KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไรสมาธิ มีประโยชน์ยอดเยี่ยม
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิ มีประโยชน์ยอดเยี่ยม  (อ่าน 24449 ครั้ง)
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2010, 04:36:43 PM »

ในกระบวนการทำสมาธิ  ในหลากหลายวิธีตามอัธยาศัย

เป็นกระบวนการ ทำใหจิต มีความเข้มแข็ง มีความมั่นคง หรือมีความตั้งมั่น

ซึ่ง กำลังของสมาธิ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบุคคล

และ สมาธิ คือฐานขั้นที่2 (ต่อจากทาน/ศีล) ของการรู้ทุกข์

และ อย่าลืมว่า เมื่อ จิตตั้งมั่น แล้ว


ยัง.....มี.......งาน.....ต่อไปรออยู่

นั่นคือ     การพิจารณา....ด้วยกำลังของจิต  ที่ฉับไว ........

จนรู้เท่าทัน   ../ จนเห็น.../จนจับ  .. ...ไตรลักษณ์ของกาย+จิตหรือของรูป/นามได้

ทำไมต้องใช้จิตจับ  เพราะ จุดวิกฤต/จุดเฉพาะ/จุดของท่ากายที่มีจิตประกอบอยู่ด้วย.......เกิดและดับ  เร็วสุดๆ


อาทิเช่น

ท่าเดินจงกรม  เมื่อกำหนดจิตลงที่ร่างกายเดิน =กาย+จิต  =รูป+นาม


ศีล      คือความสำรวมระวังในการเดิน/      สมาธิคือการที่จิตจับแน่วแน่ที่ท่าเดิน/และ.............

ถ้า จิต36ดวง+เจตสิกฝ่ายกุศล.... ทำงานร่วมกัน พอดี๊ พอดี ที่จุดหนึ่ง...เรียกว่าวิปัสนา(การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงว่า กาย/

จิตเป็นไตรลักษณ์)


แล้ว ..อริยมรรค+อริยผลจะเกิด  ขึ้น..........ได้ อย่างแน่นอน*

จงมีความเพียรอย่างยิ่งยวดเพื่อเผากิเลส


เพราะ ........เรา...........มี.......เวลาเพียง  แค่     ลมหายใจเข้า-ออกเท่านั้น ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 27, 2010, 11:28:25 PM »

มัชฌิมาปฏิปทา หรือ มรรค มีองค์ 8

มีอยู่ 3 ระดับ

คือ

*การเริ่มตั้งไข่ ที่ทาน+ศีล


**เมื่อ เริ่มเดินชำนาญขึ้น นั่น คือสมาธิ ระยะนี้  การที่จิตตั้งมั่นอยู่กับกาย  เปรียบได้กับการ เข้าใกล้ ลูกน้องระดับทส.ของอวิชชา



(เรียกว่า สังขารขันธ์  หรือ อาการที่จิต คิดเป็นเรื่องกุศล หรืออกุศล) ขณะนี้ เป็นอาการของจิตที่ไม่มีทั้ง ความคิดทั้ง 2 แบบ(อืม..)



**ทีนี้เมื่อจิตรู้เท่าทัน ลักษณะที่เรียกว่า ไตรลักษณ์  (ของชั่วแว่บหนึ่งของท่าเดิน ท่าท้องพองยุบ  ....หรือท่าใดท่าหนึ่งที่ร่างกายมีความ

เคลื่อนไหว อาจเป็นท่า พลิกมือ เคาะนิ้ว หรือถูตัว ) เรียกว่าเป็นวิปัสนา

นั่นคือที่สุดของทุกข์ (อริยมรรค -อริยผล คือทำมรรคได้สำเร็จจึงเกิดเป็นผลทันที)

ประกอบด้วย สิ่งที่เป็นจริงอันเป็นสากล 3 เรื่องที่เกิดต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว ได้แก่

          1.ความรู้ทุกข์ (กายใจเป็นไตรลักษณ์ -ได้แก่ทุกขังเมื่อกายและใจถูกความทกข์บีบ 

                      ให้ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้_= อนิจจัง 

                             และอาการทั้งทุกขัง+อนิจจังนั้น เรา ไม่สามารถควบคุมเขาได้ จึงไม่ใช่ของๆเรา เป็นเพียงเรื่องของธรรม****


                                                                 ธรรมชาติ =อนัตตา
           
         2.การละเหตุของทุกข์ หรือสมุทัย

         3. ความดับทุกข์ หรือนิโรธ

----------------------

  เกิดได้เมื่อ  จิต รู้เท่าทัน  สิ่งที่จิตมันหลอกตัวของมันเองมา        อย่าง ยาว นาน   ...เหลือเกิน


ว่า  นี่ กายนี้ คือกายของเรา




และจิต(จิต+ความคิด)นี้  คือจิตของเรา


***ถ้าหากว่า เป็น ของเรา     แล้วทำไม  เราจึง  ควบคุมอะไรไม่ได้เลย ละ***


ทั้งร่างกาย+จิต  ล้วนไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ทุกข์ สุข เฉย มีโลภ-ไม่โลภ  มีโกรธ -ไม่โกรธ มีหลง-ไม่หลง ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 27, 2010, 11:30:55 PM »

อาการที่จิตเข้าสู่ สภาวะรู้ทุกข์


จึงเรียกว่า เป็นที่สุดของ ทุกข์

จบหลักสูตร ประถมปีที่ 1


เตรียมเดินทางเข้าหลักสูตรต่อไป

 ...ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 30, 2010, 07:31:27 PM »

ข้อมูลจากท่านกอลฟรีซซ์

**ขอนำมาวางที่นี่  ด้วยความเคารพ**

ติดสมาธิ
โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


สมาธิ ว่าโดยชื่อและอาการแห่งความสงบมี ๓ ขั้น คือ

- ขณิกสมาธิ คือตั้งมั่นหรือสงบชั่วคราวแล้วถอนขึ้นมา

- อุปจารสมาธิ ท่าน ว่ารวมเฉียดๆ นานกว่าขณิกสมาธิแล้วถอนขึ้นมา จากนี้ขอแทรกทัศนะของพระป่า “ธรรมป่า” เข้าบ้างเล็กน้อย คืออุปจารสมาธินั้นเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว ไม่อยู่กับที่ถอยออกมาเล็กน้อย แล้วตามรู้เรื่องต่างๆ ตามแต่จะมาสัมผัสใจ บางครั้งก็เป็นเรื่องเกิดจากตนเองปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมา เป็นต้น

พึง ทราบว่าสมาธิประเภทมี นิมิตนี้ไม่ได้มีทุกรายไป รายที่ไม่มีก็คือเมื่อจิตสงบแล้วรวมอยู่กับที่ จะรวมนานเท่าไรก็ไม่ค่อยมีนิมิตปรากฏหรือจะเรียกง่ายๆ ก็คือ รายที่ปัญญาอบรมสมาธิ แม้สงบรวมลงแล้วจะอยู่นานหรือไม่นานก็ตามก็ไม่มีนิมิต เพราะเกี่ยวกับปัญญาแฝงอยู่ในองค์สมาธินั้น

ส่วนรายที่มีสมาธิอบรม ปัญญามักจะปรากฏนิมิตแทบทุกรายไป เพราะจิตประเภทนี้รวมลงอย่างรวดเร็วที่สุด เหมือนคนตกบ่อตกเหวไม่ระวังตัว ลงรวดเดียวก็ถึงที่พักของจิตแล้วก็ถอนออกมารู้เหตุการณ์ต่างๆ จึงปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมาขณะนั้น และก็เป็นนิสัยจริตประเภทนี้แทบทุกรายไป

- อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่ละเอียดและแน่นหนามั่นคงทั้งรวมอยู่ได้นาน มีความแนบแน่นของใจมีความมั่นคงอยู่ตลอด

สมาธิ ทุกประเภทพึงทราบว่าเป็นเครื่องหนุนปัญญาได้ตามกำลังของตน คือสมาธิอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ก็หนุนปัญญาอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดเป็นชั้นๆ ไป แล้วแต่ผู้มีปัญญาจะนำออกใช้

แต่โดยมาก จะเป็นสมาธิประเภทใดก็ตามปรากฏขึ้น ผู้ภาวนามักจะติดเพราะเป็นความสงบสุข ในขณะที่จิตรวมลงและพักอยู่ การที่จะเรียกจิตติดสมาธิหรือติดความสงบได้นั้นไม่เป็นปัญหา
ในขณะที่จิตพักรวมอยู่ จะพักอยู่นานเท่าใดก็ได้ตามขั้นของสมาธิ

ที่ สำคัญก็คือเมื่อจิตถอนขึ้นมาแล้วยังอาลัยในการพักของจิต ทั้งๆที่ตนมีความสงบพอที่จะใช้ปัญญาไตร่ตรอง และมีความสงบจนพอตัวซึ่งควรจะใช้ปัญญาอย่างเต็มที่แล้ว แต่ยังพยามอยู่ในความสงบไม่สนใจในปัญญาเลย อย่างนี้เรียกว่าติดสมาธิถอนตัวไม่ขึ้น

เพราะสมาธินี้เป็นความสุข พอที่จะให้ติดได้ถึงได้ติด คนเรามีความสุขในสมาธิก็พอใจแล้วจิตไม่ฟุ้งซ่านรำคาญ พอจิตหยั่งเข้าสู่ความรู้อันเดียวแน่วอยู่อย่างนั้น ไม่อยากออกยุ่งกับอะไรเลย ตาไม่อยากมอง หูไม่อยากฟัง มันเป็นการยุ่งรบกวนจิตใจของเราให้กระเพื่อมเปล่าๆ

เมื่อจิตได้ แน่วแน่อยู่ในสมาธินั้น อยู่สักกี่ชั่วโมงก็อยู่ได้ นี่มันติดได้อย่างนี้เอง สุดท้ายก็นึกว่าความรู้ที่เด่นๆ อยู่นี้เองจะเป็นนิพพาน อันนี้จะเป็นนิพพานจ่อกันอยู่นั้นว่าจะเป็นนิพพาน สุดท้ายมันก็เป็นสมาธิอยู่อย่างนั้นล่ะจนกระทั่งวันตายก็จะต้องเป็นสมาธิ ติดสมาธิจนกระทั่งวันตาย ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์มาฉุดมาลาก

ผมเองก็ มีหลวงปู่มั่นมาฉุดมาลากเถียงกันเสียจนตาดำตาแดง จนกระทั่งพระทั้งวัดแตกฮือกันมาอยู่เต็มใต้ถุน นี่เพราะฟังการโต้กับหลวงปู่มั่น ไม่ใช่โต้ด้วยทิฐิมานะอวดรู้อวดฉลาดนะ โต้ด้วยความที่เราก็เข้าใจว่าจริงอันดับหนึ่งของเรา ท่านก็จริงอันหนึ่งของท่าน สุดท้ายเราก็หัวแตกเพราะท่านรู้นี่ เราพูดทั้งที่กิเลสเต็มหัวใจ แต่เข้าใจว่าสมาธินี่มันจะเป็นนิพพาน แล้วสุดท้ายท่านก็มาไล่ออก

ทีแรกไปหาท่านเมื่อไร ท่านก็ถามว่า “สบายดีเหรอ สงบดีเหรอ”

“สงบดีอยู่” เราก็ว่าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ว่าอะไร พอนานๆ เข้าก็อย่างว่านั่นแหละ

หลวงปู่มั่น : “เป็นอย่างไรท่านมหาสบายดีเหรอใจ”

หลวงตาบัว : “สบายดีอยู่สงบดีอยู่”

หลวง ปู่มั่น : “ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ” ฟังซิ ทีนี้ขึ้นละนะ พลิกเปลี่ยนไปหมดสีหน้าสีตาอะไร จะเอาเต็มที่ละจะเขกเต็มที่ละ “ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ” ท่านว่า “ท่านรู้ไหมสุขในสมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหม สมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟันนั้นแหละมันสุขขนาดไหน เนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหมๆ”

นี้เราไม่ลืมนะ จากนั้นมาหลวงปู่มั่นท่านว่า “ท่านรู้ไหมว่าสมาธิทั้งแท่งนั้นล่ะคือตัวสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหมๆ” ตรงนี้มันก็ต่อยกับท่านอีก ดูซิ (ต่อยในที่นี้หมายถึงทางความคิดเห็นและทางวาจา ไม่ใช่การชกต่อย)

หลวงตาบัว : “ถ้าหากว่าสมาธิเป็นสมุทัยแล้ว สัมมาสมาธิจะให้เดินที่ไหน” นั่นเอาซิโต้ท่าน

หลวง ปู่มั่น : “มันก็ไม่ใช่สมาธิตายนอนตายอยู่อย่างนี้ซิ สมาธิของพระพุทธเจ้าคือ สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่” นั่นเห็นไหมท่านใส่เข้าไป แล้วว่า “สมาธินอนตายอยู่นี้เหรอเป็นสัมมาสมาธิน่ะ เอ้า ! พูดออกมาซิ” มันก็ยอมล่ะซิ

พอออกทางด้านปัญญาเท่านั้นมันก็รู้เรื่องรู้ ราว ฆ่ากิเลสตัวนั้นได้ตัดกิเลสตัวนี้ได้โดยลำดับๆ เกิดความตื่นเนื้อตื่นตัวขึ้นมา โธ่ ! เราอยู่ในสมาธิเรานอนตายอยู่เฉยๆ มากี่ปีกี่เดือนแล้วไม่เห็นได้เรื่องได้ราวอะไร แต่ให้มีสมาธิพอดีๆ ไว้เป็นที่พักจิตตอนเจริญปัญญานะ

ทางที่ถูกและราบรื่นของผู้ ปฏิบัติก็คือ เมื่อจิตได้รับความสงบพอเห็นทางแล้ว ต้องฝึกหัดจิตให้คิดค้นในอาการของกาย จะเป็นอาการเดียวหรือมากอาการก็ตาม ด้วยปัญญาคลี่คลายดูกายของตนเริ่มตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า ฯลฯ อาการ ๓๒ ของกาย สิ่งเหล่านี้ตามปกติเต็มไปด้วยของปฏิกูล ตายแล้วยิ่งเป็นมากขึ้นไม่ว่าสัตว์ บุคคล หญิง ชาย มีความเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ต้องเห็นอย่างนี้ เป็นอนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (คงทนอยู่ไม่ได้) อนัตตา (ไม่มีตัวตน)


:: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
:: วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2010, 10:49:31 PM »

ทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง


*มีกำลังของทาน/ศีลเป็น ฐาน

*มีกำลังของสมาธิ   ต่อยอด แบบได้บ้างไม่ได้บ้าง(เมื่อคิด=ไม่ได้  เลิกคิด=ได้)

*และท้ายสุด คือ

เมื่อจิตได้รับกำลังเสริมเต็มที่  ก็ผ่านไป ปัญญา เห็นด้วยจิตที่เป็นกลางว่า ไม่มีตัวกู(กาย) หรือของๆกู(จิต)


..ด้วยความเคารพอย่างสูง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2010, 10:57:39 PM »

*ความคิดที่เกิดขึ้น มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล

ซึ่งจัดว่าเป็นสังขารขันธุ์

อันเป็นลูกของอวิชชา คือมีอวิชชาเป็นเหตุ

เมื่อมีปัญญา เกิดขึ้น  กำลังของโพธิปักขิยธรรม 37 จะตัด/เห็น/รู้ (ในความไม่เที่ยง ไม่มี ไม่ใช่ตัวตน ) ของกอง(ขันธุ์) ทั้ง 5 (รูป/นาม)

ได้ฉับพลัน ได้แก่

1.รูปขันธุ์

2.เวทนาขันธุ์

3. สัญญาขันธุ์

4. สังขารขันธุ์(ตัวนี้ มีในปฏิจจสมุปบาท ด้วย)

5.วิญญานขันธุ์


...ด้วย   ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: