หัวข้อ: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย พระอาจารย์หลวงพ่อดาบส สุมโน เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 13, 2015, 11:09:53 PM (http://kammatan.com/gallary/images/20150113230925_luangpor_dabot.jpg)
ถึงแม้จิตจะยังอาศัยอยู่ในกาย แต่จิตไม่หลงรักว่าเป็นอันเดียวกับจิต อย่าเอาจิตไปนึกว่ามันมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ปล่อยไปเพียงแต่ผ่านมาผ่านไปเท่านั้น ถ้าทรงอารมณ์อยู่จิตไม่สนใจขันธ์ ๕ ของใครวางเฉยไม่ทุกข์ร้อน ทำงานทุกอย่างตามหน้าที่ อารมณ์เฉยเป็นเอกัคตารมณ์ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสำหรับเรา เราไม่มีสำหรับกาย จิตจะสะอาดเบิกบานผ่องใสพ้นจากความยึดมั่นในของปลอมของทุกข์ของร้อนพระท่าน เรียกว่า จิตของพระอรหันต์ วิธีทำจิตให้ว่างจากกายเรากายเขาแบบนี้ เป็นวิธีลัดแบบง่าย มีแต่พรหมวิหาร ๔ ไม่ยึดถืออารมณ์ใดๆมาไว้ในจิต มีความจำได้หมายรู้ก็เหมือนไม่มีความจำ เพราะความจำอยู่ได้ไม่นานไม่ช้าก็ลืม ประสาทสมองลืมง่าย ความคิดความจำ ความฟุ้งซ่าน วิตกกังวลเป็นเรื่องของกายให้สลัดทิ้ง ให้จิตเต็มไปด้วยพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตจะเบาบริสุทธิ์สะอาด จิตอันนี้เราจะตามรอยพระพุทธบาท เมื่อกายพังแตกสลาย ผู้เพียรทำจิตให้ว่างจากร่างกาย หรืออารมณ์ต่างๆแบบนี้เป็นแบบของพระอริยเจ้า เป็นสมาธิเป็นวิปัสสนาญาณอยู่ด้วยกัน ทำได้ทุกเวลา ทุกอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำได้ทั้งที่อยู่คนเดียวและอยู่แบบหมู่คณะ เป็นทางหลุดพ้นทุกข์ได้อย่างแน่นอน เป็นทางลัดตรงไปสู่จุดหมายปลายทางคือ พระนิพพาน หลวงพ่อดาบส สุมโน หัวข้อ: Re: ธรรมะที่ถ่ายทอด โดย พระอาจารย์หลวงพ่อดาบส สุมโน เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 13, 2015, 11:11:07 PM ถาม: เมื่อเราทำจิตให้หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวงแล้ว มิเป็นอันว่าไม่ต้องรู้อะไรกันหรือ
ตอบ: รู้อะไรๆได้ทุกอย่าง ถาม: ถ้ารู้อะไรๆได้ทุกอย่างแล้วไซร้ ความที่รู้นั้นไม่ใช่รู้ด้วยความนึกคิดดอกหรือ ไม่ใช่สังขารดอกหรือ ตอบ: จะว่ารู้ด้วยความนึกคิดก็ใช่ จะว่าไม่รู้ด้วยความนึกคิดก็ใช่ จะว่าไม่ใช่สังขารก็ใช่ ถาม: ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ตอบ: ที่ว่าอย่างนี้ก็เพราะว่า ความนึกคิดนั้นมันแตกกันไปคนละอย่าง ต่างกันไปคนละนัย ความนึกคิดของผู้ที่ยังไม่หลุดพ้นนั้น เป็นความนึกคิดที่ชุ่มด้วยยางเหนียว ปละจมอยู่ในความมืด คิดนึกอันใดก็คิดอันนั้น ไม่รู้อันนั้น จมลงไปในอันนั้นไม่เห็นรอบอันนั้นเหมือนต้นไม้ที่มีราก หรือเหมือนน้ำที่หยาดลงไปในแผ่นดิน ส่วนความนึกคิดของผู้ที่หลุดพ้นแล้วนั้น เป็นความนึกคิดที่ตรงกันข้าม ด้วยมีความสว่างฉายอยู่รอบ นึกคิดอันใดก็รู้อันนั้น เพราะความรู้นั้นครอบงำเสียแล้ว ซึ่งความนึกคิดนั้น แม้นึกคิดอันใดก็ไม่ติดไม่จม เหมือนต้นไม้ที่ไม่มีราก หรือเหมือนน้ำที่หยาดลงไปในบอน อนึ่งความนึกคิดของผู้หลุดพ้นแล้วนั้น แม้จะนึกคิดขึ้นที่เรียกว่าสังขาร ความนึกคิดนี้ ก็เป็นเพียงกิริยากรรมเท่านั้น และใช้นึกคิดขึ้นก็เพื่อประโยชน์ไม่ทำให้เดือดร้อน เช่นเดียวกับไฟที่ผู้จุดขึ้น เพื่อใช้ในการหุงต้มเป็นต้น เมื่อเสร็จแล้วๆก็ให้ดับไฟเสียฉะนั้น หลวงพ่อดาบส สุมโน |