แสดงกระทู้
หน้า: [1] 2
1  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / คำคม โดยท่าน ว.วชิรเมธ เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 11:09:53 PM
1. คนธรรมดาทำบุญก็อยากได้บุญ คนมีปัญญาทำบุญหวังจะเกิดในภพใหม่ที่ดีกว่าเดิม แต่ชาวพุทธแท้ทำบุญเพื่อการปล่อยวางกิเลส
อย่างสิ้นเชิง
2. สิ่งที่ตาเห็นอย่าเพิ่งสรุปว่ามี สิ่งที่คนยอมรับว่าดีอย่าเพิ่งบอกว่าเห็นด้วย
3. ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี
4. นักปราชญ์ตะวันตกกล่าวว่า อำนาจทำให้คนเสีย ยิ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จยิ่งเสียคนแบบเบ็ดเสร็จ
5. ดาบที่ดีต้องมีฝัก ความสามารถที่ดีต้องมีจริยธรรม
6. พ่อแม่ที่ดีต้องมีพรหมวิหาร 4 หน้า หน้า 1 เมตตา หน้า 2 คือ กรุณา หน้า 3 คือ มุทิตา หน้า 4 คือ อุเบกขา
7. ยามปกติเลี้ยงลูกด้วยเมตตา ยามมีปัญหาคอยช่วยเหลือด้วยกรุณา ยามลูกทำดีคอยส่งเสริมด้วยมุทิตายามลูกทำผิดปล่อยให้รับกรรม
ด้วยตัวเอง คือ อุเบกขา
8. รอยเท้าแรกที่เหยียบบนดวงจันทร์ไม่ใช่รอยเท้าของมนุษย์ แต่เป็นรอยเท้าแห่งจินตนาการ
9. การแก้กรรมคือการแก้ที่ความหลงผิด การแก้กรรมคือการเลิกทำความชั่ว ดังนั้นการแก้กรรมจึงไม่ใช่สำเร็จที่การสะเดาะเคราะห์
หรือทำพิธีจากเกจิ
10. คนที่รู้เรื่องกรรมดีที่สุดคือตัวเราเอง คนที่แก้กรรมได้ดี่ที่สุดคือตัวของเรา การแก้กรรมต้องทำ ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม
ไม่ใช่ด้วยพิธีกรรมแปลกๆ
11. คนขุดบ่อน้ำก็ลงต่ำอยู่ในดิน คนก่อกำแพงก็ขึ้นสูงตามกำแพงที่ก่อ ฉันนี้ฉันใดคนทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น จะสูงจะต่ำขึ้นอยู่กับ
การกระทำของตน
12. คนฉลาดชอบแกล้งโง่ คนโง่ชอบเสแสร้งว่าฉลาด ส่วนนักปราชญ์เรียนรู้ที่จะฉลาดและเรียนรู้ที่จะโง่
13. กฎแห่งกรรมไม่ต้องืวีซ่า กฎแห่งกรรมไม่ยกเว้นหน้าอินทร์หน้าพรหม กฎแห่งกรรมไม่มีวันหยุด กฎแห่งกรรมเที่ยงธรรมตลอดกาล
14. บิล เกตต์ เรียนไม่จบแต่พบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เพราะเป็นคนใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง ปัญญาไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย แต่อยู่ในจิตใจที่ใฝ่รู้
15. อย่ายึดติดกับความหลัง อย่าฟังเสียงปาปมิตร (มิตรชั่ว) อย่ามัวคิดริษยา อย่าเสียเวลากับคนเลวทราม
16. คนส่วนใหญ่เรียกร้องสิทธิมนุษยชน แต่คนมีปัญญาเรียกร้องสิทธิที่จะไม่ทุกข์
17. ความไม่รู้เป็นยอดแห่งมลทิน ปัญญาเป็นยอดแห่งสิริมงคล  ความถ่อมตนเป็นยอดแห่งเสน่ห์
18. รถทุกคันล้วนมีเบรก รถทุกคันล้วนมีท่อไอเสีย คนทุกคนต้องมีเบรกคือสติ ต้องมีท่อไอเสียคือการปล่อยวาง
19. ความทุกข์ไม่เคยยึดติดเรา มีแต่เราต่างหากที่ยึดติดความทุกข์ ความสุขไม่เคยไปจากใจเรา มีแต่เราต่างหากที่ไม่เคยถนอมมันไว้
ในใจของเรา
20. ยศ ทรัพย์ อำนาจเป็นเพียงมรรควิธีที่ทำให้ชีวิตนี้มีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นเป้าหมายในการเกิดเป็นมนุษย์
21. ทำผิดแล้วรู้สึกผิดต่อไปจะเป็นคนดี ทำผิดแล้วรู้สึกว่าเป็นความดีกาลกิณีจะเกิดขึ้นในไม่ช้า
22. ที่สุดของความรักคือรักโดยไม่ครอบครอง ที่สุดของการให้คือให้โดยไม่หวังผล ที่สุดของทานคืออภัยทานที่สุดของคน
คือการเป็นคนธรรมดาที่มีความสุข
23. ความรักไม่เคยทำให้ใครทุกข์ การไม่รู้จักธรรมชาติของความรักต่างหากที่ทำให้เกิดทุกข์ ธรรมชาติของความรัก คือเกิดขึ้นในเบื้องต้น
ดำรงอยู่ในท่ามกลาง และแตกดับไปในที่สุด
24. โลกนี้มีผี 6 ตัวที่น่ากลัวกว่าผีไหนๆ
       1) ผีสุรา
       2) ผีเที่ยวกลางคืน
       3) ผีมหรสพ (ติดใจในความบันเทิงจนเกินพอดี)
      4) ผีการพนัน
       5) ผีคบคนชั่วเป็นมิตร (คนชั่วอยู่ไหนชอบเถลไถลไปสนิทสนม)
      6) ผีขี้เกียจ
           ผี 6 ตัวนี้ต้องปราบด้วยปฏิบัติธรรม
2  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 11:05:57 PM
 ยิงฟันยิ้ม พุทธศาสนาสุภาษิตบทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่คุ้นหูคุ้นใจคนจำนวนมาก  ยิงฟันยิ้ม
คือบทที่ว่า..... “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ” แปลความว่า “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”

     เพราะพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อย มีศรัทธาเชื่อให้คุณแห่งการให้ธรรมเป็นทาน จึงแม้สามารถก็จะพากันพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน ซึ่งเชื่อว่าเหนือการให้ทั้งปวง ซึ่งจักเป็นบุญเป็นกุศล ยิ่งกว่าบุญกุศลที่เกิดจากการให้ทานอื่นทั้งปวง

     นี้เป็นการถูก เป็นการดี เพราะการเผยแพร่ธรรมของ พระพุทธเจ้าเป็นความความดีอย่างยิ่ง ยิ่งผู้ได้รับนำไปปฏิบัติก็จะยิ่งเป็นการดีที่สุด เพราะการปฏิบัติธรรม ทรงธรรม ตั้งอยู่ในธรรม เป็นการนำให้ถึงความสวัสดีอย่างแท้จริง และไม่เพียงเป็นความสวัสดีเฉพาะตนเองเท่านั้น ยังสามารถแผ่ความสวัสดีให้กว้างไกลไปถึงผู้เกี่ยวข้องได้มากมาย

     กล่าวได้ว่า ผู้มีธรรมเพียงคนเดียว ย่อมยังความเย็น ความสุข ให้เกิดได้เป็นอันมาก ตรงกันข้ามกับผู้ไม่มีธรรม.....แม้เพียงคนเดียว ก็ย่อมยังความร้อนความทุกข์ให้เกิดได้เป็นอันมาก

การให้ธรรมที่แท้จริง หมายถึงการทำตนเองของทุกคนให้มีธรรม

     พิจารณาจากความจริง ที่ว่าผู้มีธรรมเป็นผู้ให้ความเย็น ความสุขแก้ผู้อื่นได้ เช่นเดียวกันกับที่ให้ความเย็นความสุขแก่ตนเอง อาจเห็นได้ว่า การให้ธรรมไม่หมายถึงเพียงการพิมพ์หนังสือธรรมแจก หรือการอบรมสั่งสอนด้วยวาจา ให้รู้ให้เห็นธรรมเท่านั้น

     แต่การให้ธรรมที่แท้จริง ย่อมหมายถึงการทำตนเองของทุกคนให้มีธรรม ให้ธรรมในตนปรากฏแก่คนทั้งหลายโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีการแสดงออกเป็นการสั่งสอนด้วยวาจา หรือเช่นด้วยการแสดงธรรมแบบพระธรรมเทศนาของพระ

     การสั่งสอนธรรมหรือให้ธรรมด้วยความประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยตนเองนั้น มีความสำคัญเหนือกว่าการแจกหนังสือธรรมเป็นอันมากด้วยซ้ำ เพราะการประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ จนธรรมนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายกับใจ นั่นแหละเป็นการแสดงธรรมให้ปรากฏแก่ผู้รู้ผู้เห็นทั้งหลายทั้งปวง และจะต้องได้ผลมากกว่าการให้ธรรมที่เป็นข้อเขียนในหน้าหนังสือ

O ความสูงต่ำ ห่างไกลของธรรมที่ดีและชั่วนั้นมีมากมายยิ่งนัก

อันคำว่าธรรมนั้น ที่แท้จริงมีความหมายเป็นสองอย่าง คือทั้งที่ดีและที่ชั่ว หนังสือธรรมมิได้แสดงแต่ธรรมที่ดี แต่แสดงธรรมที่ชั่วด้วย เพียงแต่แสดงธรรมที่ดีว่าให้ประพฤติปฏิบัติ แสดงธรรมที่ชั่วว่าไม่ควรประพฤติปฏิบัติ และผู้ประพฤติธรรมหรือผู้มีธรรมนั้นก็คือ ผู้ประพฤติธรรมที่ดี ไม่ประพฤติธรรมที่ชั่ว

ผู้ประพฤติธรรมที่ดีเรียกได้ว่าเป็นสัตบุรุษ ผู้ประพฤติธรรมที่ชั่ว เรียกว่าได้เป็นอสัตบุรุษ ความสูงต่ำห่างไกลของธรรมที่ดีและที่ชั่วนั้นมากมายนัก

มีพุทธสุภาษิตกว่าไว้ว่า “ฟ้ากับดินไกลกัน และฝั่งทะเลก็ไกลกัน แต่นักปราชญ์กล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษกับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น”

O การทำตนที่ชั่ว ให้เป็นตนที่ดีได้ เป็นกุศลที่สูงที่สุด

ผู้ให้ธรรมทั้งด้วยการให้หนังสือธรรม และทั้งการปฏิบัติด้วยตนเองให้ปรากฏเป็นแบบอย่างที่ดีงาม เป็นแบบอย่างของสัตบุรุษ กล่าวว่าเป็นผู้ให้เหนือการให้ทั้งปวง เพราะการพยายามช่วยให้คนเป็นผู้มีธรรมของสัตบุรุษ ละธรรมของอสัตบุรุษนั้น ก็เท่ากับพยายามช่วยให้คนบนดินคือต่ำเตี้ยได้เข้าใกล้ฟ้าคือสูงส่ง หรือช่วยให้คนชั่วเป็นคนดีนั่นเอง

การช่วยให้คนชั่วเป็นคนดีนั้น ผู้ใดทำได้จักได้กุศลสูงยิ่ง การช่วยตนเองที่ประพฤติไม่ดีให้เป็นประพฤติดีนั้น ก็เป็นการช่วยคนชั่วให้เป็นคนดีเช่นกัน และจะเป็นกุศลที่สูงที่สุดเสียด้วยซ้ำ เพราะนอกจากตนเองจะช่วยตนเองแล้ว คนอื่นยากจักช่วยได้

นี่หมายความว่า อย่างน้อยตนเองต้องยอมรับฟังการแนะนำช่วยเหลือของผู้อื่น ยอมปฏิบัติตามผู้อื่นที่ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้ปรากฏอยู่ คือทำตนเองให้เป็นผู้ประพฤติธรรมของสัตบุรุษ ละการประพฤติปฏิบัติธรรมของอสัตบุรุษให้หมดสิ้น

O พึงอบรมปัญญา เพื่อเป็นแสงสว่างขับไล่โมหะ

ผู้มาบริหารจิตทั้งนั้น พึงดูจิตตนเองให้เห็นชัดเจนว่า มีความปรารถนาต้องการจะก่อทุกข์โทษภัยให้แก่ตนเองหรือไม่

ถ้าไม่มีความปรารถนานั้น ก็ถึงรู้ว่าจำเป็นต้องอบรมปัญญาเพื่อให้ปัญญาเป็นแสงสว่างขับไล่ความมืดมิดของโมหะ ให้บรรเทาเบาบางถึงหมดสิ้นไป ปัญญาจะช่วยให้เห็นถูกเห็นผิดตามความเป็นจริง และเมื่อเห็นตรงตามความเป็นจริงแล้ว การปฏิบัติย่อมไม่เป็นเหตุแห่งทุกข์โทษภัยของตนเองและของผู้ใดทั้งสิ้น

ทุกข์โทษภัยย่อมไม่มีแก่ตน อาจมีปัญหาว่าแม้ตนเองไม่ก่อทุกข์โทษภัยแก่ตนเองด้วยกระทำที่ไม่ถูกไม่ชอบทั้งหลาย แต่เมื่อยังมีผู้อื่นอีกเป็นอันมากที่ก่อทุกข์โทษภัยอยู่ แล้วเราจะพ้นจากทุกข์โทษภัยนั้นได้อย่างไร

ปัญหานี้แม้พิจารณาเพียงผิวเผิน ก็น่าจะเป็นปัญหาที่ต้องยอมจำนน คือต้องรับว่าถูกต้อง แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้ง อย่าประกอบด้วยปัญญาแท้จริง ย่อมจะได้รับคำตอบแก้ปัญหาให้ตนไปได้อย่างสิ้นเชิง

เพราะผู้มีความเห็นชอบ ปราศจากโมหะ ย่อมเห็นได้ว่าไม่มีทุกข์โทษภัยใดจะเกิดแก่ตน ถ้าตนสามารถวางความคิดไว้ได้ชอบ เพราะความทุกข์ทั้งปวงเกิดจากความคิด

O ผู้มุ่งปฏิบัติธรรม ต้องรู้จักพิจารณาเลือกเฟ้นธรรม

ผู้มุ่งมาบริหารจิต มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นจากกิเลส ต้องพิจารณาใจตนในขณะอ่านหนังสือหรือฟัง เรียกว่าเป็นการเลือกเฟ้นธรรม ธรรมใดกระทบใจว่า ตรงกับที่ตนเป็นอยู่ พึงปฏิบัติน้อมนำธรรมนั้นเข้าสู่ใจตน

เพื่อแก้ไขให้เรียบร้อย ที่ท่านกล่าวว่า “เห็นบัณฑิตใด ผู้มีปกติชี้ความผิดให้ ดุจผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ซึ่งมีปกติกล่าวกำราบ มีปัญญา พึงคบบัณฑิตเช่นนั้น เมื่อคบท่านเช่นนั้น ย่อมประเสริฐ ไม่เลวเลย”

“บัณฑิต” นั้นคือ “คนดีผู้มีธรรม หรือผู้รู้ธรรมปฏิบัติธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนนั่นเอง” การกล่าวธรรมของบัณฑิต คือ การกล่าวตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ และบัณฑิตนั้นมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ด้วยว่า.....

“บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่ แม้สตรีมีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น ๆ ก็เป็นบัณฑิตได้เหมือนกัน”

O สามารถหนีไกลจากกิเลสได้มากเพียงไร
ก็สามารถแลเห็นพระพุทธเจ้าได้ใกล้ชิดเพียงนั้น

คนดีมีปัญญา คือคนมีกิเลสบางเบา โลภน้อย โกรธน้อย หลงน้อย กิเลสนั้นมีมากเพียงไร ก็ทำให้เหลือน้อยได้ ทำให้หมดจดอย่างสิ้นเชิงก็ได้ สำคัญที่ผู้มีกิเลสต้องมีปัญญา แม้พอสมควรที่จะทำให้เชื่อว่า กิเลสเป็นโทษอย่างยิ่ง ควรหนีให้ไกล สามารถหนีไกลกิเลสได้มากเพียงไร ก็สามารถเป็นคนดี เป็นบัณฑิตได้เพียงนั้น ทั้งยังจะสามารถแลเห็นพระพุทธเจ้าได้ใกล้ชิดเพียงนั้นด้วย
3  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: ธรรมะกับการทำงานในแบบ Perfectionist เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 12:16:10 PM
สาธุ...... ศิล 5 ต้องรักษาให้บริสุทธ์ แล้วรู้ว่าความจริงในโลก ด้วย โลกธรรม 8 และ อริสัจ 4

ขอให้ทุกท่านเจริญนิ่ง ๆ ขึ้นไป ในธรรม เ่ชนกันครับผม
4  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / ธรรมะกับธรรมชาติ เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 03:07:56 AM
โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท

วัดหนองป่าพง
ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


บางครั้ง ต้นผลไม้ อย่างต้นมะม่วงเป็นดอกออกมาแล้ว บางทีถูกลมพัด มันก็หล่นลง แต่ยังเป็นดอกอย่างนั้นก็มี บางช่อเป็นลูกเล็กๆ ลมก็มาพัดไป หล่นทิ้งไปก็มี บางช่อยังไม่ได้เป็นลูก เป็นดอกเท่านั้น ก็หักไปก็มี

คนเราก็เหมือนกัน บางคนตายตั้งแต่อยู่ในท้องบางคนคลอดจากท้องอยู่ได้สองวัน ตายไปก็มี หรืออายุเพียงเดือนสองเดือน สามเดือน ยังไม่ทันโต ตายไปก็มีบางคนพอเป็นหนุ่มเป็นสาวตายไปก็มี บางคนก็แก่เฒ่าแล้ว จึงตายก็มี

เมื่อนึกถึงคนแล้ว ก็นึกถึงผลไม้ ก็เห็นความไม่แน่นอน แม้นักบวชเราก็เหมือนกัน บางทียังไม่ทันได้บวชเลย ยังเป็นเพียงผ้าขาวอยู่ ก็พาผ้าขาววิ่งหนีไปก็มีบางคนโกนผมเท่านั้น ยังไม่ได้บวชขาวด้วยซ้ำ ก็หนีไปก่อนแล้วก็มี บางคนก็อยู่ได้สามสี่เดือนก็หนีไป บางคนอยู่ถึงบวชเป็นเณรเป็นพระ ได้พรรษาสองพรรษาก็สึกไปก็มี หรือสี่ห้าพรรษาแล้วก็สึกไปก็มี เหมือนกับผลไม้เอาแน่นอนไม่ได้ ดอกไม้ผลไม้ถูกลมพัดตกลงไปเลยไม่ได้สุก จิตใจคนเราก็เหมือนกัน พอถูกอารมณ์มาพัดไป ดึงไป ก็ตกไปเหมือนกับผลไม้

พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงเห็นเหมือนกัน เห็นสภาพธรรมชาติของผลไม้ ใบไม้ แล้วก็นึกถึงสภาวะของพระเณรซึ่งเป็นบริษัท บริวารของท่านก็เหมือนกัน มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ย่อมจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติถ้ามีปัญญา พิจารณาดูอยู่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีครูอาจารย์แนะนำพร่ำสอนมากมาย

พระพุทธเจ้าของเรา ที่จะทรงผนวชในพระชาติที่เป็นพระชนกกุมารนั้น ท่านก็ไม่ได้ศึกษาอะไรมากมายท่านไปทรงเห็นต้นมะม่วงในสวนอุทยานเท่านั้น คือวันหนึ่ง พระชนกกุมารได้เสด็จไปชมสวนอุทยานกับ พวกอำมาตย์ทั้งหลาย ได้ทรงเห็นต้นมะม่วงต้นหนึ่ง กำลังออกผลงามๆ มากมาย ก็ตั้งพระทัยไว้ว่า ตอนกลับจะแวะเสวยมะม่วงนั้น

แต่เมื่อพระชนกกุมารเสด็จผ่านไปแล้ว พวกอำมาตย์ก็พากันเก็บผลมะม่วงตามใจชอบ ฟาดด้วยกระบองบ้าง แส้บ้าง เพื่อให้กิ่งหัก ใบขาด จะได้เก็บผลมะม่วงมากิน

พอตอนเย็น พระชนกกุมารเสด็จกลับ ก็จะทรงเก็บมะม่วง เพื่อจะลองเสวยว่าจะมีรสอร่อยเพียงใด แต่ก็ไม่มีมะม่วงเหลือเลยสักผล มีแต่ต้นมะม่วงที่กิ่งก้านหักห้อยเกะกะ ใบก็ขาดวิ่น เมื่อไต่ถาม ก็ทรงทราบว่าพวกอำมาตย์เหล่านั้นได้ใช้กระบอง ใช้แส้ฟาดต้นมะม่วงนั้นอย่างไม่ปรานี เพื่อที่จะเอาผลของมันมาบริโภคฉะนั้นใบของมันจึงขาดกระจัดกระจาย กิ่งของมันก็หัก ห้อยระเกะระกะ

เมื่อพระองค์ทรงมองมะม่วงสักต้นหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กัน ก็ทรงเห็นมะม่วงต้นนั้นยังมีกิ่งก้านแข็งแรง ใบดกสมบูรณ์ มองดูน่าร่มเย็น จึงทรงดำริว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ? ก็ทรงได้คำตอบว่า เพราะมะม่วงต้นนั้นมันไม่มีผล คนก็ไม่ต้องการมัน ไม่ขว้างปามัน ใบของมันก็ ไม่หล่นร่วง กิ่งของมันก็ไม่หัก

พอพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเหตุเท่านั้น ก็พิจารณามาตลอดทางที่เสด็จกลับ ทรงรำพึงว่า ที่ทรงมีความทุกข์ยากลำบาก ก็เพราะเป็นพระมหากษัตริย์ ต้องทรงห่วงใยราษฎร ต้องคอยป้องกันแผ่นดินจากข้าศึกศัตรู ที่คอยจะมาโจมตีตรงนั้นตรงนี้อยู่วุ่นวาย แม้จะนอนก็ไม่เป็นสุข บรรทมแล้วก็ยังทรงฝันถึงอีก แล้วก็ทรงนึกถึงต้นมะม่วงที่ไม่มีผลต้นนั้น ที่มีใบสดดูร่มเย็น แล้วทรงดำริว่า จะทำอย่างมะม่วงต้นนั้นจะไม่ดีกว่าหรือ ?

พอถึงพระราชวัง ก็ทรงพิจารณาอยู่แต่ในเรื่องนี้ในที่สุดก็ตัดสินพระทัยออกทรงผนวช โดยอาศัยต้นมะม่วงนั้นแหละ เป็นบทเรียนสอนพระทัย ทรงเปรียบเทียบพระองค์เองกับมะม่วงต้นนั้น แล้วเห็นว่าถ้าไม่พัวพันอยู่ในเพศฆราวาส ก็จะได้เป็นผู้ไปคนเดียว ไม่ต้องกังวัลทุกข์ร้อน เป็นผู้มีอิสระ จึงออกผนวช

หลังจากทรงผนวชแล้ว ถ้ามีผู้ใดทูลถามว่า ใครเป็นอาจารย์ของท่าน ? พระองค์ก็จะทรงตอบว่า "ต้นมะม่วง" ใครเป็นอุปัชฌาย์ของท่าน ? พระองค์ก็ทรงตอบว่า "ต้นมะม่วง" พระองค์ไม่ต้องการคำพร่ำสอนอะไรมากมาย เพียงแต่ทรงเห็นต้นมะม่วงนั้นเท่านั้น ก็ทรงน้อมเข้าไปในพระทัย เป็นโอปนยิกธรรม สละราชสมบัติทรงเป็นผู้ที่มักน้อย สันโดษ อยู่ในความสงบผ่องใส

นี้คือในสมัยที่พระองค์ (พระพุทธเจ้า) ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ได้ทรงบำเพ็ญธรรมเช่นนี้มาโดยตลอดอันที่จริง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันเตรียมพร้อมที่จะสอนเราอยู่เสมอ ถ้าเราทำปัญญาให้เกิดนิดเดียวเท่านั้น ก็จะรู้แจ้งแทงตลอดในโลก

ต้นไม้เครือเขาเถาวัลย์เหล่านั้น มันแสดงลักษณะอาการตามความจริงตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ถ้ามีปัญญาเท่านั้นก็ไม่ต้องไปถามใคร ไม่ต้องไปศึกษาที่ไหน ดูเอาที่มันเป็นอยู่ตามธรรมชาติเท่านั้น ก็ตรัสรู้ธรรมได้แล้ว เหมือนอย่างพระชนกกุมาร

ถ้าเรามีปัญญา ถ้าเราสังวร สำรวม ดูอยู่ รู้อยู่เห็นอยู่ตามธรรมชาติอันนั้น มันก็ปลงอนิจจัง ทุกขังอนัตตาได้เท่านั้น เช่นว่า ต้นไม้ทุกต้นที่เราเห็นอยู่บนพื้นปฐพีนี้ มันก็เป็นไปในแนวเดียวกัน เป็นไปในแนวอนิจจังทุกขัง อนัตตา ไม่เป็นของแน่นอนถาวรสักอย่าง มันเหมือนกันหมด มีเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้น แปรไปในท่ามกลาง ผลที่สุดก็ดับไปอย่างนี้

เมื่อเราเห็นต้นไม้เป็นอย่างนั้นแล้ว ก็น้อมเข้ามาถึงตัวสัตว์ ตัวบุคคล ตัวเราหรือบุคคลอื่นก็เหมือนกันมีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นในท่ามกลางก็แปรไป เปลี่ยนไป ผลที่สุดก็สลายไป นี่คือธรรมะ

ต้นไม้ทุกต้นก็เป็นต้นไม้ต้นเดียวกัน เพราะว่ามันเหมือนกันโดยอาการที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็ตั้งอยู่ ตั้งอยู่แล้วก็แปรไป แล้วมันก็เปลี่ยนไป หายไป เสื่อมไปดับสิ้นไปเป็นธรรมดา

มนุษย์เราทั้งหลายก็เหมือนกัน ถ้าเป็นผู้มีสติอยู่รู้อยู่ ศึกษาด้วยปัญญา ด้วยสติสัมปชัญญะ ก็จะเห็นธรรมอันแท้จริง คือเห็นมนุษย์เรานี้ เกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้น เกิดขึ้นมาแล้วก็ตั้งอยู่ เมื่อตั้งอยู่แล้วก็แปรไปแล้วก็เปลี่ยนไป สลายไป ถึงที่สุดแล้วก็จบ ทุกคนเป็นอยู่อย่างนี้ ฉะนั้น คนทุกคนในสากลโลกนี้ ก็เป็นอันเดียวกัน ถ้าเราเห็นคนคนเดียวชัดเจนแล้ว ก็เหมือนกับเห็นคนทั้งโลก มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น

ทุกสิ่งสารพัดนี้เป็นธรรมะ สิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยตา คือใจของเรานี้ เมื่อความคิดเกิดขึ้นมา ความคิดนั้นก็ตั้งอยู่ เมื่อตั้งอยู่แล้วก็แปรไป เมื่อแปรไปแล้ว ก็ดับสูญไปเท่านั้น นี้เรียกว่า "นามธรรม" สักแต่ว่าความรู้สึกเกิดขึ้นมา แล้วมันก็ดับไป นี่คือความจริงที่มันเป็นอยู่อย่างนั้น ล้วนเป็นอริยสัจจธรรมทั้งนั้น ถ้าเราไม่มองดูตรงนี้ เราก็ไม่เห็น

ฉะนั้น ถ้าเรามีปัญญา เราก็จะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าอยู่ที่ตรงไหน ?
พระพุทธเจ้าอยู่ที่พระธรรม

พระธรรมอยู่ที่ตรงไหน ?
พระธรรมอยู่ที่พระพุทธเจ้า อยู่ตรงนี้แหละ

พระสงฆ์อยู่ที่ตรงไหน ?
พระสงฆ์อยู่ที่พระธรรม

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็อยู่ในใจของเราแต่เราต้องมองให้ชัดเจน บางคนเก็บเอาความไปโดยผิวเผิน แล้วอุทานว่า "โอ ! พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ในใจของฉัน" แต่ปฏิปทานั้นไม่เหมาะไม่สมควร มันก็ไม่เข้ากันกับการที่จะอุทานเช่นนั้น เพราะใจของผู้ที่อุทานเช่นนั้น จะต้องเป็นใจที่รู้ธรรมะ

ถ้าเราตรงไปที่จุดเดียวกันอย่างนี้ ก็จะเห็นว่าความจริงในโลกนี้มีอยู่ นามธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดเป็นของไม่แน่นอน มีความโกรธเกิดขึ้นมาแล้ว ความโกรธตั้งอยู่แล้ว ความโกรธก็แปรไป เมื่อความโกรธแปรไปแล้ว ความโกรธก็สลายไป

เมื่อความสุขเกิดขึ้นมาแล้ว ความสุขนั้นก็ตั้งอยู่เมื่อความสุขตั้งอยู่แล้ว ความสุขก็แปรไป เมื่อความสุขแปรไปแล้ว ความสุขมันก็สลายไปหมด ก็ไม่มีอะไร มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ทุกกาลเวลา ทั้งของภายในคือ นามรูปนี้ก็เป็นอยู่อย่างนี้ ทั้งของภายนอก คือต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์เหล่านี้มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ นี่เรียกว่าสัจจธรรม

ถ้าใครเห็นธรรมชาติก็เห็นธรรมะ ถ้าใครเห็นธรรมะก็เห็นธรรมชาติ ถ้าผู้ใดเห็นธรรมชาติ เห็นธรรมะผู้นั้นก็เป็นผู้รู้จักธรรมะนั่นเอง ไม่ใช่อยู่ไกล

ฉะนั้น ถ้าเรามีสติ ความระลึกได้ มีสัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่ทุกอิริยาบถ การยืน เดิน นั่ง นอน ผู้รู้ทั้งหลายก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นมา ให้รู้ ให้เห็นธรรมะตามเป็นจริงทุกกาลเวลา

พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านยังไม่ตาย แต่คนมักเข้าใจว่าท่านตายไปแล้ว นิพพานไปแล้ว ความเป็นจริงแล้ว พระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้นท่านไม่นิพพาน ท่านไม่ตายท่านยังอยู่ ท่านยังช่วยมนุษย์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอยู่ทุกเวลา พระพุทธเจ้านั้นก็คือธรรมะนั่นเอง ใครทำดีต้องได้ดีอยู่วันหนึ่ง ใครทำชั่วมันก็ได้ชั่ว นี่เรียกว่าพระธรรมพระธรรมนั้นแหละเรียกว่า พระพุทธเจ้า และก็ธรรมะนี่แหละที่ทำให้พระพุทธเจ้าของเรา เป็นพระพุทธเจ้า

ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" แสดงว่าพระพุทธเจ้าก็คือพระธรรม และพระธรรมก็คือพระพุทธเจ้า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นเป็นธรรมะที่มีอยู่ประจำโลก ไม่สูญหาย เหมือนกับน้ำที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดิน ผู้ขุดบ่อลงไปให้ถึงน้ำก็จะเห็นน้ำไม่ใช่ว่าผู้นั้นไปแต่งไปทำให้น้ำมีขึ้น บุรุษนั้นลงกำลังขุดบ่อเท่านั้น ให้ลึกลงไปให้ถึงน้ำ น้ำก็มีอยู่แล้ว

อันนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น พระพุทธเจ้าของเราก็เหมือนกัน ท่านไม่ได้ไปแต่งธรรมะ ท่านไม่ได้บัญญัติธรรมะ บัญญัติก็บัญญัติสิ่งที่มันมีอยู่แล้ว ธรรมะคือความจริงที่มีอยู่แล้ว ท่านพิจารณาเห็นธรรมะ ท่านเข้าไปรู้ธรรม คือรู้ความจริงอันนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่าพระพุทธเจ้าของเราท่านตรัสรู้ธรรม และการตรัสรู้ธรรมนี่เองจึงทำให้ท่านได้รับพระนามว่า พระพุทธเจ้า

เมื่อพระองค์ทรงอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ก็ทรงเป็นเพียง "เจ้าชายสิทธัตถะ" ต่อเมื่อตรัสรู้ธรรมแล้ว จึงได้ทรงเป็น "พระพุทธเจ้า" บุคคลทั้งหลายก็เหมือนกันผู้ใดสามารถตรัสรู้ธรรมได้ ผู้นั้นก็เป็นพุทธะ

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงยังมีอยู่ ยังเมตตากรุณาสัตว์ทั้งหลาย ยังช่วยมนุษย์สัตว์ทั้งหลายอยู่ ถ้ามนุษย์ผู้ใดมีความประพฤติปฏิบัติดี จงรักภักดี พระพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ผู้นั้นก็จะมีคุณงามความดีอยู่ตลอดทุกวันฉะนั้น ถ้าเรามีปัญญา ก็จะเห็นได้ว่า เราไม่ได้อยู่ห่างพระพุทธเจ้าเลย เดี๋ยวนี้เราก็ยังนั่งอยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้าเราเข้าใจธรรมะเมื่อใด เราก็เห็นพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น ผู้ใดที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอแล้ว ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน อยู่ ณ ที่ใด ผู้นั้นย่อมได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา

ในการปฏิบัติธรรมนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่ในที่สงบ สำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต นี้เป็นหลักไว้ เพราะสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นที่ตรงนี้ ไม่เกิดที่อื่นความดีทั้งหลายเกิดขึ้นที่นี่ ความชั่วทั้งหลายเกิดขึ้นที่นี่ พระพุทธเจ้าจึงให้สังวรสำรวมให้รู้จักเหตุที่มันเกิดขึ้น

ความจริง พระพุทธเจ้าท่านทรงบอกทรงสอนไว้หมดทุกอย่างแล้ว เรื่องศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดีตลอดจนข้อประพฤติปฏิบัติทุกประการก็ทรงพร่ำสอนไว้หมดทุกอย่าง เราไม่ต้องไปคิด ไปบัญญัติอะไรอีกแล้วเพียงให้ทำตามในสิ่งที่ท่านทรงสอนไว้เท่านั้น นับว่าพวกเราเป็นผู้มีบุญ มีโชคอย่างยิ่ง ที่ได้มาพบหนทางที่ท่านทรงแนะทรงบอกไว้แล้ว คล้ายกับว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงสร้างสวนผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์พร้อมไว้ให้เรา แล้วก็เชิญให้พวกเราทั้งหลายไปกินผลไม้ในสวนนั้น โดยที่เราไม่ต้องออกแรงทำอะไรในสวนนั้นเลย เช่นเดียวกับคำสอนในทางธรรม ที่พระองค์ทรงสอนหมดแล้ว ยังขาดแต่บุคคลที่จะมีศรัทธาเข้าไปประพฤติปฏิบัติเท่านั้น

ฉะนั้น พวกเราทั้งหลายจึงเป็นผู้ที่มีโชคมีบุญมากเพราะเมื่อมองไปที่สัตว์ทั้งหลายแล้ว จะเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เช่น วัว ควาย หมู หมา เป็นต้น เป็นสัตว์ที่อาภัพมาก เพราะไม่มีโอกาสที่จะเรียนธรรม ไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติธรรม ไม่มีโอกาสที่จะรู้ธรรม ฉะนั้นก็หมดโอกาสที่จะพ้นทุกข์ จึงเรียกว่าเป็นสัตว์ที่อาภัพ เป็นสัตว์ที่ต้องเสวยกรรมอยู่

ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทั้งหลายจึงไม่ควรทำตัวให้เป็นมนุษย์ที่อาภัพ คือไม่มีข้อประพฤติ ไม่มีข้อปฏิบัติ อย่าให้เป็นคนอาภัพ คือ คนหมดหวังจากมรรค ผลนิพพาน หมดหวังจากคุณงามความดี อย่าไปคิดว่าเราหมดหวังเสียแล้ว ถ้าคิดอย่างนั้น จะเป็นคนอาภัพเหมือนสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย คือไม่อยู่ในข่ายของพระพุทธเจ้า

ฉะนั้น เมื่อมนุษย์เป็นผู้มีบุญวาสนาบารมีเช่นนี้แล้ว จึงควรที่จะปรับปรุงความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นของตนให้อยู่ในธรรม จะได้รู้ธรรม เห็นธรรม ในชาติกำเนิดที่เป็นมนุษย์นี้ ให้สมกับที่เกิดมาเป็นสัตว์ที่ควรตรัสรู้ธรรมได้

ถ้าหากเราคิดไม่ถูก ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ มันก็จะกลับไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นยักษ์ เป็นผี เป็นสารพัดอย่าง มันจะเป็นไปได้อย่างไร ? ก็ขอให้มองดูในจิตของเราเอง

เมื่อความโกรธเกิดขึ้น มันเป็นอย่างไร ? นั่นแหละ !
เมื่อความหลงเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นอย่างไร ? นั่นแหละ !
เมื่อความโลภเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นอย่างไร ? นั่นแหละ !

สภาวะทั้งหลายเหล่านี้แหละ มันเป็นภพ แล้วก็เป็นชาติ เป็นความเกิดที่เป็นไปตามสภาวะแห่งจิตของตน
5  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / คุณค่าของชีวิตอยู่ที่ไหน? เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 02:16:26 AM
ธรรมเป็นของไม่ตาย ธรรมะคือความจริง ถ้าจิตใจของเรายอมรับความจริง น้อมความจริงเข้ามาในจิตใจของเราและปฏิบัติตาม จะทำให้ชีวิตของเรามีคุณภาพมากขึ้น
       
       คุณภาพคืออะไร ในสมัยนี้มีความสับสนกันมากระหว่างค่าหรือคุณค่า กับสิ่งที่มีค่าและราคา ในเมื่อสังคมปัจจุบันหนักไปในทางวัตถุ หนักไปทางการบริโภค คนมักจะถือว่าราคาเป็นเครื่องวัดคุณค่า สิ่งใดราคาแพงๆ ก็จะถือว่าสิ่งนั้นมีคุณค่ามาก ทำให้คนส่วนใหญ่วัดประโยชน์วัดคุณค่าของสิ่งต่างๆ ด้วยราคา
       
       อาตมาจำได้ว่า เคยพาคณะญาติโยมไปเดินป่าที่วัดภูจ้อมก้อม ซึ่งเป็นสาขาของวัดป่านานาชาติ วัดนั้นติดแม่น้ำโขง มีหินก้อนใหญ่ๆ วางระเกะระกะมาก หลายๆก้อนมีรูปทรงแปลกประหลาด สวยงามมาก วันที่พาคณะไป มีโยมคนหนึ่งเห็นหินสวยงามที่ไหนต้องอุทานออกมาว่า “ดูซิ หินก้อนนั้นเอาไปขายกรุงเทพคงได้หลายตังค์” เขาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติแท้ๆ แต่จิตใจยังอยู่กับเงินกับทอง เดินผ่านก้อนหินสวยๆ ก็ต้องตีราคา
       
       ทุกวันนี้เรามักจะมองข้ามความสำคัญของสิ่งที่ตีราคาไม่ได้ เอาเงินเอาทองเป็นเครื่องวัด วิทยาศาสตร์ก็เหมือนกัน ให้ความสำคัญเฉพาะสิ่งที่วัดได้ปัจจุบัน ถ้าวัดไม่ได้ ก็ไม่ถือว่าอยู่ในขอบข่ายของวิทยาศาสตร์ สิ่งใดไม่ได้อยู่ในขอบข่ายของวิทยาศาสตร์ ก็บอกว่าเป็นเรื่องเหลวไหล เป็นเรื่องไร้แก่นสารสาระ
       
       คุณค่าของคนก็เช่นเดียวกัน เราจะเอาวัตถุวัดคนได้หรือ คนที่เคยทำงาน เคยถือว่าชีวิตของตนเองมีคุณค่าเพราะทำงาน เพราะมีเงินเดือน พอเกษียณแล้ว ไม่ทำงานแล้ว ก็รู้สึกว่าชีวิตไม่มีค่าเสียแล้ว เป็นภาระแก่คนอื่น เพราะไม่ได้ทำงานไม่มีเงินเดือนแล้ว เป็นภาระแก่ลูกหลาน นี่เรียกว่าคิดผิด
       
       เพราะคุณค่าของชีวิตไม่ได้อยู่ที่เงินเดือน คุณค่าของชีวิตอยู่ที่สิ่งที่ดีงามภายในจิตในใจของเรา อยู่ที่สิ่งดีงามที่เรากระทำด้วยกาย ด้วยวาจา เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงถือได้ว่า ชีวิตของเรามีคุณค่าได้จนถึงลมหายใจสุดท้ายเลย
       
       ตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่ เราก็ยังมีโอกาสละสิ่งที่ไม่ดี มีโอกาสทำสิ่งที่ดีที่งาม เป็นประโยชน์ ทำสิ่งที่ให้ตนเองมีความสุข ทำให้ผู้อื่นมีความสุขได้ตลอดเวลา
       
       ตอนทำงานทางโลก เรามีภาระหน้าที่มากมาย เมื่อมีอายุมากขึ้นน่าจะเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้ทำงานส่วนตัวมากขึ้น ทางพุทธศาสนาเราถือว่า ตายแล้วไม่สูญ ถือว่ายังมีกิเลสอยู่ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิดนั้นไม่เป็นไปตามยถากรรม ไม่เป็นไปตามพรหมลิขิต ไม่เป็นไปตามดวง แต่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม
       
       กรรม คือการกระทำทางกาย วาจา ใจ ที่ประกอบด้วยเจตนา คือความตั้งใจ กรรม คือ การกระทำที่มีผลโดยมีหลักง่ายๆว่า การทำดีได้ดี การทำชั่วได้ชั่ว เป็นหลักตรงไปตรงมา
       
       ขอให้คอยสังเกตว่า เมื่อไรเราทำความดี เราก็รู้สึกว่าดีทันที เอาแค่นั้นก็พอ จะเข้าใจได้ เราจะเห็นได้ชัดว่าเรามีความรู้สึกที่ดีอยู่ภายใน ไม่ใช่ความสุขเพราะคนอื่นยอมรับ คนอื่นสรรเสริญ คนอื่นเห็นบุญคุณของเรา นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
       
       เมื่อเราทำความดีด้วยจิตใจบริสุทธิ์ ในขณะนั้นจิตใจของเรามีคุณภาพ ทำให้เรารวยขึ้นทันที คือ มีอริยทรัพย์เพิ่มมากขึ้น แต่ทรัพย์ประเภทนี้ไม่ใช่ของเราคนเดียว เนื่องจากว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของหมู่มนุษย์ เมื่อความดีของคนคนหนึ่งเพิ่มขึ้น ความดีของโลกก็เพิ่มขึ้นไปด้วย ความดีของมนุษย์เป็นของศักดิ์สิทธิ์ เพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อยก็ยังน่าชื่นใจ
       
       เมื่อเรามีอายุมากขึ้น เราก็ควรตั้งอกตั้งใจทำแต่สิ่งที่ดี พูดแต่สิ่งที่ดี ฝึกจิตให้น้อมไปในสิ่งที่ดีงาม การเพิ่มคุณภาพชีวิตของตนเอง เพื่อเพิ่มคุณงามความดีในโลกนี้ไว้ ทำให้ชีวิตเรามีเป้าหมาย มีคุณค่าทุกวันทุกเวลา มีงานต้องทำ
       
       ถ้าเรายังมีนิสัยใดที่ยังไม่ค่อยเรียบร้อย ไม่ใช่ว่าเราจะต้องยอมรับ เพราะนิสัยต่างๆ ไม่ใช่ของดั้งเดิมของจิตใจ หากเกิดจากการกระทำ เราทำสิ่งใดบ่อยๆ สิ่งนั้นก็จะกลายเป็นความเคยชิน นานๆเข้าความเคยชินก็จะกลายเป็นนิสัย เพราะฉะนั้นนิสัยต่างๆ เป็นสิ่งที่เราเคยสนับสนุนจนกลายเป็นบุคลิกไป แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นตลอดไป เราก็ยังสามารถแก้ไขได้ ชอบโกรธคนนั้นโกรธคนนี้อยู่เรื่อย โกรธง่าย โกรธทุกวัน ไม่นานก็กลายเป็นคนขี้โกรธ ถ้าเราฝึกตนเองมุ่งมั่นระงับความโกรธ ตั้งอกตั้งใจชนะมัน ความโกรธก็จะค่อยลดน้อยลง เราก็จะเห็นชัดว่า ไม่มีสิ่งใดเลยที่ตายตัว แก้ไม่ได้
       
       เราทุกคนอายุเท่าใดก็แล้วแต่ อายุครบเจ็ดสิบ แปดสิบ สิ่งไม่ดีไม่งามเราก็ค่อยๆปล่อยไป วางไป เพราะไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม ไม่ได้เอาแต่ราคา ไม่ได้เอาแต่คุณค่าทางโลก ชีวิตของเรามีคุณค่า
       
       ถามตัวเองตรงๆว่า เราต้องการอะไรจากชีวิตนี้ เรามีเป้าหมายชีวิตทางด้านคุณธรรมชัดเจนหรือไม่ ถ้ามีแล้ว สิ่งที่เรากำลังดำเนินอยู่ทุกวันนี้ตรงกับเป้าหมายของเราหรือไม่
       
       โอกาสที่เราจะหลงทางมีมาก เพราะการหลงทางของเรามักจะไม่ใช่ในลักษณะที่ว่า เราตั้งใจเลี้ยวซ้าย แล้วหลงเลี้ยวขวา
       
       แต่ว่าจะเป็นในลักษณะว่าเดินตามทาง แล้วก็เหออกไปจากทางวันละเล็กวันละน้อย วันละไม่กี่เซนติเมตร ไม่ถึงเมตร นานๆเข้ามันก็ผิดทางหลายร้อยเมตร สุดท้ายตั้งใจจะไปทางเหนือ ออกมากลายเป็นว่าไปทางตะวันตกก็ได้ หรือกลับไปทางทิศใต้ก็ได้ เพราะว่ามันจะออกจากทางทีละเล็กทีละน้อย
       
       ฉะนั้น เราควรจะต้องรู้จักเว้นวรรคชีวิต เหมือนกับเราเขียนหนังสือ เราต้องรู้จักเว้นวรรค เว้นวรรคหนังสือแล้วจึงจะอ่านได้
       
       ชีวิตของเราต้องมีการหยุด ต้องมีการทบทวนว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เพื่อเราจะได้เห็นตนเอง ชีวิตของเราจะมีความสุขที่แท้จริงก็อยู่ที่คุณภาพของชีวิต อยู่ที่ความรู้สึกภาคภูมิใจตัวเอง
       
       ถ้าวันไหนก่อนนอน เราทบทวนสิ่งที่เราได้ทำวันนี้ รู้สึกว่าวันนี้ไม่ได้ทำสิ่งใดเลย ไม่ได้พูดสิ่งใดเลย ที่สร้างความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ใครเลย ไม่มีการเบียดเบียนตน ไม่มีการเบียดเบียนผู้อื่น ถ้าครูบาอาจารย์ที่เราเคารพนับถือ ท่านได้ทราบว่าเราทำอะไรไปบ้าง ท่านก็คงไม่มีอะไรที่จะตำหนิเราได้เลย
       
       เมื่อเราตรวจศีลแล้ว ระลึกถึงคุณงามความดีที่เราได้ทำวันนี้ เราก็มีความสุขมากๆยิ่งขึ้น เราระลึกว่าวันนี้ได้ทำวัตรสวดมนต์ ได้ทำจิตใจให้สงบสดชื่นเบิกบานด้วยสมาธิภาวนา ได้สร้างประโยชน์แก่ครอบครัว ได้สร้างประโยชน์ที่ทำงาน ได้ทำหน้าที่ของตนอย่างไม่บกพร่อง คิดอย่างนี้เป็นแล้วก็มีความสุขมาก ความสุขนี้ไม่ต้องจ่ายเงิน ไม่ต้องบริโภค ไม่ต้องไปซื้อสิ่งใดเลยถึงจะได้ เพราะเป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากความเพียรพยายามของเรา
       
       ขอให้เห็นว่า คุณภาพชีวิตเกิดจากคุณภาพของการกระทำของเราด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ มองเป็นศิลปะก็ได้ เราต้องเป็นศิลปินด้วยการแกะสลักชีวิตของเราให้งดงามขึ้นทุกวันๆ ซึ่งเป็นศิลปะที่ลึกซึ้งมาก
       
       สิ่งที่สร้างสรรค์นั้นคือตัวชีวิตที่งามแล้ว ตีราคาในตลาดไม่ได้ วัดคุณค่าด้วยเงินไม่ได้ ต้องใช้เครื่องวัดของพระพุทธเจ้า เป็นนหลักที่แน่นอน บริสุทธิ์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิเลส
       
       (เรียบเรียงจากเรื่องมาตรวัดคุณค่า)
       
       (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 148 เมษายน 2556 โดย ชยสาโรภิกขุ สถานพำนักสงฆ์บ้านบุญ บ้านไร่ทอสี จ.นครราชสีมา)

6  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / ธรรมะกับการทำงานในแบบ Perfectionist เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 11:39:59 PM
 ยิงฟันยิ้ม ธรรมะกับการทำงาน  ยิงฟันยิ้ม

          “เหนื่อยกับการที่ต้องเป็นคน  Perfectionist  หรือเปล่า  ทำทุกอย่างต้อง Perfect “


     ก่อนอื่นเราคงต้องมาสำรวจกันดูก่อนว่า รูปแบบในการทำงานของคนทั่วไปนั้นเป็นอย่างไร   การทำงานของคนเรานั้น เมื่อกล่าวอย่างรวบรัดแล้วก็สามารถแบ่งได้เป็น ๓ รูปแบบด้วยกัน


 (๑) ทำงานด้วยความจำใจ

 (๒) ทำงานด้วยความจำเป็น

 (๓) ทำงานด้วยความจำหลัก


     ประเภทที่ ๑ ทำงานด้วยความจำใจ หมายถึง คนที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่มีธุรกิจหลักของครอบครัวอยู่แล้ว ไม่ว่าลูกจะชอบหรือไม่ชอบ รักหรือไม่รัก แต่เมื่อถึงเวลาทำงานก็ต้องรับภาระหน้าที่ในการสืบทอดธุรกิจของครอบครัวต่อไ ป การทำงานในลักษณะนี้ สำหรับบางคนในช่วงแรกอาจเป็นความทุกข์ ความอึดอัดขัดข้อง เกิดความรู้สึกเหมือนได้แต่งงานกับคนที่ตนไม่รัก แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ แต่เมื่อทำไปจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแล้ว ในที่สุดก็จะสามารถยอมรับสภาพของตนเองได้ ส่วนคนที่ยอมรับสภาพไม่ได้ ยิ่งทำงาน คุณภาพชีวิตยิ่งลดลง งานได้ผล แต่คนอาจไม่มีความสุข

     ประเภทที่ ๒ ทำงานด้วยความจำเป็น หมายถึง คนที่ได้ทำงานที่ตนไม่รัก ไม่ชอบ ไม่ถนัด ที่แย่ยิ่งกว่านั้นก็คือ บางทีค่าตอบแทนก็แสนจะน้อย ความเครียด ความขัดแย้งในที่ทำงานก็สูง แต่เพราะมองไปทางไหนก็ไม่มีทางไปที่ดีกว่า ก็เลยต้องจำใจก้มหน้าทำงานนั้นๆ ไป ยิ่งทำงาน คุณภาพชีวิตยิ่งหดหาย รายได้ต่ำ ความเครียดสูง

                      การทำงานในลักษณะที่สองนี้ คือ สภาพของคนทำงานส่วนใหญ่ในโลกนี้ ซึ่งโดยมาก ได้งานทำเพราะสภาพเศรษฐกิจและสังคมบีบบังคับให้ต้องเลือกทำอะไรสักอย่างหนึ่ ง เพราะหากไม่ยอมทำงาน ก็หมายความว่า ตัวเองและครอบครัวจะต้องเดือดร้อน กินไม่อิ่ม นอนไม่อุ่น


     ประเภทที่ ๓ ทำงานด้วยความจำหลัก หมาย ถึง คนที่ได้ทำงานในสิ่งที่ตนรัก หรือได้ทำงานที่สอดคล้องกับความใฝ่ฝัน ความถนัดของตนเอง เช่น อยากเป็นหมอ ก็ได้เป็นสมใจอยาก อยากเป็นนักธุรกิจ อยากเป็นนักการเมือง อยากเป็นนักหนังสือพิมพ์ อยากเป็นดารา ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ได้ทำงานตามที่ตนต้องการสมใจอยาก
การทำงานในลักษณะที่สามนี้ สิ่งที่จะได้รับอย่างเห็นได้ชัดก็คือ

๑) งานก็ได้ผล
๒) คนก็เป็นสุข
แต่ในโลกนี้ มีคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่ได้ทำงานตรงกับที่ตนปรารถนา ใครได้ทำงานตามที่ตัวเองใฝ่ฝัน คนๆ นั้น ก็เหมือนกับได้แต่งงานกับคนที่ตนรัก ยิ่งทำงาน ยิ่งมีความสุข ยิ่งทำงาน ยิ่งค้นพบความเป็นเลิศ ยิ่งทำงาน ยิ่งสามารถสร้างสรรค์ “ของชิ้นเอก” ฝาก ไว้ให้โลกจดจำรำลึกถึง เหมือนดาวินชี บรรจงรังสรรค์ภาพโมนาลิซ่าอันลือชื่อ เหมือนบีโธเฟ่น สามารถรังสรรค์ดุริยกวีเอาไว้ขับกล่อมชาวโลก เหมือนเช็คสเปียร์นฤมิตวรรณกรรมอมตะมากมายไว้ประโลมใจชาวโลกให้รื่นรมย์
ปราชญ์ท่านหนึ่งกล่าวว่า“เมื่อความรักในงานมาพร้อมกับความสามารถ แน่นอนว่า ต้องได้งานชิ้นเอก”

อุปนิสัยการทำงานในแบบ Perfectionist (สมบูรณ์แบบนิยม) ในลักษณะ “เก็บทุกเม็ด” ราวกับมีบรรพบุรุษเป็น “คุณย่าละเมียด คุณแม่ละไม คุณนายละเอียด” นั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี ก็คือ จะทำให้เป็นคนทำงานคุณภาพชนิด “จำหลักไว้ในใจชน” (เข้า หลักเกณฑ์ที่ ๓) ไม่ว่าจะจับทำอะไรก็ตาม ก็จะทำให้ได้งานคุณภาพทั้งหมด และคนประเภทนี้ หลังจากสร้างงานแล้ว งานจะย้อนกลับมาสร้างคน เหมือนผู้กำกับหนังชื่อก้องโลกอย่างจางอี้โหมว หรือสตีเว่น สปีลเบิร์ก พลันที่ปล่อยงานชิ้นหนึ่งหลุดมือออกไปสู่สาธารณชนแล้ว งานก็ได้สร้างชื่อเสียงให้เขามากมาย และทำให้เขาไม่เคยตกงานอีกเลยตลอดชีวิต


ข้อเสีย ก็คือ จะทำให้เป็นคนที่แบกความเครียดสูง สุขภาพจิตเสื่อม สุขภาพกายอ่อนแอ ไม่มีเวลาให้กับตัวเอง ครอบครัว หรือสิ่งสุนทรีย์ในชีวิตเช่น การท่องเที่ยว การเดินทาง การชื่นชมธรรมชาติ การดูหนังฟังเพลง การอ่านหนังสือ หรือแม้แต่การคบเพื่อน หรือที่หนักหน่อยก็กลายเป็นคนที่ป่วยหนักหนาสาหัสเพราะการทำงาน

ทางแก้สำหรับคนสมบูรณ์แบบนิยม ก็คือ ควรถือหลักของนักปฏิบัติธรรมที่ว่า “ทำเหตุให้มาก ปล่อยวางในผล” หมาย ความว่า เวลาทำงาน จงทำให้เต็มที่ ทำให้ดีที่สุด แต่เมื่อทำแล้ว ต้องปล่อยวางเป็น ไม่ต้องคาดหวังสูงสุดจนนำเอางานเข้ามารวมกับลมหายใจ หรือเก็บไปฝัน จนไม่เป็นอันกินอันนอน
เมื่อ ทำงานในส่วนของตนอย่างดีที่สุดแล้ว ครั้นส่งงานให้คนอื่น หรือแผนกอื่นแล้ว หากงานนั้นไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ก็ควรเรียนรู้ที่จะยอมรับด้วยความเข้าใจว่า ในโลกนี้ ไม่มีใครได้ทุกอย่างดังใจหวัง และไม่มีใครพลาดหวังทุกอย่างไป ถ้าเราทำในส่วนของเราอย่างดีที่สุดแล้ว แม้ผลออกมาจะไม่เป็นไปอย่างที่หวัง ก็ไม่ควรเสียใจ

ที่มา: สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี
7  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / อิทธิบาท 4 ธรรมะที่ใช้ในการทำงาน สู่ความสำเร็จ เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 11:26:41 PM
     ยิงฟันยิ้ม ในโลกของการทำงาน คนรุ่นใหม่ไฟแรงทั้งหลายต่างก็เฝ้าหาทฤษฎีแห่งความสำเร็จมากมาย มาใช้แก้ปัญหาและหาหนทางเจริญก้าวหน้า แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ และเจอประตูสู่ความสำเร็จ งั้นลองมาดู ธรรมะที่ใช้ในการทำงาน เพื่อให้คุณประสบความสำเร็จในการทำงาน ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ นั่นคือ อิทธิบาท 4 ธรรมแห่งความสำเร็จ

      อิทธิบาท 4 ธรรมะที่ใช้ในการทำงาน ประกอบด้วย...

          1. ฉันทะ คือ ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
           2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน
           3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน
           4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ

       ฉันทะ : ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่

           อันดับแรกต้องสำรวจตนเองว่า มีความชอบหรือศรัทธางานด้านใด แล้วมุ่งไปในเส้นทางนั้น อาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเอง ฉันทำงานเพื่ออะไร ฉันมีความสุขหรือไม่หากงานที่ทำอยู่ไม่ใช่งานที่รักเสียทีเดียว เผื่อเราจะได้มีเวลาค้นหาและปรับเปลี่ยนตัวเอง หรือปรับศรัทธาของตัวเองให้เข้ากับงานที่ทำอยู่

           อย่างไรก็ตาม เชื่อเถอะว่างานแต่ละอย่างนั้น ไม่มีทางที่ใครจะชื่นชอบไปทั้งหมดทุกกระบวนการ ดังนั้น ถ้าคุณพอใจที่จะทำ และมีความสุขกับงาน เชื่อว่างานที่คุณทำอยู่ต้องออกมาดีแน่ ๆ

       วิริยะ : ขยันหมั่นเพียรกับงานที่มี

           งานทุกอย่างจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียร ความวิริยะจึงเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จได้ ยิ่งคุณขยันเท่าไรผลตอบแทนที่คุณจะได้รับมันก็มีมากเท่านั้น ที่สำคัญความวิริยะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความรักในงานจากฉันทะนั่นเอง และความวิริยะไม่ใช่การทำงานแบบเอาเป็นเอาตาย แต่เป็นการหมั่นฝึกฝนตนเองต่างหาก

           ทั้งนี้ มีข้อน่าสังเกตสำหรับคนทำงานร่วมกันคือ จะต้องขยันด้วยกันทั้งหัวหน้าและลูกน้อง ยิ่งผู้เป็นหัวหน้ายิ่งสำคัญมาก ถ้าเป็นคนเกียจคร้าน คิดกินแรงอย่างเดียว ลูกน้องก็มักขยันไปได้ไม่กี่น้ำ เดี๋ยวก็รามือกันหมด แต่ถ้าหัวหน้าเอาการเอางาน ก็จะสามารถดึงลูกน้องให้ขยันขันแข็งขึ้นด้วย

       จิตตะ : เอาใจใส่รับผิดชอบกับงานที่ทำ

           จิตใจที่จดจ่อกับงานล้วนเกิดผลดีต่องานที่ทำ จิตตะเป็นธรรมะที่แสดงถึงสติ ความรอบคอบและความรับผิดชอบที่จะตามมา ซึ่งในสังคมการทำงานปัจจุบันนี้ มุ่งเน้นแย่งชิงตำแหน่งกัน และขัดขาจนลืมคิดไปว่า งานที่ตนเองต้องรับผิดชอบนั้นคือสิ่งใดกันแน่ จิตตะจึงมีความสำคัญในการทำงานโดยไม่วอกแวกออกไปนอกลู่นอกทาง ดังนั้น เมื่อคุณมีทั้งฉันทะและวิริยะแล้ว จิตตะจะเป็นเสมือนรั้วของเส้นทางที่ไม่ให้ไขว้เขวออกนอกทางสู่ความสำเร็จได้

           อย่างไรก็ดี ปกติคนที่โตเป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบ มักจะใส่ใจกับงานอยู่แล้ว เพราะธรรมชาติจะทำให้หยุดคิดยาก แต่เสียอยู่อย่างเดียวคือ ชอบคิดเจ้ากี้เจ้าการแต่เรื่องงานของคนอื่น คอยติ คอยสอดแทรก คอยวิพากษ์วิจารณ์ ในขณะที่ธุระของตัวกลับไม่คิดไม่ดู ซึ่งไม่ส่งผลให้งานของเราดีขึ้น พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้เป็นนักตรวจตรางาน คือให้มีจิตตะ แล้วก็ทรงให้โอวาทสำทับไว้ด้วยว่า "ควรตรวจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ"

       วิมังสา : การพินิจพิเคราะห์และใช้ปัญญาตรวจสอบงาน

           สุดยอดของวิธีทำงานให้สำเร็จอยู่ในอิทธิบาทข้อสุดท้ายนี้ วิมังสา แปลว่า การพินิจพิเคราะห์ หมายความว่า ทำงานด้วยปัญญา ด้วยสมองคิด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ คนเราแม้จะรักงานแค่ไหน บากบั่นเพียงใด หรือเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางานด้วยแล้ว ผลที่สุดงานก็คั่งค้างและผิดพลาดจนได้

           เราอาจลองทบทวนตัวเองนิ่ง ๆ ว่าวันนี้ทั้งวันเราทำอะไรบ้าง สรุปกับตัวเองว่าทำเพื่ออะไร เราจะได้มีกำลังใจต่อในวันต่อ ๆ ไป และไม่ทำผิดซ้ำซากอีกเช่นเดิม พร้อมกันนั้นเราจะสามารถเห็นหนทางได้ว่า เส้นทางไหนที่จะนำเราสู่ความสำเร็จได้จริง ๆ

           จะเห็นได้ว่า หลักธรรมะที่ใช้ในการทำงาน เป็นเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัว หากเรานำ อิทธิบาท 4 มาปรับใช้ในการทำงาน รักงานที่ทำ ขยันทำงาน รับผิดชอบงาน และรู้จักไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน ทางแห่งความสำเร็จคงไม่เกินเอื้อม...เชื่อเถอะ คุณก็ทำได้ ทุกอย่างอยู่ที่ "ใจ"

8  ห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐาน / คุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอม / Re: 5 วิธีผ่อนคลายจิตใจง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 02:43:33 PM
ก็ดีครับ แตได้อยู่ืั้ที่อากาศดีๆ ลมเย็นสบาย ทำสมาธิสักพัก เป็นการพักจิต แค่นี้ ก็พอแล้วครับ  ยิงฟันยิ้ม
9  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / แนะนำ สถานที่ปฏิบัติภาวนาธรรม ที่สัปปายะ ในประเทศไทย / Re: ขอเสนอสถานที่ปลีกวิเวกแห่งใหม่ ณ จ.กระบี่ครับ เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 12:59:37 AM
มีรูปให้ชมหรือเปล่าครับ ถ้ามีขอชมหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ  ยิงฟันยิ้ม
10  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 10:54:45 PM
เชื่อครับและปฎิบัติตามคำสอนอยู่ครับ จะสุข หรือ จะทุกข์ อยู่ที่ "ใจ"
ทุกข์อยู่ที่ใด ก็ดับทุกข์ที่นั้น ใจทำให้เกิดทุกข์ก็ดับทุกข์ที่ใจ ทุกอย่างมีเหตุและผล เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

สาธุ......
11  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 / Re: กรรมเก่า และ กรรมใหม่ เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ลองอ่านดูนะครับผม เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 09:45:53 PM
     ชีวิตในวันหนึ่งๆ ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้ เหมือนน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ หรือเหมือนหยาดน้ำค้างบนปลายยอดหญ้าเมื่อยามต้องแสงอาทิตย์ ไม่นานก็เหือดแห้งหายไป ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลายอย่างรวดเร็ว และในที่สุดก็ถึงกาลอวสาน ช่วงเวลาของชีวิตที่เราจะได้สร้างบารมีนั้นสั้นนิดเดียว เราจึงไม่ควรประมาท พึงเร่งทำความเพียรสั่งสมบุญกุศลให้เต็มที่ เพื่อจะได้ไปถึงจุดหมายปลายทางของชีวิตโดยสวัสดิภาพ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สุวิทูรสูตร ว่า

“นภญฺจ ทูเร ปวี จ ทูเร

ปารํ สมุทฺทสฺส ตทาหุ ทูเร

ยโต จ เวโรจโน อพฺภุเทติ

ปภงฺกโร ยตฺถ จ อตฺถเมติ

ตโต หเว ทูรตรํ วทนฺติ

สตญฺจ ธมฺมํ อสตญฺจ ธมฺมํ

อพฺยายิโก โหติ สตํ สมาคโม

ยาวมฺปิ ติฏฺเยฺย ตเถว โหติ

ขิปฺปํ หเวติ อสตํ สมาคโม

ตสฺมา สตํ ธมฺโม อสพฺภิ อารกา

     ฟ้ากับดินไกลกัน ฝั่งสมุทรก็ว่าไกลกัน ที่ ๆ ดวงอาทิตย์อุทัยกับที่ๆ ดวงอาทิตย์อัสดงก็ไกลกัน ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ ปราชญ์กล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้น การสมาคมแห่งสัตบุรุษย่อมไม่เสื่อมคลาย จะนานเท่าใดๆ ก็คงที่อยู่เช่นนั้น ส่วนสมาคมแห่งอสัตบุรุษย่อมพลันเสื่อม เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงไกลจากอสัตบุรุษ”

     หากเรารู้ว่า มีผู้ไม่ปรารถนาดี เจตนาจะประทุษร้ายเรา ให้เราหลีกเว้นเสีย เพราะเขาจะไม่คำนึงถึงเหตุผลความถูกต้อง จรรยาบรรณ หรือจริยธรรมใดๆทั้งสิ้น แม้เราจะกล่าวคำสุภาษิต มีถ้อยคำที่ดีมาอธิบายให้ฟัง เขาก็จะไม่ยอมรับ เพราะใจของเขาปิดใจของเขาคิดแต่วิธีการที่จะประทุษร้าย เบียดเบียนเราเท่านั้น ผู้รู้ท่านจึงสอนให้พยายามหลีกเว้นบุคคลประเภทนี้ให้ไกลที่สุด อย่าได้ไปทำความสนิทชิดเชื้อด้วย เพราะจะเป็นทางมาแห่งความเสื่อมเสียแก่ตัวของเราเอง

     สมัยที่พระบรมโพธิสัตว์ยังสร้างบารมีอยู่ เวลามีผู้ทรงคุณธรรมมาให้พร ท่านมักจะขอพรว่า ขอให้อย่าได้เห็น อย่าได้ฟังคนพาล อย่าได้อยู่ร่วมกับคนพาล และจะไม่ขอร่วม ไม่ขอชอบใจในการเจรจาปราศรัยกับคนพาล เพราะว่าคนพาลมีปัญญาทราม จะคอยชี้นำแต่สิ่งที่ไม่ควร แนะนำแต่สิ่งที่เป็นบาปอกุศล ชอบชักชวนให้ทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ ไม่เกิดประโยชน์ ถึงจะพูดดีด้วยก็โกรธ และไม่ยอมรับรู้วินัย ระบบระเบียบที่ดีงามต่างๆ การไม่เห็นคนพาลจึงเป็นสิ่งประเสริฐ

     นอกจากนั้นท่านยังขอให้ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังนักปราชญ์บัณฑิต ขออยู่ร่วมกับผู้รู้ทั้งหลาย ท่านจะพึงพอใจในการกระทำ และเจรจาปราศรัยกับนักปราชญ์ เพราะจะได้แต่คำแนะนำที่ดีมีประโยชน์ จะไม่ถูกชักนำไปในทางเสื่อม จะทำแต่สิ่งที่มีสาระแก่นสารเป็นกรณียกิจ

     คำแนะนำสิ่งดีทั้งหลายเป็นความดีของนักปราชญ์ ซึ่งเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เป็นผู้มีวินัยในตนเอง การได้สมาคมคบหากับนักปราชญ์ จึงเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของบัณฑิต

ดังนั้น หากเรารู้ว่า ใครเป็นคนพาล เราควรรีบหลีกหนีให้ห่างไกล เพราะยิ่งอยู่ร่วมกันนาน จะยิ่งติดเชื้อพาล ซึ่งมีแต่จะนำความวิบัติความเสื่อมเสียมาให้ เหมือนดังเรื่องของแม่แพะ ที่พูดจาอ่อนหวาน แต่ในที่สุดก็ต้องถูกเสือจับกินเป็นอาหาร

*เรื่องมีอยู่ว่า มีเสือเหลืองตัวหนึ่งกำลังรอดักจับแพะที่ชอบเที่ยวหากินตามลำพัง มันสังเกตเห็นแม่แพะตัวหนึ่ง กินใบไม้ใบหญ้าออกห่างจากฝูง จึงคิดที่จะกินแม่แพะตัวนี้ มันรีบวิ่งไปยืนดักหน้าไว้ แทนที่แม่แพะจะรีบวิ่งกลับเข้าไปในฝูง มันกลับอยากสนทนากับเสือเหลือง เพราะคิดว่า “ถ้าหากเราเจรจาไพเราะอ่อนหวาน เสือเหลืองตัวนี้อาจจะเป็นมิตร แล้วปล่อยเราไปอย่างง่ายดายก็เป็นได้”

แม่แพะจึงไม่หนีไปไหน ทำเป็นใจดีสู้เสือ ทำการปฏิสันถาร กับเสือเหลืองเป็นอย่างดี ด้วยการพูดจาปราศรัยอย่างไพเราะอ่อนหวานว่า “คุณลุง ท่านยังคงสบายดีอยู่หรือ ยังพอจะให้อัตภาพเป็นไปได้ดีอยู่ไหม มารดาของฉันได้ถามถึงทุกข์สุขของท่าน เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านมีความสุขเหมือนกัน” เสือเหลืองได้ฟังดังนั้น แทนที่จะชื่นใจมันกลับไม่ได้ใส่ใจกับคำเหล่านั้น คิดเพียงแต่จะต้องขย้ำแพะตัวนี้ให้ได้ อย่างไรก็ดีเพื่อไม่ให้เกิดคำครหานินทาในภายหลัง จึงได้กุเรื่องขึ้นมาว่า

“แน่ะแม่แพะ เจ้ามารังแกเราก่อน มาเหยียบหางของเราทำไม หรือวันนี้เจ้าสำคัญว่า เจ้าแน่กว่าเรา เจ้าไม่มีทางพ้นจากความตายไปได้หรอก อย่ามาเรียกเราว่าคุณลุงเลย”

แม่แพะได้ฟังดังนั้น รีบกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านลุง ท่านนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนฉันนั่งอยู่ต่อหน้าท่าน แล้วฉันจะไปเหยียบหางของท่านซึ่งอยู่ด้านหลังได้อย่างไรกัน”

เสือเหลืองหาเรื่องต่อว่า “แน่ะแม่แพะ เจ้าพูดอะไร สถานที่ที่จะพ้นจากหางของเราไปไม่มีหรอก เพราะว่าทวีปทั้งสี่ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินหรือมหาสมุทรอันเวิ้งว้างกว้างใหญ่ มีภูเขาสูงใหญ่ประมาณเท่าใด เราได้เอาหางของเราไปวางไว้ในที่นั้นหมดแล้ว เจ้าจะพ้นจากที่ที่เราเอาหางวางไว้ได้อย่างไร”

แม่แพะคิดว่า “เสือเหลืองตัวนี้ มีจิตใจหยาบช้านัก ฟังวาจาสุภาษิตแล้วไม่ซึมเข้าไปในใจเลย แถมยังตลบตะแลง มีเจตนามุ่งแต่จะทำร้ายเราอย่างเดียว”

แม่แพะจึงลองกล่าวเลี่ยงเป็นอย่างอื่นว่า “ในกาลก่อน พ่อแม่ของฉันได้บอกความเรื่องนี้แก่ฉันแล้วว่า หางของท่านนั้นยาวนัก ฉันจึงเหาะมาทางอากาศ เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ฉันจะเหยียบหางของท่านเจ้าป่า”

เสือเหลืองยังหาเรื่องต่ออีกว่า “ตอนที่เจ้ามาทางอากาศ เจ้าได้ทำให้ภักษาหารของเราพินาศไป เพราะฝูงเนื้อเห็นเจ้าเหาะมา เกิดความตกใจกลัว พากันวิ่งหนีไปหมด ฉะนั้นเจ้าจึงมีความผิด โทษฐานที่ทำให้หมู่เนื้อหนีไป”

แม่แพะได้ฟังดังนั้น รู้ทันทีว่า เสือใจบาปตัวนี้คงไม่ปล่อยให้ตนรอดแน่ เมื่อไม่อาจยินยอมกันด้วยเหตุผล จึงขอร้องวิงวอนว่า “ข้าแต่ลุง เราต่างก็เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน อย่าได้ทำลายล้างผลาญกันเลย จะได้ไม่มีเวรต่อกัน ขอให้ท่านจงไว้ชีวิตแม่แพะแก่ๆ อย่างฉันเถิด”

แต่เสือเหลืองไม่ยอมฟังคำ มันกระโดดเข้าตะครุบแม่แพะทันที จนแม่แพะถึงแก่ความตาย ตกเป็นอาหารของเสือเหลืองในที่สุด

เพราะฉะนั้น ความปรารถนาดีไม่มีในหมู่คนพาล จะไปหาความจริงใจจากคนพาลนั้นไม่ได้เลย ไม่ว่าเราจะใช้เหตุผลอย่างไร ความจริงทั้งหลายกลับถูกบิดเบือน ทำให้คนที่บริสุทธิ์ คนที่ถูกกลายเป็นคนผิดไป แม้ความจริงจะปรากฏว่าถูกต้อง แต่คนพาลจะแกล้งกล่าวหาเรื่องที่ไม่มีมูลขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นอีกร่ำไป ไม่รู้จักจบสิ้น ตราบใดที่เขายังเป็นพาล เพราะฉะนั้น คนโบราณจึงได้สอนเตือนใจไว้ว่า “ห่างสุนัขให้ห่างศอก ห่างวอกให้ห่างวา ห่างพาลาให้ห่างหมื่นโยชน์แสนโยชน์”

ตรงกันข้ามกับการคบหาบัณฑิต ซึ่งแม้เจอกันเพียงครั้งเดียว ก็ทำให้ชีวิตสว่างไสว พบกับความสุขความเจริญรุ่งเรืองได้ แต่การคบคนพาลแม้ครั้งเดียวก็เสียหายแล้ว ยิ่งสมาคมกันหลายๆ ครั้ง ยิ่งเสียหายลุกลามใหญ่โตหนักขึ้น ไม่ได้ประโยชน์ ไม่มีสาระอะไร นำแต่ทุกข์แต่โทษมาให้ ผู้รู้จึงกล่าวว่า ใครคบคนเช่นไร จักเป็นเช่นนั้นแหละ คนฉลาดจึงควรคบหากับบัณฑิต มีบัณฑิตเป็นกัลยาณมิตร และให้หมั่นทำความสนิทสนมกับคนดีมีคุณธรรมให้มากๆ เพราะจะเป็นเหตุให้เราพบแต่สิ่งที่ดีงาม

มีธรรมภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า ท้องฟ้าและแผ่นดิน ชาวโลกถือกันว่าอยู่ไกลกัน สองฟากฝั่งแห่งมหาสมุทร เขากล่าวกันว่าอยู่ไกลกัน ส่วนธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ไกลกันยิ่งกว่านั้น ราชรถอันวิจิตรตระการตา ยังมีวันเก่าคร่ำคร่า สรีระร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน สักวันหนึ่งจะต้องถึงความแก่ชรา แต่ธรรมะของสัตบุรุษผู้สมบูรณ์ ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีวันเก่าคร่ำคร่า

ดังนั้น ให้ทุกคนยินดีในธรรมของสัตบุรุษ หมั่นประพฤติปฏิบัติธรรมให้สม่ำเสมอทุก ๆ วัน ปฏิบัติธรรมให้ได้ทั้งครอบครัว ให้เป็นครอบครัวธรรมกาย เป็นบ้านกัลยาณมิตรที่สว่างไสวด้วยแสงธรรม บ้านแห่งสันติสุข ที่เป็นประดุจวิมานในเมืองมนุษย์ ถ้าทำกันได้อย่างนี้ คือทุกหลังคาเรือน มีการปฏิบัติธรรมร่วมกัน ความสงบสุขร่มเย็น ก็จะเกิดขึ้นในบ้านเมืองไม่ช้าสันติสุขจะ แผ่ขยายไปทั่วโลก ดังนั้นให้ตั้งใจปฏิบัติธรรมให้ดีกันทุกๆ คน

(*มก. ทีปิชาดก เล่ม ๕๙ หน้า ๕๙๖)
12  ภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 / กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 / Re: กรรมเก่า และ กรรมใหม่ เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ลองอ่านดูนะครับผม เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:39:28 PM
ขอบคุณครับ เข้ามาเป็นสมาชิกเวปนี้ ได้ฟังและรับธรรมะ ดี ๆ มากมายครับ  ยิงฟันยิ้ม
13  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: คำสอนหลวงปู่ปาน วีดบางนมโค อุทัยธานี เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:30:19 PM
คำสอนบทที่ 05
     "ถึงแม้เราจะมีคาถาอาคม ของดีอะไรก็ตามเราก็ต้องตาย ก่อนตายควรเลือกทางเดินเอาอย่างน้อยที่สุด เราควรไปสวรรค์ชั้นกามาวจรให้ได้ ขอให้ทุกคนนะ เวลาก่อนจะหลับ ให้นึกถึงความดีที่ตอนเคยทำ ทรัพย์สินที่สละเป็นวิหารทาน ธรรมทาน สังฆทาน เลี้ยงพระ นึกถึงศีลที่ตอนเคยรับมา เทศน์ที่ตนเคยฟัง แล้วหมั่นภาวนาถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระพุทโธ ธัมโม สังโฆ เมื่อจะเจริญกรรมฐาน ให้ตั้งอยู่ในพรหมวิหาร 4 ให้เป็นฌาณสมาธิแน่วแน่ ให้แผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล แล้วจึงพิจารณาตามอารมณ์วิปัสสนาหรือภาวนาตามแบบสมถะ ทุกคนตายแล้วจงไปสวรรค์ จงไปพรหมโลก จงไปนิพพาน"
14  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: คำสอนหลวงปู่ปาน วีดบางนมโค อุทัยธานี เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:28:47 PM
คำสอนที่ 04
      "สำหรับอัตตภาพที่มีขันธ์ 5 มันต้องเป็นอนิจจัง คือเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงอยู่เรื่อยไป เพราะความไม่เที่ยงมันจึงเป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์นี่แหละสภาวะอนัตตาจึงปรากฏ คือ ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน มันพัง มันทำลาย นี่ร่าง กระดูกที่เราเห็นนี่ เมื่อก่อนก็มีเรือนร่างครบถ้วนบริบูรณ์อย่างเรา มีลมปราณเหมือนกัน มีชีวิตจิตใจเหมือนกัน แต่ว่านี่เนื้อหนังมังสามันหมดไปแล้ว เหลือแต่กระดูก อันเป็นส่วนแก่นแท้ภาพในร่างกาย เมื่อพิจารณาไปส่วนไหนมันก็ไม่น่ารัก ไม่น่าดู ไม่น่าชม มันน่าเกลียด
......จึงกล่าวได้ว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง การเกิดเป็นมนุษย์มันเต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ จงอย่าอาลัยในชีวิต มันจะตายเมื่อไหร่ก็ได้ ช่างมัน เอาดีเข้าไว้ ดีนั่นคือ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ให้คิดว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นเพียง ธาตุ 4 เข้ามาประชุมกัน มีธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาาตุลม ธาตุไฟ มันก็ปั้นเป็นก้อนขึ้นมา เขาแยกเป็นอาการ 32 ในไม่ช้าก็ตาย อย่าลืมความตายเป็นสำคัญ" ยังมีต่อ 05
15  ธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน / ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนา / Re: คำสอนหลวงปู่ปาน วีดบางนมโค อุทัยธานี เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:26:59 PM
คำสอนที่ 03
     "นี่พระพุทธเจ้าทรงสอนกฏของธรรมดา ซึ่งคนทั้งหลายที่เกิดมาแล้วด้วยอำนาจของกิเลสแลตัณหาเข้าไปปิดบังใจไม่ยอมรับนับถือกฏธรรมดา เช่น กระดูกนี่เป็นของปฏิกูลน่าเกลียด ร่างกายเราเมื่อสภาพการหมดไปแล้ว ก็คงมีโครงกระดูกนี่เป็นเรือนร่าง เป็นแก่นของร่างกาย คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้ว ไม่มีสภาพจะคงที่ได้ ถ้ามีร่างกายบริบูรณ์สมบูรณ์ เมื่อสิ้นลมปราณแล้ว ร่างกายก็จะผุพังน้ำเหลืองจะไหล ธาตุดินไปส่วนหนึ่ง ธาตุน้ำไปส่วนหนึ่ง ธาตุไฟไปส่วนหนึ่ง ธาตุลมไปส่วนหนึ่ง ผลที่สุดเนื้อหนังก็จะละลายไป เหลือแต่ธาตุกระดูก กระดูกก็จะเป็นโครงอย่างนี้ หาความสวยไม่ได้หาความงามไม่ได้ อัตตภาพร่างกายอย่างนี้ มันเกิดขึ้นในเบื้องต้น มันเป็นอนิจจังคือ เปลี่ยนแปลงมาในระหว่างกลางแล้วต่อไปก็ผุพังทำลายไปในที่สุด เป็นอนัตตาอย่างนี้ ไม่มี นิจจัง สุขขัง อัตตา หมายความว่า นิจจังมีสภาพคงที่ สุขขังไม่มีทุกข์ อัตตามีสภาพ เป็นตัวตน ยืนตลอดกาลตลอดสมัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างนั้นไม่มี " ยังมีต่อ 04
หน้า: [1] 2