ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2484 ท่านมีอายุ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดทรายงาม บ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยพระปัญญาพิศาลเถระ(หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์กงมาจิรปุญโญเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตโต เป็นพระอนุสาวนาาจารย์ หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 8 ปี วันหนึ่ง พระอาจารย์กงมาก็พาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทรบุรีไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อวิริยังค์ได้รับเลือกให้เป็นอุปัฎฐากอยู่ 4 ปี ได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น เรียนธรรมะ อันลึกซึ้ง ได้จดคำสอนของหลวงปู่มั่นบางตอนไว้ (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด เมื่ออ่านให้ท่านฟังภายหลังท่าน กลับรับรองว่าใช้ได้) ต่อมาท่านได้เผยแพร่คำสอนนี้แก่สาธารณะชน ในหนังสือที่ชื่อว่า "มุตโตทัย"
การศึกษา(อายุ 15 ปี) พ.ศ. 2477 ได้บวชเป็นชีปะขาว การศึกษาเนื่องด้วยได้บวช ตั้งแต่อายุยังน้อย จบชั้น ป.4 เมื่อบรรพชาแล้วเรียนจบ น.ธ.ตรี นอกจากนั้นเป็นเวลาปฏิบัติกรรมฐาน เดินธุดงค์ตลอดระยะเวลาบรรพชา และอุปสมบท
อุปสมบท เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2484 ขณะอายุ 21 ปี ณ วัดทรายงาม
(อุทกสีมากลางทะเล) บ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี
โดยพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู)
เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระมหาทองสุข สุจิตฺโต เป็นประอนุสาวนาจารย์
สมณศักดิ์พ.ศ.2507 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูญาณวิริยะ
พ.ศ.2510 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณวิริยาจารย์
พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมเจติยาจารย์
พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเจติยาจารย์
เกียรติคุณปริญญากิตติมศักดิ์
พ.ศ. 2538 ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ด้านบริหารการพัฒนา จากสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
พ.ศ. 2545 ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
พ.ศ. 2545 ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษานอก ระบบ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2550 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง
โล่รางวัลพ.ศ. 2540 ได้รับรางวัล มูลนิธิสมาน คุณหญิงเบญจา แสงมะลิ สาขาพระสงฆ์
พ.ศ. 2541 ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติบุคคลดีเด่นของกรุงเทพมหานคร เพชรกรุงเทพสาขาศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและการศึกษา จากกรุงเทพมหานคร
ผลงานของพระเทพเจติยาจารย์
เนื่องด้วยพระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคลมีความประสงค์จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยและ ชาวต่างประเทศ ท่านได้พัฒนาถาวรวัตถุและให้การศึกษาทุก ๆ ด้านเห็นเป็นที่ประจักษ์ ดังนี้
1. สร้างวัด 11 แห่งในประเทศไทย
2. สร้างวัดไทยในประเทศแคนนาดา 7 แห่ง
3. สร้างวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง
4. สร้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่จังหวัดนครราชสีมา
5. สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายที่ 7,000 แห่ง
6. สร้างโรงพยาบาลจอมทอง
7. สร้างที่ว่าการอำเภอจอมทอง
8. สถาบันประถมศึกษาจอมทอง
9. สร้างพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย วัดธรรมมงคล
10. สร้างพระหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดธรรมมงคล
11. สร้างสถาบันพลังจิตตานุภาพในประเทศไทยและประเทศแคนนาดา ด้วยเวลาเพียง 8 ปี
12. สถาบันชนาพัฒน์ เป็นสถาบันพัฒนานักออกแบบชาวไทย ให้เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ
การสร้างวัดในประเทศไทยวัดที่ 1 พ.ศ. 2486 สร้างวัดบ้านห้วยแคน ต.หนองเทียน อ.เมือง จ.สกลนคร ขณะนั้นอายุได้ 24 ปี
วัดที่ 2 พ.ศ. 2487 สร้างวัดวิริพลาราม บ้านเต่างอย อ.เมือง จ.สกลนคร
วัดที่ 3 พ.ศ. 2489-91 สร้างวัดมณีคีรีวงศ์ (กงรังษี) จ.จันทบุรี มีกุฏิ ศาลา หอระฆัง ฯลฯ
วัดที่ 4 พ.ศ. 2491-95 สร้างวัดดำรงธรรมาราม อ.ขลุง จ.จันทบุรี ให้เป็นที่ธุดงค์วิปัสสนากัมมัฏฐาน
วัดที่ 5 พ.ศ. 2493 สร้างวัดสถาพรพัฒนา (วัดหนองชิ่ม) ต.หนองชิ่ม อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
วัดที่ 6 พ.ศ. 2506 สร้าง วัดธรรมมมงคล ถนนสุขุมวิท 101 พระโขนง กรุงเทพฯ เป็นวัดแรกในกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จทรงหล่อพระประธานเสร็จตัด ลูกนิมิต และเสด็จวางศิลาฤกษ์พระมหาเจดีย์ เนื้อที่ 32 ไร่ พระพุทธรูปหยกสีเขียวใหญ่ที่สุดในโลกเป็น ปฏิมากรรมที่มีความอัศจรรย์อย่างยิ่งแบบทันสมัย ศาลาพระหยกสวยงาม พระอวโลกิเตศวรกวนอิมหยก สีเขียวอันเดียวกับ พระหยก ถ้ำวิปัสสนาบรรจุได้กว่า 200 คน มีสวนป่าไม้ดอก ไม้ใบ ที่กว่า 4 ไร่ สระน้ำรื่นรมย์ เป็นสถานที่ฝึกสอนวิปัสสนา กุฏิถาวรหลังใหญ่ 2 ชั้น อีก 12 หลัง ศาลาการเปรียญ ศาลาเมรุฌาปนสถาน อุโบสถ และทีสำคัญที่สุดคือ พระมหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุสวยสด งดงาม ตามศิลปไทย วิจิตรตระการตาหาชมได้ยาก สิ้นงบประมาณร่วมร้อยล้านบาทมี พระภิกษุสามเณรพำนักอยู่ กว่า 400 รูปและมี ร.ร.อนุบาลธรรมศาลา อบรมสั่งสอนเด็กเล็ก
วัดที่ 7 พ.ศ. 2511 สร้างวัดหนองกร่าง วิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐมมีกุฏิ 80 หลัง ศาลาการเปรียญ อาคารเรียน 3 หลัง อุโบสถ 2 ชั้น มีพระภิกษุสงฆ์ ทั่วราชอาณาจักรศึกษา อยู่ปัจจุบัน 200 รูป
วัดที่ 8 พ.ศ. 2512 สร้างวัดผ่องพลอยวิริยาราม ซอยลาซาล สุขุมวิท 105 พระโขนง กรุงเทพฯ เนื้อที่ 10 ไร่ มีกุฏิ บำเพ็ญภาวนา 60 หลัง ศาลาปฏิบัติธรรม อุโบสถ หอระฆัง และอื่น ๆ
วัดที่ 9 พ.ศ. 2512 สร้างวัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) ซ.เสนานิคม 1 ถ.พหลโยธิน ลาดพร้าว กรุงเทพฯ มีกุฏิ 40 หลัง ศาลาปฏิบัติธรรม ร.ร.ปริยัติธรรม อุโบสถ มีพระสงฆ์ 100 รูป
วัดที่ 10 พ.ศ. 2513 สร้างวัดอมาตยาราม จ.ปราจีนบุรี เนื้อที่ 60 ไร่ มีศาลา กุฏิ อุโบสถครบบริบูรณ์
วัดที่ 11 พ.ศ. 2513 สร้างวิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน สาขาน้ำตกแม่กลาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เพื่อการปฏิบัติธรรมให้บรรลุเป้าหมายในทางปฏิบัติบำเพ็ญวิปัสสนา ชั้นสูงเหมาะกับภูมิประเทศแถบนี้ ปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2530-2534) พระญาณวิริยาจารย์จะปฏิบัติธรรมจำพรรษาอยู่ที่น้ำตกแม่กลางนี้ และฝึกพลังจิตให้สว่างไสวแล้วนำไปโปรดญาติโยมต่อไป
วัดที่ 12 พ.ศ. 2514 สร้างวิทยาลัยสงฆ์วังน้อย จ.อยุธยา (วชิราลงกรณ์วิทยาลัย) เนื้อที่ 108 ไร่ มีพระภิกษุสามเณร 300 รูป ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในปัจจุบัน
วัดที่ 13 พ.ศ. 2516 สร้างวัดแก้วพิทักษ์เจริญธรรม ซ.อุดมสุข สุขุมวิท 103 พระโขนง กรุงเทพฯ มีกุฏิ โรงครัว บ่อน้ำ อุโบสถ ตามลำดับ
การสร้างวัดในต่างประเทศวัดที่ 14 พ.ศ. 2535 วัดญาณวิริยาเทมเปิ้ล 1 เมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริทิชโคลัมเบีย ประเทศแคนนาดา
วัดที่ 15 พ.ศ. 2536 วัดญาณวิริยาเทมเปิ้ล 2 เมืองโตตรอนโต้ ประเทศแคนนาดา
วัดที่ 16 พ.ศ. 2538 วัดธรรมวิริยาราม 1 ออตตาวา (เมืองหลวง) ประเทศแคนนาดา
วัดที่ 17 พ.ศ. 2540 วัดธรรมวิริยาราม 2 น้ำตกไนแองการ่า ออนโตริโอ ประเทศแคนนาดา
วัดที่ 18 พ.ศ. 2541 วัดธรรมวิริยาราม 3 เมืองแอตแมนตัน ประเทศแคนนาดา
วัดที่ 19 พ.ศ. 2542 วัดธรรมวิริยาราม 4 เมืองแคลการี ประเทศแคนนาดา
ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.dhammamongkol.com/history_prim.php