พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อ 300 หน้า 254-257 มหาสติปัฏฐานสูตร
----------------------------------------------------------------------------------
อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน ๔ [ ๓00 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๗ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง
๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๖ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๕ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๔ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๓ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๒ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๑ ปี
ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปีหนึ่งยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๗
เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๖
เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๕
เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๔
เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๓
เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๒
เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๑
เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๑ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด
กึ่งเดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กึ่งเดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด
๗ วัน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่
ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่ง
ความโศกและความร่ำไร เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
ทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้
คำอันใด ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ คำอันนั้น เราอาศัยเอกายนมรรค ( คือ สติปัฏฐาน ๔ ) นี้กล่าวแล้ว ด้วยประการ
ฉะนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยประการฉะนี้แล
จบ มหาสติปัฏฐานสูตร
พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้า 366-367 อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร----------------------------------------------------------------------------------
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
สรุปความ ด้วยลำดับคำมีประมาณเพียงเท่านี้ กัมมัฏฐาน ๒๑ คือ อานาปานบรรพ ๑ จตุอิริยาบถบรรพ ๑
จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ทวัตดึงสาการ ๑ จตุธาตุววัฏฐานะ ๑ สีวถิกา ๙ เวทนานุปัสสนา ๑ จิตตานุปัสสนา ๑
นีวรณปริคคหะ ๑ ขันธปริคคหะ ๑ อายตนปริคคหะ ๑ โพชฌงค์ปริคคหะ ๑ สัจจะปริคคหะ ๑
บรรดากัมมัฏฐาน ๒๑ นั้น กัมมัฏฐาน ๑๑ คือ อานาปาน ๑ ทวัตดึงสาการ ๑ วีสถิกา ๙ เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน
( กัมมัฏฐานที่ทำให้เกิดอัปปนาสมาธิ หรือ ฌานได้ ) ที่เหลือเป็น อุปจารกัมมัฏฐาน ( กัมมัฏฐานที่ทำให้เกิด
ได้แค่ อุปจารสมาธิ คือไม่ถึงฌาน ) และ ความตั้งมั่น ( เอกัคคตาเจตสิก คือสมาธิ ) ย่อมเกิดในกัมมัฏฐานทั้งหมด
อานิสงส์ คำว่า โย หิ โกจิ ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ผู้หนึ่ง ไม่ว่า ภิกษุหรือภิกษุณี อุบาสก หรือ
อุบาสิกา ( ที่เป็น ภัพพาคมนบุคคล ) คำว่า เอวํ ภาเวยฺย ความว่า พึงเจริญตามลำดับภาวนาที่กล่าวมา
แล้วตั้งแต่ต้น คำว่า ปาฏิกงฺขํ ความว่า พึงหวังได้ พึงปราถนาได้ เป็นแน่แท้ คำว่า อญฺญา หมายถึง พระอรหัต
คำว่า สติ วา อุปาทิเสเสความว่า อุปาทิเสสวิบากขันธ์ ที่กิเลสมีตัณหาเป็นต้นเข้าไปยึดไว้เหลืออยู่ ยังไม่สิ้นไป
คำว่า อนาคามิตา แปลว่าความเป็นพระอนาคามี พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ความที่สั่งสอนเป็นธรรมนำ
ผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์โดย๗ ปี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงเวลา ( ปฏิบัติ ) ที่น้อยไปกว่านั้นอีก จึงตรัสว่า ติฏฺฐนฺตุ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปี จงยกไว้ดังนี้เป็นต้น ก็คำนั้นแม้ทั้งหมด ตรัสโดยเวไนยบุคคลปานกลาง
แต่ที่ตรัสว่าบุคคลรับคำสั่งสอนเวลาเช้า บรรลุคุณวิเศษเวลาเย็น รับคำสั่งสอนเวลาเย็น บรรลุคุณวิเศษเวลาเช้า ดังนี้
ทรงหมายถึง บุคคลผู้มีปัญญาเฉียบแหลม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า คำสั่งสอนของเรานำผู้ปฏิบัติออกจาก
ทุกข์อย่างนี้แล้วเมื่อจะทรงยังเทศนาที่ทรงแสดง ด้วยธรรมอันเป็นยอด คือพระอรหัตให้จบลงในฐานะ ๒๑ ประการ
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางดำเนินอันเอก เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ
และปริเทวะเพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน นี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วยประการ
ฉะนี้ คำอันใด อันเรากล่าวแล้วอย่างนี้ คำนั้นเราอาศัยทางอันเอกนี้กล่าวแล้ว
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุสามหมื่นรูป ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล.
จบ อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 79 พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-ปุคคลปัญญัติ
ข้อ 28-29 หน้า 206 อภัพพาคมนบุคคล และ ภัพพาคมนบุคคล
----------------------------------------------------------------------------------
บุคคลที่ควรและไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล [ ๒๘ ] อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผลเป็นไฉน ?
บุคคลที่ประกอบด้วย กัมมาวรณ์ ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ
มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นผู้ไม่ควรหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า
อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล
[ ๒๙ ] ภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผลเป็นไฉน ?
บุคคลที่ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ มีศรัทธา มีฉันทะ
มีปัญญา ไม่โง่เขลา เป็นผู้ควรหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า
ภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล
พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 79 พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-ปุคคลปัญญัติ
หน้า 207-208 อรรถกถาอภัพพาคมนบุคคล และ ภัพพาคมนบุคคล
----------------------------------------------------------------------------------
อรรถกถาอภัพพาคมนบุคคล และ ภัพพาคมนบุคคล
วินิจฉัยนิเทศแห่ง อภัพพาคมนบุคคล ผู้ใดไม่ควรเพื่อจะบรรลุสัมมัตตนิยาม ( มรรค ผล และนิพพาน )
เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า อภัพพาคมนบุคคล
บทว่า กมฺมาวรเณน แปลว่า ด้วยกรรมอันเป็นเครื่องกั้น ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง
บทว่า กิเลสาวรเณน แปลว่า ด้วยกิเลสเป็นเครื่องกั้น ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ
บทว่า วิปากาวรเณน แปลว่า ด้วยวิบากเป็นเครื่องกั้น ได้แก่ ปฏิสนธิด้วยอเหตุกะ และทวิเหตุกะ
บทว่า อสทฺธา แปลว่า ผู้ไม่มีศรัทธา ได้แก่ เป็นผู้เว้นจากความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
บทว่า อจฺฉนทิกา แปลว่า ผู้ไม่มีฉันทะ ได้แก่ ผู้เว้นจากความพอใจ ในกัตตุกัมยตากุศล ( การบำเพ็ญกุศลกรรม )
เว้นชาวชมพูทวีป ( ชาวชมพูทวีป คือ มนุษย์ในโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ทั้งหมด ไม่ใช่แต่ชาวอินเดียเท่านั้น คำว่า
ชมพูทวีปคือโลกใบนี้ทั้งหมด ) เสียแล้ว บุคคลเหล่านั้น พึงทราบว่าผู้อยู่ในทวีป ( โลก ) ทั้ง ๓ ( บุพพวิเทหทวีป
อปรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป ) นอกจากนี้ ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น มนุษย์ทั้งหลายชื่อว่า เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีฉันทะ
บทว่าทุปฺปญฺญา แปลว่า มีปัญญาทราม ได้แก่ เว้นจากภวังคปัญญา
บทว่า อภพฺพา แปลว่า ผู้ไม่ควร ได้แก่ ไม่ได้อุปนิสัยแห่งมรรคและผล
บทว่า นิยามํ ได้แก่ มรรคนิยาม
บทว่า โอกฺกมิตุ ํ ความว่า ไม่ควรเพื่อจะก้าวล่วงคือก้าวล่วงไปสู่นิยาม กล่าวคือ สัมมันตะธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นกุศลเพื่อจะตั้งมั่นในมรรคผลนั้นได้
นิเทศแห่ง อภัพพาคมนบุคคล บัณฑิตพึงทราบจากคำที่กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในทุกะนี้
อย่างนี้ว่า
" บุคคลใด กระทำปัญจานันตริยกรรม ๑ เป็นผู้นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑ ผู้ถือปฏิสนธิมาด้วยอเหตุกะและ
ทวิเหตุกจิต ๑ ผู้ไม่ศรัทธาในพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ๑ ความพอใจเพื่อจะทำกุศลของ
ผู้ใดไม่มี ๑ ผู้มีภวังคปัญญาไม่บริบูรณ์ ๑ อุปนิสัยมรรคผลของผู้ใดไม่มี ๑ บุคคลเหล่านั้น แม้ทั้งหมดเป็นผู้มี
ภัพพวิปริตไม่พึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามธรรม คือ มรรคผลและนิพพาน ดังนี้
นิเทศแห่ง ภัพพาคมนบุคคล บัณฑิตพึงทราบจากคำที่กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในทุกะนี้
อย่างนี้ว่า
" บุคคลใด ไม่กระทำปัญจานันตริยกรรม ๑ ไม่เป็นผู้นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑ ผู้ถือปฏิสนธิมาด้วยติเหตุกจิต ๑
ผู้ศรัทธาในพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ๑ ความพอใจเพื่อจะทำกุศลของผู้ใดมี ๑ ผู้มีภวังคปัญญา
บริบูรณ์ ๑ อุปนิสัยมรรคผลของผู้ใดมี ๑ บุคคลเหล่านั้น แม้ทั้งหมดเป็นผู้มีภัพพไม่วิปริตพึงก้าวลงสู่สัมมัตต
นิยามธรรม คือ มรรคผลและนิพพาน ดังนี้
จบอรรถกถาอภัพพาคมนบุคคล และ ภัพพาคมนบุคคล
อธิบายบางส่วน
อเหตุกบุคคล คือบุคคลที่ปฏิสนธิ ด้วย อุเบกขาสันตีรณอกุสลวิบาก ๑ ดวง และ
อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑ ดวง ซึ่งเป็นอเหตุกจิต คือจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ทั้ง 6 คือ โลภะเหตุ
( โลภะเจตสิก ) โทสะเหตุ ( โลภะเจตสิก ) โมหะเหตุ ( โมหะเจตสิก ) และ อโลภะเหตุ ( อโลภะเจตสิก )
อโทสะเหตุ ( อโทสะเจตสิก ) อโมหะเหตุ ( ปัญญาเจตสิก )
ทวิเหตุกบุคคล คือบุคคลที่ปฏิสนธิ ด้วย มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ ดวง ซึ่งเป็นจิตที่ประกอบ
ด้วยเหตุ 2 คือ อโลภะเหตุ และ อโทสะเหตุ
ติเหตุกบุคคล คือบุคคลที่ปฏิสนธิ ด้วย มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ ดวง มหัคคตวิบาก ๙ ดวง ซึ่งเป็นจิตที่ประกอบด้วยเหตุ 3 คือ อโลภะเหตุ และ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ ( ปัญญาเจตสิก )
สาเหตุที่ ทำให้เกิดเป็น อเหตุกบุคคล ทวิเหตุกบุคคล หรือ ติเหตุกบุคคล นั้นเพราะขณะทำ
กุศลกรรมนั้นทำด้วยปัญญาหรือไม่ และเจตนาในการทำเป็นอย่างไรด้วย ดังอธิบายดังนี้
ดังนั้นการทำบุญกุศลนั้นควรจะกระทำด้วยปัญญาพิจารณา ไม่ใช่ทำบุญส่งๆ ไป ใครชักชวนอย่างไรก็เชื่อ
โดยความงมงาย ซึ่งการทำบุญกุศลที่ไม่มีปัญญาแบบนี้จะได้วิบากจิตที่ไม่มีเหตุมาประกอบ และถ้าวิบากจิต
ที่ทำกุศลแบบส่งๆทำหน้าที่นำเกิด ก็จะปฏิสนธิเป็น สุคติอเหตุกบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ หูหนวก ตาบอด
เป็นบ้า เป็นใบ้ พิกลพิการต่าง ๆ ๑ ภูมิ และเทวดาบางจำพวกในชั้นจาตุมหาราชิกา ๑ ภูมิ
ดังนั้นการทำบุญกุศลควรจะประกอบด้วยปัญญาอย่างยิ่ง อย่างมงาย ในการทำบุญกุศลทั้งหลาย ควรทำ
ความเห็นให้ตรงให้ถูกต้อง ( ทิฏฐุชุกรรม ) ในการทำบุญกุศลแต่ละอย่าง ซึ่งเมื่อทำบุญกุศลประกอบด้วย
ปัญญา ก็จะได้ผลคือ วิบากจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งถ้าวิบากจิตนั้นทำหน้าที่นำเกิดก็จะปฏิสนธิเป็น ติเหตุกบุคคล
ติเหตุกบุคคล เท่านั้น สามารถ ทำสมาธิให้ได้ฌาน และบรรลุมรรคผลนิพพาน
ส่วนใหญ่คนในปัจจุบันเกิดมาเป็น ทวิเหตุกบุคคล จึงไม่สามารถ ทำฌาน และบรรลุมรรค ผล นิพพาน ได้
ซึ่งไม่สามารถ ทำฌาน แม้แต่ ปฐมฌาน ก็ไม่มีทางเกิดขึ้น และไม่สามารถบรรลุมรรค ผล นิพพาน ได้แต่
ประการใดด้วย เพราะวิบากเป็นเครื่องกั้น เป็นเหตุปัจจัย
ดังนั้น ทวิเหตุกบุคคล จึงควรสั่งสมบุญกุศลให้มากด้วย มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง คือมหากุศลจิตที่
ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก ซึ่งจะให้ผล วิบากจิตคือ มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ ดวง ซึ่งจะทำให้ปฏิสนธิเป็น
ติเหตุกบุคคล ในอนาคตชาติได้คือ ด้วยการทำบุญกุศลในบุญกิริยาวัตถุ 10 ที่ประกอบด้วยปัญญาพิจารณา
และทำความเห็นให้ตรงให้ถูกต้อง ( ทิฏฐุชุกรรม ) ในการบุญกุศลนั้นๆ และควรฝึกฝนการทำสัมมาสมาธิ ใน
กัมมัฏฐาน 40 วิธีที่มีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ถึงแม้จะไม่ถึงฌานแต่ก็เป็นการทำจิตให้บริสุทธิ์ชั่วขณะในขั้น
ขณิกสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิซึ่งเป็นการสั่งสมไปได้ในอนาคต รวมถึงควร เจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้มาก เพื่อความ
บริสุทธิ์ของจิตตลอดไป แม้ว่าจะไม่สามารถบรรลุมรรค ผล นิพพานได้ แต่ก็เป็นการสั่งสมไว้ในชาติต่อไปๆ
ซึ่งในด้านวิปัสสนานั้นไม่เสื่อมเหมือนสมาธิ ( ฌานสมาธิไม่บำเพ็ญนานๆ หรือเกิดนิวรณ์ธรรมขึ้นมา ก็เสื่อมได้ )
สั่งสมได้ทุกๆ ชาติไป ชาตินี้เราได้ขั้นนี้ชาติต่อไปถ้ามีโอกาสปฏิบัติ เรามาต่อได้เลย ไม่เสื่อม เหมือนฌานสมาธิ
และเมื่อไรได้มีโอกาสปฏิสนธิ ด้วย ติเหตุกบุคคล ด้วยผลของกุศลที่เราสั่งสมด้วย มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔
ดวงที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็จะมีโอกาสที่จะเจริญฌาน และ เจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้วิปัสสนาญาณในขั้นต่างๆ เกิดขึ้นได้
รวมทั้ง บรรลุ มรรคผล นิพพาน ได้ง่ายกว่าที่เราไม่ได้สั่งสมมาในอดีตเลย
ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็ตาม ก็ควรมีความเพียรที่จะเจริญ ในกุศลธรรมทุกอย่าง คือ บุญกิริยาวัตถุ 10
กัมมัฏฐาน 40 วิธี และ สติปัฏฐาน 4 เป็นต้น ให้มาก อย่าได้ท้อถอย
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.geocities.com/southbeach/terrace/4587/arnisonksati4.htm