KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกอย่างที่เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานต้นไม้ในพุทธประวัติ : สีเสียด (Acacia catechu Willd.)
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นไม้ในพุทธประวัติ : สีเสียด (Acacia catechu Willd.)  (อ่าน 12877 ครั้ง)
samarn
Global Moderator
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 2
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 7
กระทู้: 215


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2008, 04:17:15 PM »

สีเสียด (Acacia catechu Willd.)

สีเสียด หรือที่ชาวฮินดูเรียก ?แคร? หรือที่ทางการค้าเรียกว่า Catechu tree นี้ ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระองค์สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญานได้ 8 พรรษา ก็ได้เสด็จไปประทับภูสกภวันคือป่าไม้สีเสียด ใกล้สูงสุมารคีรีในภัคคฎฐี

สีเสียด เป็นพันธุ์ไม้พวกเดียวกันกับชะอม กระถินพิมาน และกระถินณรงค์ คือ สกุล (Genus) Cassia ในวงศ์พวกไม้แดง (Leguminosae - Mimosaceae) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรงเปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดบางห้อยย้อยลง ตามกิ่งก้านมีหนามแหลมโค้ง ๆ เป็นคู่ ๆ อยู่ทั่วไป ซึ่งก่อความยากลำบาก แก่คนหรือสัตว์ที่จะผ่านเข้าไปได้ แต่ถ้าต้นสูงใหญ่แล้ว กิ่งจะไปอยู่บริเวณเรือนยอดหมดและโคนต้นมักเตียน เพราะหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ไม่ชอบขึ้นใต้โคนต้นสีเสียด ใบเป็นช่อแบบสองชั้น มีก้านช่อร่วมก้านช่อร่วม ก้านหนึ่งจะมีช่อย่อย 10 ? 20 คู่ ใบย่อยละเอียดเรียงกันอยู่แน่นประมาณก้านละ 30 ? 50 คู่ ดอก ออกเป็นช่อแบบก้านธูป ยาว 5 - 10 ซม. เต็มไปด้วยกระจุกดอกเล็ก ๆ สีเหลือง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ฝัก แคบ บาง ออกสีน้ำตาลเมื่อแก่จัด และจะแตกออกเมื่อฝักแห้ง เป็นพันธุ์ไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและทนไฟได้ดี ขึ้นทั่วไปจากอินเดียผ่านมาทางแถบตะวันออกของเอเชีย การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในที่แห้งแล้ง และตามเขาหิน นอกจากใช้ไม้สำหรับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ แล้ว ยังใช้แก่นไปเคี่ยวเอายางไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้หลายอย่าง ใช้น้ำฝาดมาฟอกหนังได้อย่างดี ชื่อพื้นเมืองของไทยเรียกต่าง ๆ กัน เช่น สะเจ สีเสียดแก่น สีเสียดเหนือ เป็นต้น นอกจากนี้ไทยเรายังเรียกไม้อีกชนิดหนึ่งว่า สีเสียด เช่นกัน แต่เรียกชื่อเต็ม ๆ ว่า สีเสียดเปลือก ซึ่งมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Pentace burmanica Kurz ชาวบ้านใช้เปลือกไม้ชนิดนี้มาเคี้ยวแทนหมาก และไม้ชนิดนี้ก็มีทั่ว ๆ ไปในภูมิภาคเอเชียเช่นกัน แต่โดยสภาพแล้ว  ต้นสีเสียดเปลือกมีเรือนยอด ที่ไม่กว้างขวางและร่มรื่นพอที่จะใช้เป็นที่พักพิงได้ จึงน่าตัดปัญหานี้ออกไปได้

อาจจะมีผู้สงสัยว่าทำไมเล่า สีเสียดเต็มไปด้วยหนามที่จะทำอันตรายต่อผู้ที่ผ่านเข้าไปแต่ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ในป่าธรรมชาติของสีเสียดนั้น จะขึ้นเป็นกลุ่ม และแต่ละต้นต่างก็ต้องแก่งแย่งกัน จึงพยายามเจริญทางสูงแข่งกัน และกิ่งตามลำต้นจะหลุดไปโดยเร็ว คงเหลือแต่พุ่มยอดที่สูงขึ้นไปเท่านั้นทำให้บริเวณข้างล่างเตียน ปราศจากกิ่งหนาม และปกติสีเสียดมีใบเป็นฝอยแน่น ย่อมบดบังแสงและรับเอาน้ำค้างไว้แทบหมด ไม่ค่อยเหลือลอดให้พืชอื่น ๆ ที่ขึ้นอยู่ที่โคนต้น ทำให้พืชอื่น ๆ ค่อย ๆ หดหายไป โคนต้นสีเสียดจึงมักโล่งเตียน ดังเช่นต้นสนทะเลหรือโคนต้นมะขามเช่นกัน จึงเป็นบริเวณที่น่าจะพำนักอาศัยได้อย่างดี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 21, 2008, 04:32:03 PM โดย samarn » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: