KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4กำลังใจ จากครูบา อาจารย์ ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4คำถามเรื่อง ทำอย่างไรจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง (อ่านดีมากปิติ+ทบทวนการปฏิบัติ)
หน้า: 1 [2]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คำถามเรื่อง ทำอย่างไรจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง (อ่านดีมากปิติ+ทบทวนการปฏิบัติ)  (อ่าน 53628 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: เมษายน 03, 2009, 04:32:03 PM »

ความเห็นที่ 26 โดยคุณ อี๊ด วัน อังคาร ที่ 30 มกราคม 2544 00:31:10

ผมเจอเหตุการณ์บางอย่างน่าสนใจทีเดียว

ผมเดินจงกรมอยู่
พยายามดูรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกาย
และไม่ให้จมลงไปในความคิดตัวเอง

พอเดินจงกรมได้สักพักใหญ่ๆ
มันเหมือนกับมีผู้รู้เทียมปรากฏจัดขึ้นในความรู้สึก
เราก็สังเกตไปเรื่อยๆ (เหมือนมันมาล่อลวง)
สักพักมันก็พลิกหายไป
กลายเป็นรับรู้ธรรมดาๆ ไปในการเดิน เคลื่อนไหวร่างกาย นึกคิด

กลับมาค้นอ่านกระทู้ดูจิต(47)ที่คุณอาเขียนไว้ว่า

เมื่อรู้ความยินดียินร้ายด้วยจิตที่เป็นกลางแล้ว
ความยินดียินร้ายจะดับไป เหมือนกับอารมณ์อื่นๆ นั่นเอง
กระทั่งความเป็น "กลาง" จอมปลอม ก็จะถูกทำลายไป
จิตก็จะเข้าถึงธรรมชาติรู้ที่เป็นกลาง
ก็ให้ผู้ปฏิบัติ รู้อยู่ที่ จิต หรือธรรมชาติรู้ที่เป็นกลางนั่นเอง


ทำให้ผมพอจะเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว
เมื่อก่อนเราถูกหลอกด้วยผู้รู้เทียมนี้เอง
แถมยังเฝ้ารักษามันอีก(กลัวมันจะหายไป)
แล้วพยายามจะหามรรคผลบนผู้รู้เทียม
มันเลยได้แต่ของเทียมๆ

(มาเปิดnetเขียนกันสดๆ เข้าใจถูกผิดอย่างไรรบกวนคุณอาชี้แนะด้วยครับ)

โดยคุณ อี๊ด วัน อังคาร ที่ 30 มกราคม 2544 00:31:10
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: เมษายน 03, 2009, 04:32:58 PM »

ความเห็นที่ 29 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 30 มกราคม 2544 11:02:36

คุณอี๊ด ครับ
จิตที่ใช้เจริญวิปัสสนานั้น ได้แก่ จิตที่เป็นปกติธรรมดาที่สุดของมนุษย์นี้เองครับ
(ภูมิของมนุษย์ จึงเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าท่านมาตรัสรู้กัน เพราะเหมาะสมมาก)
ดังนั้น เมื่อจะทำวิปัสสนา ก็ให้รู้อารมณ์ของจริง ไปด้วยจิตที่เป็นปกติธรรมดานี่เอง
ไม่ต้องไปดัดแปลงจิตให้ เงียบ ขรึม ซึม นิ่ง ดิ่ง สว่าง ฯลฯ

แต่คนทั้งหลายนั้น มี จิตผิดปกติ ป่วยไข้ไปด้วยอำนาจของกิเลสอยู่เสมอๆ
ไม่มี จิตปกติ ที่จะเจริญวิปัสสนาได้จริงๆ
ดังนั้นในขั้นต้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องรักษาพยาบาลจิตที่ป่วยไข้ ให้เป็นจิตปกติเสียก่อน

เชื้อโรคร้ายที่ทำให้จิตป่วยไข้ มีอยู่ 5 ตัวด้วยกัน คือนิวรณ์ 5
ได้แก่ ความพึงใจในความสุขอย่างโลกๆ ความพยาบาทขุ่นเคืองใจ
ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ และความลังเลสงสัย
ถ้าสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในจิตใจ ก็ให้ผู้ปฏิบัติรู้ตรงเข้าไปที่นิวรณ์เหล่านี้เลย
เช่นเมื่อเกิดความลังเลสงสัยว่า เอ เราจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องนะ
แทนที่จะไปคิด หรือถามหาคำตอบ (ซึ่งจะหาไม่ได้)
ก็ให้ผู้ปฏิบัติมีสติระลึกรู้ตรงเข้าไปที่ความรู้สึกลังเลสงสัย เลยทีเดียว
(ไม่ใช่ไปดูเรื่องที่สงสัยนะครับ ให้รู้เข้าไปที่ตรงความรู้สึกสงสัย
ซึ่งเราทำคนรู้ได้อยู่แล้วตามธรรมชาติ
เหมือนอย่างที่เรารู้ว่า เราโกรธ เรารัก เราสบายใจ เราไม่สบายใจ นั่นเอง)

ทันทีที่จิตรู้ทันว่า กำลังสงสัยอยู่นั่นเอง
จิตก็เข้าถึงความเป็นปกติแล้ว คือเปลี่ยนจากผู้สงสัย เป็นผู้รู้ความสงสัย

จิตปกติธรรมดาของมนุษย์ อันเป็นจิตที่สุขภาพดีนั้น
เป็นเพียงจิตปกติ เป็นธรรมชาติธรรมดาที่สุด
มันจะทำหน้าที่รู้อารมณ์ทั้งปวงด้วยความเป็นกลาง
ไม่หลง ทั้งหลงแบบเผลอ หรือหลงเพ่ง
ไม่หลงไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
และไม่จมลงไปในโลกของความคิดและจินตนาการ
เป็นจิตที่มีความรู้ ตื่น และเบิกบานน้อยๆ
(เหมือนที่คุณ nonborn กล่าวไว้นั่นเอง)

ทันทีที่รู้ว่าเผลอ ทันทีที่รู้ว่าเพ่ง ทันทีที่รู้ว่าโกรธ ทันทีที่รู้ว่ารัก
ทันทีที่รู้ว่าสุข ทันทีที่รู้ว่าทุกข์ ทันทีที่รู้ว่าจงใจปฏิบัติ ฯลฯ
ตรงนั้นแหละ จิตจะเป็นจิตปกติธรรมดาที่สุดแล้ว
แต่ถัดจากนั้น ผู้ปฏิบัติก็จะก้าวไปสู่ความหลงผิดรอบใหม่
โดยเกิดความตั้งใจที่จะรักษาจิตที่รู้ตัว หรือรักษาความรู้ตัวเอาไว้นานๆ
นับว่าผู้ปฏิบัติพลาดเสียแล้ว
คือพลาดจาก การรู้ สภาวธรรมที่กำลังปรากฏในปัจจุบันด้วยจิตที่ปกติที่สุด
ไปสู่ การคิด เตรียมการเพื่อให้ความรู้ตัวต่อเนื่อง อันเป็นเรื่องของอนาคต

ที่คุณอี๊ดปฏิบัติอยู่เดิมนั้น จะส่งจิตออกไปกำหนดรู้ตรงหน้า
จนเกิดความสว่างแล้วอยู่กับความสว่างนั้น
ตรงนี้เป็นการไม่รู้ทันจิตหลายซับหลายซ้อนครับ
ชั้นแรกสุดก็คือ เมื่อเกิดความตั้งใจ/จงใจ/ปรารถนา จะปฏิบัติ แล้วไม่รู้ทัน
ขั้นที่ 2 จิตเกิดพฤติกรรมไปตามแรงตั้งใจ/จงใจ/ปรารถนา นั้น
โดยจิตทะยานออกไปด้วยตัณหา ไปสร้างภพของนักปฏิบัติชั้นดีขึ้นมา
คือไปสร้างความสว่าง แล้วเพลินอยู่กับความสว่างนั้น
โดยคิดว่า นี่แหละคือการปฏิบัติ

ในภาวะนั้น ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกว่า เรารู้ตัวชัดเจน อะไรเกิดขึ้นก็รู้ชัดเจน
โดยไม่ทราบว่า นั่นคือ การรู้ปลอมๆ
ที่เราสร้างขึ้นมาด้วยความไม่รู้เท่าทันตั้งหลายซับหลายซ้อน
จิตผู้รู้ปลอมๆ นั้น จะถูกย้อมด้วยราคะบ้าง โมหะบ้าง
บางทีก็เป็นการรู้ตัวแบบเครียดๆ ตึงๆ
ไม่ใช่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แต่อย่างใด

เมื่อใดที่เราคุ้นเคยกับจิตที่เป็นปกติแล้ว หรือที่ผมเรียกว่ารู้ตัวเป็นแล้ว
เมื่อนั้นแหละ ผู้ปฏิบัติจึงจะพร้อมที่จะเจริญสติปัฏฐาน
คือให้มีปกติ มีสติระลึกรู้สภาพธรรมอันใดอันหนึ่งที่จิตถนัด
เช่นการไหวกาย การรู้พองยุบ การเปลี่ยนอิริยาบถ
การรู้ความสุข ความทุกข์ทางกาย หรือทางใจ
การรู้อกุศลธรรม และกุศลธรรม
การรู้พฤติกรรมของจิตใจในการก่อทุกข์ตามหลักอริยสัจจ์ ฯลฯ

ขณะที่เจริญสติปัฏฐานอยู่นั้น บางคราวมีสภาวธรรมที่รุนแรงแปลกปลอมขึ้นมา
สติก็จะระลึกรู้สภาพธรรมนั้น ด้วยจิตที่คงความเป็นปกติธรรมดาอย่างเดิมนั่นเอง
ไม่ใช่หลีกเลี่ยงการรู้สภาพธรรมที่จิตไปรู้เข้า
ด้วยการบังคับให้จิตรู้เฉพาะสภาพธรรม อันเป็นวิหารธรรมที่เราถนัดนั้นอย่างเดียว

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน อังคาร ที่ 30 มกราคม 2544 11:02:36
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: เมษายน 03, 2009, 04:34:01 PM »

ความเห็นที่ 41 โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 31 มกราคม 2544 08:47:13

เรื่องการจงใจสร้างความรู้ตัว หรือสร้างจิตผู้รู้เทียมขึ้นมานั้น
เป็นเรื่องใหญ่มากครับ เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติผิดพลาดกันมาก
ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะรู้อารมณ์ปรมัตถ์ ด้วยจิตที่เป็นกลาง หรือจิตปกติ ได้
เช่นเมื่อตาเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ จิตก็หลงไปตามความคิดนึกปรุงแต่ง
แทนที่จะรู้รูป ตามที่รูปปรากฏ

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว
เช่นทรงสอนว่า จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ จิตไม่มีราคะก็รู้ว่าไม่มีราคะ
นี่แหละที่ท่านสอนให้รู้เข้าไปตรงๆ เลย และรู้แบบสักว่ารู้
แต่แทนที่ผู้ปฏิบัติจะรู้ตรงๆ ที่อารมณ์ของจริงที่กำลังปรากฏ
และรู้สักว่ารู้ ตามที่ท่านสอน
กลับไปพลิกแพลงการรู้ขึ้นมาหลายรูปแบบ
เช่นไปสร้างอารมณ์ขึ้นมาก่อน (เช่นแสงสว่าง) แล้วจึงรู้อารมณ์นั้น
อารมณ์นั้นจึงไม่ใช่ของจริง แต่เป็นของปลอมที่สร้างขึ้นมา
และขณะที่รู้ ก็ไม่ใช่รู้แบบสักว่ารู้ หรือรู้ไปด้วยจิตปกติธรรมดา
แต่ไปสร้างคุณภาพการรู้ขึ้นมาใหม่ คือทำผู้รู้ปลอมๆ เทียมๆ ขึ้นมา
สรุปได้ว่า อารมณ์ก็ผิด วิธีรู้อารมณ์ก็ผิดอีก
จึงไม่ได้ทำวิปัสสนากันเสียที

กรณีคุณหมอธุลีนั้น ไม่ใช่ว่าปฏิบัติไม่ดีนะครับ
เพียงแต่ดีอยู่ตรงนี้มานานแล้ว จึงต้องกระตุ้นให้เดินปัญญาเล็กน้อย
คือให้หันมาเฉลียวใจว่า จิตยังติดบางสิ่งบางอย่างอยู่
ซึ่งการติดนี้ ติดกันทุกคน จนกว่าจะบรรลุพระอรหันต์ครับ
เพียงแต่ถ้าไม่รู้ทันว่าติด ก็ก้าวต่อไปไม่ได้
ถ้าปัญญารู้ทันถึงจุดไหน ก็ปล่อยวางในจุดนั้นลงได้

มีเพื่อนคนหนึ่งเมล์มาบอกผมว่า
พวกเราบางคนคิดจะปฏิบัติด้วยการหยุดอยู่กับจิตผู้รู้
เพราะว่าได้พบจิตผู้รู้แล้ว
ผมฝากให้สังเกตจิตใจอย่างละเอียดนะครับ
เพราะผู้รู้อันนั้น ยังเป็นผู้รู้เทียมที่สร้างขึ้นมาด้วยสมถะ
ไม่ใช่จิตผู้รู้ที่เป็นปกติ เป็นธรรมชาติธรรมดาแต่อย่างใด
และผู้ที่จะปฏิบัติด้วยการหยุดพฤติกรรมของจิต(ด้วยปัญญา) แล้วรู้อยู่ที่รู้ นั้น
ต้องเป็นพระอนาคามีแล้วครับ
นอกนั้นจิตยังเคลื่อน ยังฝัน ยังมีพฤติกรรม ยังปรุงแต่งออกไปภายนอกทั้งสิ้น
หากนึกๆ ให้หยุดเอาตามใจชอบ จะกลายเป็นการจอดรถในที่ห้ามจอดนั่นเอง
สิ่งที่ควรทำขณะนี้ก็คือ การหัดรู้ตัวให้เป็น รู้ว่าอันใดจิต อันใดอารมณ์
รู้เท่าทันพฤติกรรมของจิต ที่มันหลงไปบ้าง มันเพ่งไปบ้าง
เมื่อสามารถรู้ทันพฤติกรรมของจิตได้แล้ว
จึงจะเริ่มรู้ปรมัตถ์ในฝ่ายนามธรรมได้
แล้วจึงมีสติระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือเป็นปกติธรรมดาของมนุษย์
เป็นจิตที่ไม่ถูกนิวรณ์ครอบงำนั่นเอง

สำหรับกระต่ายนั้น ที่ผ่านมา ผมดุเอาแรงๆ เสมอมา
เพราะการปฏิบัติเต็มไปด้วยความปรุงแต่ง ไม่เป็นธรรมชาติธรรมดา
ไม่ใช่การรู้ไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ
แต่ไปพยายามปรุงแต่งการปฏิบัติขึ้นมา แล้วต้องการให้ครูอาจารย์ชมเชย
ถ้าผมไปชมเข้าอีกคนหนึ่ง ชาตินี้ก็จะปรุงแต่งเรื่อยไป เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี
เมื่อวันอาทิตย์นี้ได้เจอกระต่าย ก็เห็นว่าเริ่มรู้ตัวได้เป็นธรรมชาติมากขึ้นแล้ว
จึงต้องชมเสียหน่อยว่าดีขึ้น แต่ก็ยังต้องศึกษาต่อไปอีกครับ
ยังไม่เป็นธรรมชาติเต็มที่หรอกครับ

โดยคุณ ปราโมทย์ วัน พุธ ที่ 31 มกราคม 2544 08:47:13
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2010, 08:20:21 PM »

จึ๋ย อะไรกันนักหนา

ทำสบาย ๆ  หลังจากผ่านความเพียรอย่างหนักมาแล้ว ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
cleansuiplus
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 4


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: เมษายน 11, 2011, 01:57:37 PM »

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาที่ดีๆสำหรับผมนะครับ
บันทึกการเข้า
noina
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 1


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #20 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 09:33:48 PM »

ไม่ยากสำหรับเรื่องนี้คือ ทำบ่อยๆ หมายถึงนั่งสมาธิประจำค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวจิตก็จะสงบแล้วก็จะรู้ตัวได้ต่อเนื่องไปเอง ง่วงก็นอน หิวก็กิน นั่งสมาธิก็เลือกเอาเวลาที่เราตื่นตัว ปกติเวลาเช้าสงบจริงแต่กับเราจะง่วงเราก็เลยชอบนั่งตอนก่อนนอน ตอนเย็น บางทีก็ต้องอาศัยความมุ่งมั่นความตั้งใจจริงที่อยากจะฝืนทำเช่น เราจะต้องนั่งให้ได้สัก 1 ชม. เราก็ทนนั่งมันไปให้ได้สัก 1 ชม. มันจะเจ็บมันจะง่วงก็ปล่อยให้เจ็บปล่อยให้ง่วงไปมันจะสักเท่าไหร่เชียว แ
แต่ในระหว่างนั่งก็อาศัยกรรมฐานมาช่วยหลายอย่างก็ได้ หายใจเข้าลึกๆ ห้อง หายใจออกยาวๆ ซอ อันนี้ก็ดีช่วยให้จิตสงบภาวนา ห้องซออาจหายไป สักพักก็เปลี่ยนไปพิจารณากายไปทั่วๆ จากบนลงล่างจากล่างขึ้นบนแบบท่านโกเอ็นกาก็ได้รู้ความจริงทั้งทางโลกได้ด้วยตนเองคือจะเข้าใจสัจจะธรรมพื้นฐานจริงถ้าคงอยู่ก็คงไว้ ถ้าเบื่อก็พองยุบแล้วเพิ่มด้วยนั่งถูกแบบการฝึกของวัดพระธาตุจอมทองเชียงใหม่ เบื่ออีกก็ระลึกถึงพระพุทธรูปที่เราชอบหรือสงสัยในความเป็นไปชีวิตของเราก็พิจารณาไป อะไรก็ได้ที่เราเคยเรียนรู้เคยฝึกมา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
พิมพ์
กระโดดไป: