม่นานก็ป่วย เพราะมันไม่เที่ยง ในชีวิตเต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ถ้าใจยอมรับความจริงได้ ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ใจก็จะไม่ทุกข์ "ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ส่วนปัญหา แต่ใจไม่ทุกข์" ถ้ายอมรับความจริงไม่ได้ว่าโลกมันไม่เที่ยง เกิดปัญหาขึ้นมา ใจจะทุกข์ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้ กราบหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ด้วยความเคารพอย่างสูง _/|\_ _/|\_ _/|\_ Cr. อริยสัจเพื่อความพ้นทุกข์ หน้า ๓๐ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 06, 2017, 08:41:26 AM ในโลกนี้บกพร่องอยู่ตลอดเวลา
ไม่เคยเต็ม ไม่เคยอิ่ม "..พยายามเจริญสติให้มากๆ ไว้ อะไรเกิดขึ้นในชีวิตเราเมื่อไรเราไม่รู้หรอก อย่างความตายจะมาถึงเมื่อไร เราไม่รู้นะ เราไม่ตาย คนใกล้ตัวเราอาจจะตายก็ได้ เพราะฉะนั้น ชีวิตนี้เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เศรษฐกิจก็ไม่แน่นอนนะ ทางด้านสังคมก็มีโรคระบาด มีอะไรอย่างนี้อีก มันมีความไม่แน่นอน การเมืองก็กระเพื่อมไหว ทุกอย่างมีแต่ความไม่แน่นอน บนความไม่แน่นอนนี้ สิ่งที่จะช่วยเราได้คือ ธรรมะ ธรรมะจะช่วยให้จิตใจของเรามั่นคง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ใจเราก็ยังอยู่ของเราได้ ไม่กระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลง คนซึ่งมีความทุกข์นี่เพราะว่าใจไม่มีปัญญา ความทุกข์มันมาได้ เพราะใจเรายอมรับสภาวะ ที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตาไม่ได้ เช่น เราจะต้องเจ็บป่วย เรายอมรับไม่ได้ ความทุกข์ทางใจมันก็เกิดขึ้น เราจะต้องแก่ ยอมรับไม่ได้ว่าจะต้องแก่ ความทุกข์ทางจิตใจก็เกิดขึ้น จะต้องตาย ยอมรับไม่ได้ก็ทุกข์อีก จะต้องพลัดพรากจากคนที่รัก จะต้องเจอสิ่งที่ไม่รัก อะไรอย่างนี้ จะต้องผิดหวังในชีวิตบ้าง ถ้าเรายอมรับความจริงได้ว่า ชีวิตมันเป็นอย่างนี้แหละ ทุกอย่างผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วผ่านไปตลอดเวลา ยอมรับความจริงตรงนี้ได้ ใจก็ไม่ทุกข์ ที่ใจมันทุกข์เพราะมันไม่ยอมรับความจริง อยากฝืนความจริง เช่น อยากมีความสุขถาวร อยากสงบถาวร อยากดีถาวร อะไรดีๆ อยากจะให้ถาวร อะไรไม่ดีก็อยากให้มันไม่มีถาวร อยากถาวรเหมือนกัน แต่ถาวรในเชิงลบ ไม่มี อยากไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่พลัดพราก ไม่ทุกข์ เรามาหัดภาวนา ไม่ใช่เพื่อว่าเราจะได้ไม่ต้องเจอ ความเจ็บ ความแก่ ความตาย ความพลัดพราก ความไม่สมหวัง แต่เราภาวนาเพื่อให้เห็นความจริง ความจริงในโลกนี้มันบกพร่องอยู่ตลอดเวลา มันไม่สมอยากหรอก มีแต่ความไม่สมอยากเกิดขึ้นตลอดเวลา อยากอย่างนี้มันไม่ได้ อยากอย่างนี้มันได้ ได้มาแป๊บเดียวก็หายไป อยากอย่างอื่นอีกแล้ว ในโลกนี้บกพร่องอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยเต็ม ไม่เคยอิ่ม เรามาหัดภาวนา มาดูของจริง ดูลงในกาย ดูลงในใจ กายกับใจเป็นสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นตัวเรามากที่สุด เรารักที่สุดคือกายกับใจนี้ มาภาวนาก็มาดูลงที่กายที่ใจแล้วจะเห็นเลย ทุกอย่างที่ปรากฏขี้นที่กายที่ใจนี้ เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย..." หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒ CD ศาลาลุงชิน ๓๑ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 01, 2017, 08:50:50 AM ถ้าเข้าใจแล้ว
เราจะลดเวลาการที่จะปฏิบัติลงไปได้เยอะเลย บางคนไม่รู้หลักของการปฏิบัตินะ ทุ่มเทปฏิบัติตลอดชีวิต ไม่ได้ผล บางทีไปติดในภาวะอันใดอันหนึ่ง คิดว่าทำอย่างเนี้ย แล้วจะหลุดพ้น มันเสียเวลาเป็นชาติๆเลย บางทีเสียเวลาเป็นกัปป์เลยนะ . ถ้าเราฟังธรรมให้รู้เรื่องซะก่อนนะ แล้วลงมือปฏิบัติเนี่ย ภพชาติมันจะสั้นลง น้อยลง วัฏฏะมันจะสั้นลง งั้นลงมือปฏิบัติต่อเมื่อรู้เรื่องแล้ว รู้หลัก . ถ้าสังเกตให้ดีนะ ท่านสอนเริ่มจากสัมมาทิฐิ จะเจริญมรรคเนี่ย สัมมาทิฐิเป็นเบื้องต้น(ความเห็นที่ถูกตรง) สัมมาสมาธิเป็นเบื้องปลาย (ความตั้งใจมั่น) นึกออกมั้ย ทำไมเริ่มจากสัมมาทิฐิก่อน..? ต้องเรียนให้รู้หลัก รู้วิธีปฏิบัติก่อน พอรู้วิธีปฏิบัติแล้วนะ ก็ตั้งใจที่จะปฏิบัติเอา มีความดำริชอบ วางใจให้ถูกก่อน รู้วิธีปฏิบัติ แล้วดำริผิดนะ ไปไม่รอด อย่างพวกเราบางคนนะ มาฟัง รู้วิธีปฏิบัติแล้ว ดำริที่จะอยู่กับโลก หมกมุ่นอยู่กับกาม วันๆ คิดแต่จะหาความเพลิดเพลิน ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย นี่มีความดำริไม่ถูก มีกามวิตก ตรึกไปในกาม ตรึกไปในทางไม่ถูกต้อง ต้องคิดออกจากกาม คิดออกจากความวุ่นวายขัดเคืองทั้งหลาย รู้หลักแล้วก็วางใจให้ถูก พอวางใจถูกแล้ว ก็ลงมือรักษาศีล ก็มา สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) (กลุ่มของศีล ในอริยมรรคมีองค์ ๘) ทำไม เริ่มสัมมาวาจาก่อน นึกออกมั้ย ทำไม เน้นมาที่สัมมาวาจาก่อน..? ก่อนจะภาวนา พูดมากปากพล่อย ใจมันจะสงบได้ยังไง ยิ่งปากเสีย ว่าคนโน้นว่าคนนี้ ด่าคนโน้นคนนี้ ไม่มีทางหรอกที่ใจจะสงบ แล้วก็ถือศีลส่วนที่เหลือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม นี่ สัมมากัมมันตะ การดำรงชีวิต มีสัมมาอาชีวะ(การเลี้ยงชีวิตที่ชอบ) เลี้ยงชีวิตในทางที่ถูกที่ควร ไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนคนอื่น อาชีพบางอย่าง ก็เบียดเบียนตัวเอง บางทีก็เบียดเบียนคนอื่น ก็เลือกอาชีพที่ดี อย่างพวกค้าอาวุธ พวกอะไรพวกนี้นะ ค้ายาพิษ ค้ามนุษย์ อะไรอย่างนี้ ไม่ดี นี่ มิจฉาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตที่ผิด) เห็นมั้ย เป็นการปรับพฤติกรรมของเรา ปรับสิ่งแวดล้อมที่รอบๆ ตัวเราก่อน อาศัยความเห็นที่ถูก อาศัยความดำริ ความตั้งใจที่ถูก ลงมือรักษาศีล รู้วิธีปฏิบัติ มีความดำริ ที่ถูกต้อง ที่จะออกจากสิ่งพัวพันทั้งหลาย ลงมือรักษาศีล ถัดจากนั้น ก็เรื่องของการฝึกจิตใจแล้ว เรื่องของการฝึกจิตใจ มีความเพียรชอบ มีสติ มีสมาธิ . การฝึกจิตนั้น มีความเพียรชอบ ฝึกยังไง มีความเพียรชอบ..? ขยันเดินจงกรม เรียกว่าเพียรชอบมั้ย..? เดินจงกรมวันละห้าชั่วโมง เรียกว่าเพียรชอบมั้ย..? หรือนั่งสมาธิ วันละสิบชั่วโมง เป็นความเพียรชอบรึเปล่า..? ไม่ใช่ คำว่า ความเพียรชอบ ของพระพุทธเจ้านะ เพียรละอกุศลที่มี เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ ไม่ให้เกิด เพียรทำกุศล ให้เกิด เพียรรักษากุศลที่เกิดแล้วเนี่ย ให้คงอยู่ ให้งอกงามขึ้นไป (สัมมาวายามะ) งั้นความเพียรชอบเนี่ย เป็นเรื่องของกุศลกับอกุศล เท่านั้นเอง งั้นเดินจงกรมหามรุ่งหามค่ำ ด้วยใจที่โลภ อยากบรรลุมรรคผล กิเลสไม่กระเทือนเลยนะ สนองกิเลส อันนั้น ไม่ใช่ความเพียรชอบ อันนั้น เป็นอัตกิลมถานุโยคทันทีเลย . แต่ถ้าเดินจงกรมอยู่ แล้วรู้วัตถุประสงค์นะ เดินสังเกตกิเลสไป เดินสู้กับกิเลสของตัวเองไปนะ กิเลสมันขี้เกียจ ก็ไม่ยอมขี้เกียจ ลุกขึ้นเดิน อย่างนี้ เรียกว่ามีความเพียร ทุกก้าวที่เดิน ก็มีความเพียรอยู่ เพราะฉะนั้น "ขาดสติเมื่อไหร่ ขาดความเพียรเมื่อนั้น" งั้นเดิน งุดๆๆๆไป กลุ้มใจ จิตใจไม่สบายเลย จมอยู่กับกิเลส เนี่ย ไม่ได้ปิดกั้นกิเลส ไม่ได้ละกิเลส ไม่ใช่ความเพียรชอบ เพราะไม่มีสติ . ถ้ามีสติแล้ว ทำไมกลายเป็นความเพียรชอบได้..? เพราะทันทีที่เกิดสตินะ อกุศลที่มีอยู่นะ จะดับ อกุศลใหม่ที่จะเกิดนะ เกิดไม่ได้ ทันที ที่มีสตินะ กุศลได้เกิดขึ้นแล้ว มีสติเนืองๆ กุศลเจริญงอกงาม งั้นเมื่อไหร่มีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร มันอยู่ในกลุ่มเดียวกันนะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ (อยู่ในกลุ่มของสมาธิ--ผู้ถอดความ) . มีความเพียรไปเรื่อยๆนะ จิตใจตั้งมั่นขึ้นมาคอยรู้คอยดู ดูธาตุดูขันธ์มันทำงาน เรียนรู้ความจริงของมันเรื่อยไป มีสติ สติตัวนี้คือสติปัฏฐาน สติระลึกรู้รูป(กาย) สติระลึกรู้นาม(ใจ) เป็นไปเพื่อลดละกิเลส อันนี้เรียกว่า มีความเพียรที่ถูกต้อง มีสติที่ถูกต้อง . มีสติเดินไม่ตกถนน ขับรถไม่ตกทาง อันนั้น ไม่ใช่สัมมาสตินะ (เป็นสติที่ใช้อยู่กับโลก--ผู้ถอดความ) . สัมมาสติเนี่ย ท่านอธิบายไว้ด้วยสติปัฏฐาน คือ สติระลึกรู้รูป-นาม(ขันธ์ ๕) พอมีสติระลึกรู้รูป-นามแล้วเนี่ย อย่างเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น ใจไม่ชอบ เห็นความโลภเกิดขึ้น ใจไม่ชอบ เห็นกุศลเกิดขึ้น ใจชอบ เนี่ยจิตมันยินดียินร้ายขึ้นมา หรือเราเห็นความสุขเกิดขึ้น ใจมันชอบ เห็นความทุกข์เกิดขึ้น ใจไม่ชอบ จิตมีความยินดียินร้ายขึ้นมานะ ให้เรามีสติรู้ทันเข้าไปอีก . เห็นมั้ย มีความเพียร มีสติ ระลึกรู้รูปนามทั้งหลายไป แล้วถ้าจิตเกิดยินดียินร้ายขึ้นมา รู้ทันมัน ทันที ที่รู้ทันมัน ความยินดียินร้ายดับลง สัมมาสมาธิจริงๆ ก็จะเกิดขึ้น สมาธิจริงๆ จะเกิดขึ้น งั้นสมาธิในสติปัฏฐานเนี่ย ไม่ใช่แค่เข้าฌาน จุดสำคัญ ของสมาธิในสติปัฏฐานเนี่ย คือความเป็นกลาง "ตั้งมั่นอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเป็นกลางด้วย" ไม่หลงยินดีไม่หลงยินร้าย เวลายินดี อะไรเกิดขึ้น จิตกระเพื่อมมั้ย ยินดี จิตกระเพื่อม เสียสมาธิมั้ย..? เสียสมาธิ เวลากระทบสิ่งที่ไม่ชอบใจ จิตยินร้าย จิตกระเพื่อมมั้ย..? เวลายินร้ายเกิดขึ้น จิตกระเพื่อม ก็เสียสมาธิไป พอจิตไม่มีความยินดียินร้าย จิตไม่กระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลงนะ จิตทรงสมาธิอยู่ ทรงสมาธิอยู่ เจริญสติปัฏฐานไป ในขณะนั้นแหละ กำลังมีความเพียรแผดเผากิเลสอยู่ ในขณะนั้น ศีลก็ดีนะ สมาธิก็ดี การดำริ ก็ดำริถูก ขณะนั้น การดำริ ก็ดำริถูก (สัมมาสังกัปปะ) ขณะนั้นก็เห็นถูก (สัมมาทิฐิ) เนี่ยองค์มรรค ค่อยๆประมวลตัวเข้ามา สุดท้าย อาศัยกำลังของสมาธินั่นแหละ พอเราเจริญทุกสิ่งทุกอย่างไปเต็มที่แล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา รวมตัวกันนะ รวมด้วยอำนาจของสมาธิ อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการเนี่ย รวมลงในจิตดวงเดียวกัน ในขณะเดียวกัน ในที่เดียวกัน ที่จิต ด้วยกำลังของสัมมาสมาธิ งั้นสัมมาสมาธิเนี่ย ท่านเทียบเหมือนภาชนะ เป็นที่รองรับ องค์มรรคทั้งเจ็ดที่เหลือ ให้ประชุมลงที่เดียวกัน ในขณะจิตเดียวกัน คือประชุมลงที่จิต งั้นสัมมาสมาธิ ต้องเป็นสมาธิ ที่จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิตเท่านั้นเองนะ . _/|\_ _/|\_ _/|\_ #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี วัดสวนสันติธรรม 31 ตุลาคม 2558 CD สวนสันติธรรม 62 File : 581031 ดาวน์โหลดไฟล์เสียงธรรมะ Dhamma.com ..... กราบคุณพระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูง กราบพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2017, 11:04:38 AM เวลาที่จะตาย ครูบาอาจารย์เคยสอนว่า
เป็นเวลาทำสงครามใหญ่ ท่านใช้คำว่าเป็นเวลาทำสงครามใหญ่ เพราะสงครามนี้สุดท้ายต้องตาย ศึกครั้งนี้ตายแน่นอน วันหนึ่งต้องทำสงครามใหญ่ เรามีความพร้อมที่จะทำสงครามไหม ก่อนจะหัดทำสงครามใหญ่ ก็ต้องทำสงครามย่อยๆ ก่อน นี่ฝึก เวลาเราไม่สบาย เวลาเราผิดหวัง เวลาเจอสิ่งที่ไม่ดีในชีวิต บางทีแฟนทิ้งไป เป็นความสูญเสีย สูญเสียแฟนยังไม่เท่าสูญเสียชีวิต สิ่งที่เรารักที่สุดคือ ชีวิตตัวเอง ไม่ใช่แฟนหรอก ที่รักแฟนเพราะว่ามันเป็นแฟนเรา สุดท้ายก็รักตัวเอง แต่ก่อนจะถึงจุดที่ทำสงครามใหญ่ เราก็มาเรียนรู้ชีวิตให้มากขึ้น มีสติรู้สึกกาย มีสติรู้สึกใจบ่อย ๆ เราเห็นทุกอย่างผ่านมา แล้วก็ผ่านไป ความสุขผ่านมา แล้วก็ไป ความทุกข์ผ่านมา แล้วก็ไป ความดีความชั่วผ่านมา แล้วก็ไป เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ความแข็งแรงก็ผ่านไป ความเป็นหนุ่มเป็นสาวก็ผ่านไป ทุกอย่างมาแล้วไปหมด พอใจยอมรับตรงนี้ได้ ใจคลายความยึดถือลง เวลาจะสูญเสียจะทุกข์ไม่มาก #หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 24, 2017, 09:31:37 AM (http://www.kammatan.com/th/wp-content/uploads/2017/07/ajan-pramote.jpg)
“โลกนี้ร้อน อยู่ ๆ ก็เอาเรือรบมาขู่กันไปขู่กันมา เอาจรวดมายิงกัน อะไรอย่างนี้ วุ่นวาย เราทำมาหากิน ก็ไม่รู้ว่า จะถูกกระทบกระเทือนอะไรเมื่อไหร่ โลกเป็นอย่างนี้แหละ ถ้าเราไม่มีที่พักทางใจของเราเลย ชีวิตก็จะมีแต่ความเครียด ฉะนั้น หาที่พักในใจของเราให้เจอ ฝึกเอา พุทโธไป หายใจไปก็ได้ แล้วคอยรู้ทันใจ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ จิตเป็นอย่างไร ก็คอยรู้ไปเรื่อย ทำกรรมฐานแล้วก็คอยรู้ทันจิตใจของตัวเองไป จิตใจจะมีความสุขมากขึ้น ๆ นะ โลกจะเข้ามาถึงใจเราได้น้อยลงเรื่อย ๆ ถึงมันเอาจรวดมายิงใส่บ้านเรา ถึงตัวเราแตกเละเทะไปหมด แต่ใจเรายังสงบสุข ยังมีความสุขนะ ปัญหาทั้งหลายกระทบเข้าได้แค่ร่างกาย แต่กระทบเข้ามาไม่ถึงใจจิตที่ฝึกดีแล้ว ใจจิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้ ทุกวันฝึกจิตฝึกใจของเรานะ พุทโธไป หายใจไป แล้วรู้ทันจิตไปเรื่อย ๆ ทำได้อย่างนี้ จะรู้สึกว่าโลกห่างออกไปเรื่อย ๆ ความทุกข์ของโลกเข้ามาถึงใจเราได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ เข้ามาก็อ่อนแรงแล้ว เพราะมันวิ่งมาไกล กว่าจะมาถึง ฉะนั้นเราจะทุกข์ไม่มาก ทุกข์ไม่นาน ทุกข์ไม่บ่อยอย่างที่คนอื่นเขาเป็นกัน สิ่งเหล่านี้นะ อ้อนวอนขอไม่ได้ ต้องทำเอาเอง อยากได้ของดีของวิเศษก็ต้องลงมือปฏิบัติเอา ” . . พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม วันสงกรานต์ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๐ |