หัวข้อ: ต้นไม้ในพุทธประวัติ : ต้นจิก (Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.) เริ่มหัวข้อโดย: samarn ที่ พฤศจิกายน 21, 2008, 04:15:49 PM ต้นจิก (Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.)
ต้นจิกหรือมุจลินท์นี้ ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์และ ต้นไทร แห่งละ 7 วัน แล้ว จึงเสด็จไปประทับใต้ต้นจิกอีก 7 วัน ในขณะที่ประทับใต้ต้นจิกนี้ ได้มีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน อากาศก็เย็นมาก จึงมีพญานาคชื่อมุจลินท์มาขดเป็นวง 7 รอบ ล้อมพระองค์ พร้อมกับแผ่พังพานปรกพระองค์ไว้ ต่อมาเมื่อมีผู้คิดประดิษฐ์พระพุทธรูปขึ้นภายหลัง จึงได้ประดิษฐ์พระพุทธรูปปางนี้ขึ้น เรียกว่า ?ปางนาคปรก? และเรียกต้นจิกไปตามชื่อของพญานาค คือ มุจลินท์ จิกหรือมุจลินท์เป็นพันธุ์ไม้สกุล (Genus) Barringtonia ในวงศ์ (Family) Lecythidaceae เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบแต่จะผลิใบใหม่ได้รวดเร็ว ใบอ่อนจะออกสีแดงเรื่อ ๆ กิ่งมักคดงอใบติดเวียนกันเป็นกลุ่มตอนปลาย ๆ กิ่ง ใบรูปหอกหรือรูปไข่กลับเนื้อใบเนียนแน่น เลี้ยงกว้าง 5 ? 10 ซม. ยาว 20 ? 30 ซม. ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ จะกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวสอบไปทางโคนก้านใบยาวไม่เกิน 1.5 ซม. ออกดอกสีแดง แต่ละดอกโตวัดผ่า ศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ติดรวมกันเป็นพวงยาว ๆ ซึ่งยาวถึง 40 ซม. เกสรผู้จะมีมากมายในแต่ละดอก กลีบดอกสั้น ๆ มี 4 กลีบ หลุดร่วงเร็วมาก หลอดท่อรังไข่ยาวยื่นออกมามาก ผลกลม ยาว ยาวประมาณ 2.5 ซม. มีสันเป็นคลื่นทื่อ ๆ สี่เหลี่ยม ปลายผลจะยังคงปรากฏกลีบรองดอกติดอยู่ จิกมีขึ้นทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของอินเดีย ตลอดลังกาถึงย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยก็มีขึ้นอยู่ทั่วประเทศ ในที่ค่อนข้างราบลุ่มตามชายห้วย หนอง แม่น้ำ สามารถเป็น พันธุ์ไม้สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกได้อย่างดี และมีชื่อเรียกต่าง ๆ ไปตามท้องที่ เช่น จิกน้ำ จิกบก กระโนทุ่ง กระโดนน้ำ ตอง กระโนสร้อย มุ่ยลาย และลำไพ่ เป็นต้น การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดหรือตอน และจะตัดกระโงจากรากก็ได้ ใบอ่อนรสฝาดเล็กน้อย ใช้รับประทานได้ รากของต้นจิกใช้เป็นสมุนไพร แก้โรคลมต่าง ๆ ประชาชนนิยม ปลูกไว้ตามชายน้ำ เพื่อกันดินพัง อาศัยร่มเงา ปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้รับประทานกันทั่ว ๆ ไป ในอินเดียมีจิกอีกชนิดหนึ่ง มีชื่อทางพฤกษศาตร์ว่า Barringtonia speciosa J.R.& G. Forst. ซึ่งมีลักษณกะคล้าย กับต้นจิกที่กล่าวถึงข้างต้นมาก แต่ดอกแทนที่จะมีสีแดงกลับมีสีเหลืองอ่อน ๆ การที่พระพุทธเจ้าเสด็จ มาประทับใต้ต้นจิก ก็อาจสัณนิษฐานได้ว่า เมื่อทรงประทับอยู่แล้ว อีกทั้งพระองค์จะเข้าใจการใช้ชีวิต หรือการยังชีพในป่าเป็นอย่างดี คงจะทรงทราบว่าใบจิกใช้เป็นอาหารได้ และอาจจะเก็บเอารากจิก มาเสวยเป็นโอสถแก้ลมอืดแน่นในท้องบ้างก็เป็นได้ (http://i233.photobucket.com/albums/ee89/micsci/multiply/pok-pud.jpg) |