KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับรวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Galleryบทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะนำธรรมะมาช่วยให้ทำงานด้วยใจสบาย
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: นำธรรมะมาช่วยให้ทำงานด้วยใจสบาย  (อ่าน 15147 ครั้ง)
Uzumaki Naruto
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 4
กระทู้: 33


❤ ผมรักในหลวงนะฮ๊าฟ ❤


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 09:44:46 AM »



      คนเราที่ยังทำงานในหน้าที่ บางคนก็ทำงานหนักเกินไป บางคนก็ทำงานน้อยเกินไป อันนี้ก็เรียกว่า ฝ่ายหนึ่งตึง อีกฝ่ายหนึ่งหย่อนยานเต็มที ไม่เดินทางสายกลาง ไม่พอเหมาะพอดี
      
      การทำที่พอเหมาะพอดีนั้นอยู่ตรงไหน อยู่ที่ไม่ต้องมีความหนักใจเพราะงาน ทำงานอย่าให้มันหนักอกหนักใจ ทำให้รู้สึกว่าเป็นงานเบาๆ งานง่ายๆ เสร็จงานแล้วก็ไม่ต้องมานั่งหนักอกหนักใจ อย่างนี้ทำงานแล้วใจสบาย
      
      แต่ถ้าเราทำงานอย่างชนิดที่เรียกว่าทุ่มตัวมากเกินไป เคร่งเครียดมากเกินไปในงานจนไม่มีเวลาจะพักผ่อน แม้ถึงเวลาพักผ่อนแล้วก็ไม่ได้พักผ่อน จิตมันไปครุ่นคิดอยู่แต่ในเรื่องนั้นตลอดเวลา นั่งก็เป็นงาน ยืนก็เป็นงาน เดินก็เป็นงาน หายใจเข้าหายใจออกเป็นงานทั้งนั้น อย่างนี้เรียกว่า ตึงไปหน่อย มันดีได้ทำงาน แต่ว่ามันตึงไปหน่อย
      
      ทีนี้เมื่อตึงอย่างนั้นมันเกิดความเคร่งเครียดทางสมอง เกิดความเคร่งเครียดทางประสาทร่างกาย เป็นเหตุให้เป็นทุกข์ได้เหมือนกัน และอาจจะเป็นเหตุให้เกิดเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะว่าไม่มีการหยุดพักเสียเลย อย่างนี้ก็ไม่ได้เหมือนกัน มันต้องมีเวลาพักผ่อน เปลื้องตนออกจากงาน เรียกว่ารู้ปลดเปลื้องภาระ รู้จักพักใจ ทำใจให้ว่างจากภาระกังวลเสียบ้าง
      
      อันนี้จะช่วยให้ร่างกายเป็นปกติขึ้น ทำให้จิตใจของเรามีสภาพเป็นปกติขึ้นด้วย ไม่ต้องทานยาอะไรมากเกินไป ยานั้นช่วยได้เพียงเล็กน้อย แต่การทำใจของเราให้สงบในบางครั้งบางคราว เป็นเรื่องที่ช่วยได้มากกว่า ในเรื่องอย่างนี้ก็ต้องหัดปล่อยวาง คือหัดปล่อยหัดวางเสียบ้าง อย่าแบกอยู่ตลอดเวลา
      
      คนเราถ้าถืออะไรแล้วถืออยู่ตลอดเวลามันหนัก แม้ของนั้นจะเบา เช่นว่าเขาให้เราถือนุ่นไว้สักห่อหนึ่ง แต่ถ้าถืออยู่ตลอดเวลามันก็หนัก นุ่นมันหนักขึ้นเรื่อยๆ เพราะ ถือไม่รู้จักวาง แต่ถ้าเราวางเสียได้มันก็เบาใจ อันนี้เป็นเคล็ดลับสำคัญ ในการดำเนินชีวิตเกี่ยวกับการงาน คือให้รู้จักหยุดงาน แล้วก็ให้รู้จักทำงาน เวลาทำงานก็ทำไปตามหน้าที่ของเรา จะคิดนึกตรึกตรองจะแก้ปัญหาอะไร ก็คิดไปในเวลานั้น เวลานั้นเป็นเวลาของงาน เป็นเวลาที่จะคิดจะค้นจะวางแผนที่จะต้องทำงานต่อไป
      
      ครั้นเมื่อหมดเวลาชั่วโมงของงานแล้ว เราลุกขึ้นจากโต๊ะทำงาน กลับบ้านอย่าเอางานมาด้วย เพราะว่ามันพ้นเวลางานแล้ว เราต้องเลิกงาน เวลาออกจากสำนักงาน ก็ต้องบอกตัวเองว่า เลิกกันทีสำหรับวันนี้ หมดงานแล้วพรุ่งนี้ค่อยมาต่อกันใหม่ต่อไป แล้วเราก็กลับบ้าน
      
      กลับบ้านด้วยจิตใจที่เบาไม่หนัก ไม่ใช่กลับบ้านจากสำนักงานนั่งในรถยนต์ก็คิดอยู่ตลอดเวลา ถ้าขับรถด้วยตนเองแล้วอันตรายที่สุด คนใดที่ไม่รู้จักปล่อยวางขับรถด้วยตนเอง อันตราย... อันตรายตรงไหน เพื่อนจะชนเราบ้างเราจะชนเพื่อนบ้าง เพราะใจมันไปคิดเรื่องอื่น แต่ว่ามือนี่อยูที่พวงมาลัย ใจกับมือมันคนละเรื่อง
      
      เรากระซิบกับตัวเองว่าพอแล้ว เท่านี้พอแล้ว หยุดคิดเสียบ้าง ไปทำเรื่องอื่นบ้างเถอะ อย่างนี้แหละพูดบ่อยๆ ถ้าเราพูดกับตัวเราบ่อยๆ อย่างนี้เขาเรียกว่า แนะนำตนเองหรืออีกอย่างหนึ่งเขาเรียกว่า ปลุกเสกตนเอง ปลุกเสก ตัวเองให้เป็นอะไรก็ได้ พูดบ่อยๆ คิดบ่อยๆ ในเรื่องใดเราก็เป็นไปตามเรื่องนั้น
      
      เราอย่าคิดในทางเสื่อม อย่าคิดในทางสร้างโรคภัยไข้เจ็บแก่ตนเอง แต่ต้องคิดไปในทางที่ว่าเราสบาย เรามีความสดชื่น เรามีความร่าเริงมีความแจ่มใส มองโลกในแง่สดชื่นรื่นเริง อย่ามองไปในแง่วุ่นวายใจ หรืออย่ามองไปในแง่ที่ว่าอะไรๆ ก็เป็นปัญหาไปเสียทั้งนั้น มันจะเกิดความเคร่งเครียดเกินไป
      
      กลับไปบ้านก็พักผ่อนเสียมั่ง ทำเรื่องส่วนตัวไปเสียบ้าง หาความเพลิดเพลิน เช่น เราเป็นคนมีครอบครัวมีลูกมีเต้าก็เรียกลูกมานั่งคุยกัน ชวนลูกให้ทำงานเล็กๆ น้อยๆ ปลูกต้นไม้บ้าง รดน้ำต้นไม้บ้าง ทำงานให้เพลิดเพลิน นั่งเล่นกันในสนาม จิตใจมันว่างร่าเริงแจ่มใส ไม่ต้องไปหมกมุ่นเรื่องงานเรื่องการอะไรมากเกินไป คือว่ามันต้องรู้จักปิด
      
      จิตใจของเรานี่ต้องปิดเสียบ้าง เปิดมากไปก็ไม่ได้ เหมือนประตูบ้าน เวลานอนก็ต้องปิด ปิดกันขโมยเข้ามา หน้าต่างต้องปิด ถ้าไม่ปิดต้องใส่โครงเหล็กให้แข็งแรง จิตใจเรานี่ก็เหมือนกันต้องปิดเสียบ้าง อะไรที่มันหนักก็ต้องปิดไว้ก่อนไม่ใช่เรื่องที่ต้องคิดเวลานี้ เวลาใดจะคิดก็เอาไปคิด เวลาใดหยุดคิดก็ทำเรื่องอื่นต่อ ถ้าอย่างนี้แล้วไม่มีอาการเครียด จิตใจจะเป็นปกติ รู้จักทำงานเป็นเวลา
      
      เวลาจะนอนนี้อย่างหนึ่ง บางคนนอนยาก นอนไม่หลับ นอนแล้วจะคิด ทางที่ดีเราจะนอนนี้ต้องสวดมนต์ไหว้พระ อย่าถือเป็นเรื่องเล็กน้อย เรื่องไหว้พระสวดมนต์ เป็นเรื่องฝึกจิต เป็นเรื่องที่ให้เกิดความสงบใจ แล้วจะได้ นอนหลับเป็นปกติ ปลดเปลื้องอารมณ์ได้ สวดมนต์เสร็จ แล้วก็ทำจิตใจให้สงบ ปล่อยว่างจากอารมณ์ต่างๆ เสีย
      
      ครั้นเมื่อจิตสงบแล้วเราก็ไปนอน เวลานอนนี่ก็อย่าคิดอะไร ถ้ามีความคิดอะไรขึ้นมาในใจ ต้องขับไล่มันออกไป บอกตัวเองว่า ฉันจะนอน ไม่ใช่เวลาคิด อย่าคิดมากนะ นอนให้หลับนะ แล้วก็นอนให้ร่างกายปกติ นอนหงายก็ได้ นอนหงายทอดมือไปตามปกติ หายใจแรงๆ หน่อย หายใจเข้าให้เต็มท้อง ท้องมันก็พองขึ้น หายใจออกท้องมันก็ยุบลงไป แล้วก็กำหนดว่าหายใจเข้า-หายใจออก ประเดี๋ยวเดียวมันก็หลับไปเลย
      
      แต่ถ้ารู้ว่าก่อนนอนมันหลับยาก ก็ทานอะไรเสียนิดหน่อยให้กระเพาะมันได้ทำงาน แต่อย่าทานของหนักเกินไป ให้ทานกล้วยน้ำละว้าสักสองผลน้ำสักหนึ่งแก้วก็พอ กล้วยน้ำละว้าน่ะโปรตีนวิตามินมันเยอะ
      
      รุ่งเช้าเวลาไปถึงที่ทำงานก็บอกตัวเองว่า เอาละทีนี้ทำงานแล้วนะ คิดนึกวางแผนในเรื่องงานเรื่องการไว้ให้เต็มที่ทำงานไปเป็นปกติ
      
      งานมีอุปสรรคอย่าเป็นทุกข์ อย่าร้อนอกร้อนใจ ทุกอย่างต้องมีการขัดข้อง ต้องมีอุปสรรค เราก็ต้องคิดว่ามัน เรื่องธรรมดา อุปสรรคเป็นเครื่องทดลองสติปัญญาของเรา เราไม่กลัว เรายิ้มรับกับมัน แล้วเราก็คิดค้นหาวิธีแก้ไขต่อไป ด้วยจิตใจที่ร่าเริงเบิกบาน
      
      มองอะไรด้วยความจริงอยู่ตลอดเวลา รู้เท่ารู้ทันต่อสิ่งทั้งหลายที่เข้ามากระทบอารมณ์ อันนี้แหละที่จะทำให้จิตใจเราสบายเรื่อยขึ้นเป็นปกติ

 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

Bangkok Hotel คู่มือการเข้าพักโรงแรมในกรุงเทพแบบถึงกึ๋น
iPhone สาวกไอโฟนจัดเต็ม...เว้ยเฮ้ย
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 09:48:39 AM »

ขอบพระคุณสำหรับธรรมะ ที่ไว้อยู่กับโลก นะครับผม
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: