KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ ผ้าจำนำพรรษา มีที่มาอย่างไร
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ผ้าจำนำพรรษา มีที่มาอย่างไร  (อ่าน 25858 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 09, 2009, 05:03:24 PM »

        ผ้าจำนำพรรษา       
             ผ้าจำนำพรรษา หมายถึงผ้าที่ถวายแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ สามเดือน เว้นผ้ากฐิน เป็นพิเศษส่วนหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ ภิกษุผู้จำพรรษาครบสามเดือน กราบอนุโมทนากฐินแล้วรับและบริโภคใช้สอยได้ ภายในกำหนดห้าเดือน อันเป็นเขตอานิสงส์กฐิน คือนับตั้งแต่แรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนสิบสองเท่านั้น ถ้าถวายผ้านอกกาลนี้ไม่นับเป็นผ้าจำนำพรรษา การถวายผ้าในเขตดังกล่าวนี้เป็นการสงเคราะห์ภิกษุ กำลังต้องการจีวรมาผลัดเปลี่ยนของเก่าในระหว่างจีวรกาล จึงนิยมทำกันมาแต่ครั้งพุทธกาล ในทางราชการของไทยปรากฏทำเป็นแบบแผนขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีแจ้งอยู่ในพระราชพิธีสิบสองเดือน ในปัจจุบันงดมานานแล้ว สำหรับชาวบ้านยังทำกันอยู่บ้าง มีระเบียบปฏิบัติที่ทำกันทั่วไปคือ
            ผ้าที่ถวายนั้นไม่จำกัดให้เป็นอย่างเดียวกัน จะเป็นผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปทั้งไตร หรือผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ แม้ผ้าขาวก็ได้ บางทีมีไทยธรรมอย่างอื่นเป็นบริวารด้วย เมื่อถึงกำหนดทายก และชาวบ้านนำผ้าและไทยธรรม ไปพร้อมยังสถานที่นัดภายในวันมีโรงอุโบสถ หรือศาลาการเปรียญ เมื่อได้เวลาพระสงฆ์ลงประชุม ถ้าเจ้าภาพคนเดียวมีไทยธรรมเหมือน ๆ กัน ก็กล่าวคำถวายแล้วประเคนเรียงไปโดยลำดับ แต่ถ้าทำร่วมกัน ผ้าและของไม่เหมือนกัน ก็ต้องติดเลขหมายแล้วถวายให้พระสงฆ์ไปจับสลาก ก่อนจับสลากทายกกล่าวคำถวาย ดังนี้
            อิมานิ มยํ ภนฺเต วสฺสาวาสิกจีวรานิ , สปริวารานิ , ภิกขุสงฺฆสฺส , โอโณชยาม ,
            สาธุโน ภนฺเต , ภิกฺขุสงฺโฆ , อิมานิ , วสฺสาวาสิกจีวรานิ , สปริวารานิ , ปฏิคณฺหาตุ ,
            อมฺหากํ , ฑีฆรตฺตํ , หิตาย , สุขาย.
            ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
            ระหว่างทายกกล่าวคำถวายพระสงฆ์ควรประนมมือ พอจบคำถวายก็รับ "สาธุ" พร้อมกัน ทายกถวายของแล้วอนุโมทนา
บทวิเสสอนุโมทนาในทานนี้นิยมใช้บท กาเล ททนฺติ... ทายกกรวดน้ำ แล้วประนมมือรับพรไปจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี

 
 

สมัยพุทธกาล เวลาที่พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ มีเสียงติฉินนินทาจากชาวบ้านถึงฤดูฝน ชาวบ้านทำนา พระสงฆ์ก็ยังไม่ยอมหยุดจาริก เหยียบย่ำข้าวกล้าเสียหาย

"ฝูงนกยังหยุดพัก นักบวชศาสนาอื่นก็ไม่ออกนอกที่พำนัก มีแต่พระของสมณโคดม พวกเดียว"

พระพุทธองค์สั่งประชุมสงฆ์ สอบถามได้ความจริง

"ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา"

รับสั่งนี้จึงเป็นข้อบัญญัติของการเข้า พรรษา เริ่มแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปสิ้นสุด ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ครบ 3 เดือน ตลอดฤดูฝน

ในประเทศไทย ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร พอเข้าพรรษา ก็เสร็จงานในไร่นามีเวลาว่าง ชาวบ้านก็ถือเป็นโอกาสเข้าวัดถวายทานรักษาศีลและฟังธรรม ที่มีลูกชายอายุได้ 20 ปี ก็ให้บวชเป็นพระ

สมัยสุโขทัย บรรยากาศการเข้าพรรษา มีบันทึกไว้ในศิลาจารึก

"พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้า ลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งหญิงทั้งชาย ฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน"

เมื่อพระเข้าพรรษา...ก็ต้องมีกิจวัตร ทำวัตรสวดมนต์เช้ามืดและตอนพลบค่ำ รวมทั้งการศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรม จำเป็นต้องการใช้ แสงสว่าง จึงมีประเพณีหล่อเทียนต้นใหญ่ ใหญ่ ขนาดที่จะใช้ได้ตลอดเวลา 3 เดือน ถือกันว่า เป็นพุทธบูชา...

เรียกกันว่า เทียนจำนำพรรษา

ในพรรษา วัดสมัยโบราณ จึงมีแสงเทียนสว่างไสว ทั้งในอุโบสถ หอพระธรรม วิหาร ศาลาการเปรียญ

ถึงวันนี้ ทุกวัดมีไฟฟ้าใช้แล้ว แต่ชาวบ้านก็ยังถือเป็นงานบุญ ที่ทำกันเป็นประเพณี ที่อุบลราชธานี งานประกวดเทียนจำนำพรรษา งานแห่เทียนจำนำพรรษา เป็นประเพณีเด่น ดึงดูดนักท่องเที่ยว

ประเพณีถวายเทียนจำนำพรรษา เชื่อว่าเกิดภายหลังประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

สมัยพุทธกาล นางวิสาขา มหาอุบา-สิกา เดินเข้าไปในวัดในเวลาฝนตก พบพระเปลือยกายอาบน้ำเป็นที่อุจาด ก็เข้าไปกราบทูลขอพระบรมพุทธานุญาต ถวายผ้าอาบน้ำฝน ไว้ผลัดเปลี่ยนแทนจีวร

ถวายกันสืบเนื่องมาถึงวันนี้ พระมีห้องน้ำสรงน้ำเป็นสัดส่วนแล้ว แต่ผ้าอาบน้ำก็ยัง เป็นของจำเป็น จึงเกิดเป็นประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน หลายวัดถือเป็นโอกาสบอกญาติโยม แจกฎีกา ถวายผ้าอาบน้ำฝน

ชาวบ้านก็มีศรัทธา ถวายผ้าอาบแล้ว ก็ถือเป็นโอกาสถวายของกินของใช้ที่จำเป็น รวมทั้งปัจจัยให้พระ ไว้ใช้ตลอดเวลาเข้า พรรษาด้วย

ผ้าอาบน้ำฝน ภาษาบาลีเรียกว่าผ้าวัสสิกสาฎก ภาษาชาววัดนิยมเรียกว่าผ้าจำนำพรรษา.
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
Kaopunsa
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 7


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2012, 01:05:16 PM »

ผ้าจำนำพรรษา หมายถึงผ้าที่ถวายแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ สามเดือน  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

วันเข้าพรรษา - ประวัติวันเข้าพรรษา - กิจกรรมวันเข้าพรรษา, การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติ
relaxite
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 4


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2012, 01:44:14 PM »

ขอเอาไปทำรายงานนะครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: