พระพุทธเจ้า คือผู้ที่เป็นศาสดาเอกในพุทธศาสนา แบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็น 3 ประเภท
1.ปัญญาพุทธเจ้า (ปัญญาธิกะ) คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ
ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย
หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย รวมเป็น 16 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์
ได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้งแรก เหลืออีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย
และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
2. ศรัทธาพุทธเจ้า (สัทธาธิกะ) คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32
อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
3. วิริยะพุทธเจ้า (วิริยาธิกะ) คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากับล์
คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย รวมเป็น 64
อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก เหลืออีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ มีพระนามว่า พระศรีศากยมนีโคดมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างบารมีมาทาง ปัญญาพุทธเจ้า
พระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่ปรารถนาเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาเลย เรียกว่า อนิยตะโพธิสัตว์ ความหมายคือยังไม่แน่นอนว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอาจจะเลิกล้มความปรารถนาเมื่อไรก็ได้
2.พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว เรียกว่า นิยตะโพธิสัตว์
ตามความหมายคือจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน เพราะถ้าถึงนิพพานต้องดำรงค์ฐานะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว
แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าจะพยายามปฏิบัติอย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยียมยอด ก็ไม่สามารถถึงนิพพานก่อนได้
แม้จะทุกข์ท้อแท้ จนคิดว่าเลิกที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย
ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์
จากบทความข้างบน ผู้อ่านคงได้อ่านคำว่า อสงไขย และ กัป มาแล้ว ผู้เขียนจะอธิบายสั้นๆ ให้ทราบดังนี้
- กัป เป็นหน่วยวัดเวลา ในเชิงประมาณ คือ เมื่อโลกมนุษย์ปราฏกขึ้นหรือบังเกิดขึ้น จนพังสูญหายไป 1 ครั้งเรียกว่า 1 กัป
- อสงไขย เป็นหน่วยวัดเวลา ที่มากกว่ากัป คือจำนวณกัป ที่นับไม่ถ้วน เท่ากับ 1 อสงไขย
*** ตามที่เคยคำนวณมา 1 อสงไขย เท่ากับ จำนวน กัป ที่เอาเลข 1 ตามด้วย เลข 0 ถึง 140 ตัว
- ต่อไปคำว่า สูญกัป หมายถึงกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น
สำหรับพระโพธิสัตว์ ที่ยังเป็น อนิยตะโพธิสัตว์ ที่สร้างบารมีสมบูรณ์แล้ว จะได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก ต่อพระพักตร์พุทธเจ้า ต้องมีธรรมสโมธาน 8 ประการสมบูรณ์ จึงได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นองค์พระพุทธเจ้า ทรงนามว่าอย่างนั้น ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น ก็กลายเป็น นิยตะโพธิสตว์ ทันที คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้
ธรรมสโมธาน 8 ประการคือ
1. ได้เกิดเป็นมนุษย์
2. เป็นบุรุษเพศ ไม่เป็นกระเทย
3. มีอุปนิสสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน(ถ้าเกิดเปลียนใจก็จะเป็นพระอรหันต์ทันที)
4. ต้องพบพระพุทธเจ้าขณะมีพระชนชีพอยู่ และได้สร้างกองบุญกุศลต่อพระพักตร์
5. ต้องเป็นบรรพชิต หรือต้องเป็น โยคี ฤาษี ดาบส หรือปริพาชก ที่มีลัทธิเชื่อว่า บุญมี บาปมี ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ต้องไม่เป็นคฤหัสผู้ครองเรือน
6. ต้องมีอภิญญาและฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญ
7. เคยให้ชีวิตของตนเป็นทาน เพื่อสัมโพธิญาณมาก่อนในอดีดชาติ
8. ต้องมี ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพุทธภูมิเป็นกำลัง
กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตะโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการ คือ
1. อุสสาโห คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง
2. อุมัตโต คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม
3. อวัตถานัง คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน
4. หิตจริยา คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจรีญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ
อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตะโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี 6 ประการ
1. เนกขัม พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา
2. วิเวก พอใจอยู่ในที่สงบ
3. อโลภ พอใจในการบริจาคทาน
4. อโทส พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา
5. อโมห พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา
6. นิพพาน พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง
บารมี 30 ทัส
กล่าวถึงบารมี 10 ทัสก่อน มี ดังนี้
1. ทานบารมี คือการให้ทาน ทำบุญ บริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ หรือบริจาค สัตว์ 2 เท้า หรือ 4 เท้า หรือไม่มีเท้า
2. ศีลบารมี คือาการรักษาศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 227 ข้อ
3. เนกขัมบารมี คือการออกบวช เป็นพระ หรือเป็นฤาษี เป็นโยคี เป็นพราหมณ์ คือเป็นผู้ไม่ครองเรื่อน ถือศีล 8 ขึ้นไป
4. ปัญญาบารมี คือสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ และปัญญาทางธรรมมะให้เพิ่มขึ้น
5. วิริยะบารมี คือมีความขยันหมั่นเพียร กระทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ ทั้งในทางธรรมะจนกระทั้งสำเร็จ
6. ขันติบารมี คือมีความอดทนต่ออารมณ์อันไม่พอใจ ต่องานการ ต่อการปฏิบัติธรรม และต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวย
7. สัจจะบารมี คือการพูดความจริง ที่ประกอบไปด้วยความดี ตามกาล และทำตามที่กล่าวไว้
8. อธิษฐานบารมี คือตังจิตอธิษฐาน เมื่อสร้างบุญกุศล ในสิ่งที่ปารถนาที่เป็นคุณงามความดี
9. เมตตาบารมี คือมีใจเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายเสมอเหมือนกัน
10. อุเบกขาบารมี คือมีใจเป็นอุเบกขา ต่อความสุข ความทุกข์ ที่เกิดขึ้น
บารมี ทั้ง 10 สามารถแตกเป็น 3 ระดับ คือ
1. บารมี ธรรมดาทั่วไป
2. อุปบารมี บารมีอย่างกลางแลกด้วย ปัจจัยภายนอกจนหมดสิ้น
3. ปรมัตถบารมี บารมีอย่างยิ่งแลกด้วยชีวิต
เมื่อแบ่งเป็น 3 ระดับ ก็จะกลายเป็นบารมี 30 ทัส
อานิสงส์ บารมี 30 ทัส ของพระนิยตะโพธิสัตว์
พระนิยตะโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงส์ 18 อย่าง ตลอดจนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่
1. เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด
2. ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด
3. ไม่เป็นคนบ้า
4. ไม่เป็นคนใบ้
5. ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย
6. ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน
7. ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤาษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)
8. ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ
9. ไม่เป็นสตรีเพศ
10. ไม่ทำอนันตริยกรรม
11. ไม่เป็นโรคเรื้อน
12 เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
13. ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย
14. ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก
15. ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร
16. เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก(พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม( มีแต่รูปอย่างเดียว)
17. ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก
18. ไม่เกิดในจักรวาลอื่น
อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวายสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ(ตายจากการเป็นเทพ)มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้