KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 คืออะไร สำคัญอย่างไรสัมปชัญญะ -โดยพระอาจารย์มานพ อุปสโม
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สัมปชัญญะ -โดยพระอาจารย์มานพ อุปสโม  (อ่าน 12401 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2008, 09:43:13 PM »

สัมปชัญญะ - คำบรรยายธรรม โดยพระอาจารย์มานพ อุปสโม

[/u]สัมปชัญญะ[/u]

พอเราเจริญสติไปสักระยะหนึ่ง จะเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า สัมปชัญญะ
สัมปชัญญะนี้ พระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้ ๔ ประการ เราจะเกิดความรู้สึก
ในการเปลี่ยนอิริยาบถ ทั้งอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อยเล็กๆ น้อยๆ
คู้ เหยียด เคลื่อนไหว ทั้งหมด เราจะเกิดความรู้สึก รู้เท่าทันทั้งหมด

(๑)
สาตถกสัมปชัญญะ
ความรู้สึกประการแรกคือ รู้ว่าการเปลี่ยน (อิริยาบถ - deedi) เป็นประโยชน์
หรือไม่เป็นประโยชน์ รู้สึกว่าสมควรไม่สมควร นั่งอยู่แล้วคิดจะลุกขึ้น
ความรู้สึกจะบอกเราโดยอัตโนมัติว่าสมควรลุกขึ้นหรือไม่สมควรลุกขึ้น
เราจะไป ความรู้สึกจะบอกเราว่าสมควรไปหรือไม่สมควรไป
เราจะนั่ง ความรู้สึกจะบอกเราว่าสมควรนั่งหรือไม่สมควรนั่ง
เราจะยืน ความรู้สึกจะบอกเราว่าสมควรยืนหรือไม่สมควรยืน
เราจะเดิน ความรู้สึกจะบอกเราว่าสมควรเดินหรือไม่สมควรเดิน
จะมีความรู้สึกมาบอกก่อน

นั่งนานเกินไป ระหว่างนั่งกับเปลี่ยนอิริยาบถ ความรู้สึกจะบอกว่า
ควรนั่งอยู่หรือไม่สมควรนั่งอยู่ ควรเปลี่ยนอิริยาบถหรือไม่ควรเปลี่ยน
อิริยาบถ จะมีเหตุผลมากำกับหมดเลยว่าควรหรือไม่ควร มาบอก
แล้วก็จะเลือกเอาแต่ส่วนที่ควร ส่วนที่ไม่ควรก็ไม่เอา

การจะไป สมควรไปหรือไม่สมควรไป นั่งฟังธรรมบรรยาย กำลังเจริญสติอยู่
จิตก็คิดอยากจะไปข้างนอก ความรู้สึกก็บอกว่าสมควรไปหรือไม่สมควรไป
ไปแล้วจะเกิดประโยชน์หรือไม่เกิดประโยชน์ ถ้าไปแล้วเกิดประโยชน์
เรียกว่าสมควรไป ถ้าไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ เสียประโยชน์ เรียกว่าไม่สมควร

ก็เกิดได้เวลาอาหารพอดี ? จิตก็คิดจะไปรับประทานอาหาร
แต่ว่าพระท่านยังบรรยายไม่จบ ? แต่เวลาอาหารมาแล้ว เราคิดจะไป
รับประทานอาหาร ความรู้สึกจะบอกว่าสมควรหรือไม่สมควรไป
ไปแล้วเกิดประโยชน์หรือสูญเสียประโยชน์
ถ้าไปแล้วเกิดประโยชน์ก็สมควรไป ถ้าไปแล้วสูญเสียประโยชน์
ก็ไม่ควรไป จะเลือกลักษณะนี้

คราวนี้ ถ้าเกิดกายของเราหิวมาก ไม่ได้รับประทานอาหารมาตั้งแต่โน่น
เมื่อวาน มาถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับประทานอาหาร ท่านก็พูดไม่ยอมหยุด
อาหารก็มาแล้ว เดี๋ยวก็จะอดอีก เราสมาทานไว้แค่ครึ่งวันเท่านั้นเอง
ตอนบ่ายไม่มีแล้ว ถ้าเราไปรับประทานอาหารตอนนี้ กายก็จะมีกำลังวังชา
ทุกขเวทนาที่เกิดอย่างแรงกล้าก็จะดับไป เวทนาดับไปจิตของเราก็จะ
เกิดอาการสดชื่น ผ่องใส แล้วก็พร้อมที่จะเจริญสติต่อไป
แบบนี้ไปแล้วเกิดประโยชน์ สมควรไป

คราวนี้เวลายังมีอยู่ เราก็อยากจะไปตามประสาของเรา ได้เวลาก็อยากจะไป
คนมาก็อยากหันไปดู อยากจะดูว่าเขาคือใคร อยากจะคุยกับเขา
จิตก็พิจารณา ถ้าไปแล้วสูญเสียประโยชน์ ไม่ไป ที่จริงนั่งอยู่นี่สัญชาตญาณ
ของคนเรามีคนเดินมาเราอยากจะดู เชื่อมั้ย อยากจะรู้ว่าใครมา
อยากจะรู้ว่ามาทำไม เห็นเขาคุยกันเลยอยากจะรู้ว่าเขาคุยกันเรื่องอะไรอีก
เคยมั้ย เคยคิดแบบนี้มั้ย เขามานี่ไม่ได้มาหาเราหรอก มาหาอีกคนหนึ่ง
แต่เราอยากรู้ว่าใคร อยากจะรู้ว่ามาทำไม เห็นเขาคุยกันอยากจะรู้ว่า
เขาคุยกันเรื่องอะไร ทั้งๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับเราเลย

จิตก็คิดจะไป สัมปชัญญะก็จะบอกเราว่าสมควรไปหรือไม่สมควรไป
เกี่ยวข้องกับตัวเราหรือไม่เกี่ยวข้องกับตัวเรา ไปแล้วได้รับประโยชน์หรือ
ไม่ได้รับประโยชน์ ถ้าไปแล้วการเจริญสติของเราจะต้องขาดหายไป
ไปแล้วไปเจอหน้าเขา พบเขา ได้ยินเรื่องของเขา อาจจะกล่าวเรื่องไม่ดี
ทำให้ใจเราเดือดร้อน ไปแล้วไม่สมควรไป ไม่ไป แบบนี้ไม่ไป
เลือกเอาไม่ไป

ท่านแสดงไว้กับพระว่า เขามีงานประเพณีไหว้พระเจดีย์ จัดงาน
ไหว้พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ คนเขาก็ต้องการจะไปกราบไหว้
เอาบุญเอากุศล จิตเราก็คิดอยากจะไป คราวนี้การไปไหว้พระเจดีย์
ไปในวันนักขัตฤกษ์ วันมีงาน คนไปกันเยอะ แต่งตัวหลายหลาก
มีทั้งผู้หญิงผู้ชาย มีทั้งอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เราคิดจะไปกับเขาด้วย
แต่ไปแล้วเราก็จะไปประสบกับอิฏฐารมณ์ จิตเราก็จะมีความกำหนัดยินดี
พอไปกระทบกับอนิฏฐารมณ์ จิตก็จะขัดเคือง สัมปชัญญะจะเข้าไป
ทำหน้าที่ตัดสิน รู้สึกตัวทั่วพร้อมว่าสมควรไปหรือไม่สมควรไป
ไปแล้วทำให้อกุศลเกิด ไม่สมควรไป ถ้าไปแล้วกุศลเกิด เจริญก้าวหน้า
สมควรไป ลักษณะนี้ไม่ไป

แต่เขาจัดงานแสดงธรรม ฟังธรรม มีพระเถระผู้ทรงคุณมาแสดงธรรม
เราปฏิบัติไปแล้วมีข้อข้องใจอยู่ เราได้พบท่านจะสามารถสอบถาม
ข้อสงสัย คลายจากข้อสงสัยได้ ทำให้การปฏิบัติของเราจะได้เจริญก้าวหน้า
พิจารณาดูแล้วสมควรไป แบบนี้ไป

รู้ว่าสมควรไป-ไม่สมควรไปนี้ ท่านเรียกว่า สาตถกสัมปชัญญะ
ไปแล้วเกิดประโยชน์ไม่เกิดประโยชน์นะ ท่านเรียกว่า สาตถกสัมปชัญญะ
ที่จะเกิดขึ้นก่อนทำอะไรทุกอย่าง ลุกขึ้นยืนสมควรหรือไม่สมควรลุก
เดินสมควรหรือไม่สมควร ไปห้องน้ำสมควรหรือไม่สมควร
ความรู้สึกอย่างนี้มันเกิดขึ้นนะ ปฏิบัติไปแล้วนี่เกิดขึ้น มีใครเกิดขึ้นบ้าง
มีมั้ย มีเกิดขึ้นแล้วน่ะมีบ้างหรือยัง ถ้าปฏิบัติไปแล้วจะเกิดขึ้นนะ
เจริญสติไปดีๆ นะ จะเกิดอย่างนี้แหละ จะเกิดความรู้สึก จะทำอะไร
เกิดความรู้สึกก่อน เป็นตัวรู้สึกมาบอก อันนั้นเค้าเรียกว่าสัมปชัญญะนะ
ความรู้สึกอย่างนั้นน่ะ ท่านเรียกว่า สาตถกสัมปชัญญะ

(๒)
สัปปายสัมปชัญญะ
คราวนี้ก็ สมควรไป ใช่มั้ย สมควรไป สมควรไปแล้วไม่ใช่ไปนะ ยังไม่ไป
ยังไม่ไป ยังมีความรู้สึกบอกอีกนะว่า ไปแล้วจะเกิดอันตรายหรือไม่เกิด
อันตราย ถ้าไปแล้วเกิดอันตราย ไม่ไป ถ้าไปแล้วไม่เกิดอันตรายก็จะไป

ก่อนไปเรารู้ว่ามีประโยชน์ในการไปหรือไม่มีประโยขน์ในการไปนี่น่ะ
เรียกว่า สาตถกะ ถ้าเรารู้ว่าจะเกิดโทษเพราะการไป เกิดอันตรายเพราะ
การไปหรือไปแล้วไม่เกิดโทษไม่เกิดอันตรายนี่ ท่านเรียกว่า
สัปปายสัมปชัญญะ อันนี้สัปปายสัมปชัญญะ

คราวนี้พอสัปปายสัมปชัญญเกิดขึ้นว่าไปแล้วไม่เกิดอันตราย
อันตราย ๒ ประการนะ อันตรายต่อการประพฤติพรหมจรรย์ อันตรายต่อชีวิต
อันตรายต่อการประพฤติพรหมจรรย์ทำให้เราประพฤติพรหมจรรย์อยู่ไม่ได้
แบบนี้เรียกว่าอันตราย เราจะต้องผิดศีล อย่างนี้เรียกว่าเกิดอันตราย
เราจะต้องทุศีล แบบนี้เรียกว่าเกิดอันตราย

ถ้าไปแล้วเราไม่ทุศีล ไปแล้วเราไม่ผิดศีล ไปแล้วไม่เกิดอันตราย
อันตรายแก่ชีวิต ไปแล้วจะไปประสบกับอุบัติเหตุ เรียกว่าเกิดอันตราย
ไปแล้วไม่ประสบกับอุบัติเหตุเรียกว่าไม่เกิดอันตราย
แบบนี้ท่านเรียกว่า 'สัปปายะ' นะ

(๓)
โคจรสัมปชัญญะ
ก่อนจะไป ? พอตัดสินใจไป สติจะเกิดอีก สติจะตามระลึกรู้ถึงอากับ
กิริยาอาการทุกๆ อากัปกิริยาอาการในขณะไป ท่านเรียกว่า
โคจรสัมปชัญญะ สติจะตามระลึกถึงอากัปกิริยาอาการ
ทุกๆ อากัปกิริยาอาการในขณะกลับ ท่านเรียกว่าโคจรสัมปชัญญะ

มีสติในการไป มีสติในการกลับ
มีการเจริญกรรมฐานในการไป มีการเจริญกรรมฐานในการกลับนี่
เรียกว่า โคจรสัมปชัญญะ

(๔)
อสัมโมหสัมปชัญญะ
แล้วก็ สติจะระลึกรู้เท่าทันอีก รู่ว่าที่ไปน่ะอะไรไป ที่กลับมาน่ะอะไรกลับมา
เข้าไปรู้สิ่งที่ไป ว่าสิ่งที่ไปน่ะไม่ใช่อื่นไกล เป็นความรู้สึกคิดอยากจะไป
แล้วรูปกายก็ไปตามความคิดอยากจะไปนั้น นี่ รู้อย่างนี้นะ
ท่านเรียกว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ

ความรู้สึกเป็นอะไรล่ะ เป็นนามธรรมใช่มั้ย ความรู้สึกเป็นวิญญาณ
เป็นวิญญาณ วิญญาณธาตุ เป็นวิญญาณขันธ์ เป็นวิญญาณธาตุ
แล้วก็รูปกายเป็นรูปขันธ์ เป็นรูป รูปธาตุนะ เวลาแยกเป็นธาตุได้หลายธาตุนะ
เป็นจักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ รูปธาตุ สัทธาตุ
คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุนะ เป็นแต่เพียงขันธ์ เป็นแต่เพียงธาตุ
ขบวนการของรูปชันธ์นามขันธ์ รูปธาตุนามธาตุ เขาทำงานในการไป
รู้อย่างนี้ เรียกว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ

มีตัวตนมั้ยแบบนี้ มีเราไปมั้ย มีผู้หญิงไปมั้ย มีผู้ชายไปมั้ย ไม่มีหรอก
ไปด้วยวิปัสสนานั่นเอง ใช่มั้ย ไปด้วยวิปัสสนา

นี่นะ สัมปชัญญะจะเกิดอย่างนี้นะ เราเจริญสติไปสักพักหนึ่งแล้วจะเกิด
ยกตัวอย่างนะ อย่างยกมือขึ้นนี่ นั่งนานๆ อาตมาจับไมค์นานๆ แบบนี้นะ
มันเมื่อย มือข้างนี้น่ะมันเมื่อยจะไม่ไหวแล้ว ถ้าจับต่อไปนี่เหน็บชา
ก็จะกินแล้ว จิตคิดจะเปลี่ยน เปลี่ยนมือซะที เอามือข้างนี้วาง เอามือ
ข้างอื่นหยิบ ที่นี้ความรู้สึกจะบอกก่อนว่าเปลี่ยนนี่เป็นประโยชน์หรือ
ไม่เป็นประโยชน์ เพราะว่าเปลี่ยนเป็นการผ่อนแขนอีกข้างหนึ่ง
ให้ได้พักผ่อน แล้วก็ทำให้ทุกขเวทนาอันนั้นเบาบาง ทำให้การคิดนี่คล่อง
สามารถที่จะบรรยายได้ไพเราะยิ่งกว่านี้อีก เพราะว่าถ้าอย่างนี้บรรยาย
ไม่ได้ไพเราะ จิตมันกังวล กังวลต่อเวทนาที่เกิดนี้ ทุกขเวทนาที่เกิดนี่
จิตกังวล เพราะฉะนั้นเปลี่ยนนี่เป็นประโยชน์มั้ย เป็นประโยชน์ใช่มั้ย

ยังไม่เปลี่ยนนะ คิดต่อไปอีกว่า ถ้าเปลี่ยนนี่มันจะเข้าไปจับ มันจะมีการ
ร่วงการหล่นมั้ย มันจะไปกระทบอะไรมั้ย จะเกิดอันตรายมั้ย
คิดดูแล้วไม่เกิดอันตรายอะไรนี่ เรียกว่าสัปปายสัมปชัญญะ
เรียกว่าสมควรเปลี่ยน เป็น สาตถกะ เปลี่ยนแล้วไม่เกิดโทษไม่เกิด
อันตรายเรียกว่าสัปปายะ ไม่ชนไม่อะไร ไม่ทำให้กายของเราเกิดอันตราย
ไม่ทำให้พรหมจรรย์ของเราเกิดอันตราย เปลี่ยนได้ เปลี่ยนมั้ยคราวนี้
เปลี่ยน เวลาเปลี่ยนทำไมล่ะ เวลาเปลี่ยนจะเปลี่ยนยังไงล่ะ
มือข้างนี้ก็ไม่ว่าง อาตมาก็ยกมือข้างนี้นะ นี่สติรู้แล้วนะ
เคลื่อนมือลงไปนี่สติรู้แล้ว แล้วก็วางกระดาษก่อน สติระลึกรู้
ยกมือขึ้นก็ระลึกรู้ เอื้อมมือมาหยิบก็ระลึกรู้ ปล่อยมือข้างนี้ก็ระลึกรู้
เคลื่อนมือมาวางก็ระลึกรู้ รู้ทั้งหมด เรียกว่า โคจรสัมปชัญญะ
เป็นโคจรสัมปชัญญะ สัมปชัญญะในการไป ในการกลับ ในการกระทำ
ในการเปลี่ยนทั้งหมด เรียกว่า โคจรสัมปชัญญะ

แล้วก็ ขณะเปลี่ยนไปนะ มือที่เปลี่ยนไปนี่ยังรู้พิเศษกว่านั้นอีก
รู้ว่า อันนี้เป็นแต่เพียงรูป รูปขันธ์ และความรู้สึกที่คิดจะเปลี่ยน
เป็นความรู้สึก เป็นนาม เราเข้าไปรู้ว่านั่นคือความรู้สึก
ไปเห็นสภาพความรู้สึกนะ ความรู้สึกคิดจะเปลี่ยน เราไปรู้ว่า
มีความรู้สึกคิดจะเปลี่ยนและขบวนการของกายก็เปลี่ยน
นี่ ไปเห็นอย่างนี้ ไม่ใช่เห็นเป็นสัตว์เป็นบุคคลนะ
เห็นขบวนการของความรู้สึก เรียกว่าเห็น 'นาม'
เห็นขบวนการขงอกายนี่เรียกว่า เห็นขบวนการของ 'รูป'
เรียกว่า 'อสัมโมหสัมปชัญญะ'

นี่ สัมปชัญญะเกิดขึ้นบริบูรณ์อย่างนี้

นี่ การที่ทำให้สัมปชัญญะเกิดขึ้นบริบูรณ์อย่างนี้ จะเป็นเหตุให้เราละ
อัตตสัญญา ละความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน
เป็นเรา เป็นเขา มันจะเห็นเป็นขบวนการ ขบวนการของความคิด
ขบวนการของรูปร่างกาย เขาเป็นไปตามขบวนการ
มีขบวนการความคิด มีขบวนการรูปร่างกาย เป็นไปตามขบวนการนั้นๆ
เห็นอย่างนี้ เป็นแต่เพียงขบวนการเท่านั้น เป็นรูปเป็นนามไป
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ผู้หญิง ไม่ใช่ผู้ชาย

เกี่ยวกับการพูดนะ เราก็อยากพูดใช่มั้ย มาเห็นหน้ากั้นนี่ อยากจะพูดนะ
เห็นหน้ากัน จ้องเอาไว้ เดี๋ยวได้อยู่ใกล้ๆ กัน จะพูดสักหน่อยหนึ่ง
จะคุยกัน จะคุยกันเรื่องอะไรนะคิดไว้ จะคุยกัน

จิตคิดจะคุยกันนี้ เกิดขึ้น สัมปชัญญะจะบอกว่า สมควรหรือไม่สมควรทำ
คุยกันแล้วจะเกิดประโยชน์หรือไม่เกิดประโยชน์
คุยกันแล้วจะไปคุยกันถึงเรื่องอดีตหรือเปล่า
คุยกันแล้วจะไปคุยกันถึงเรื่องอนาคตมั้ย
อยากจะถามว่า ทำไมเมื่อวานเจอเราทำไม่ไม่พูดกับเรา ใช่มั้ย
เห็นหน้ากันแล้วทำไมเดินหนี

จะถามแบบนี้เป็นเรื่องอะไร อดีตหรือเปล่า อดีตนะ จะถามถึงเรื่องอดีต
นี่ เราก็คิดถึง คิดถึงไปคุยเรื่องอดีตทำให้สาวมายาวเลย
เพราะฉะนั้นเรื่องมันก็จะยาวไป

สัมปชัญญะจะบอกว่าสมควรหรือไม่สมควร
ไม่สมควรพูด ถ้าพูดแล้วก็จะทำให้เกิดปฏิฆะ (ความไม่พอใจ
ความโกรธ - deedi) ขึ้นมาบ้าง ขัดใจ เกิดความไม่ชอบใจ
เกิดความขุ่นเคืองกัน แบบนี้เรียกว่าไม่สมควร ไม่เกิดประโยชน์นะ
ไม่เกิดประโยชน์ พูดแล้วไม่เกิดประโยชน์ พูดไปแล้วเกิดโทษ
ทำให้เกิดโทสะ

แต่เรามีข้อสงสัยอยู่ เดินจงกรมแล้วกำหนดไม่ทัน นั่งกำหนดไม่ทัน
ยืนกำหนดไม่ทัน ทำไมกำหนดไม่ทัน นี่ สงสัยว่าใส่ใจยังไง กำหนดยังไง
เจอคนๆ หนึ่ง เขารู้เขาเข้าใจดี ถ้าเราถามเขา เขาจะแก้ข้อสงสัยให้เราได้
เพราะฉะนั้น การพูดกับเขานี่เกิดประโย&
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: