สติปัฏฐาน๔ นี้เป็นการฝึกสติ และใช้สติ เราสามารถปฏิบัติได้ในทุกขณะและอริยาบถ โดยไม่จําเป็นต้องปฏิบัติแบบการนั่งสมาธิเต็มรูปแบบ สามารถทําได้ในขณะจิตตื่นสบายๆไม่เครียดหรือหงุดหงิด ก็นํามาคิด ตริตรอง ใช้ปัญญาพิจารณา สังเกตุเห็นเวทนาหรือจิตได้ในทุกอิริยาบถ ซึ่งวิปัสสนาใช้สมาธิระดับขณิกกะสมาธิ(แค่ไม่วอกแวก,อยู่กับกิจหรืองานที่ ทํา) หรือเกือบเป็นอุปจารสมาธิเท่านั้นเช่น เมื่อพิจารณาจนเกิดปัญญาหรือเข้าใจในเวทนาหรือจิตจริงๆ เราจะเข้าใจในธรรมนั้นๆ เช่นเวทนานุปัสสนา โดยจะไม่ไปยึดมั่นพึงพอใจในเวทนามากเหมือนในอดีตอีก เนื่องจากรู้ว่าเป็นกระบวนการทางธรรม(ชาติ)ไม่สามารถไปหยุดไปห้ามได้และเป็น ไตรลักษณ์ เหมือนกับห้ามหายใจไม่ได้ฉันใดก็ห้ามเวทนาไม่ได้ฉันนั้น และไม่ใช่ความทุกข์ตัวจริง
ดับ ความยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)ได้ก็คือดับอุปาทานในปฏิจจสมุปบาทได้ ผลก็คือไม่มีความทุกข์อันเกิดจาก "อุปาทานขันธ์๕ "ซึ่งเป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้ดับ ผลนี้ก็ดับดังบทสรุปในมหาสติปฏิปัฏฐาน ๔ทุกบท ของกาย, เวทนา, จิต, ธรรม ตลอดจนบทย่อยทุกๆบท แสดงถึงพุทธประสงค์ของพระพุทธองค์ ในการปฏิบัติไว้เด่นชัด รวมถึง ๒๑ ครั้ง คือ ดั่งนี้
ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายในบ้าง(เปลี่ยนเวทนาเป็น กาย จิต ธรรม และบทย่อยๆ)
พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเกิดในเวทนาบ้าง(เห็นธรรมคือเห็นธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ)
พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเสื่อมในเวทนาบ้าง(ดับไป)
พิจารณาเห็น ธรรมคือ ทั้งความเกิด ทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมมีอยู่
อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้, เครื่องรู้
เพียงสักแต่ว่า เป็นที่อาศัยระลึกเท่านั้น(หมายถึงอาศัยเป็นเครื่องรู้ระลึกและพิจารณาเป็นเครื่องเตือนสติและก่อปัญญา)
เธอเป็นผู้ซึ่งตัณหาและทิฐิ ไม่ติดอยู่ด้วย และไม่ยึดถือ(หมายถึงไม่ยึดติด,ไม่ยึดมั่นถือมั่นคือเป็นอุปาทาน) อะไรๆในโลกด้วย อย่างนี้แล ชื่อว่าพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่
(เป็นเช่นนี้ในตอนท้ายของ กาย เวทนา จิต ธรรม และบทย่อยๆทั้งหลาย เน้นย้ำเหมือนกันทุกประการถึง ๒๑ ครั้ง)
เวทนา ในเวทนา หมายถึง เข้าใจในเวทนาจริงๆอย่างถูกต้อง เห็นเวทนาตามความเป็นจริงไม่ถูกครอบงําโดยกิเลส หรือทิฎฐุปาทาน(ยึดมั่นในความเชื่อของตนเองอย่างผิดๆ) เห็นว่าสักแต่เพียงกระบวนการทางธรรม(ชาติ)เป็นปกติอย่างนี้ตลอดกาล เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ไปยึดมั่นหรือถือมั่นให้เป็นอุปาทานในเวทนาหรือการเสพรสความรู้สึกรับรู้ในอารมณ์ที่บังเกิดขึ้นนั้น
เวทนาภายใน หมายถึงเวทนาของตนเอง
เวทนาภายนอกหมายถึงเวทนาของบุคคลอื่น
ตลอดจนในบทสรุปของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"อันต่อจากบทธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ชัดแจ้งเช่นกันถึงการบรรลุพระอรหัตตผล กล่าวคือถ้ายังมีอุปาทิ(สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น)อันคืออุปาทานยังไม่สิ้นหมด ยังคงมีเหลืออยู่บ้างก็จักได้เป็นพระอนาคามี ดังความในพระสูตรต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
อย่างนั้น ตลอดเนืองๆ ๗ ปี
ผู้นั้นพึงหวังผล ๒ ประการ อันใดอันหนึ่ง
คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑
หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ จักเป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้ .......................
(เหมือน เดิมทุกประการ เพียงเปลี่ยนเป็น ๖ ปี, ๕ ปี, ๔ปี.....๑ ปี, ๗ เดือน, ๖ เดือน...๑ เดือน, กึ่งเดือน, และสุดท้ายที่๗ วัน เป็นเช่นเดียวกันทุกประการ ถึง ๑๖ ครั้ง)
ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.nkgen.com/13.htm( อ่านต่อข้างล่างน่ะครับ )