- กาย ประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งมีประสาทสัมผัส 5 ส่วน คือ ตา-ดู, หู-ฟัง, จมูก-กลิ่น, ลิ้น-ลิ้มรส และ กาย-สัมผัส - ใจ คือธาตุกายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งครองอยู่บนร่างกาย มีอำนาจรับรู้ประสาททั้ง 5 เกิดการเห็น และจำ แล้วนำมาคิดพิจารณา เกิดความรู้สึก ดีใจ เสียใจ เศร้าใจ เป็นสุข เป็นทุกข์ - ซึ่งธรรมชาติของใจ จะดิ้นรน อยาก เพื่อให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่น่าใคร่ ไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์หนึ่งได้นาน รักษาใจให้อยู่นิ่งไม่คิดเรื่องอื่นทำได้ยาก - ดังนั้นหากเราต้องการควบคุมให้เกิดอารมณ์ให้หยุดนี่ง เพื่อให้เกิดปัญญาพิจาณาไตร่ตรองในสิ่งที่ถูก-ผิด หนทางเพื่อให้ใจเป็นสุข คือการทำสมาธิ - สมาธิ คืออาการตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่อง หรือใจหยุดนิ่งแนวแน่ไม่ส่ายไปมา - วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น 1.เมื่อพยามประคับประคองใจให้นิ่งด้วยการจดจ่อที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นกำหนดลมหายใจเข้าออก พักนึ่งจะเกิดความฟุ้งซ่าน คิดโน้น นั้น นี้ เป็นไปตามธรรมชาติของใจโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นสติเราจึงต้องรู้เท่าทัน แล้วกลับมาจดจ่อที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง 2.เมื่อจดจ่อที่สิ่งนั้นต่อไป อาจจะเกิดอารมณ์ต่างๆ จากความฟุ้งซ่านนั้น เช่นดีใจ เสียใจ สติเราก็ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ แล้วกลับมาจดจ่อที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง 3.หากเราประคับประคองใจให้หลุดจากข้อ 1, 2 ได้จะเกิดอารมณ์ปิติสุข ซึ่งก็คือเกิดสมาธิ 4.หากเราปฏิบัติแล้วใจเราควรจะอยู่ที่ข้อ 3 ให้ได้นานที่สุด หากจิตใจไปอยู่ข้อ 1, 2 ก็แสดงว่าสมาธิหลุด ควรฝึกบ่อยๆเพื่อให้เป็นนิสัย ถ้าเรามีสติ จงใช้สตินั้นซุ่มดู ความโลภ โกรธ หลง เพื่อให้รูเท่าทันอารมณ์นั้น ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ - เพื่อให้เกิดสติ ความคิดในการพิจารณาสิ่งต่างด้วยเหตุและผลมากยิ่งขึ้น - รู้ ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี สิงไหนควร-สิ่งไหนไม่ควร - วางตนได้เหมาะสมกับสถานกาณ์ต่างๆ - มีความสามารถตัดสินใจในสิ่งที่จะกระทำได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ที่ปฏิบัติดีแล้วจะมีความคิดพิจารณาเห็นสัจจะธรรมบางอย่าง เพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดความสุขจากภายใน นั้นคือสุขที่ใจเรานั้นเอง
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเกิดเป็นเศรษฐี หรือคนยากจน ก็มีความสุขได้ ด้วยการสุขที่ใจ โดยไม่ได้ยึดติดที่วัตถุ ความสุขนั้นมี 2 ประเภท 1.สุขจากภายใน คือสุขที่ใจไม่ยึดติดที่วัตถุ (หากเราปฏิบัติสมาธิถึงขั้นหนึ่ง เราจะเห็นความสุขประเภทนี้) 2.สุขจากข้างนอก คือสุขจากวัตถุ เช่นมีสิ่งของที่ทำให้น่าใคร่ พอใจแล้วมีความสุข การที่เราพอใจ กับสิ่งที่เรามีนั้นก็เป็นความสุข และถ้าหากเราอยากได้ อยากได้แล้วไม่ได้นั้นก็จะเกิดทุกข์ ดังนั้นหากเรามีสติดีแล้ว เราก็จะเลือกได้ว่าอยากมีความสุข หรือว่าความทุกข์
หนังสือตำรา ไม่ได้บอกว่าถูกหรือผิด เป็นแค่เครื่องชี้ทาง
|