KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 คืออะไร สำคัญอย่างไรวิธีปฏิบัติ มหาสติปัฏฐาน 4
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีปฏิบัติ มหาสติปัฏฐาน 4  (อ่าน 26550 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2009, 09:22:55 PM »

ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน

(เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓)

        ผู้ที่ปฏิบัติโดยยึดหลัก"มหาสติปัฏฐาน๔" ควรสํารวจการปฏิบัติของเราด้วยว่าเราปฏิบัติเพื่อฝึกสติและใช้สติเพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในตัวตน,ของตัวตนของตนหรือ อุปาทานในกาย เวทนา จิต ธรรม ของเราเองถูกต้องดังพุทธประสงค์หรือไม่?  หรือเรากําลังปฏิบัติโดยไม่ทราบจุดมุ่งหมายพระพุทธประสงค์ หรือกําลังปฏิบัติสมาธิอยู่?

การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ อย่างถูกต้อง

        การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในขั้นต้นนั้น ต้องใช้สมาธิเป็นบาทฐานในการปฏิบัติ  เป็นการฝึกสมาธิและสติในขั้นแรกอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดสมาธิที่ หมายถึงความตั้งใจมั่น แล้วน้อมจิตที่สงบตั้งมั่นดีแล้วอันย่อมมีกำลังแล้วนั้นไปพิจารณาสังเกตุ ศึกษาให้เห็นธรรม(สิ่ง)ต่างๆตามความเป็นจริงให้ชัดเจนขึ้น เช่นเห็นกาย  และดำเนินก้าวต่อไปโดยการสังเกตุให้เห็นให้รู้เข้าใจเวทนา และจิตสังขารต่างๆที่เกิดขึ้น  ตลอดจนใช้พิจารณาธรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดภูมิรู้ภูมิญาณเข้าใจในสภาวะธรรมต่างๆอย่างปรมัตถ์ถูกต้อง  เมื่อปฏิบัติดังกล่าวดีแล้วก็ต้องนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจึงจักถูกต้องและบังเกิดผลสูงสุดขึ้นได้

        การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในสมาธิในเบื้องต้นนั้น  หาที่สงัด  ตั้งกายให้ตรง  ดำรงจิตให้มั่นนั้น  วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เกิดจิตเกิดความตั้งใจมั่นระดับเบื้องต้นก่อน คือ ไม่เลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิระดับประณีตจนปฏิบัติไม่ได้  หรือลงภวังค์  หรือหลับไปอย่างง่ายๆ   เพื่อจะได้ปฏิบัติให้เกิดสติและสัมมาสมาธิ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาทำความเข้าใจใน กาย เวทนา จิต และธรรมอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง(ปรมัตถ์)   ก็เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริงๆอีกครั้งในขณะดำรงชีวิตประจำวัน  ไม่ใช่เฉพาะในการปฏิบัติในรูปแบบแผนเท่านั้น  คือ ต้องนำไปฝึกฝนอบรมอีกครั้งหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันจนเป็นมหาสติ หรือเป็นดังเช่นสังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท)แต่มิได้เกิดแต่อวิชชา,  กล่าวคือเมื่อปฏิบัติโดยถูกต้องและประจำสมํ่าเสมอ จิตจะเริ่มกระทำตามสังขารที่ได้สั่งสมอบรมไว้เองโดยอัติโนมัติในชีวิตประจำวัน  นั่นแหละมหาสติหรือสังขารธรรมอันถูกต้อง เป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดในการปฏิบัติสติปัฏฐาน๔

การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

        ขณะดำเนินชีวิตประจำวันนั้น จะมีสิ่งต่างๆมากระทบผัสสะตลอดเวลา เมื่อธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดมากระทบและรู้เท่าทัน ก็ให้ปฏิบัติธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)นั้น  ขยายความ เพราะธรรมหรือสิ่งที่มาผัสสะนั้นมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ตลอดจนจริตของนักปฏิบัติเอง จึงมีความชำนาญชํ่าชองในการเห็นการรู้ในธรรมทั้ง ๔ ที่ย่อมแตกต่างกันออกไปตามจริตและสังขารที่ได้สั่งสมไว้นั่นเอง  และธรรมทั้ง ๔ นั้นเมื่อเห็นและรู้เท่าทัน ต่างก็ล้วนมีคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น ดังนั้นในการดำรงชีวิตประจำวันแล้วมีสติเห็นในธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดก่อนก็ได้ เพราะย่อมเกิดคุณดังนี้

        รู้เท่าทันกาย  เพื่อทำให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในกายอันเป็น ที่รักยิ่งโดยไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์  ว่าล้วนสักแต่ธาตุ๔ หรือสิ่งปฏิกูล ล้วนต้องเน่าเสีย คงทนอยู่ไม่ได้ ฯลฯ. เห็นการเกิดดังนี้จนชํ่าชอง เช่น ส่องกระจกก็รู้เท่าทันว่าห่วงกาย  เห็นเพศตรงข้ามที่ถูกใจ ฯลฯ. ก็รู้เท่าทัน ว่าสักแต่ว่ากายล้วนเป็นดั่งนี้เป็นต้น  แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง  ก็จะเห็นการดับในที่สุด

        รู้เท่าทันเวทนา เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในเวทนาความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง เช่น เห็นรูปที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ, ได้ยินเสียง(คำพูด)ที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ เห็นอาหารที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ  ก็ย่อมต้องเกิดความรู้สึก(เวทนา)ต่อสิ่งนั้นๆเช่นนั้นเอง ฯลฯ. เมื่อรู้เท่าทันจนชำนาญ จิตเมื่อเห็นความจริงการเกิดการดับและเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้บ่อยๆสักว่าเวทนาเป็นดังนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในเวทนาต่างๆเหล่านั้นในที่สุด

        รู้เท่าทันจิต  เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในจิตสังขาร(ความคิด ความนึกต่างๆ) เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ เป็นสังขารต่างๆทางใจเกิดขึ้นเช่น โทสะ(โกรธ) โลภ หลง ดีใจ เสียใจ ต่างๆ  เมื่อเห็นว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง จิตเมื่อเห็นความจริงเช่นนี้บ่อยๆสักว่าจิตเกิดเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในจิตสังขารความคิดปรุงแต่งเหล่านั้นในที่สุด

       รู้เท่าทันธรรม  เพื่อให้เกิดนิพพิทาและภูมิรู้ภูมิญาณความรู้ความเข้าใจอย่างปรมัตถ์ในสิ่งต่างๆนั่นเอง  เมื่อเกิดกาย เวทนา หรือจิตตามข้างต้น แล้วเกิดเห็นธรรมะใดๆก็หยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือคิดนึกสังเกตุในสิ่งเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างปรมัตถ์  การคิดนึกดังนี้ไม่ใช่การคิดนึกปรุงแต่งที่ก่อให้เกิดทุกข์  แต่เป็นคิดนึกที่จำเป็นในการดับทุกข์อย่างยิ่ง เช่นเห็นทุกข์หรือรู้ว่าเป็นทุกข์ก็รู้ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยใด(เห็นปฏิจจสมุปบาท),  เห็นความไม่เที่ยง(เห็นพระไตรลักษณ์) ดังนี้เป็นต้น


ขอขอบคุณ : http://www.nkgen.com/13.htm
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
valaladee
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 1


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 18, 2014, 01:41:37 PM »

ทำให้จิตใจสงบมากขึ้นครับ
บันทึกการเข้า

stable web hosting , email hosting => https://www.packetlove.com
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: