KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 คืออะไร สำคัญอย่างไรรู้ดีกว่าพระพุทธเจ้าได้ไหม
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ดีกว่าพระพุทธเจ้าได้ไหม  (อ่าน 14830 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 23, 2008, 03:23:17 PM »

รู้ดีกว่าพระพุทธเจ้าได้ไหม

กรณีเฉพาะตนของ ? JJ
อาชีพ ? เจ้าของ production house เล็กๆ
ลักษณะงานที่ทำ ? บริหารจัดการ ดูแลงบประมาณ ถ่ายทำ เขียนสคริปต์ ควบคุมการตัดต่อ

คำถามแรก ? เคยทำสมาธิ แต่รู้สึกว่ายังทุกข์อยู่มาก ฟุ้งซ่านบ่อย บางครั้งถึงขั้นเป็นไมเกรน จึงเปลี่ยนมาตามดูกายใจแทน รู้สึกว่าดีขึ้นนะคะ ทุกข์น้อยลง มีสติมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นทุกข์อยู่กับความยึดติดอาลัยคนที่เขาไม่อาลัยเรา จะแก้ไขให้หายขาดได้ยังไงคะ?

ถ้าคุณตัดอาลัยได้ชนิด ?หายขาด? ก็แปลว่าเป็นพระอรหันต์แล้วครับ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายยังติดอยู่กับโลก ไม่อาจหลุดพ้นไปได้ ก็เพราะยังอาลัยสัมผัสทางกามคุณ หรืออย่างดีที่สุดก็อาลัยในรสทางสมาธิจิตชั้นสูง สรุปโดยรวมก็คือ ที่เรายังทุกข์ก็เพราะอาลัยสุขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั่นเอง

นิพพานได้ชื่อว่า ?อนาลัย? เพราะจิตของผู้ถึงนิพพานหมดความอาลัยแล้ว จึงบรรลุแจ้งว่ายังมีบรมสุขที่แท้จริงอยู่ และบรมสุขนั้นพ้นไปจากทุกรสที่เราเคยรู้จัก สมดังที่พระบรมศาสดาตรัสว่าเป็นรสอันเหนือรสทั้งปวง

ถ้าตัดขาดความอาลัยว่ากายใจเป็นตัวตนได้ เรียกว่าโสดาบัน และถ้าตัดขาดความอาลัยว่ามีตัวเราได้เด็ดขาดก็เรียกว่าเป็นอรหันต์ ความต่างระหว่างสองระดับนี้ก็คือ แม้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว ในคัมภีร์ก็ยังมีบันทึกไว้ว่าอาจร้องไห้อาลัยหลานสุดที่รักได้ จะมีก็แต่พระอรหันต์เท่านั้น ที่ขนาดพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นยิ่งกว่าพ่อดับขันธปรินิพพาน ก็ไม่ทุกข์ร้อนกับสภาพธรรมที่แตกดับเป็นธรรมดา นอกจากจะไม่ร้องไห้แล้ว จิตยังผ่องแผ้วพิสุทธิ์เหนือมนุษย์และเทวดา คงเส้นคงวาดังเดิม

ฉะนั้น ถ้าคุณยังรู้ตัวว่าไม่ใช่พระอรหันต์ ก็อย่าไปคาดหวังให้ตัวเองตัดอาลัยได้เด็ดขาดเลยครับ ถึงไม่ใช่เขาคนนั้น ก็ต้องเป็นคนอื่น หรือสิ่งอื่นอยู่ดี เขาคนนั้นแค่เป็นเหยื่อล่อให้ยึดติดชิ้นล่าสุด แต่ก็อาจเป็นเหยื่อล่อที่มีค่ายิ่ง เพราะเขาจากไปในขณะที่คุณเจริญสติอยู่

การเจริญสติตามรู้ตามดูกายใจของตนเองนั้น บางทีทำๆไปแม้ลืมจุดมุ่งหมาย แต่หากปฏิบัติอย่างถูกต้องแล้ว ผลย่อมเกิดอย่างถูกต้องเช่นกัน นั่นคือความอาลัย ความยึดติดถือมั่นว่ากายใจเป็นเรา จะเบาบางลงตามลำดับ

พูดง่ายๆคือแม้ไม่ตั้งความปรารถนาไว้ว่าเรา จงหายอาลัย หายยึดติด หายทุกข์ คุณก็จะหมดความอาลัย หมดความยึดติด และเป็นสุขเต็มอิ่มอย่างสมบูรณ์ไปเอง

ในช่วงที่ยังเศร้า ยังอาลัย ยังเป็นทุกข์อยู่มาก ก็ให้พิจารณาว่านี่เป็นเรื่องของใจ ไม่ใช่เรื่องของกาย เพราะฉะนั้นก็หมั่นเน้นดูใจให้มาก เศร้าก็ให้รู้ว่า เศร้า อาลัยก็ให้รู้ว่าอาลัย เป็นทุกข์อยู่มากก็ให้รู้ว่าเป็นทุกข์อยู่มาก ไม่หายขาดก็รู้ว่าไม่หายขาด จะกี่เดือนกี่ปี ทุกภาวะก็มีประโยชน์ทั้งนั้น ขออย่างเดียวคือรู้ภาวะนั้นให้ได้ทันกันสดๆขณะเกิดขึ้นเถอะ

อาการทางจิตของคนเพิ่งเสียความรักนี่นะครับ จะคล้ายกันหมด คืออยู่ในสภาพเหมือนจมน้ำ นึกออกไหม? ถ้าเราหัวใจฟองฟู จะรู้สึกเบาๆลอยๆจนเกิดมโนภาพคล้ายปลิดปลิวขึ้นไปในอากาศ แต่ถ้าหัวใจเราแฟบฟุบ จะรู้สึกหนักๆจมๆจนเกิดมโนภาพคล้ายจมน้ำนั่นเอง

ถ้าจับจุดสังเกตไว้อย่างนี้ เห็นถนัด เห็นชัดทุกครั้งที่ ?เริ่ม? เกิดอาการจม คุณจะเปลี่ยนจากปล่อยตัวให้จมแบบเลยตามเลย มาเป็นสนุกกับการเห็นอาการ ?จมไม่จริง? คือเกิดภาวะคล้ายทำท่าจะจมครู่หนึ่งสั้นๆ แล้วเปลี่ยนเป็นมีสติลอยตัวโผล่ขึ้นพ้นน้ำ ยิ่งฝึกดูบ่อยเท่าไร ก็จะยิ่งเห็นชัดขึ้นเท่านั้น

ถ้าไม่ฝึก แต่กลับปล่อยใจให้ถลำลึก ก็จะเกิดอาการตามใจตนเองร่ำไป เช่น อยากเห็นหน้าเขาก็เดินเฉียดไปใกล้ อยากพูดคุยกับเขาก็อ้างเรื่องงาน แบบนี้ก็ต้องบอกตัวเองนะครับว่าคงไม่ต่างจากคนติดเหล้า อุตส่าห์เข้าคอร์สเอาชนะโรคพิษสุราเรื้อรังจวนสำเร็จแล้ว ก็ยังอุตส่าห์สมัครใจเดินไปซื้อมากินอีก

คำถามที่สอง ? เพื่อนๆและพี่ๆของดิฉันพากันไปปฏิบัติธรรมกับสำนักหนึ่ง ซึ่งเน้นบริจาค เน้นสมาธิสร้างนิมิตหลอก แรกๆดิฉันไปด้วยก็พอรับได้ แต่หลังๆ เขาพยายามบอกว่า ครูบาอาจารย์ของเขาตรัสรู้ธรรมได้ลึกซึ้งกว่าพระพุทธเจ้า และไม่สอนให้ไปนิพพาน แต่จะสอนให้อธิษฐานไปถึงที่สุดแห่งธรรม กับทั้งสำทับว่าหากทำบุญกับครูบาอาจารย์ของเขา จะได้บุญมากกว่าทำบุญกับพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์รวมกัน จึงควรทุ่มให้สุดตัว คำสอนเหล่านั้นเป็นจริงหรือเปล่าค่ะ? ถ้าไม่จริงจะบอกเพื่อนๆพี่ๆอย่างไรดี?

ขอตอบเป็นกลางๆนะครับ ปัจจุบันมีเจ้าสำนักหลายแห่งที่อ้างอย่างนี้ และพระพุทธเจ้าท่านสิ้นพระชนม์ไปนานหลายพันปีแล้ว คงลุกขึ้นมาพิสูจน์ให้เห็นดำเห็นแดงกับเจ้าลัทธิรุ่นหลังไม่ได้ และพวกเราก็ได้แต่ถือเอาตัวแทนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักในการตั้งสติ ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อเขาดี

การเป็นพระพุทธเจ้านั้น มีความหมายว่ารู้ทางพ้นทุกข์ทางใจแล้ว และตอบคำถามได้ทุกเรื่องอย่างถูกต้องหมดจด ไม่ว่าจะเป็นความจริงที่เกี่ยวกับคน โลก จักรวาล อดีต อนาคต ฯลฯ

หลักฐานมีอยู่ในพระคัมภีร์คือพระพุทธเจ้า ท่านตรัสตอบคำถามได้ตรงตามจริง วิทยาการปัจจุบันก็ช่วยยืนยันได้ เช่น กำเนิดของมนุษย์ขณะอยู่ในครรภ์มารดา ท่านสาธยายในแต่ละระยะของตัวอ่อนว่าเป็นอย่างไรได้ยิ่งกว่าใช้อัลตร้าซาวด์ ตรวจเสียอีก

ฉะนั้น ถ้าใครอ้างว่าตรัสรู้ได้ลึกซึ้งกว่าพระพุทธเจ้า ก็ลองสังเกตไปนานๆว่าเขาหมดกิเลส หมดทุกข์หมดร้อนแล้วหรือยัง ธรรมดาคนที่อ้างว่าหมดกิเลสหมดทุกข์แล้วนี่นะครับ ถ้าเป็นของเก๊ เดี๋ยวจะมีเรื่องบีบให้สำแดงกิเลส สำแดงอาการเป็นทุกข์สาหัสออกมาเอง

และถ้าเขาอ้างว่าเขารู้มากกว่าพระพุทธเจ้า ก็ลองกล้าๆถามหน่อย ถามตั้งแต่เงินในกระเป๋าหนูมีอยู่เท่าไร ไปจนกระทั่งเรื่องลึกซึ้งระดับอะตอมและดวงดาว ถ้าเขาตอบถูก อย่างมากก็เก่งได้แค่เท่าพระพุทธเจ้า ไม่มีทางที่จะเหนือไปกว่านั้น

ความเชื่ออันเกิดจากกการคล้อยตามกันของคน หมู่ใหญ่ เป็นอะไรที่แก้ยากครับ ลำพังคุณคนเดียว ถ้าจะงัดข้อกับเพื่อนๆและพี่ๆแล้ว ก็อาจเหมือนไม้ซีกพยายามไปงัดไม้ซุง

ค่อยๆพูดในส่วนที่ถูก ค่อยๆพูดในส่วนที่เราทำได้ดีแล้ว ประจักษ์ผลแล้ว ให้พวกเขาฟังทีละคน อย่าพูดทีเดียวกับทั้งกลุ่ม ถ้าเขาฟังก็ดีไป จะได้หลุดจากความเชื่อเพี้ยนๆ ไม่ต้องก่อมโนทุจริตกับบุคคลระดับพระพุทธเจ้า แต่ถ้าไม่ฟังก็ต้องคิดว่าเป็นกรรมที่เขาทำมาร่วมกัน เรามีหน้าที่เพียงเข้าใจเหตุและผลของกรรมด้วยใจที่เป็นกลางวางเฉยครับ

ขอขอบคุณพี่ ดังตฤน ครับผม จากเว็บ http://dungtrin.com/mag
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:54:48 PM »

แหะ แหะ

เอ้อ  ละหนอ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: