ข้อความตอนท้ายของมหาสติปัฏฐายสูตร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 254
[๓๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
ว่าอย่างนั้นตลอด ๗ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระ-
อรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๖ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒
ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑......
.... ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกึ่งเดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๗ วัน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล
อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยัง
เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑...
คำอธิบายจากอรรถกถา(บางตอน)
คำว่า โย หิ โกจิ ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด
ผู้หนึ่ง ไม่ว่า ภิกษุหรือภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา. คำว่า เอวํ ภาเวยฺย
ความว่า พึงเจริญตามลำดับภาวนาที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น. คำว่า ปาฏิกงฺขํ
ความว่า พึงหวังได้ พึงปรารถนาได้ เป็นแน่แท้. คำว่า อญฺญา หมายถึง
พระอรหัต. คำว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า เมื่ออุปาทิเสสวิบากขันธ์
ที่กิเลสมีตัณหาเป็นต้นเข้าไปยึดไว้เหลืออยู่ ยังไม่สิ้นไป. คำว่า อนาคามิตา
แปลว่า ความเป็นพระอนาคามี. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ความที่
คำสั่งสอนเป็นธรรมนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์โดย ๗ ปี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะ
ทรงแสดงเวลา (ปฏิบัติ) ที่น้อยไปกว่านั้นอีก จึงตรัสว่า ติฏฺฐนฺตุ ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปี จงยกไว้ดังนี้เป็นต้น. ก็คำนั้นแม้ทั้งหมดตรัสโดย
เวไนยบุคคลปานกลาง. แต่ที่ตรัสว่าบุคคลรับคำสั่งสอนเวลาเช้า บรรลุคุณวิเศษ
เวลาเย็น รับคำสั่งสอนเวลาเย็น บรรลุคุณวิเศษเวลาเช้า ดังนี้ ทรงหมายถึง
บุคคลผู้มีปัญญาเฉียบแหลม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า คำสั่งสอนของเรา
นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงยังเทศนาที่ทรงแสดง ด้วยธรรม
อันเป็นยอด คือพระอรหัตให้จบลงในฐานะ ๒๑ ประการ จึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางดำเนินอันเอก เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน นี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วยประการฉะนี้ ...
ขอขอบคุณคำตอบจาก : พี่ prachern.s
http://www.dhammahome.com ครับผม