KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับ

กิจกรรมที่ช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา แหล่งทำบุญ หรือ การช่วยเหลือสังคม จากทาง Kammatan.com => งานกฐิน สร้างวัด ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างพระพุทธรูป บริจาคโลหิต เพื่อการกุศล ช่วยเหลือ => ข้อความที่เริ่มโดย: golfreeze ที่ มกราคม 30, 2009, 10:55:31 AM



หัวข้อ: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 30, 2009, 10:55:31 AM
เห็นในห้องนี้มีกระทู้เกี่ยวกับการขอเกร็ดเลือดหลายอันเลย ขออนุญาตินำข้อความจากเวบสภากาชาดมาโพสที่นี้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องค่ะ

เรา มีคนใกล้ตัวเคยต้องรับเกร็ดเลือด ขอยืนยันว่าหา donor ยากจริงๆ ใครที่เป็น donor อยู่ต้องรักษาตัวดีๆ นะคะ ชีวิตคุณมีค่าผู้อื่นมากๆ donor ใหม่ๆ ก็ไม่ใช่จะหาง่ายด้วย ใครสนใจลองอ่านดูเลยค่ะ

เกล็ดโลหิต
======
เป็น เซลล์เม็ดโลหิตชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็กมาก แต่มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างยิ่ง เพราะช่วยทำให้โลหิตแข็งเป็นลิ่ม และอุดรอยฉีกขาดของเส้นโลหิตเวลาที่ถูกของมีคมบาด โดยปกติเกล็ดโลหิต มีอายุในการทำงานประมาณ 5-10 วัน ในร่างกายมนุษย์เราจะมีเกล็ดโลหิตประมาณ 1-5 แสน/1 ลูกบาศก์มิลลิลิตร ถ้ามีภาวะเกล็ดโลหิตต่ำมากจะทำให้โลหิตออกง่าย นอกจากนี้ยังมีโรคหลายโรคที่ทำให้เกล็ดโลหิตต่ำ เช่นโรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว โรคที่เกี่ยวกับไขกระดูกไม่ทำงาน โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคไข้เลือดออก เป็นต้น

ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้เกล็ดโลหิตรักษา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะเปิดรับบริจาคเกล็ดโลหิต เฉพาะที่มีการร้องขอจากโรงพยาบาลเท่านั้น มิได้เปิดรับบริจาคทั่วไปเหมือนรับบริจาคโลหิต หรือพลาสมา ทั้งนี้เพราะเกล็ดโลหิตเมื่อเจาะออกมานอกร่างกายแล้ว จะมีอายุเพียง 24 ชั่วโมง - 5 วัน ตามลักษณะและกรรมวิธีในการเจาะเก็บและต้องเก็บรักษาไว้ในตู้ซึ่งควบคุม อุณหภูมิไว้ที่ 22 องศาเซลเซียส พร้อมกับมีการเขย่าเบาๆ ตลอดเวลา

คุณประโยชน์
========
เกล็ด โลหิตใช้รักษาโรคในผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดโลหิตต่ำ และมีปัญหาเลือดออกไม่หยุด เช่นโรคไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดโลหิตขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

วิธีการ
====
การรับบริจาค เกล็ดโลหิต จะใช้เครื่องมือเฉพาะที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ผู้บริจาคเกล็ดโลหิตจะถูกเจาะโลหิตจากแขนข้างหนึ่งผ่านเข้าเครื่องแยก อัตโนมัติ เพื่อแยกเกล็ดโลหิตออกจากเม็ดโลหิตแดง เมื่อได้เกล็ดโลหิตแล้ว ส่วนประกอบอื่นๆ จะถูกคืนกลับเข้าสู่ร่างกาย ระยะเวลาในการบริจาคเกล็ดโลหิต ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง

คุณสมบัติพิเศษสำหรับผู้บริจาคเกล็ดโลหิต
=========================
*หมู่โลหิตจะต้องตรงกับผู้ป่วยที่ต้องการเกล็ดโลหิต
*เส้นโลหิตตรงข้อพับแขนชัดเจน
*ไม่รับประทานยาแก้ปวดแอสไพริน ในระยะเวลา 5 วันก่อนบริจาค
และควรเป็นผู้ที่บริจาคโลหิตสม่ำเสมอ

ผู้ บริจาคเกล็ดโลหิตจะไม่อ่อนเพลีย สามารถปฏิบัติภารกิจการงาน ได้ตามปกติยกเว้นในกรณีจำเป็น อาจให้บริจาคได้ทุก 3 วัน หลังจากบริจาคเกล็ดโลหิตไปแล้ว 1 เดือน สามารถบริจาคโลหิตได้ตามปกติ



หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 30, 2009, 10:56:10 AM
ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่


[ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ]

วันจันทร์ - วันพุธ, วันศุกร์ (ไม่หยุดพักกลางวัน) 08.00-16.30 น.
วันพฤหัสบดี (ไม่หยุดพักกลางวัน) 07.30-19.30 น.
วันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 08.00-12.00 น.
วันอาทิตย์ 12.00-16.00 น.
หน่วยเคลื่อนที่ประจำ

[ บริจาคเลือดที่ศิริราช ]

วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดพิเศษ วันหยุดราชการ นักขัตฤกษ์  เวลา 8.30 - 16.30 น. (ปิดรับลงทะเบียน 16.00 น.)
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 - 18.30 น. (ปิดรับลงทะเบียน 18.00 น.)
สอบ ถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ติดต่อภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด

สถานที่รับบริจาค โรงพยาบาลศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 3 หรือโทรศัพท์แจ้งที่หมายเลข 02-419 8081 ต่อ 110
url =>  http://www.si.mahidol.ac.th/th/manual/bloodbank/page4.htm


สวนจตุจักร ทุกวันเสาร์
(รถจอดริมถนนพหลโยธิน) 10.00-15.00 น.


สนามหลวง วันอาทิตย์
(รถจอดบริเวณด้านหน้ากรมศิลปากร) 09.00-14.00 น.


ตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2)
ทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รถจอดหน้าสำนักงาน) 10.00-15.00 น.


มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก
ทุกวันจันทร์และวันอังคาร
(รถจอดบริเวณข้างหอสมุดด้านคณะนิติศาสตร์) 10.00-15.00 น.
สถานีกาชาด 11"วิเศษนิยม" บางแค
ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคาร ข้างฟิวเจอร์ปาร์ค บางแค) 09.00-15.00 น.


ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคารหน้าร้าน S.B. เฟอร์นิเจอร์ ชั้น 2)
13.00-17.00 น.


ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
ทุกวันศุกร์และวันเสาร์สัปดาห์ที่สามของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณลานโยโย่ ชั้น 3)
13.00-17.00 น.


ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาบางพลี
ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณด้านหน้าห้าง)
13.00-17.00 น.


ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )
13.00-17.00 น.


ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )
13.00-17.00 น.


สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
โทร.0-2468-1116-20


สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ สถาบันพยาธิกรมแพทย์ทหารบก รพ.พระมงกุฎเกล้า
โทร.0-2245-8154


สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ตำรวจ
โทร. 0-2252-8111 ต่อ 4146


สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.รามาธิบดี
โทร. 0-2246-1057-87
ทุกท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่  
ณ หน่วยคลังเลือด อาคาร 1 ชั้น 2 ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
 ไม่เว้นวันหยุดราชการ เบอร์โทรศัพท์ 1219, 1229, 1258


สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช
โทร.0-2531-1970-99 ต่อ 27109-10


สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
โทร. 0-2243-0151-64


และสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ
(ในวันและเวลาราชการ)


ท่านสามารถสอบถามหน่วยเคลื่อนที่อื่น ๆ ได้ที่
โทรศัพท์ 0-2252-6116,0-2252-1637 ,0-2252-4106-9 ต่อ 113, 157
E-mail : [email protected]

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : http://board.palungjit.com (http://board.palungjit.com)


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 30, 2009, 10:59:39 AM
ผมเพิ่งไป บริจาคเลือดมาเช่นกัน ครับ สำหรับครั้งต่อไป น่าจะเป็นช่วง เมษายน 2552 สำหรับวันที่ จะบอกไว้อีกที ครับ

เผื่อเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ท่านใดสนใจก็ไปด้วยกัน ได้ครับ เพราะที่สภาวกาชาดเปิดให้บริการรับเลือด ทุกวัน จันทร์ - อาทิตย์

เพิ่มเติมอีกนิด สำหรับผู้ที่ต้องจากจะบริจาคเกร็ดเลือด นั้น แผนกเกร็ดเลือด นั้นจะ ปิดประมาณ 15.00 ของ วันจันทร์ - วันศุกร์

ส่วนวันเสาร์ - อาทิตย์ จะปิดประมาณ 11.00 ครับ



ถ้าจะไปก็ไปก่อนเวลาน่ะครับผม : )

 : )


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤษภาคม 02, 2009, 11:51:57 AM
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
Tagged: กทม.  •  ชีวิตและสุขภาพ

ที่อยู่ :  
(จากพระราม4 เข้า ถ.อังรีดูนังต์ จะอยู่ประตูที่ 2 ฝั่งซ้ายมือ) สภากาชาด ถ.อังรีดูนังต์ ปทุมวัน กทม. 10330

โทรศัพท์  :
0-2252-6116, 0-2252-1637, 0-2252-4106-9 ต่อ 113,157  

ที่สภากาชาดไทย (ถ.อังรีดูนังต์)

วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เปิดให้บริการ 08.00 - 16.30 น.
วันอังคาร และ วันพฤหัส เปิดให้บริการ 07.30 - 19.30 น. น่ะครับสำหรับการบริจาคโลหิต
วันเสาร์ และ อาทิตย์ , วันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิดให้บริการ 08.30 - 15.30 น.

ครับผม ^_^


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 26, 2009, 01:44:10 PM
ครบรอบกันแล้ว พวกผมกับพี่ที่ office จะไปกันวันที่ 3 กันยายน 2552 นี้ครับ

ถ้าเพื่อนๆ พี่ๆ คนไหนสนใจ อยากบริจาคเลือดก็ไปด้วยกันได้น่ะครับ

เพราะวันพฤหัส เขาปิดดึก ที่สภากาชาดไทย  :D


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Rada ที่ สิงหาคม 26, 2009, 02:15:49 PM
สนใจไปด้วยคนค่ะ....เจอกันที่กาชาดนะ


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 26, 2009, 02:38:03 PM
สนใจไปด้วยคนค่ะ....เจอกันที่กาชาดนะ

จัดไปดิ กาน 555  :D


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Rada ที่ พฤศจิกายน 30, 2009, 07:59:04 PM
แล้วพี่ๆ.......
จะไปกันอีกเมื่อไรค่ะ


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ธันวาคม 01, 2009, 05:13:38 PM
แล้วพี่ๆ.......
จะไปกันอีกเมื่อไรค่ะ

น่าจะช่วงวันที่ 13 ธค ดีมะ


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 11, 2010, 01:56:45 PM
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริจาคเลือด

คุณสมบัติของผู้บริจาคเลือด

1. อายุ
• 17 - 60 ปี
• ผู้ที่มีอายุ 16 ปี จะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครองก่อนล่วงหน้าทุกครั้ง

2. น้ำหนักตัว
• ไม่ต่ำกว่า 45 ก.ก.

3. สุขภาพ
• สุขภาพแข็งแรง
• นอนหลับอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
• ควรรับประทานอาหารก่อนการบริจาคเลือด
• ไม่อยู่ในระหว่างกินยาปฏิชีวนะ หรือ ยากันเลือดแข็ง
• ไม่ได้รับการถอนฟัน ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการบริจาคเลือด รวมทั้ง ไม่มีบาดแผลสด หรือแผลติดเชื้อตามร่างกาย

4. ประวัติความเจ็บป่วยด้วยโรคที่อาจถ่ายทอดไปยังผู้ป่วย
• ไม่มีประวัติเคยเป็นโรคติดเชื้อ โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือชนิดซี
• ไม่มีประวัติเคยตรวจพบเชื้อโรคตับอักเสบชนิดบี หรือชนิดซีในเลือด
• ไม่มีประวัติเคยติดเชื้อโรคเอดส์ หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ ได้แก่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ขายบริการ ทั้งหญิงและชาย, มีพฤติกรรมรักร่วมเพศหรือ เคยใช้ยาเสพติดชนิดฉีด หรือเคยถูกต้องโทษคุมขัง
• ไม่มีประวัติเป็นโรคมาลาเรียในระยะ 3 ปี
• ไม่มีประวัติเป็นผู้เสพยาเสพติดชนิดฉีด
• ไม่เคยได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดภายใน 1 ปี
• ไม่เคยได้รับการสัก เจาะหู ฝังเข็มภายใน 1 ปี

5. ไม่มีประวัติความเจ็บป่วยที่การบริจาคเลือดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ได้แก่
• โรคเลือดจาง โรคลมชัก โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเลือดออกง่าย
• โรคหัวใจ วัณโรค โรคตับ โรคไต มะเร็ง

6. การฉีดวัคซีนก่อนการบริจาคเลือด

• Rabies (โรคพิษสุนัขบ้า),Encephalitis (โรคเยื่อหุ้มอักเสบ), Hepatites B Immunoglobulin (ฉีดยาภายหลังการสัมผัสเชื้อ) เว้นระยะ 1 ปี
• Rubella (หัดเยอรมัน), Chickenpox (อีสุกอีใส),Anti – Tetanus IgG เว้นระยะเวลา 4 สัปดาห์
• Horse serum เว้นระยะเวลา 3 สัปดาห์
• Tetanus toxoid เว้นระยะเวลา 48 ชั่วโมง
• Hepatitis B vaccine บริจาคเลือดได้ ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ (สำหรับกรณีให้ vaccine เพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน)

7. ความถี่ของการบริจาคเลือด
• ผู้ชาย บริจาคเลือดได้ทุก 3 เดือน
• ผู้หญิง บริจาคเลือดได้ทุก 6 เดือน แต่ต้องไม่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์, ให้นมบุตร หรือกำลังมีประจำเดือน

ขั้นตอนการบริจาคเลือด

1. ชั่งน้ำหนักตัว
2. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการบริจาคเลือด ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อายุ ที่อยู่ที่ติดต่อได้ หมายเลขโทรศัพท์ ฯลฯ
3. อ่านคำถามสำหรับผู้บริจาคเลือดและตอบตามความเป็นจริง พร้อมทั้งลงชื่อ
4. เจ้าหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับคุณสมบัติ ประวัติสุขภาพในอดีตและปัจจุบัน วัดความดันโลหิต
5. ตรวจความเข้มข้นของเลือด โดยเจ้าหน้าที่จะเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว ซึ่งถ้าต่ำกว่ามาตรฐาน ห้ามบริจาคเลือด
6. บริจาคเลือด โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจะเจาะเลือดจากบริเวณข้อพับแขน (ผู้ที่ต้องการยาชาควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเจาะ)

• การบริจาคเลือดกินเวลาประมาณ 5 – 6 นาที
• อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเจาะเลือด เป็นของใหม่ที่ผ่านการฆ่าเชื้อเรียบร้อยและใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
• เมื่อบริจาคเลือดเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะปิดแผลให้สำลีและปลาสเตอร์ ควรใช้นิ้วมือกดทับตรงตำแหน่งที่เจาะและเหยียดแขนตรงไม่ง้อพับแขน จนกว่าเลือดจะหยุดไหล


ระยะเวลาในการเจาะเลือด
• รวมระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 30 - 45 นาที

การปฏิบัติตัวภายหลังการบริจาค

1. นอนพักสักครู่หลังการบริจาคเลือด ห้ามลุกขึ้นจากเตียงทันที เพราะอาจเวียนศีรษะเป็นลมได้
2. ควรรับประทานขนมหวานและน้ำหวานที่จัดเตรียมไว้ให้
3. เปลี่ยนสำลีปิดแผลด้วยปลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งควรดึงออกทิ้งในตอนเย็นของวันนั้น
4. หากมีอาการผิดปกติ ทั้งก่อน ขณะหรือหลังการบริจาคเลือด เช่น หน้ามืดเวียนศีรษะ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบทันที
5. หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือประวัติที่ทำให้ไม่สามารถบริจาค เลือดได้ กรุณาสอบถามจากเจ้าหน้าที่และขอคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์
6. หากมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นหลังการบริจาคเลือด ควรติดต่อภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด โรงพยาบาลศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 3 หรือโทรศัพท์แจ้งที่หมายเลข 02-419 8081 ต่อ 110

ผลการตรวจเลือด

1. เลือดของท่านจะได้รับการตรวจต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
o หมู่เลือด ABO (A,B,AB,O ) และ Rh (บวกหรือลบ)
o ตรวจกรองหาแอนติบอดีต่อแอนติเจนของหมู่เลือดระบบต่างๆ
o ตรวจหาร่องรอยการติดเชื้อต่างๆ ที่ถ่ายทอดได้ทางเลือด
o โรคเอดส์ (anti-HIV,HIV antigen)
o โรคตับอักเสบชนิดบี (HBsAg)
o โรคตับอักเสบชนิด ซี (anti – HCV)
o โรคซิฟิลิส (VDRL)

2. การส่งผลการตรวจเลือด
ภาค วิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดจะส่งผลดังกล่าวไปให้ท่านที่แจ้งความประสงค์ไว้ พร้อมกับบัตรประจำตัวผู้บริจาคเลือด ภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับท่านที่ไม่ต้องการทราบผลการตรวจหาร่องรอยการติดเชื้อ จะแจ้งเฉพาะผลหมู่ตรวจเลือด ABO และ Rh พร้อมกับแจ้งกำหนดนัดวันเจาะเลือด ครั้งต่อไป

ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล



บริจาคเลือดที่ศิริราช เสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดพิเศษ เวลา 8.30 - 16.30
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 - 18.30
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ติดต่อภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด โรงพยาบาลศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 3 หรือโทรศัพท์แจ้งที่หมายเลข 02-419 8081 ต่อ 110


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Rada ที่ มกราคม 20, 2010, 12:14:43 AM
เข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิต

เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณและยกย่องสรรเสริญผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้จัดทำเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตขึ้นเพื่อมอบให้ผู้บริจาคโลหิต โดยจัดทำเป็นเข็มที่ระลึกครั้งที่  1,7,16,24,36,48,60,72,84,96 และ 108  ตามลำดับ  สำหรับผู้บริจาคโลหิตครบ 50,75 และ 100 ครั้ง จะได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 3, 2  และ 1 ตามลำดับ ส่วนพระภิกษุ สามเณร จะได้รับพระราชทานพัดกาชาดสมนาคุณ



หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Rada ที่ มกราคม 21, 2010, 02:41:34 PM
http://www.club25thailand.com/www/

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราผู้บริจาคโลหิตสายพันธ์ใหม่

Our  Spirit   :)    Give  Blood   ;)   Give  Good  Lives!


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 21, 2010, 04:49:42 PM
http://www.club25thailand.com/www/

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราผู้บริจาคโลหิตสายพันธ์ใหม่

Our  Spirit   :)    Give  Blood   ;)   Give  Good  Lives!

เยี่ยม


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Rada ที่ มกราคม 23, 2010, 02:18:22 AM
พระราชดำรัส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระบรมราชูปถัมภก

                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ทรงมีพระราชดำรัสชมเชยการบริจาคโลหิตว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่
          ได้ช่วยให้คนรอดตายไว้ได้มาก  แม้มีเงินก็ช่วยอะไรไม่ได้  หากไม่มีคนใจกุศลเช่นนี้ การบริจาคโลหิตดูโดนเผินๆ
          ก็น่ากลัวอันตราย  แต่ที่จริงแล้วไม่มีอันตราย  มีแต่ประโยชน์แก่ผู้ให้และผู้รับ

         
"ให้ช่วยกันบริจาคโลหิตเป็นประจำ
             ไม่ใช่เพียงแค่บริจาคเฉพาะครั้งนี้"

พระราชทานเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2507
ณ ศาลาผกาภิรมย์ พระราชวังดุสิต


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Rada ที่ มกราคม 27, 2010, 01:10:37 AM
Golfreeze...........ขอเชิญมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 27, 2010, 09:41:29 AM
พระราชดำรัส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระบรมราชูปถัมภก

                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ทรงมีพระราชดำรัสชมเชยการบริจาคโลหิตว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่
          ได้ช่วยให้คนรอดตายไว้ได้มาก  แม้มีเงินก็ช่วยอะไรไม่ได้  หากไม่มีคนใจกุศลเช่นนี้ การบริจาคโลหิตดูโดนเผินๆ
          ก็น่ากลัวอันตราย  แต่ที่จริงแล้วไม่มีอันตราย  มีแต่ประโยชน์แก่ผู้ให้และผู้รับ

         
"ให้ช่วยกันบริจาคโลหิตเป็นประจำ
             ไม่ใช่เพียงแค่บริจาคเฉพาะครั้งนี้"

พระราชทานเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2507
ณ ศาลาผกาภิรมย์ พระราชวังดุสิต

อ่อดีจังๆ อิอิ


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Rada ที่ มกราคม 27, 2010, 12:49:32 PM
อานิสงส์จากการบริจาคโลหิต
          การบริจาคโลหิตนับว่าเป็นกุศลอันสูงสุด   เพราะเป็นการให้ส่วนหนึ่งของชีวิตไปช่วยต่อชีวิตให้ผู้อื่น
ผู้ให้ย่อมเกิดความปีติ  บังเกิดความสุขใจจากผลบุญของการให้  การบริจาคโลหิตถือเป็นปรมัตถทานบารมีสูงสุด
ที่มนุษย์สามัญทั่วไปพึงทำได้

          ทำดีเพื่อพ่อ  ขอคนไทยให้รักกัน                                           
ขอโทษ =  ให้อภัย ให้โอกาส ให้รอยยิ้ม ให้เวลา ให้ความรู้สึกดีๆ ให้ความช่วยเหลือ ให้ความใกล้ชิด ให้ความจริงใจ
                  ให้ความซื่อสัตย์   ให้ความรัก = คนดี = สังคมดี

ทำดีถวายในหลวง
บริจาคโลหิตเพิ่มอีกครั้ง

บริจาคโลหิตครั้งต่อไปอยู่ในช่วง
วันที่ 5 มี.ค.2553
สร้างกุศล  ส่งบุญ  ด้วยการบริจาคโลหิต


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 10, 2010, 01:15:49 PM
ผมได้มีโอกาสลองไปบริจาคเลือดที่ ชั้นสาม ตึก 72 ปีที่ โรงพยาบาลศิริราช มาครับ

พี่ๆ ที่ให้บริการใจดี มากๆ

ไปถึงเกือบ 18.20 แต่ที่นั่นปกติจะปิด 18.30 พี่ๆ เขาก็รอให้บริการจนเสร็จ เกือบๆ 19.00 แนะ

ดีเหมือนกันครับ ถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจอยากไปลองบ้าง ก็แนะนำ น่ะครับ ทำที่ไหนก็เหมือนกันครับ ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เหมือนกันทั้งนั้น เป็นกุศลทั้งนั้น

: )


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Rada ที่ มีนาคม 10, 2010, 01:30:32 PM
อนุโมทนา.....สาธุ

Our Spirit - พลังคนรุ่นใหม่
Give Blood - ให้โลหิต
Give Good Life! - ให้ชีวิต


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 10, 2010, 01:37:29 PM
อนุโมทนา.....สาธุ

Our Spirit - พลังคนรุ่นใหม่
Give Blood - ให้โลหิต
Give Good Life! - ให้ชีวิต


อ่า อนุโมทนา สาธุ ครับ


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: kittiphot ที่ กันยายน 28, 2010, 04:36:09 PM
       เนื่องจากเลือดเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถผลิตโดยการสังเคราะห์ขึ้นมาได้ต้องใช้ร่างกายคนในการผลิตขึ้นมากเท่านั้น ดังนั้นมาช่วยกันบริจาคเลือดเป็นการสร้างกุศลโดยที่เราก็ไม่ต้องลงทุนอะไร มาก และเราก็ยังเป็นคนเดินดินกินข้าวได้เหมือนเดิม และได้บุญอย่างแรง ผมเองก็บริจาคเป็นประจำ ขณะนี้ก็บริจาคไป 76 ครั้งแล้ว และในเดือนหน้านี้ก็จะเข้าพิธีรับเหรียญกาชาดสมนาคุณที่สวนอัมพร 
        ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้จัดทำเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตขึ้นเพื่อมอบให้ผู้บริจาคโลหิต โดยจัดทำเป็นเข็มที่ระลึกครั้งที่  1,7,16,24,36,48,60,72,84,96 และ 108  ตามลำดับ  สำหรับผู้บริจาคโลหิตครบ 50,75 และ 100 ครั้ง จะได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 3, 2  และ 1 ตามลำดับ ส่วนพระภิกษุ สามเณร จะได้รับพระราชทานพัดกาชาดสมนาคุณ
       เหรียญกาชาด เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จความชอบที่พระราชทานแก่ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สภากาชาดไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เหรียญกาชาดสมนาคุณ เหรียญกาชาดสรรเสริญ และเหรียญกาชาดสดุดี         

เหรียญกาชาดสมนาคุณ
เหรียญกาชาดสมนาคุณ มีลักษณะเป็นเหรียญโลหะกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 27 มิลลิเมตร ด้านหน้ามีรูปกาชาดและรูปนางพยาบาลประคองทารกกับคนชรา ด้านหลังกลางเหรียญมีที่ว่างสำหรับจารึกนามผู้ได้รับเหรียญและพุทธศักราช ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า “สภากาชาด” และภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า “สมนาคุณ” ด้านหน้ามีห่วงเป็นรูปกระหนก สำหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบสีขาวกว้าง 30 มิลลิเมตร ด้านหน้าแพรแถบตรงกลางมีกาชาดลงยา สำหรับสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าวผูกเป็นรูปแมลงปอ

เหรียญกาชาดสมนาคุณ มีลำดับเป็น 3 ชั้น คือ

ชั้นที่ 1 ทองคำลงยาที่กาชาด
ชั้นที่ 2 เงินกาไหล่ทอง
ชั้นที่ 3 เงินรมดำ
[แก้] การขอเหรียญกาชาดสมนาคุณ
ผู้ที่จะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ คือ ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทย โดยบริจาคเงินประการหนึ่ง โดยการช่วยด้านกำลังกายกำลังปัญญาจนเป็นผลดีประการหนึ่งและการบริจาคโลหิตอีกประการหนึ่ง
ผู้ที่จะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1 หรือชั้นที่ 2 ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่บริจาคหรือขึ้นอยู่กับผลงานที่เป็นประโยชน์แก่สภากาชาดไทย ส่วนผู้จะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 3 ขึ้นอยู่กับผลงานเป็นหลัก ทั้งนี้ อาจมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่สภากาชาดไทยกำหนดขึ้น
ผู้ที่ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 3 อาจได้รับการพิจารณาให้ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2 และชั้นที่ 1 ได้โดยยึดหลักการพิจารณาข้อ 2
เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1

ผู้ที่บริจาคทรัพย์แก่สภากาชาดไทยเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท
ผู้ที่บริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยครบ 100 ครั้ง
ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทยด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา และแรงงานต้องได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2 มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
ผู้ที่เป็นหัวหน้าช่วยแนะนำให้มีผู้บริจาคทรัพย์แก่สภากาชาดไทย ตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไป จนได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2 แล้ว แต่ยังช่วยแนะนำต่อไปอีกเป็นเวลา 5 ปี จำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง มีสิทธิได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1
เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2

ผู้ที่บริจาคทรัพย์แก่สภากาชาดไทยเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท
ผู้ที่ชักชวนให้มีผู้บริจาคทรัพย์แก่สภากาชาดไทยเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท
ผู้ที่บริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยครบ 75 ครั้ง
ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทยด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา และแรงงาน ต้องได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 3 มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 3

ผู้ที่บริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยครบ 50 ครั้ง
ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทยด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา และแรงงาน มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
[แก้] เหรียญกาชาดสรรเสริญ
เหรียญกาชาดสรรเสริญ มีลักษณะเป็นเหรียญทองแดงแบนรูปกาชาดมีวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 มิลลิเมตรทับอยู่ ด้านหน้ามีรูปนางเมขลาอุ้มพระชนกขึ้นจากมหาสมุทรด้านหลังกลางเหรียญมีข้อความว่า “กาชาดสรรเสริญ” มีห่วงห้อย สำหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบสีขาวกว้าง 30 มิลลิเมตร มีริ้วสีแดงใกล้ขอบทั้งสองข้าง ด้านหน้าแพรแถบตรงกลางมีกาชาดลงยา สำหรับสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าวผูกเป็นรูปแมลงปอ

 
แพรแถบย่อเหรียญกาชาดสรรเสริญ


[แก้] การขอเหรียญกาชาดสรรเสริญ
บุคคลที่ควรได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญให้แก่ผู้ประกอบคุณงามความดี

ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ตกอยู่ในอันตราย และอาจถึงแก่ชีวิตให้รอดพ้นอันตรายโดยมิได้เห็นแก่สินจ้างรางวัล และมิได้นำพาต่ออันตรายของตนเอง
ผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ เช่น ตั้งสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้าโดยมิได้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตัว
ผู้บำเพ็ญคุณความดีช่วยเหลือผู้อื่นจนตัวเองถึงแก่ชีวิต มีสิทธิ์ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญ โดยทายาทจะเป็นผู้ได้รับพระราชทานแทน
ผู้ที่ทำประโยชน์ในภาวะภัยพิบัติ เกิดโรคระบาดโดยบริจาคทรัพย์ของตนเองให้ความช่วยเหลือโดยไม่คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตัว
ผู้ที่ทำหน้าที่ให้แก่สภากาชาด เพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บบริเวณเขตกระสุนปืนในภาวะสงคราม การจลาจล หรือในพื้นที่ที่มีโรคระบาด โดยไม่คิดประโยชน์ตอบแทนจากสภากาชาดไทย จนกระทั่งเหตุการณ์นั้นสงบเรียบร้อย และได้ผลดีเป็นที่พอใจของกรรมการ
ชาวต่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดีแก่สภากาชาดไทย หรือบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ โดยมิได้คิดประโยชน์ส่วนตนซึ่งคณะกรรมการเจ้าหน้าที่เห็นสมควรยกย่องเป็นกรณีพิเศษ
นายกเหล่ากาชาดจังหวัด กรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด เหรัญญิก และเลขานุการเหล่ากาชาดจังหวัด ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากสภากาชาดไทย เป็นเวลานานคบ 15 ปี มีสิทธิที่จะได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญ (หากผู้ใดปฏิบัติงานมิได้ติดต่อกัน แต่รวมเวลาปฏิบัติงานแล้วครบ 15 ปี ก็มีสิทธิ์ได้รับเช่นกัน)
ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในสภากาชาดไทย และได้ทำการมาแล้วกอปรด้วยความดีความชอบเป็นเวลานานถึง 15 ปีขึ้นไป นับตั้งแต่วันที่รับตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดในกิจการของสภากาชาดไทย
[แก้] เหรียญกาชาดสดุดี
เหรียญกาชาดสดุดี มีลักษณะเป็นเหรียญกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 มิลลิเมตร ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงฉลองพระองค์ชุดไทยประยุกต์ ทรงสายสะพายและสายสร้อยแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับดวงตราปฐมจุลจอมเกล้า เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙ ชั้นที่ ๑ ภายในวงขอบเหรียญมีข้อความว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย” ด้านหลังกลางเหรียญมีรูปตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ ขนาบด้านขวาและซ้ายด้วยเครื่องหมายกาชาด ด้านล่างมีข้อความว่า “กาชาดสดุดี” เหนือขอบเหรียญมีอักษรพระนามาภิไธย “ส.ก.” ไขว้ ภายใต้พระมหามงกุฎ ด้านหลังมีห่วงสำหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบกว้าง 30 มิลลิเมตร พื้นของแพรแถบเป็นสีขาวและตรงกลางแพรแถบมีริ้วสีแดง สำหรับสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าวผูกเป็นรูปแมลงปอ

เหรียญกาชาดสดุดี มีลำดับเป็น 3 ชั้น คือ

ชั้นพิเศษ ทองคำ
ชั้นที่ 1 เงิน
ชั้นที่ 2 บรอนซ์

กิตติพศ เหมือนจันทร์                                                                                               


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 01, 2010, 01:46:52 PM
อนุโมทนาบุญด้วยน่ะครับ เยอะจริงๆ 76 ครั้งแล้ว

เราคนไทย ร่วมด้วยช่วยกัน สังคมจะน่าอยู่ ยิ่งๆ ขึ้น เน๊อะครับ


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ พฤศจิกายน 10, 2010, 11:05:19 AM
อาทิตย์ที่ 2 ของเดือน พฤศจิกายน 2553

เราจะมีไปบริจาคโลหิตที่ สภากาชาดกันนะครับ

ถ้าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ท่านไหนสนใจก็สามารถไปด้วยกัน ได้น่ะครับผม   ;)


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Rada ที่ ธันวาคม 16, 2010, 08:59:05 PM
14 กุมภา 54

ไปบริจาคเลือดกันไหม? ค่ะ
 


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 14, 2011, 04:16:27 PM
เตรียมพร้อมอย่างไรก่อนบริจาคโลหิต

     รศ.พญ.ศศิจิต  เวชแพศย์
ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


คำว่า “โลหิต” อาจ ฟังดูน่าหวาดเสียวและน่ากลัวสำหรับคนบางคน แต่สำหรับโรงพยาบาลแล้ว โลหิตเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการรักษาผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยผ่าตัด ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ป่วยมะเร็ง รวมทั้งการรักษาหลาย ๆ อย่างในปัจจุบันนี้ จะไม่สามารถทำได้หากไม่มี

โลหิตมีความสำคัญอย่างไร
            ใน ร่างกายคนเรามีเลือดไหลเวียนอยู่ในตัว เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร น้ำ ออกซิเจนไปทั่วร่างกาย ขณะเดียวกันก็นำสารพิษ ของเสีย และคาร์บอนไดออกไซด์จากส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปกำจัดออกจากร่างกายเพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ในเลือดมีทั้งของเหลว(ส่วนน้ำ)และเซลล์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่ต่างกัน กล่าวคือ
             เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เนื้อเยื่อออกไปขับถ่าย เม็ดเลือดแดงมีปริมาณประมาณร้อยละ40–45 ของเลือดทั้งหมด และมีอายุเพียง 120 วัน
            เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ให้ภูมิคุ้มกันเหมือนทหารปกป้องเชื้อโรคในร่างกาย มีปริมาณประมาณ 1% ของเลือด
             เกร็ดเลือด ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนของเซลล์ขนาดเล็ก มีอยู่ประมาณ 5% ของเลือด 
           พลาสมา เป็นสารน้ำสีเหลือง มีโปรตีน เกลือแร่ ไขมัน ฮอร์โมน ไวตามิน มีปริมาณร้อยละ 55 ของเลือด

ประเภทของหมู่โลหิต (กรุ๊ปเลือด)
     โลหิตที่อยู่ในคนไทยเรา แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
          1.หมู่โอ  พบร้อยละ  38             
          2.หมู่เอ  พบร้อยละ  21 
          3.หมู่บี   พบร้อยละ  34   
          4.หมู่เอบี  พบร้อยละ  7

     นอกจากนี้ในหมู่เลือด เอ,บี,โอ แต่ละชนิดจะพบว่าประมาณ 1 ถึง 3 คน ในจำนวนประชากร 1,000 คน จะมีหมู่เลือดอาร์เอ็ชลบ ซึ่งเป็นหมู่โลหิตที่หายากหรือหมู่โลหิตพิเศษ เท่าที่พบมา เราพบว่าหมู่โลหิตโอเป็นหมู่โลหิตที่หาง่าย เมื่อเทียบกับหมู่โลหิตประเภทอื่นที่บริจาคกันเข้ามา สำหรับผู้ที่ไม่เคยบริจาคโลหิตมาก่อน แต่อยากช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ยากเลยค่ะ

คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
     • เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว
     • อายุ 18 – 60 ปี
     • น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป
     • ไม่อยู่ในระหว่างรับประทานยาปฏิชีวนะ ยาป้องกันเลือดแข็งตัว ฮอร์โมนเพศ
     • ไม่มีประวัติเป็นโรคมาลาเรียในระยะเวลา 3 ปี
     • ไม่ได้รับการถอนฟันหรือขูดหินปูน ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนบริจาคเลือด ไม่มีบาดแผลสดหรือแผลติดเชื้อใด ๆ ตามร่างกาย
     • ผู้หญิงที่ไม่อยู่ในระยะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร 

ใครบ้างที่ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้
     • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด มะเร็ง ลมชัก โรคเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก
     • ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือคู่ครอง(สามีหรือภรรยา)เป็นไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอสไอวีหรือซิฟิลิส
     • ผู้เสพยาเสพติดชนิดใช้เข็มฉีดยา
     • ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย
     • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ มีต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายโต หรือมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ

เตรียมพร้อมอย่างไรก่อนบริจาคโลหิต
     การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต เพื่อมิให้ผู้บริจาคโลหิตอ่อนเพลียมากหลังบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตจึงควรเตรียมตัวดังนี้
     • ก่อนบริจาคโลหิต 1–2 วัน ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น เลือดไหลเวียนดี
     • งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
     • ไม่ควรเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากก่อนบริจาคโลหิต 1 วัน
     • รับประทานอาหารก่อนบริจาคโลหิตประมาณ 4 ชั่วโมง
     • นอนหลับพักผ่อนเพียงพอประมาณ 6 ชั่วโมง

     ซึ่งแต่ละครั้งโรงพยาบาลต้องการโลหิตประมาณ 350–450 ซี ซี /คน ซึ่งปริมาณจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้บริจาค และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโลหิตที่ปลอดภัย โลหิตที่ได้จะต้องผ่านกระบวนการทดสอบก่อนนำไปให้ผู้ป่วยคือ ตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส และตรวจหาไวรัสเอดส์

รับประทานอะไรหลังบริจาคโลหิต
     • หลังการบริจาคโลหิตเสร็จแล้ว ควรนั่งพักประมาณ 10-15 นาที รับประทานขนมหรืออาหารว่าง ดื่มน้ำ/เครื่องดื่ม 1-2 แก้ว แล้วรับประทานอาหารตามปกติ ไม่ควรงดอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ตับ ไข่ เลือดหมู เลือดไก่ ผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง
     • งดสูบบุหรี่หลังบริจาคโลหิตอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และถ้าจะดื่มผู้บริจาคโลหิตควรรับประทานอาหารให้มากพอก่อนดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์
 
      เห็นไหมคะว่า หากมีการเตรียมพร้อมก่อนมาบริจาคโลหิตก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เมื่อคุณ
บริจาคโลหิตไปแล้วเท่ากับคุณได้กระตุ้นร่างกายให้สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาใหม่(เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน)มีผลให้สุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น สำหรับผู้หญิงสามารถบริจาคได้ทุก 6 เดือน ส่วนผู้ชายบริจาคได้ทุก 3 เดือน

      คุณเป็นผู้หนึ่งที่สามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ มาร่วมบริจาคโลหิตกับโรงพยาบาล
ศิริราชได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ที่ห้องรับบริจาคเลือด ตึก 72ปี ชั้น 3 นอกจากนี้ยังมีหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ โทร.02-419 8081 ต่อ 110

      "เลือดท่านเพียงน้อยนิด ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้"



ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : http://www.si.mahidol.ac.th/th


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 14, 2011, 04:23:18 PM
[บริจาคเลือดที่ศิริราช]
วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดพิเศษ วันหยุดราชการ นักขัตฤกษ์  เวลา 8.30 - 16.30 น.
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 - 18.30 น.
สอบ ถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ติดต่อภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด
โรงพยาบาลศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 3 หรือโทรศัพท์แจ้งที่หมายเลข 02-419 8081 ต่อ 110
url =>  http://www.si.mahidol.ac.th/th/manual/bloodbank/page4.htm

 :D :D


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Rada ที่ สิงหาคม 12, 2012, 01:29:48 AM
ยังบริจาคโลหิตกันอย่างต่อเนื่องอยุ่รึเปล่าคะ


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ สิงหาคม 24, 2012, 04:09:43 PM
ไปกันอยู่แล้ว ^_^


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กันยายน 04, 2012, 02:18:14 PM
จะไปบริจาคเลือด อีกครั้งวันที่ 6 กันยายน 2555 นะครับ
ถ้าเพื่อนๆท่านใดว่างๆ ไปเจอกันได้ที่ สภากาชาดไทย นะครับผม


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ เมษายน 25, 2013, 05:55:16 AM
(http://kammatan.com/gallary/images/20130424220329_293954523524.jpg)

บริจาคเลือดที่ประเทศญี่ปุ่น โตเกียว Tokyo Japan

พอดีผมต้องมาทำงานที่ญี่ปุ่น หลายเดือนเลยครับ แต่ก็ไม่ลืมที่จะบริจาคเลือด
พอดีที่ office ที่ผมทำงานอยู่แถวๆย่าน Tamachi , Tokyo
เขามีมารับบริจาคเลือด พอดี ก็เลยเป็นโอกาสเหมาะครับ

สำหรับขั้นตอนต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆ กับที่ไทย เริ่มตั้งแต่ กรอกข้อมูลส่วนตัว ว่า

- ชื่อ นามสกุล (เขียนแบบ Katakana) นะครับ
- วันเดือนปีเกิด แบบ Showa ด้วย
- แล้วก็ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

เสร็จแล้วก็มาทำบัตร ครับ จะมีเจ้าหน้าที่ ประจำเครื่องออกบัตร ให้ แล้วก็ให้ตอบคำถาม อีกประมาณ​ 10 กว่าข้อได้
เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ กับการเดินทางไป ในพื้นที่เสี่ยงโรค หรือ ได้รับการผ่าตัด ได้รับเลือดจากผู้อื่นมาบ้างหรือเปล่า
แล้วก็มีในส่วนของ เรื่องของไข้ มาลาเรีย ครับ ซึ่งถ้าในประเทศไทย เรา ถ้ามาจาก กทม ก็จะปลอดเชื้อครับ
เพราะไข้มาลาเรีย ส่วนใหญ่จะอยู่ในป่า ดังนั้นถ้าเป็นพื้นที่ ที่เป็นป่า ก็ยังพอมีโอกาสเสี่ยงได้

เสร็จแล้วก็รอพบแพทย์ เพื่อเชคอีกที ถ้าเสร็จแล้วก็ทำการตรวจวัด ความดัน แล้วก็ดูว่าเลือดลอย หรือเปล่า
ถ้าผ่านหมด ก็เข้ารับการบริจาคได้ครับผม ˆˆ

ฮ่าๆๆ ลองดูนะครับเผื่อเพื่อนๆ มาทำงานกันที่ญี่ปุ่น แล้วต้องการบริจาคเลือด
เมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ก็เหมือนการทำบุญกุศล แบบหนึ่ง สาธุครับผม


หัวข้อ: Re: มาบริจาคเลือด กับ เกร็ดเลือดกัน ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มีนาคม 23, 2017, 02:24:24 PM
บริจาคเลือดที่โรงพยาบาลศิริราช จ.กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลอัฟเดทล่าสุด มีนาคม 2560
วัน-เวลา รับบริจาคเลือด
วันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08:30 - 18:00 น.
วันเสาร์ - อาทิตย์ และ วันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:00 น.
บริจาคเลือดได้ทุก 3 เดือน

ช่องทางการติดต่อธนาคารเลือดศิริราช
โทรศัพท์ : 02-419-8081 ต่อ 123 , 128 (ห้องรับบริจาคเลือด)
Website : http://www.si-mahidol.ac.th/department/tranfusion/th/
Email : [email protected]

สถานที่รับบริจาคเลือดที่ ศิริราช
ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด โรงพยาบาลศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 3