KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน ประวัติของพระอริยสงฆ์ สาวกที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รวมทั้งปฏิปทาในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ภูมิพโลภิกฺขุ) ธรรมราชา
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: พระราชกรณียกิจของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ภูมิพโลภิกฺขุ) ธรรมราชา  (อ่าน 60055 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 28, 2009, 10:31:44 PM »

พระราชกรณียกิจของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ภูมิพโลภิกฺขุ) ธรรมราชา



ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 หากจะย้อนกลับไปเมื่อ 51 ปี ที่พระองค์ทรงผนวช เมื่อวัน จันทร์ที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2499 ซึ่งเป็นวันที่จะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยและจดจำในดวงใจของพสกนิกร ชาวไทยทุกคน ด้วยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงสละราชสมบัติเสด็จออกทรงพระผนวชในบวรพระพุทธศาสนา


พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะ ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา ประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งพิธีบรรพชาอุปสมบทนั้นได้มีบันทึกไว้อย่างละเอียดดังต่อไปนี้...

พ ร ะ ร า ช พิ ธี บ ร ร พ ช า อุ ป ส ม บ ท (ชมภาพยนตร์ส่วนพระองค์เนื่องในพระราชพิธีบรรพชาอุปสมบท )


ลุถึงวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2499 เป็นวันที่จะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย และจดจำในดวงใจของพสกนิกรชาวไทยทุกคน ด้วยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ จักได้ทรงสละราชสมบัติ เสด็จออกทรงพระผนวชในบวรพระพุทธศาสนา โดยทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระราชพิธีบรรพชาอุปสมบทของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิ ราชเจ้า อันจัดเป็นพระราชพิธีมหามงคลอันยิ่งใหญ่ เริ่มขึ้นในวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2499 เวลา 14.00 น.



พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งมายังวัดพระศรี รัตนศาสดาราม ครั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง ทรงพระดำเนินสู่ที่เปลื้องเครื่องหลังพระอุโบสถ เสร็จแล้ว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงจรดพระกรรบิดเปลื้องพระเกศาเป็นพระฤกษ์ (ใช้กรรไกรขริบเส้นผมเป็นปฐมฤกษ์) จากนั้นเจ้าพนักงานภูษามาลาถวายต่อจนเสร็จ

ครั้น เวลา 15.00 น. ล่วงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเศวตพัสตร์ตามแบบผู้แสวงอุปสมบท ทรงพระดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถทางพระทวารหลังแล้วเสด็จออกหน้าพระฉาก ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี และพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว ทรงรับผ้าไตรและบาตรสำหรับทรงอุปสมบท จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปประทับในท่ามลางสังฆสมาคมในพระอุโบสถ มีพระสงฆ์ผู้จะนั่งหัตถบาส จำนวน 30 รูป อยู่ด้านเหนือ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ (อุปัชฌาย์) และถวายศีล สมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตร เป็นพระราชอนุสาวนาจารย์

ภายในพระอุโบสถทางด้านใต้ มีพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมมนตรี คณะรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นอกจากนั้น เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ที่ชานพระอุโบสถทั้งหน้าหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเครื่องราชสักการะแด่สมเด็จพระสังฆราชผู้เป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ แล้วทรงขอบรรพชา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 28, 2009, 10:35:05 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 28, 2009, 10:36:03 PM »

สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ทรงถวายโอวาทสำหรับบรรพชาความว่า

“บัดนี้ สมเด็จพระบรมบพิตรทรงมีพระราชศรัทธาความเชื่อ พระราชปสาทะความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทรงขอบรรพชาอุปสมบท รวมความว่า บวชในพระพุทธศาสนาตามพระราชประเพณีของพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นบรมราชจักรีวงศ์ และตามแบบของกษัตริย์ก่อนๆ เพราะฉะนั้น จึงควรน้อมพระราชหฤทัยระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระบรมศาสดา ประกาศพระศาสนา และทรงระลึกถึงพระธรรม คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประกาศสัจจะความจริงอันไม่แปรปรวน

และระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระ พุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วได้ความเชื่อความเลื่อมใส ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจนได้ดบรรลุถึงคุณพิเศษในพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะฉะนั้น ในบัดนี้ จงตั้งพระราชหฤทัยระลึกถึงคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเรียกว่าศาสนธรรมอันประกาศสัจธรรม ธรรมะที่เป็นจริง และระลึกถึงพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า เช่นนี้ จึงควรบวชในพระพุทธศาสนา



การบวชในพระพุทธศาสนา ท่านสอนให้เรียน "ตจปัญจกกัมมัฏฐาน" กัมมัฏฐานที่มีหนังเป็นที่ 5 เพราะฉะนั้น จงตั้งพระทัยทรงว่าตามไปโดยบทพระบาลีก่อน เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกศา จงศึกษาให้รู้เนื้อความ เกศา ได้แก่ ผมที่งอกอยู่บนศีรษะ โลมา ได้แก่ขนที่งอกอยู่ทั่วตัว เว้นแต่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า นะขา ได้แก่เล็บที่งอกอยู่ตามปลายมือ ปลายเท้า ทันตา ได้แก่ฟันที่งอกอยู่ในกระดูกคางเบื้องล่าง เบื้องบน สำหรับบดเคี้ยวอาหาร ตะโจ ได้แก่หนังที่หุ้มอยู่ทั่ว ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เหล่านี้ ถ้าทิ้งอยู่ตามที่ของมันก็จะปฏิกูลโสโครก เพราะธุลีละอองที่จับบ้าง ออกมาจากร่างกายเดิมบ้าง เพราะฉะนั้น บุคคลจึงต้องชำระล้างขัดสีตกแต่งของหอมเข้าอบกลิ่นเพื่อแก้กันปฏิกูลโสโครก ถึงเช่นนั้นก็ไม่สามารถจะแก้กันให้เด็ดขาดไปได้ เพียงแต่ปะทะปะทังไว้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นของปฏิกูลโสโครกอย่างไรก็คงแสดงปฏิกูลโสโครก น่าเกลียดออกมาอย่างนั้น ให้เห็นอยู่เป็นธรรมดา แต่คนไม่พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง จะหลงรักหลงเกลียด แล้วก็ประทุษร้ายกัน เมื่อใช้พระปัญญาพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ทั้ง 5 เป็นเป็นของปฏิกูลโสโครกน่าเกลียด ก็พึงยึดรักษาอารมณ์อันนั้นไว้ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งสมาธิและเป็นที่ตั้งแห่งปัญญาต่อไป ในบัดนี้ จะถวายผ้ากาสายะ เพื่อได้ครองอุปสมบท” แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าในพระฉากเพื่อทรงผ้ากาสาวพัสตร์ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรับไตรสรณคมน์และศีลจากสมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัชฌายาจารย์ สำเร็จบรรพชากิจเป็นสามเณรแล้ว ทรงขอนิสัย สมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัชฌายาจารย์ ถวายพระสมณนามว่า “ภูมิพโล” ทรงขออุปสมบท พระสงฆ์ถวายการอุปสมบท โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ และพระศาสนโศภณ วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 28, 2009, 10:37:50 PM »

เมื่อ ทรงรับอุปสมบทเสร็จเป็นอันดำรงภิกษุภาวะโดยสมบูรณ์แล้ว สมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตร พระราชอนุสาวนาจารย์ ถวายอนุศาสน์ จากนั้นพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถวายไทยธรรม ไตรแพร และย่าม แด่พระราชอุปัชฌายาจารย์ พระราชกรรมวาจาจารย์ พระราชอนุสาวนาจารย์ และพระหัตถบาส ทั้ง 30 รูป เสร็จแล้วทรงรับประเคนผ้าไตรและเครื่องบริขารของหลวงจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงรับประเคนผ้าไตรและเครื่องบริขารจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และทรงรับประเคนดอกไม้ ธูป เทียน จากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ซึ่งทรงถวายในนามของพระบรมวงศานุวงศ์ และทรงรับจากพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี ในนามของคณะองคมนตรี จากจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ในนามของคณะรัฐมนตรีและข้าราชการทุกฝ่าย จากพลเอกพระประจนปัจจานึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในนามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประชาชน เสร็จแล้วทรงหลั่งทักษิโณทก


จากนั้น พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระอุโบสถไปประทับรถยนต์พระที่นั่งที่ประตูเกยหลัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมด้วย พระโศภนคณาภรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยง (พระโศภนคณาภรณ์ ปัจจุบันคือ สมเด็จญาณสังญาณสัง สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก) เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงประกอบพิธีตามขัตติยราชประเพณี โดยมีพระเถระฝ่ายธรรมยุตนั่งหัตถบาส 15 รูป


เมื่อเสร็จพระราชพิธีอุปสมบทกรรม ในเวลา 17.43 น. แล้วพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชพระราชอุปชฌายาจารย์ ไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างทางมีพสกนิกรมาคอยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทชมพระบารมีแน่นขนัดทั้งสอง ฟากถนน จนรถยนต์พระที่นั่งต้องเคลื่อนที่ไปอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงเศษ จึงเสด็จถึงวัดบวรนิเวศวิหาร



ครั้น เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อเวลา 19.30 น. แล้วพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถทรงนมัสการพระพุทธชินสีห์ ทรงสักการะพระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และพระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แล้วทรงจุดธูปเทียนอุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว โดยมีพระเถรานุเถระทั้งในวัดบวรนิเวศวิหารและวัดอื่นๆ เฝ้ารับเสด็จ จากนั้น เสด็จขึ้นพระตำหนักจันทร์ ทรงสักการะพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้าทั้งสองพระองค์และเสด็จระราชดำเนิน เข้าสู่ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูป เทียน อุทิศพระราชกุศลถวาย เสร็จแล้วเสด็จขึ้นพระตำหนักปั้นหย่า ทรงนมัสการ พระพุทธสมุทนินนาท และพระพุทธมหานาคชินนะ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระตำหนักทรงพรต ทรงทำพินทุกัปอธิษฐานและทรงวิกัปไตรจีวร แล้วเสด็จออก ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ถวายดอกไม้ ธูป เทียน ส่วนพระองค์ แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช ณ พระตำหนักปัญจบเบญจมา ทรงถวายดอกไม้ ธูป เทียน สมเด็จพระสังฆราช ในโอกาสนี้ สมเด็จพระสังฆราชประทานพระโอวาท ความว่า

“การทรง ผนวชวันนี้ เป็นประโยชน์มาก สำหรับคนผู้นับถือพระพุทธศาสนา เพราะเขายินดีกันมาก แต่ว่าที่จะได้เป็นประโยชน์สำหรับพระองค์เองนั้น ต้องประพฤติปฏิบัติธรรมวินัย คือ บวชด้วยกายอย่างหนึ่ง บวชด้วยใจอย่างหนึ่ง ถ้าทั้ง 2 อย่างผสมกันเข้าแล้ว จะเป็นกุศล



การ บวชด้วยกายนั้น ต้องทำพิธีในที่ประชุมสงฆ์ แต่การบวชด้วยใจ ต้องตั้งพระราชหฤทัยเรียนพระพุทธศาสนาในพระวินัย ทรงอ่านดูข้อบังคับที่จะไม่ประพฤติล่วงและในธรรมะ ทรงศึกษาเพื่อปฏิบัติตามฝึกหัดพระราชหฤทัยให้สงบระงับ

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อทรงผนวชเสร็จแล้วมีพระออกไปบอกอนุศาสน์ อนุศาสน์ แปลว่า คำสอนในลำดับถึงเมื่อบวชเสร็จก็ต้องสอน แม้เป็นภาษาบาลี ก็ต้องสอนกัน พระพุทธบัญญัติ พระพุทธภาษิตก็สอนอย่างนั้น แต่การสอนอนุศาสน์ในครั้งพุทธกาล เมื่อพูดภาษาบาลี เขาก็รู้กันแต่มาสมัยนี้ พระพุทธศาสนาแพร่หลายมาถึงประเทศเรา ซึ่งไม่ใช้ภาษามคธ ผู้ไม่ได้เรียนภาษามคธก็ฟังไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้น ควรทรงศึกษาเสียให้เข้าพระทัย

ข้อต้นท่านสอนว่า ผู้บวชต้องอาศัยบิณฑบาตเขาเลี้ยงชีวิต แต่ว่าไม่บังคับ ถ้าจะมีอดิเรกลาภอื่น ๆ ที่เขาถวายก็ใช้ได้

ข้อที่ 2 ท่านสอนให้ใช้ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าที่เขาทิ้งเปื้อนฝุ่นแล้วเก็บมาซัก มาย้อม มาเย็บ คือทำเป็นกระทง ๆ อย่างที่ใช้กันนี้ แต่ว่าไม่บังคับ ถ้าจะมีอดิเรกจีวรที่ได้มาโดยชอบธรรมก็ใช้ได้

ข้อที่ 3 ท่านสอนให้อาศัยยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า เพราะคนเราต้องเจ็บ เมื่อเจ็บแล้วก็ต้องกินยา ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าเป็นยาถ่ายด้วย และเป็นยาแก้ไข้ด้วย แต่ไม่บังคับโดยเด็ดขาด เป็นแต่ว่าถ้าไม่ได้อดิเรกลาภ คือยาอื่น ก็ให้ใช้ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า

ข้อที่ 4 ท่านสอนให้อาศัยเรือนว่างเปล่าให้อาศัยโคนไม้เป็นที่อยู่ แต่ไม่ได้ห้ามเด็ดขาด ถ้ามีอดิเรกลาภคือกุฏิที่อยู่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ใช้ได้ คือต้องรู้ว่าพระแต่ก่อนนั้นฝืดเคืองมาก ต้องอาศัยปัจจัยทั้ง 4 นี้เป็นอยู่
แลจงเว้นข้อห้าม 4 อย่างที่สำคัญล่วงเข้าแล้ว ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุเรียกว่าต้องปาราชิก

วันนี้สอนแต่เพียงเท่านี้ก่อน ถวายหนังสือไป หนังสือนวโกวาท ถ้ามีเวลาควรทรงอ่าน ทรงอ่านวินัยให้จบเสียก่อน และอ่านให้เข้าพระทัย เพื่อจะได้ประพฤติตาม ถ้าไม่เข้าพระทัยก็รับสั่งถามพระพี่เลี้ยง

ส่วนธรรมะ อธิบายไว้ในโอวาทแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้ามีเวลาควรทรงอ่าน เพื่อฝึกหัดพระราชหฤทัยให้สงบระงับให้เป็นการบวชด้วยพระราชหฤทัยด้วย บวชด้วยพระกายด้วย วันนี้พอกันที ทรงเหน็ดเหนื่อยมามากแล้ว”

ครั้งทรงสดับพระโอวาทสมเด็จพระสังฆราชแล้ว พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับขึ้นพระตำหนักปั้นหย่า ในการพระราชกุศลขึ้นพระตำหนักนั้น หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งรับสนองพระมหากรุณาธิคุณทำหน้าที่ เป็นไวยาวัจกรประจำพระองค์เป็นผู้อาราธนาศีล พระราชาคณะวัดบวรนิเวศวิหาร คือพระพรหมมุนี พระรัตนธัชมุนี พระโศภนคณาจารย์ พระมหานายก พระจุลนายก พระสาธุศีลสังวร พระปัญญาภิมณฑมุนี เจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วเสด็จสู่ที่ประทับ และเข้าที่พระบรรทมในเวลา 24.30 น.
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 28, 2009, 10:41:21 PM »

พ ร ะ ร า ช ก ร ณี ย กิ จ ใ น ข ณ ะ ท ร ง พ ร ะ ผ น ว ช

พระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจระหว่างทรงครองสมณเพศเช่นเดียวกันกับพระภิกษุสงฆ์ อื่น ๆ กล่าวคือ หลังจากเสวยพระกระยาหารเช้าแล้วก็เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ในวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสดับพระธรรมวินัยและทรงศึกษาพระธรรมวินัยเช่นเดียวกับพระภิกษุรูปอื่น


พระราชกรณียกิจในวันที่ 2 แห่งการทรงพระผนวช (วันอังคารที่ 23 ตุลาคม 2499)

เมื่อทรง ตื่นพระบรรทมแล้ว เสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว เสด็จลงพระอุโบสถ ทรงทำวัตรเช้า จากนั้น ทรงสดับวินัยมุข เรื่อง “อุปสัมปทา” ซึ่งพระสาธุศีลสังวรอ่านถวาย จบแล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงพระราชปฏิสันถารกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ซึ่งทรงจัดพระกระยาหารเพลมาถวาย จากนั้น ทรงพระอักษรจนถึงเวลา 10.45 น. จึงเสด็จขึ้นพระตำหนักปั้นหย่า ทรงฟังพระสวด ทรงถวายภัตตาหารเพลพระพรหมมุนี แล้วเสด็จพระราชดำเนินออกมาเสวยพระกระยาหารเพล ณ พระตำหนักข้างนอก เสวยพระกระยาหารเพลเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปถวายของพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานฉันถวายอดิเรก
ในตอนเย็น เวลา 17.05 น. เสด็จลงพระอุโบสถ ทรงทำวัตรเย็นแล้วทรงสดับอรรถศาสตร์ เรื่อง “หิตจรรยา” ซึ่งพระครูวิสุทธิธรรมภาณอ่านถวาย จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักที่ประทับ ทรงพระอักษร จนถึงเวลา 20.00 น. ทอดพระเนตรโทรทัศน์ซึ่งออกอากาศข่างทรงผนวช และข่าวงานถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า ระหว่างนั้น ทรงพระราชปฏิสันถารกับพระราชาคณะที่ทรงนิมนต์มาดูด้วย จนถึงเวลา 20.50 น. พระราชาคณะทูลลากลับ
จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปทรงนมัสการพระบนพระตำหนักปั้นหย่าและเข้าที่พระบรรทมเมื่อเวลา 22.05 น.



เวลา 14.28 น. พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับรถยนต์พระที่นั่งจากวัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จพระราชดำเนินไปยัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อทรงร่วมสังฆกรรมในพิธีผนวชและอุปสมบทนาคหลวงในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในตอนกลางคืน เวลา 20.20 น. พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพระ ภิกษุที่บวชใหม่ ซึ่งจำพรรษาอยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารเช่นเดียวกัน จนถึงเวลา 20.45 น. จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ
หลังจากนั้น พระพรหมมุนี รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้นำพระภิกษุที่บวชใหม่ทั้ง 5 รูป เข้าเฝ้าพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายดอกไม้ ธูป เทียน

หลังจากเสด็จลงพระอุโบสถเพื่อทรงทำวัตรเช้าร่วมกับ พระภิกษุอื่นๆ ของวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับวินัยมุข เรื่องสิกขาบทตอน “ปาราชิก” ซึ่งพระสาธุศีลสังวรอ่านถวาย จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทูลลาสมเด็จพระสังฆราช เสด็จพระราชดำเนินไปวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในตอนบ่าย เพื่อทรงนมัสการพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และทรงมีพระราชปฏิสันถารกับ พระธรรมดิลก เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระธรรมดิลกได้ทูลเรื่องพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และการบูรณะซ่อมแซมอยู่ในขณะนี้ โอกานี้ได้มีประชาชนไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จเพื่อถวายดอกไม้ ธูป เทียน อยู่ในบริเวณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กันแน่นขนัด

ในตอนเย็น หลังจากทรงทำวัตรเย็นแล้วทรงสดับอรรถศาสตร์ เรื่อง “กรรม” ซึ่งพระมหานายก อ่านถวาย สำหรับในวันนี้ เป็นวันแรกที่เริ่มมีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุพิธีทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น และมีการถ่ายทอดเสียงเช่นนี้เป็นประจำระหว่างทรงพระผนวช
ในวันนี้ พระสงฆ์ของวัดบวรนิเวศวิหารได้มีการเตรียมซ้อมงานพระราชทานผ้าพระกฐินด้วย

พระราชกรณียกิจในวันที่ 5 แห่งการทรงพระผนวช (วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2499)

วันนี้ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จฯ มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักปั้นหย่า หลังจากเสวยพระกระยาหารเพลแล้ว พระพรหมมุนี รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ได้เข้าเฝ้าถวายธรรมะ เรื่อง “ว่าด้วยความเป็นภิกษุ” จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระตำหนักเพชรโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระ เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริกกุลินี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าคุณจอมมารดาสำลี) และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายดอกไม้ ธูป เทียน ณ พระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร แล้วเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมพระอาการสมเด็จพระสังฆราช
หลังจากที่ทรงทำวัตรเย็นแล้ว พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสดับอรรถศาสตร์ เรื่อง “ความบริสุทธิ์” และเรื่อง “ภาวนา” ซึ่งพระมหานายก อ่านถวายจบแล้ว เสด็จขึ้นนมัสการพระแล้วเสด็จเข้าที่พระบรรทม


พระราชกรณียกิจในวันที่ 6 แห่งการทรงพระผนวชวันเสาร์ที 27 ตุลาคม 2499



วันนี้ เป็นวันธรรมสวนะ แรม 8 ค่ำ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จลงพระอุโบสถเวลา 09.05 น. ทรงทำวัตรเช้า จบแล้วอุบาสกอุบาสิกาทำวัตรหลังจากนั้น พระโศภนคณาภรณ์แสดงพระธรรมเทศนา “อัคคกถา” ถวายในวันนี้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา เสด็จมาทรงฟังธรรมด้วย มีอุบาสกและอุบาสิกามาฟังธรรมเต็มทั้งในพระอุโบสถและภายนอกพระอุโบสถ และได้พากันซื้อดอกไม้ ธูป เทียน จากร้านขายดอกไม้ใกล้วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อนำมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวชครั้งนี้ ทำให้มีร้านดอกไม้ ธูป เทียน และรานจำหน่ายพระบรมฉายาลักษณ์ในการทรงพระผนวชเกิดขึ้นแถวบางลำพูมากมาย

การเสด็จลงฟังธรรม ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารในวันนี้ มีการขยายเสียงและถ่ายทอดเสียงทางสถานีวิทยุ อส. ด้วยเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สดับพระธรรมเทศนาโดยทั่วกันกัน

หลังจากทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้ว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงถวายดอกไม้ ธูป เทียน พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



ใน เวลา 15.45 น. เสด็จลงพระอุโบสถ ในงานพระราชพิธีพระราชทานผ้าพระกฐิน โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพรระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมาถวาย สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จลงพระอุโบสถเพื่อทรงรับผ้าพระกฐิน ในวันนี้พระพักตร์สมเด็จพระสังฆราชแจ่มใสมาก
หลังจากเสร็จพระราชพิธีพระราชทานผ้าพระกฐินแล้ว พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นที่ประทับทอดพระเนตรหนังสือพุทธประวัติที่นายแพทย์อรุณนำมาทูล เกล้าทูลกระหม่อมถวาย แล้วทรงหนังสือพิมพ์

ในตอนกลางคืน เวลา 21.10 น. เสด็จลงพระอุโบสถ แล้วทรงชักผ้าป่าที่จัดถวายที่เขาจำลอง หน้าพระตำหนักปั้นหย่า ตกแต่งโดยพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาจัดดอกไม้ มีชะนีร้อยด้วยดอกไม้แขวนไว้ เวลาเสด็จลงปิดไฟ และนำผ้าออกหมด เวลาเสด็จพระราชดำเนินกลับ จึงทอดพระเนตรเห็น ทรงชักผ้าป่าแล้วทรงมีพระราชปรารภว่า ทรงมีมากแล้ว จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นำไปพระราชทานแก่พระภิกษุชราในวัดบวรนิเวศวิหาร ที่ยังขาดแคลนอยู่ พระภิกษุชรารูปนั้นชื่อว่า "เดิม"

บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 28, 2009, 10:46:42 PM »

พระราชกรณียกิจในวันที่ 7 แห่งการทรงพระผนวช (วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2499)

วันนี้หลังจากเสด็จลงพระอุโบสถ เพื่อทรงทำวัตรเช้าแล้ว ไม่มีการอ่านวินัยบัญญัติถวายให้ทรงสดับเหมือนปกติ เนื่องจากจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงรับบิณฑบาต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต

ภายหลังจากการทำวัตรเช้าแล้ว พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งพร้อมด้วยพระราชาคณะ วัดบวรนิเวศวิหาร 6 รูป พระนาคหลวง 3 รูป และพระสหจร 5 รูป ไปทรงรับบิณฑบาต ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระสงฆ์ที่ได้รับนิมนต์ไปรับบาตรในวันนี้คือ

1. พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. พระพรหมมุนี
3. พระโศภนคณาภรณ์
4. พระมหานายก
5. พระจุลนายก
6. พระสาธุศีลสังวร
7. พระปัญญาภิมณฑมุนี
8. พระภิกษุหม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ระพีพัฒน์
9. พระภิกษุหม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล
10. พระภิกษุหม่อมราชวงศ์นิตยศรี จรูญโรจน์
11. พระภิกษุหม่อมราชวงศ์พีระเดช จักรพันธ์
12. พระภิกษุพระราชญาติรักษา
13. พระภิกษุหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
14. พระภิกษุ สุรทิน บุนนาค
15. พระภิกษุ ประถม บูรณะศิริ

ครั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง พระที่นั่งอัมพรสถานแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ กับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอาหารบิณฑบาตแล้ว พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ ศาลาผกาภิรมย์ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ เสด็จไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบถวายบังคมถึงที่ประทับ



พระ ภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเสวยพระกระยาหารเพลอยู่ที่พระที่นั่ง อัมพรสถาน โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระราชโอรสและพระราชธิดา และพระบรมวงศานุวงศ์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่จนเสวยพระกระยาหารเพลเสร็จ แล้วพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมผู้ที่ มาจัดดอกไม้ ประกอบด้วยหม่อมเจ้าอาภัสราภา เทวกุล หม่อมเจ้าจงกลณี วัฒนวงศ์ ฯลฯ สมควรแก่เวลาแล้วจึงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนิกลับวัดบวรนิเวศ วิหาร


ในตอนบ่าย เสด็จพระราชดำเนินไปทูลลาสมเด็จพระสังฆราช เพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปวัดมกุฏกษัตริยารามและวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

เวลา 14.00 น. เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดมกุฏกษัตริยาราม ทรงนมัสการพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ และทรงถวายดอกไม้ ธูป เทียน พระศาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ผู้ทำหน้าที่เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ในพระราชพิธีทรงพระผนวช พระศาสนโศภณถวายหนังสือ พระวินัยมุนี ถวายพระสีวลี ที่ได้จากพม่า พร้อมด้วยตะลุ่มมุกเล็ก ๆ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทรงนมัสการพระพุทธชินราชในพระอุโบสถและทรงอุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วทรงถวายดอกไม้ ธูป เทียน สมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ผู้ทำหน้าที่เป็นพระราชอนุสาวนาจารย์ ในพระราชพิธีทรงพิธีทรงพระผนวช สมเด็จพระวันรัตถวายหนังสือ สมควรแก่เวลาจึงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินกลับวัดบวรนิเวศ วิหาร

เวลา 16.45 น. พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักเพชร พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้อุปทูตพม่ากับคณะเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวาย เครื่องอัฐบริขารที่ประธานาธิบดีพม่าส่งมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในการที่ ทรงพระผนวช
ในตอนเย็น เสด็จลงพระอุโบสถ ทรงทำวัตรเย็น และทรงสดับพระธรรมเรื่อง “พละทั้ง 5“ ที่พระพรหมมุนีถวาย ในการนี้ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระภิกษุบวชใหม่ทั้ง 5 เข้าร่วมฟังด้วย จบแล้วทรงสนทนาธรรมกับพระพรหมมุนีในเรื่อง “ธรรมะ” พระพรหมมุนีอธิบายถวายว่า “ธรรมะ” แปลว่า “ทรง” เป็นทั้ง 1. กุศล 2. อกุศล 3. กลาง
ธรรมะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. ธรรมะ ฝ่ายโลกิยะ คือไม่มีรู้ เช่น ก้อนหิน กรวด ทราย เป็นต้น เรียกว่า ธรรมอันอยู่ในโลก

2. ธรรมะ ที่เป็นโลกุตระ ธรรมอันอยู่เหนือโลก มีรู้อยู่ในตัว
ตัวอย่าง โลกิยะโลก คือ เหตุผลได้เสีย ชนะ ดี ชั่ว อารมณ์อยากได้ รักใคร่ ฯลฯ เป็นความรู้ที่เปลี่ยนแปลงได้

โลกุตระ รู้ว่าง รู้โปร่ง รู้หยุด รู้เงียบ รู้สงบ รู้นิ่ง รู้ของจริง แจ้งประจักษ์ชัดรู้อยู่กับตัว


จากนั้นเสด็จขึ้นนมัสการพระบนพระตำหนักปั้นหย่า แล้วเสด็จเข้าที่พระบรรทม

พระราชกรณียกิจในวันที่ 8 แห่งการทรงพระผนวช(วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม 2499)

รับแขก ทรงยืนคอยพระสงฆ์อื่น ๆ แล้วจังเสด็จออกทรงรับบิณฑบาต วันนี้ฝนตกตั้งแต่เช้า และลงพรำ ๆ ไม่ขาดสาย จึงต้องรับบิณฑบาตภายในพระตำหนัก เมื่อทรงรับแล้วก็ทรงพระดำเนินเข้าไปประทับพระเก้าอี้ ทรงอุ้มบาตรไว้ เมื่อพระภิกษุสงฆ์รูปอื่นๆ รับบิณฑบาตหมดแล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ ระหว่างประทับพัก ที่บนพระเก้าอี้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับสมเด็จพระราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอด้วย


ในตอนเย็น เสด็จลงพระตำหนักเพชรโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเถระ (ชั้นราชขึ้นไป) และบรรพชิตจีน ญวน เฝ้าถวายอนุโมทนา และถวายพระพร

พิธีการมีดังนี้ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงทรงคมพระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงคมพระเถระ แล้วประทับพระเก้าอี้หน้าพระแทนสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ สมเด็จพระวันรัต สังฆนายก อ่านคำถวายพระพรในนามพระเถรานุเถระแห่งคณะสงฆ์ไทย และบรรพชิตจีน ญวน ดังนี้



ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสถวายพระพร

“พระเถรานุเถระแห่งคณะสงฆ์ไทยกับ มีพระสงฆ์สมณศักดิ์อานัมนิกายและจีนนิกายมาร่วมสมทบด้วย ซึ่งพรั่งพร้อมอยู่ ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ ณ บัดนี้ ต่างมีปีติยินดีซาบซึ้งในพระราชศรัทธาประสาทาธิคุณแห่งสมเด็จพระบรมบพิตรพระ ราชสมภารเจ้า ที่ได้ทรงลาพระราชกรณียกิจชั่วคราว ทรงบรรพชาอุปสมบทบำเพ็ญพระเนกขัมมบารมีในพระบวรพุทธศาสนา ด้วยทรงยืนยันความเชื่อมั่นในสัจธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ไม่เป็นเพียงพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ในภายนอกเท่านั้น ยังได้ทรงพระราชศรัทธาทรงบรรพชาอุปสมบท เพื่อได้ทรงปฏิบัติในพระธรรมวินัยอย่างใกล้ชิดเพื่อได้ทรงประจักษ์ด้วยพระ ปัญญา

อาตมภาพ พระสงฆ์ทั้งปวงมีกัลยาณจิตเป็นสมานฉันทะ ขอถวายอนุโมทนาสาธุการในพระราชกุศลนี้เป็นอย่างยิ่ง ขอพระเดชานุภาพคุณพระศรีรัตนตรัย พร้อมทั้งพระราชกุศลนี้ จงดลบันดาลอภิบาลรักษาสมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ให้เสด็จสถิตธำรงเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภกยืนยงตลอดกาลนาน เพื่อได้ทรงอภิบาลอุปถัมภ์บำรุงพระบวรพุทธศาสนาอันเป็นมิ่งขวัญของประเทศ ชาติให้วัฒนาสถาพร อำนวยสุขประโยชน์อันไพศาลในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ขอถวายพระพร”

จบแล้วพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอบความว่าทรงขอบคุณในการที่ได้แสดงไมตรีจิต ครั้งนี้ แม้จะทรงได้อยู่ในสมณะเพศมาเป็นเวลาอันน้อยก็ตาม ก็ทรงรู้สึกว่าได้รับการต้อนรับจากสงฆ์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ทั้งทรงได้รับความรู้ในพระธรรมวินัยและทรงปฏิบัติเท่าที่เวลาจะอำนวย ทั้งนี้ ทำให้ทรงเกิดความรู้สึกว่า พระพุทธศาสนาเป็นทางแห่งความเจริญแก่ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด

จบแล้วเสด็จลงหน้าพระตำหนักเพชรประทับฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับพระเถรานุเถระ

เวลา 18.05 น. เสด็จลง ณ พระอุโบสถ ทรงทำวัตรเย็น แล้วทรงสดับบทความธรรมะ เรื่อง “ศาสนากับคน” ซึ่งพระมหาบุญธรรมอ่านถวาย
ต่อจากนั้นพระพรหมมุนีขึ้นถวายบทความธรรมะ เรื่อง “การใช้ปัญญา” จบแล้วพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนทนาธรรมกับพระพรหมมุนี เรื่องสัจจะและเรื่องสังขาร

พระราชปุจฉา ขณะที่ทรงพระผนวชอยู่นี้ เรียกกันว่า “พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” โดยที่ทรงดำรงฐานะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังมีอยู่ เป็นเพียงแต่ทรงจีวรเช่นภิกษุเท่านั้น ขอความเห็นจากพระพรหมมุนี
พระพรหมมุนี ถวายวิสัชนาว่า เรื่องนี้ทางธรรมะเรียกว่า สมมติซ้อนสมมติ สัจจะซ้อนสัจจะ ความเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็เป็นสมมติอย่างหนึ่ง เรียกว่า “สมมติเทพ” ความเป็นภิกษุก็เป็นสมมติอีกอย่างหนึ่ง ซ้อนขึ้นในสมมติเทพนั้น ในการเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับสมมตินั้น ๆ เช่น เมื่อได้รับสมมติเป็นพระภิกษุแล้วก็ต้องปฏิบัติตามสิกขาบทของพระภิกษุโดย เคร่งครัด จักปฏิบัติแต่หน้าที่สมมติเทพอย่างเดียวไม่ได้ แต่ถ้าหน้าที่ของสมมติเทพไม่ขัดกับสิกขาบทวินัยก็อาศัยได้ เช่น คำที่เรียกว่า “เสวย สรง "บรรทม” เป็นต้น ยังใช้ได้

สัจจะ คือความจริงนั้น ตามที่ท่านอธิบายกันมีหลายอย่าง แต่เมื่อกล่าวโดยหลักธรรมก็มี 2 อย่าง คือ

1. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติยกย่องขึ้น ให้เป็นอย่างนั้นให้เป็นอย่างนี้ เช่น สมมติให้เป็นเทวดา สมมติให้เป็นพระอินทร์ พระพรหม ผู้นั้นก็เป็นตามเขาสมมติเพียงแต่ชื่อ แต่ไม่ได้เป็นจริงไปเช่นนั้นด้วย เช่น เขาสมมติให้เป็นพระอินทร์ ชื่อพระอินทร์ก็มีอยู่แก่ผู้นั้น แต่ผู้นั้นไม่ใช่พระอินทร์ตัวเขียวไปด้วย เขาสมมติให้เป็นพระนารายณ์ชื่อพระนารายณ์ก็มีอยู่แก่ผู้นั้น แต่ผู้นั้นก็หาได้เป็นพระนารายณ์ตัวจริงมี 4 กรไม่

2. สภาวะสัจจะ จริงตามสภาวะเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เป็นดินก็เป็นดินจริง ๆ เป็นน้ำก็เป็นน้ำจริง เป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์จริง เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง เป็นความดับทุกข์ก็เป็นความดับทุกข์จริง เป็นทางให้ถึงความดับทุกข์ก็เป็นทางให้ถึงความดับทุกข์จริง อย่างนี้เป็นจริงตามสภาวะ

ท่านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปรมัตถสัจจะ เมื่อพิจารณาดูแล้วเป็นชั้นของสัจจะไปแล้ว ไม่ใช่ตัวสัจจะ เพราะปรมัตถสัจจะแยกออกเป็นปรมะ แปลว่า อย่างยิ่ง อัตถะ แปลว่า ประโยชน์ สัจจะ แปลว่า ความจริง รวมกันแปลว่า ความจริงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เมื่อมีความจริงที่เป็นประโยชน์ก็มี จังได้ชั้นดังนี้

1. ปรมัตถสัจจะ ความจริงที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
2. อัตถสัจจะ ความจริงที่เป็นประโยชน์อย่างสามัญ
3. อนัตถสัจจะ ความจริงที่ไม่เป็นประโยชน์

ญาณที่เห็นอริยสัจ 4 นั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งของบุคคล เรียกว่า ปรมัตถสัจจะ
ญาณรู้เหตุรู้ผลสามัญ หลบจากเหตุที่เสื่อม บำเพ็ญเหตุที่เจริญ นี่เป็นอัตถสัจจะ
ญาณที่เห็นผิดจากความจริง นี้เป็นอนัตถสัจจะ
บุคคลผู้ปฏิบัติต้องละอนัตถสัจจะ บำเพ็ญแต่อัตถสัจจะ และปรมัตถสัจจะ

สังขาร สังขารแบ่งออกดังนี้ คือ
1. สังขารส่วนเหตุ ที่กำลังปรุง เรียกว่า สังขารขันธ์
2. สังขารส่วนผล ที่ปรุงแต่งเสร็จแล้ว เรียกว่า รูปขันธ์
ในทางที่ดีเราใช้สังขารให้เป็นประโยชน์ สังขารย่อมปรุงมรรค ปรุงผล
ในทางที่เลว สังขารใช้เรา เราเป็นทาสของสังขาร ย่อมเป็นอันตรายถึงความพินาศ
พระราชปุจฉา คนที่มีใจเหี้ยม ฆ่าคนแล้วไม่รู้สึกอะไรนั้น จัดเป็นบุคคลประเภทไหน ทำไมบางคนสร้างกรรมในชาตินี้ไว้มาก จึงไม่ได้รับผลของกรรมนั้น กลับเจริญมีความสุขอยู่ได้

พระพรหมมุนี ถวายวิสัชนาว่า ที่เขายังมีความเจริญและความสุขอยู่ ก็เพราะกรรมชั่วที่ทำนั้นยังไม่ให้ผล ถึงกระนั้น บุคคลผู้ทำกรรมชั่วย่อมจะได้รับความเดือดร้อนในใจภายหลัง ที่เรียกว่า “วิปฏิสาร”

บางกรณีก็อาศัยผลของกรรมที่สร้าง แต่ปางก่อน ประกอบการกระทำ ซึ่งประกอบด้วย สติ ปัญญา วิริยะ เมื่อดีก็ดีเลิศ เลวก็เลวที่สุด ก็เพราะปัญญาของเขาเหล่านั้น

พระราชปุจฉา ทำอย่างไรจะระลึกได้ซึ่งชาติก่อนและชาติหน้า
พระพรหมมุนี ถวายวิสัชนาว่า จะต้องบำเพ็ญตนเองให้สูงขึ้นในการปฏิบัติธรรมและอบรมจิตใจของตนเองให้สูง ขึ้นเรื่อย ๆ เป็นลำดับไป เช่น เด็ก ๆ ระลึกหรือจำวันก่อนไปไม่ได้ ครั้นเจริญวัยก็จำเหตุการณ์ได้บ้าง และเห็นกาลในอนาคตบ้าง เมื่อเจริญเต็มที่แล้ว ก็เห็นทั้งเหตุในอดีตและอนาคตอันไกล
หลังจากทรงสนทนาธรรมกับพระพรหมมุนีเป็นเวลาอันสมควรแล้ว จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระ แล้วเสด็จเข้าที่พระบรรทม

พระราชกรณียกิจในวันที่ 9 แห่งการทรงพระผนวช(วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2499)

ในวันนี้ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม เพื่อทรงนมัสการพระอัฐิ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ อดีตสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และทรงอุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังอนุสรณ์รังษีวัฒนา (สุสานหลวง) ภายในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระราชบิดากรมหลวงสงขลานครินทร์ แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับวัดบวรนิเวศวิหาร
ในตอนเย็น เสด็จขง ณ พระตำหนักเพชร พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายดอกไม้ ธูป เทียน เสร็จแล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าจอมในรัชกาลก่อน ๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายดอกไม้ ธูป เทียน


จากนั้นเสด็จลง ณ บริเวณหน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ผู้เป็นพระราชอนุสาวนาจารย์ และพระศาสนโศภณ เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามผู้เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ พร้อมด้วยพระภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร เสร็จแล้วฉายพระบรมฉายาลักษณ์เดี่ยว




หลัง จากเสร็จการฉายพระบรมฉายาลักษณ์แล้ว เสด็จเข้าระอุโบสถทรงทำวัตรเย็น แล้วทรงสดับพระนิพนธ์ของสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช เรื่อง “คนกับธรรม” ซึ่งพระมหาบุญธรรมอ่านถวาย จบแล้วเสด็จขึ้น
ในคืนวันนั้นพระพรหมมุนีขึ้นเฝ้าถวายธรรมะ เรื่อง “สังขาร” โดยละเอียด ทรงสนทนาธรรมกับพระพรหมมุนีดังนี้

พระราชปุจฉา การที่มีคนป่าวข่าวทำให้เสียชื่อเสีย และอาจจะได้รับผลสะท้อนถึงฐานะของครอบครัว ตลอดจนญาติพี่น้องตระกูล สมควรที่สมณเพศและคฤหัสถ์จะปฏิบัติเช่นไรเมื่อมีการเช่นนี้เกิดขึ้น

พระพรหมมุนี ถวายวิสัชนาว่า ทางสมณเพศ จงกระทำความดีต่อไป ความจริงย่อมหนีความจริงไม่พ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ประทานโอกาสให้แก้ตัว เช่น พระภิกษุที่ถูกใส่ความ ก็มีโอกาสแก้ตัวได้ ทางด้านคฤหัสถ์ ถ้าจะฟ้องร้องขอความเป็นธรรมจากศาลก็ไม่ผิด แต่ถ้าตั้งใจปฏิบัติชอบต่อไปโดยไม่สะทกสะท้านต่อการใส่ความ นานเข้าก็คงมีคนเห็นความดีความชอบของเรา จะถือเป็นกรรมก็ได้ เป็นเรื่องของสังขารส่วนเหตุ คือคนอื่นปรุงแต่งให้เป็นเรื่องเป็นราว

พระราชกรณียกิจในวันที่ 10 แห่งการทรงพระผนวช(วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2499)

วันนี้ หลังจากเสวยพระกระยาหารเช้า เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้าแล้วพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินไปทรงรับบิณฑบาต ที่ทำเนียบรัฐบาล ณ ที่นั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายอาหารบิณฑบาต
ภายหลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับมาถึงวัดบวรนิเวศ วิหารแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท หลังจากนั้นสมเด็จพระราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

ในตอนเย็น เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเย็น เสร็จแล้วทรงสดับธรรมะ เรื่อง “คำสอนของพระพุทธเจ้าและการปฏิบัติธรรม” ซึ่งพระจมื่นมานิต ( สิริคุตฺโต ภิกฺขุ ) ถวายพระธรรม เรื่อง “ขันธ์ 5” แล้วทรงพระราชปฏิสันถารกับพระภิกษุในพระบรมราชินูปถัมภ์ จนถึงเวลา 21.00 น. จึงเสด็จเข้าที่พระบรรทม

พระราชกรณียกิจในวันที่ 11 แห่งการทรงพระผนวชวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2499

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในวันนี้คือ การเสด็จพระราชดำเนินไปถวายสักการะพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
เวลา 13.30 น. เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากวัดบวรนิเวศวิหารมีพระศาสนโศภณ วัดมกุฏกษัตริยารามกับพระราชาคณะวัดบวรนิเวศวิหาร 7 รูป พระกรรมการวัด 6 รูป พระในพระบรมราชินูปถัมภ์ 5 รูป ตามเสด็จพระราชดำเนิน
ครั้งเมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปสักการะพระร่วงโรจนฤทธิ์ แล้วทรงอุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นเสด็จเข้าพระวิหาร ทรงจุดธูป เทียน บนพระแท่นปฐมเทศนาถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ทรงทำวัตร แล้วทรงกล่าวคำบูชาคุณพระรัตนตรัย

ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินขึ้น สู่ลานประทักษิณชั้นบน ทรงกระทำประทักษิณรององค์พระปฐมเจดีย์ 3 รอบ โดยมีระยะทางรอบละ 300 เมตร การเสด็จพระราชดำเนินมาสักการบูชาพระปฐมเจดีย์นี้ ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญของพระมหากษัตริย์ในโอกาสที่ได้เสด็จออกทรงพระ ผนวช
เมื่อทรงกระทำประทักษิณพระเจดีย์รอบบน ครบ 3 รอบแล้ว เสด็จพระราชดำเนินลงมาทรงพักพระราชอิริยาบถที่พระวิหาร ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้นำผ้าไปเช็ดพระบาทถวาย และได้เขียนเล่าต่อมาในภายหลังว่า สังเกตเห็นที่ฝ่าพระบาทมีรอยแดงก่ำ เนื่องจากมิเคยทรงพระดำเนินด้วยพระบาทเปล่าท่ามกลางแดดที่ร้อนระอุในยามบ่าย เช่นนี้มาก่อน แต่ก็ทรงพระดำเนินอย่างสงบ แสดงให้เห็นถึงพระวิริยะอดทนเป็นอย่างยิ่งของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว



จาก นั้นเสด็จพระราชดำเนินไปสักการระพระประธานในพระอุโบสถ ในระหว่างทางเสด็จพระราชดำเนินได้มีคณะครู นักเรียน พ่อค้า ประชาชน มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จมากมาย ตลอดระยะทางเสด็จพระราชดำเนินได้จัดโต๊ะหมู่เป็นระยะ ๆ ตามลำดับดังต่อไปนี้

1. สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง
2. พุทธสมาคมจังหวัดนครปฐม
3. โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม
4. โรงเรียนปฐมวิทยา
5. โรงเรียนเทศบาลวัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม
6. โรงเรียนสมานวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม
7. คณะพ่อค้าจังหวัดนครปฐม
8. โรงเรียนสว่างวิทยา จังหวัดนครปฐม
9. โรงเรียนเทศบาลวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม
10. โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

นอกจากนั้น ก็มี พลเอก เดช เดชปติยุทธ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และภริยา พระยารามราชภักดี ปลัดกระทรวงมหาดไทย หลวงวรยุทธ ผู้บัญชาการตำรวจภูธร พลตำรวจจัตวา ประชา บูรณธนิต รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อีกหลายท่านมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทับเสด็จด้วย

ในการนี้ สถานีวิทยุ อส. ได้ถ่ายทอดเสียงโดยตลอด
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 28, 2009, 10:54:09 PM »

พระราชกรณียกิจในวันที่ 12 แห่งการทรงพระผนวช(วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2499)

เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้าแล้วทรงสดับวินัยมุข เรื่อง “อุโบสถ” ซึ่งพระครูวิสุทธิธรรมภาณอ่านถวาย

วันนี้เป็นวันธรรมสวนะและภิกขุอุโบสถตามประเพณีที่ วัดบวรนิเวศวิหารถือวันธรรมสวนะและภิกขุอุโบสถตามปักขคณนา (วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์) มีพุทธศาสนิกชนพากันมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวกันคับคั่งมากมาย

ในตอนเย็น เสด็จลงพระตำหนักเพชรพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายทหารกรมราชองครักษ์เฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาทถวายธูป เทียน และถวายจตุปัจจัยสมทบทุนอานันทมหิดล แล้วเสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเย็น ทรงสดับเรื่อง “สัปปุริสบัญญัติ” คือข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น แต่เป็นท่านสัตบุรุษ ท่านบัณฑิตตั้งไว้ก่อนแล้วพระพุทธเจ้าทรงนำมาแสดงแจกแจงออกไปเป็น 3 ข้อ คือ ทาน บรรพชา และมาตาปิตุอุปัฏฐาน
ทาน คือการให้ มนุษย์เราจำเป็นที่จะต้องอาศัยปฏิบัติในสัปปุริสบัญญัติข้อนี้ ไม่เช่นนั้นก็อยู่ไม่ได้ เด็กอ่อนต้องอาศัยทานจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองให้ คือการเลี้ยงดู หาไม่ก็อยู่ไม่ได้ ราษฎรหรือคนในปกครองต้องให้ทานแก่ผู้ปกครอง ซึ่งเรียกว่าภาษีหรืออากร หรือเงินอะไรต่างๆ ที่บัญญัติขึ้นและรับทานจากผู้ปกครอง คือผู้ปกครองจะต้องให้ความคุ้มครอง ป้องกันภัยอันตรายให้ราษฎร ช่วยเหลือ อุดหนุนราษฎร ในทางหนึ่งทางใด จึงเรียกว่า ต่างฝ่ายต่างให้กัน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้ก็อยู่ด้วยกันเป็นหมวดหมู่ กลุ่มเหล่าประเทศชาติไม่ได้
เพราะฉะนั้น มนุษย์เราจึงเป็นอยู่ตำรงชีพได้ด้วยทานตั้งแต่เกิดมา บางคนเข้าใจว่า ทานคือการให้แก่ผู้ยากจนขัดสน อันนั้นเป็นการให้โดยจำเพาะ ถ้าว่าทั่วไปแล้ว สิ่งที่เขาให้มา สิ่งที่เราให้เขาเป็นทานทั้งหมด

ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมแก่เขา ก็เป็นการให้ทานเหมือนกัน คือธรรมทาน อาศัยการให้แก่กันและกันทั้งสองฝ่ายเช่นนี้ มนุษย์เราจึงอยู่ได้ ถ้าขาดทานแล้วเป็นอยู่ไม่ได้

บรรพชา แม้จะมีการให้ทานซึ่งกันและกันดังกล่าวแล้ว แต่ถ้าคนที่อยู่ด้วยกันเบียดเบียนกันและกันอยู่เสมอ ก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงมีบัญญัติไว้ให้มีบรรพชา บรรพชาคือการถือบวช หมายความว่า เว้นจากการเบียดเบียนกันและกัน
เริ่มต้นตั้งแต่รักษาศีล 5 ก็ได้ชื่อว่าบรรพชาอย่างหนึ่ง เพราะเว้นจากการเบียดเบียนแก่กันและกัน ซึ่งมีความจำเป็นเพราะถ้าไม่มีการเว้นจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกันแล้วก็ อยู่ด้วยกันไม่ได้
มาตาปิตุอุปัฏฐาน คือการบำรุงมารดาบิดา เพราะมารดาบิดาให้ทานแก่บุตรธิดามาก่อน มารดาบิดาให้ทานแก่บุตรธิดามาแล้ว เมื่อบุตรธิดาเติบโตขึ้นจะไม่ตอบแทนได้อย่างไร มารดาบิดาแก่เฒ่าแล้วจะทำอย่างไรก็ต้องอาศัยบุตรธิดาช่วยบำรุงอุปถัมภ์ ถ้าบุตรธิดารับทานของมารดาบิดามาแล้วไม่ตอบแทนท่านก็เป็นสัตว์เดรัจฉานไป เพราะสัตว์เดรัจฉานเลี้ยงลูกให้ทานมาจนเติบโตแล้วก็ปล่อยให้ไปหากินเอาเอง ไม่ต้องเกี่ยวข้องกัน ลูกสัตว์เดรัจฉานก็ไม่ต้องตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ส่วนมนุษย์เราจะเป็นเช่นนั้นก็ไม่สมควร



เพราะฉะนั้น ท่านจึงบัญญัติมาตาปิตุอุปัฏฐานไว้ อีกข้อหนึ่ง รวมกันแล้ว “สัปปุริสบัญญัติ” ก็แปลว่า ธรรมะ 3 ข้อที่สัตบุรุษบัญญัติไว้สำหรับมนุษย์ ผู้ที่เป็นมนุษย์สมควรที่จะปฏิบัติธรรม 3 ข้อนี้ให้ได้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ด้วยคุณสมบัติหรือด้วยธรรม ไม่ใช่เป็นแต่เพียงมนุษย์โดยชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์เท่านั้น
ในตอนค่ำเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถ ทรงปฏิบัติกรณียกิจแทนองค์สมเด็จพระสังฆราชในการจุดเทียนชัยในพิธีหล่อพระ พุทธชินสีห์จำลอง โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ไวยาวัจกร เชิญเทียนที่สมเด็จพระสังฆราชทรงจุดแล้วนำมาถวายพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว เสร็จแล้วเสด็จขึ้นพระตำหนักปั้นหย่าทรงนมัสการพระ


พระราชกรณียกิจในวันที่ 13 แห่งการทรงพระผนวช(วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2499)

หลังจากเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงพระอุโบสถ ทรงเททองหล่อพระชินสีห์จำลอง สำหรับงานบำเพ็ญกุศลฉลองพระชนมายุครบ 84 พรรษา ของสมเด็จพระสังฆราช
พระมหาราชครูศรีวิสุทธิคุณทำพิธีเจิม จากนั้นพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางแผ่นทองคำเปลว 84 แผ่นลงในเบ้า และทรงเททองหล่อพระพุทธรูปพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ
วันนี้ (3 พฤศจิกายน 2499) เป็นวันอุโบสถตามปักขคณนา (วันธรรมสวนะ) พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้าและทรงทำ อุโบสถสังฆกรรม จบแล้วอุบาสกอุบาสิกาทำวัตร แล้วพระจุลนายกแสดงพระธรรมเทศนา
เวลา 13.00 น. เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตร ทรงสดับพระปาติโมกข์หลังจากนั้นพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้อำนวยการ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นำพนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เฝ้าทูล ละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายดอกไม้ ธูป เทียน จตุปัจจัยสมทบทุนอานันทมหิดล เสร็จแล้วเสด็จลงพระอุโบสถ ทรงสดับพระธรรมเทศนาเนื่องในวันธรรมสวนะ ซึ่งพระสาธุศีลสังวรแสดงถวาย



ในตอนเย็น เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระโศภนคณาภรณ์ (ปัจจุบันคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก) พระสาธุศีลสังวร และพระราชภัฏ ไปในการพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร ณ วัดเทพศิรินทราวาส
ในวันเดียวกันนี้ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปถวายดอกไม้ ธูป เทียน และทรงทูลลาพระผนวชต่อสมเด็จพระสังฆราช ณ ตำหนักปัญจบเบญจมา สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงถวายโอวาท ดังนี้

“บุญกุศลใดที่อาตมภาพได้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ขอถวายส่วนบุญส่วนกุศลเหล่านั้นแด่สมเด็จบรมพิตรพระราชสมภารเจ้า ขอสมเด็จบรมพิตรพระราชสมภารเจ้า จงทรงอนุโมทนาส่วนกุศลที่ได้ถวายนั้นให้เหมือนกับทรงทำด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสถิตอยู่เป็นสุข ปราศจากทุกข์ทุกทิพาราตรีกาล ทรงเห็นแต่การที่เจริญทุกเมื่อ อย่าทรงเห็นการที่เสื่อมทรามแม้แต่น้อยหนึ่งเลย พร้อมทั้งความเจริญด้วยพระชนมายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภยศ สรรเสริญ สุข ตลอดสิ้นกาลนาน
ในการทรงผนวชคราวนี้ อาตมภาพไม่ชอบใจตัวเองอยู่ เพราะได้ทำอะไรถวายไม่ได้เต็มที่ เพราะต้องเจ็บเสีย จนบัดนี้ก็ยังไม่หาย แต่ส่วนสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้เต็ม ที่ ที่แสดงให้เห็นได้ก็คือคนที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งในประเทศทั้งนอกประเทศ อนุโมทนาตลอดทั่วถึงกัน และหวังความเจริญ ความสุขแต่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าให้ทรงเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อเป็นขวัญใจของบ้านเมืองและของผู้นับถือพระพุทธศาสนา

ว่าถึงบารมี น่าจะทรงทราบ ศัพท์ที่บารมี หมายความว่า เก็บความดีหรือทำความคุ้นเคยกับความดีให้เกิดขึ้น ตรงกันข้ามกับอาสวะ คือ เก็บความชั่วหรือทำความชั่วให้เกิดพอกพูนขึ้น บารมีไม่ใช่บุญกุศลโดยตรง บุญกุศลที่บุคคลได้ทำแล้ว ก็ให้ผลเป็นสุขตามคราวตามสมัย แต่ความคุ้นเคยหรือความเก็บความดีไว้นั้นเป็นบารมี ตรงกันข้ามกับการทำชั่วทำร้ายเสียหายที่เป็นบาปนั่นก็ให้ผลชั่วร้ายแก่ผู้ทำ ตามคราวตามสมัย แต่ว่าผู้ทำยังคุ้นเคยอยู่กับความชั่วหรือบาปนั้น นี่เป็นส่วนอาสวะ บารมีเกิดขึ้นได้เพราะรู้ดีรู้ชอบ อาสวะเกิดขึ้นได้เพราะรู้ชั่วรู้ผิด เพราะฉะนั้น ในที่สุดบารมีจึงชนะอาสวะ
ขอพระบารมีทั้งหลายจงเจริญยิ่งแต่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า


พระราชกรณียกิจในวันที่ 14 แห่งการทรงพระผนวช(วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2499)

เช้ามืดวันนี้ เป็นวันที่ชาวบ้านร้านตลาดแถวบางลำพูต่างพากันตื่นเต้นงงงันอย่างไม่คาดฝัน แล้วก็พลันเปลี่ยนเป็นความปลื้มปีติโสมนัสอย่างล้นเหลือ เมื่อจู่ ๆ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงรับบิณฑบาต อยู่เบื้องหน้าของพวกเขา เป็นครั้งแรกในชีวิตที่พวกเขาได้ถวายบิณฑบาตแด่พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ผู้เป็นพระมหากษัตริย์ที่เคารพรักและเทิดทูนอยู่เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมพวก เขามาโดยตลอด
แน่ละ ภาพที่พระองค์ประทับยืนรอรับบิณฑบาตอยู่เบื้องหน้า ด้วยสีพระพักตร์ที่อ่อนโยน สงบสำรวมเยี่ยงพระภิกษุสงฆ์อื่น ๆ จะเป็นภาพที่ติดตาตรึงใจพวกเขาไปไม่มีวันลบเลือน

พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช ดำเนินออกรับบิณฑบาตครั้งนี้โดยไม่มีหมายกำหนดการ ไม่มีผู้ใดล่วงรู้และคาดคิดมาก่อน พรพะองค์เสด็จพระราชดำเนินออกทางประตูหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร ด้านพระตำหนักเพชร พร้อมด้วยพระโศภนคณาภรณ์ ซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงและพระสหจรทั้ง 5 รูป แล้วทรงพระดำเนินด้วยพระบาทเปล่าเยี่ยงพระสงฆ์ธรรมดาไปตามถนนสายบางลำพู ทรงรับบิณฑบาตจากประชาชนที่ใส่บาตรอยู่เป็นประจำที่ถนนพระสเมรุ แล้วประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินต่อไปทางสะพานเฉลิมวันชาติ ผ่านไปทางหน้าวังสวนกุหลาบ ถนนราชวิถี ถนนเลียบคลองประปา อ้อมไปทางสะพานควาย แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับทางถนนพหลโยธิน เข้าถนนพญาไท ทรงแวะรับบิณฑบาตที่บริเวณใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จากนั้นทรงแวะรับบิณฑบาตอีกครั้งที่สี่แยกราชเทวีถนนเพชรบุรี



ไม่มีครั้ง ใดอีกแล้วในชีวิตที่ประชาชนทั้งชาย หญิง เด็ก คนชรา ผู้ซึ่งออกมาใส่บาตรวันนั้น จะรู้สึกตื่นเต้นและปลื้มปีติเท่าครั้งนี้ เพราะไม่มีใครคิดมาก่อนว่าชาตินี้จะมีโอกาสได้ทำบุญใส่บาตรถวายพระสงฆ์ที่ เป็นถึง “พระเจ้าแผ่นดิน”

เล่ากันว่า บางคนก้มหน้าก้มตาใส่บาตรพระโดยไม่ได้มองหน้าว่าพระที่มายืนรับบิณฑบาตจากตน เป็นใคร แต่พอเงยหน้าขึ้นมองเห็นว่าเป็นพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็แทบ เป็นลมหมดสติไปด้วยความตื่นเต้นตกใจ มือไม้อ่อนแทบจะคอนทัพพีตักข้าวไม่ไหว พอรู้สึกตัวก็ทรุดลงกราบแทบพระบาทนิ่งอยู่อย่างนั้น จนเสด็จพระราชดำเนินผ่านไปแล้ว ยังลุกไม่ขึ้น คนอื่นต้องมาฉุดประคองให้ลุกขึ้นยืน

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงล้นเกล้าล้น กระหม่อมพสกนิกรชาวไทยที่ได้เสด็จพระราชดำเนินออกรับบิณฑบาตในครั้งนี้ เพราะเป็นโอกาสแรก โอกาสเดียว และโอกาสสุดท้ายในชีวิตของพวกเขาเหล่านั้น ที่ได้มีโอกาสใส่บาตรถวายพระภิกษุที่เป็นพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าของพวกเขา
จากนั้นจึงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนิน กลับวัดบวรนิเวศวิหารแต่เมื่อถึงหน้าวัด ก็ทรงต้องเสด็จพระราชดำเนินลงจากรถยนต์พระที่นั่งอีกครั้งเพื่อทรงรับ บิณฑบาตจากประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรออยู่ที่หน้าวัด
อาหารที่ทรงรับบิณฑบาตในวันนั้น ก็เป็นอาหารที่ชาวบ้านใส่บาตรอยู่ตามปกติคือ ข้าวสุก เครื่องในไก่ผัดขิง ผัดถั่วฝักยาว กุนเชียง ผัดหอมหัวใหญ่กับหมู เนื้อทอด ปลาสลิดเค็มทอด ปลาทูทอด ส่วนของหวานก็ได้แก่ ขนมครก ขนมถั่วแปบ ขนมบ้าบิ่น ส้มเขียวหวาน กล้วยหอม กล้วยไข่ โรตี ขนมเค้ก และขนมปังทาเนย นอกจากนั้นก็มีดอกไม้ ธูป เทียน

พระองค์ทรงแบ่งอาหารที่ทรงรับบิณฑบาตมาออกถวายสมเด็จพระสังฆราชส่วนหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ได้เสวยในมื้อพระกระยาหารเพล
หลังจากเสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้า และทรงสดับวินัยมุขเรื่อง “กาลิก 4” ซึ่งพระครูวิสุทธิธรรมภาณอ่านถวายแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปสำคัญในวัด บวรนิเวศวิหาร
เวลา 16.00 น. พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักปั้นหย่า ในการพระราชพิธีทรงลาพระผนวช

ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการแล้ว ทรงประเคนผ้าไตรแก่พระราชาคณะ 7 รูป ซึ่งจะเจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ทั้งนั้นไปครองผ้า แล้วกลับมานั่งยังอาสนสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว เสด็จพระราชดำเนินขึ้นพระตำหนักที่ประทับ
ในตอนเย็น เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเย็น อันเป็นกิจประจำของพระสงฆ์เสร็จแล้วทรงสดับพระธรรม เรื่อง “บุญกิริยาวัตถุ 3 บุญกิริยาวัตถุ 10” ซึ่งพระจมื่นมานิตฯ อ่านถวาย จากนั้นพระพรหมมุนีและพระโศภนคณาภรณ์ขึ้นเฝ้าถวายธรรม ณ พระตำหนักปั้นหย่า จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินขึ้นนมัสการพระแล้วเสด็จเข้าที่พระบรรทม

ปัญหาเกี่ยวกับธรรมะที่พระพรหมมุนีและพระโศภนคณาภรณ์ ถวายในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2499 คือ
ขันธ์ 1 และขันธ์ 4 หมายถึงอะไร
ขันธ์ 1 คือ รูป
ขันธ์ 4 คือ นาม ซึ่งประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จิต คือธรรมะที่ให้สำเร็จความคิด แต่ความคิดกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน ความคิดจะมีขึ้นได้เพราะอาศัยจิต ถ้าไม่มีจิต ความคิดก็ไม่มี จิตไม่ใช่สังขาร ความคิดเป็นสังขาร ถ้าจิตเป็นสังขารแล้ว ความหลุดพ้นจากทุกข์ก็มีไม่ได้ เพราะความคิดเป็นทุกขสัจจะ

รู้ แบ่งออกดังนี้ คือ
1. รู้มีอาการ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น รู้ซึ่งอารมณ์ รู้คุณ รู้โทษ รู้เหตุ รู้ผล จิตเข้าสู่มโนทวาร
2. รู้ไม่มีอาการ รู้นิ่ง ไม่มีอารมณ์เลย รู้หยุด รู้วาง รู้โปร่ง รู้ปล่อย รู้อย่างนี้จิตไม่มาเกี่ยวกับทวาร เมื่อจิตไม่เข้าเกี่ยวกับทวารอารมณ์ตามไปไม่ถึง รู้ตัวเองทางธรรม โดยภาวะเรียกว่า อัญญา หรือไม่เป็นภาวะ ก็เรียกว่า มุนี คือ ผู้รู้ พุทโธ คือ ผู้ตื่น ตถาคโต คือ ผู้บรรลุสัจธรรม วิมุตติโต คือ ผู้หลุดพ้น
พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ต่างกันอย่างไร
พระพุทธเจ้าละได้ซึ่งกิเลสและวาสนา
พระสาวกยังละวาสนาไม่ได้ ละได้แต่กิเลสอย่างเดียว
วาสนา ทางธรรมหมายเอาอาการความประพฤติที่เคยชินมาแล้ว แต่ไม่มีเจตนา คำว่าวาสนานี้ไม่ตรงกับภาษาที่ใช้กันซึ่งแปลว่ามีบุญ คำว่าพระอรหันต์ แปลว่า ผู้หมดข้อลี้ลับ ไม่มีข้อซ่อนเร้นอยู่ภายใน เป็นผู้ควรเคารพบูชา สรรเสริญ เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส (สันดานของมนุษย์)
พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วอยู่ที่ไหน
อยู่เหนือโลก จิตเข้าสู่นิพพาน คือจิตพ้นโลก
นิพพาน พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ไปรวมกันอยู่ที่ไหน หรือต่างองค์ต่างไป
ไม่สามารถตอบได้ เพราะนิพพานพ้นโลกไปแล้ว หมดสมมุติไปแล้ว ไม่สามารถทราบได้ ความว่ารวมหรือแยกนั้นเป็นเรื่องของโลก ความไม่กังวล ความไม่ยึดถือ นี่คือนิพพานที่พระพุทธเจ้าสอนไว้
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มีนาคม 28, 2009, 11:10:41 PM »

ท ร ง ล า พ ร ะ ผ น ว ช


วันจันทร์ ที่ 5 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2499 นับเป็นวันสุดท้ายที่พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจักทรงครองผ้า กาสาวพัสตร์อยู่ในเพศบรรพชิต

วันนั้น หลังจากทรงตื่นพระบรรทมและเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ พระตำหนักปั้นหย่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์พร้อมด้วยเครื่อง บริขาร จากนั้นเสด็จลพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้า แล้วทรงสดับ เรื่อง “สรุปเรื่องพระธรรมวินัยบัญญัติ” ซึ่งพระครูวิสุทธิธรรมภาณอ่านถวาย ดังนี้


พวกภิกษุเราเป็นหมู่ที่ตั้งโดย หลักฐานมีกฎหมายและขนบธรรมเนียมเป็นเครื่องปกครองเหมือนหมู่อันตั้งเป็นหลัก ฐานอื่น ๆ กฎหมายและขนบธรรมเนียมของภิกษุเรานี้เรียกว่า พระวินัย เป็นคู่กับพระธรรมอันเป็นปฏิบัติทางใจ รวมทั้ง 2 อย่างนี้ เป็นพระศาสนา เรียกโดยชื่อว่า พระธรรมวินัย พระวินัยนั้นมีตำนานว่า ท่านพระอุบาลีเข้าใจมาก ได้ศึกษามาแต่สำนักพระศาสดา พระองค์ทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ คือ เป็นยอดแห่งภิกษุผู้ทรงพระวินัย ไม่มีภิกษุอื่นเทียมถึง เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้วในพรรษานั้นเอง พระเถระทั้งหลายมีท่านพระมหากัสสปะเป็นประธาน ประชุมกันทำสังคายนา วางแบบแผนแห่งพระพุทธศาสนาไว้เป็นหลักฐาน ณ กรุงราชคฤห์พระนครหลวงแห่งแคว้นมคธ ในการสังคายนานั้น ท่านสังคายนาพระวินัยด้วยส่วนหนึ่ง ไต่ถามขอให้ท่านพระอุบาลีวิสัชนาแล้ววางเป็นแบบ ทรงจำเล่าเรียนสั่งสอนมาโดยปากหลายชั่วอายุ หรือล่วงหลายร้อยปีแต่พุทธปรินิพพานกว่าจะได้จารึกลงเป็นอักษร ในระหว่างนั้นเกิดความเข้าใจผิดกันขึ้นเป็นคราว ๆ

พระเถระทั้งหลายในสมัยนั้นได้ ประชุมกันวินิจฉัยลงเป็นแบบนำสืบกันมา แบบอันพระธรรมสังคาหกะทั้งหลายได้วางไว้นั้น เรียกว่า บาลี นับถือกันว่าเป็นแบบดั้งเดิมจำมาไม่เคลื่อนคลาดทั้งท่านผู้จำในครั้งแรกก็ เป็นพระมหาสาวกในยุคพระศาสนา เป็นผู้มีปรีชาแตกฉานในพระศาสนา เป็นพระอรหันต์ผู้บริสุทธิ์ ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลังรจนาแก้อรรถแห่งบาลีนั้น เรียก อรรถกถา นับถือคลายลงมาจากบาลี เพราะเป็นปกรณ์ชั้นที่ 2 แต่ท่านผู้รจนาเป็นผู้รู้พระพุทธวจนะ จึงยังเป็นที่เชื่อฟัง ปกรณ์อันพระอาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้ หรืออธิบายเพิ่มเติมอรรถกถาเรียก ฎีกา ที่เพิ่มเติมฎีกาเรียก อนุฎีกา นับถือน้อยลงมากว่าอรรถกถาถือเป็นเพียงมติของอาจารย์ผู้รจนาปกรณ์ที่แต่ง ขึ้นตามความปรารภของอาจารย์ทั้งหลายไม่อยู่ในสายนี้ ถือเป็นเพียงอาจาริยวาทอย่างหนึ่ง ๆ

โดยทางพิจารณาสอดส่องได้ความเข้า ใจว่า ในสังคายนาครั้งแรก คงเป็นเพียงพระสงฆ์ประชุมกันไต่ถามสอบสวนกันถึงคำสอนของพระศาสดาทั้งในส่วน พระธรรม ทั้งในส่วนพระวินัย ข้อใดได้ความรับรองทั่วไปหรือโดยมาก ก็ถือเอาข้อนั้นเป็นที่เชื่อฟังได้นำกันสืบมาในคราวหลัง ๆ เมื่อเกิดความเข้าใจแผกกันขึ้นว่าอย่างไรถูกหรือต้องการอธิบายข้อความอันยัง ไม่แจ่มชัด พระเถระผู้เป็นประธานในครั้งนั้นก็ประชุมกันทำสังคายนาวินิจฉัยแล้ววางเป็น แบบสืบลงมาอีกเป็นคราว ๆ กว่าจะได้จารึกเป็นอักษร จึงเป็นทางรจนาและอธิบายได้กว้างขวาง กิริยาที่นำพระศาสนาสืบลงมาด้วยไม่ได้จารึกลงเป็นอักษรนั้น มีตัวอย่างที่แลเห็นอยู่ใกล้ ๆ ขนบธรรมเนียมของพวก (ธรรมยุตติกา) เรานี้เอง ตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวช (จนบัดนี้ 100 ปีเศษล่วงไปแล้ว) นำสืบกันมาด้วยประพฤติตามกันไม่ได้จารึกลงเป็นอักษรเลยยกไว้แต่หนังสือพระ วินัยฯ



พระวินัย นั้นภิกษุรักษาดีโดยถูกทางแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ คือความไม่ต้องเดือดร้อนใจ ซึ่งเรียกว่าวิปฏิสาร ภิกษุผู้ประพฤติย่อหย่อนทางวินัยย่อมไม่ได้วิปฏิสาร เพราะอนาจารผิดกฎหมายบ้านเมือง ถูกจับกุม และถูกลงโทษบ้าง ถูกดูหมิ่นบ้าง ไม่มีคนนับถือ จะเข้าหมู่ภิกษุผู้มีศีลก็หวั่นหวานกลัวจะถูกโจทก์ท้วง แม้ไม่มีใครว่าอะไรก็ตะขิดตะขวางใจไปเอง ที่สุดนึกขึ้นมาถึงตน ก็ติเตียนตนเองได้ ไม่ได้ปีติปราโมทย์ ฝ่ายภิกษุผู้นิยมในพระวินัย แต่ขาดความเข้าใจเค้าเงื่อน พอใจจะถือให้ตรงตามตำรับให้เหมือนครั้งพุทธกาล แต่คนเกิดในกาลอื่น ๆ ในประเทศอื่น ย่อมได้พบความขัดข้อง ประพฤติไม่สะดวกใจเป็นธรรมดา และความประพฤตินั้น มักมัวไปหนักอยู่ในข้อที่เป็นธรรมเนียมที่ภิกษุเคยถือกันมา แต่ไม่เป็นสำคัญจริง ๆ นี้เรียกว่าประพฤติพระวินัยไม่ได้อานิสงส์ดังมุ่งหมาย กลับได้ความลำบากเสียอีก และผู้ประพฤติพระวินัยโดยไม่มีสติเช่นนั้น มักมีมานะถือตัวว่าตนประพฤติเคร่งครัดดีกว่าผู้อื่นและดูหมิ่นพระภิกษุอื่น ว่าเลวทราม นี้เป็นกิริยาที่น่าเกลียดน่าติอยู่แล้ว ครั้นจะต้องอยู่ร่วมสมาคมกับภิกษุอื่น ๆ ที่ตนเห็นว่าประพฤติบกพร่องในพระวินัย ย่อมรังเกียจและจำทำ กับได้ความเดือดร้อนซ้ำอีก ฝ่ายภิกษุผู้ประพฤติถูกทางย่อมได้ความแช่มชื่นเพราะรู้สึกว่าตนประพฤติดีงาม ไม่ต้องถูกจับกุมและลงโทษหรือติเตียน มีแต่จะได้ความสรรเสริญ จะเข้าหมู่ภิกษุผู้มีศีล ก็องอาจไม่ต้องสะทกสะท้าน

อันจะ ปฏิบัติพระวินัยให้สำเร็จประโยชน์ควรพิจารณาให้เข้าใจผลที่มุ่งหมายแห่งพระ วินัยนั้น พระพุทธบัญญัติบางข้อและอภิสมาจารบางหมวด พระศาสดาทรงตั้งไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นคนเหี้ยมโหดจนถึงต้องโทษอาชญาแผ่น ดินอย่างอุกฤษฏ์ก็มี เช่น ห้ามทำโจรกรรมและฆ่ามนุษย์เพื่อป้องกันความลวงโลกเลี้ยงชีพก็มี เช่น ห้ามไม่ให้อวดอุตริมนุสธรรม เพื่อป้องกันความดุร้ายก็มีเช่น ห้ามไม่ให้ด่ากัน ตีกัน เป็นต้น เพื่อป้องกันความประพฤติเลวทรามก็มีเช่น ห้ามพูดปด ห้ามพูดส่อเสียด ห้าเสพสุรา เป็นต้น เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหายก็มีเช่น ห้ามแอบฟังความของเขา เพื่อป้องกันความเล่นซุกซนก็มี เช่น ห้ามไม่ให้เล่นจี้กัน ไม่ให้เล่นน้ำ ไม่ให้ซ่อนบริขารของกัน ทรงบัญญัติตามความนิยมของคนในครั้งนั้นก็มี เช่น ห้ามไม่ให้ขุดดิน ไม่ให้ฟันต้นไม้ที่เขาถือว่ามีชีวิต ทรงบัญญัติโดยเป็นธรรมเนียมของภิกษุตามความสะดวกบ้าง ตามนิยมของบรรพชิตบ้าง เช่น ห้ามไม่ให้ฉันอาหารในยามวิกาล จะฉันของอื่นนอกจากน้ำ ต้องรับประเคนก่อน นี้เป็นตัวอย่างแห่งผลที่มุ่งหมายของสิกขาบทนั้น ๆ อนึ่ง พึงใคร่ครวญถึงพระบัญญัติที่ทรงตั้งขึ้นแล้ว แต่ยังไม่เหมาะด้วยประการใดประการหนึ่ง จึงได้ทรงเพิ่มอนุบัญญัติดัดแปลงในหนหลังว่ายังให้สำเร็จผลที่มุ่งหมายเดิม หรือกลายเป็นอื่นไปแล้ว แต่ยังจะต้องถือเป็นตามธรรมเนียมของภิกษุ อนึ่ง พึงใส่ใจถึงพระบัญญัติ

ปรารภเฉพาะ กาลล่วงมานานและนำมาใช้ในประเทศอื่นเป็นไปไม่สะดวก ไม่มีใครจะแก้ไขได้ ภิกษุทั้งหลายในประเทศนั้น ในกาลนั้น จึงหันหาทางหลีกเลี่ยงประพฤติบ้าง เลิกเสียทีเดียวบ้าง เมื่อใคร่ครวญเห็นเช่นนี้แล้ว พึงนำความประพฤติไปให้สำเร็จผลที่มุ่งหมายของพระธรรมวินัย และให้สำเร็จอานิสงส์ คือ ได้ความชื่นบานว่าได้ประพฤตดีงาม ไม่ต้องได้ความเดือดร้อน เพราะเหตุประพฤติสะเพร่า หรือประพฤติไม่ถูกทางและไม่เกิดมานะความถือตัวและดูหมิ่นผู้อื่น ควรมีเมตตาอารี แนะนำเพื่อนสหธรรมิกที่ยังประพฤติบกพร่องให้ประพฤติบริบูรณ์



อีกประการ หนึ่ง พึงนึกว่าการบวชนั้นมีความสำคัญเป็นที่สุด เพราะทำในท่ามกลางสงฆ์ในโรงอุโบสถ และต่อหน้าพระพุทธปฏิมา เมื่อบวชแล้วปฏิบัติดี ย่อมได้อานิสงส์กล่าวโดยสรุปเป็น 3 ประเภท คือ แก่ตนเอง แก่ผู้อื่น และแก่พระพุทธศาสนา อานิสงส์แก่ตนเอง หมายความว่า ได้ฝึกหัดกาย วาจา ใจให้อยู่ในเหตุผลที่ชอบ อานิสงส์แก่ผู้อื่นหมายความว่า ได้นำความปลาบปลื้ม ได้ให้เขาชื่นชม ได้ให้เขาชมบุญบารมี คือเขาได้อนุโมทนา นับตั้งแต่บิดามารดา ญาติพี่น้อง และบรรดาผู้เกี่ยวข้องทั้งมวล ตลอดถึงเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพการี อานิสงส์แก่พระพุทธศาสนา หมายความว่า ได้ช่วยสืบต่ออายุพระศาสนา ส่งเสริมผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ให้โบกสะบัดสืบไป สมกับพระบาลีที่ว่า “อปิ รชฺเชน ตํ วรํ” การบวชประเสริฐกว่าการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ


จาก นั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปลูกต้นสัก 1 ต้น ที่บริเวณข้างพระตำหนักปั้นหย่า แล้วทรงปลูกต้นสนฉัตร 2 ต้น ที่บริเวณหน้าพระตำหนักทรงพรตหอสหจร

เวลา 10.15 น. เสด็จออก ณ พระตำหนักปั้นหย่า ในการพระราชพิธีทรงลาพระผนวช ทรงประกาศลาสิกขา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ แล้วทรงประกาศลาสิกขาต่อพระสงฆ์ เมื่อเวลา 10.23 น. จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลื้องกาสาวพัสตร์ เปลี่ยนเป็นทรงเศวตพัสตร์ เมื่อทรงเศวตพัสตร์แล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงแสดงพระองค์เป็นอุบาสกทรงสมาทานเบญจศีล แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระตำหนักทรงพรตหอสหจร เสด็จเข้าที่สรง ทรงสรงน้ำพระพุทธมนต์เป็นการภายใน

เมื่อ ทรงสรงเสร็จ ทรงเศวตพัสตร์แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประเคนภัตตาหาร พระสงฆ์รับพระราชทานฉันจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระตำหนักจันทร์ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องสักการะทูลลาพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์และพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโร รส แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่ห้องที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูป เทียน เครื่องสักการะ กราบถวายบังคมลา เสร็จแล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระตำหนักเพชร ขณะนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรีและประธานสภาผู้แทนราษฎร เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่พร้อมหน้า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกระแสพระราชดำรัสในการทรงลาพระผนวช ความว่า
ตามที่พระองค์ได้ทรงแจ้งพระราชดำริเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2499 ว่าจะทรงบรรพชาอุปสมบทในพุทธศาสนานั้น บัดนี้ พระองค์ได้ทรงบรรพชาอุปสมบท และได้ทรงลาสิกขาแล้ว ในวันนี้
พระองค์ทรงมีความยินดีที่ทรงได้รับความร่วมมือช่วยเหลือในการนี้โดยพร้อม เป็นที่เรียบร้อยทุกประการ

ทรงขอขอบพระทัยสมเด็จพระบรมราชินี และทรงขอบใจรัฐบาล ตลอดจนผุ้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่ได้ช่วยกันบริหารแผ่นดินให้เป็นไปด้วยดี
ทรงขอให้ทุกคนจงมีส่วนได้รับกุศลอันพึงจะเกิดขึ้นแต่การทรงบรรพชาอุปสมบทของพระองค์นี้โดยทั่วกัน
ต่อจากนั้นเสด็จขึ้นพระตำหนักปั้นหย่าทรงประเคน จตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินไปประทับ ณ พระตำหนักทรงพรตหอสหจร
เวลา 14.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยงตำหนักปัญจบเบญจมา เพื่อทรงทูลลาสมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัชฌายาจารย์ สมเด็จพระสังฆราชถวายสรงน้ำพระพุทธมนต์ และถวายพระพร เสร็จแล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องสักการะ พระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส และพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูป เทียน ถวายนมัสการพระพุทธชินสีห์ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาแล้วเสด็จพระราชดำเนินออกจากพระอุโบสถ มีประชาชนมาคอยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อชมพระบารมีอยู่สองข้างที่เสด็จ พระราชดำเนินฝ่านอย่างคับคั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับรถยนต์พระที่นั่ง หน้าประตูอุโบสถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เป็นอันเสร็จสิ้นการพระราชพิธีทรงลาพระผนวช

เนื่อง ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงพระผนวชครั้งนี้ ได้ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงพระคุณูปการอันอเนกของสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ผู้ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่พระราชอุปัชฌายาจารย์ทั้ง ๆ ที่มีพระอาการประชวร ทุพพลภาพ ได้เอาพระทัยใส่ในอันที่จะถวายความรู้ทางพุทธศาสนาและถวายโอกาสให้ได้ทรง ปฏิบัติสมณกิจให้ได้ผลเต็มตามภิกขุภาวะเป็นนานัปการ จึงได้มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธี สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นสมเด็จพระสังราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ขึ้น ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2499 ความแจ้งอยู่ในประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาซึ่งได้ลงในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 74 ตอนที่ 6 ลงวันที่ 12 มกราคม 2500 แล้วนั้น
อนึ่งในโอกาสเดียวกันนี้ ยังมีพระเถรานุเถระที่ได้ปฏิบัติการสนองพระเดชพระคุณเป็นพิเศษ บางรูปอยู่ในฐานะสูงเต็มขีดขั้นแล้ว บางรูปทรงคุณวุฒิถึงคราวที่จะได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์อยู่แล้ว บางรูปได้โปรดให้ยกย่องขึ้นเป็นพิเศษ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา อาทิ

สมเด็จพระวันรัต สังฆนายก เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระราชกรรมวาจาจารย์โปรดให้เป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์
พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร ทำหน้าที่รับเสด็จดูแลแทนเจ้าอาวาสเป็นครั้งคราวที่เจ้าอาวาสประชวร แต่ดำรงสมณศักดิ์สูงอยู่แล้ว
พระโศภนคณาภรณ์ วัดบวรนิเวศวิหารพระพี่เลี้ยง ฉลองพระเดชพระคุณใกล้ชิดตลอดเวลา เป็นพระธรรมวราภรณ์ พระราชาคณะชั้นธรรม



ส่วนพระราชาคณะในวัดบวรนิเวศ วิหารรูปอื่น ๆ ก็ได้มีหน้าที่ถวายการสั่งสอนหรือสนองพระเดชพระคุณใกล้ชิดอย่างอื่น ๆ อีก ทุกรูปที่มีทางเลื่อนสมณศักดิ์ได้ก็โปรดพระราชทานเลื่อนขึ้นเป็นพิเศษในพระ ราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาศก 2499 แล้วเหมือนกัน
ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชน มายุครบรอบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 นี้ ในนามของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน


แหล่งข้อมูล : หนังสือทรงพระผนวช จัดพิมพ์โดยโครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย ปี 2542
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
รวบรวม/เรียบเรียง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ที่มา : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย http://www.mbu.ac.th/

บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2009, 11:04:42 AM »

เป็นปิติ จริงๆ ครับที่ประเทศไทย มีธรรมราชา อย่างในหลวง

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 07, 2009, 10:39:28 AM »

เรื่องราวของในหลวง ที่คนไทยหรือคนชาติไหนได้อ่าน

แล้วยังความปิติให้เกิดขึ้นได้ ครับ

อ่านได้ที่นี่ครับ ==> http://www.kammatan.com/download/King.pdf

ขอขอบคุณข้อมูลจาก forward mail ดีๆ นะครับ  ยิ้มเท่ห์

golfreeze[at]kammatan.com
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 11:19:04 AM »



ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับดอกบ้วสามดอกจากแม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์

"ดอกไม้จากหัวใจ"



        ที่ จ. นครพนม บนเส้นทางรับเสด็จตรงสามแยกชยางกูร- เรณูนคร บายวันที่ 13 พ. ย. 2498 อาณัติ บุนนาค  หัวหน้าส่วนช่างภาพประจำพระองค์ ได้บันทึกภาพในวินาทีสำคัญที่กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศ ภาพที่พูดได้มากกว่าคำพูดหนึ่งล้านคำ วันนั้นหลังจากทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารเสร็จสิ้นในช่วงเช้าแล้ว ทั้ง  2 พระองค์ได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งกลับไปประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ราษฎรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูกจูงหลาน หอบกันมารับเสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแน่น ดังเช่นครอบครัวจันท์นิตย์ ที่ลูกหลานช่วยกันนำ แม่ตุ้ม จันทนิตย์ วัย 102 ปี ไปรอรับเสด็จ ณ จุดรับเสด็จห่างจากบ้าน 700 เมตร โดยลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพูให้แม่เฒ่าจำนวน 3 ดอก และพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่สุด เปลว แดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรายังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้นขึ้นจบเหนือศีร ษะแสดงความจงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอย่างอ่อนโยน เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่เฒ่า แต่แน่นอนว่าแม่เฒ่าไม่มีวันลืม เช่นเดียวกับที่ในหลวงไม่ทรงลืมราษฎรคนสำคัญที่ทรงพบริมถนนวันนั้น หลานและเหลนของแม่เฒ่าเล่าว่า "หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ แล้ว ทางสำนักพระราชวังได้ส่งภาพรับเสด็จของแม่เฒ่าตุ้ม พร้อมทั้งพระบรมรูปหล่อด้วยปูนพลาสเตอร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราช ทานผ่านมาทางอำเภอธาตุพนมให้ แม่เฒ่าตุ้มไว้เป็นที่ระลึก พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้อาจมีส่วนช่วยให้ชีวิตแม่เฒ่ายืนยาว ขึ้นอีกด้วยความสุขต่อมาอีกถึงสามปีเต็ม ๆ แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ ราษฎรผู้โชคดีที่สุดคนหนึ่งในรัชกาลที่ 9 สิ้นอายุ ขัยอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ 105 ปี



ข้อมูลจาก " แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์" ภาคพิเศษโดย คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ วารสารไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2010, 04:40:57 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
toom1567
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 03:30:54 PM »

เพิ่งเคยได้เห็นภาพในหลวงทรงผนวชรู้สึกปลื้มปิติมากค่ะ
บันทึกการเข้า
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 04:35:05 PM »

ภาพเหล่านี้ นับวันยิ่งหาดูได้ยาก ครับ

เลยขออนุญาต นำมารวบรวมไว้ในเว็บ

เผื่อให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่เข้ามาดู แล้วเกิดความปลื้มปิติ ในธรรมราชา ของเรา น่ะครับ

ธรรมย่อมรักษา ผู้ประพฤติธรรม ครับ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: มกราคม 18, 2015, 09:58:24 AM »


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับบาตร จาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขณะผนวช


พระฉายาลักษณ์สมเด็จย่า ทรงมอบผ้าไตรแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อจะทรงผนวช ในปี พ.ศ.2499 ::: เพิ่มเติม ::: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง เมื่อ พ.ศ. 2499 มีพระราชประสงค์ที่จะทรงผนวชในพระบวรพุทธศาสนาตามโบราณราชประเพณี จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชภาระสนองพระเดชพระคุณในการทรงผนวชในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: มกราคม 18, 2015, 10:00:39 AM »


องค์ในหลวง รัชกาลที่ 9 อยู่ระหว่างในช่วงที่พระองค์ทรงผนวช และขณะที่ราษฏร กำลังใส่บาตร ครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: