หว้า (Syzygium cumini (L.) Skeels)ต้นหว้า หรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า ?จามาน? หรือ ?จามูน? ในพระพุทธประวัติกล่าวไว้สองตอนด้วยกันคือ ตอนแรก เมื่อพระเจ้าสุทโทธนะ สมเด็จพระราชบิดา เสด็จไปทรงประกอบพิธีแรกนาขวัญได้นำพระสิทธัตถะกุมาร (พระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา) ไปดูด้วยและให้ประทับอยู่ใต้ต้นหว้าใหญ่ บรรดาพระพี่เลี้ยงนางนมต่างก็ไป ดูพิธีแรกนาขวัญกันหมด พระกุมารจึงลุกนั่งสมาธิกรรมฐาน ก็เป็นเหตุที่น่าอัศจรรย์ว่าแม้ตะวันจะบ่ายก็เป็น เหตุที่น่าอัศจรรย์ว่าแม้ตะวันจะบ่ายคล้อยไปแล้ว ร่มเงาของไม้หว้านั้นก็ยังไม่ขยับเปลี่ยนทิศทางคงปิดบังให้ ความ ร่มเย็นแก่พระองค์ โดยปรากฏเป็นปริมณฑลตรงอยู่ประดุจเงาของตะวันตอนเที่ยงตรงและอีกตอนหนึ่ง กล่าวว่าตอนที่พระพุทธเจ้าไปอาศัยกัสสปชฏิล พระฤษีได้ทูลนิมนต์ภัตตภิจ พระองค์ตรัสให้ไปก่อนแล้วเสด็จ เหาะไปนำผลหว้าใหญ่ประจำทวีปในป่าหิมพานต์ และไปสู่ที่โรงเพลิงก่อนที่กัสสปชฏิลจะไปถึง
หว้า เป็นพันธุ์ไม้พวก ชมพู่ คือสกุล (Genus) ชมพู่ (Syzygium) ในวงศ์ (Family) ไม้หว้า (Myrtaceae)เป็นไม้ต้นขนาด ใหญ่ ลำต้นค่อนข้างเปลา ตรง เปลือกค่อนข้างเรียบสีเทาอ่อนกิ่งก้านมาก แข็งแรง ปลายกิ่งห้อยย้อยลง ใบดกหนา ทำให้เกิดเป็นพุ่มทรงรูปไข่ แน่นทึบ ใบอ่อนจะแตกสีแดงเรื่อ ๆ ใบแก่หนา ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน รูปใบมนหรือ แกมรูปหอก เกลี้ยง เป็นมัน เส้นแขนงใบละเอียดอ่อนและเรียงขนานกัน ดอกสีขาว ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามกิ่ง ย่อม ๆ เหนือรอยแผลใบ ผล กลม รี ๆ มีเนื้อเยื่อหุ้ม ผลอ่อนสีเขียว พอเริ่มแก่ออกสีชมพู แต่พอแก่จัดออกสีดำ ใช้รับ ประทานได้ มีรสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ แม่ค้าที่ขายลูกหว้าเขาจะพรมน้ำเกลือเล็กน้อย เพื่อเพิ่มรสชาดให้น่ารับประทาน ยิ่งขึ้น ผล ยาว 1 ? 2.5 ซม. และโตประมาณ 1 ซม.
หว้า เป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของแถบเอเชีย สามารถขึ้นได้ตั้งแต่ป่าดิบใกล้ทะเลขึ้นไปถึงเขาสูงไม่น้อยกว่า 800 เมตร ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินอุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยธรรมชาติ การขยายพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดเพาะ และสัตว์พวกนก และค้างคาว สามารถช่วยในการแพร่พันธุ์ได้อย่างดี โดยนำเมล็ดที่กินเข้าไปถ่ายในที่อื่น ๆ นอกจากนี้ยังใช้ การตอนหรือทาบกิ่งก็ได้ ผลของหว้าจะมีขนาดเล็ก ใหญ่ ไม่แน่นอน แต่มีรายงานจากของอินเดียว่า หว้ามีผลยาว ถึง 3 ซม. พระที่วัดบวรฯ เคยบอกว่า มีหว้าต้นหนึ่งทางด้านคลองที่คั่นโบสถ์ มีผลใหญ่มาก และบอกว่ามีคนนำมา จากประเทศอินเดีย ถ้าเป็นจริงก็เข้าใจว่าคงเป็นหว้าที่มีชื่อเดิมทางพฤกษศาสตร์ว่า Eugenia jambolana Lam. แต่ในภายหลังชื่อนี้กลายเป็นชื่อพ้อง Syzygium cumini (L.) Skeels ไปเสียแล้ว