หัวข้อ: พระอาจารย์บุญจันทร์ จันทวโร วัดถ้าผาผึ้ง อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กรกฎาคม 22, 2009, 02:33:46 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20090828093039_puluang_b.jpg)
นายบุญจันทร์ พงศ์สวัสดิ์ มีบิดาชื่อนายเพียร พงศ์สวัสดิ์ มารดาชื่อ นางสงบ พงศ์สวัสดิ์ เกิดที่เมืองพล อำเภอพล ตำบลเมืองเก่า จังหวัดขอนแก่น เกิดวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันอังคาร มารดาและบิดา เป็บชาวนา อาชีพทำนาทำสวน เมื่อเกิดมาแล้ว มารดาและบิดา ก็ได้เลี้ยงดูเจริญขึ้นตามลำดับ จนมีอายุได้ ๘ ปี ก็ได้ฝากให้เรียนหนังสือ ที่โรงเรียนประชาบาลเมืองพล จนเรียนจบประถมสี่ ก็ได้ออก จากโรงเรียนมาอยู่ที่บ้าน ช่วยบิดามารดาทำนา ทำสวน ครั้นอายุได้ ๑๗-๑๘ ปี ชีวิตความเป็นหนุ่มก็กำลังเจริญขึ้น กิเลส ความโลภอยากได้ยินดี มันก็เจริญขึ้น จึงต้อง ทำงานต่างๆ ทำนาบ้าง ทำสวนบ้าง ค้าขายบ้าง หาปู หาปลา ทั้งวันทั้งคืน เพื่อเอามากิน เอามาเลี้ยงพ่อแม่ เอามาขาย เอาเงินเก็บหอมรอบ ริบ เพื่อจะมีครอบครัวในอนาคต จนอายุเจริญขึ้น ย่างเข้า ๒๑ ปี พ่อแม่ก็ปรารภ เรื่องจะให้มีครอบครัว เจ้าตัวเอง ก็เลยคิดว่า ถ้าไปมีครอบครัว แล้วกลัวจะไม่ได้บวช ฉะนั้นเมื่อพิจารณาตกลงใจว่า จะต้องบวช ทดแทน บุญคุณพ่อแม่เสียก่อน ถ้าอยู่ในศาสนาไม่ได้ สึกออกมา ก็ค่อยมีครอบครัวทีหลัง จึงบอกความ ประสงค์ ให้พ่อแม่ทราบ ท่านก็ยินดี อนุโมทนาด้วย ต่อมาท่านจึงนำไปฝากท่านอาจารย์ทองสุข ที่วัดป่ามัชฌิมวาส บ้านคึมชาติ เมืองพล เพื่อฝึกหัดครองนาคและฝึกขัอ วัตรปฏิบัติในเบื้องต้น เช่นหัดกราบไหว้ หัดปฏิบัติครูบาอาจารย์ หัดกินข้าวหนเดียว หัดท่องครองนาค และฝึกทำนองมคธ ภาษา หัดไหว้พระสวดมนต์ ปฏิบัติครูบาอาจารย์ ถวายน้ำใช้น้ำฉัน ตักน้ำใส่โอ่ง ส่วนบริขารเครื่องบวชนั้นบิดามารดา ท่าน เป็นเจ้าภาพจัดหา ตระเตรียมไว้เสร็จเรียบร้อย ไปหัดนาคอยู่ ๑๕ วัด บิดาาท่าน ก็ได้ไป ติดต่อพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเวลานั้นมี พระครูอนุโยคธรรมฌานเป็นพระอุปัชฌาย์ มีอาจารย์มหาประสงค์ เป็นพระกรรมวาจารจารย์ ได้บรรพชาและอุปสมบท ที่พัทธสีมา วัดสระจันทร์ เมื่ออายุ ๒๑ ปี วันที่ ๓๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลา ๑๐.๓๐ น ณ วัดสระจันทร์ ตำบลเมือง เ่กา อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เมื่อเสร็จการบรรพชา อุปสมบทแล้ว ก็ได้ลาพระอุปัชฌาย์ ไปจำพรรษาที่วัดป่ามัชฌิมวาส บ้านคึมชาติ มีท่า่นอาจารย์ ทองสุขเป็นอาจารย์ ได้มอบกาย ถวายตัวเป็นศิษย์ท่าน ท่านก็แนะนำสั่งสอน ให้ท่องทำวัตรเช้าเย็น แนะนำให้ท่องสวดมนต์ แนะนำให้ท่องนวโกวาท แนะนำให้ดูหนังสือนักธรรมตรี ครั้นถึงเวลาเช้า ก็นำทำวัตรเช้า ตอนเย็นก็นำทำวัตรเย็น ตอนเช้า ตื่นระยะเวลา ตี ๓-๔ ก็ลงมาที่ศาลา ปัดกวาด บนศาลา เสร็จก็ปูเสื่อ ปูอาสนะ ที่นั่งของอาจารย์ และพระตามลำดับ ตังน้ำฉัน ตั้งกระโถนเตรียมบาตร เมื่อถึงเวลาออกบิณบาต ประมาณ ๗ โมง ก็ไปบิณฑบาต บ้านคึมชาติ บ้าง บ้านเหล่านาคีบ้าง บิณฑบาตเสร็จก็กลับมาฉันที่ศาลาภายในวัด จัดแจงอาหารแจกจ่ายกันทั่วถึง แล้วก็ลงมือฉันด้วยสำรวม ฉันเฉพาะในบาตร ฉันวันละ ครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อฉันเสร็จก็นำบาตร ไปล้าง แล้วนำมาเช็ดให้แห้ง เอาผึ่งแดดพอสมควร แล้วก็เอาใส่สลก ตั้งไว้ แล้วก็ช่วยกันปัดกวาดศาลา เก็บเสื่อเก็บอาสนะ เก็บกระโถน ที่ล้างแล้วก็เอามาเช็ดให้แห้ง แล้วนำไปเก็บไว้ให้เรียบร้อย ต่อมา ก็เก็บบาตร และเครื่องใช้ของตนไปกุฏิ เอาบาตรและบริขารอื่นไปไว้แล้ว ก็เตรียมท่องหนังสือ สูตรไหน ที่่ยังไม่ได้ก็เตรียม ท่องต่อไป ระหว่างที่เป็นนวกภิกษุผู้บวชใหม่ กิจที่จะต้องศึกษายังมีมาก ต้องอาศัยความเพียร ความอดทน บางทีท่องหนังสือไป มันเหนื่อย ก็หยุดพัก ภาวนา พุทโธ พุทโธ บางทีก็พิจารณากายในอาการสามสิบสอง โดยความเป็นปฏิกูลบ้าง บางครั้ง ก็ กำหนดลมหายใจ เข้าออก พร้อมทั้งคำบริกรรม พุทโธ พุทโธ ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง มีโยมชาวบ้้านเขาตาย เขาก็มานิมนต์พระไปให้บุญคนตาย คือนิมนต์ไปสวดมาติกาและบีงสุกุล ก็มา นึกในใจว่า คนเราเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ เจ็บ ตาย เวลาตายลง เขามีบ้านมีเรือน ก็เอาไปไม่ได้ เขามีวัตถุ ข้าวของ เงินทองก็ เอาไปไม่ได้ บางคนทรัพย์สินเงินทองข้าวของมากมี เวลาตายเป็นผี เอาไปไม่ได้ ความตายนี้ไม่มีอะไรป้องกัน คนเกิดมาแล้ว ต้องแก่ เจ็บ ตาย กันทั้งนั้น อย่าว่าแต่คนอื่นจะตายเลย ตัวเราก็จะต้องตายเหมือนกัน เมื่อความตายมาถึงเรา เราจะเอาอะไร ในกายนี้ แม่แต ่ผมเส้นเดียวก็เอาไม่ได้ เมื่อพิจารณาไป ก็เกิดสังเวชสลดใจ จึงได้พิจารณากายตัวเอง ถึงมรณานุสติ มากเข้า ต่อนั้นมา การพิจารณากายคสติ กับมรณานุสติ มักจะไปด้วยกัน แต่ในตอนนั้น มันเป็นพรรษาแรก ไหนจะเจริญกรรมฐานบ้าง ไหนจะไปท่องสวดมนต์บ้าง ไหนจะไป ดูธรรมะบ้าง ไหนถึงเวลาทำข้อวัตรก็ต้องเบ่งเวลาไปทำ รู้สึกว่าการเจริญกรรมฐานยังได้น้อย บางครั้งตัณหา กิเลส มันก็แสดงออกไปภายนอก เพราะไปนึกถึงเรื่องอดีต ที่พ่อ แม่แบ่งนาไว้ให้ แบ่งสวนไว้ให้ แบ่งวัวแบ่งควายไว้ให้ และ่พ่อก็ไปขอสาวไว้ให้ แม่ก็ไปขอสาวไว้ให้ ถ้าสึกมา เมื่อไร ก็จะได้แต่งงานกัน คิดทางโลก ซึ่งเป็นเรื่องกามวัตถุ เมื่อคิดไปแล้วมันก็คิดทบทวน มาหาคนที่ตาย เห็นไหมผู้หญิงคนนั้นตาย เขาก็เอา เผาไฟ ไฟก้ไหม้หมด ไหม้หัว ไหม้หน้าตา ที่สวยงามๆ ไหม้แขน ไหม้มือ ไหม้ตัว ไหม้ขา ไหม้แข้ง ไหม้ตีน ไหม้หมด ทั้งหนังเนื้อเส้นเอ็นและกระดูก แม้แต่ตัวเขา ก็เอาอะไรไม่ได้ มีัวัตถุข้าวของเงินทองมากมายได้อะไร ใจรู้่ใหม ใจเห็นใหม ใจนี้มันตายใหม ถ้าใจมันตาย ไปด้วยกัน เอาไปเผาหมดทั้งกาย ทั้งใจเห็นจะดี ไม่มีกาย ไม่มีใจแล้ว เห็นจะไม่มี ทุกข์ยากลำบากอะไร แต่ในหนังสือธรรมะ ท่านว่า ใจไม่ตาย กายตาย ใจไปเกิดอีก เป็นนั่นเป็นนี่ เป็นเรื่องของกรรม ถ้าทำ กรรมดี ใจก็ไปเกิดที่ดี ถ้่าทำกรรมชั่ว ใจก็ไปเกิดที่ชั่ว เมืื่อมีความเห็นอย่างนี้ใจก็น้อมไปในการเจริญกรรมฐานมากขึ้น ตายไม่ได้อะไร สึกไปทำไมา ถ้าสึกไปเอาเมีย เมียมัน ก็ตาย ตัวเราก็ตาย คนทั้งโลกตายกันทั้งนั้น ไม่มีใครได้อะไร สมบัติเครื่องใช้ในโลกชั่วคราว ดูซิ เศรษฐีมีเงิน ร้อยล้านพัน ล้านตายลง บาทเดียวก็เอาไม่ได้ ในเวลามีชีวิต อยู่ลุ่มหลงมัวเมาหาแต่วัตถุ ข้าวของเงินทอง เมาเสียจนมืด สิ้นบุญกุศล จะให้ทานก็กลัวแต่มันจะหมด เรื่องหมดไม่ชอบ ชอบแต่เรื่องร่ำรวยมั่งมี ยิ่งมียิ่งตระหนี่ขี้เหนียว เศรษฐีบางคน เอาทรัพย์ ไปซ่อนไว้ เอาไปฝังไว้ กลัวลูกหลาน เขาจะแย่งเอาไป เวลาตาย ก็ไปเป็นผี เฝ้าเงินเฝ้าทอง ยิ่งทำโทษหนักให้แก่ตัวเอง เพราะหลงมืดมน ไม่สนใจในธรรมะ จึงไม่รู้จักประโยชน์การใช้เงิน ในธรรมะท่านแสดงประโยชน์เอาไว้อย่างนี้ มีทรัพย์ ให้แบ่งออกห้าส่วน เลี้ยงบิดา มารดา ที่แก่เฒ่าชราให้เป็นสุข เลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัวลูกหลาน บ่าวไพร่ บริวาร ให้เป็นสุข เอาทำทุนค้าขาย หากำไร เก็บไว้ใช้ในเวลาจำเป็น เอาทำบุญ ให้ทานการกุศล ถ้าทำได้อย่างนี้ ทางธรรมะ ท่านเรียกว่า รู้จัก ประโยชน์ในการใช้ทรัพย์ มีโภคทรัพย์แล้วเอาแลกเปลี่ยนเป็นอริยทรัพย์ คือ จาคธนัง ยังจะเป็นประโยชน์ต่อไปในสุคติภพ นี้ประโยชน์ตนชาตินี้ ประโยชน์ตนชาติหน้า ประโยชน์อย่างยิ่ง อย่างสูง ได้แก่มรรคผล นิพพาน ท่านมองเห็นประโยชน์ไหมว่า จะมีประโยชน์จริงหรือไม่จริง หรือตายแล้วสูญ ถามใจคุณดูซิว่า ใจคุณมันสูญสิ้นไป ไหม ไม่มีความเวียนว่ายตายเกิดหรือ คุณเคยดู ปฏิจจสมุปทานไหม พระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้ว่า อวิชชา เป็นปัจจัย ให้มีสังขาร สังขารเก่าตายไป สังขารใหม่เกิดขึ้นมา เพราะใจมีอวิชชาไม่ใช่หรือ ใจหลงกับสังขาร กับความคิดนึกปรุง แต่ง ทั้งที่สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ใจก็หลง แล้วหลงอีก ท่านให้นึกพุทโธ รู้ใจ พุทโธ ใจรู้ ก็นึกไม่ได้ เพราะใจ มันหลงมัวเมา ในกิเลสกามและวัตถุกาม จนมืดมนอนธการ หลงบ้านเรา หลงผัวเรา หลงเมียเรา หลงลูกเรา หลงหลานเรา หลงญาติมิตรพี่น้องเรา ใจเมาในสังขารจนตาย ก็ไปเกิดกับสังขารอีก เป็นอย่างนี้มาหลายร้อยหลายพันกัปมาแล้ว ยังหลงต่อ ไปในอนาคต คนคงจะระลึกได้รู้ใจละมั้ง ไม่ว่าแต่วัตถุข้าวของเงินทองภายนอก ตัวของคุณนี้แหละ ตายจริงๆนะ ถือเอาอะไรเลย ก็ไม่ได้ในาร่างกายนี้ ใช้รอเวลาเท่านั้นแหละ ใจอย่าไปลุ่มหลงมัวเมามันนัก ใจที่ไม่ตายนี้ มีทรัพย์สมบัติอะไรบ้าง อริยทรัพย์ สัทธาธนัง ใจมีไหม อริยทรัพย์คือศีลธนัง ใจมีไหม อริยทรัพย์คือหิริธนัง ในมีไหม อริยทรัพย์คือ โอตตัปปธนัง ใจมีไหม อริยทรัพย์คือ สุตธนัง ใจมีไหม อริยทรัพย์คือ จาคธนัง ใจมีไหม อริยทรัพย์คือ ปัญญาธนัง ใจมีไหม ถ้าใจมีอริยทรัพย์ท่านเรียกว่า ใจไม่จน ถ้ามีโภคทรัพย์ข้าว ของเงินทอง บ้านเรือน เรือกสวนไร่นา อันเทรัพย์เครื่องใช้ในโลก ใจเอาไม่ได้ ร่างกายตายแล้ว ก็ทิ้งไว้ในโลกทุกคน จะตายกันหมดทุกคน จะไม่ได้อะไร แม้ขันธาธิโลก ก็ทิ้งเอาไว้ในโลก ฉะนั้นท่านผู้รู้จึงเตือนเอาไว้ว่า อย่าประมาทตาย ตายนะ รีบกินรีบใช้ รีบทำบุญ เดี๋ยวตาย อย่าไปมัวอ้างกาล อ้างเวลาอยู่ ในปีแรกนี้ การศึกษาธรรมะ การเล่าเรียนก็ดำเนินต่อไปเพราะได้คติธรรม คือ มรณานุสติ สอนใจ เมื่ออยู่จำพรรษา วัดป่าคึมชาติ จนออกพรรษาแล้ว ก็ได้กราบลาท่านอาจารย์ ์ไปเยี่ยมโยมบิดา มารดาที่บ้านแฮด ก็ได้พักที่วัดป่า มีหลวงพ่อ อิสสโร ท่านอยู่ที่นั้น เมื่อพักอยู่ที่นั้น ก้ได้ฟังธรรมจากท่าน แนะนำสั่งสอนมีหลายอุบาย แต่อารมณ์กรรมฐาน ท่านใช้ กายคตาสติ กับพุทโธ ใจบริกรรมพุทโธ แล้วพิจารณา ในอาการสิมสิบสอง พิจารณาในความเป็นของปฏิกูลบ้าง พิจารณาความไม่เที่่ยงเป็นทุกข์ อนัตตาบ้าง ครั้นอยู่ต่อมา ท่านก็เป็นโรคเ้ท้าบวม หลังเท้าของท่านบวมเป็นหนอง เดินไปมาลำบาก การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ ต้องใช้กระโถน ญาติโยม ช่วยหายา มารักษา ท่านทั้งยาทา ทั้งยากิน ทั้งยาประคบ แต่อาการไม่ทุเลา อาการบวมพองกลัดหนองข้างใน ฉันก็ไม่ค่อยได้ นอนก็ไม่ค่อยหลับ เราก็ได้เฝ้าดูแลการรักษพยาบาลท่า่น มาในคืนหนึ่ง ปรากฏอาการเจ็บปวดรุนแรงมาก เราก็เอายาทาให้และช่วยตักเตือนท่าน ให้ระลึกพุทโธ และเตือนท่านให้ละความยึดมั่นถือ มั่น บางครั้งเราก็เป่าให้ท่าน แต่รู้สึกว่า อาการของ โรครุนแรงมาก เท้าที่แตก หนองไหลออกมา แทนที่ว่า อาการจะเบา ลง กลับกำเริบแรงกล้า จนถึงเท่านสิ้นลมหายใจตายลงในคืนนั้นเอง พระเณรที่เฝ้าอยู่และญาติโยมได้เห็นก็เกิดสังเวชสลดใจ จนถึงเวลาเช้า ก็ไปบอกญาติโยม ทางในบ้าน และส่งข่าวไปถึง ท่านอาจารย์สีโห ท่านก็ได้พาพระเณร มาจากวัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ เมื่อท่านมาแล้วก็ได้บอกให้โยมทำหีบ เมื่อทำ เสร็จแล้ว ก็เอาขึ้นมาที่ศาลา เพราะท่านพักอยู่ศาลา ทำพิธีรดน้ำศพแล้วก็เอาศพของท่านบรรจุลงในหีบ ทำพิธีสวดมติกา และชักอนิจจา ต่อมาเมื่อคณะสงฆ์มีท่านอาจารย์สีโห เป็นประธาน พร้อมพระเณร ญาติโยม ก็ได้พากันทำฌาปกิจ ที่วัดนั่น เอง เวลาจูงศพ ท่านไปขึ้นเชิงตะกอน แล้วทำพิธีชักผ้าบังสุกุลเสร็จ ก็พากันใส่ดอกไม้จันทน์ แล้วก็เผาที่นั่นเอง ขณะที่เผาศพของท่าน ก็ได้ยืนดูพิจารณาไฟที่ไหม้ ไหม้กระดาษ ไหม้โลงพังออก เห็นตัวท่าน ไฟไหม้ผ้าจีวรที่คลุม ไหม้สบง ไหม้อังสะ ไหม้หัว ไหม้หน้า ไหม้ตา ไหม้หู ไหม้จมูก ไหม้ปากและไหม้ลำคอ ไหม้แขน ไหม้มือ ไฟไหม้อก ไฟ ไหม้ลำตัว ไฟไหม้หลัง ไฟไหม้สีข้างทั้งสอง ไฟไหม้ท้อง ไฟไหม้ขา ไฟไหม้แข้ง ไฟไหม้หนัง แล้วก็ไหม้เนื้อ ไหม้เข้าไปใน เส้น ไหม้ม้าม ไหม้เนื้อหัวใจ ไหม้ตับ ไหม้ไต ไหม้ไส้พุง มีเลือด น้ำเหลืองหลั่งไหลออกมา ไฟก้ไหม้ไปจนหมดเหลือแต่ กระดูกขาว กองอยู่ ปนกับถ่าน นี้แลหนอจุดจบของร่างกาย ไม่ว่าคน ไม่ว่าสัตว์ ตายแล้วไม่เผากัฝัง มองเห้นเด่นชัดว่า ตายไม่ได้อะไร จบลงแค่ตาย จบลงแค่เผา แค่ฝัง หมดทุกข์ เรื่องบริหารร่างกาย ไม่ต้องกินข้าวกินน้ำ ไม่ต้องทำงานทำการ ข้าวของเงินทอง บางคนหา ไว้เยอะ เมื่อยังไม่ตาย เมื่อตายแล้ว เอาอะไรไม่ได้ ฉะนั้นนักปราชญ์บัณฑิต จึงเตือนให้ระลึกถึงบุญ ตรวจตรองบุญว่า บุญ บารมีเราพอหรือยัง ถ้ายังไม่พอ ให้รีบทำนะ เดี๋ยวตาย จะเสียใจว่า ไม่ได้ทำบุญ ผู้จะรับผลบุญผลบาป ก็คือใจที่ไม่ตาย เมื่อ พิจารณาเขาก็มาพิจาณาเราตายเหมือนกัน ล่วงพ้นความตายไม่ได้ ก่อนความตายมาถึง ต้องรวบรวมบุญ กุศลมรรคผล ให้ถึง พร้อมภายในใจ พระอาจารย์บุญจันทร์สมัยบวชต้นๆ เมื่อเสร็จสิ้นการทำฌาปนกิจเศษอัฐิธาตุของท่านแล้ว ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลอีกครั้งสุดท้าย อุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แก่ ท่านอีก ครั้นต่อมา พระเณรครูบาอาจารย์ที่ท่านมาในงาน ท่านกลับไปวัดท่่าน ยังเหลืออยุ่สามรูป ก็มีแต่พระบวชใหม่ เพิ่ง ได้พรรษาเดียว จิตใจก็ว้่าเหว่ นึกหาครูบาอาจารย์อีก เพราะตนยังเป็นผู้ศึกษาอยู่ทั้งทางปริยัติและทางปฏิบัติ ก็คิดจะลาญาติ โยมไปจังหวัดอุดร จึงได้ไปหาโยมบิดา เล่าความประสงค์ให้ท่านฟัง โยมบิดา บอกว่าจะเอานาไว้ให้ จะเอาสวนให้ จะเอา วัวให้ จะเอาควายให้ ถ้าสึกออกมา ก็จะหาภรรยาให้ จะมอบทรัพย์สมบัติให้ ก็เลยพูกับท่านว่า พ่อ ไม่ต้องห่วงอาตมา ถ้า อาตมาอยู่ในศาสนาไม่ได้ สึกออกมา จะหาเอาเอง ถ้าหาเอาเองไม่ได้ จะพามันกินดิน ได้พูดกับท่านอย่างนี้ และได้บอกท่านว่า เอาขายเสีย ให้หมด แล้วเอาเงินไปทำบุญ โยมพ่อเอง ก็ให้ออกบวชเสีย เมื่ออาตมาพูดท่านก็ฟัง แล้วท่านก็พูดออกมาว่า จะขายให้หมดแล้ว จะออกบวช เมื่อได้พูดปรับเความเข้าใจกันแล้ว อาตมาก็ลาท่าน พ่อไปส่งที่สถานีรถไฟบ้านแฮด อาตมาก็ขึ้นรถไฟไปอุดร ไปขอจำพรรษาที่วัดทิพยรัตน์ มีท่านอาจารย์ฐิน เป็นเจ้าอาวาส เมื่อจำพรรษาที่วัดทิพย์รัตน์ ก็ได้เรียนนักธรรมโท และท่องสวดมนต์แปลด้วย และได้ท่องปฏิโมกข์ด้วย จน ออกพรรษาได้ทราบข่าวว่า หลวงปู่ชอบ จำพรรษาอยู่หนองวัวซอ จึงคิดว่าจะไปกราบนมัสการท่าน เพื่อขอฟังธรรมคำสั่ง สอน จึงได้ไปขออนุญาติท่านอาจารย์ฐิน ก็เลยเตรียมเอาบริขารของตน ลาท่านเดินทางไป เมื่อถึงวัดบ้านเล่า ท่านอาจารย์แพท่านเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็เลยพูดให้ฟัง ว่าหลวงปู่ชอบ ท่านขึ้นไปเชียงใหม่แล้ว ไม่ทัน ก็เลยลาท่านอาจารย์กลับมาวัดทิพย์อีก จนรับกฐินเสร็จ ก็ได้ลาท่านอาจารย์ฐิน บอกท่านว่า จะไปเชียงใหม่ เพื่อตาม หาหลวงปู่ชอบ ก็ได้ออกเดินทาง ผ่านบ้านตาดไปอำเภอผือ ไปขอพักที่วัดป่าอำเภอผือ มีอาจารย์บุญมา อยู่ที่นั่น เริ่มสวด ปาฏิโมกข์ ครั้งแรกที่วัดป่า อำเภอผือนั้น ครั้นวันหลังต่อมา ก็ได้ลาอาจารย์บุญมา ออกเดินทางไปพักวัดบ้านค้อ มีอาจารย์คำมีอยู่ที่นั่น ได้พักที่วัดป่าบ้านค้อ หลายวัน ต่อมาก็ได้ลาอาจารย์คำมี เดินทางต่อไป พักที่พระบาทบัวบก ต่อมาก็ย้ายไปพักที่ถ้าพระนาผักหอก พักภาวนาอยู่ที่ นั่นหลายวัน ต่อมาก็ได้ไป พักที่บ้านคึมสะโนด มีบ้านสามหลัง ตอนในพรรษา หลวงปู่หล้า ท่านได้จำพรรษาที่นั้น เมื่อ ออกพรรษาแล้ว ท่านก็ย้ายไปอยู่ถ้ำพระนาหลวง ก็คิดจะไปกราบนมัสการ เพื่อขอฟังธรรม ข้อปฏิบัติจากท่าน ต่อมาก็ได้ลา โยมที่นั่นเดินทางไปพักที่บ้านน้ำซึม ต่อมาก้ได้ไปพักที่บ้านนาเก็น โยมบ้านนาเ็ก็นนี้ มีลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น คนหนึ่ง ชื่อ ผู้ใหญ่เหี่ยว ไปเห็นที่ไร่ที่นาดี ก็เลยสึกมีครอบครัวอยู่ที่นั่น ก็ได้พักภาวนาอยู่ใกล้บ้านนาเก็น เขาไปทำที่พักให้ข้างทางช้าง ช้างออกจาดงมาก็มากินน้ำ สมัยนั้นสี่สิบกว่าปีมาแล้ว ช้าง เสือ กวาง ฟาน หมู ไก่ป่า อย่างนี้ชุกชุม โยมเาทำที่พักข้างทางช้าง เขาจะลองดูว่าอาตมาจะกลัวไหม บุญรักษาอาตมา ก็มีคำว่าบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ เท่านี้เป็นอารมณ์อยู่ภายในใจ แต่ปรากฏว่าช้างไม่ลงมากินน้ำ ช่วงที่อาตมาพักภาวนา อยู่ที่นั้น พักภาวนาอยู่หลายวัน ก็เลยลาโยม เดินทางไปบ้านสว่าง ที่วัดป่าบ้านสว่างนั้น มีหลวงปู่จันทร์อยู่ หลวงปู่จันทร์ ท่านก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น พักภาวนาอยู่กับท่านหลายวัน เลยขอให้โยมเขาพาไปหา หลวงปู่หล้า ที่ถ้ำพระนาหลวง ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่ถ้ำผาตัก ขอให้โยมไปส่ง เขาไม่รู้จักก็เลยไม่ได้พลหลวงปู่หล้า จึงได้กลับมาพักที่วัดป่าบ้านสว่างอีก ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://monk.thaiopenlinux.com/ ครับ |