หัวข้อ: รูปองค์พระพุทธเจ้า ในปางต่างๆ และรายละเอียด เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 12, 2014, 06:53:36 PM “ปาง”เป็นคำในภาษาไทย หมายถึงท่าทางของพระหัตถ์,เรื่องราวในพุทธประวัติ ส่วน “มุทรา”
เป็นคำในภาษาสันสกฤต หมายความเฉพาะท่าทางของพระหัตถ์ เช่น ปางปฐมเทศนา = ธรรมจักรมุทรา ปางแสดงธรรม = วิตรรกะมุทรา ปางมารวิชัย = ภูมิปรรศมุทรา ปางสมาธิ = ธยานมุทรา ปางประทานอภัย = อภยมุทรา ปางประทานพร = วรทมุทรา พระพุทธรูปในปางแสดงธรรมเป็นปางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงพระธรรมคำสอนให้แก่พระสาวก หรือพุทธศาสนิกชนทั่วไป จึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปในท่านั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาอยู่ในลักษณะจีบนิ้ว(วิตรรกะมุทธา) พระหัตถ์ซ้ายวางเหนือพระเพลา เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้ทราบถึงการแสดงธรรม ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าวยังคงเป็นที่นิยมในการสร้างอยู่เช่นกัน สำหรับพระพุทธรูปที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก กับปางแสดงธรรมนั้น คือ ปางปฐมเทศนา (ธรรมจักรมุทรา) เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ประกาศพระธรรม ที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ พระพุทธองค์ทรงเทศนาธรรม ชื่อ “ธรรมจักรกัปวัตนสูตร” ซึ่งมี อริสัจ ๔ คือความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยเจ้า ๔ ประการใน วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (วันอาสาฬหบูชา) ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก จึงกราบทูลขออุปสมบท โดยพระพุทธองค์ทรงทำ การอุปสมบทให้แบบเอหิภิกขุอุปสัมปทานับเป็น “ปฐมสาวก” ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มี พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลักษณะของพระพุทธรูปในปางปฐมเทศนานี้พระหัตถ์ซ้ายอยู่ลักษณะประคองหมุน โดยมีบริบท เป็น “ธรรมจักร” กับ “กวางหมอบ” ซึ่งมีความหมาย ถึงการหมุนวงล้อแห่งธรรม และหากแม้ไม่มีบริบทก็ ตีความภาพได้ว่าเป็นปางปฐมเทศน มีการสร้างปางนี้ เป็นจำนวนมากเช่นกัน ความแตกต่างกันในส่วนของรายละเอียดเพียงเล็กน้อย แต่กลับแฝงความหมายที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งที่น่าสนใจที่งานศิลปกรรมสามารถถ่ายทอดได้โดยปราศจากอักษรกำกับ สามารถสื่อความหมายเพียงเพิ่มเติมบริบท หรือการแสดงพระหัตถ์เพื่อแยก ปางของพระพุทธรูปออกจากกัน เช่นปางปฐมเทศนา และปางแสดงธรรมนี้ ขอบพระคุณข้อมูลจาก : Facebook ไม่บอก เด็กวัด ศรีราชา หัวข้อ: Re: รูปองค์พระพุทธเจ้า ในปางต่างๆ และรายละเอียด เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 12, 2014, 10:00:00 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20140312215849_buddha.jpg)
พระ (พุทธเจ้า) บพิตร ผู้ยังสยามรัฐให้เจริญยิ่ง เป็นมหามงคลแห่งศรี คือ มิ่งมงคล ๒ อย่างคือ สมเด็จพระภูมิพลผู้ทรงเป็นใหญ่แห่งนรชนเสด็จ เถลิงถวัลยราชสมบัติมาได้หมื่นวันเศษและเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕๐ (เพลินพิศ ๒๕๓๓, ๓๖) ประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธปฏิมาองค์นี้ แก้ว หนองบัว เป็นผู้ปั้นหุ่น โดยมี ภาวาส บุนนาค รองราชเลขาธิการเป็นผู้ควบคุมตามพระราชประสงค์ ถึงแม้ว่าพุทธลักษณะโดยรวมจะจำลองมาจากพระพุทธปฏิมาลีลาแบบสุโขทัย แต่พระพักตร์แสดงความเป็นคน (ดูรูปที่ ๓.๓๖ ข.) สมกับที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช มีพระราชปรารภไว้ว่า “อยากเห็น พระเปนคน อยากให้เห็นหน้าเปนคนฉลาดอดทนมีความคิดมาก” (พระราชหัตถเลขา ๒๕๑๔, ๑๓๔) จึงอาจจะกล่าวได้ว่า พระพุทธปฏิมาตามพระราชนิยมรัชกาลปัจจุบันเป็นพระพุทธปฏิมาแบบสุโขทัยประยุกต์ |