เจดีย์เหลี่ยม ตั้งอยู่นอกเขตเมืองโบราณเวียงกุมกามอยู่ห่างจากแนวกำแพงเมืองคูเมืองด้าน ตะวันตกประมาณ ๕๐๐ เมตร ในท้องที่ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏในแผ่นที่ภูมิประเทศจากภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผ่นที่ทหาร มาตราส่วน ๑ : ๕๐ , ๐๐๐ ลำดับชุด L7017 ระวาง 4746 1 จังหวัดเชียงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 1-RTSD ที่ประมาณพิกัดกริด 47 QMA 999733 หรือประมาณละติจูด ๑๘ องศา ๔๕ ลปดา ๐๒ พิลิปดาเหนือ และลองติจูด ๙๘ องศา ๕๙ ลิปดา พิลิปดาเหนือ และลองจิจูด
ประวัติพระเจดีย์เหลี่ยมจากหลักฐานเอกสาร
ประวัติโดยทั่วไป เชื่อกันว่าโบราณสถานพระเจดีย์เหลี่ยมสร้างขึ้น ในสมัยพระญามังราย ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาเมืองเชียงใหม่ ชื่อดั้งเดิมของพระเจดีย์เลี่ยมเรียกกันว่า " กู่คำ " ประวัติความเป็นมาของพระเจดีย์เหลี่ยมหรือกู่คำ มีที่มาจากหลักฐานเอกสารหลายฉบับด้วยกันที่สำคัญ ได้แก่
ศิลาจารึกหลักที่ พย . ๒๑ จารึกสถานที่ประดิษฐานพระธาตุ จ . ศ . ๘๘๕ - ๘๙๐ ( พ . ศ . ๒๐๖๖ - ๒๐๗๑ ) อักษรไทยล้านนา และอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย หินทรายสีแดงรูปใบเสมาหักชำรุด อยู่ที่วัดศรีโสมคำ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีตัวอักษรปรากฏอยู่ด้านเดียว จำนวนไม่น้อยกว่า ๘ บรรทัด ในบรรทัด ๕ อ่านได้ความว่า
กู่คำกูมกามไว้ธาตุดู ( ก ) คางขวา ไว้ธาตุมือขวาทั้งมวลใต้มหาเจดีย์หลวงเชียง ( ใหม่ )
ในบรรทัดที่ ๕ ของจารึกดังกล่าว ระบุไว้ชัดเจนว่าพระเจดีย์เวียงกูมกาม ( กุมกาม ) เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนกระดูกกรามข้างขวาของพระพุทธเจ้า ซึ่งน่าจะเป็นความเชื่อดั้งเดิมของผู้คนในล้านนาที่มีมานานแล้วก่อนพุทธ ศตวรรษที่ ๒๑
โคลงนิราศหริภุญชัย เป็น เอกสารร่วมสมัยล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งประเสริฐ ณ นคร สันนิษฐานว่าเรื่องนี้ น่าจะจดไว้เป็นตำนานเมื่อราวพุทธศักราช ๒๐๖๐ เป็นการบรรยายชมสถานที่วัดวาอารามตามระยะทางจากเมืองเชียงใหม่ผ่านเวียงกุม กาม เพื่อไปมนัสการพระธาตุหริภุญชัยที่เมืองลำพูน ( หริภุญชัย ) โดยผู้ประพันธ์เดินทางออกจากเมืองเชียงใหม่ผ่านวัดพระสิงฆ์แวะไหว้พระพุทธสิ หิงค์ ผ่านวักทุงยู วัดศรีเกิด วัดผาเกียร ( ชัยพระเกียรติ ) ผ่านข้างกุฏาราม ( เจดีย์หลวง ) วัดอูปแป้น ไหว้หอพระญามังราย และวัดเจดีย์หลวง ไหว้พระอัสดารส ไหว้พระเจ้ามรกตและยักขราชกุมภัณฑ์คู่ผ่าวัดเจ็ดลิน วัดฟ่อนสร้อยและวัดเชียงสง ออกทางประตูเชียงใหม่ จากนั้นเดินทางผ่านวัดพันง้อม วัดกุฏีคำ ( ธาตุคำ ) วัดน่างรั้ว ( ยางกวง ) ผ่านประตูเมืองชั้นที่สอง ชมเกวียนผ่านอุทยาน ถึงเวียงกุมกาม วัดกู่คำ ( วัดเจดีย์เหลี่ยม ) ไปยังเมืองลำพูน ในโคลงบทที่ ๔๕ กล่าวพรรณนาลักษณะของ กู่คำ หรือพระเจดีย์เหลี่ยมดังนี้
อารามรมเยศเมิ้น มังราย
นาม กู่คำ หลวงหลาย เช่นท้าว
หกสิบสยบภูยาย ยังรอด งามแย่
แปลงคู่นุชน้องน้าว นาฏโอ้โรทา
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า ... เจ้ามังรายจึงหื้อไปเอาดินหนองต่างมาก่อเจดีย์กู่คำ วันนั้น แล ...
ตำนานมูลศาสนา ได้กล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเจดีย์กู่คำไว้ตอนหนึ่งในเรื่องพญามังรายเสด็จไปประทับที่เวียงกุมกาม ว่า
... ถัดนั้น พระญามังรายออกมาตั้งอยู่กุมกาม แปงบ้านซู่ ๓ แห่ง แห่ง ๑ ว่าบ้านคง แห่ง ๑ ว่าบ้านคง แห่ง ๑ ว่าบ้านลุ่ม แห่งหนึ่งว่าบ้านแหมนั้น ค็อยู่เสวิยสัมปัตติ ค็ยินดีในสาสนาพระพุทธะเจ้าจักใคร่กะทำบุญอันใหย่เปนต้นว่าส้างเจดีย์นั้น จิ่งหื้ออมาตย์ทั้งหลายหาหินมาแล้ว หื้อก่อเปน ๔ เลี่ยม แลด้านหื้อมีรูปพระเจ้า ๑๔ ตนแล้ว หื้อใส่คำแต่ยอดลงมาดูงามนัก กับทังอัฐบริขารแก่สังฆะเจ้าวันนั้นแล ...
พิจารณา จากหลักฐานเอกสารที่ยกมาข้างต้น จะเห็นว่าในเรื่องอายุสมัยของการสร้างกู่คำ ( เจดีย์เหลี่ยม ) นั้น หลักฐานเอกสารทุกฉบับรับรองต้องกันว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพระญามังรายก่อนการ สร้างเมืองเชียงใหม่
การบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์เหลี่ยมเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๑
เรื่อง ราวของเจดีย์กู่คำ ปรากฏหลักฐานขึ้นอีกครั้งในชื่อที่เรียกว่า พระเจดีย์เหลี่ยม เมื่อหลวงโยนวิจิตร ( หมองปันโหย่ อุปโยคิน ) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า พระญาตะก่า คหบดีชาวมอญสัญชาติพม่าที่เข้ามาค้าขายอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ จนได้รับประราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงโยนการพิจิตร ได้มีศรัทธาการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์เหลี่ยมเมื่อประมาณ พ . ศ . ๒๔๕๑ ด้วยการก่อพอกฐานเจดีย์องค์เดิมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ติดตั้งฉัตรใหญ่ ฉัตรเล็ก ก่อซุ้มพระนั่งประจำทิศที่ฐานเจดีย์ใหม่ทั้ง ๔ นอกจากนี้ยังมีการปั้นลวดลายปูนปั้นประดับองค์เจดีย์ใหม่ทั้งหมดโดยช่าง ฝีมือช่างชาวพม่า จึงทำให้ลวดลายปูนปั้นและการประดับประดาส่วนต่าง ๆ ที่พบเห็น ในปัจจุบันเป็นแบบศิลปะพม่า
หลวง โยนการวิจิตร ( หม่องปันโหย่ อุปโยคิน ) เดินทางเข้ามายังเมืองเชียงใหม่เมื่ออายุ ๓๐ ปี ประกอบอาชีพครั้งแรกเป็น หมอนวด อยู่ในคุ้มหลวงของเจ้าอินทวิชยานนท์เป็นที่โปรดปราน เพราะเป็นคนดีมีความประพฤติเรียบร้อยขยันขันแข็ง และมีลักษณะดี จึงทำให้เจ้าอินทวิชยานนท์ และเจ้าหญิงอุบลวรรณาสนับสนุนให้ทำสัมปทานป่าไม้ โดยบริษัทบอมเบย์ ที่มารับสัมปทานผูกขาดทำอยู่ในป่าแม่แจ่มหลังจากหมดสัญญากับบริษัทบอมเบย์ แล้วจึงมารับทำงานป่าไม้ของเจ้าอินทวิชยานนท์ และพระราชธิดาจนมีช้างทำงานถึง ๓๐๐ เชือก ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถและมีกำลังทรัพย์เท่านั้นถึงจะมีได้ กิจการได้ขยายใหญ่โตอีกมาก คือขอสัมปทานป่าของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้านครลำปางและได้สัมปททานป่าแม่ต้าน เขตเมืองลอง ( จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน ) ชื่อเสียงของหลวงโยนการวิจิตร จึงขจรขจายไปทั่วภาคเหนือ
นอก จากนั้นหลวงโยนการวิจิตรยังเป็นที่นับถือในหมู่ชาวพม่า มอญ เงี้ยว ฯลฯ ที่อยู่บังคับกงสุลอังกฤษ เห็นได้จากในเวลาต่อมามิสเตอร์แบร๊กเกต ( บิดาของ ยอห์น แบร๊กเกต นายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องยนต์ดีเซล ) กงสุลใหญ่ชาวอังกฤษสมัยนั้น เสนอให้หลวงโยนการฯ มีตำแหน่งเป็นเฮดแมน หรือผู้นำชุมชนชาวพม่าในเมืองเชียงใหม่ ได้รับพระราชทานขันน้ำพานรองทองคำเป็นเกียรติยศ
เมื่อ เริ่มมีทรัพย์สินเงินทองมากขึ้น หลวงโยนการฯ จึงทำหารกุศลโดยการปฏิสังขรณ์วักวาอารามต่าง ๆ และสร้างสาธารณูปโภคเป็นทาน และการสนับสนุนทางราชการ โดยเฉพาะเมื่อคราวเกิดจลาจลพวกเงี้ยวที่เมืองแพร่ พ . ศ . ๒๔๕๓ ) ได้ช่วยเหลือทางการเงิน และให้ช้างเป็นพาหนะขนส่งเครื่องยุทโธปกรณ์ของทางราชการอย่างเต็มกำลัง
เมื่อ เสร็จสิ้นการปราบกฏบเงี้ยวครั้งนั้น พระยาสุรสีห์ ( เชย ) ข้าหลวงมณฑลพายัพ จึงกราบบังคัมมูลความดีความชอบต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงแต่งตั้งเป็นหลวงโยนการวิจิตร รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในปี พ . ศ . ๒๔๕๐ ต่อมาอีก ๓ ปี คือ พ . ศ . ๒๔๕๓ ก็ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกเป็นเกียรติยศ
หลวง โยนการฯ มีภรรยา ๓ คน คือ คุณแม่แก้ว คุณแม่จิ้น และคุณแม่หน้อย มีบุตรธิดาจากภรรยาทั้ง ๓ คนรวม ๑๔ คน ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเหล้าเจ้าอยู่หัวว่า อุปโยคิน เมื่อพ . ศ . ๒๔๕๙
หลวง โยนการวิจิตร ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่ออายุประมาณ ๘๘ ปี เมื่อ พ . ศ . ๒๔๕๙ หลังจากได้เข้าเฝ้าถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเลียบมณฑลฝ่ายเหนือไม่กี่วัน
นอก จากวัดพระเจดีย์เหลี่ยมแล้ว หลวงโยนการวิจิตรยังได้สร้างบูรณปฏิสังขรณ์อีกหลายวัด เช่น วัดชัยมงคล วัดแสนฝาง และวัดอุปคุด ( พม่า ) เป็นต้น
โบราณสถานกู่คำ หรือ พระเจดีย์เหลี่ยม : รูปลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรม
พระ เจดีย์เหลี่ยม เป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบพิเศษคล้ายกับพระเจดีย์กู่กุดวัดจามเทวี ( กู่กุด ) จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่บนพื้นฐานเขียงสีเหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละ ๑๗ . ๔๕ เมตร พระเจดีย์สูง ( วัดจากพื้นดินถึงปลียอด ) ๓๐ . ๗๐ เมตร เรือนธาตุสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นขึ้นไป ๕ ชั้น แต่ละชั้นของเรือนธาตุ มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนด้านละ ๓ ซุ้ม รวม ๕ ชั้น ๆ ละ ๑๕ ซุ้มรวมทั้งหมด ๖๐ องค์ ต่อมาในคราวที่มีการบรูณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยหลวงโยนการวิจิตรเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๕๑ มีการต่อสร้างซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งประจำทิศที่เหนือฐานเขียง ชั้นล่างอีก ๕ เป็นส่วนยอดลักษณะ เป็นทรงระฆังสี่เหลี่ยม คล้ายเรือนธาตุของพระธาตุพนมรองรับปลียอดทรงพีระมิดปลายแหลม ประดับลูกแก้วและฉัตรหลวงคันหนึ่ง
ตรง มุขทั้ง ๔ ของบริเวณเหนือชั้นลดขิงเรือนธาตุแต่ละชั้นมีสถูปจำลองขนาดเล็กตั้งมุม ๑ องค์ เรียกว่า สถูปมุม รวม ๕ ชั้น ๒๐ องค์ แต่ละองค์มีลวดลายปูนปั้นประดับแตกต่างกันไป ที่ยอดสถูปมุมประดับฉัตรน้อยทุกองค์
ที่ ช่วงกลางเหนือฐานเขียงมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งด้านละ ๑ ซุ้ม กรอบซุ้มประดับลวดลายปูนปั้นศิลปะพม่าที่ยอดซุ้มประดับฉัตรน้อยองค์หนึ่งและ ที่มุมของฐานเขียงมีสิงห์ปูนปั้นตั้งอยู่ทั้ง ๔ มุม เรียกว่า สิงห์ประจำมุข
รอบ ฐานพระเจดีย์มีลานประทักษิณกว้าง ๓ . ๔๐ เมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีประตู ทางเข้า ๒ ด้าน คือ ด้านตะวันออกและด้านทิศใต้ ประตูทางเข้ากว้าง ๑ . ๒๐ เมตร การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบศิลปะ สถาปัตยกรรม จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมพระเจดีย์เหลี่ยมที่ปรากฏประกอบหลักฐานทางเอกสาร ได้แก่ ตำนานซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในสมัยล้านนากับวัฒนธรรมหริภุญชัย เมื่อพระยามังรายตีเมืองลำพูนได้สำเร็จก่อนสร้างเวียงเชียงใหม่ พระองค์สร้างเวียงกุมกาม จึงได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมหริภุญชัยมาด้วย ได้แก่ ศาสนา ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ตัวอย่างการรับอิทธิพลวัฒนธรรมทางด้านสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดมากก็คือ พระเจดีย์เหลี่ยม ซึ่งมีการถ่ายแบบทางด้านรูปทรงมาจากเจดีย์กู่กุด ถึงแม้ปัจจุบันรูปแบบศิลปกรรมที่ประดับเป็นแบบศิลปะพม่าทั้งหมด เนื่องจากในการปฏิสังขรณ์สมัยหลวงโยนการวิจิตร ( หมองปันโหย่ อุปโยคิน ) พ . ศ . ๒๔๕๑ แต่การจะขุดค้นและขุดแต่งศึกษาทางโบราณคดี ได้พบหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งบ่งบอกถึงรูปแบบศิลปกรรมแบบดั้งเดิมของพระ เจดีย์เหลี่ยม นั่นก็คือลวดลายปูนปั้นที่เป็นส่วนประดับกรอบซุ้มมีลดลานปูนปั้นประเภทลาย ช่อกระหนกแบบเฉพาะของล้านนา รวมทั้งหลักฐานทางด้านประติมากรรมได้แก่ ชิ้นส่วนประพักตร์ของพระพุทธรูปปูนปั้น และพระพุทธรูปในซุ้มจระนำด้านตะวันออกของพระเจดีย์เหลี่ยม ซึ่งเป็นองค์เดียวที่มีเค้าพระพักตร์คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปที่ประดิษฐานใน ซุ้มจระนำเจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี
จากหลักฐานที่ได้จากการขุดค้น และขุดแต่ง ทำให้ทราบถึงข้อมูลทางวิชาการหลายประการ ดังต่อไปนี้
๑ . ลำดับการก่อสร้างลานประทักษิณและกำแพงแก้ว ครั้นตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน น่าจะมีการก่อสร้างมาแล้ว ๗ ครั้งการก่อสร้างในครั้งแรกนั้นอยู่ต่ำจากพื้นปัจจุบันประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตร ในการก่อสร้างครั้งที่ ๑ และ ๒ นั้น ขอบเขตของลานกำแพงแก้วและลานประทักษิณ ยังไม่ค่อยมีความชัดเจนนัก จนถึงการก่อสร้างครั้งที่ ๓ การก่อสร้างชัดเจนขึ้น คือ พบหลักฐานนี้เป็นความกว้างของลานประทักษิณประมาณ ๓๒๐ เซนติเมตร การก่อสร้างครั้งที่ ๔ ความกว้างของลานประทักษิณประมาณ ๒๔๐ เซนติเมตร และการก่อสร้างครั้งที่ ๕ ลานประทักษิณกว้าง ๒๑๐ เซนติเมตร และการก่อสร้างครั้งที่ ๖ ( ก่อนปัจจุบัน ) กว้าง ๑๗๐ เซนติเมตร จะสังเกตว่าตั้งแต่การก่อสร้างครั้งที่ ๓ - ๖ ความกว้างของลานประทักษิณจะแคบลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งในสมัยปัจจุบัน กว้างประมาณ ๓๔๐ เซนติเมตร มีความกว้างใกล้เคียงกับชั้นที่ ๓