ชีวิตในเพศบรรพชิตพรรษาที่ 1 (พ.ศ. 2491) อุปสมบท ณ โบสถ์น้ำ วัดป่าบ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจาร์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจาร์ฝั้น อาจาโร เป็นอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ไปจำพรรษาที่วัดป่าท่าสองคอน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
พรรษาที่ 2 (พ.ศ. 2492) ย้าย ไปจำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
พรรษาที่ 3 (พ.ศ. 2493) หลัง จากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มรณภาพ และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่นแล้ว ไปจำพรรษากับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร
พรรษาที่ 4-5 (พ.ศ. 2594-2495) จำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร ร่วมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
พรรษาที่ 6 (พ.ศ. 2496) หลวง ปู่ฝั้น อาจาโรเกิดนิมิตระหว่างนั่งสมาธิในกลางพรรษาว่าเห็นถ้ำที่สว่างไสว เหมาะแก่การปฏิบัติ จึงได้ไปค้นหาจนพบถ้ำขาม แล้วได้บุกเบิกจนเป็นวัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนครในปัจจุบัน ในพรรษานั้น หลวงตาพวง สุขินทริโยได้ไปบุกเบิกถ้ำขามและจำพรรษาที่นั่น
พรรษาที่ 7-8 (พ.ศ. 2497 - 2498) กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร
พรรษาที่ 9 (พ.ศ. 2499) กลับ บ้านศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิด เพราะโยมบิดาเสียชีวิต ประกอบกับพระอาจารย์บุญช่วย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน ที่เคยเป็นพระอาจารย์สมัยบวชเป็นเณร เกิดอาพาธ จึงอยู่ดูแลรับใช้ปรนนิบัติ
พรรษาที่ 10 (พ.ศ. 2500) พระ อาจารย์บุญช่วย ธัมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี มรณภาพ ไม่มีพระภิกษุดูแลวัด ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน เพื่อดูแลวัด
พรรษาที่ 11 (พ.ศ. 2501) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในในอย่างเป็นทางการ
พรรษาที่ 12-18 (พ.ศ. 2502-2508) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน บูรณะปฏิสังขรณ์วัดศรีฐานในจนมีความเจริญรุ่งเรือง
พรรษาที่ 19 (พ.ศ. 2509) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่ราชทินนาม (พระครูใบฎีกา พวง สุขินทริโย)
พรรษาที่ 20 (พ.ศ. 2510) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี
พรรษาที่ 21 (พ.ศ. 2511) เนื่อง จากวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลาชธานี ไม่มีเจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัดและชาวบ้านไปนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี
พรรษาที่ 22 (พ.ศ. 2512) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลในเมือง อ.ยโสธร
พรรษาที่ 23 (พ.ศ. 2513) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ราชทินนาม พระครูอมรวิสุทธิ์
พรรษาที่ 24 (พ.ศ. 2514) พัฒนาวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี
พรรษาที่ 25 (พ.ศ. 2515) อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี ยกฐานะเป็นจังหวัด ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดยโสธร (โดยไม่ได้เป็นเจ้าคณะอำเภอมาก่อน)
พรรษาที่ 26 (พ.ศ. 2516) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ราชทินนาม พระสุนทรธรรมภาณ และได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดยโสธรอย่างเป็นทางการ
พรรษาที่ 27-33 (พ.ศ. 2516-2523) จำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
พรรษาที่ 34 (พ.ศ. 2524) หลังจากบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร เสร็จเรียบร้อย ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัด กม.3 ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
พรรษาที่ 35-46 (พ.ศ. 2525-2536) กลับมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธรโดยตลอด พัฒนาวัดศรีธรรมาราม จนเจริญก้าวหน้าและได้รับจนได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ. 2528 และยกระดับเป็นพระอารามหลวง ในปี พ.ศ. 2532
พรรษาที่ 47 (พ.ศ. 2537) ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ราชทินนาม พระราชธรรมและได้รับพระราชทานธรรมจักรทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปี พ.ศ. 2537
พรรษาที่ 51 (พ.ศ. 2541) ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 10 (ธรรมยุต)
พรรษาที่ 52 - ปัจจุบัน (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) สร้างวัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม บ้านนิคม ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร และจำพรรษาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน
1. ชาติภูมิหลวง ตาพวง สุขินทริโย ถือกำเนิดที่ บ้านศรีฐาน ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งเดิมคือ ตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ มีนามเดิมว่า ด.ช.พวง ลุล่วง เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายเนียม และนางบัพพา ลุล่วง มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน 6 คน เป็นชาย 3 คนและหญิง 3 คน ดังต่อไปนี้
1) นายจันทา ลุล่วง อดีตกำนันตำบลกระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (ถึงแก่กรรม)
2) นางผา ละม่อม (ถึงแก่กรรม)
3) นางสา วันเที่ยง (ถึงแก่กรรม)
4) หลวงตาพวง สุขินทริโย
5) หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ เจ้าอาวาสวัดจำปาศิลาวาส ต.นาซอ อ. วานรนิวาส จ.สกลนคร
6) นางจำปา ป้องกัน
ต้นตระกูลเดิมของหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นชาวนา นับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม โยมบิดา มารดา มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำบุญตักบาตรหรือถวายภัตตาหารเป็นประจำทุกวันไม่ได้ขาด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีมาโดยตลอด มีบุตรชายก็ต้องให้บวชพระเสียก่อนทุกคน ทั้งหลวงตาและน้องชายคือหลวงปู่สรวง สิริปุญโญหลังจากบวชตามประเพณีแล้วได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงครองสมณเพศมาจนถึงปัจจุบัน
สภาพความเป็นอยู่ของบ้านศรีฐานใน สมัยนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก ไม่ได้ทำไร่มันสำปะหลังหรือปลูกปอเช่นในปัจจุบัน ในสมัยก่อนชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มีสัตว์ป่า ป่าไม้ พืชพรรณ ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นชาวบ้านศรีฐาน ยังมีอาชีพการทำหมอนขิด ที่มีชื่อเสียง ส่งออกขายทั่วประเทศ เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
ครอบครัวของหลวงตาถือได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง มีความเป็นอยู่สบาย ไม่เดือดร้อน มีอาชีพทำนาเป็นหลัก มีนาอยู่ 3 แปลง แต่จำไม่ได้ว่ามีแปลงละกี่ไร่ โดยมีลูกๆ ช่วยกันทำนา นอกจากนั้นก็เลี้ยงวัวเลี้ยงควายตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชนบท หลวงตาเองก็ได้ช่วยบิดา มารดา ทำนามาตั้งแต่เด็ก ๆ และหากมีเวลาว่างก็จะนำวัวควายออกไปเลี้ยงเป็นประจำเพื่อแบ่งเบาภาระของโยม บิดามารดา