KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประวัติของพระพุทธสาวก สมัยพุทธกาลพระโปสาลเถระ
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: พระโปสาลเถระ  (อ่าน 12183 ครั้ง)
samarn
Global Moderator
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 2
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 7
กระทู้: 215


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2008, 03:05:59 PM »

   ท่านพระโปสาล เป็นบุตรพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้วได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิต ของพระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อศึกษาศิลปวิทยาตามลัทธิของพราหมณ์ ครั้นพราหมณ์พาวรีมีความเบื่อหน่ายในฆราวาส ทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศล ออกจากตำแหน่งปุโรหิต ออกบวชเป็นชฎิล ประพฤติพรตามลัทธิของพราหมณ์ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และเมืองอาฬกะติดต่อกัน เป็นอาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ โปสาลมาณพได้ออกบวชติดตามไปด้วย และอยู่ในมาณพ 16 คนที่พราหมณ์ พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลพามพระบรมศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ

โปสาลมาณพทูลขอ โอกาสถามปัญหา ครั้นพระบรมศาสดาทรงอนุญาตแล้ว ได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบสี่ว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงฌาน ของบุคคลผู้มีความกำหนดหมายใจรูปแจ้งชัด (คือ ได้บรรลุรูปฌานแล้ว ) ละรูปารมณ์ทั้งหมดได้แล้ว (คือบรรลุฌานสูงกว่ารูปฌานขึ้นไปแล้ว) เห็นอยู่ทั้งภายในภายนอกว่า ไม่มีอะไรเลย (คือบรรลุอรูปฌาน ที่เรียกอากิญจัญญายตนะ ) บุคคลเช่นนั้นจะควรแนะนำสั่งสอนให้ทำอย่างไรต่อไป ?

พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า พระตถาครเจ้าทรงทราบภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณทั้งหาดจึงทรงทราบบุคคลเช่นนั้น แม้ยังคงอยู่ในโลกนี้ว่า มีอัธยาสัยน้อมไปในอากิญจัญญายตนภพ มีความเพลิดเพลินยินดีเห็นเครื่องประกอบ ลำดับนั้นย่อมพิจารณาเห็นสหชาตธรรม ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น (คือธรรมที่เกิดพร้อมกันกับฌานนั้น) แจ้งชัด โดยลักษณะสามอย่าง (คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว ) ข้อนี้เป็นฌานอันถ่องแท้ของบุคคลเช่นนั้น ผู้มีพรหมจรรย์ได้ประพฤติหมดแล้ว

พระบรมศาสดาทรงแก้ปัญหาจบลง โปสาลมาณพได้บรรลุพระอรหัตตผล เมื่อจบโสฬสปัญหาพยากรณ์แล้ว โปศาลมาณพพร้อมด้วย มาณพสิบห้าคน ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านโปสาลดำรงชนมายุสังขาร อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: