ห่วง 3 ห่วงบุตร ห่วงภรรยา สามี ห่วงทรัพย์ ห่วงสมบัติ โบราณอีสานของเราจึงพูดกันว่า
"ความฮักลูกคือฝ้ายผูกคอ ความฮักผัว ฮักเมีย คือปอผูกศอก ความฮักข้าวของเงินทองคือปลอกสุบตีน"
อันนี้เป็นคำภาษาอีสานความรู้ลูกเหมือนเฮือกผูกคอ จะไปไหนมาไหนก็เหมือนว่าเชือกผูกคอมันแขวนคออยู่อย่างนั้น
มันคิด ห่วงลูก พ่อ แม่คิดถึงลูก ห่วงลูก เหมือนด้ายผูกคอไว้ ไปไหนก็ต้องกลับมา เห็นไหม วัว ควาย
พอเชือกผูกคอมันไว้ผู้ใส่หลักเอาไว้ มันจะไปสุดเชือกแล้วก็กลับมาจนเวียนอยู่ในบริเวณนั้นแหละ
อันนี้แหละเชือกผูกคอ ปอผูกศอกนี้ก็คือ คู่หัวผัวเมีย
บางคนนั้น จิตใจยังไม่มีศรัทธา จิตใจไม่ตรงกัน บางคนผัวนั้นมีศรัทธา อยากจะบริจาคทาน
แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งไม่พร้อมก็บริจาคไม่ได้ คือฝ่ายสามีไม่พร้อมก็บริจาคไม่ได้ หรือฝ่ายภรรยาไม่พร้อมก็บริจาคไม่ได้
อันนี้แหละท่านจึงว่าความผูกพันระหว่างคู่ผัวเมียนั้น มันมีความห่วงความหวงซึ่งกันและกัน จะไปไหนมาไหนก็ห่วง
ห่วงผัว ห่วงเมียนี้ ความห่วงนี้ เราตัดไม่ได้ ถ้ายังเป็นปุถุชนคนมืดมนอนธการอยู่ ก็ยังตัดไม่ได้ ตัดคู่ผัวตัวเมียนั้นยาก
อันนี้ท่านจึงเรียกว่า “เชือกผูกคอ ปอผูกศอก” คือผูกรัดศอกเอาไว้ มัดศอกเอาไว้
ความห่วงที่ 3 นั้นก็คือ ความห่วงทรัพย์ ห่วงสมบัติ ห่วงทรัพย์ ห่วงสมบัตินั้น ที่ทุกวันนี้ที่เราแสวงหาทรัพย์สมบัตินั้น
ก็เพื่อปากเพื่อท้อง เพื่อครอบเพื่อครัว เพื่อลูกหลาน หรือเพื่ออนาคต จึงต้องแสวงหาทรัพย์ แสวงหาสมบัติ
ครั้นมีทรัพย์มีสมบัติแล้วเราไปไหนมาไหนก็ห่วงมัน มันห่วงไม่อยากจากทรัพย์สมบัติไป จะเห็นได้อย่างผู้ที่มาบวชเป็นพระเป็นเณร
เสียสละเวลามาบวช ลามาบวชทำงานราชการ ลาบวชเพียง 7 วัน 15 วัน แล้วก็ห่วงงาน ห่วงเงิน ห่วงการ ห่วงงาน ห่วงเงิน
เงินก็คือทรัพย์ บวชก็ไม่ได้นาน เพราะห่วงอันนี้มันเป็นธรรมดาของจิตใจปุถุชนของเรายังสะสมทรัพย์ สะสมสมบัติ
ยังแสวงหาทรัพย์สมบัติ ก็ยังห่วงทรัพย์สมบัติ เมื่อมีทรัพย์สมบัติแล้วก็ต้องห่วง
ความห่วงอันนี้จึงเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายข้องอยู่ในวัฏสงสาร คือ เวียนว่ายตายเกิด จะต้องทนทุกขเวทนา หรือว่าต้องแสวงหาอยู่อย่างนี้
ต้องติดอยู่กับโลกอย่างนี้ ถ้าจิตใจของเราไม่ตัดห่วงทั้ง 3 นี้ไปได้ ก็เรียกว่า วัฏฏวน คือ วนไป วนมา วนเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่อย่างนี้
หลวงตาพวง สุขินทริโย