หัวข้อ: ประวัติวัดไตรมิตรวิทยาราม วรมหาวิหาร เขตเยาวราช กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2010, 08:51:04 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100203202513_img_6641.jpg) หลวงพ่อทองคำ หรือ พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๖๖๑ ทางทิศตะวันตกของสถานีรถไฟหัวลำโพง ถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๐๐ ตราประจำวัด คือ ภาพเทวดา ๓ องค์ นั่งประชุมกันบนบัลลังค์เมฆ พื้นหลังสีดำ ด้านนอกขอบทอง ด้านบนมีพุทธสุภาษิตประจำวัดคือ " อติโรจติ ปญฺญาย สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก " แปลว่า "สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเจริญรุ่งเรืองด้วยปัญญา" และด้านล่างคือชื่อวัด ประวัติและนามวัด (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100203202633_img_6622.jpg) วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมมีชื่อว่า วัดสามจีนใต้ มีคำเล่ากันว่าวัดสามจีน เดิมมีอยู่สามวัด คือ วัดสามจีนอยู่ในคลองบางอ้อด้านตรงข้ามกับเทเวศร์วัดหนึ่ง วัดสามจีนเหนือ บางท่านก็ว่าอยู่ที่บางขุนพรหม บางที่ก็ว่าอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี สำหรับวัดที่อยู่บางขุนพรหม คือ วัดสังเวชวิศยาราม ส่วนที่อยู่จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ วัดโชติการาม อำเภอเมืองนนทบุรี และวัดสามจีนใต้ ได้แก่ วัดไตรมิตรวิทยาราม เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีน ก็เนื่องด้วยเหตุว่ามีชาวจีน ๓ คนได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาจึงได้นามว่า “วัดสามจีน” วัด ไตรมิตรวิทยารามเดิมมีพื้นที่ราบลุ่ม มีลักษณะน้ำขังได้ทั่วไป ปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ของวัดทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั่ว ทั้งภายในบริเวณวัด และวัดมีเขตอุปจารวัดดังนี้ ทิศเหนือ ก่อนจะมาเป็น "วัดไตรมิตรวิทยาราม" (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100203202458_img_6619.jpg) สภาพวัดไตรมิตรวิทยาราม ครั้งมีนามว่า วัดสามจีนใต้ สภาพบริเวณทั่ว ๆ ไปในบริเวณวัดนั้น เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกโสโครก ดังที่ได้ปรากฏในเอกสารรายงาน การประชุมคณะกรรมการปรับปรุงสุขลักษณะวัดสามจีนใต้ วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ความตอนหนึ่งว่า "เวลา ๑๐.๐๐ น. ผู้มาประชุมได้มาพร้อมกันแล้ว ท่านเจ้าอาวาสขอให้ นายสนิท เทวินทรภักติ พาคณะ กรรมการดูสถาน ที่วัดนี้ ตั้งอยู่ที่ตำบลสามแยก อำเภอสัมพันธวงศ ์จังหวัดพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกัน ดังนี้ ทิศ เหนือ จรดกำแพงหลังตึกแถวถนนพระราม๔ ทิศตะวันตก จรดที่ดินของพระวรวงศ์เธอ พระองเจ้าจุลจักรพงศ์ส่วนหนึ่งแล้วต่อมาติดกำแพงหลังตึกแถว ถนนกลันตันทิศไต้จรดกำแพงหลังตึกถนนเจริญกรุงทิศตะวันออกจรดแนวคลอง วัดสามจีนใต้ ซึ่งกรมโยธาเทศบาลกำลังจัดถมอยู่แล้วย่อหักมุมไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียง เหนือ ตามแนวคูวัดซึ่งราษฎรที่เช่าตึกแถวทางถนนหน้าโรงฆ่าสุกรหัวลำโพง ได้ปลูกเพิงรุกล้ำเนื้อที่คูซึ่งเป็นที่สาธารณะนี้ออกมารกรุงรัง เพื่อเป็นที่พักสุกรสำหรับส่งเข้าโรงฆ่า สิ่งปลูกสร้างอยู่ในพื้นที่นี้ด้านทิศเหนือ มีโรงเรียนเป็นตึก ๓ ชั้นกำลังปลูกอยู่ ถัดไปถึงประตูและถนนทางเข้าแล้วจึงถึงที่ดินผืนหนึ่ง ที่วัดให้ผู้เช่าตัดตอนไปปลูกเป็นห้องแถวชั้นเดียวเตี้ย ๆ หลายแถว ให้บุคคลเช่าอาศัยอยู่ ห้องแถวเหล่านี้มีหลังคาฝาและพื้นชำรุด ทรุดโทรม ปุปะ เบียดเสียดยัดเหยียดกัน มีซอกทางเดินแต่เพียงไม่เกิน ๑ เมตร แถมมีน้ำโสโครกขังเฉอะแฉะอยู่ที่ถนนและข้างถนน กับใต้ห้องแถวเหล่านี้ทั่วไป มีฝูงเป็ดและสุกรเที่ยวหาอาหารอยู่ระเกะระกะ มีอุจจาระและกลิ่นปัสสาวะตลบอบอวน ผู้เช่ามีอาชีพในการทำเส้นหมี่ก็มี ได้ตากเส้นหมี่ไว้ หน้าห้องแถวเลอะเทอะตลอดไป หาบของเร่ขาย ได้วางสินค้า ไว้เลเพลาดพาด ที่ทำขนมก็มีเศษอาหารทิ้งเกลื่อนกล่น แมลงวันตอมเป็นหมู่ใหญ่ หญิงที่เช่าห้องรวมกันอยู่หลาย ๆ คน มีท่าทางอันน่าสงสัยจะซ่อนเร้น กระทำการอันลับลี้ซึ่งผิดศีลธรรมก็มี สภาพของบริเวณนี้ นอกจากทำให้เกิดที่สกปรกโสมมเพาะเชื้อโรคแล้ว ยังเป็นสถานที่ ซึ่งมิบังควรจะอยู่ในที่ของลานวัดใกล้กุฏิพระภิกษุถึงเพียงนี้ อันจะเป็นเหตุนำความเสื่อมเสียแก่พุทธศาสนาเป็นอันมาก (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100203202131_img_6557.jpg) ถัดไปเป็นเนื้อที่ของ พระวรวงศ์เธอ พระองเจ้าจุลจักรพงศ์ มีห้องแถวชั้นเดียวหลายแถว สภาพของห้องแถว ผู้เช่าอาศัย และพื้นที่มีลักษณะอย่างเดียวกับห้องแถว ที่ปลูกอยู่ในที่วัดซ้ำมืดครึ้มและอบอ้าว กรรมการทุกท่าน เมื่อได้สำรวจถึงที่เหล่านั้น รู้สึกรังเกียจและสะอิดสะเอียนในสภาพและความเป็นไปของห้องแถวทั้งสองตอนเป็น อย่างยิ่ง มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า สมควรให้รื้อเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพที่นี้ให้มีสภาพและใช้ประโยชน์ให้ถูกทางจน ดีขึ้น ต่อจากห้องแถวในที่ดิน ทั้งสองแปลงดังที่กล่าวมาแล้ว มีทางเดินกว้าง ประมาณเมตรเศษกับรั้วเตี้ย ๆ กันอยู่ครึ่งหนึ่ง เป็นกุฏิบ้าง หอระฆังบ้าง ศาลาบ้าง หอสวดมนต์บ้าง หอไตรบ้าง ปลูกลับซับซ้อน สูง ๆ ต่ำ ๆ ไม่เป็นแถวเป็นแนว ระเกะระกะชำรุดทรุดโทรม เก่าคร่ำคร่า ปุปะ รั่วไหล จนเหลือที่จะซ่อมให้ดีได้ ปลูกตลอดไปหลายหลัง จนจดแนวหลังตึกทางด้านถนนเจริญกรุงมีสิ่งปลูกสร้างที่มีสภาพ เช่นเดียว กับที่กล่าวแล้ว ซ้ำยังมีกุฏิทรุดเอียงกะเท่เร่อีกหลายหลัง จนไม่น่าไว้วางใจที่จะใช้เป็นที่อาศัยของภิกษุสามเณรได้ กุฏิชนิดนี้มีปลูกตลอดมาจนจดแนวคลองข้างวัดสามจีน ถัดจากนี้ ตอนกลางคือโบสถ์ หมู่เจดีย์ แล้วถึงลานแคบ ๆ ข้างโบสถ์ ทางแนวริมคลองต่อไปมีศาลาหลังหนึ่งมีฝาด้านเดียว อีก ๓ ด้าน ไม่มีฝา ใช้สบง จีวรเก่า ๆแขวนนุงนังบังแดด ที่นี้ก็ใช้เป็นที่อาศัยของพระภิกษุด้วย ถัดจากศาลานี้ไปเป็นที่เก็บศพ และเผาศพ ด้วยเตาใหญ่ ใช้ฟืน มีปล่องระบายควัน ต่อ จากที่นี้ เป็นโรงเรียน ๒ ชั้น ถัดไปถึงเจดีย์องค์ใหญ่ แล้วถึงโรงเรียน ๒ ชั้นข้างล่างก่ออิฐ ข้างบนเป็นไม้ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของวัดสามจีน บริเวณโรงเรียน ทั้ง ๓ หลังนี้ ได้กั้นรั้วกันเขตไว้ กำลังจัดการถมรื้อถอนถากถางก่อสร้างจัดทำเพื่อให้ได้สุขลักษณะ” จะเห็นได้ว่า สภาพของวัดสามจีนในเวลานั้นมีสภาพเป็นอย่างไร คณะกรรมการปรับปรุงสุขลักษณะวัดสามจีนใต้ครั้งนั้นมี นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. อธิบดีกรมพลศึกษา เป็นประธานคณะกรรมการปรับปรุง คณะกรรมการปรับปรุงวัดสามจีนใต้เริ่มงานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๗ ในระยะแรก ได้พบอุปสรรคมากมายหลายประการ (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100203202538_img_6632.jpg) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๐จึงได้รับการอนุมัติจากมหาเถรสมาคม ให้ดำเนินการจัดการรื้อถอนห้องแถวรุงรังในลานวัด และกุฏิเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมออกเสีย แล้วจัดการถมพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ตลอดคลองคูและสระให้เป็นลานวัดเป็นที่สะอาดเรียบร้อย เพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างเสนาสนะสงฆ์ และโรงเรียนมัธยมวัดสามจีนใต้ให้ถูกสุขลักษณะ การก่อสร้างครั้งปรับปรุงวัด หลัง การก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ในครั้งนั้นได้วางผังการก่อสร้างให้กุฏิอยู่เป็นแถวเป็นแนว ไม่สับสน ปนเป ให้มีจำนวนห้องที่อยู่อาศัยพอทั้งพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด ตลอดกระทั่งให้มีห้องน้ำห้องส้วมพร้อม และได้วางกุฏิให้เพียงพอต่อพระภิกษุประมาณ ๗๐ – ๘๐ รูปเท่านั้น ฉะนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ จึงได้สร้างกุฏิคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น จำนวน ๑๔ หลัง ขึ้นแทนกุฏิที่ได้ทำการรื้อถอนไปนั้น ศาลาการเปรียญของวัดเป็นศาลาไม้มีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมลงอย่างมาก จวนจะพังมิพังแหล่ คณะกรรมการได้จัดการรื้อถอนแล้วได้สร้างศาลาการเปรียญเป็นศาลาคอนกรีต ๒ ชั้น ขึ้นแทนของเก่า ศาลารายที่ใช้เป็นโรงเรียนสอนบาลีและนักธรรมนั้น มีสภาพเก่าคร่ำคร่า ซวนเซ ก็ได้ทำการรื้อถอนออก แล้วสร้างเป็นตึกคอนกรีต ๒ ชั้นขึ้นแทน สำหรับใช้เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมเพื่อเล่าเรียนบาลีและนักธรรม เตาเผาศพของเก่าได้รื้อออกแล้ว สร้างเตาเผาแบบทันสมัยขึ้น (http://www.wattraimitr-withayaram.com/new_t/Doc/history_of_traimit/mondop_2.jpg) อาคารจำลอง "พระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา" พระอุโบสถหลังปัจจุบันนี้ เป็นพระอุโบสถที่ได้สร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ โดยมี พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทร ทรงเสด็จมาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงวิศาลศิลปกรรม เป็น ผู้ออกแบบพระอุโบสถ การก่อสร้างเป็นเฟอร์โรคอนกรีต ทรงจตุรมุข หลังคาสามชั้น มีชานรอบพระอุโบสถ บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ และพระอุโบสถหลังใหม่นี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตรประกอบการผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ พระวิหาร เป็นอาคารหมู่ทรงไทยมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว ลักษณะ ๒ ชั้น กว้าง ๒๔ เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระสุโขทัยไตรมิตร ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารสร้างใหม่ ตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้นกว้าง ๑๘ เมตรยาว ๒๔ เมตร ลักษณะเป็นเพอร์โรคอนกรีต สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนแล้ว พระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยความร่วมมือของกรมศิลปากร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเยาวราช และบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) สร้างจากหินอ่อนทรงไทยวิจิตรศิลป์ จุดประสงค์เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฎิมากร (พระพุทธรูปทองคำ) มีทั้งหมด ๔ ชั้น เริ่มดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัท ส.บุญมีฤทธิ์วิศวกรรม เมื่อเดือนตุลาคม ปี ๕๐ มีระยะเวลาในการดำเนินงานประมาณ ๒ ปี ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง หัวข้อ: Re: ประวัติวัดไตรมิตรวิทยาราม วรมหาวิหาร เขตเยาวราช กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2010, 08:53:46 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100203202701_img_6621.jpg)
พระพุทธมหาสุวรรณปฎิมากร ท่าม กลางกระแสธารแห่งอารยธรรมตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบัน ปรากฏร่องรอยหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาอย่างไม่ขาดสาย มรดกทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์แห่งอารยธรรมไทยแต่ครั้งโบราณกาล ดังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งทรงตรวจสอบค้นคว้าด้านโบราณคดีเกี่ยวกับ “สุโขทัย” ความว่า “ชาติไทยเรา ไม่ใช่ชาติใหม่ และไม่ใช่ชาติที่เป็นคนป่า หรือที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า ‘อันซิวิไลซ์' ชาติไทยเราได้เจริญรุ่งเรืองมามากแล้ว เพราะฉะนั้น ควรที่จะรู้สึกอายแก่ใจว่า ในกาลปัจจุบันนี้ อย่าว่าแต่จะสู้ผู้อื่น แม้แต่จะสู้คนที่เป็นต้นโคตรของเราเองก็ไม่ได้ ฝีมือช่าง หรือความอุตสาหะของคนครั้งพระร่วงดีกว่าคนสมัยนี้ปานใด ถ้าอ่านหนังสือนี้แล้ว บางทีพอรู้สึก หรือเดาได้บ้างไม่มากก็น้อย ถ้าอ่านแล้ว คงจะเห็นความเพียรของคนเราเพียงไร.." พระราชนิพนธ์ชิ้นนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามรุ่งเรืองในอดีตโดยเฉพาะ “สุโขทัย” อาณาจักรไทย ที่ครอบคลุมดินแดนดอนเหนือในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ร่องรอยแห่งความเจริญดังกล่าว นอกจากจะพบได้จากซากเมือง และวัดวาอารามต่างๆ รวมทั้งศิลปวัตถุอันตกทอดมาถึงปัจจุบัน ที่สร้างขึ้นอย่างประณีตด้วยศิลปะชั้นสูงแล้ว ความยิ่งใหญ่แห่งอารยธรรมในอดีต ยังพบเห็นได้ชัดเจนจาก “พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร” พระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์สมัยสุโขทัย อันเป็นมรดกแห่งอารยธรรมที่ตกทอดเป็นประจักษ์พยานถึงความเจริญรุ่งเรืองแห่ง อารยธรรมของสยามประเทศ “พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร” หรือ “หลวงพ่อทองคำ” หรือที่มีนามซึ่งปรากฏตามพระราชทินนาม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙) ว่า “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารแห่งวัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ ปลายพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๕ นิ้ว สูงจากฐานถึงพระเกตุเมาฬี ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว น้ำหนักประมาณ ๕ ตันครึ่ง (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100203203227_img_6637.jpg) ประวัติความเป็นมา แต่ เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพอกปิดด้วยปูนทั่วทั้งองค์ พุทธลักษณะภายนอกไม่งดงามหรือโดดเด่น จากหลักฐานที่ปรากฏพบว่า เคยประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดโชตินาราม หรือวัดพระยาไกร มาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ต่อมาวัดพระยาไกรขาดคนบูรณปฏิสังขรณ์ จึงตกอยู่ในสภาพรกร้าง ราว พ.ศ. ๒๔๗๔ บริษัท อีสต์เอเซียติก จำกัด ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานป่าไม้ ได้ขอเช่าที่จากรัฐบาล เข้าจัดสร้างโรงเลื่อยไม้ขนาดใหญ่ในบริเวณวัดร้างแห่งนี้ มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดพระยาไกรออกจนเหลือแต่พระ พุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ในขณะนั้น “วัดสามจีน” ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม กำลังอยู่ในระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั่วทั้งพระอาราม โดยสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปเพิ่มเติม สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่าง เห็นว่า จะปล่อยองค์พระพุทธรูปปูนปั้นให้อยู่ที่เดิมต่อไปจะเป็นการไม่สมควร ประกอบกับวัดสามจีน มีสถานที่กว้างขวางเหมาะสมกับการประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงมอบให้คณะกรรมการวัดสามจีน อันประกอบด้วย พระมหาเจียม กมโล, พระมหาไสว ฐิตวีโร (พระวิสุทธาธิบดี), น.อ. หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย), ร.น. หลวงบริบาลเวชกิจ (ยู้ ลวางกูล), นายสนิท เทวินทรภักดี ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้จากวัดพระยาไกรมาประดิษฐานยังวัดสามจีน หัวข้อ: Re: ประวัติวัดไตรมิตรวิทยาราม วรมหาวิหาร เขตเยาวราช กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2010, 08:55:21 PM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100203202851_img_6647.jpg)
จากพระพุทธรูปปูนปั้น สู่ "พระพุทธพุทธรูปทองคำ" พระ พุทธรูปปูนปั้นจึงถูกอัญเชิญมาตั้งแต่นั้น โดยในขณะที่ยังบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการวัดได้ประดิษฐานองค์พระพุทธรูปไว้ข้างเจดีย์เป็นการชั่วคราว ในระหว่างนี้ มีผู้มาขออัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ การก่อสร้างพระอาราม พระวิหารต่าง ๆ ในวัดสามจีน ใช้เวลาเนิ่นนาน จนล่วงเลยไปถึง ๒๐ ปี ใน พุทธศักราช ๒๔๙๘ การบูรณะจึงเสร็จสิ้นเรียบร้อย เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์พร้อม ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีรมหาเถระ ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระวีรธรรมมุนี ผู้ดำเนินการสร้างวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจนแล้วเสร็จ ได้เป็นแม่กองเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้ เพื่อนำขึ้นประดิษฐานยังพระวิหารซึ่งตรงกับวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ การเคลื่อนย้ายเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่ และหนักมาก ต้องใช้ปั้นจั่นยกองค์พระพุทธรูป ในขณะทำการยกนั้น ปรากฏว่า ลวดสลิงที่ยึดองค์พระเกิดขาดเพราะทานน้ำหนักองค์พระไม่ไหว องค์พระพุทธรูปจึงตกลงกระแทกบนพื้นอย่างแรง พอดีกับเวลานั้น เป็นเวลาใกล้ค่ำ และฝนก็บังเอิญตกอย่างหนัก การอัญเชิญพระพุทธรูปในวันนั้น จึงเป็นอันต้องหยุดชะงักลง (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100203202312_img_6615.jpg) ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ท่านเจ้าอาวาส ได้มาตรวจดูองค์พระ เพื่อหาทางอัญเชิญขึ้นประดิษฐานใหม่ ก็ได้พบเห็นรอยแตกที่พระอุระ และเห็นรักที่ฉาบผิวองค์พระด้านใน เมื่อแกะรักออก ก็ได้พบเนื้อทองคำบริสุทธิ์งามจับตาอยู่ชั้นในสุด ท่านเจ้าอาวาส จึงสั่งการระดมผู้คนช่วยกันกะเทาะปูน และลอกรักออกหมดทั้งองค์ ความงดงามแห่งเนื้อทองบริสุทธิ์ขององค์พระปฏิมาจึงปรากฏให้เห็นพร้อมพุทธ ลักษณะที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สกุลช่างสุโขทัย ที่งดงามจับตาจับใจผู้พบเห็นยิ่งนัก ความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายหมดสิ้นลงเมื่อมีการคุ้ยดินใต้ฐานทับ เกษตรออก และพบกุญแจกลสำหรับถอดองค์พระออกเป็นส่วน ๆ ได้ ๙ ส่วน เพื่อสะดวกต่อการอัญเชิญขึ้นประดิษฐานยังพระวิหาร จึงดำเนินการถอดองค์พระออกแต่เพียง ๔ ส่วน คือ ส่วนพระศอ ส่วนพระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้าง และส่วนพระนาภี ทำให้สามารถอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ ขึ้นประดิษฐานยังพระวิหาร ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้จัดเตรียมไว้โดยราบรื่น ขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆ จากเว็บ http://www.wattraimitr-withayaram.com/new_t/history_gb_page.php ครับผม หัวข้อ: Re: ประวัติวัดไตรมิตรวิทยาราม วรมหาวิหาร เขตเยาวราช กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2010, 11:46:49 AM (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100203205907_img_6625.jpg)
รูปจำลอง ของหลวงพ่อทองคำ ครับผม (http://www.kammatan.com/gallary/images/20100203210515_img_6616.jpg) กว่าจะมาเป็น หลวงพ่อทองคำ มีการจัดแสดง ณ ชั้นสาม บนพระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา หัวข้อ: Re: ประวัติวัดไตรมิตรวิทยาราม วรมหาวิหาร เขตเยาวราช กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: mikimiki ที่ ตุลาคม 18, 2012, 12:03:08 AM วัดนนี้อยู่กลางกรุงเทพแต่ไม่ค่อยมีคนกรุงไปเที่ยวเลย ด้านบนสวยมากๆเลยค่ะคาสิโน (http://casino866.com) บาคาร่า (http://www.casino1688-th.com) Gclub (http://casino866.com/Gclub.html) บาคาร่า (http://www.casino-th.com)
หัวข้อ: Re: ประวัติวัดไตรมิตรวิทยาราม วรมหาวิหาร เขตเยาวราช กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: golfreeze ที่ ตุลาคม 18, 2012, 09:30:14 AM ใช่ครับ ชั้นบนสุด ประดิษฐสถานหลวงพ่อทองคำ ไว้ด้วย สวยงามมาก
หัวข้อ: Re: ประวัติวัดไตรมิตรวิทยาราม วรมหาวิหาร เขตเยาวราช กรุงเทพมหานคร เริ่มหัวข้อโดย: xantriar ที่ พฤศจิกายน 12, 2012, 04:03:42 PM สวยมากครับ :D
|