KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 คืออะไร สำคัญอย่างไรสติปัฏฐาน 4 คืออะไร (ต่อ)
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สติปัฏฐาน 4 คืออะไร (ต่อ)  (อ่าน 16727 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2007, 04:38:40 PM »

 สติปัฏฐาน... (ระบบค้นหา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์)

1.ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ,

2.ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน,

3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทัน ตามความเป็นจริง,

4.การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมันไม่ถูกครอบงำ

ด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส"


ในหมู่นักปฏิบัติมักได้ยินคำว่าสติปัฏฐานอยู่บ่อยๆ

ก็พอรู้นะคะ ว่าเกี่ยวกับการเจริญสติ เพราะหลวงพ่อก็เทศน์ให้ฟังอยู่บ้าง

ก็รู้นะคะ ว่าสติปัฏฐานก็คือสตินั่นแหละที่มีอยู่ 4 อย่างไง

พอมาเปิดพจนานุกรมดู เจอความหมายก็เห็นว่าที่ว่ารู้น่ะ ไม่รู้ต่างหาก

ไม่รู้ว่าจะพูดออกมาเป็นคำพูดสื่อสารกันได้อย่างไร

เข้าใจแบบบื่อๆ อธิบายไม่ได้ สื่อสารไม่ได้ ก็อาจเสียโอกาสไปหน่อย

มาดูตามความหมายในวรรคแรก ของ สติปัฏฐาน ท่านว่า

คือ"ธรรมที่เป็นที่ตั้งของสติ"
ธรรมก็มีความหมายหลายอย่างด้วย

ธรรมจะหมายถึงสภาพที่ทรงไว้,ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; อย่างหนึ่งหรือ

เหตุ, ต้นเหตุ; อย่างหนึ่ง หรือ สิ่ง, ปรากฏการณ์,ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; อย่างหนึ่ง หรือ

คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; อย่างหนึ่ง หรือ

หลักการ,แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่;อย่างหนึ่ง หรือ

ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น ก็ได้"


ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถเป็นเครื่องมือให้สติดำรงอยู่ ทรงอยู่ได้

คือสติเป็นประธาน ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ทรงอยู่ในธรรมใดๆก็ตามที่แจกแจงไว้นั้น



อีกความหมายหนึ่งคือ "ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน"

ส่วนนี้เริ่มมีการแสดงออกทางกายคือมีการกระทำต่อเนื่องออกมา

จากข้อแรกใจนั้นดำรงอยู่ในธรรมก่อน ขั้นต่อมาเมื่อมีการแสดงออกทางกาย

มีการประพฤติทางกายก็ยังคงดำรงกิจนั้นไปโดยมีสติเป็นประธานอยู่

แสดงให้เห็นว่าทั้งในด้านนามธรรมและรูปธรรมนั้น

ต้องพึ่งมีสติอยู่ตลอด ถ้าขาดสติเป็นประธานแล้วก็ไม่เรียกว่าเป็นสติปัฎฐาน

เพราะฉะนั้นหากเราเผลอทำสิ่งใดไป หรือเผลอไปไม่มีสติตั้งอยู่ในธรรมอันใดอันหนึ่งแล้ว

ก็เรียกไม่ได้ว่าขณะนั้นเราเจริญสติปัฏฐานอยู่


ความหมายต่อมาคือ "การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง"

ข้อนี้เป็นการขยายความให้เข้าใจยิ่งขึ้นไปอีกว่า

การดำรงอยู่ของสติในธรรมนั้นไม่ได้ตั้งอยู่แบบทื่อๆ ไม่ชวนให้เกิดปัญญา

การตั้งอยู่ของสตินั้นมีการพิจารณาตริตรองสิ่งทั้งหลาย

ให้เท่าทันตามความเป็นจริง คือไม่ได้เอื้อมแตะ แทรกแซงใดๆกับการรู้เห็นนั้น

สืบเนื่องให้มีการขยายความในประโยคถัดมาว่า


"การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย

โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมันไม่ถูกครอบงำ

ด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส"


เมื่อเรามีสติดำรงอยู่ในธรรม รู้เห็นตามความเป็นจริง แล้วก็จะรู้ทันตามสภาวะของมัน

โดยไม่ถูกครอบงำ เราจะไม่หลงยินดียินร้ายไปกับสภาวะนั้น

เพราะถ้าเราหลงไปเพียงเล็กน้อยไปยินดียินร้ายก็จะทำให้เราเห็นสภาวะนั้น

อย่างไม่เป็นกลาง ผิดเพี้ยนไปตามอำนาจของกิเลสได้

ดังนั้นถ้าเราเจริญสติแล้วหลงไปแทรกแซง กดทับสภาวะที่เกิดขึ้น

ขณะนั้นก็เรียกไม่ได้ว่าเราเจริญสติปัฏฐานอยู่



ขอขอบคุณที่มา : http://www.wimutti.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++
+ ขอน้อมนำ ไปปฏิบัติน่ะครับ golfreeze[at]packetlove.com   ยิ้มเท่ห์
++++++++++++++++++++++++++++++++++
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 12, 2009, 08:57:27 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: