KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับรวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com GalleryDhamma in English : How to learning mind and how to do meditation , understand in suffering By ajan monk in Thailand.หลวงปู่ชา สุภัทโธ Ajahn Chah - Conditions of the Mind (in Thai & English)
หน้า: 1 [2]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่ชา สุภัทโธ Ajahn Chah - Conditions of the Mind (in Thai & English)  (อ่าน 64104 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: มีนาคม 07, 2015, 09:41:43 PM »

It's like a child who is learning to write. At first he doesn't write nicely - big, long loops and squiggles - he writes like a child. After a while the writing improves through practice. Practicing the Dhamma is like this. At first you are awkward... sometimes calm, sometimes not, you don't really know what's what. Some people get discouraged. Don't slacken off! You must persevere with the practice. Live with effort, just like the schoolboy: as he gets older he writes better and better. From writing badly he grows to write beautifully, all because of the practice from childhood.
:
- Ajahn Chah -
:
"Dhamma Fighting"
:
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
:
เหมือนกับเราเป็นเด็กไปเรียนหนังสือ จะเขียนไม่สวยในครั้งแรก มันหัวยาวๆ ขายาวๆ เขียนไปตามเรื่องของเด็ก นานไปก็สวยขึ้นงามขึ้นเพราะฝึกมัน การประพฤติธรรมก็เหมือนกัน ทีแรกก็เกะๆ กะๆ สงบบ้างไม่สงบบ้าง ไม่รู้เรื่องมันเป็นไป บางคนก็ขี้เกียจ อย่าขี้เกียจซิ ต้องพยายามทำอยู่ ด้วยความพยายามเหมือนกับเราเป็นเด็กนักเรียน โตมาก็เขียนหนังสือได้ดี จากไม่สวยมาเขียนได้สวย เพราะการฝึกตั้งแต่เด็กนั่นแหละ
:
- หลวงปู่ชา สุภัทโท -
:
"นักบวช -- นักรบ"
:
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: เมษายน 15, 2015, 06:28:45 PM »

ถ้าผู้รู้ทั้งหลายแล้ว ท่านจะเห็นว่า สุขเวทนากับทุกขเวทนา มันมีราคาเท่าๆกัน ถ้าไปยึดในสุขนั่นก็คือบ่อเกิดของทุกข์ ทุกข์มันก็จะเกิดขึ้นมาเพราะอะไร? นี้เพราะว่าสุขมันก็ไม่เที่ยงมัน แปรไปมา เมื่อสุขนี้มันหายไป ทุกข์มันก็เกิดขึ้นมาดังนี้เป็นต้น
:
- หลวงปู่ชา สุภัทโท -
:
“เหนือเวทนา"
:
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
:
The Buddha knew that because both happiness and unhappiness are unsatisfactory, they have the same value. When happiness arose he let it go. He had right practice, seeing that both these things have equal values and drawbacks. They come under the Law of Dhamma, that is, they are unstable and unsatisfactory. Once born, they die. When he saw this, right view arose, the right way of practice became clear. No matter what sort of feeling or thinking arose in his mind, he knew it as simply the continuous play of happiness and unhappiness. He didn’t cling to them.
:
- Ajahn Chah -
:
“The Peace Beyond"
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: เมษายน 19, 2015, 10:32:58 PM »

So the Buddha told us to meditate. This practice of meditation is very important. Merely to know with the intellect is not enough. The knowledge which arises from practice with a peaceful mind and the knowledge which comes from study are really far apart. The knowledge which comes from study is not real knowledge of our mind. The mind tries to hold onto and keep this knowledge. Why do we try to keep it? Just to lose it! And then when it's lost we cry. If we really know, then there's letting go, leaving things be. We know how things are and don't forget ourselves.
:
- Ajahn Chah -
:
“The Peace Beyond"
:
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
:
ถ้าเราคิดกันได้เช่นนี้ จะยืนมันก็แยกกันอยู่ จะเดิน จะนั่ง จะนอน มันก็แยกกันอยู่ มันก็มีสุขทุกข์สลับซับซ้อนกันอยู่ทุกเวลานั่นเอง ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงให้เราภาวนา การปฏิบัติภาวนานี้เป็นของสำคัญ รู้เฉยๆไม่พอหรอก รู้เกิดจากการปฏิบัติที่จิตสงบ กับรู้ที่เราเรียนมานั้น มันไกลกันอยู่มากทีเดียว มันไกลกันมาก รู้ในการศึกษาเล่าเรียนนั้นมันไม่ใช่จิตของเรารู้ รู้แล้วมันตะครุบไว้ เก็บไว้ทำไม? เก็บไว้เพื่อให้มันเสีย เสียแล้วก็ร้องให้ ถ้าเรารู้แล้วก็มีการปล่อยวาง รู้ว่ามันเป็นอย่างนั้น เราก็ไม่ลืมตัว
:
- หลวงปู่ชา สุภัทโท -
:
“เหนือเวทนา"
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: เมษายน 24, 2015, 12:50:01 PM »

If we have that presence of mind then whatever work we do will be the very tool which enables us to know right and wrong continually. There's plenty of time to meditate, we just don't fully understand the practice, that's all. While sleeping we breathe, eating we breathe, don't we? Why don't we have time to meditate? Wherever we are we breathe. If we think like this then our life has as much value as our breath, wherever we are we have time.
:
All kinds of thinking are mental conditions, not conditions of body, so we need simply have presence of mind, then we will know right and wrong at all times. Standing, walking, sitting and lying, there's plenty of time. We just don't know how to use it properly. Please consider this.
:
- Ajahn Chah -
:
“The Peace Beyond"
:
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
:
ฉันนั้นถ้าเรามีความรู้สึกอยู่อย่างนี้ จะทำงานอะไรอยู่ก็ตามเถอะมันจะยิ่งทำให้การทำงานเหล่านั้นทำอย่างรู้ผิดชอบอยู่เสมอ นี้ให้คุณเข้าใจเสียใหม่ อาตมาบอกเขาอย่างนี้ เวลาที่จะภาวนานั้นมันเยอะ คุณเข้าใจไม่ถึงเฉยๆหรอก นอนอยู่ก็หายใจได้ใช่ไหม? อยู่ที่ไหนก็หายใจได้ ทำไมมันจึงมีเวลาล่ะ ถ้าคุณคิดอย่างนี้ ชีวิตของคุณก็มีราคาเท่ากับลมหายใจ แล้วมันจะอยู่ที่ไหนก็มีเวลา ความรู้สึกนึกคิดมันเรื่องของนามธรรม ไม่ใช่เป็นเรื่องของรูปธรรม
:
ดังนั้น เพียงแต่ให้มีสติอย่างเดียวเท่านั้น ก็จะรู้จักความผิดชอบอยู่ตลอดกาล ทั้งการยืนเดินนั่งนอนเหล่านั้น เวลามันเยอะไป เราไม่ฉลาดในเรื่องเวลาของเราเอง อันนี้ให้คุณเอาไปพิจารณาดูมันเป็นอย่างนี้
:
- หลวงปู่ชา สุภัทโท -
:
“เหนือเวทนา"
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2015, 11:33:30 PM »

The Buddha knew that because both happiness and unhappiness are unsatisfactory, they have the same value. When happiness arose he let it go. He had right practice, seeing that both these things have equal values and drawbacks. They come under the Law of Dhamma, that is, they are unstable and unsatisfactory. Once born, they die. When he saw this, right view arose, the right way of practice became clear. No matter what sort of feeling or thinking arose in his mind, he knew it as simply the continuous play of happiness and unhappiness. He didn’t cling to them.
.
- Ajahn Chah -
.
“The Peace Beyond"
.
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
.
ถ้าผู้รู้ทั้งหลายแล้ว ท่านจะเห็นว่า สุขเวทนากับทุกขเวทนา มันมีราคาเท่าๆกัน ถ้าไปยึดในสุขนั่นก็คือบ่อเกิดของทุกข์ ทุกข์มันก็จะเกิดขึ้นมาเพราะอะไร? นี้เพราะว่าสุขมันก็ไม่เที่ยงมัน แปรไปมา เมื่อสุขนี้มันหายไป ทุกข์มันก็เกิดขึ้นมาดังนี้เป็นต้น
.
- หลวงปู่ชา สุภัทโท -
.
“เหนือเวทนา"
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #20 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2015, 11:30:38 PM »

"ทุกข์" เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์ คนทั้งหลายพากันเกลียดกลัวทุกข์ อยากหนีทุกข์ ไม่อยากให้มีทุกข์เลย ความจริง ทุกข์นี่แหละจะทำให้เราฉลาดขึ้นล่ะ ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์ สุขนั่นสิมันจะปิดหูปิดตาเรา มันจะทำให้ไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน ความสุขสบายทั้งหลายจะทำให้เราประมาท
.
กิเลสสองตัวนี้ทุกข์เห็นได้ง่าย ดังนั้นเราจึงต้องเอาทุกข์นี่แหละมาพิจารณา แล้วพยายามทำความดับทุกข์ให้ได้ แต่ก่อนจะปฏิบัติภาวนาก็ต้องรู้จักเสียก่อนว่าทุกข์คืออะไร
.
- หลวงปู่ชา สุภัทโท -
.
“การฝึกใจ"
.
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
.
This dukkha, this suffering, is the first of the four noble truths. Most people want to get away from it. They don't want to have any kind of suffering at all. Actually, this suffering is what brings us wisdom; it makes us contemplate dukkha. Happiness (sukha) tends to make us close our eyes and ears. It never allows us to develop patience. Comfort and happiness make us careless.
.
Of these two defilements, Dukkha is the easiest to see. Therefore we must bring up suffering in order to put an end to our suffering. We must first know what dukkha is before we can know how to practice meditation.
.
- Ajahn Chah -
.
“The Training of the Heart"
.
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
.
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: กันยายน 01, 2015, 07:05:33 AM »



Actually there's nothing much to this mind. It's simply radiant in and of itself. It's naturally peaceful. Why the mind doesn't feel peaceful right now is because it gets lost in its own moods. There's nothing to mind itself. It simply abides in its natural state, that's all. That sometimes the mind feels peaceful and other times not peaceful is because it has been tricked by these moods. The untrained mind lacks wisdom. It's foolish. Moods come and trick it into feeling pleasure one minute and suffering the next. Happiness then sadness. But the natural state of a person's mind isn't one of happiness or sadness. This experience of happiness and sadness is not the actual mind itself, but just these moods which have tricked it. The mind gets lost, carried away by these moods with no idea what's happening. And as a result, we experience pleasure and pain accordingly, because the mind has not been trained yet. It still isn't very clever. And we go on thinking that it's our mind which is suffering or our mind which is happy, when actually it's just lost in its various moods.
.
- Ajahn Chah -
.
“Training this Mind"
.
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
.
ความจริงจิตนี้ไม่เป็นอะไร มันเป็นประภัสสรของมันอยู่อย่างนั้น มันสงบอยู่แล้ว ที่จิตไม่สงบทุกวันนี้ เพราะจิตมันหลงอารมณ์ตัวจิตแท้ๆ นั้นไม่มีอะไรเป็นธรรมชาติอยู่เฉยๆเท่านั้น ที่สงบ ไม่สงบ ก็เป็นเพราะอารมณ์มาหลอกลวง จิตที่ไม่ได้ฝึกก็ไม่มีความฉลาด มันก็โง่ อารมณ์ก็มาหลอกลวงไปให้เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ จิตของคนตามธรรมชาตินั้นไม่มีความดีใจ เสียใจ ที่มีความดีใจเสียใจนั้นไม่ใช่จิต แต่เป็นอารมณ์ที่มาหลอกลวง จิตก็หลงไปตามอารมณ์โดยไม่รู้ตัว แล้วก็เป็นสุขเป็นทุกข์ไปตามอารมณ์ เพราะยังไม่ได้ฝึก ยังไม่ฉลาด แล้วเราก็นึกว่าจิตเราเป็นทุกข์นึกว่าจิตเราสบาย ความจริงมันหลงอารมณ์
.
- หลวงปู่ชา สุภัทโท -
.
“ความรักเพียรละ"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 07, 2015, 08:21:17 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #22 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2015, 06:41:56 AM »



When I was a young monk just starting to practice, I'd sit in meditation and sounds would disturb me, I'd think to myself, ''What can I do to make my mind peaceful?'' So I took some beeswax and stuffed my ears with it so that I couldn't hear anything. All that remained was a humming sound. I thought that would be peaceful, but no, all that thinking and confusion didn't arise at the ears after all. It arose at the mind. That is the place to search for peace.
.
To put it another way, no matter where you go to stay, you don't want to do anything because it interferes with your practice. You don't want to sweep the grounds or do any work, you just want to be still and find peace that way. The teacher asks you to help out with the chores or any of the daily duties but you don't put your heart into it because you feel it is only an external concern.
.
- Ajahn Chah -
.
“Sense Contact - the Fount of Wisdom"
.
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
.
ในสมัยที่ผมเป็นพระปฏิบัติใหม่ๆ จะนั่งสมาธิตรงไหนเสียงมันก็อื้อ มันไม่สงบเลย คิดผ่านไปผ่านมาเสมอว่า จะทำอย่างไรหนอ มันไม่สงบ จนต้องหาขี้ผึ้งมาปั้นกลมๆ อุดเข้าไปในหูนี่ไม่ได้ยินอะไร มีแต่เสียงอื้อเท่านั้น นึกว่ามันจะดี นึกว่ามันจะสงบ เปล่า! ความปรุงแต่งอะไรต่ออะไรต่างๆ นี้ มิใช่อยู่ที่หูดอกมันเกิดภายในจิตใจ มันจะมีสารพัดอย่าง ต้องคลำหามัน ค้นคว้าหาความสงบ
.
พูดง่ายๆ จะไปอยู่ในเสนาสนะอะไรก็ดีนะ คิดไม่อยากจะทำอะไร มันขัดข้องไม่ได้ทำเพียร อยากจะนั่งให้มันสงบ ลานวัดก็ไม่อยากจะไปกวาดมัน อะไรก็ไม่อยากทำมันอยากจะอยู่เฉยๆ อยากหาความสงบอย่างนั้น ครูบาอาจารย์ให้ช่วยกิจวัดที่เราอาศัยอยู่ ก็ไม่ค่อยจะเอาใจใส่มัน เพราะเห็นว่ามันเป็นงานภายนอก
.
- หลวงปู่ชา สุภัทโท -
.
“สัมผัส...บ่อเกิดปัญญา"
.
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #23 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2015, 12:47:44 PM »

พอพระพุทธองค์ท่านมาพิจารณาแล้วมันก็ไม่เป็นไป ประพฤติด้วยทิฏฐิ ด้วยมานะ ด้วยความยึดมั่นถือมั่น คิดปรารภโลกว่าเป็นธรรม คิดปรารภตนว่าเป็นธรรม มันไม่ได้ปรารภธรรมะ
.
อย่างว่าเราจะทรมาน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก่อนจะทำอย่างนั้นก็ปรารภว่าให้โลกสรรเสริญ ให้เขาว่านี่แหละเป็นคนเอาจริงเอาจัง ก็เลยทำอันนั้น เป็นโลกหมด ทำเพื่อความยกย่องสรรเสริญ ให้เขาว่าดี ให้เขาว่าเลิศ ให้เขาว่าประเสริฐ ให้เขาว่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คิดอย่างนี้แล้วจึงทำ เรียกว่ามันปรารภโลก
.
อีกอย่างหนึ่งคือปรารภตนเอง เชื่อมั่นในความเห็นของตนเอง เชื่อมั่นในการประพฤติปฏิบัติของตน ใครจะว่าผิดก็ช่างถูกก็ตาม ไม่เอาเป็นประมาณ ชอบอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่ได้คลำหน้าคลำหลัง นี่ปรารภตนเองอีกประเภทหนึ่ง อย่าปล่อยอย่าวางด้วยความยึดมั่น
.
- หลวงปู่ชา สุภัทโท -
.
“วิมุตติ"
.
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
.
The Buddha, he saw it was simply a matter of views, practicing out of pride and clinging. He had mistaken worldly values and mistaken himself for the truth.
.
For example if one decides to throw oneself into ascetic practices with the intention of gaining praise - this kind of practice is all ''world-inspired,'' practicing for adulation and fame. Practicing with this kind of intention is called ''mistaking worldly ways for truth.''
.
Another way to practice is ''to mistake one's own views for truth.'' You only believe yourself, in your own practice. No matter what others say you stick to your own preferences. You don't carefully consider the practice. This is called ''mistaking oneself for truth.'' Whether you take the world or take yourself to be truth, it's all simply blind attachment.
.
- Ajahn Chah -
.
“Transcendence"
.
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #24 เมื่อ: มกราคม 04, 2016, 09:32:40 PM »

Today I would like to ask you all. ''Are you sure yet, are you certain in your meditation practice?'' I ask because these days there are many people teaching meditation, both monks and lay people, and I'm afraid you may be subject to wavering and doubt. If we understand clearly, we will be able to make the mind peaceful and firm.
.
You should understand the eightfold path as morality, concentration and wisdom. The path comes together as simply this. Our practice is to make this path arise within us.
.
- Ajahn Chah -
.
“The Path in Harmony"
.
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
.
วันนี้อยากจะถามถึงการปฏิบัติของญาติโยมเราทั้งหลายว่า ที่ได้ทำมานี้แน่ใจแล้วหรือยัง แน่ใจในการทำกรรมฐานของตนแล้วหรือยัง ที่ถามอย่างนี้เพราะว่าอาจารย์ที่สอนกรรมฐานทุกวันนี้มีมาก มีทั้งพระสงฆ์ทั้งฆราวาสจึงกลัวว่าญาติโยมจะลังเลสงสัยการกระทำนี้ จึงได้ถามอย่างนั้น ถ้าเราเข้าใจให้ถูกต้องชัดเจนเราก็จะสามารถทำจิตใจของเราให้สงบได้มั่นคง
.
แล้วให้เข้าใจด้วยว่ามรรค ๘ ประการนั้น มันรวมอยู่ที่ศีลสมาธิปัญญา ไม่ได้รวมอยู่ที่อื่น เมื่อเรารวมเข้ามาแล้วมันมีศีล มีสมาธิ มีปัญญาเช่นเราทำอยู่ปัจจุบันนี้ก็คือ เราทำมรรคให้เกิดขึ้นมานั่นเองไม่ใช่อื่นไกล
.
- หลวงปู่ชา สุภัทโท -
.
“มรรคสามัคคี"
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: 1 [2]
พิมพ์
กระโดดไป: