หัวข้อ: ต้นไม้ในพุทธประวัติ : กุ่มบก (Crateva adansonii DC.ssp. trifoliata (Roxb.) Jacob เริ่มหัวข้อโดย: samarn ที่ พฤศจิกายน 21, 2008, 04:20:13 PM กุ่มบก (Crateva adansonii DC.ssp. trifoliata (Roxb.) Jacobs )
กุ่มบก หรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า ?มารินา? นี้ ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้านำผ้าบังสกุลซึ่งห่อศพ นางมณพาสี ในอามกสุสาน (ป่าช้าผีดิบ) ไปทรงซัก เมื่อซักเสร็จแล้วก็มาที่ที่ผ้าบังสกุลดังกล่าว พฤกษเทวา ซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ต้นกุ่มบก ได้น้อมกิ่งต้นกุ่มให้ต่ำลง เพื่อให้เป็นที่ตากจีวร กุ่มบก เป็นพันธุ์ไม้สกุล (Genus) ไม้กุ่ม (Crateva) ในวงศ์ไม้แจง (Capparidaecae) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ เปลือกสีเทา เรียบ มีรูระบายอากาศสีขาวทั่วไป กิ่งอ่อนเกลี้ยง เนื้อไม้สีขาวปนเหลือง เนื้อละเอียด ใบมี 3 แฉก ปลาย แฉกทู่ ๆ หรือมน ก้านใบยาว 5 ? 10 ซม. แต่ละแฉก รูปไข่เกมรูปหอก และพื้นใบจะย้อยยื่นมากไปแถบหนึ่ง จากเส้น กลางใบ ดอกสีขาวหรือขาวปนเหลือง เวลาบานเต็มที่กว้างประมาณ 5 ซม. กลีบมี 4 กลีบ บอบบางและ หลุดง่าย เกสรมีมากติดเป็นกระจุก อยู่ตรงกลาง ผล รูปไข่ แข็ง โตวัดผ่ากลางประมาณ 5 ซม. ใบอ่อน ใช้รับ ประทานได้ โดยนำมาดองแล้วใช้รับประทานแทนผัก กุ่มบก เป็นไม้ดั้งเดิมของประเทศในย่านเอเชียและอาฟริกาทั่วไปทั้งในเขตร้อน และอบอุ่น ชอบขึ้นใกล้ ๆ หรือชาย ห้วยหนอง คลองบึง แต่ชอบแสงมาก ปกติไม่ค่อยมีผู้นิยมปลูกกันมากนัก การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดเพาะหรือใช้ไหล ที่แตกขึ้นจากรากของต้นใหญ่ก็ได้ในประเทศไทยนอกจากกุ่มบกแล้วกุ่มที่พบกันบ่อย ๆ อีกชนิดหนึ่งคือ กุ่มน้ำ ซึ่งมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Crateva religiosa Forst.f. ซึ่งจะพบตามชายแม่น้ำลำคลองทั่วไป แตกต่างไปจากกุ่มบก ตรงที่ปลายใบของกุ่มน้ำนั้นเรียว แหลมใบสอบแคบ ๆ โดยตามปกติกุ่มบกเป็นไม้เตี้ย ๆ กิ่งออกต่ำมากและกิ่งมักจะทอดนอนขนานกับพื้นแบบราวตากผ้า จึงเหมาะ แก่การที่จะแขวนของไว้ในระหว่างพักการเดินทางในป่าเป็นอย่างดี และเปลือกก็เรียบค่อนข้างออกสีขาว ดูสะอาดตา กับเป็นพันธุ์ไม้ทีชอบแสงแดดมาก ฉะนั้น บริเวณนั้นก็ควรจะเป็นที่โปร่ง มีแดดพอเพียงสำหรับช่วย ทำให้แห้งได้รวดเร็วอย่างดี (http://i233.photobucket.com/albums/ee89/micsci/multiply/pok-pud.jpg) |