หัวข้อ: วัดป่าเชิงเลน ( สาขาวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ) แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กทม. เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 05, 2010, 05:35:48 PM วัดป่าเชิงเลน ( สาขาวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ) ซอย จรัญสนิทวงศ์ 37 แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กทม.
ท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมเมือง วัดป่าเชิงเลนน่าจะเป็นวัดในความคิดคำนึง ของพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ ด้วยบรรยากาศอันสงบร่มเย็น ทั้งภูมิทัศน์ตามธรรมชาติ และจินตทัศน์ทางธรรม ที่อยู่กลางกรุง .......................................... (http://kammatan.com/gallary/images/20130209093052_luangpu_trek.jpg) หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลักใจของชาววัดป่าเชิงเลน ทาง เดินเล็กๆ ท่ามกลางแมกไม้ร่มครึ้มนำผู้คนหลากหลายมุ่งหน้าสู่ความสงบอย่างจงใจ ไม่มีเสียงอื่นใด ไพเราะไปกว่าเสียงนกเล็กๆ ขับขานอยู่บนยอดไม้ ไม่มีอะไรเยือกเย็นไปกว่าการนั่งขัดสมาธิ กำหนดลมหายใจอยู่ต่อหน้าองค์พระปฏิมา (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100104132412_img_6512.jpg) อาจกล่าว ได้ว่า วัดป่าเชิงเลน เป็นวัดป่ากลางกรุงหนึ่งในไม่กี่วัด ที่ผู้มาเยือนสามารถสัมผัสกับความรู้สึกสงบเยือกเย็นอย่างน่าประหลาด วัด แห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย ไกลจากย่านที่สับสนวุ่นวายเพียงไม่กี่สิบนาที หากแต่เมื่อก้าวเข้ามาอยู่ในร่มครึ้มของวัดแล้ว กลับรู้สึกห่างไกลจากโลกภายนอกมากนักสถานที่ตั้งของวัดป่าเชิงเลน พ้องกับชื่อเพราะบริเวณนั้นคือ ป่าชายเลน ที่เต็มไปด้วยไม้ใหญ่น้อยที่ชอบสภาพชื้นแฉะชุ่มน้ำ รอบวัดแห่งนี้มีต้นไทรอยู่เป็นจำนวนมาก ม่านไทรทำหน้าที่ตกแต่งทางเดินรอบวัดซึ่งยกพื้นสูงอย่างน่าชม (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100104132326_img_6506.jpg) ด้วย สภาพพื้นที่น้ำท่วมถึงริมคลองชักพระ ที่นี่จึงไม่มีสนามหญ้าหรือลานวัดกว้างๆ มีเพียงอาคารสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และกุฏิสำหรับพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100104131053_img_6503.jpg) ผู้ เฒ่าผู้แก่ซึ่งอาศัยอยู่แถวนั้น เล่าต่อๆ กันมาว่า บริเวณที่ตั้งวัดป่าเชิงเลนนี้ ในอดีตเคยเป็นวัดเก่าแก่มีอายุนานเกินกว่า 4 ชั่วคน ตั้งแต่จำความได้ก็เห็นวัดอยู่ในสภาพหักพังและรกร้างอยู่แล้ว จากการตรวจสอบอิฐและวิธีการก่อสร้าง พบว่าเป็นวัดรูปแบบเดียวกับวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา จึงเชื่อกันว่าวัดนี้ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 200 ปี (http://www.luangpumun.org/watpakrangkrung/watpa/his/aj_tik.gif) พระอาจารย์อุทัย (ติ๊ก) ฌานุตฺตโม ผู้ค้นพบและริเริ่มบูรณะวัด บริเวณ ที่ตั้งวัด ทุกวันระดับน้ำในคลองจะขึ้นลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูน้ำหลากจะมีน้ำท่วมขังคราวละเป็นเวลานาน จึงเป็นเหตุให้บริเวณวัดทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว จนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ พังทลายลงในที่สุด แม้ต่อมาจะมีความพยายามบูรณะฟื้นฟูหลายครั้ง แต่ในเวลาไม่นานสิ่งปลูกสร้างก็หักพังทลายลงไปอีก หมดกำลังที่ชาวบ้านจะบูรณะต่อไปได้ จึงถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างมาเป็นร้อยปี (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100104131042_img_6501.jpg) กระทั่ง ในเดือนมีนาคม 2532 ท่านพระอาจารย์อุทัย(ติ๊ก)ฌานุตฺตโมได้มาพบบริเวณวัดร้างนี้โดยบังเอิญ แรกทีเดียวมองเห็นเป็นบึงกว้างใหญ่ กลางบึงเป็นต้นอ้อขึ้นสูงกว่าที่อื่น ใต้พงอ้อเป็นกองอิฐปะปนอยู่ จึงได้เข้าไปสำรวจและแผ้วถางหญ้าบริเวณที่เป็นโบสถ์ พบซากโบสถ์มีกองอิฐและกองไม้โครงหลังคา และเหลือซากกำแพงบางส่วนของตัวโบสถ์โผล่พ้นน้ำเพียงนิดเดียว ซึ่งใกล้ๆ บริเวณนี้ยังพบพระพุทธรูปเศียรขาด 3 องค์ ที่ถูกลักลอบตัดไปนานแล้ว ด้วยความรู้สึกสะเทือนใจจึงได้ดำริจะบูรณะวัดนี้ขึ้นมาใหม่ (http://www.luangpumun.org/watpakrangkrung/watpa/his/aj_bun.gif) พระครูกิตติวรคุณ (บุญเลิศ สุจิตฺโต) ประธานบูรณะวัด หลัง จากเริ่มการบูรณะไประยะหนึ่ง เจ้าอาวาสเล่าว่า ได้มีผู้นำเศียรพระห่อผ้าขาวใส่พานมาให้ลองสวมดูกับองค์เดิมใส่ได้พอดี จึงดำเนินการปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ใหม่ รวมทั้งสร้างพระประธาน และอาคารต่างๆ ที่จำเป็นขึ้นใหม่ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2533 แต่ ด้วยเจตนาที่จะให้วัดนี้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และละกิเลสในเชิงวัตถุทั้งปวง วัดแห่งนี้จึงไม่มีการก่อสร้างอาคารถาวรวัตถุใหญ่โต สิ่งปลูกสร้างต่างๆ แทรกตัวอยู่ท่ามกลางร่มไม้ เป็นตัวอย่างของการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อธรรมชาติผู้มีคุณอันยิ่งใหญ่ (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100104130747_img_6498.jpg) โบสถ์ ของวัดป่าเชิงเลน จะมีเพียงฐานรากและหลังคาเท่านั้นที่ทำขึ้นมาใหม่ให้แข็งแรง นอกนั้นได้อาศัยต้นไม้ที่เรียงรายกันเป็นแถวเป็นแนวกำแพง ส่วนซากกำแพงเก่าคงเหลือไว้บางส่วน เป็นแนวอิฐเตี้ยๆ เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงลักษณะการเรียงอิฐ อันเป็นรูปแบบเฉพาะของสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา นอก จากโบสถ์ซึ่งสร้างขึ้นบนฐานรากเดิมของวัดสมัยอยุธยาแล้ว สิ่งปลูกสร้างอื่นส่วนใหญ่จะสร้างบนทุ่นลอยน้ำ เนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศบริเวณนี้เป็นช่วงต่อระหว่างน้ำทะเลที่หนุนเข้ามา บรรจบกับน้ำเหนือที่ไหลลงมา เกิดเป็นดินเลนจำนวนมาก ทำให้ยากที่จะลงหลักปักฐานอย่างมั่นคง (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100104113810_img_6482.jpg) รูปของครูบาอาจารย์ สายวัดป่า (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100104113755_img_6480.jpg) รูปของครูบาอาจารย์ สายวัดป่า เจ้า อาวาสบอกว่า เมื่อมาสร้างวัดได้หาต้นไม้มาปลูกเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดความร่มรื่นเหมาะแก่การบำเพ็ญศีลภาวนาและเป็นที่จำพรรษาของพระ สงฆ์ รวมทั้งเป็นที่ปลีกวิเวกสำหรับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป และ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธองค์ วัดแห่งนี้ได้อบรมการปฏิบัติธรรมให้กับญาติโยม โดยแนะนำการฝึกสมาธิที่ถูกต้อง พระลูกวัดองค์หนึ่งกล่าวว่า (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100104112816_img_6476.jpg) " เราไม่ต้องการให้คนไปลุ่มหลงกับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และสิ่งอื่นที่มาหลอกล่อจิตใจ เพราะมันจะทำให้เราตกอยู่ในกิเลสไม่รู้จบ เราบูรณะวัดนี้ก็เพื่อประโยชน์กับชาวพุทธที่มาปฏิบัติธรรม" ที่ นี่มีพระจำพรรษาอยู่ 5 รูป ครองตนเยี่ยงพระป่าโดยทั่วไป กิจวัตรเริ่มตั้งแต่ ตี 3 ของทุกวัน ฉันมื้อเดียว และจะต้องทำวัตรเย็นนั่งสมาธิ ตั้งแต่ทุ่มตรงจนถึงสามทุ่ม เป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนี้ (http://www.luangpumun.org/watpakrangkrung/watpa/sompan/aj_punrp.gif) พระอาจารย์ภัลลภ อภิปาโล เจ้าอาวาสวัดป่าเชิงเลน พระอาจารย์ภัลลภ อภิปาโล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน เกือบ ทุกวันจะมีผู้ที่ต้องการหาความสงบแวะเวียนมาที่วัดแห่งนี้ บ้างก็มาสนทนาธรรม บ้างก็มาฝึกสมาธิ หรือบางคนก็ต้องการเพียงแค่นั่งเงียบๆ แม้ว่าจะไม่มีญาติโยมมาทำบุญกันมากเหมือนวัดดังๆ แต่คนที่มาที่นี่.. ส่วนใหญ่คือผู้ที่ตั้งใจจะอาศัยพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำจิตใจ และไม่ต้องการใช้ทางลัดในการเข้าถึงบรมธรรม เช่นนั้นเองวัดป่าเชิงเลนจึงให้ความร่มเย็นทั้งทางกายและทางใจอย่างแท้จริง ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก : http://www.luangpumun.org/watpakrangkrung/watpa.htm (http://www.luangpumun.org/watpakrangkrung/watpa.htm) แล้ว http://kammatan.com (http://kammatan.com) หัวข้อ: Re: วัดป่าเชิงเลน ( สาขาวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ) แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กทม. เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 05, 2010, 05:43:25 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100104131214_img_6504.jpg)
บรรยากาศ ภายในวัด ครับ (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100104131022_img_6499.jpg) รูปปั้นเณรน้อย หัวข้อ: Re: วัดป่าเชิงเลน ( สาขาวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ) แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กทม. เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ มกราคม 05, 2010, 05:44:23 PM ดูรูปเพิ่มเติมได้ที่
http://www.kammatan.com/gallary/index.php?x=browse&category=45 แผนที่วัดป่าเชิงเลน ครับ (http://www.luangpumun.org/watpakrangkrung/watpa/pantee/pantee.GIF) สามารถ เข้าวัดป่าเชิงเลนได้จาก ซ. จรัญสนิทวงศ์ 37 ( ซ.วัดเพลงวิปัสสนา ) ปาก ซ.จะมีห้างสรรพสินค้าแม็คโคร ตลอดทางจะมีป้ายชี้ทางเข้าวัดตลอดทาง หาก มาโดยรถประจำทาง รถประจำทางที่ผ่านปาก ซ.จรัญ 37 หลายสาย เช่น 56 57 68 108 ปอ.10 แล้วนั้งมอร์เตอร์ไซร์จากปากซอยไปถึงวัดประมาณ 30 บาท หรือนั้งรถสองแถวสาย"ล่าง" 3 บาท ทั้งสองทางจะต้องลงเดินทางเดินเท้าต่อก็จะถึงภายในวัด หัวข้อ: Re: วัดป่าเชิงเลน ( สาขาวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ) แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กทม. เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2016, 08:40:55 PM วันนี้ 6 กุมภาพันธ์ 2559 (วันตรุษจีน) ทาง kammatan.com ได้มีโอกาสเข้าไปทำบุญถวายสังฆทาน ที่วัดป่าเชิงเลย อีกครั้ง
บรรยากาศอันเงียบสงบ ของวัดป่ากลางกรุงแห่งนี้ ยังคงบรรยากาศเดิมๆ เป็นสถานที่อันเงียบสงบ เหมาะกับการปฏิบัติภาวนา อย่างมาก การเดินทางง่ายขึ้นเยอะ คือถ้ามาจาก ทางจรัญสนิทวงศ์ จะผ่าน Markoสาขาจรัญสนิทวงศ์ แล้วเจอแยกถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน แล้วให้เลี้ยวซ้าย เข้าไปยังถนนเลียบทางรถไฟฯ ขับตรงเข้าไปเรื่อยๆ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนน เอราวันปาร์คอีฟ ขับตรงเข้าไปอีก จะเป็นแนวสะพานที่สร้างใหม่ ขับเข้าไปประมาณ 400-500 เมตร จะเจอทางเข้าวัดป่าเชิงเลน อยู่ซ้ายมือ (ทางเดินเข้าไปจะเป็นทางเล็กๆ ) ทางเดินเข้าจะใกล้ๆ หมู่บ้านจัดสรรที่กำลังสร้างใหม่ ดูแผนที่จาก google map ได้ครับ https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99/@13.766735,100.4561407,16.79z/data= (https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99/@13.766735,100.4561407,16.79z/data=)!4m2!3m1!1s0x30e299e95e10c4d5:0xb0f4211bf551d497 |