หัวข้อ: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 05, 2012, 11:21:49 AM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20090217204600_luangpu_doon3.jpg)
ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็น สมุทัย ผลของจิตที่ส่งออกนอก เป็น ทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็น มรรค ผลของจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็น นิโรธ (http://www.kammatan.com/gallary/images/20090421134840_img_2899.jpg) อนึ่ง จิตมีธรรมชาติส่งออกนอก เมื่อส่งออกนอกแล้ว กระเพื่อมหวั่นไหว สนองรับอารมณ์ เป็น สมุทัย ผลของจิตที่ส่งออกนอก แล้วกระเพื่อม หวั่นไหว เป็น ทุกข์ ถ้าจิตส่งออกนอก สนองรับอารมณ์แล้ว ไม่กระเพื่อม ไม่หวั่นไหว มีสติครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิต ไม่กระเพื่อม ไม่หวั่นไหว เพราะมีสติ ความรู้สึกตัว อยู่อย่างสมบูรณ์ เป็น นิโรธ พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีจิตไม่ส่งออกนอก มีติตไม่กระเพื่อม ไม่หวั่นไหว มีจิตไม่ปรุงแต่ง เป็นวิหารธรรม หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 21, 2012, 01:59:22 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20090217203648_luangpu_doon2.jpg)
"คําสอนทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั่น เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง คําสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไปเราจักหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้ แล้วเราจะหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน เพื่อที่จะพบธรรมอันเดียวกันนี้ ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสสนาแล้ว รีบปฏิบัติให้พ้นทุกข์เสีย มิฉนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม ความมืดมนย่อมครอบงําปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 15, 2012, 04:16:14 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20090217203648_luangpu_doon2.jpg)
ไม่จำเป็นต้องหอบสังขารนี้ไปที่ใหน ถ้าตั้งใจจริงแล้วนั่งอยู่ที่ใหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ใหน ยืนอยู่ที่ใหน เดินอยู่ที่ใหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้นแล หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 16, 2012, 01:45:16 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20121116134500_luangpu_doon22.jpg)
จำได้ว่าเมื่อปี 2519 มีพระเถระ 2 รูป เป็นพระฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐานจากทางอีสานเหนือ แวะไปกราบนมัสการหลวงปู่แล้วสนทนาธรรมเรื่องการปฏิบัติ เป็นที่เกิดศรัทธาปสาทะ และดื่มด่ำในรสพระธรรมอย่างยิ่ง ท่านเหล่านั้นกล่าวย้อนถึงคุณงามความดีตลอดถึงภูมิธรรม ของครูบาอาจารย์ที่ตนเคยพำนักศึกษาปฏิบัติมาด้วยเป็นเวลานานว่า หลวงปู่องค์โน้นมีวิหารธรรมคืออยู่กับสมาธิตลอดเวลา อาจารย์องค์นี้อยู่กับพรหมวิหารเป็นปรกติ คนจึงนั บถือท่านมากหลวงปู่องค์นั้นอยู่กับอัปปมัญญาพรหมวิหาร ลูกศิษย์ของท่านจึงมากมายทั่วสารทิศไม่มีประมาณ ดังนี้เป็นต้น ท่านจึงมีแต่ความปลอดภัยอันตรายตลอดมา หลวงปู่ว่า "เออ ท่านองค์ไหนมีภูมิธรรมแค่ไหน ก็อยูกับภูมิธรรมนั้นเถอะ เราอยู่กับ "รู้" " ครั้นเมื่อพระเถระทั้ง 2 รูปได้ฟังคำพูดของหลวงปู่ว่าหลวงปู่ท่านอยู่กับ "รู้" ต่างองค์ก็นิ่งสงบชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็เรียนถามหลวงปู่ต่อไปว่า อาการที่ว่าอยู่กับรู้มีลักษณะเป็นอย่างไร หลวงปู่ตอบอธิบายว่า "รู้ (อัญญา) เป็นปรกติจิตที่ "ว่าง สว่าง บริสุทธิ์หยุดการปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา หยุดกิริยาของจิต ไม่มีอะไรเลยไม่ยึดถืออะไรสักอย่าง" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 17, 2012, 01:28:44 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20121117132644_luangpu_doon2.jpg)
หลวงปู่เป็นผู้มีวาจาบริสุทธิ์ เพราะท่านชอบกล่าวแต่สิ่งที่เป็นสัจจธรรมแท้ กล่าวแต่จุดมุ่งหมายอันสูงสุของพระพุทธศาสนา กล่าวแต่พระกระแสธรรมที่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์โดยส่วนเดียว สังเกตจากพุทธดำรัสที่หลวงปู่ชอบหยิบยกมาพูดให้ฟังบ่อยที่สุด คือ หลวงปู่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสเตือนว่า "ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศอากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เหล่านี้ ย่อมไม่มีในอายตนะนั้นดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ได้กล่าวถึงอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติอายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยไม่ได้ ไม่ได้เป็นไป หาอารมณ์ไม่ได้ นั่นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 17, 2012, 01:32:25 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20121117133104_luangpu_doon3.jpg)
นักปฏิบัติกราบเรียนหลวงปู่ว่า กระผมพยายามหยุดคิดหยุดนึกให้ได้ตามที่หลวงปู่เคยสอน แต่ไม่เป็นผสำเร็จสักที ซ้ำยังเกิดความอึดอัดแน่นใจ สมองมึนงง แต่กระผมก็ยัศรัทธาว่าที่หลวงปู่สอนไว้ย่อมไม่ผิดพลาดแน่ ขอทราบอุบายวิธีต่อไปด้วย " หลวงปู่บอกว่า "ก็แสดงถึงความผิดพลาดอยู่แล้ว เพราะบอกให้หยุดคิดหยุดนึก ก็กลับไปคิดที่จะหยุดคิดเสียอีกเล่า แล้วอาการหยุดจะอุบัติขึ้น ได้อย่างไร จงกำจัดอวิชชาแห่งการหยุดคิดหยุดนึก เสียให้สิ้น เลิกล้มความคิดที่จะหยุดคิดเสียก็สิ้นเรื่อง" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ขอบพระคุณข้อมูลจาก FB : คุณ Supani Sundarasardula และ http://www.kammatan.com ครับผม หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 17, 2012, 01:44:07 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20121117134121_luangpu_doon4.jpg)
มิใช่ครั้งเดียวเท่านั้นที่หลวงปู่เปรียบเทียบธรรมะให้ฟังมีอยู่อีกครั้งหนึ่งหลวงปู่ว่า "ปัญญาภายนอกคือปัญญาสมมติ ไม่ทำให้จิตแจ้งในพระนิพพานได้ ต้องอาศัยปัญญาอริยมรรคจึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้ ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์เช่น ไอน์สไตน์ มีความรู้มาก มีความสามารถมากแยกปรมาณูที่เล็กที่สุด จนเข้าถึงมิติที่ 4 แล้ว แต่ไอน์สไตน์ไม่รู้จักพระนิพพาน จึงเข้าพระนิพพานไม่ได้ "จิตที่แจ้งในอริยมรรคเท่านั้นจึงเป็นไปเพื่อการตรัสรู้จริง ตรัสรู้ยิ่ง ตรัสรู้พร้อม เป็นไปเพื่อความดับทุกข์" เป็นไปเพื่อนิพพาน" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 17, 2012, 01:45:54 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20121117134530_luangpu_doon5.jpg)
ปัจจุบันนี้ ศาสนิกชนผู้สนใจในการปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนามีความงวยงงสงสัยอย่างยิ่งในแนวทางปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นสนใจเนื่องจากคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาแนะแนวปฏิบัติไม่ตรงกัน กว่านั้นแทนที่จะอธิบายให้เขาเข้าใจโดยความเป็นธรรม ก็กลับทำเหมือนไม่อยากจะยอมรับคณาจารย์อื่น สำนักอื่น ว่าเป็นของถูกต้องหรือถึงขั้นดูหมิ่นสำนักอื่นไปแล้วก็เคยมีไม่น้อย ฯ ดังนั้น เมื่อมีผู้สงสัยทำนองนี้มากและเรียนถามหลวงปู่อยู่บ่อยๆ จึงได้ยินหลวงปู่อธิบายให้ฟังอยู่เสมอว่า "การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้ หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องมีวัตถุ สี แสงและคำบริกรรม เช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน เมื่อจิตรวม สงบ แล้วคำบริกรรมนั้นก็หลุดหายไปเองแล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน คือมี วิมุติ เป็นแก่น มี ปัญญา เป็นยิ่ง" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 17, 2012, 01:47:28 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20121117134711_luangpu_doon6.jpg)
การปฏิบัติภาวนาสมาธินั้น จะให้ได้ผลเร็วช้าเท่าเทียมกันเป็นไปไม่ได้ บางคนได้ผลเร็ว บางคนก็ช้าหรือยังไม่ได้ผลลิ้มรสแห่งความสงบเลยก็มี แต่ก็ไม่ควรท้อถอย ก็ชื่อว่าเป็นผู้ได้ประกอบความเพียรทางใจ ย่อมเป็นบุญเป็นกุศลขั้นสูงต่อจากการบริจาคทานรักษาศีล เคยมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมากเรียนถามหลวงปู่ว่า อุตส่าห์พยายามภาวนาสมาธินานมาแล้ว แต่จิตไม่เคยสงบเลย แส่ออกไปข้างนอกอยู่เรื่อย มีวิธีอื่นใดบ้างที่พอจะปฏิบัติได้ ฯหลวงปู่เคยแนะนำวิธีอีกอย่างหนึ่งว่า "ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวชเกินิพพิทา ความหน่าย คลายกำหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้ เช่นเดียวกัน" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 17, 2012, 01:48:55 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20121117134832_luangpu_doon7.jpg)
นอกจากหลวงปู่จะนำปรัชญาธรรมที่ออกจากจิตขอท่านมาสอนแล้ว โดยที่ท่านเคยอ่านพระไตรปิฎกจบมาแล้ว ตรงไหนที่ท่านเห็นว่าสำคัญ และเป็นการเตือนใจในทางปฏิบัติโดยตรงและลัดที่สุดท่านก็จะยกมากล่าวเตือนอยู่เสมอ เช่น หลวงปู่ยกพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ มิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนมานิยมนับถือ มิใช่เพื่ออานิสงส์ลาภสักการะและสรรเสริญ มิใช่อานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิหรือแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ ฯ ที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ เพื่อสังวระ ความสำรวม เพื่อปหานะ ความละ เพื่อวิราคะความหายกำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะ ความดับทุกข์ ผู้ปฏิบัติและนักบวชต้องมุ่งตามแนวทางนี้ นอกจากแนวทางนี้แล้ว ผิดทั้งหมด" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ขอบพระคุณข้อมูลจาก FB : คุณ Supani Sundarasardula และ http://www.kammatan.com ครับผม หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 04, 2013, 06:52:45 PM ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรปล่อยให้มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้
ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกําหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ เมษายน 05, 2013, 09:54:55 PM สาธุ ;D
หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 01, 2013, 08:05:57 PM พระอรหันต์ไม่รับรู้อะไรจริงหรือ ?
หวนคิดขึ้นมาได้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ครั้งนั้นสามเณร ๒ รูป เสร็จจากการศึกษาพระปริยัติธรรมแล้ว นั่งพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้หน้ากุฏิ ถกเถียงกันอยู่ถึงคุณแห่งพระอรหันต์ที่ศึกษามาจากห้องเรียน สามเณรใหญ่ชี้แจงว่า "พระอรหันต์นั้นละกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอะไรทั้งนั้น หมดความยึดมั่นถือมั่นโดยสิ้นเชิง" สามเณรน้อยเถียงทันที "พระอรหันต์ของหลวงพี่ช่างน่าเวทนานัก เหมือนเสาต้นหนึ่ง ก้อนหินก้อนหนึ่ง จะเกิดน้ำท่วมไฟไหม้ก็ไม่รู้อะไรเลย คงจะต้องตายเสียเปล่า และยังเป็นบุคคลที่ไร้ประโยชน์สิ้นเชิง" ขณะที่วิวาทะกำลังดำเนินไปอย่างผิดเป้าหมาย ก็มีเสียงกระแอมดังขึ้นจากในกุฏิ สามเณรทั้ง ๒ จึงสามัคคีกันหลบหนีไป ครั้นข้อถกเถียงนี้ล่วงรู้ถึงหลวงปู่ ท่านก็บอกว่า "แม้จะเป็นการถกเถียงเอาชนะกันแต่ก็เป็นการตั้งข้อสังเกตที่น่าพินิจพิจารณา" แล้ว หลวงปู่อธิบายว่า : "จิตเป็นสภาพรู้อารมณ์ ตราบใดที่มีจิต การรับรู้อารมณ์ก็ย่อมมีเป็นธรรมดา โดยไม่ต้องสงสัย ดังนั้นบุคคลธรรมดารับรู้อารมณ์อย่างไร พระอรหันต์ก็ย่อมจะต้องรับรู้อารมณ์อย่างนั้น และการรับรู้อารมณ์ของท่านน่าจะเป็นไปด้วยดี ยิ่งเสียกว่าคนธรรมดาสามัญด้วยซ้ำ เพราะจิตของท่านไม่มีเมฆหมอกคือกิเลสปกคลุมอยู่ อันจะทำให้ความสามารถรับรู้อารมณ์ลดลง" ดังนี้ การกล่าวหาว่าพระอรหันต์ไม่รับรู้อะไร ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวอะไรทั้งนั้น จึงไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน ส่วนการที่ท่านหมดความยึดมั่นถือมั่นโดยสิ้นเชิงนั้น ย่อมหมายความว่าแม้กระทั่งความไม่ยึดมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ย่อมไม่มีแก่ท่าน กล่าวคือ ท่านหมดทั้งความยึดมั่นถือมั่น และความไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่มีทั้งความพอใจในสิ่งใด ทั้งความรังเกียจในสิ่งใด ดังนี้จึงจะเรียกว่า "โดยสิ้นเชิง" ได้ จิตของท่านจึงลอยเด่นเหนือความดึงดูดและผลักดันต่อสรรพสิ่งเป็นอิสระชั่วนิรันดร หลวงปู่ได้ชี้แนวทางพิจารณาว่า : "อย่าพยายามทึกทักเอาเองตามความรู้สึกของตนว่า พระอริยบุคคลไม่ว่าในลำดับใด เป็นบุคคลที่มีอะไรผิดแปลกไปจากคนธรรมดาสามัญ ท่านก็มีอะไรทุกอย่างเหมือนๆ กับคนธรรมดาสามัญ ทั้งร่างกายและจิตใจ หรือถ้าจะว่าให้ถูก ท่านเสียอีกเป็นธรรมดาสามัญ ปุถุชนต่างหากที่มีอะไรผิดธรรมดาวิปริตไปด้วยการปรุงของกิเลสตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ พระอรหันต์ท่านเป็นปกติธรรมดา พ้นจากการปรุงแต่ง จึงอยู่อย่างไม่มีทุกข์ พระอริยบุคคลที่รองๆ ลงมา ก็มีการดำรงอยู่อย่างมีทุกข์มากขึ้นตามลำดับ และกำลังดำเนินไปสู่การดำรงอยู่อย่างไม่มีทุกข์ต่อไป ก็แล การดำรงอยู่อย่างไม่มีทุกข์นี้ ย่อมเป็นยอดปรารถนาของสัตว์โลกทั้งมวล สรรพสัตว์ทุกหมู่เหล่าที่วิ่งเต้นดิ้นรนอยู่ด้วยประการต่างๆทุกวันเวลานี้ ก็ล้วนแต่เพื่อจุดประสงค์ที่จะระงับดับทุกข์ของตนๆ อย่างเดียวเท่านั้น มิได้เป็นไปเพื่อประการอื่นใดเลยแม้แต่น้อย เมื่อหิวก็เสาะแสวงหาอาหาร เมื่อเกิดโรคภัยก็วิ่งหายารักษาโรค เป็นต้น" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: phraedhammajak ที่ พฤษภาคม 02, 2013, 05:41:33 PM สาธุ คำสอนหลวงปู่
โอ้เรา ...ปุถุชนตราบใดที่(พุทธจักษุ)ตาแห่งปัญญายังไม่เปิดก็เหมือน ตาปอดคล้ำช้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี่เอง มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ตรัสเรียกชายคนหนึ่งมารับสั่งว่า แน่ะพนาย เธอจงไปบอกให้คนตาบอดทั้งหมดในกรุงสาวัตถีมาประชุมกัน ชายคนนั้นทูลรับพระราชดำรัสแล้วได้พาคนตาบอดในกรุงสาวัตถีทั้งหมดมาเข้าเฝ้า แล้วกราบบังคมทูลว่า ขอเดชะ พวกคนตาบอดในกรุงสาวัตถีมาประชุมกันแล้ว พระเจ้าข้า พระราชาพระองค์นั้นตรัสว่า แน่ะพนาย ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปนำช้างมาให้พวกคนตาบอดคลำดูเถิด บุรุษคนนั้นได้นำช้างมาให้คนตาบอดเหล่านั้นคลำดูแล้ว โดยให้พวกหนึ่งคลำที่หัวช้าง พวกหนึ่งคลำที่หูช้าง พวกหนึ่งคลำที่งาช้าง พวกหนึ่งคลำที่งวงช้าง พวกหนึ่งคลำที่ตัวช้าง พวกหนึ่งคลำที่เท้าช้าง พวกหนึ่ง คลำที่หลังช้าง พวกหนึ่งคลำที่หางช้าง พวกหนึ่งคลำที่ปลายหางช้าง ต่อจากนั้น ชายนายนั้นได้พาคนตาบอดเหล่านั้นไปเข้าเฝ้าพระราชา คนตาบอดเหล่านั้นอันพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พวกท่านรู้จักรูปร่างช้างดีแล้วหรือ ก็กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายรู้จักช้างดีแล้ว พระเจ้าข้า พระราชาจึงตรัสถามต่อไปว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พวกท่านพูดว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายรู้จักรูปร่างช้างดีแล้ว เราอยากถามท่านทั้งหลายว่า ช้างมีรูปร่างเป็นอย่างไร ? คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้าง กราบทูลว่า ช้างมีรูปร่างเหมือนหม้อ คนตาบอดพวกที่คลำหูช้าง กราบทูลว่า ช้างมีรูปร่างเหมือนกระด้ง คนตาบอดพวกที่คลำงาช้าง กราบทูลว่า ช้างมีรูปร่างเหมือนผาล คนตาบอดพวกที่คลำงวงช้างกราบทูลว่า ช้างมีรูปร่างเหมือนงอนไถ คนตาบอดพวกที่คลำตัวช้าง กราบทูลว่า ช้างมีรูปร่างเหมือนฉางข้าว คนตาบอดพวกที่คลำเท้าช้าง กราบทูลว่า ช้างมีรูปร่างเหมือนเสา คนตาบอดพวกที่คลำหลังช้าง กราบทูลว่า ช้างมีรูปร่างเหมือนครกตำข้าว คนตาบอดพวกที่คลำหางช้าง กราบทูลว่า ช้างมีรูปร่างเหมือนสากตำข้าว คนตาบอดพวกที่คลำปลายหางช้าง กราบทูลว่า ช้างมีรูปร่างเหมือนไม้กวาด คนตาบอดเหล่านั้นได้ทุ่มเถียงกันว่า ช้างมีรูปร่างอย่างนี้ ไม่ใช่อย่างนั้น ช้างไม่ใช่เป็นอย่างนั้น แต่มีรูปร่างอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุนั้นเอง พระราชาจึงทรงพระสรวลด้วยความขบขัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกก็เป็นคนตาบอด ไม่มีจักษุเหมือนกัน ไม่รู้จักประโยชน์ โทษ ธรรม และอธรรม เมื่อไม่รู้จักประโยชน์ เป็นต้นก็บาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน พูดจากระทบกระเทียบกันว่า อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้ แต่ต้องเป็นอย่างนี้ ดังนี้แล ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงทรงเปล่ง พระอุทานนี้ในเวลานั้นอย่างนี้ว่า ทราบว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งไม่รู้จริง ยึดมั่นในความเป็นผิด แล้วก็มาวิวาทกันและกัน เหมือนพวกคนตาบอดคลำช้างนั่นเอง ดังนี้แล ในปัจจุบันเราจะเป็นว่ามีกรณี “ตาบอดคลำช้าง” อยู่มากมาย และแต่ละคนที่ถกเถียงกันนั้นก็ยืนยันนอนยันว่าตนเองรู้จริงเห็นจริง ซึ่งก็เห็นจริงๆ นั่นแหละ แต่ว่าเห็นจริงเพียงด้านเดียว ความจริงของด้านนี้จึงเป็นเฉพาะด้าน ไม่ใช่ความจริงของอีกด้านหนึ่งซึ่งอยู่ในเรื่องเดียวกัน ในเกสปุตติสูตร พระพุทธองค์ตรัสหลักการในการตัดสินในสิ่งที่ควรเชื่อไว้ ๑๐ ประการคือ ๑. อย่าได้เชื่อถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา (นิทาน) ๒. อย่าได้เชื่อถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา (เรื่องปรัมปรา) ๓. อย่าได้เชื่อถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินมาอย่างนี้ (ถือมงคลตื่นข่าว) ๔. อย่าได้เชื่อถือโดยการอ้างตำรา (มีคนมากมายชอบอ้างตำรา และก็ปรากฏว่าตำราว่าไว้ผิดหรือพิมพ์ผิดก็มี) ๕. อย่าได้เชื่อถือโดยการเดาเอาเอง (การเดาหรือพยากรณ์นั้น ไม่สามารถจะบอกสิ่งต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์) ๖. อย่าได้เชื่อถือโดยการคาดคะเน (การคาดคะเนหรือการคาดหมาย โดยอาศัยเหตุปัจจัยหรือทฤษฎีต่างๆ มากำหนด ซึ่งมีความผิดพลาดอยู่มาก) ๗. อย่าได้เชื่อถือโดยความตรึกเอาตามอาการ (คือวัดอาการแล้วคาดคะเนเอา แบบหมอจับอาการคนไข้) ๘. อย่าได้เชื่อถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตัว (คือเข้ากันได้กับความเห็นของตนเอง หรือตรงกับที่ตนเองคิดไว้ก่อน) ๙. อย่าได้เชื่อถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ (เพราะมีบ่อยไปที่คนที่น่าเชื่อกลับพูดผิดอย่างไม่น่าเชื่อ) ๑๐. อย่าได้เชื่อถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา (คือการเชื่อครู เมื่อเห็นว่าเป็นครูก็เชื่อมั่นว่าต้องถูก แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ครูที่สอนผิดๆ ก็มีเยอะ) หลักการที่ถูกต้องนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า เมื่อใด ท่านทั้งหลาย พึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย ธรรมเหล่านั้นคือ ความโลภ โกรธ หลง ส่วนธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงแล้ว ควรจะสมาทานให้บริบูรณ์ในธรรมเหล่านั้น เกสปุตติสูตรนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาลามสูตร เพราะพระพุทธองค์ตรัสแก่ชาวบ้านตำบลกาลามะ ในแคว้นโกศล คนทั่วไปนิยมเรียกว่ากาลามสูตรมากกว่า เรื่องตาบอดคลำช้างก็เอวัง ด้วยประการฉะนี้ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 02, 2013, 10:16:57 PM อนุโมทนาสาธุ ครับ พระอาจารย์ phraedhammajak
หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: the suffering ที่ พฤษภาคม 04, 2013, 07:28:03 PM "จิตเป็นสภาพรู้อารมณ์ ตราบใดที่มีจิต การรับรู้อารมณ์ก็ย่อมมีเป็นธรรมดา โดยไม่ต้องสงสัย ดังนั้นบุคคลธรรมดารับรู้อารมณ์อย่างไร พระอรหันต์ก็ย่อมจะต้องรับรู้อารมณ์อย่างนั้น และการรับรู้อารมณ์ของท่านน่าจะเป็นไปด้วยดี ยิ่งเสียกว่าคนธรรมดาสามัญด้วยซ้ำ เพราะจิตของท่านไม่มีเมฆหมอกคือกิเลสปกคลุมอยู่ อันจะทำให้ความสามารถรับรู้อารมณ์ลดลง" ดังนี้ การกล่าวหาว่าพระอรหันต์ไม่รับรู้อะไร ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวอะไรทั้งนั้น จึงไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน ส่วนการที่ท่านหมดความยึดมั่นถือมั่นโดยสิ้นเชิงนั้น ย่อมหมายความว่าแม้กระทั่งความไม่ยึดมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ย่อมไม่มีแก่ท่าน กล่าวคือ ท่านหมดทั้งความยึดมั่นถือมั่น และความไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่มีทั้งความพอใจในสิ่งใด ทั้งความรังเกียจในสิ่งใด ดังนี้จึงจะเรียกว่า "โดยสิ้นเชิง" ได้ จิตของท่านจึงลอยเด่นเหนือความดึงดูดและผลักดันต่อสรรพสิ่งเป็นอิสระชั่วนิรันดร สาธุ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 28, 2013, 07:15:26 AM (http://kammatan.com/gallary/images/20090421134840_img_2899.jpg)
ธรรมสนทนาของหลวงปู่ดูลย์ (ท่านมีอายุได้ ๙๐ ปี และได้เข้าพักที่ พระตำหนักทรงพรต วัดบวรฯ) ถาม : พุทโธ เป็นอย่างไร หลวงปู่ : เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็ กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย ถาม : การภาวนาเข้าไปเห็นจิตผู้รู้นั้น ทำอย่างไรครับ หลวงปู่ : ทำให้มากๆ ทำให้บ่อยๆ ถาม : เห็นจิตครั้งเดียวนี้ ใช้ได้ไหมครับ หลวงปู่ : เห็นครั้งเดียวถ้าชัดเจนแล้วไม่ลืม ทำให้ชำนาญ เมื่อเกิดความสงบแล้วก็พิจารณาความสงบ หัดเข้าหัดออกให้ชำนาญ เมื่อเวลาภาวนา จิตสงบแล้ว พิจารณา รู้ว่าเป็นอย่างนี้ๆ เมื่อถึงเวลาคับขัน สิ่งที่พร้อมอยู่แล้วมันก็ย่อมเป็นไปเอง ก็มีเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากมาย ถาม : ในเวลาคับขันเกิดจะตายขึ้นมากะทันหัน และเราเข้าสมาธิไม่ทัน จะทำอย่างไรครับ หลวงปู่ : นั่นแหละ ต้องหัดเข้าให้ชำนาญ ถ้าชำนาญแล้วอะไรมาปิดบังไม่ได้หรอก ถาม : หลวงปู่ครับ ความสงบนั้นเราจะทำอย่างไรให้มีตลอดไป หลวงปู่ : ความสงบ รึ ภาวนานั่นเอง ภาวนาให้จิตเกิด ถาม : การงดเว้นจากการทำภาวนา จิตเราจะเสื่อมไหมครับ หลวงปู่ : ถ้าหากเรารู้ถึงความเป็นจริงแล้ว ไม่เสื่อม ถ้ารู้ไม่ถึงความเป็นจริงมักจะเสื่อม ถาม : คิดๆ ไป ทั้งที่คิดไปเห็นแต่กลับไม่เห็นอีก หลวงปู่ : มันจะเห็นมาจากไหน ไปหาให้มันเห็น มันไม่เคยให้ใครเห็นหรอก เลิกหา เลิกคิดของเก่าที่เคยเห็น ทำเอาใหม่ ให้เลิกอยากรู้อยากเห็นของเก่า ทำใหม่อีกมันก็เกิดใหม่อีก อย่าไปยึดสิ่งที่เคยเป็นแล้วเกิดใหม่อีก ทำใหม่อีก ดูแต่จิตอย่างเดียว อะไรๆ ออกจากจิตอย่างเดียวเท่านั้น ถาม : ดูจิตแล้วเห็นปรุงแต่งเรื่องราวมากมาย ไม่ชนะ จะตามดับ หลวงปู่ : ต้องลำบากไปตามดับมันทำไม ดูแต่จิตอย่างเดียวมันก็ดับไปเอง มันออกไปปรุงแต่งข้างนอก มันเกิดจากต้นตอที่จิตทั้งนั้นหาแต่ต้นตอให้พบ ก็จะรู้แจ้งหมด อะไรก็ไปจากนี้ อะไรๆ ก็มารวมอยู่ที่นี้ทั้งหมด (ท่านพูดพลางเอาหัวแม่มือชี้ที่หน้าอก) สิ่งที่ได้รู้ได้เห็น แล้วอยากรู้อยากเห็นอีก นั่นแหละคือตัวกิเลส ถาม : เมื่อถึงโลกุตตระแล้ว มีเมตตา กรุณาอะไรไหมครับ หลวงปู่ : ไม่มีหรอก ความเมตตา กรุณา อยู่เหนือสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อยู่ในโลกทั้งหมด จิตสูงสุดหลุดพ้น อยู่เหนือโลกทั้งหมด ถาม : ไม่มีเมตตาหรือครับ หลวงปู่ : มีก็ไม่ว่า ไม่มีก็ไม่ว่า เลิกพูดเลิกว่า เลิกอะไรๆ ทั้งหมด มันเป็นเพียงคำพูดแท้ๆ ให้ดูจิตอย่างเดียวเท่านั้น ความเป็นจริงแล้ว เป็นแต่เพียงคำพูด สลัดทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเป็นมายาออกเสีย ตัวผู้ที่รู้และเข้าใจอันนี้แหละคือตัว พุทธะ หมดภารกิจ หมดทุกอย่างที่จะทำอะไรต่อไปอีก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมลงอยู่ที่นี่ จบอยู่ที่นี่ ไม่มียาวต่อไปอีกไม่มีเล็ก...ใหญ่...หญิง...ชาย...อยู่ว่างเปล่า ไม่มีคำพูด เปล่า เปล่า บริสุทธิ์ (เสียงระฆังวัดบวรฯ ทำวัตรเย็นดังขึ้น รับประโยคสุดท้ายของหลวงปู่) ดังนั้นคำภาวนา "พุทโธ" ของชีวิตแต่ละคนอาจจะมีเป็นแสนเป็นล้าน ๆ ครั้ง แต่จะมีเพียงหนึ่ง "พุทโธ" ครั้งสำคัญที่พลิกชีวิตให้กระจ่างในธรรมตลอดไป หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 19, 2013, 10:06:57 AM พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน
พระอานนท์อนุชาว่า.. "อานนท์!เธอจง ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัยเอง" “คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มีเพื่ออาศัยสิ่งนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติถึงสิ่งที่ไม่มีและ อยู่กับสิ่งที่ไม่มี การฟังจากคนอื่น การค้นคว้าจากตำรานั้นไม่อาจแก้ข้อสงสัยได้ ต้อง"เพียรปฏิบัติ" ทำ"วิปัสสนาญาณ"ให้แจ้ง ความสงสัยก็หมดไปโดยสิ้นเชิง..” _/|\__หลวงปู่ดูลย์ อตุโล__/|\_ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 30, 2013, 11:41:44 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20121117133104_luangpu_doon3.jpg)
วันนี้วันที่ ๓๐ ตุลาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพปีที่ ๓๐ ของพระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) “พระอริยเจ้าผู้มีความสามารถเป็นเลิศในการสอนธรรม” แห่งวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระเดชพระคุณหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระสุปฏิปันโน ผู้มีโวหารธรรมอันแหลมคม เป็นพี่ชายใหญ่ในสายกัมมัฏฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านมีอุปนิสัยเยือกเย็น เป็นพระพูดน้อย รักสงบ จิตใจฝักใฝ่ในความวิเวก หลวงปู่มั่น ได้กล่าวยกย่องว่า “..ถูกต้องดีแล้ว เอาตัวรอดได้แล้ว นับว่าไม่ถอยหลังอีกแล้ว ขอให้ดำเนินตามปฏิปทานี้ต่อไป” และยังได้กล่าวสรรเสริญให้ปรากฏต่อศิษย์ทั้งหลายว่า “..ท่านดูลย์..นี้เป็นผู้มีความสามารถอย่างยิ่ง สามารถมีสานุศิษย์และผู้ติดตามมาประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก” หลวงปู่ดูลย์ ท่านถือกำเนิด ตรงกับวันอังคารที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๑ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ณ บ้านปราสาท ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ท่านอุปสมบท ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๕๓ ณ วัดจุมพลสุทธาวาส จ.สุรินทร์ ญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดสุทัศนาราม จ.อุบลราชธานี โดยมีพระมหารัตน์ รัฏฐปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วท่านและเพื่อนสหธรรมิกคือหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ได้ออกธุดงค์ติดตามขอฟังโอวาทธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฏ์แรงกล้าจนแสงแห่งพระธรรมบังเกิดขึ้น หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ณ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ สิริอายุ ๙๕ ปี ๒๖ วัน พรรษา ๖๕ “..ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์๕ แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท หยุดการปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา หยุดกริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล _/\_ _/\_ _/\_ ขอบพระคุณข้อมูลจาก : FB ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 14, 2013, 08:57:51 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20090421134840_img_2899.jpg)
หลวงปู่ดู่เคยสอนไว้ว่า เวลาทำบุญให้อธิษฐานสั้นๆไปเลยว่า... เวลาทำบุญ ควรอธิษฐานอย่างไร คนส่วนใหญ่เวลาทำบุญมักอธิษฐานว่า... ขอให้รวย ขอให้สุขภาพแข็งแรง ขอให้ได้ยศตำแหน่ง ฯลฯ แต่ที่จริงแล้วมีคำอธิษฐานที่ง่าย สั้น ครบวงจรเป็นประโยชน์ครบถ้วนกว่ามาก หลวงปู่ดู่เคยสอนไว้ว่า เวลาทำบุญให้อธิษฐานสั้นๆไปเลยว่า... "ขอให้ประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์" เพราะคำว่า ความดี นั้นรวมครบหมด ทั้งรวย สุขภาพดี มียศตำแหน่ง มีคนรักเมตตา ฯลฯ ส่วนปราศจากความทุกข์ก็ตัดสิ่งไม่ดีหมดทุกอย่าง ไม่มีทุกข์ ไม่มีโรคภัย ไม่มีอุปสรรค ไม่มีศัตรู ฯลฯ ที่สำคัญคือ การ "พบแต่ความดี" นั้นสำคัญมาก เพราะแม้เราจะขอพร จนร่ำรวยจริง แต่ไม่ดี เงินนั้นเราอาจเอาไปเล่นพนัน ไปซื้อยาบ้า สุดท้ายก็พาไปนรก แม้จะมียศตำแหน่ง แต่ปราศจากความดี ก็อาจเอาตำแหน่งนี้ ไปข่มเหงรังแกคนอื่น คดโกงประเทศชาติ ก็มีนรกเป็นที่ไป แม้จะมีแต่ใครๆ ก็รักเมตตา แต่หากเราไม่ดี เราก็อาจกลายเป็นคนเจ้าชู้ หลอกคนนี้ให้รัก คนนั้นให้หลง สุดท้ายก็ทะเลาะตบตีกัน และไปนรกกันทั้งหมู่ "การขอให้พบความดี" จึงถือเป็นพรอันสำคัญที่สุด เพราะผู้ที่จะทำความดี ต้องมีปัญญาพอที่จะรู้ว่าความดีมีประโยชน์เช่นใด ดังนั้นเมื่อมีปัญญา แม้จะเกิดมาจน ก็ใช้ปัญญาหาเงินจนรวยได้ แม้จะเกิดมาต่ำต้อย ก็ใช้ปัญญาทำงานหายศตำแหน่งมาได้ไม่ยาก แม้เกิดมาไม่มีใครรัก แต่หากมีปัญญารู้จักพูดจา ใครๆก็จะหันมารัก ที่สำคัญคือเมื่อมีปัญญา ก็รู้ว่า... ความชั่วไม่มีประโยชน์ไม่ควรทำ ความดีมีแต่ประโยชน์และควรทำ ดังนั้นจึงเป็นผู้มีความสุขทั้งโลกนี้ และโลกหน้า มีแต่สุคติเป็นที่ไป ใครอยู่ใกล้ก็มีความสุข ดังนั้น เวลาทำบุญครั้งใด อธิษฐานง่ายๆก็ได้เช่นกันว่า "ขอให้พบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์..." ขอบพระคุณข้อมูล FB : สวนสันติธรรม ครับผม หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 22, 2013, 04:23:16 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20131122162236_luangpu_doon.jpg)
"อาศัย พลังอัปปนาสมาธิ นั่นแหละ มาตรวจสอบจิต แล้วปล่อยวาง อารมณ์ทั้งหมด อย่าให้เหลืออยู่" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 03, 2013, 06:26:46 PM " ศีรษะ ที่ปลงผมหมดแล้ว
สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อย เช่น เหา ย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ ฉันใด จิต ที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ ฉันนั้น " พระธรรมคำสอน หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 12, 2013, 10:23:07 PM หลวงปู่ดูลย์ท่านแนะนำว่า "การปฏิบัติแบบจิตเห็นจิต เป็นแนวทางปฏิบัติที่ลัดสั้น
และบรรลุเป้าหมายได้ฉับพลัน ก้าวล่วงภยันตรายได้สิ้นเชิง ทันทีที่กำหนดจิตใจได้ถูกต้อง แม้เพียงเริ่มต้น ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยครูบาอาจารย์อีก” ศิษย์ของหลวงปู่ชื่อ หลวงตาพวง ได้มาบวชตอนวัยชรา นับเป็นผู้บุกเบิกสำนักปฏิบัติธรรมบนเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ หลวงตาพวงได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้แก่การประพฤติปฏิบัติ เพราะท่านสำนึกตนว่ามาบวชเมื่อแก่ มีเวลาแห่งชีวิตเหลือน้อย จึงเร่งความเพียรตลอดวันตลอดคืน พอเริ่มได้ผล เกิดความสงบ ก็เผชิญกับวิปัสสนูปกิเลสอย่างร้ายแรง เกิดความสำคัญผิด เชื่อมั่นอย่างสนิทว่าตนเองได้บรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งเป็นผู้สำเร็จผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการ ได้เล็งญาณ (คิดเอง) ไปจนทั่วสากลโลกเห็นว่าไม่มีใครรู้หรือเข้าถึงธรรมเสมอด้วยตน บังเกิดจิตคิดเอ็นดูสรรพสัตว์ทั้งหลาย ใคร่จะไปโปรดให้พ้นจากทุกข์โทษความโง่เขลา เล็งเห็นพระสงฆ์ทั้งหมด ตลอดจนครูบาอาจารย์ ล้วนแต่ยังไม่รู้ จึงตั้งใจจะต้องไปโปรดหลวงปู่ดูลย์ผู้เป็นพระอาจารย์เสียก่อน ดังนั้น หลวงตาพวงจึงได้เดินทางด้วยเท้าเปล่ามาจากเขาพนมรุ้ง เดินทางข้ามจังหวัดมาไม่ต่ำกว่า ๘๐ กิโลเมตร มาจนถึงวัดบูรพาราม หวังจะแสดงธรรมให้หลวงปู่ฟัง หลวงตาพวงมาถึงวัดบูรพาราม เวลา ๖ ทุ่มกว่า กุฏิทุกหลังปิดประตูหน้าต่างหมดแล้ว พระเณรจำวัดกันหมด หลวงปู่ก็เข้าห้องไปแล้ว ท่านก็มาร้องเรียกหลวงปู่ด้วยเสียงอันดัง ตอนนั้นท่านเจ้าคุณพระโพธินันทมุนี ยังเป็นสามเณรอยู่ ได้ยินเสียงเรียกดังลั่นว่า “หลวงพ่อ หลวงพ่อ หลวงพ่อดูลย์...” ก็จำได้ว่าเป็นเสียงของหลวงตาพวง จึงลุกไปเปิดประตูรับ สังเกตดูอากัปกิริยาก็ไม่เห็นมีอะไรผิดแปลก เพียงแต่รู้สึกแปลกใจว่า ตามธรรมดาท่านหลวงตาพวงมีความเคารพอ่อนน้อมต่อหลวงปู่ พูดเสียงเบา ไม่บังอาจระบุชื่อของท่าน แต่คืนนี้ค่อนข้างจะพูดเสียงดังและระบุชื่อด้วยว่า “หลวงตาดูลย์ ออกมาเดี๋ยวนี้ พระอรหันต์มาแล้ว” ครั้นเมื่อหลวงปู่ออกมาแล้ว ตามธรรมดาหลวงตาพวงจะต้องกราบหลวงปู่แต่คราวนี้ไม่กราบ แถมยังต่อว่าเสียอีก “อ้าว! ไม่เห็นกราบ ท่านผู้สำเร็จมาแล้ว ไม่เห็นกราบ” เข้าใจว่าหลวงปู่ท่านคงทราบโดยตลอดในทันทีนั้นว่าอะไรเป็นอะไร ท่านจึงนั่งเฉย ไม่พูดอะไรแม้แต่คำเดียว ปล่อยให้หลวงตาพวงพูดไปเรื่อยๆ หลวงตาพวงสำทับว่า “รู้ไหมว่าเดี๋ยวนี้ผู้สำเร็จอุบัติขึ้นแล้ว ที่มานี่ก็ด้วยเมตตา ต้องการจะมาโปรด ต้องการจะมาชี้แจงแสดงธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ" หลวงปู่ยังคงวางเฉย ปล่อยให้ท่านพูดไปเป็นชั่วโมงทีเดียว สำหรับพวกเราพระเณรที่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ก็พากันตกอกตกใจกันใหญ่ ด้วยไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่ ครั้นปล่อยให้หลวงตาพวงพูดนานพอสมควรแล้ว หลวงปู่ก็ซักถามเป็นเชิงคล้อยตามเอาใจว่า “ที่ว่าอย่างนั้นๆ เป็นอย่างไร และหมายความว่าอย่างไร"หลวงตาพวงก็ตอบตะกุกตะกัก ผิดๆ ถูกๆ แต่ก็อุตส่าห์ตอบ เมื่อหลวงปู่เห็นว่าอาการรุนแรงมากเช่นนั้น จึงสั่งว่า “เออ เณรพาหลวงตาไปพักผ่อนที่โบสถ์ ไปโน่น ที่พระอุโบสถ” ท่านเณร (เจ้าคุณพระโพธินันทมุนี) ก็พาหลวงตาไปที่โบสถ์ ไปเรียกพระองค์นั้นองค์นี้ที่ท่านรู้จักให้ลุกขึ้นมาฟังเทศน์ฟังธรรม รบกวนพระเณรตลอดทั้งคืน หลวงปู่พยายามแก้ไขหลวงตาพวงด้วยอุบายวิธีต่างๆ หลอกล่อให้หลวงตานั่งสมาธิ ให้นั่งสงบแล้วย้อนจิตมาดูที่ต้นตอ มิให้จิตแล่นไปข้างหน้า จนกระทั่งสองวันก็แล้ว สามวันก็แล้ว ไม่สำเร็จ หลวงปู่จึงใช้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งคงเป็นวิธีของท่านเอง ด้วยการพูดแรงให้โกรธหลายครั้งก็ไม่ได้ผล ผ่านมาอีกหลายวันก็ยังสงบลงไม่ได้ หลวงปู่เลยพูดให้โกรธด้วยการด่าว่า “เออ! สัตว์นรก สัตว์นรก ไปเดี๋ยวนี้ ออกจากกุฏิเดี๋ยวนี้” ทำให้หลวงตาพวงโกรธอย่างแรง ลุกพรวดพราดขึ้นไปหยิบเอาบาตร จีวรและกลดของท่านลงจากกุฏิ มุ่งหน้าไปวัดป่าโยธาประสิทธิ์ ซึ่งอยู่ห่างจากวัดบูรพารามไปทางใต้ประมาณ ๓-๔ กิโลเมตร ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) ยังพำนักอยู่ที่นั่น ที่เข้าใจว่าหลวงตาพวงโกรธนั้น เพราะเห็นท่านมือไม้สั่น หยิบของผิดๆ ถูกๆ คว้าเอาไต้ (สำหรับจุดไฟ) ดุ้นหนึ่ง นึกว่าเป็นกลด และยังเปล่งวาจาออกมาอย่างน่าขำว่า “เออ! กูจะไปเดี๋ยวนี้ หลวงตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู” เสร็จแล้วก็คว้าเอาบาตร จีวร และหยิบเอาไต้ดุ้นยาวขึ้นแบกไว้บนบ่า คงนึกว่าเป็นคันกลดของท่าน แถมคว้าเอาไม้กวาดไปด้ามหนึ่งด้วย ไม่รู้เอาไปทำไม ครั้นหลวงตาพวงไปถึงวัดป่า ทันทีที่ย่างเท้าเข้าสู่บริเวณวัดป่านี่เอง อาการของจิตที่น้อมไปติดมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก โดยปราศจากการควบคุมของสติที่ได้สัดส่วนกัน ก็แตกทำลายลง เพราะถูกกระแทกด้วยอานุภาพแห่งความโกรธ อันเป็นอารมณ์ที่รุนแรงกว่า ยังสติสัมปชัญญะให้บังเกิดขึ้น ระลึกย้อนกลับได้ว่า ตนเองได้ทำอะไรลงไปบ้าง ผิดถูกอย่างไร สำคัญตนผิดอย่างไร และได้พูดวาจาไม่สมควรอย่างไรออกมาบ้าง เมื่อหลวงตาพวงได้สติสำนึกแล้ว ก็ได้เข้าพบท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์และเล่าเรื่องต่างๆ ให้ท่านทราบ ท่านเจ้าคุณฯ ก็ได้ช่วยแนะนำและเตือนสติเพิ่มเติมอีก ทำให้หลวงตาพวงได้สติคืนมาอย่างสมบูรณ์ และบังเกิดความละอายใจเป็นอย่างยิ่ง หลังจากได้พักผ่อนเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็ย้อนกลับมาขอขมาหลวงปู่กราบเรียนว่าท่านจำ คำพูดและการกระทำทุกอย่างได้หมด และรู้สึกละอายใจมากที่ตนทำอย่างนั้น หลวงปู่ได้แนะทางปฏิบัติให้ และบอกว่า "สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ว่าถึงประโยชน์ก็มีประโยชน์เหมือนกัน มีส่วนดีอยู่เหมือนกัน คือจะได้เป็นบรรทัดฐานเป็นเครื่องนำสติ มิให้ตกสู่ภาวะนี้อีก เป็นแนวทางตรงที่จะได้นำมาประกอบการปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างมั่นคง ในแนวทางตรงต่อไป” ขอบพระคุณข้อมูลจาก : FB K.Supani หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 23, 2013, 08:26:30 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20131223202601_luangpu_doon222.jpg)
" ที่เขามีความไม่พอใจ ก็เพราะ ใจเขามีความไม่พอ " โอวาทธรรม หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 10, 2014, 10:27:04 PM "ในทางโลก มีสิ่งที่มี
ส่วนในทางธรรม มีสิ่งที่ไม่มี" พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 10, 2014, 10:55:39 PM ทุกอย่าง รวมอยู่ที่ความประพฤติ
คือ ฤกษ์ดี ฤกษ์ร้าย โชคดี โชคร้าย เรื่องเคราะห์ กรรม บาป บุญ อะไรทั้งหมดนี้ ล้วนออกไปจาก "ความประพฤติของมนุษย์" ทั้งนั้น หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 19, 2014, 02:10:08 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20140419141200_luangpu_doon.jpg)
ความคิดนั้นมันเกิดอยู่เสมอ เหมือนลมหายใจนั่นเอง ห้ามไม่ได้ การปฏิบัติก็ไม่ได้มุ่งดับความคิด เอาแค่ว่า พอรู้อารมณ์แล้ว จิตมันคิดนึกปรุงแต่ง ก็ให้รู้ทัน อย่าฝันทั้งที่ตื่น คือหลงคิดไปโดยไม่รู้ตัวเท่านี้ก็พอ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 01, 2014, 06:55:03 AM ไม่จำเป็นต้องหอบสังขารนี้ไปที่ใหน
ถ้าตั้งใจจริงแล้วนั่งอยู่ที่ใหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ใหน ยืนอยู่ที่ใหน เดินอยู่ที่ใหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้นแล.. หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 29, 2014, 11:04:40 PM ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอก ว่า เขารู้อะไร
เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่าธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่าไม่มีธรรมนั่นแหละ มันเป็นธรรมของมันในตัว เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้นไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซึมซาบอยู่ในสิ่งทุกๆสิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไร จะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใคร จะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว จิตเห็นจิต อย่างแจ่มแจ้ง จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของจักรวาลเดิมเข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 29, 2014, 11:07:33 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20140829230711_luangpu_doon.jpg)
เมื่อจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งปวง ก็รวมอยู่ในจิตที่สงบนั้นเอง เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สว่าง ทำจิตให้บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ก็คือความสงบนั่นเอง เบื้องต้นที่จะทำจิตให้สงบ ก็ไม่มีอะไรมากมาย คือภาวนา การภาวนาก็ไม่เอาอะไรมากมายนัก เอาพุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว ก่อนที่จะภาวนา เราต้องตัดอารมณ์ข้างนอก ออกให้หมดเสียก่อน คือไม่ส่งอารมณ์ออกไปนอก อารมณ์ที่ส่งไปนอกไปหาปรุง หาแต่ง ไปหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด จิตของเราไม่สงบ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะภาวนาเราต้องตัดอารมณ์ออกให้หมด ไม่ต้องส่งจิตไปนอก หันมาดูจิตของเรา อยู่ในจิตของเรา ตั้งสติอยู่ในจิต แล้วก็บริกรรม ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว แต่ว่าให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก วิธีนั่งบริกรรม นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ เอาตีนขวาทับตีนซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็หลับตา แล้วก็ดูจิต คือผู้รู้นั้นเอง จิตผู้รู้มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ต้องไปหาที่อื่น ตั้งจิตอยู่ในจิต ตั้งสติอยู่ในจิต ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมายเอาพุทโธอย่างเดียว แล้วบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธไป จนจิตของเรามันสงบ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 29, 2014, 11:11:27 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20140829231109_luangpu_doon2.jpg)
นักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร? คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สว่าง ทำจิตให้บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ก็คือความสงบนั่นเอง เบื้องต้นที่จะทำจิตให้สงบ ก็ไม่มีอะไรมากมาย คือภาวนา การภาวนาก็ไม่เอาอะไรมากมายนัก เอาพุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว ก่อนที่จะภาวนา เราต้องตัดอารมณ์ข้างนอก ออกให้หมดเสียก่อน คือไม่ส่งอารมณ์ออกไปนอก อารมณ์ที่ส่งไปนอกไปหาปรุง หาแต่ง ไปหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด จิตของเราไม่สงบ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะภาวนาเราต้องตัดอารมณ์ออกให้หมด ไม่ต้องส่งจิตไปนอก หันมาดูจิตของเรา อยู่ในจิตของเรา ตั้งสติอยู่ในจิต แล้วก็บริกรรม ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว แต่ว่าให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก วิธีนั่งบริกรรม นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ เอาตีนขวาทับตีนซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็หลับตา แล้วก็ดูจิต คือผู้รู้นั้นเอง จิตผู้รู้มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ต้องไปหาที่อื่น ตั้งจิตอยู่ในจิต ตั้งสติอยู่ในจิต ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมาย เอาพุทโธอย่างเดียว แล้วบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธไป จนจิตของเรามันสงบ ในการบริกรรมพุทโธ ผู้บริกรรมพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก ตาของเราหลับ แล้วให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ตั้งสติอยู่ตรงนั้นบริกรรมเรื่อยไป เวลามันสงบเราจะรู้เอง คือจิตมันรวม มันรวมวูบลง แล้วก็จิตมีอารมณ์อันเดียว นั่นมันสงบแล้ว แล้วถ้าจิตสงบแล้วเราไม่ต้องบริกรรมต่อไป จิตกำหนดอยู่เฉยๆ หมายถึงว่า จิตหลุดจากคำบริกรรมไป นั่นจิตมันรวม จิตมันสงบ แล้วเราก็ไม่ต้องหันมาบริกรรมอีก ความสงบอยู่ไหนก็ตั้งสติอยู่นั้น แล้วกำหนดดูอาการของสมาธินั้นเป็นอย่างไร แล้วก็ต้องจำให้ชัดเจน จิตของเราสงบแล้ว นี่ให้รู้จักว่าจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวง ก็ไปรวมอยู่ที่จิตที่สงบนั้นเอง ที่สูงสุดอยู่ตรงนี้ หาที่อื่นไม่พบ จิตที่สงบนั้นคือตัวบุญ เราต้องจำให้ชัด เวลาเรารู้ เรารู้เอง มันผุดขึ้นมาในจิตของเราให้รู้เฉพาะตน นั่นละตัวบุญที่แท้จริง แล้วไปหาที่อื่นไม่พบหรอกบุญ ต้องหาจากจิตจากใจของเรา ถ้าจิตของเราสงบ บุญเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องไปหาที่อื่น หาที่อื่นก็ไม่พบ บุญกับบาปก็ประจำอยู่แล้วทุกๆคนนั่นแหละ แต่บุญคือความสุข บาปคือความทุกข์ ทำจิตของเราให้สงบแล้ว หมายความว่าเราทำบุญเกิดแล้ว หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 15, 2014, 07:01:24 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20140915190105_luangpu_doon.jpg)
"ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรปล่อยให้ มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกําหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน" ...หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 26, 2014, 08:49:26 AM "การไม่กังวล การไม่ยึดถือ
นั่นแหละวิหารธรรมของนักปฏิบัติ" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 07, 2015, 09:00:28 PM "การบริกรรม พุทโธ เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร
ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอนดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละเจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ เปรียบได้ว่า มีลักษณะการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย" ...หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 27, 2015, 09:50:52 PM "หลวงปู่ดูลย์เคยสอนเราว่า
ธรรมะมันอยู่ตรงหน้าเรานี่แหล่ะ เพียงแต่เราเข้าใจผิดเพียงนิดเดียวเอง เราก็เลยหล่นลงไปสู่ความผิดพลาด เข้าใจผิด เมื่อเข้าใจผิดแล้ว ก็ผิดแล้วผิดเลย ว่าต้องเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ ไปย๊าวเหยียดเลย ธรรมะแท้ๆมันอยู่ตรงหน้าเรานี่แหล่ะ จะไปหามันทำไม ทำจิตให้เป็นปัจจุบันนี่ล่ะ ธรรมะแท้มันอยู่ตรงนี้" หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อ.บัวเชต จ.สุรินทร์ บันทึกโดย เขมปัญโญคฤหัสถ์ (ธรรมประทับใจ เอามาแบ่งให้สดับขอรับ) สาธุๆๆๆ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 30, 2015, 06:48:45 AM "หลักธรรมที่แท้จริงนั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง
เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่ง หลักธรรม เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียนจากตำรับตำรา หรือกับครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาก็ให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานั่นแหละ เมื่อจิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนา ให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 26, 2015, 10:16:19 PM หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
--------------------------------------- เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครู อาจารย์ อย่า เอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มาก ๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ควานรู้อะไร ๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และพุทโธนั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธนั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง..เท่านั้นแหละไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มาก ๆ เข้า ใน อิริยาบถ 4 ยืน เดิน นั่ง นอน อะไร อะไรทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านาน ๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธแล้วนะ นั่นแหล่ะ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้น ๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มาก ๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นาน ๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดนควารมสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 15, 2015, 05:56:49 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20151114195053_luangpu_doon.jpg)
"ทั้งหมดอยู่ที่ความประพฤติ" ..ตลอดชีวิตของหลวงปู่ ท่านจะไม่ยอมรับ กับการถือฤกษ์งามยามดีอะไรเลย แม้จะถูกถาม ถูกขอให้บอกเพียงว่า จะบวชวันไหน จะสึกวันไหน หรือวันเดือนปีไหนดี เสียอย่างไร หลวงปู่ก็ไม่เคยเผลอเอออวยด้วย มักจะพูดว่า..วันไหน เดือนไหนก็ดีทั้งนั้นแหละ! คือ ถ้ามีผู้ขอเช่นนี้ หลวงปู่ท่านมักให้เขาหาเอาเอง หรือ มักบอกว่า วันไหนก็ได้ ถ้าสะดวกดีแล้ว เป็นฤกษ์ดีทั้งหมด. หลวงปู่ จะสอนว่า.. "...ทุกอย่าง รวมอยู่ที่ความประพฤติ คือ ฤกษ์ดี ฤกษ์ร้าย โชคดี โชคร้าย เรื่องเคระห์ กรรม บาป บุญ อะไรทั้งหมดนี้ ล้วนออกมาจาก ความประพฤติของมนุษย์ ทั้งนั้น..." โอวาทธรรมคำสอน.. องค์หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 17, 2015, 01:07:43 PM "จิต ปรุงกิเลส" คือ การที่จิตบังคับ ให้กาย วาจา ใจ กระทำสิ่งภายนอก
ให้มี ให้เป็น ให้ดี ให้เลว ให้เกิดวิบากได้ แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา "กิเลส ปรุงจิต" คือ การที่สิ่งภายนอก เข้ามาทำให้จิต เป็นไปตามอำนาจของมัน แล้วยึดว่า มีตัว มีตนอยู่ สำคัญผิด จากความเป็นจริง อยู่ร่ำไป.. หลวงปู่ดูลย์ อตุโล.. หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 18, 2015, 07:57:00 AM (http://kammatan.com/gallary/images/20150918075633_luangpu_doon.jpg)
หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 06, 2015, 07:33:57 AM (http://kammatan.com/gallary/images/20151006073318_luangpu_doon.jpg)
ในหลวงกับพระอริยะ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมหลวงปู่เป็นการส่วนพระองค์ เมื่อทั้งสองพระองค์ทรงถามถึงสุขภาพอนามัยและการอยู่สำราญแห่งอริยาบถของหลวงปู่ ตลอดถึงทรงสนทนาธรรมกับหลวงปู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปุจฉาว่า "หลวงปู่ การละกิเลสนั้นควรละกิเลสอะไรก่อน" ฯ หลวงปู่ถวายวิสัชนา "กิเลสทั้งหมดเกิดรวมที่จิต ให้เพ่งมองดูที่จิต อันไหนเกิดก่อนให้ละอันนั้นก่อน" หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 10, 2016, 04:16:37 PM ที่ใจเป็นทุกข์ เพราะเกิดความยึดมั่น
แล้วมีการปรุงแต่งในความคิดขึ้น และอุบายที่จะละความทุกข์ก็คือ หยุดการปรุงแต่ง แล้วปล่อยวางให้เป็น ...หลวงปู่ดูลย์ อตุโล... หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 17, 2016, 10:54:04 AM ผู้เขียนได้พบหลวงปู่ดูลย์ อตุโล (พระราชวุฒาจารย์) แต่ครั้งแรกท่านไปพักเรียนหนังสืออยู่ที่วัดสุทัศนาราม อุบลราชธานี ในสมัยนั้นดูเหมือนท่านได้ ๑๐ พรรษา ท่านมีเมตตาแก่ผู้เขียนเป็นอันมาก พอเห็นหน้าตาเข้าเรียกร้องให้ไปหาและก็ได้สัมโมทนียกถาโดยสุภาพเรียบร้อย ตามวิสัยของท่าน ผู้มีนิสัยเช่นนั้น เพราะท่านพูดแต่ละคำนั้นดูเหมือนกลั่นกรองแล้วจึงค่อยพูด พูดเฉพาะที่จำเป็น ไม่ได้พูดพร่ำเพรื่อ และพูดในสิ่งที่ควรทำและทำได้ นับว่าเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง นิสัยอันนี้นับได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่คบหาสมาคม
ผู้เขียนก็ได้เข้าไปหาท่านเมื่อท่านเรียกโดยสุภาพเรียบร้อย ฟังโอวาทของท่านแล้วประทับใจจนกระทั่งบัดนี้ ไม่เฉพาะแต่ผู้เขียนเท่านั้นที่เห็นท่านแล้วเคารพนับถือ พระเณรทั้งวัดก็เคารพนับถือ ถึงแม้ท่านเป็นคณะมหานิกายมาอาศัยเรียนหนังสือชั่วคราวก็ตาม กิจการงานท่านเป็นหัวหน้าหมู่ในวัดนั้นได้ แม้แต่สมภารก็ยังนับถือท่านว่าเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง และการสร้างพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ สมภารยังนิมนต์ท่านมาช่วยควบคุมการก่อสร้าง ท่านได้ญัตติเป็นธรรมยุตก่อนเข้าพรรษา หรือออกพรรษาแล้วผู้เขียนชักจะลืมเสียแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ดี เมื่อออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์สิงห์ออกจากอุบลราชธานี ไปเที่ยววิเวกขึ้นมาทางจังหวัดสกลนคร-อุดรธานี-หนองคาย ท่านก็ได้ติดตามท่านอาจารย์สิงห์ไปด้วย จากนั้นหลายปีผู้เขียนกำลังเรียนหนังสือไม่ได้ติดตามข่าวของท่าน จนกระทั่งผู้เขียนได้บวชเป็นพระ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ เพราะเวลานั้นท่านอาจารย์สิงห์กลับคืนอุบลราชธานีอีก ได้ข่าวว่าหลวงปู่ดูลย์ก็กลับไปด้วย แต่ไม่ได้ไปอุบลราชธานี ท่านแยกไปทางจังหวัดสุรินทร์ เลยไม่ได้พบท่าน ได้ข่าวว่าเมื่อท่านกลับไปทางจังหวัดสุรินทร์แล้ว ก็ไม่ได้กลับไปทางจังหวัดสกลนคร-อุดรธานี-หนองคายอีก ท่านคงเที่ยวอยู่แถวจังหวัดสุรินทร์บ้านเดิมของท่าน เมื่องานศพหลวงปู่ฝั้น ที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จึงได้พบท่านอีก ท่านยังได้แสดงความเมตตาปรารถนาหวังดีต่อผู้เขียนอย่างยิ่ง ในที่ประชุมพระเถรานุเถระเป็นอันมาก ท่านยังอุตส่าห์มาทักทายปราศรัยกับผู้เขียน แล้วก็พูดธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้งสุขุมที่เป็นแนวปฏิบัติทั้งนั้น ท่านมักพูดแต่เรื่องจิต คือ เรียกว่า จิตคือพุทธะ และจิตที่ส่งออกไปภายนอกเรียกว่า สมุทัย อันเป็นเหตุนำทุกข์มาให้ ท่านพูดอย่างนี้บ่อยๆ ท่านพูดกับผู้เขียนอยู่นาน คล้ายๆ กับว่าท่านจะเมตตากับผู้เขียนโดยเฉพาะ ท่านพูดแต่ในทางปฏิบัติ เห็นว่าผู้เขียนเป็นผู้ปฏิบัติ คล้ายๆ กับว่าจะมีความรู้สูงในด้านปฏิบัติแต่แท้จริงแล้วเปล่า ก็พระเทสก์ธรรมดาๆ นี่เอง ต่อมา ครั้งสุดท้ายท่านได้ไปวางศิลาฤกษ์อุโบสถวัดหนึ่งที่อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี แล้วท่านไปนอนค้างที่วัดของผู้เขียนคืนหนึ่ง ท่านก็พูดอย่างเก่า รู้สึกว่าท่านกระฉับกระเฉงแข็งแรงมาก ชราภาพถึงขนาดนั้นแล้วรูปร่างลักษณะของท่านยังไม่เปลี่ยนแปลงไปนัก และท่านไม่เคยถือไม้เท้าเลย ในโอวาทของท่านที่ท่านพูดว่า จิต คือ พุทธะ ในตอนนี้ผู้เขียนขออธิบายว่า พุทธะ คือความรู้ทั่วไป ไม่ได้หมายถึงสัมมาสัมพุทธะ พุทธะ คือผู้รู้ทั่วไป หรือธาตุรู้ก็ว่า แล้วก็อีกคำหนึ่งท่านว่า จิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย มันก็แน่ทีเดียว ถ้าจิตส่งแล้วมันเป็นตัวสมุทัย โดยความเข้าใจของผู้เขียน จิต คือผู้คิดผู้นึก ผู้ส่ง ผู้ปรุงแต่ง ผู้จดผู้จำ เป็นอาการวุ่นวายของจิตทั้งหมด ครั้นมาเห็นโทษเห็นภัยเห็นเช่นนั้นแล้วถอนเสียจากความยุ่ง ความวุ่นวายแล้ว เข้ามาหาตัวเดิม คือ ใจ แล้วไม่มีคิดไม่มีนึก ไม่มีส่งไม่ส่าย ไม่มีจดไม่มีจำอะไรทั้งหมด คือเป็นกลางๆ อยู่เฉยๆ นี่ละ ผู้เขียนเรียกว่า ใจ คืออยู่กลางๆ ของความดีความชั่ว ความปรุงความแต่ง อดีตอนาคตปล่อยวางหมด จึงกลับมาเป็นใจ จิตคือ พุทธะ ท่านคงหมายเอาตอนนี้ ผู้ใคร่อยากรู้ใจแท้ ถึงแม้ยังไม่เป็นสาวกพุทธะปัจเจกพุทธะ สัมมาสัมพุทธะก็ตาม ขอให้ศึกษาพอเป็นสุตพุทธะเสียก่อน คือ จงกลั้นลมหายใจไปสักพักหนึ่งลองดู ในที่นั่นจะไม่มีอะไรทั้งหมด นอกจากความรู้เฉยๆ ความรู้ว่าเฉยนั่นแหละเป็นตัวใจ พุทธะ ทั้งสี่จะมีขึ้นมาได้ ก็เพราะมีใจ ดังนี้ ถ้าหาไม่แล้ว พุทธะทั้งสี่จะมีไม่ได้เลยเด็ดขาด แท้จริง จิตกับใจ ก็อันเดียวกันนั่นเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ตรัสไว้ว่า จิตอันใดใจก็อันนั้น แต่ผู้เขียนมาแยกออกเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายตามภาษาบ้านเราเท่านั้น เมื่อพูดถึงใจแล้วต้องหมายความของกลาง อย่างใจมือ ใจเท้า หรือใจไม้ แม้แต่ใจของคนก็ชี้เข้าตรงที่ท่ามกลางอกนั่นเอง แต่ความจริงแล้วใจไม่ได้อยู่ที่นั่น ใจย่อมอยู่ในที่ทั่วไป สุดแท้แต่จะเอาไปเพ่งไว้ตรงไหน แม้แต่ฝาผนังตึกหรือต้นไม้ เมื่อเอาใจไปไว้ตรงนั้น ใจก็ย่อมปรากฏอยู่ ณ ที่นั้น คำพูดของหลวงปู่ดูลย์ที่ว่า จิต คือ พุทธะ ย่อมเข้ากับคำอธิบายของผู้เขียนที่ว่า ใจ คือ ความเป็นกลางนิ่งเฉย ไม่ปรุงแต่ง ไม่นึกไม่คิด ไม่มีอดีตอนาคต ลงเป็นกลางมีแต่รู้ตัวว่านิ่งเฉยเท่านั้น เมื่อออกมาจาก ใจ แล้วจึงรู้คิดนึกปรุงแต่งสารพัด วิชาทั้งปวงเกิดจากจิตนี้ทั้งสิ้น นักปฏิบัติทั้งหลายจึงต้องควบคุมจิตของตน ด้วยตั้ง สติรักษาจิต อยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตแส่ส่ายไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลก รู้ว่าเป็นไปเพื่อก่อแล้ว รีบดึงกลับมาให้เข้าใจ นับว่าใช้ได้แต่ยังไม่ดี ต้องเพียรพยายามฝึกหัดต่อไปอีก จนกระทั่งใจนึกคิดปรุงแต่งไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลก ก็ รู้เท่าทัน ทุกขณะ อย่าไปตามรู้หรือรู้ตาม จะไม่มีเวลาตามทันเลยสักที เหมือนคนตามรอยโคไม่เห็นตัวมัน จึงตามรอยมัน รู้เท่า คือ เห็นตัวมัน แล้วผูกมัดเอาตัวมันเลย แล้วฝึกหัดจนกระทั่งมันเชื่อง แล้วจะปล่อยให้มันอยู่อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องตามหามันอีก นับว่าใช้ได้ดี ถ้าตามใจของตนไม่ทัน หรือไม่เห็นใจตน มันจะไปหรืออยู่ หรือมันจะคิดดีคิดร้ายอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องของมัน นั้นใช้ไม่ได้เลย จมดิ่งลงกามภพโดยแท้ เราขอตักเตือนเพื่อนสหธรรมิก ผู้บวชมาหวังความบริสุทธิ์เจริญก้าวหน้าในพุทธศาสนาว่า การกระทำสิ่งใดด้วยกาย วาจา และใจอันเป็นไปเพื่อโลก เมื่อถามตนเองก็รู้อยู่และโลกมนุษย์ทั้งหลายก็รู้อยู่ สิ่งนั้นผิดวิสัยของสมณะ จงละเสียอย่ากระทำ จงศึกษาแต่ธรรมวินัยและข้อวัตรปฏิบัติให้เข้าใจถ่องแท้ และปฏิบัติตามให้ถูกทุกประการ อันจะนำมาซึ่งความเย็นใจแก่ตน และเป็นเหตุให้คนอื่นเกิดความเลื่อมใสศรัทธา เป็นเหตุให้พุทธศาสนาจีรังถาวรสืบไป หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (พระราชวุฒาจารย์) ได้สละทิ้งร่างกายอันกอปรด้วยของปฏิกูลโสโครกทนได้ยาก พร้อมทั้งญาติโยมและสานุศิษย์จำนวนมากไปแล้ว แต่เมตตาธรรมที่ท่านได้ประสาทไว้แก่สานุศิษย์ทั้งหลาย ยังเหลืออยู่ คุณธรรมดังกล่าวแล้วประทับจิตใจของทุกๆ คนไม่ลืมหาย กระผม พระเทสรังสี พร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา และสานุศิษย์พระภิกษุสามเณรทั้งหลาย ขอน้อมถวายความเคารพด้วยกายวาจาและใจ ในที่ทุกสถาน ทุกกาล ทุกเมื่อ พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี) ๙ มีนาคม ๒๕๒๘ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 05, 2016, 07:50:49 AM (http://kammatan.com/gallary/images/20160505075017_luangpu_doon.jpg)
"การให้ธรรมะ ชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย เพราะบุคคลจะพ้นจากความตาย ไม่ต้องเกิดอีกได้ ก็เพราะอาศัยการได้สดับตรับฟังธรรม ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสว่า การให้ธรรมะชนะการให้ (สิ่งอื่น) ทั้งปวง แม้การจะทำทานให้ถูกต้อง ก็ต้องอาศัยการฟังธรรม" ....หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 22, 2016, 08:51:49 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20160522205119_luangpu_doon.jpg)
อุบาสกผู้คงแก่เรียนคนหนึ่ง สนทนากับหลวงปู่ว่า "กระผมเชื่อว่า แม้ในปัจจุบันพระผู้ปฏิบัติถึงขั้นได้บรรลุ มรรคผลนิพพานก็คงมีอยู่ไม่น้อย เหตุใดท่านเหล่านั้นจึงไม่แสดงตนให้ ปรากฏ เพื่อให้ผู้สนใจปฏิบัติทราบว่าท่านได้บรรลุถึงคุณธรรมนั้นๆแล้วเขาจะได้มีกำลังใจและมีความหวัง เพื่อเป็นพลังเร่งความเพียร ในทางปฏิบัติให้เต็มที่" ฯ หลวงปู่กล่าวว่า "ผู้ที่เขาตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดว่าเขารู้แล้วซึ่งอะไร เพราะสิ่งนั้นมันอยู่เหนือคำพูดทั้งหมด" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 22, 2016, 07:57:49 AM นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก
เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใดๆทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ เมื่อเวทนาขันธ์สุดท้ายแท้ๆจริงๆได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรมและหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆในพระองค์ท่านไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่งเท่านั้นเอง นั่นแลคือลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มิถุนายน 22, 2016, 08:07:03 AM จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 20, 2016, 08:54:37 PM (http://www.kammatan.com/th/wp-content/uploads/2016/08/luangpu_doon-212x300.jpg)
เรื่องเล่าเช้าวันพระ: วันสุดท้ายของหลวงปู่ดูลย์ เขียนเล่าเรื่อง พระไพศาล วิสาโล หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๓๑ ดังนั้นเมื่อถึงเดือนตุลาคม ๒๕๒๖ คณะศิษย์จึงจัดงานฉลองในโอกาสที่ท่านมีอายุครบ ๘ รอบ หรือ ๙๖ ปีบริบูรณ์ โดยกำหนดจัดงานวันที่ ๒๙ ตุลาคม หนึ่งวันก่อนเริ่มงานหลวงปู่มีอาการผิดปกติตั้งแต่เช้ามืด คือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย กระสับกระส่าย ตัวร้อนคล้ายจะเป็นไข้ หลังจากหมอมาตรวจร่างกายแล้วถวายยาให้ฉัน ร่างกายของท่านก็ดูเป็นปกติแต่ยังเพลียอยู่ ตลอดทั้งวันท่านได้สนทนาธรรมกับลูกศิษย์ น้ำเสียงชัดเจน สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ตอบคำถามเกี่ยวกับปฏิบัติขั้นปรมัตถ์ได้เป็นอย่างดี คณะศิษย์จึงคิดว่าหลวงปู่คงไม่เป็นอะไร มีช่วงหนึ่งท่านปรารภว่า “ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี” เมื่อมีผู้ถามถึงความหมาย ท่านก็ขยายความว่า “คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที่ไม่มี และอยู่กับสิ่งที่ไม่มี” วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันเริ่มงานฉลองอายุหลวงปู่ แต่เช้าท่านมีอาการกระสับกระส่ายเล็กน้อย และปวดเท้าซ้ายขึ้นมาถึงบั้นเอว อีกทั้งมีไข้ขึ้นเล็กน้อย ชีพจรมีอาการเต้นผิดปกติ อาการเปลี่ยนไปมาแบบทรง ๆ ทรุด ๆ เมื่อหมอมาตรวจอาการ พบว่าความดันอยู่ในระดับปกติ ครั้นหมอจะถวายน้ำเกลือเข้าเส้น หลวงปู่ปฏิเสธ สั่งให้เอาสายออก ท่านบอกว่าขออยู่เฉย ๆ ดีกว่า ครั้นพระครูนันทปัญญาภรณ์ผู้เป็นศิษย์กราบเรียนว่า จะพาหลวงปู่ไปรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพ ฯ ท่านรีบตอบปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า “ถึงไปก็ไม่หาย” ท่านพระครู ฯ เรียนว่า “ครั้งก่อนหลวงปู่หนักกว่านี้ยังหายได้ ครั้งนี้ไม่หนักเหมือนแต่ก่อน ต้องหายแน่ ๆ” ท่านตอบว่า “นั่นมันครั้งก่อน นี่ไม่ใช่ครั้งก่อน” ตอนบ่ายหลวงปู่หลับตาอยู่ในอาการสงบ หายใจเป็นปกติแต่แผ่วเบามาก เมื่อลืมตาขึ้นมา มีอาการผ่องใสสดชื่นมาก ท่านพระครู ฯ เรียนถามท่านว่า “หลวงปู่หลับหรือเข้าสมาธิขอรับ” หลวงปู่ตอบว่า “พิจารณาลำดับฌานอยู่” สี่โมงเย็นหลวงปู่ออกมานั่งรับแขกข้างนอก หลังจากนั้นได้กลับเข้าห้อง นอนนิ่งเฉย ศิษย์สังเกตว่า ผิวของท่านเปล่งปลั่งผิดธรรมดา ประมาณหนึ่งทุ่ม หลวงปู่ลืมตาขึ้น จากนั้นได้สั่งให้พระที่คอยดูแลรับใช้ท่านซึ่งมีประมาณ ๘-๙ รูปสวดมนต์ให้ท่านฟัง พระเหล่านั้นเริ่มฉงนสงสัย แต่ก็พร้อมใจกันสวดมนต์เจ็ดตำนานจนจบ จากนั้นหลวงปู่บอกให้สวดเฉพาะโพชฌงคสูตรรวม ๓ จบ แล้วสวดปฏิจจสมุปบาท อีก ๓ จบ คืนนั้นบทสุดท้ายที่ท่านให้สวดคือ มหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อสวดจบหลวงปู่ยังอยู่ในอาการปกติ มีช่วงหนึ่งท่านให้พาออกไปนอกกุฏิเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ หลวงปู่เพ่งมองไปที่ศาลาหน้ากุฏิของท่าน ซึ่งมีพระเณรและฆราวาสจำนวนมาก ชุมนุมปฏิบัติธรรมอยู่ จากนั้นท่านได้กวาดสายตามองไปรอบ ๆ วัด ราวกับจะให้ศีลให้พรและอำลาลูกศิษย์ของท่าน ตีสองของวันที่ ๓๐ ตุลาคม หลวงปู่แสดงธรรมให้แก่ลูกศิษย์ในห้องเรื่อง “ลักษณาการแห่งพุทธปรินิพพาน” โดยอยู่ในอิริยาบถนอนหงาย น้ำเสียงปกติธรรมดา ท่านได้บรรยายอย่างเป็นขั้นตอน สุดท้ายได้กล่าวว่า “พระองค์ไม่ได้เข้าสู่พระนิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนหรอก เมื่อพระองค์ออกจากจตตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อมไม่มีอะไรเหลือ ไม่ถูกภาวะอื่นใดมาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ ภาวะอันนั้นจะเรียกว่า “มหาสุญญตา” หรือ “จักรวาลเดิม” หรือเรียกว่า “พระนิพพาน” อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้” แล้วท่านก็สรุปว่า “เราปฏิบัติมาก็เพื่อถึงภาวะอันนี้” หลังจากนั้นท่านก็ไม่พูดอะไรอีกเลย ประมาณตีสามหลวงปู่นอนสงบนิ่ง หายใจเบา ๆ คล้ายนอนหลับปกติ ศิษย์ทุกคนรู้ดีว่าท่านใกล้จะละสังขารแล้ว จึงไม่รบกวนท่าน เพื่อให้ท่านปล่อยวางสังขารตามสบาย ไม่มีใครทราบว่าหลวงปู่ละสังขารตอนไหน ผู้ที่พยาบาลด้านซ้ายเชื่อว่าหลวงปู่หยุดหายใจเวลา ๔.๑๓ น. ส่วนผู้ที่เฝ้าด้านขวา เข้าใจว่าลมหายใจของหลวงปู่สิ้นสุดเวลา ๔.๔๓ น. นับเป็นการละสังขารที่นุ่มนวลแผ่วเบามากราวกับใบไม้แห้งที่ค่อย ๆ ร่อนสู่พื้น “นับเป็นลักษณาการมรณภาพที่ไม่ปรากฏร่องรอย เป็นความงดงามบริสุทธิ์และสงบเย็นอย่างสิ้นเชิง” พระครูนันปัญญาภรณ์ตั้งข้อสังเกต หลายปีก่อนหน้านั้นหลวงปู่ได้เคยไปเยี่ยมศิษย์รูปหนึ่งซึ่งใกล้จะมรณภาพ ท่านได้กล่าวแนะนำสั้น ๆ ว่า “การปฏิบัติทั้งหลายที่เราพยายามปฏิบัติมา ก็เพื่อจะใช้ในเวลานี้เท่านั้น เมื่อถึงเวลาที่จะตาย ให้ทำจิตเป็นหนึ่ง แล้วหยุดเพ่ง ปล่อยวางทั้งหมด” เมื่อถึงวาระของหลวงปู่ ท่านได้ปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างอันงดงามแก่ลูกศิษย์ ที่ยากจะลืมเลือนได้ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 03, 2016, 04:37:27 PM "เขาต้องการอย่างนั้นเอง"
แม้จะมีคนเป็นกลุ่ม อยากฟังความคิดเห็นของหลวงปู่เรื่องเวียนว่ายตายเกิด ยกบุคคลมาอ้างว่า ท่านผู้นั้นผู้นี้สามารถระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติว่าตนเคยเกิดเป็นอะไรบ้าง และใครเคยเป็นแม่เป็นญาติกันบ้าง ... หลวงปู่ว่า "เราไม่เคยสนใจเรื่องอย่างนี้ แค่อุปจารสมาธิก็เป็นได้แล้วทุกอย่าง มันออกไปจากจิตทั้งหมด อยากรู้อยากเห็นอะไร จิตมันบันดาลให้รู้ให้เห็นได้ทั้งนั้น และรู้ได้เร็วเสียด้วย หากพอใจเพียงแค่นี้ ผลดีที่ได้ก็คือ ทำให้กลัวการเวียนว่ายตายเกิดในภพที่ตํ่า แล้วตั้งใจทำดี บริจาคทาน รักษาศีล แล้วก็ไม่เบียดเยียนกัน พากันกระหยิ่มยิ้มย่องในผลบุญของตน ส่วนการที่จะกำจัดกิเลสเพื่อทำลายอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง อีกอย่างหนึ่งต่างหาก." หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 06, 2016, 09:23:51 AM “...ผู้ที่ยังไม่รู้หัวข้อธรรมอะไรเลย เมื่อปฏิบัติอย่างจริงจัง มักจะได้ผลเร็ว เมื่อเขาปฏิบัติจนเข้าใจจิต
หมดสงสัยเรื่องจิตแล้ว หันมาศึกษาตริตรองข้อธรรมในภายหลัง จึงจะรู้แจ้งแทงตลอด แตกฉานน่าอัศจรรย์ ส่วนผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนมาก่อน แล้วจึงหันมาปฏิบัติต่อภายหลัง จิตจะสงบเป็นสมาธิยากกว่า เพราะชอบใช้วิตกวิจารมาก เมื่อวิตกวิจารมาก วิจิกิจฉาก็มาก จึงยากที่จะประสบผลสำเร็จ...” หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 06, 2016, 09:24:19 AM "...ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย
เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งในขันธ์ ๕ แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท หยุดการปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา หยุดกิริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญญตา ว่างมหาศาล..." หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 18, 2016, 12:44:11 AM แสดงธรรมครั้งสุดท้าย
ผ่านเข้ามาถึงตี ๓ ของวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๖ หลวงปู่ได้แสดงธรรมให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ในห้องนั้นได้รับฟัง ธรรมที่หลวงปู่แสดงเป็นธรรมว่าด้วย ลักษณาการแห่งพุทธปรินิพพาน ท่านแสดงด้วยน้ำเสียงปรกติธรรมดา และอยู่ในอิริยาบถนอนหงาย มีเนื้อหาดังนี้ "...เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสร้างพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังประสงค์แล้ว พระองค์จึงได้ละ วิภวตัณหา นั้น เสด็จเข้าสู่ อนุปาทิเสสนิพพาน คือ เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระองค์ ลำดับแรกก็เจริญฌาน ดิ่งสนิทไปจน สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปลึกสุดอยู่เหนือรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังมิได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเด็ดขาดแต่อย่างใด เพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการเข้าสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือ สู่สิ่งที่พระองค์ได้สร้างได้พากเพียร ก่อเป็นทางเป็นแบบอย่างไว้เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่า สิ่งอันเกิดจากการที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับ ธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา มีจิตหยาบเกินกว่าที่จะสัมผัสได้ว่ามันเป็นทุกข์ นี่แหละกระบวนการกระทำจิตตนให้ถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นกระบวนการที่พระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีเผยแผ่แจ้งออกสู่โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่ภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วตัดสินพระทัยครั้งสุดท้ายเสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิตและร่างกายนั้น ได้ดับไปเสียตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่ปฐมฌานนานแล้ว เพราะต้องการดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมขั้นแรกก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นในสุด อันจะส่งผลให้ก่อวิภวตัณหาได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงเลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับสัญญาขันธ์เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อพระองค์ทรงดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนขึ้นสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิต นั่นแลคือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว ก็มาดับ เวทนาขันธ์ เป็น จิตขันธ์ หรือนามขันธ์ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิตเสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมทั้งมาดับจิตขันธ์หรือนามขันธ์สุดท้ายจริงๆ ที่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่พระนิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนหรอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อมไม่มีอะไรเหลือ ไม่ถูกภาวะอื่นใดมาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์ ภาวะอันนั้นจะเรียกว่า "มหาสุญญตา" หรือ "จักรวาลเดิม" หรือว่าเรียก "พระนิพพาน" อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เราปฏิบัติมาก็เพื่อถึงภาวะอันนี้..." วจีสังขารหรือวาจาของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล สิ้นสุดลงเพียงแค่นี้ หลังจากนั้น ไม่มีวาจาใดออกมาจากท่านอีกเลย หลักธรรมคำสอน.. พระราชวุฒาจารย์(ดูลย์ อตุโล) จากประวัติ ปฏิปทาหลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 22, 2017, 10:00:15 AM "ยิ่งผู้ใดสามารถปฏิบัติภาวนาในท่ามกลางความวุ่นวายของบ้านเมืองที่มีแต่ความอึกทึกครึกโครม
หรือแม้แต่กระทั่งในขณะที่รอบ ๆ ตัวมีแต่ความเอะอะวุ่นวายก็สามารถกำหนดจิตตั้งสมาธิได้ สมาธิที่ผู้นั้นทำให้เกิดได้จึงเป็นสมาธิที่เข้มแข็งและมั่นคงกว่าธรรมดา ด้วยเหตุที่สามารถต่อสู้เอาชนะสภาวะที่ไม่เป็นสัปปายะ คือไม่อำนวยนั่นเอง เพราะว่าสถานที่ที่เปลี่ยววิเวกนั้นย่อมเป็นสัปปายะ อำนวยให้เกิดความสงบอยู่แล้ว จิตใจย่อมจะหยั่งลงสู่สมาธิได้ง่ายเป็นธรรมดา" ...หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอดโดย พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 04, 2020, 09:35:23 PM " จิต
ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากที่จิตส่งออก เป็นทุกข์ จิต เห็นจิต อย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลอันเกิดจาก... จิต เห็นจิต อย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อนึ่ง ตามสภาพที่แท้จริง ของจิต ย่อม ส่งออกนอก เพื่อรับอารมณ์ นั้น ๆ โดยธรรมชาติของมันเอง ก็แต่ว่า... ถ้าจิตส่งออกนอก ได้รับอารมณ์แล้ว จิต เกิดหวั่นไหว หรือกระเพื่อมตามอารมณ์นั้น เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจาก... จิตหวั่นไหว หรือกระเพื่อม ไปตามอารมณ์ นั้น ๆ เป็นทุกข์ ถ้าจิตที่ส่งออกนอก ได้รับอารมณ์แล้ว แต่ไม่หวั่นไหว หรือกระเพื่อม ไปตามอารมณ์ นั้น ๆ มีสติ...อยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นมรรค ผลอันเกิดจาก... จิตไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อม เพราะมีสติ...อย่างสมบูรณ์ เป็นนิโรธ พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีจิต ไม่ส่งออกนอก จิต ไม่หวั่นไหว จิต ไม่กระเพื่อม เป็น วิหารธรรม จบอริยสัจ ๔." __________________________________________ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) |