ตำนานที่มาของการบวชนาคครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีนาคผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาปลอมตัวเป็นมนุษย์เข้ามาบวช
ได้อยู่ร่วมกินนอนศึกษาพระธรรม ดื่มด่ำคำสอน กับภิกษุสงฆ์ทั่ว ๆ ไป เหตุการณ์ก็ได้ดำเนินไปอย่างปกติสุข ...
จน อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่นอนหลับใหล อยู่นั้น ได้เผลอตัวเผลอกายกลับคืนสู่ร่างนาคดังเดิม ยังความแตกตื่นสับสบอลหม่าน ตกใจกลัวให้แก่พระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ร้อนความถึงพระพุทธเจ้าต้องมาเจรจากับนาคว่า
ผู้ที่มาบวชในศาสนาของเราสงวนไว้สำหรับมนุษย์เท่านั้น ขอท่านพึงกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนของท่านเถิด
นาคก็รับคำแต่ขอให้พวกตนได้มีส่วนร่วมอยู่เป็นส่วนหนึ่งในพระพุทธศาสนาของพระองค์ด้ว
ย
ดังนั้น จึงได้ปรากฎมีประเพณีการบวชนาคก่อนที่จะอุปสมบทบรรพชามาเป็นพระภิกษุจนถึงกาลปัจจุบั
น
อนึ่ง ... ในพิธีการบวชนั้น พระอุปัชฌาย์จะต้องถามผู้ที่จะบรรพชาก่อนเสมอว่า
“ มนุสฺโสสิ ” ( มะนุดโซว ซิ๊ ... ทำนองวัดป่าอีสาน ) แปลว่า เจ้าเป็นมนุษย์หรือ
และผู้บวชต้องรับว่า “ อามะ ภันเต ” ขอรับ เจ้าข้า ...
การบวชนาคการบวช หมายถึงการงดเว้นจากสิ่งที่ควรงดเว้นคือการเว้นจากกิจการบ้านเรือนมาบวชเป็นพระเพื่อ
บำเพ็ญเพียรทางพระศาสนาซึ่งมี การสวดมนต์ ภาวนา เป็นต้น การบวชนั้นถ้าเป็นสามเณรเรียกว่าบรรพชา ถ้าเป็นพระภิกษุเรียกว่าอุปสมบท
นาค หมายถึง คนที่จะบวชเขาเรียกว่านาค นาคนั้นแปลว่าผู้ประเสริฐหรือผู้ที่ไม่ทำบาป เหตุที่ได้ชื่อว่านาคเรื่องเดิมมีอยู่ว่าพญานาคแปลงตัวมาเป็นมนุษย์มาบวชใน พระพุทธศา
สนา เวลานอนหลับกลับเพศเป็นนาคตามเดิมวันหนึ่งภิกษุนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระพุทธเจ้าพระ
องค์ ตรัสเรียกนาคตนนั้นมาถามแล้วได้ความว่าเป็นเรื่องจริงจึงสั่งให้สึกเสีย พญานาคมีความอาลัยในเพศบรรพชิตจึงกราบทูลขอฝากชื่อนาคไว้ ถ้าผู้ใดจะมาบวชขอให้เรียกชื่อว่านาค คำว่านาคจึงเป็นชื่อเรียกผู้จะมาบวชจนถึงทุกวันนี้
การประเคนนาค เมื่อบุตรหลานมีอายุครบพอที่จะบวช เป็นพระหรือเณรพ่อกับแม่จะนำไปฝากไว้กับเจ้าอาวาสวัดก่อนบวชเพื่อให้บุตร หลานของท่าน
ได้ศึกษาเล่าเรียนและ ท่องบทขานนาค เรียนหนังสือธรรม การนำลูกหลานไปฝากไว้กับเจ้าอาวาสวัดเขาจะจัดดอกไม้ธูปเทียนใส่ขันนำตัวนาค ไป เมื่อพระท่านรับขันแล้วก็จะมีการตีโปงหรือระฆังให้ชาวบ้านได้อนุโมทนาสาธุ เรียกว่าการประเคนนาค
การปล่อยนาค เมื่อจะถึงวันบวชนาคจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปลาญาติพี่น้อง เพื่อขอขมาลาโทษผู้หลักผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือและไปสั่งลาชู้สาวถ้ามี หากมีหนี้สินติดตัวก็รีบชำระเพื่อที่จะได้เป็นคนบริสุทธิ์ การปล่อยนาคมีกำหนดได้ 3 วันเพื่อให้นาคได้มีโอกาสเวลาบวชจะได้ตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญกุศลต่อไป
กองบวช เครื่องที่จะนำมาใช้เป็นกองบวชได้แก่บริขาร 8 มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าสังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็ม ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ถ้าทำพร้อมกันหลายกองให้ขนมารวมกันที่วัด ตอนค่ำสวดมนต์ เสร็จแล้วบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแด่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ถ้าบวชในบ้านของตนเอง ตอนค่ำจะนิมนต์พระไปสวดที่บ้าน ตอนเช้าเลี้ยงพระแล้วแห่กองบวชมารวมกันที่ศาลาวัดกองบวชจะใช้เตียงหามออกมา เตียงที่ใช้เป็นเตียงนอนของพระบวชใหม่ ก่อนจะสู่ขวัญนาคต้องบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแด่ญาติผู้ตาย
การแห่นาค การแห่นาคทำตามศรัทธาของเจ้าภาพส่วนใหญ่ถ้าเป็นในเขตของภาคอีสาน การแห่นาคจะใช้พาหนะในการแห่คือรถ นาคทุกคนต้องโกนผม โกนคิ้ว นุ่งเสื้อผ้าให้เรียบร้อย ถ้าตั้งกองบวชที่บ้าน ให้แห่กองบวชมารวมกันที่วัดเมื่อพร้อมกันแล้วก็แห่รอบศาลาอีครั้งหนึ่ง
การสู่ขวัญนาค เมื่อแห่รอบศาลานาคทุกคนเตรียมเข้าพาขวัญ ญาติพี่น้องนั่งห้อมล้อมพาขวัญพราหมณ์เริ่มทำพิธีสู่ขวัญเสร็จแล้วผูกแขนนาค นำเข้าพิ
ธีบวชต่อไป
การบวชนาค ในประเพณีการบวชของชาวบ้านเชียงหวางเวลาบวชนาคหรือเวลาพานาคเข้าโบสถ์พ่อจะจูงมือซ้า
ย แม่จะจูงมือขวา ถ้าไม่มีพ่อแม่จะให้ญาติเป็นผู้จูงถึงภายในโบสถ์แล้วนาคจะนำดอกไม้ธุปเทียนไปบูชาพระ
พ่อกับแม่จะยกผ้าไตรส่งให้นาค ก่อนจะรับผ้าไตรนาคต้องกราบพ่อกับแม่ก่อน แล้วเดินอุ้มผ้าไตรเดินคุกเข่าประนมมือเข้าไปท่ามกลางพระสงฆ์ กล่าวคำขอบรรพชาแล้วออกมาครองผ้าแล้วเข้าไปขอศีลกับพระอาจารย์ หลังจากนั้นอุ้มบาตรเข้าหาพระอุปัชฌาย์กล่าวคำขอนิสัย เมื่อท่านเอาบาตรคล้องคอแล้วมอบบาตรจีวรให้ ตอนนี้พระอาจารย์คู่สวดมนต์จะสมมุติตนเป็นผู้สอนและซักซ้อมนาค แล้วออกไปซักซ้อมนาคพอถารมแล้วก็เรียกนาคเข้ามาถามต่อหน้าพระสงฆ์ พระอุปัชฌาย์ ทำหน้าที่บอกเล่าสงฆ์ พอถามเสร็จแล้วก็สวดญัตติ
การบอกอนุศาสน์ คือการบอกกิจที่ควรทำและไม่ควรทำ
การกรวดน้ำ เมื่อเสร็จสิ้นจากการบวชแล้วต่อจากนั้นพระที่บวชใหม่จะนำจตุปัจจัยไปถวายพระอุปัชฌาย์
การกรวดน้ำในพิธีนี้ถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลแด่ญาติที่ล่วงลับไปแล้วเป็นการเสร็จพิธีของการบวช
การลาสิกขา ผู้ที่จะลาสิกขาจะต้องมีการเตรียมดอกไม้ธูปเทียนไปทำวัตรพระอุปัชฌาย์อาจารย์เมื่อถึงวันกำหนดแล้วให้จัดสถานที่นิมนต์พระสงฆ์มาพร้อมกันพระภิกษุจะลาสิกขาต้องแสดงอาบัติ
เสียก่อนแล้วว่านโม3 จบหลังจากนั้นพระเถระจะชักผ้าสังฆาติออกจึงออกไปเปลืองผ้าเหลืองนุ่งผ้าขาวเข้ามา
กล่าวคำขอสรณคมณ์และศีล 5 แล้วกล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามะกะส่วนการลาสิกขาของสามเณรไม่มีคงอนุโลมตามอย่างพระภิกษุบวชนาค
ภาคเช้าเข้าอุโบสถนาคเครื่องอุปชายะ
- อุ้มผ้าไตรประนมมือเปล่าวาจาขอบบรรพชา
- พระอุปชายะรับผ้าไตร
- เปล่งคำขอบรรพชาต่อไป
- พระอุปัชฌายะ
- ชักอังสะออกจากผ้าไตยแล้วสวมให้ผู้บวช
- ให้ผู้ออกไปครองผ้าให้ครบไตย เสร็จก็รับเครื่องไทยทานไปถวายพระอาจารย์ กราบ3 ประนมมือเปล่าวาจาขอสรรณะและศีล
- เมื่อกล่าวขอเป็นสามเณรสำเร็จสมาทานสิกขาบท เสร็จแล้วก็รับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย กราบ 9 หนยืนประณมมือกล่าวคำขอนิสัย
- จากนั้นพระอุปัชฌายะทั้ง 6 บอกให้ออกไปข้างนอก แล้วพระอุปัชฌายะจะถาม (อันตรายิกรรม) ผู้บวชพึงรับว่าอัตถิ ภันเต 5 หน อามะภันเต 3 หน
- กลับเข้ามากราบพระอุปัชฌายะ 3 หน แล้วนั่งคุกเข่าเปล่งวาจาขออุปสมบท
- ในขณะ พระอุปัชฌายะกล่าวเผดียงสงฆ์ และสวดสมมติตนถามอันตรายิกรรม จากนั้นนั่งฟังท่านสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบพอจบท่านจะเอาบาตรออกจากตัว พึงกราบลง 3 หน แล้วนั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌายะบอกอนุฅศาสน์ไปจนจบ แล้วกล่าวรับจากนั้นก็ถวายไทยทานรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีทั้งหมด
ขั้นตอนและพิธีการ บวชนาค
ภาคเช้า- ประกอบกิจกรรมทางสงฆ์
- เตรียมน้ำสำหรับสงฆ์น้ำพระ
- บูชาผ้าสบงสำหรับสงฆ์น้ำพระ
ภาคบ่าย- เริ่มพิธีสงฆ์น้ำพระ
- กล่าวคำขอสงฆ์น้ำพระ
- ประชาชนเริ่มการสงฆ์น้ำพระ
- ถวายผ้าสบง
- ชักบังสกุลเขิน
- รับศีลรับพร(เป็นอันเสร็จพิธี)
ขอบพระคุณข้อมูลจาก :
http://citecclub.org/forum/lofiversion/index.php?t23878.html