KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน ประวัติของพระอริยสงฆ์ สาวกที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รวมทั้งปฏิปทาในการปฏิบัติหลวงปู่ชา สุภัทโท ajan chah แห่งวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่ชา สุภัทโท ajan chah แห่งวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี  (อ่าน 42683 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 11, 2009, 04:32:40 PM »


Ajan Chah at Nongprapong temple , Ubonratchatani Thailand.

หลวงปู่ชา สุภัทโท พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) หรือ หลวงพ่อชา หรือ อาจารย์ชา
เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน

หลวงปู่ชา สุภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสำนักปฏิบัติธรรมในนามวัดสาขาวัดหนองป่าพงมากมาย ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ศิษยานุศิษย์ของท่านก็ยังคงรักษาแนวทางปฏิบัติธรรมที่ท่านได้สั่งสอนไว้ จนถึงปัจจุบัน

การศึกษา

หลวงปู่ชาได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถมปีที่ 1 แล้วได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน ภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้วได้เรียนหนังสือธรรมเรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ จนสามารถอ่านแปลภาษาบาลีได้ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสูงสุดสายนักธรรม คือ สอบได้นักธรรมชั้น เอก



ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์

เมื่ออายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษาแล้ว โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชา วิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น สามเณรชา โชติช่วง เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2474 โดยมีท่านพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) อดีตเจ้าอาวาส วัดมณีวนาราม อุบลราชธานี เป็นอุปัชฌาย์สามเณรชา โชติช่วง ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้เอาใจใส่ต่อภารกิจของสามเณรท่องสวดมนต์ ทำวัตร ศึกษาหลักสูตรนักธรรมปฏิบัติพระเถระ แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา ทั้งนี้ด้วยความจำเป็นของครอบครัวแบบชาวไร่ชาวนาอีสานทั่วไป ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในการบวชเรียน จึงสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องอุปสมทบเป็นพระให้ได้ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ภายหลังเมื่อตกลงกับบิดามารดาและท่านทั้ง 2 ก็อนุญาตแล้วจึงได้ฝากตัวที่วัดก่อในที่ใกล้บ้าน แล้วได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี โดยมีพระเถระสำคัญที่ให้การอุปสมบทดังนี้

    พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชาฌาย์
    พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอธิการสอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดก่อนอกแห่งนี้

ศึกษาปริยัติธรรมต่างถิ่น

เมื่อพระชา สุภทฺโท สอบนักธรรมตรีได้แล้ว ก็อยากเรียนให้สูงขึ้นเพราะมีจิตใจรักชอบทางธรรมอยู่แล้ว แต่ขาดครูอาจารย์ในการสอนระดับสูงต่อไป นึกถึงภาษิตอีสานที่ว่า "บ่ออกจากบ้านบ่ฮู้ฮ่อมทางเทียว บ่เฮียนวิชาห่อนสิมีความฮู้" ชีวิตช่วงนี้จะเห็นได้ชัดว่า พระชา สุภทฺโท มุ่งเรียนปริยัติธรรมให้สูงสุด จึงทุ่มเทให้การศึกษาทั้งนักธรรมและบาลี และผ่านสำนักต่างๆ มากมายจนในที่สุดก็สอบนักธรรมได้ครบตามหลักสูตร คือ สอบนักธรรมชั้นโทได้ ในสำนักของ พระครูอรรคธรรมวิจารณ์ สอบนักธรรมชั้นเอกได้ในสำนักวัดบ้านก่อนอกถิ่นเกิด

สู่การปฏิบัติธรรม

เสร็จภารกิจการศึกษา ประกอบกับเกิดธรรมสังเวชคราวโยมบิดาเสียชีวิต จึงหันมาสู่การปฏิบัติธรรม โดยออกธุดงค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติในสำนักต่างๆ ผ่านอาจารย์ก็มากมาย เช่น หลวงปู่กินรี หลวงปู่เถระชาวเขมร อาจารย์คำดี พระอาจารย์มั่น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดได้รับอาราธนาจากโยมมารดาและพี่ชาย เพื่อกลับไปโปรดสัตว์ที่บ้านเกิด เมื่อ พ.ศ. 2497 ก็ได้ดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ "วัดหนองป่าพง" และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม 2535 เวลา 05.30 น. อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 11, 2013, 01:22:32 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 11, 2009, 04:36:47 PM »



คำสอน

คำสอนของหลวงปู่ชาทั้งหมด สามารถสรุปลงได้ดังนี้

   1. จุดหมาย : มรรค ผล นิพพาน พ้นทุกข์
   2. เนื้อหา : ศีล สมาธิ ปัญญา
   3. วิธีการ : สมถ วิปัสสนา
   4. กลวิธี : มองเข้าหาตัว ดูธรรมชาติ เปรียบเทียบ กับธรรมชาติ ทำให้ดู แล้วรู้ตาม


หยุดชั่ว มันก็ดี
การไม่กระทำบาปนั้นมันเลิศที่สุด บางคนบางคราว โจรมันก็ให้ได้ มันก็แจกได้
แต่ว่าจะพยายามสอนให้มันหยุดเนโจรนั้นนะ มันยากที่สุด
การจะละความชั่วไม่กระทำผิดมันยาก การทำบุญ โจรมันก็ทำได้ มันเป็นปลายเหตุ
การไม่กระทำบาปทั้งหลายทั้งปวงนั้นนะเป็น ต้นเหตุ



นอกเหตุเหนือผล
พระพุทธองค์ท่านทรงสอนว่าให้ "นอกเหตุเหนือผล"ไม่ว่าจะทำอะไร
ปัญญาของท่านให้นอกเหตุเหนือผล ให้นอกเกิดเหนือตาย นอกสุขเหนือทุกข์
ลองคิดตามไปซิลองพิจารณาไปตาม คนเราเคยอยู่ในบ้าน พอหนีจากบ้านไปไม่มีที่อยู่ไม่รู้จะทำอย่างไร
เพราะเรามันเคยอยู่ในภพ อยู่ในความยึดมั่นถือมั่นเป็นภพ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2009, 04:48:36 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 08:12:30 PM »

หลวงปู่ชา

 หลวงปู่ชา สุภทฺโท

ปัจจุบันนี้โลกเราต้องการคนดี โลกต้องการการให้อภัย
เพราะนั่นเป็นทางแห่งความสันติสุข ต้องให้อภัย ทำใจให้กว้างขวาง
จึงจะได้ชื่อว่า เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้จริง


ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย


พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภทฺโท) หรือ หลวงพ่อชา หรือ อาจารย์ชา เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461
ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน

การศึกษา

หลวงพ่อชาได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี
จนจบชั้นประถมปีที่ 1 แล้วได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน
ภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้วได้เรียนหนังสือธรรมเรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์
จนสามารถอ่านแปลภาษาบาลีได้ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสูงสุดสายนักธรรม คือ สอบได้นักธรรมชั้น เอก

ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์

เมื่ออายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษาแล้ว
โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี
จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น สามเณรชา โชติช่วง เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2474
โดยมีท่านพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) อดีตเจ้าอาวาส วัดมณีวนาราม อุบลราชธานี
เป็นอุปัชฌาย์สามเณรชา โชติช่วง ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์
เป็นเวลา 3 ปี ได้เอาใจใส่ต่อภารกิจของสามเณรท่องสวดมนต์ ทำวัตร ศึกษาหลักสูตรนักธรรมปฏิบัติพระเถระ
แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา ทั้งนี้ด้วยความจำเป็นของครอบครัวแบบชาวไร่ชาวนาอีสานทั่วไป  

ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในการบวชเรียน จึงสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องอุปสมทบเป็นพระให้ได้
เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ภายหลังเมื่อตกลงกับบิดามารดาและท่านทั้ง 2 ก็อนุญาตแล้วจึงได้ฝากตัวที่วัดก่อในที่ใกล้บ้าน
แล้วได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น.
ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี โดยมีพระเถระสำคัญที่ให้การอุปสมบทดังนี้

พระครูอินทรสารคุณ
เป็นพระอุปัชาฌาย์


พระครูวิรุฬสุตการ
เป็นพระกรรมวาจาจารย์


พระอธิการสอน
เป็นพระอนุสาวนาจารย์


พระชา สุภทฺโท

ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์  
จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดก่อนอกนี้

ศึกษาปริยัติธรรมต่างถิ่น

เมื่อพระชา สุภทฺโท สอบนักธรรมตรีได้แล้ว ก็อยากเรียนให้สูงขึ้นเพราะมีจิตใจรักชอบทางธรรมอยู่แล้ว
แต่ขาดครูอาจารย์ในการสอนระดับสูงต่อไป นึกถึงภาษิตอีสานที่ว่า  
"บ่ออกจากบ้านบ่ฮู้ฮ่อมทางเทียว บ่เฮียนวิชาห่อนสิมีความฮู้"   ชีวิตช่วงนี้จะเห็นได้ชัดว่า พระชา สุภทฺโท
มุ่งเรียนปริยัติธรรมให้สูงสุด จึงทุ่มเทให้การศึกษาทั้งนักธรรมและบาลี และผ่านสำนักต่างๆ มากมายจนในที่สุดก็สอบนักธรรมได้ครบตามหลักสูตร คือ สอบนักธรรมชั้นโทได้ ในสำนักของ พระครูอรรคธรรมวิจารณ์ สอบนักธรรมชั้นเอกได้ในสำนักวัดบ้านก่อนอกถิ่นเกิด

สู่การปฏิบัติธรรม

เสร็จภารกิจการศึกษา ประกอบกับเกิดธรรมสังเวชคราวโยมบิดาเสียชีวิต
 จึงหันมาสู่การปฏิบัติธรรม โดยออกธุดงค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติในสำนักต่างๆ ผ่านอาจารย์ก็มากมาย เช่น

หลวงปู่กินรี  จนทิโย
หลวงปู่เถระชาวเขมร
อาจารย์คำดี  ปภาโส
พระอาจารย์มั่น  ภูริทตฺโต

พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณะเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา
จนในที่สุดได้รับอาราธนาจากโยมมารดาและพี่ชาย เพื่อกลับไปโปรดสัตว์ที่บ้านเกิด เมื่อ พ.ศ. 2497
ก็ได้ดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ "วัดหนองป่าพง" และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด
และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม 2535 เวลา 05.30 น. อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศ
                                
หลวงปู่ชา สุภทฺโท

เกียรติประวัติที่สร้างไว้ในพระพุทธศาสนา
29 เมษายน 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง
5 ธันวาคม 2516 ได้รับการสถาปนาเป็นพระราชาคณะ "พระโพธิญาณเถระ"
4 กุมภาพันธ์ 2527 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ
6 มิถุนายน 2521 ได้รับพัด พัฒนาเชิดชูเกียติ จากกรมการศาสนา
30 กันยายน 2531 ได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง จากกรมการศาสนาธรรมโอวาท


ยอดคำสอน

ยอดคำสอน เป็นคำสอน เป็นคติ เป็นปรัชญาสั้นๆ ที่คมลึกซึ้ง
ใครได้ฟังแล้วจะเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง และบางครั้งอาจจะถึงกับอุทานออกมาว่า
ท่านคิดและกลั่นกรองคำเหล่านี้ออกมาจากจิตได้อย่างไร ถ้าจิตนั้นไม่บริสุทธิ์แจ่มใสเยี่ยงผู้บรรลุธรรม
ขอท่านได้สังเกตคำสอนต่อไปนี้

ธรรมดาๆ

ตามความเป็นจริงแล้ว โลกที่เราอยู่นี้ไม่มีอะไรทำไมใครเลย
ไม่มีอะไรจะเป็นที่วิตกวิจารณ์เลย
ไม่มีอะไรที่น่าจะร้องไห้หรือหัวเราะ
เพราะมันเป็นเรื่องอย่างนั้นธรรมดาๆ
แต่เราพูดธรรมดาได้ แต่มองไม่เห็นธรรมดา
แต่ถ้าเรารู้ธรรมะสม่ำเสมอ
ไม่มีอะไรเป็นอะไรแล้ว
มันเกิดมันดับของมันอยู่อย่างนั้น
เราก็สงบ
การปฏิบัติคืออำนาจ
พระพุทธศาสนาไม่มีอำนาจอะไรเลย
แม้ก้อนทองคำก็ไม่มีราคา ถ้าเราไม่มารวมกันว่ามันเป็นโลหะที่ดีมีราคา
ทองคำมันก็ถูกทิ้งเหมือนก้อนตะกั่วเท่านั้นแหละ
พระพุทธศาสนาตั้งไว้มีอยู่
แต่ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ จะไปมีอำนาจอะไรเล่า
อย่างธรรมะเรื่องขันติมีอยู่
แต่เราไม่อดทนกัน
มันจะมีอำนาจอะไรไหม?

ชนะตนเอง

ถ้าเราเอาชนะตัวเอง
มันก็จะชนะทั้งตัวเองชนะทั้งคนอื่น
ชนะทั้งอารมณ์ ชนะทั้งรูป ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น
ทั้งรส ทั้งโผฎัฐพพะ
เป็นอันว่าชนะทั้งหมด

สุขทุกข์

คนที่ไม่รู้จักสุข ไม่รู้จักทุกข์นั้น
ก็จะเห็นว่า สุขกับทุกข์นั้นมันคนละระดับ
มันคนละราคากัน
ถ้าผู้รู้ทั้งหลายแล้ว
ท่าน จะเห็นว่า
สุขเวทนา กับทุกขเวทนา
มันมีราคาเท่าๆ กัน

เกิดตาย

เมื่อเราเกิดมาแล้วโยม ก็คือเราตายแล้วนั่นเอง
ความแก่กับความตายมันก็คืออันเดียวกันนั่นแหละ
เหมือนกับต้นไม้ อันหนึ่งต้น อันหนึ่งปลาย
เมื่อมีโคนมันก็มีปลาย
เมื่อมีปลายมันก็มีโคน
ไม่มีโคนปลายก็ไม่มี
มีปลายก็ต้องมีโคน
มีแต่ปลายโคนไม่มีก็ไม่ได้
มันเป็นอย่างนั้น

อารมณ์นี้ก็เหมือนกับงูเห่าที่มีพิษร้ายนั้น

อารมณ์ที่พอใจก็มีพิษมาก
อารมณ์ที่ไม่พอใจก็มีพิษมาก
มันทำให้จิตใจของเราไม่เป็นเสรี
ทำให้จิตใจไขว้เขวจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า


ของจริง


ธรรมของจริงของแท้ที่ทำให้บุคคลเป็นอริยะได้
มิใช่เพียงศึกษาตามตำรา
และนึกคิดคาดคะเนเอาเท่านั้น
แต่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นจริงๆ
ของจริงจึงจะเป็นของจริงขึ้นมาได้

ได้เสีย

ทุกอย่างที่เรามีอยู่เป็นอยู่นั้น
มันเป็นสักแต่ว่า "อาศัย" เท่านั้น
ถ้ารู้ได้เช่นนี้ ท่านว่ารู้เท่าตามสังขาร
ที่นี้แม้จะมีอะไรอยู่ก็เหมือนไม่มี
ได้ก็เหมือนเสีย
เสียก็เหมือนได้

พิการ

เด็กทั้ง 2 พิการ เดินทางได้
จะเข้ารกเข้าป่าก็รู้
แต่เราพิการใจ (ใจมีกิเลส)
จะพาเข้ารกเข้าป่าหรือเปล่า
คนพิการกายอย่างเด็กนี้ มิได้เป็นพิษเป็นภัยกับใคร
แต่ถ้าคนพิการใจมากๆ
ย่อมสร้างความวุ่นวายยุ่งยากแก่มนุษย์และสัตว์
ให้ได้รับความเดือดร้อนมากทีเดียว

คนดีอยู่ไหน

คนดีอยู่ที่เรานี่แหละ
ถ้าเราไม่ดีแล้ว
เราจะอยู่ที่ไหนกับใคร
มันก็ไม่ดีทั้งนั้น

ชีวิต

เมื่อเราทอดอาลัยในชีวิต
วางมันเสีย ไม่เสียดาย
ไม่กลัวตาย
ก็ทำให้เราเกิดความสบาย และเบาใจจริงๆ

นั่งที่ไหนดี

จะนั่งหัวแถวหรือหางแถวก็ไม่แปลก
เหมือนเพชรนิลจินดา
จะวางไว้ที่ไหนก็มีราคาเท่าเดิม
และจะได้เป็นการลดทิฐิมานะให้น้อยลงไปด้วย

ไม่กลัวตาย

กลัวอะไร?
กลัวตาย
ความตายมันอยู่ที่ไหน?
อยู่ที่ตัวเราเอง
จะหนีพ้นมันได้ไหม?
ไม่พ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
ในที่ มืด หรือในที่แจ้ง ก็ตายทั้งนั้น หนีไม่พ้นเลย
จะกลัวหรือไม่กลัวก็ไม่มีทางพ้น
เมื่อรู้อย่างนี้
ความกลัวไม่รู้หายไปไหน
เลยหยุดกลัว
เหมือนกับที่เราออกจากที่มือสู่ที่สว่างนั่นแหละ

สอนคนอย่างไร


ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อนแล้ว
จึงสอนคนอื่นทีหลัง
จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก
สอนคนด้วยการทำให้ดู
ทำเหมือนพูด
พูดเหมือนทำ

มนุษย์ศาสตร์

มนุษยศาสตร์ทั้งหลาย มีแต่ศาสตร์ที่ไม่มีคมทั้งนั้น
ไม่สามารถจะตัดทุกข์ได้
มีแต่ก่อให้เกิดทุกข์
ศาสตร์เหล่านั้น ถ้าไม่มาขึ้นกับพุทธศาสตร์แล้ว
มันจะไปไม่รอดทั้งนั้น

หลับ-ไม่หลับ

ถ้าหลับมันก็ไม่รู้
ถ้ารู้มันก็ไม่กลับ
มรรคผล
มรรคผลยังไม่พ้นสมัย
คนโง่เท่านั้นที่ปฏิเสธว่า
ในพื้นดินไม่มีน้ำแล้วไม่ยอมขุดบ่อ

ไม่คดคนงอ

ต้นไม้เถาวัลย์ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร
คนคดคนงอนั้น ร้ายนัก
เป็นพิษเป็นภัยทั้งอยู่บ้านและอยู่วัด

หลง

คนหลงโลกคือคนหลงอารมณ์
คนหลงอารมณ์คือคนหลงโลก

นักปฏิบัติ


กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย คือนักปฏิบัติ
กินมาก นอนมาก พูดมาก คือ คนโง่

แสดงอาการ


การหัวเราะเป็นอาการของคนบ้า
การร้องไห้เป็นอาการของทารก
ฉะนั้นท่านผู้ถึงสงบ
จะไม่หัวเราะไม่ร้องไห้

สอนอย่างไร

ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน
แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง
จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก

ความอาย

เมืองนี้ยังไม่เคยมีพระบิณฑบาตเลย
เพราะเขามีความอายกันเป็นส่วนมาก
แต่ตรงกันข้ามกับเรา
เราเห็นว่า
คำที่ว่าอายนี้
เราเห็นว่า อายต่อบาป
อายต่อความผิดท่านั้น

เมืองนอก

เราได้เดินทางไปเมืองนอก
และเมืองในนอก
และเมืองในใน
และเมืองนอกนอก
รวมสี่เมืองด้วยกัน

ที่รวมสมาธิ

เมื่อนั่งหลับตาให้ยกความรู้สึกขึ้นเฉพาะลมหายใจ
เอาลมหายใจเป็นประธาน
น้อมความรู้สึกตามลมหายใจ
เราจึงจะรู้ว่าสติมันรวมอยู่ตรงนี้
ความรู้มันจะมารวมอยู่ตรงนี้

เกาะสีชัง

เรามาอาศัยอยู่ที่เกาะนี้ คือที่พึ่งทางใน
ซึ่งเป็นที่อันน้ำคือกิเลสตัณหาท่วมไม่ถึง
แม้เราจะอยู่บนเกาะสีชัง
แต่ก็ยังค้นหาเกาะภายในอีกต่อไป
ผู้ที่ท่านได้พบ และอาศัยเกาะอยู่ได้นั้น
ท่านย่อมอยู่เป็นสุข
ต่างจากคนที่ลอยคออยู่ในทะเล คือความทุกข์

กินแบบไหน


ฉันอาหารไม่พิจารณา
จะเป็นเหมือนปลากินเหยื่อ
ย่อมติดเบ็ด

บริขาร

บริขารทั้งปวงเป็นเพียงเครื่องประดับขันธ์ห้าเท่านั้น
การไม่รู้จักประมาณในการบริโภคบริขาร
มีความกังวลในการจัดหา
ย่อมเป็นการยุ่งยาก

ขาดการปฏิบัติธรรม

ย่อมไม่ได้รับผลอันตนพึงปรารถนา

อยู่กับใคร

การคลุกคลีอยู่กับผู้มีปฏิปทาไม่เสมอกัน
ทำให้เกิดความลำบาก
ความรู้สึกจะมารวมอยู่ตรงนี้
อารมณ์เราเป็นอย่างนี้
เราจึงจะรู้จักที่รวมแห่งสมาธิ
ปล่อยลม-ได้สมาธิ-ปัญญา
เรากำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว
เราปล่อยลมให้เป็นธรรมชาติ
อย่าไปบังคับลมให้มันยาว
อย่าไปบังคับลมให้มันสั้น
ปล่อยสภาพลมให้พอดี
แล้วดูลมหายใจเข้าออก
เมื่อปล่อยอารมณ์ได้
เสียงอะไรก็ไม่ได้ยิน
ถ้าจิตเราวุ่นวายกับสิ่งต่างๆ
ไม่ยอมรวมเข้ามา
ก็ต้องสูดลมเข้าไปให้มากที่สุด
จนกว่าจะไม่มีที่เก็บ
แล้วก็ปล่อย ลมออกให้มากที่สุด
จนกว่าลมจะหมดในท้องสัก 3 ครั้ง
ถ้าเรามีสติอย่างนี้
อย่างวันนี้ เข้าสมาธิสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง
จิตใจของเรา จะมีความเยือกเย็น ไปตั้งหลายวัน
แล้วจิตจะสะอาด
เห็นอะไรจะรับพิจารณาทั้งนั้น

นี้เรียกว่าผลเกิดจากสมาธิ
สมาธิมีหน้าที่ทำให้สงบ
เมื่อจิตเราสงบแล้ว
จะมีการสังวร สำรวมด้วยปัญญา
เมื่อสำรวมเข้า ละเอียดเข้า
มันจะเป็นกำลังช่วยศีลให้บริสุทธิ์ขึ้นมาก
แล้วสมาธิก็จะเกิดขึ้นมาก
เมื่อสมาธิเต็มที่ก็จะเกิดปัญญา

ปลดทุกข์

ทุกข์มีเพราะยึด ทุกข์ยึดเพราะอยาก
ทุกข์มากเพราะพลอย ทุกข์น้อยเพราะหยุด
ทุกข์หลุดเพราะปล่อย



สาธุๆ ในธรรมะที่หลวงปู่ชา ท่านเห็นด้วยนะครับผม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2014, 10:31:55 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2012, 08:14:30 PM »

นักอุปมาอุปมัย

หลวงปู่ชา นับเป็นนักปฏิบัติธรรมที่ติดดินที่สุด ท่านสอนจากธรรมชาติที่ต่ำ
ที่สุดเพื่อให้เกิดสิ่งที่สุดคือมรรคผล โดยมีคนเปรียบเทียบแง่มุมนี้ว่าคล้ายกับแนว คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ

แต่จุดเด่นอันหนึ่งของแนวคำสอนของหลวงปู่ชาก็คือ "การเปรียบเทียบ"
ท่านหาเรื่องมาเปรียบเทียบเพื่ออธิบายคำสอนของท่านได้อย่างเหมาะเจาะและเข้าใจง่าย ดังข้อเปรียบเทียบต่อไปนี้.-

มะม่วง
ถ้าพูดให้สั้นเข้ามา
ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี มันก็เป็นอันเดียวกัน
ศีลก็คือ สมาธิ สมาธิก็คือศีล
สมาธิก็คือ ปัญญา ปัญญาก็คือสมาธิ
ก็เหมือนมะม่วงใบเดียวกัน
เมื่อมันเป็นดอกขึ้นมามันก็ดอกมะม่วง
เมื่อเป็นลูกเล็กก็เรียกว่าผลมะม่วง
เมื่อมันโตขึ้นมา ก็เรียกมะม่วงลูกโต
มันโตขึ้นไปอีกก็เรียกมะม่วงห่าม
เมื่อมันสุกก็คือมะม่วงสุก
มันก็มะม่วงลูกเดียวกันนั่นแหละ
มันเปลี่ยน ไป
มันจะโตมันก็โตไปหาเล็ก
เมื่อมันเล็กมันก็เล็กไปหาโต


มีด
สมถะกับวิปัสสนา
มันแยกกันไม่ได้หรอก
มันจะแยกกันได้ก็แต่คำพูด
เหมือนกับมีดเล่มหนึ่งนะ
คมมันก็อยู่ข้างหนึ่ง
สันมันก็อยู่ข้างหนึ่งนั่นแหละ
มันแยกกันไม่ได้หรอก
ถ้าเราจับด้ามมันขึ้นมาอันเดียวเท่านั้น
มันก็ติดมาทั้งคมทั้งสันนั่นแหละ

งู

มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์
ต้องการแต่สุข
ความจริงสุขนั้นก็คือทุกข์อย่างละเอียด
เช่นเดียวกับทุกข์ก็คือ ทุกข์อย่างหยาบ
พูดอย่างง่ายๆ
สุขและทุกข์ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง
ทางหัวมันเป็นทุกข์
ทางหางมันเป็นสุข
เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ มันก็กัดเอา
ไปจับหางมันก็เหมือนเป็นสุข
แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้ เหมือนกัน
เพราะทั้งหัวงูและหางงู
มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน
เช่นเดียวกับสุขและทุกข์
ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน
หมายังรู้
หมามันยังรู้จักอารมณ์ของมันเลย
เวลาหิวมันก็คราง "หงิงๆ"
ใครไม่รู้จักอารมณ์ของตัวเองก็ตายเสียดีกว่า

โคตรของสมาธิ

มีอุบาสกคนหนึ่งถาม หลวงพ่อว่า "ถ้าทำสมาธินี้ เอาแต่ขณิกก็พอ ไม่จำเป็นต้องไปไกลกว่านั่นใช่ไหมครับ"
หลวงพ่อชา ตอบว่า "ก็ไม่เป็นไรอย่างนั้น คือหมายความว่า มันต้องเดินไปถึงกรุงเทพฯ
ก่อนว่ากรุงเทพมันเป็นอย่างนี้ อย่าไปถึงแค่โคราชซิ...คือไปให้ถึงกรุงเทพฯก่อน
ละเราก็ผ่านอุบลราชธานีด้วย ผ่านโคราชด้วย ผ่านกรุงเทพฯ ด้วย คือเรียกว่าสมาธินะ
ขณิกสมาธิ อัปปณาสมาธิ มันจะถึงที่ไหนก็ให้มันถึงที่ มันจึงจะรู้จักโคตรของสมาธิว่ามันเป็นอย่างไร
อัปปณาสมาธิที่มันมากกว่าอุปจารสมาธิ"

หัวกลอย
ให้กลับความรักที่มีอยู่ให้กลายเป็นความรักสากล
ให้กลายเป็นความรักที่มีต่อสรรถสัตว์ทั้งหลาย
รักเหมือนแม่รักลูก พ่อรักลูก แม้ผมอยู่กับพวกท่าน
ผมก็รักท่านเหมือนเป็นลูกเป็นหลาน ให้ล้างความใคร่
ออกจากความรักเหมือนหัวกลอย ต้องแล่เอาพิษออกจึงกินได้
ความรักก็เช่นเดียวกัน ต้องพิจารณา มองให้เห็นทุกข์ของมัน
ค่อยๆ ล้วงเอาเชื้อแห่งความมัวเมาออก เพื่อให้เหลือแต่ความ
รักล้วนๆ เหมือนครูบาอาจารย์รักศิษย์

จิตคือควาย
เปรียบเสมือนกับการเลี้ยงควาย
จิตของเราก็เหมือนควาย
อารมณ์คือต้นข้าว
ผู้รู้เหมือนเจ้าของ
เวลาเราไปเลี้ยงควายทำอย่างไร
ปล่อยมันไป
แต่เราพยายามดูมันอยู่
ถ้ามันพยายามเดินไปใกล้ต้นข้าว
ก็ตวาดมัน
ควายได้ยินก็จะถอยออกไป
แต่เราอย่าเผลอะนะ
ถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียง
ก็เอาไม้ฆ้องฟาดมันจริงๆ
มันจะไปไหนเสีย

วัวไม่กินหญ้าก็คือหมู
ทุกวันนี้ อาตมาไม่ค่อยได้เทศน์มาก อยู่วัดอยู่วาก็เหมือนกัน
ปีนี้เทศน์ให้แม่ชีฟังถึงสองสามครั้งหรือเปล่า ก็จำไม่ได้
พระเจ้าพระสงฆ์ก็ให้อยู่เฉยๆ ให้ดูเอาปฏิบัติเอง
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
เพราะเข้าใจว่า คนมีศรัทธา จึงเข้ามาในวัด จึงมาบวชเป็นปะขาว
จึงมาบวชเป็นเณร จึงมาบวชเป็นพระ
เข้าใจอย่างนั้น
ถ้าเข้าใจอย่างนั้นก็เหมือนกันกับวัวเราน่ะแหละ
วัวมันกินอะไร
มันกินหญ้า
จับมันมาปล่อยใส่สนามหญ้าแล้ว
ถ้ามันไม่กินหญ้ามันก็เป็นหมู่เท่านั้นแหละ

นักปฏิภาณ

บางครั้งหลวงพ่อชา ท่านมีจิตแจ่มใส เดาใจคนถามได้อย่างแม่นยำ
จึงมักจะมีการใช้ปฏิภาณโต้ตอบปัญหาอย่างเฉียบแหลมอยู่เสมอ
ใครรู้อัตตา
คนที่นับถือพระเจ้า ไม่ยอมรับคำสอนเรื่อง "อนัตตา" ของพุทธศาสนา
เหตุผลของเขาก็คือ "จะเอาอะไรมารู้อนัตตาเล่า ถ้าไม่ใช่อัตตา"
วันหนึ่ง มีชาวคริสต์มาถามหลวงพ่อว่า "ใคร่รู้อนัตตา"
หลวงพ่อถามกลับทันที "ใครรู้อัตตา"

นกไม่รู้เรื่องปลา

มีชาวต่างประเทศถามหลวงพ่อว่า ชีวิตพระเป็นอย่างไร?
หลวงพ่อคิดว่าตอบอย่างไรก็ไม่เข้าใจแน่ เพราะเขายังไม่รู้จักพระ
จึงตอบไปว่า
ถึงปลาจะบอกว่าอยู่ในน้ำเป็นอย่างไร
นกก็ไม่มีทางจะรู้ได้
ตราบใดที่นกยังไม่เป็นปลา
ของแปลก

ในความเคร่งเครียดในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อก็ยังมีแง่มุมที่ขบขันให้เราได้เห็นบ้างเป็นการหักมุมที่ค่อนข้างจะตื่นเต้นมาก
ดังที่ท่านบันทึกไว้ในการเดินทางไป ประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2520 ว่า

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการเดินทางในวันที่ 6 ในขณะที่บินอยู่เครื่องบินได้เกิดอุบัติเหตุยางระเบิด 1 เส้นบนอากาศ พนักงานการบินจึงได้ประกาศให้ผู้โดยสารเตรียมตัวรัดเข็มขัดมีฟันปลอมก็ต้องถอดออก แม้กระทั่งแว่นตาหรือรองเท้า เครื่องบริขารทุกอย่างต้องเตรียมพร้อมหมดผู้โดยสารทุกคนเมื่อเก็บบริขารทุกอย่างเสร็จแล้ว ต่างคนต่างก็เงียบ คงคิดว่าจะเป็นวาระสุดท้ายของพวกเราทุกคนเสียแล้ว ขณะนั้นเราก็ให้คิดว่าเป็นครั้งแรกที่เราได้เดินทางมาเมืองนอก เพื่อสร้างประโยชน์แก่พระศาสนา จะเป็นผู้มีบุญอย่างนี้เทียวหรือ เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้ว ก็ตั้งสัตย์อธิษฐานมอบชีวิตให้พระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ แล้วก็กำหนดจิตรวมลงในสถานที่ควรอันหนึ่ง แล้วก็ได้รับความสงบเยือกเย็นดูคล้ายกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น พักในที่ตรงนั้น จนกระทั่งเครื่องบินได้ลดระดับลงมาถึงแผ่นดินด้วยความปลอดภัย ฝ่ายคนโดยสารก็ปรบมือกันด้วยความดีใจ คงคิดว่าเราปลอดภัยแล้วสิ่งที่แปลกก็คือ ขณะเมื่อเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุ ต่างคนก็ร้องเรียกว่า หลวงพ่อช่วยปกป้องคุ้มครองพวกเราทุกคนด้วย แต่เมื่อพ้นอันตรายแล้วเดินลงจากเครื่องบินเห็นประณมมือไหว้พระเพียงคนเดียวเท่านั้น นอกนั้นไหว้แอร์โฮสเตสทั้งหมดในที่นั้น นี้เป็นสิ่งที่แปลก

                                
หลวงปู่ชา สุภทฺโท ปัจฉิมบท

ท่านอาจารย์ชา สุภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรม และเผยแพร่พุทธศาสนา
ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา
ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสำนักปฏิบัติธรรม ดังนี้

1. ธรรมเทศนา

สำหรับบรรพชิต
สำหรับคฤหัสถ์
เสียสละเพื่อธรรม
การเข้าสู่หลักธรรม
ธรรมะที่หยั่งรู้ยาก
   
ธรรมะธรรมชาติ
ปฏิบัติกันเถิด
ธรรมปฏิสันถาร
สองหน้าของสัจธรรม
   
ปัจฉิมกถา
การฝึกใจ
มรรคสามัคคี
ดวงตาเห็นธรรม
   
อยู่เพื่ออะไร
เรื่องจิตนี้
น้ำไหลนิ่ง
ธรรมในวินัย
   
บ้านที่แท้จริง
สัมมาสมาธิ
ขึ้นตรงต่อพระพุทธเจ้า
ความสงบบ่อเกิดปัญญา
   
พระองค์เดียว
นอกเหตุเหนือผล
สมมตติและวิมุตติ
การทำจิตให้สงบ
   
ตุจโฉโปฎฐิละ
ดวงตาเห็นธรรม
ทำใจให้เป็นบุญ
ทรงไว้ซึ่งข้อวัตร
   
เหนือเวทนา
เพียรละกามฉันทะ
ทางพ้นทุกข์
ไม่แน่คืออนิจจัง
   
โอวาทบางตอน
อ่านใจธรรมชาติ
อยู่กับงูเห่า
สัมมาทิฐิที่เยือกเย็น
   
มรรคผลไม้พ้นสมัย
นักบวชนักรบ
ธุดงค์ทุกข์ดง
สัมมาปฏิปทา
   
พึงต่อสู้ความกลัว
กว่าจะเป็นสมณะ
เครื่องอยู่ของบรรพชิต
กุญแจภาวนา
วิมุตติ
   
2. สำนักปฏิบัติธรรม

มีสำนักปฏิบัติธรรม ในประเทศไทยซึ่งอยู่ทุกภาคของประเทศจำนวนทั้งสิ้น 82 สาขา
และในต่างประเทศอีก 7 สาขา และเฉพาะศิษย์ที่เป็นพระชาวต่างประเทศซึ่งอยู่เป็น
ประธานสงฆ์ผู้มีพรรษาต่ำสุดคือ 16 พรรษา รายนามสาขาในต่างประเทศ มีดังนี้.
   

Dhammapala


ที่วัดหนองป่าพงยังมีสถานที่พอจะเป็นที่เตือนใจของผู้ประสงฆ์จะนมัสการและรำลึกถึงท่านคือ พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภทฺโท) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมประวัติและผลงานของท่านมารวมไว้ ตลอดจนรูปั้นขี้ผึ้งของท่าน ที่ผนังพิพิธภัณฑ์ก็ยังมีภาพชีวิตของท่าน ที่ทำจากกระเบื้องดินเผา เมื่อเข้าไปในพิพิธภัณฑ์แล้วจะให้ทั้งความร่มเย็นศักดิ์สิทธิ์ และปรากฏการณ์เสมือนหนึ่งท่านยังไม่ถึงมรณภาพเลย


คำสอนของหลวงปู่ชาทั้งหมด สามารถสรุปลงได้ดังนี้


1. จุดหมาย
: มรรค ผล นิพพาน พ้นทุกข

2. เนื้อหา
: ศีล สมาธิ ปัญญา

3. วิธีการ
: สมถ วิปัสสนา

4. กลวิธี
: มองเข้าหาตัว

ดูธรรมชาติ
เปรียบเทียบ กับธรรมชาติ
ทำให้ดู แล้วรู้ตาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2012, 08:24:17 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 04:42:27 PM »

ธรรมเทศนาของหลวงปู่ชา ตอนที่ท่านไปอยู่ประเทศแถบตะวันตก เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา

Compilation of Ajahn Chah's Teaching, หลวงปู่ชา (Ajahn Chah, Theravada Buddhism)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2014, 10:31:35 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 04:46:27 PM »

Life with Ajahn Chah (1 of 2) by Ajahn Nyanadhammo

ลูกศิษย์หลวงปู่ชา เล่าถึงหลวงปู่ชา เป็นภาษาอังกฤษ ครับผม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2014, 10:31:19 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2012, 09:13:05 PM »


ขอขอบพระคุณน้องกอล์ฟมากครับ

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2012, 11:49:40 PM »


ขอขอบพระคุณน้องกอล์ฟมากครับ

 

ธรรมะจัดสรร ครับพี่ต่าย อนุโมทนาบุญด้วยนะครับผม
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2013, 01:21:46 PM »

ธรรมะที่ถ่ายทอดโดยหลวงปู่ชา สุภัทโธ ครับผม
http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=425.0
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2013, 04:19:37 PM »

อ่านคำสอนท่านบางอัน แล้วหัวเราะ อยู่คนเดียว

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: มกราคม 16, 2014, 10:30:38 AM »



วันนี้วันที่ ๑๖ มกราคมเป็นวันครู และตรงกับวันคล้ายวันมรณภาพครบ ๒๒ ปีของพระโพธิญาณเถร หลวงพ่อชา สุภัทโท
 “พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งครูผู้ให้ร่มเงาแก่ศิษย์” แห่งวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ผู้ก้าวล่วงความสงสัยในนิกาย คือ ท่านไม่ได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต
ปี พ.ศ.๒๔๙๐ หลวงพ่อชา เดินทางไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่สำนักหนองผือนาใน จ.สกลนคร
 ท่านพระอาจารย์มั่น เทศน์สั้น ๆ ว่า "การประพฤติปฏิบัตินั้น ถ้าถือพระธรรมวินัยเป็นหลักแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง"



และท่านพระอาจารย์มั่น อธิบายเรื่อง พละ ๕ อิทธิบาท ๔ ในคืนที่ ๒ ท่านพระอาจารย์มั่น ได้แสดงปกิณกธรรมต่าง ๆ
จนจึงท่านคลายความสงสัย มีความรู้ลึกซึ้ง จิตหยั่งสู่สมาธิ เกิดปีติ เหมือนตัวลอยอยู่บนอาสนะ นั่งฟังจนเที่ยงคืน
หลวงพ่อชา ท่านพักสำนักท่านพระอาจารย์มั่น ได้ไม่นานนัก แต่ท่านพอใจในรสพระธรรมที่ได้ดื่มด่ำเป็นอย่างยิ่ง
ท่านเทียบว่า"คนตาดีพบดวงไฟก็มองเห็นแสงสว่าง ส่วนคนตาบอดถึงจะนั่งเฝ้าดวงไฟ ก็ไม่เห็นอะไร

หลังกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น และศรัทธาท่านแกร่งกล้าขึ้น พร้อมเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความเพียร
เพราะแนวปฏิบัติชัดเจนขึ้น จากนั้น ท่านธุดงค์รอนแรมภาวนาตามป่าเขา ไม่ว่าอยู่ที่ใด
มีความรู้สึกว่าท่านพระอาจารย์มั่นคอยติดตามให้คำแนะนำอยู่เสมอ ท่านออกธุดงค์ผจญภัยอันตรายต่าง ๆ
เป็นไข้ป่ามาลาเรีย ไม่มียารักษาโรค ต้องอาศัยธรรมโอสถช่วยเหลือตนเอง ยอมเป็น ยอมตาย จนจิตใจของท่านกล้าแกร่ง
จิตมีธรรมเป็นที่พึ่ง เหตุการณ์ การบรรลุคุณธรรม ครั้งนึงหลวงพ่อชา ท่านพาลูกศิษย์เดินธุดงค์ไป อ.บ้านแพง จ.นครพนม



ได้ขึ้นภูลังกาเพื่อกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร หลังสนทนาแล้ว หลวงพ่อชา
ท่านเข้าใจในความละเอียดลึกซึ้งของธรรมปฏิบัติมากขึ้น ท่านพักอยู่ภูลังกา ๓ วัน จึงลงมาถึงวัดหนึ่งที่เชิงเขา
 ขณะนั้นฝนตก จึงได้หลบฝนเข้าไปนั่งใต้ถุนศาลา จิตกำลังพิจารณาธรรมอยู่ ทันใดนั้น
จิตก็ตั้งมั่นขึ้นแล้วเปลี่ยนไปเหมือนอยู่คนละโลก ดูอะไรก็เปลี่ยนไปหมด เหมือนหน้ามือเป็นหลังมือ
 เหมือนแดดจ้าที่มีก้อนเมฆเคลื่อนมาบดบัง แสงแดดก็วาบหายไป เปลี่ยนขณะจิตไปวาบ ๆ ตั้งขึ้นมาก็เปลี่ยนวาบ
 เห็นขวด ก็ไม่ใช่ขวด ดูแล้วไม่เป็นอะไร เป็นธาตุ เป็นของสมมุติขึ้นทั้งนั้น ไม่ใช่ขวดแท้ ไม่ใช่กระโถนแท้

ท่านน้อมเข้ามาหาตัวเอง ดูทุกสิ่งในร่างกายไม่ใช่ของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างมันล้วนแต่ของสมมุติเท่านั้น
หลวงพ่อชา ท่านเป็นผู้ทรงธรรม เก่งเทศนาโวหาร และการเปรียบเปรย ข้อธรรมของท่านชวนให้คนได้คิดเสมอ
มีสติปัญญาว่องไว ดัดนิสัยสานุศิษย์ได้ฉับพลัน มีบุญบารมีมาก หลวงพ่อชา ท่านมีความสามารถในการสอนธรรมให้ชาวต่างชาติ
มีศิษย์ต่างชาติจำนวนมาก มีวัดสาขาทั้งในและต่างประเทศ มีกฎระเบียบจากวัดหนองป่าพง เป็นต้นแบบทุกสาขาทั่วโลก

ประวัติหลวงพ่อชา สุภัทโทนั้น เป็นที่น่าศึกษาค้นคว้าเอาเป็นแบบอย่างยิ่งนัก และมีอยู่หลาย ๆ เรื่องมากมาย
ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “อุปลมณี” แต่จะขอเล่าย่นย่อยกมาเฉพาะช่วงที่หลวงพ่อชา ท่านได้ไปศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ดังนี้ครับ



 หลวงพ่อชา ถือกำเนิด ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
ณ บ้านก่อ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี  ท่านมีนิสัยโน้มเอียงในทางธรรมตั้งแต่วัยเด็ก กลัวบาป เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่โกหก รักความยุติธรรม เกลียดความอยุติธรรม ชอบเล่นแต่งตัวเป็นพระ พอใจภูมิใจที่ได้แสดงเป็นพระ ยินดีในผ้ากาสาวพัสตร์ และเพศพรหมจรรย์ ท่านบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ ท่านปฏิบัติครูอาจารย์อยู่ ๓ ปี และได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา

ท่านได้อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ เวลา ๑๓.๕๕ น. ณ วัดก่อใน อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยมี
ท่านพระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พรรษาที่ ๑-๒ สอบนักธรรมชั้นตรีได้ โยมพ่อมักจะบอกว่า
"อย่าลาสิกขานะลูก อยู่เป็นพระอย่างนี้แหละดี สึกออกมามันยุ่งยากลำบาก หาความสบายไม่ได้"

หลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้ออกวิเวกแสวงหาครูบาอาจารย์ จนปี พ.ศ.๒๔๙๐ หลวงพ่อชา
 ท่านได้มาศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระบูรพาจารย์ใหญ่ สายพระกัมมัฏฐาน หลวงพ่อชา สุภัทโท
พบท่านพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และได้ฝากเป็นศิษย์ท่าน และได้แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรมวินัย
ดังเรื่องราวที่หลวงปู่ชาได้เล่าถ่ายทอดให้พระเณรได้ฟังต่อไปนี้...

ในระหว่างที่จำพรรษาที่วัดเขาวงกฏ หลวงพ่อชาได้ฟังเรื่องราวของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จาก โยมคนหนึ่ง
ซึ่งเคยไปนมัสการหลวงปู่มั่นที่สำนักวัดป่าหนองผือนาใน ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
และได้เกิดความรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่มั่น และตั้งใจว่าจะต้องไปศึกษาแนวทางการปฏิบัติจากท่านหลวงปู่มั่น
เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อชากับคณะพระภาคกลางรวมกันสี่รูป จึงออกเดินทางย้อนกลับมาที่อุบลราชธานี
พักอยู่ที่วัดก่อนอกระยะหนึ่ง แล้วจาริกธุดงค์มุ่งหน้าไปจังหวัดสกลนครเพื่อไปยังเสนาสนะวัดป่าหนองผือนาใน จังหวัดสกลนคร
เพื่อรับการอบรมธรรมจากหลวงปู่มั่น ระหว่างการเดินทางไปสำนักหลวงปู่มั่น ได้แวะสนทนาและศึกษาตามสำนักต่าง ๆ ที่ จาริกผ่านไปเรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ และเปรียบเทียบแนวทางปฏิบัติของแต่ละสำนัก การเดินทางครั้งนั้น
ผู้ร่วมทางบางคนในคณะเกิดท้อถอย เพราะมีความเหน็ดเหนื่อย และยากลำบากมาก ต้องเดินลัดเลาะป่าเขา
เดินตามทางเกวียนประกอบกับเป็นผู้ไม่คุ้นเคยต่อการเดินทางไกลนัก พระบางรูปจึงขอแยกทางกลับคืนถิ่นเดิม หลวงพ่อกับพระอีกสองรูปที่ไม่เลิกล้มความตั้งใจ ได้ออกเดินทางต่อ ในที่สุดก็ถึงสำนักของ หลวงปู่มั่น เสนาสนะวัดป่าหนองผือนาใน ก้าวแรกที่ย่างเข้าสู่สำนักป่าหนองผือนาใน หลวงพ่อรู้สึกประทับใจในบรรยากาศอันสงบ ร่มรื่นของสำนัก มองดูลานวัดสะอาดสะอ้าน กิริยามารยาทของเพื่อนบรรพชิตในวัดป่านี้เป็นที่น่าเลื่อมใส จึงเกิดความพึงพอใจยิ่งกว่าสำนักใด ๆ ที่เคยเห็นเคยสัมผัสมา

ยามเย็นวันแรกที่ไปถึง ได้เข้ากราบนมัสการหลวงปู่พร้อมศิษย์ของท่านเพื่อฟังธรรมร่วมกัน หลวงปู่มั่นท่านได้ปฏิสันถาร
สอบถามเกี่ยวกับอายุ พรรษา และสำนักที่เคยได้ศึกษาปฏิบัติ แปลกมากเมื่อมาถึงวัดป่าหนองผือนาใน
หลวงปู่มั่นท่านเทศน์อบรมเรื่องนิกายธรรมยุติกับมหานิกาย บังเอิญเป็นเรื่องที่หลวงพ่อชา สงสัยมานานเกี่ยวกับเรื่องนี้
ตลอดการเดินทางมาที่นี่หลวงพ่อชา ก็กะว่าจะเรียนถามถึงเรื่องสองนิกายนี้ แต่ยังไม่ได้ทันถามหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านเทศน์เรื่องสองนิกายก่อนเลย ทำให้หลวงพ่อชาขนลุกขนพองปลื้มปีติแปลกใจมาก เพราะท่านเพียงแต่คิดในใจท่านเท่านั้นเอง

หลวงปู่มั่นท่านทำไมถึงทราบได้ ทำให้หลวงพ่อชามั่นใจในคุณธรรมปฏิบัติของหลวงปู่มั่นมากเป็นลำดับ
จากนั้นท่านก็ให้โอวาทและปรารภถึงเรื่องนิกายทั้งสอง คือ ธรรมยุติและมหานิกาย ซึ่งเป็นเรื่องที่หลวงพ่อสงสัยอยู่มาก
 หลวงปู่มั่นกล่าวว่า "การประพฤติปฏิบัตินั้น หากถือเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง"
เมื่อคลายความสงสัยในเรื่องนิกายแล้ว หลวงพ่อได้กราบเรียน ถามปัญหากับหลวงปู่มั่น
ซึ่งหลวงพ่อถ่ายทอดบทสนทนาของท่านกับหลวงปู่มั่นให้ศิษย์ฟังว่า

"เกล้ากระผมเป็นผู้ปฏิบัติใหม่... ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร... มีความสงสัยมาก ยังไม่มีหลัก ในการปฏิบัติเลยครับ"  หลวงพ่อชาถาม
"มันเป็นยังไง" หลวงปู่มั่นถาม

"ผมหาทางปฏิบัติ... ก็เลยเอาหนังสือวิสุทธิมรรคขึ้นมาอ่าน มีความรู้สึกว่า มันจะไปไม่ไหว เสียแล้ว เนื้อความในสีลานิทเทส
สมาธินิทเทส ปัญญานิทเทสนั้น ดูเหมือนไม่ใช่วิสัยของ มนุษย์จะทำได้ ผมมองเห็นว่ามนุษย์ทั่วโลกนี้ มันจะทำตามไม่ได้ครับ มันยาก มันลำบาก มันเหลือวิสัยจริง ๆ ..." หลวงพ่อชาตอบ



หลวงปู่มั่นจึงกล่าวให้ฟังว่า... "ท่าน... ของนี้มันมากก็จริงอยู่ ถ้าเราจะกำหนดทุก ๆ สิกขาบทในสีลานิทเทสนั้น นะมันก็ลำบาก แต่ความจริงแล้ว สีลานิทเทสก็คือสิ่งที่บรรยายออกมาจากใจของ คนเรานั่นเอง ถ้าหากว่าเราอบรมจิตของเราให้มีความละอาย มีความกลัวต่อ ความผิดทั้งหมด เราก็จะเป็นคนที่สำรวมสังวรระวัง เพราะมีความละอายและ เกรงกลัวต่อความผิด... เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็จะเป็นเหตุให้เราเป็นคนมักน้อย และสติก็จะกล้าขึ้น จะยืนเดิน นั่ง นอนอยู่ที่ไหน มันจะตั้งอกตั้งใจมีสติเต็มเปี่ยมเสมอ ความระวัง มันก็เกิดขึ้น... อะไรทั้งหมดที่ท่านศึกษาในหนังสือน่ะ มันขึ้นต่อจิตทั้งนั้น ถ้าท่านยังไม่ อบรมจิตของท่านให้มีความรู้ มีความสะอาดแล้ว ท่านจะมีความสงสัยอยู่เรื่อยไป... ดังนั้น ท่านจงรวมธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ที่จิต สำรวมอยู่ที่จิต อะไรที่เกิดขึ้นมา ถ้าสงสัย... ถ้ายังไม่รู้แจ้งแล้วอย่าไปทำ... อย่าไปพูด... อย่าไป ละเมิดมัน" หลวงปู่มั่นแนะนำ คืนนั้น..

หลวงพ่อนั่งฟังธรรมร่วมกับศิษย์ของหลวงปู่มั่น เช่นหลวงปู่ขาว หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่มหาบัว หลวงปู่ผาง หลวงปู่แหวน จนกระทั่งถึงเที่ยงคืน จิตใจเกิด ความสงบระงับเป็นสมาธิ ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเดินทางได้อันตรธานไปสิ้น...

คืนที่สอง... หลวงปู่มั่นได้แสดงปกิณกธรรมต่าง ๆ ให้ฟังอย่างละเอียดลึกซึ้ง จนหลวงพ่อคลายความลังเลสงสัยในวิถีทางการปฏิบัติ มีความปลาบปลื้มปีติในธรรมอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

ในวันที่สาม...หลวงพ่อได้กราบลาหลวงปู่มั่น แล้วเดินธุดงค์ลงมาทางอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
 จากการได้พบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในครั้งนั้น เป็นประสบการณ์สำคัญที่นำวิถีชีวิตของหลวงพ่อเข้าสู่กระแสธรรมปฏิบัติอย่างถูกต้องและมั่นคง หลวงพ่อเล่าถึงบรรยากาศของการได้ สัมผัสหลวงปู่มั่น และสำนักป่าหนองผือนาใน แก่พระเณรในเวลาต่อมาว่า...
"ที่ผมได้ความรู้ความฉลาด จนได้มาแบ่งปันพวกท่านทั้งหลายนั้น ก็เพราะผมได้ ไปกราบครูบาอาจารย์มั่น...
ไปพบท่าน แล้วก็เห็นสภาพวัดวาอารามของท่าน ถึงจะไม่สวยงาม แต่ก็ สะอาดมาก พระเณรตั้งห้าสิบหกสิบขณะฟังการอบรมธรรมจากหลวงปู่มั่น ทุกรูป เงียบ! กริบไม่มีการไอการจาม นั่งโยกเยกไม่มีเลยขนาดจะถากแก่นขนุน (แก่นขนุนใช้ต้มเคี่ยว สำหรับย้อมและซักจีวร)
ก็ยังแบกเอาไปฟันอยู่โน้น.. ไกล ๆ โน้น เพราะกลัวว่าจะก่อกวนความสงบของหมู่เพื่อน...

พระเณรที่นั่นพอตักน้ำทำกิจอะไรเสร็จ ก็เข้าทางจงกรม ของใครของมัน ไม่ได้ยินเสียงคุยกันอะไร อะไร นอกจากเสียงเท้าที่เดินเท่านั้นแหละ บางวันประมาณหนึ่งทุ่ม เราก็เข้าไปกราบท่านหลวงปู่มั่น เพื่อฟังธรรม ได้เวลาพอ สมควรประมาณสี่ทุ่มหรือห้าทุ่มก็กลับกุฏิ
เอาธรรมะที่ได้ฟังไปวิจัย... ไปพิจารณาปฏิบัติดูเมื่อได้ฟังเทศน์ท่านหลวงปู่มั่นแล้ว ไม่รู้เป็นไง มันอิ่มใจ เดินจงกรมทำสมาธินี่... มันไม่เหน็ดไม่เหนื่อย มันมีกำลังมาก ออกจากที่ประชุมกันแล้วก็เงียบ! บางครั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน เพื่อนเขาเดิน จงกรมอยู่ตลอดคืนตลอดวัน จนได้ย่องไปดูว่าใคร ท่านผู้นั้นเป็นใคร ทำไมถึงเดิน ไม่หยุดไม่พัก นั่น... เพราะจิตใจมันมีกำลัง..." นี่แหละการได้อยู่ศึกษากับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านมีคุณธรรมสามารถบอกสอนอบรมแนะนำให้เราปฏิบัติถูกทางตามอรรถตามธรรมเมื่อมรรคผลนิพพาน หลังจากกราบลาท่านหลวงปู่มั่นออกจากสำนักหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าหนองผือนาในแล้ว หลวงพ่อกับคณะเดินธุดงค์รอนแรมพักภาวนาตามป่าเขามาเรื่อย ๆ ตามคำแนะนำของหลวงปู่มั่น ในขณะนั้นไม่ว่าจะเดินจงกรม หรือนั่งสมาธิอยู่ที่ใดก็ตามจิตของหลวงพ่อมีความรู้สึก ราวกับว่า หลวงปู่มั่นคอยติดตามให้คำแนะนำตักเตือนอยู่ตลอดเวลา...เพื่อมิให้ประมาทในธรรมปฏิบัติ

คืนหนึ่งในพรรษานั้น หลังทำความเพียรเป็นเวลาพอสมควร หลวงพ่อได้ขึ้นไปพักผ่อนบน กุฏิ กำหนดสติเอนกายลงนอน พอเคลิ้มไปเกิดนิมิตเห็นหลวงปู่มั่น เดินเข้ามาหยุดยืนอยู่ใกล้ ๆ แล้วส่งลูกแก้วให้ลูกหนึ่ง พร้อมกับกล่าวว่า... "ชา.เราขอมอบลูกแก้วนี้แก่ท่าน มันมีรัศมี สว่างไสวมากนะ" ในนิมิตนั้น ปรากฏว่าตนได้ลุกขึ้นนั่ง พร้อมกับยื่นมือไปรับลูกแก้วจาก หลวงปู่มั่นมากำไว้ พอรู้สึกตัวตื่นขึ้นแปลกใจมาก ที่พบตัวเองนั่งกำมืออยู่ดังในความฝัน จิตใจ เกิดความสงบระงับผ่องใส พิจารณาสิ่งใดไม่ติดขัด มีความปลื้มปีติตลอดพรรษา หลวงพ่อกล่าวว่าหลวงปู่มั่น ท่านเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูงมีภูมิจิตภูมิธรรมท่านสูง สามารถสั่งสอนศิษย์ทุกรูปทุกองค์ให้เข้านิพพานได้ ด้วยบารมีสติปัญญาท่านเฉียบแหลมคมยิ่งนักยากที่จะหาท่านผู้ใดเสมอเหมือนในปัจจุบัน

 นอกจากหลวงปู่มั่น แล้ว หลวงพ่อชา สุภัทโท ยังได้มีโอกาสศึกษาธรรม และร่วมบำเพ็ญสมณธรรมร่วมกับหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล
และหลวงปู่กินรี จันทิโย เป็นต้น ท่านได้เป็นแบบอย่างของศิษย์ผู้อ่อนน้อม ปฏิบัติข้อวัตร อาจาริยวัตรอย่างไม่มีตกบกพร่อง
ท่านได้ศึกษาธรรมของพระบรมศาสดา จนบรรลุถึงคุณธรรมขั้นสูงสุด มีปัญญาแตกฉานในธรรม สามารถเข้าใจในหลักธรรม
และธรรมชาติ อุปมา อุปมัย ขยายความ และสรุปย่นย่อข้อธรรมให้เข้าใจได้ง่าย จนมีพระภิกษุสงฆ์ ฆราวาส ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติทั่วโลก มาปวารณาตนเป็นศิษย์ ขอศึกษาธรรมอย่างล้นหลาม

ทั้งที่ท่านเอง ก็พูดภาษาต่างชาติของเขาเหล่านั้นไม่ได้ แต่ด้วยปฏิปทาที่ท่าน ทำตนเป็นแบบอย่าง
ฝึกสอนอบรมบ่มธรรมกันอย่างจริงจัง จนได้มาเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ของเหล่าศิษยานุศิษย์ เป็นดั่งร่มโพธิธรรมที่ได้ให้ร่มเงาแก่ศิษย์
 เป็นดั่งร่มโพธิญาณ ที่ให้ศิษย์ได้อยู่ใต้ร่มเงานั้น




หลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕ เวลา ๕.๒๐ น.
ณ กุฏิท่านภายในวัดหนองป่าพง สิริอายุ ๗๓ ปี ๗ เดือน พรรษา ๕๒


“..พระพุทธศาสนาไม่มีอำนาจอะไรเลย แม้ก้อนทองคำก็ไม่มีราคา ถ้าเราไม่มารวมกันว่ามันเป็นโลหะที่ดีมีราคา
ทองคำมันก็ถูกทิ้งเหมือนก้อนตะกั่วเท่านั้นแหละ พระพุทธศาสนาตั้งไว้มีอยู่ แต่ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ จะไปมีอำนาจอะไรเล่า
 อย่างธรรมะเรื่องขันติมีอยู่ แต่เราไม่อดทนกัน มันจะมีอำนาจอะไรไหม..

” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่ชา สุภัทโท “พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งครูผู้ให้ร่มเงาแก่ศิษย์” _/\_ _/\_ _/\_



ขอบพระคุณข้อมูลจาก : FB K.เอ @ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน และ เว็บ kammatan.com ครับผม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2014, 10:32:41 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: