KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐินิวรณ์ คืออะไร ประกอบด้วยอะไร สำคัญอย่างไรบ้าง
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: นิวรณ์ คืออะไร ประกอบด้วยอะไร สำคัญอย่างไรบ้าง  (อ่าน 58568 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2008, 11:26:20 AM »



นิวรณ์ 5

   อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดี ก็มีนิวรณ์ 5 คือ

   1. กามฉันทะ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
   2. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
   3. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ช่วงที่ร่างกายพักผ่อนน้อย สติจางหายจากปัจจุบันขณะ ในขณะเจริญสมณธรรม
   4. อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิด
   5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่เพียงใด

ขอขอบคุณ เว็บ http://www.watnongkanak.org/index.php และ http://www.kammatan.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 04, 2012, 01:59:56 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2009, 05:30:19 PM »

นิวรณ์5 - อุทธัจจะกุกกุจจะ

    อุทธัจจะ อันความฟุ้งซ่านนั้น คืออาการที่ใจคิดพล่านไปในอารมณ์คือเรื่องต่างๆ ไม่สามารถจะทำให้สงบได้โดยง่าย โดยปรกติทุกๆคนก็จะไม่ค่อยรู้สึกว่าใจนี้คิดพล่านไปเพียงไร ต่อเมื่ออ่านหนังสือ หรือว่าฟังสอน ฟังคำบรรยายธรรมเป็นต้นหรือในขณะที่กำลังสวดมนต์ จึงจะรู้ว่าใจนี้คิดพล่านไปมาก เช่นในขณะที่กำลังอ่านหนังสือ ตาก็อยู่ที่หนังสือ แต่ว่าใจไม่อยู่คิดพล่านไปเรื่องนั้นบ้างเรื่องนี้บ้าง ตาที่อยู่กับหนังสือนั้นก็เป็นตาที่ดับ เหมือนอย่างมองไม่เห็นหนังสือ ไม่รู้เรื่องในหนังสือที่กำลังอ่านนั้น

    ในขณะที่ กำลังฟังธรรมบรรยาย หรือฟังธรรมเทศนา หูก็ตั้งใจฟัง เสียงก็เข้ามากระทบกับโสตะประสาท คือประสาทหู แต่ว่าใจนั้นไม่ฟัง คิดพล่านไปในเรื่องต่างๆ โสตะประสาทคือประสาทหูก็เหมือนดับ ฟังไม่ได้ยิน ไม่รู้เรื่องในธรรมะที่ฟัง หรือในเรื่องที่กำลังฟังนั้น

    แม้ ในขณะที่กำลังสวดมนต์ ปากก็สวดมนต์ หรือว่าสวดมนต์อยู่ในใจ แต่ว่าใจก็ยังคิดพล่านไปในเรื่องต่างๆ ใจไม่ได้สวดมนต์ด้วย เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นก็เหมือนอย่างใจดับในเรื่องสวดมนต์ ไม่รู้ว่ากำลังสวดไปถึงไหน อย่างไร แต่ว่าสวดไปได้ก็เพราะความคล่องปาก หรือสวดในใจ ก็คล่องใจไปตามบทสวดเท่านั้น ดั่งนี้ จะเห็นว่าใจนี้คิดพล่านมาก สงบยาก อาการที่ใจคิดพล่านดั่งนี้เป็นอุทธัจจะความฟุ้งซ่าน มีอาการคิดพล่านไปในเรื่องต่างๆ และเมื่อจับพิจารณาดูแล้ว ก็จะจับได้ว่าในชั่วแว๊บเดียวก็คิดพล่านไปหลายเรื่องหลายราว ใจจึงวิ่งไปเร็วมาก ในอารมณ์คือเรื่องนั้นๆ

    กุกกุจจะ ความ รำคาญใจ มีลักษณะที่จิตใจเบื่อหน่ายระอา ไม่เพลิดเพลินในกิจที่พึงทำ เช่น กำหนดนั่งทำสมาธิภาวนา คืออบรมสมาธิ ใจก็รำคาญ ไม่อยากจะนั่ง อยากจะเลิก นั่งชั่ว ๕ นาที ๑๐ นาที ก็ดูนานมาก ขาดความเพลิดเพลิน ขาดความพอใจ หรือจะเรียกว่า ขาดปีติสุขในสมาธิภาวนา อันเป็นกิจที่พึงทำนั้นก็ได้ เพราะฉะนั้น ความรำคาญใจนี้ คือกุกกุจจะ จึงมีปรกติที่ทำให้จับจด ทิ้งการปฏิบัติได้ง่าย ไม่ติดต่อ เพราะมีความรำคาญ ไม่พอใจ ไม่มีปีติสุขในสมาธิภาวนา แต่ว่าไปชอบใจในอารมณ์ต่างๆที่ใจคิดพล่านไปนั้นเพราะฉะนั้น อุทธัจจะกุกกุจจะ ท่านจึงแสดงไว้เป็นคู่กัน และบางอาจารย์ท่านมีแสดงต่างกันอยู่ คือ อุทธัจจะความคิดพล่านหรือความฟุ้งซ่านจัดเข้าในโมหะ คือกิเลสกองหลง แต่ว่ากุกกุจจะความรำคาญใจจัดเข้าในกิเลสกองโทสะ แต่ว่าบางอาจารย์ท่านก็จัดทั้งอุทธัจจะความฟุ้งซ่าน กุกกุจจะความรำคาญใจ เข้าในกองโมหะด้วยกัน เพราะฉะนั้น นิวรณ์ข้อนี้จึงครอบงำจิตอยู่เป็นอันมาก ทำให้ไม่สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้ง่าย เพียงแต่คุมใจในขณะที่สวดมนต์ ในขณะที่ฟังเทศน์หรือฟังธรรมบรรยาย หรือในขณะที่อ่านหนังสือ ไม่ให้คิดพล่านไป ก็เป็นการทำยากแล้ว เมื่อมานั่งทำสมาธิ ก็ยิ่งเป็นการรวมใจได้ยาก ใจไม่ยอมรวม คอยคิดพล่านไป ทั้งมีความรำคาญไม่เพลิดเพลินไม่พอใจ ไม่เป็นสุขใจในการนั่งสมาธิ อันเป็นกิจที่พึงทำดังกล่าว

    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง เอาไว้ว่า ความไม่สงบแห่งใจ และการกระทำไว้ให้มากด้วยอโยนิโสมนสิการ คือการไม่กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จับเหตุจับผล เป็นอาหารของความฟุ้งซ่านรำคาญใจข้อนี้ อันความไม่สงบแห่งใจนั้นก็คือ อาการที่ใจคิดพล่านไปนั้นเอง ไม่สงบและเมื่อปล่อยใจให้ไม่สงบดั่งนั้น ไม่คิดสำรวมใจเข้ามา และปฏิบัติสำรวมใจเข้ามา ทั้งนี้ก็ประกอบด้วยการที่ไม่ทำไว้ในใจโดยแยบคาย คือไม่คอยพิจารณาจับเหตุจับผล ปล่อยใจไปตามเรื่องโดยมาก ก็เป็นการไม่มีเครื่องหยุดยั้งความไม่สงบของใจ อันการไม่พิจารณาจับเหตุจับผล อันเรียกว่าอโยนิโสมนสิการนั้น ก็คือไม่มาปฏิบัติจับพิจารณาจิตใจอันนี้ที่คิดพล่าน เช่นไม่พิจารณาว่า ความคิดพล่านบังเกิดจากอะไร เช่นในขณะที่กำลังสวดมนต์ ต้องการให้ใจสวดไปด้วยพร้อมกับปาก หรือพร้อมกับใจที่สวด เมื่อตั้งใจให้ใจสวดไปด้วยดั่งนี้ ก็สามารถทำได้บ้าง แต่ว่าใจก็คิดพล่านออกไปได้ง่าย เช่นบางทีใจกำลังรวมอยู่ ได้ยินเสียงคนพูดกัน ใจก็ละการสวดมนต์ วิ่งไปที่เสียงคนพูดกันนั้น แล้วก็ไปเรื่องโน้นเรื่องนี้อะไรต่อๆไปอีก เริ่มมีสติก็นำใจมากลับตั้งไว้ใหม่ในบทสวด

    ในตอน นี้ก็ให้หัดจับพิจารณาสอบสวนใจเอง ว่าใจนี้วิ่งออกไปแล่นออกไป คิดพล่านไป เพราะอะไรเป็นเหตุ เมื่อจับพิจารณาดั่งนี้ก็อาจจับเหตุได้ว่า เนื่องมาจากเสียงคนพูดกันดังที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้นก่อน และเมื่อออกไปที่เสียงนั้นแล้ว ใจก็พล่านไปที่ไหนอีก ก็อาจจับได้ว่าใจพล่านไปจากเสียง ก็ถึงเรื่องนั้น ถึงเรื่องโน้น ดั่งนี้เป็นต้น กว่าจะได้สตินำกลับเข้ามาใหม่ ก็หลายเรื่อง อาจจะสอบสวนได้ ก็จับใจนี้มาตั้งไว้ใหม่ ให้ใจสวดมนต์ไปใหม่ หรือตั้งไว้ในสมาธิที่กำลังปฏิบัติ ให้ใจปฏิบัติในสมาธิต่อไป หรือมาตั้งฟังเทศน์ หรือฟังธรรมบรรยายต่อไป

    แต่ว่าใจนี้ก็แล่นพล่านออกไปอีก ได้สติก็กลับมาตั้งไว้ใหม่ ก็จับสอบสวนใหม่อีกว่า มีอะไรเป็นเหตุให้ใจพล่านออกไป ก็อาจจับได้ แล้วก็จับสอบสวนว่า จากเรื่องนั้นแล้วไปไหนอีก ไปไหนอีก ไปไหนอีก ก็อาจจับได้ จนถึงได้สติก็กลับมาตั้งไว้ใหม่ หัดคิดสอบสวนใจดั่งนี้

    บางทีอาจจะต้องใช้เวลากว่า ๕ นาที ๑๐ นาที ใจจึงจะยอมสยบอยู่กับสวดมนต์ อยู่กับฟังเทศน์ อ่านหนังสือ หรืออยู่กับการทำสมาธิ แต่ว่าให้สังเกตุว่า การจับสอบสวนดั่งนี้ แม้ว่าจะต้องสอบสวนกันหลายหน แต่ น่าสังเกตุว่า เมื่อใจถูกสอบสวนคราวหนึ่ง หากว่าใจแล่นออกไปอีก ใจจะไม่คิดพล่านไปในเรื่องที่เคยถูกสอบสวนแล้ว จะคิดพล่านไปในเรื่องอื่นๆ นอกจากที่ถูกสอบสวน เพราะฉะนั้น เมื่อถูกสอบสวนหลายๆครั้งเข้า เรื่องที่ใจจะแล่นพล่านไปก็น้อยเข้าๆ จนถึงใจกลับมาตั้งสงบอยู่

    ดั่งนี้ เป็นวิธีที่เรียกว่าทำไว้ในใจโดยแยบคายประการหนึ่ง ให้ปฏิบัติทำให้มาก ถ้าหากว่าไม่ทำให้มากซึ่งการพิจารณาโดยแยบคายดั่งนี้ ใจนี้ก็จะต้องคิดพล่านไปบ่อยๆ เป็นความไม่สงบของใจ เพราะฉะนั้น ความไม่สงบของใจดังกล่าว และความที่ไม่กระทำให้มากซึ่งการพิจารณาโดยแยบคาย หรือการกระทำให้มากด้วยการพิจารณาโดยไม่แยบคายดังที่กล่าวมา จึงเป็นอาหารของความฟุ้งซ่านรำคาญใจ

    และแม้ตัวความรำคาญใจเองก็เหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้นก็ต้องจับพิจารณาว่า เมื่อสมควรจะปฏิบัติอย่างนี้ คือในขณะที่อ่านหนังสือก็ดี ฟังเทศน์ฟังธรรมก็ดี สวดมนต์ก็ดี ควรจะมีความพอใจ ควรจะมีความสุข ควรจะมีความตั้งใจ ไม่ควรที่จะรำคาญเบื่อหน่าย ซึ่งเป็นตัวความรำคาญใจหรือกุกกุจจะดังที่กล่าว พิจารณาส่งเสริมใจที่จะให้หมดความรำคาญ ด้วยมีความพอใจและมีความสุขอยู่ในการปฏิบัติกิจที่ควรปฏิบัติดังกล่าว แต่หากว่าถ้าไม่พิจารณาดั่งนั้น ก็ชื่อว่าเป็นการกระทำไว้ให้มาก ด้วยการพิจารณาโดยไม่แยบคาย เพราะฉะนั้น จึงเป็นอาหารที่ส่งเสริมความรำคาญใจ ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วให้มากขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้น เป็นอันว่าความไม่สงบของใจ และการกระทำให้มากโดยไม่แยบคาย เป็นอาหารที่บำรุงเลี้ยง อุทธัจจะความฟุ้งซ่าน กุกกุจจะความรำคาญใจ ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วให้มากขึ้น

    ส่วนธรรมะที่เป็น อนาหาร คือธรรมะที่ไม่เป็นอาหารของนิวรณ์คู่นี้ ก็ได้แก่ความสงบของใจ และการกระทำไว้ให้มากด้วยการพิจารณาโดยแยบคาย ความสงบของใจนั้น ก็ต้องอยู่ที่การมาปฏิบัติในกรรมฐานที่ทำให้ใจสงบ และอยู่ที่สร้างฉันทะคือความพอใจ ความสุขความเพียรในการปฏิบัติทำใจให้สงบ อาศัยการพิจารณาโดยแยบคาย จับเหตุจับผล ดังที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น

    เมื่อ เป็นดั่งนี้ ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติในธรรมที่ไม่เป็นอาหาร ของอุทธัจจะกุกกุจจะความฟุ้งซ่านรำคาญใจ อันทำให้ความฟุ้งซ่านรำคาญใจที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ให้สงบลงไปได้



ขอบคุณธรรมะดีๆ จาก : สมเด็จพระญาณสังวร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 13, 2009, 06:16:06 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 02, 2010, 02:22:18 PM »



๏ แนวทางในการเรียนรู้ทัน นิวรณ์ 5

เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้นมีวิธีแก้ดังนี้คือ

1.) กามฉันทะ แก้ได้หลายวิธีตามลักษณะของกามฉันทะที่เกิดขึ้น ดังนี้

พิจารณาถึงความจริงที่ว่ากามคุณทั้งหลายนั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก คือให้ความสุขในช่วงที่ได้มาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเหยื่อล่อให้ติด ครั้นเมื่อติดในสิ่งนั้น ๆ แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะตามมา ถ้ายิ่งถูกใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งนำความทุกข์มาให้มากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากการแสวงหาเพื่อให้ได้มากยิ่งขึ้น ทุกข์จากการพยายามรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ ทุกข์จากความหวงแหน ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป และเมื่อต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป ก็จะยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทั้งหลายล้วนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

พิจารณาถึงความที่สิ่งทั้งหลายมีความแปรปรวนไปตลอดเวลา สิ่งที่ให้ความสุขในวันนี้ ก็อาจจะนำความทุกข์มาให้ได้ในวันข้างหน้า เช่น คนที่ทำดีกับเราในวันนี้ ต่อไปถ้าเขาเบื่อ หรือไม่พอใจอะไรเราขึ้นมา เขาก็อาจจะร้ายกับเราอย่างมากก็ได้

พิจารณาถึงความเป็นอสุภะ คือเป็นของไม่สวยไม่งาม เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ร่างกายที่เห็นว่าสวยงามในตอนนี้ จะคงสภาพอยู่ได้นานสักเท่าใด พอแก่ตัวขึ้นก็ย่อมจะหย่อนยาน เหี่ยวย่นไม่น่าดู ถึงแม้ในตอนนี้เอง ก็เต็มไปด้วยของสกปรกไปทั้งตัว ตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า (ไม่เชื่อก็ลองไม่อาบน้ำดูสักวันสองวันก็จะรู้เอง) ลองพิจารณาดูเถิด ว่ามีส่วนไหนที่ไม่ต้องคอยทำความสะอาดบ้าง และถ้าถึงเวลาที่กลายสภาพเป็นเพียงซากศพแล้วจะขนาดไหน

พิจารณาถึงคุณของการออกจากกาม หรือประโยชน์ของสมาธิ เช่น

เป็นความสุขที่ประณีต ละเอียดอ่อน เบาสบายไม่หนักอึ้งเหมือนกาม คนที่ได้สัมผัสกับความสุขจากสมาธิสักครั้ง ก็จะรู้ได้เองว่าเหนือกว่าความสุขจากกามมากเพียงใด

เป็นความสุขที่ไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก เพราะเกิดจากความสงบภายใน จึงไม่ต้องมีการแย่งชิง ไม่ต้องยื้อแย่งแข่งขัน ไม่ต้องกลัวถูกลักขโมย

เป็นความสุขที่ไม่ต้องมีวัตถุใดๆ มาเป็นเครื่องล่อ จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

2.) พยาปาทะ มีวิธีแก้ดังนี้

มองโลกในแง่ดีให้เห็นว่าคนที่ทำให้เราไม่พอใจนั้น เขาคงไม่ได้ตั้งใจหรอก เขาคงทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจผิด หรือถูกเหตุการณ์บังคับ ถ้าเขารู้หรือเลือกได้เขาคงไม่ทำอย่างนั้น

คิดถึงหลักความจริงที่ว่า คนเราเมื่ออยู่ใกล้กัน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกใจคนอื่น ได้เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว เพราะคงไม่มีใครสามารถทำให้ถูกใจคนอื่นได้ตลอดเวลา แม้ตัวเราเองก็ยังเคยทำให้คนอื่นไม่พอใจเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อคนอื่นทำไม่ถูกใจเราบ้าง ก็ย่อมจะเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรจะถือโทษโกรธกันให้เป็นทุกข์กันไปเปล่าๆ

พิจารณาถึงคุณของการให้อภัย ว่าอภัยทานนั้นเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นการทำบุญโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย

คิดเสียว่าเป็นการฝึกจิตของตัวเราเองให้เข้มแข็งขึ้น โดยการพยายามเอาชนะใจตนเอง เอาชนะความโกรธ และขอบคุณผู้ที่ทำให้เราโกรธที่ให้โอกาสในการฝึกจิตแก่เรา ให้เราได้สร้างและเพิ่มพูนขันติบารมี

คิดถึงเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน ใครสร้างกรรมอันใดไว้ ย่อมต้องรับผลกรรมนั้นๆ สืบไป การที่เราเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีในครั้งนี้ ก็คงเป็นเพราะกรรมเก่าที่เราได้ทำเอาไว้ สำหรับคนที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้นั้น เขาก็จะได้รับผลกรรมนั้นเองในวันข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ให้ความรู้สึกสงสารผู้ที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้ ว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย เพราะเมื่อเขาทำแล้ว ต่อไปเมื่อกรรมนั้นส่งผล เขาก็จะต้องเป็นทุกข์ทรมานเพราะกรรมนั้น

พิจารณาโทษของความโกรธ ว่าคนที่โกรธก็เหมือนกับจุดไฟเผาตัวเอง ทำให้ต้องเป็นทุกข์เร่าร้อน หน้าตาก็ไม่น่าดู แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย เพราะฉะนั้นก็มีแต่คนโง่ กับคนบ้าเท่านั้นที่ผูกโกรธเอาไว้

แผ่เมตตาให้กับคนที่เราโกรธ ถ้าทำได้นอกจากจะดับทุกข์จากความโกรธได้แล้ว ยังทำให้มีความสุขจากการแผ่เมตตานั้นอีกด้วย และยังจะเป็นการพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไปด้วย

3.) ถีนมิทธะ  แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอยนั้นแก้โดย

พิจารณาถึงโทษของกามและคุณของสมาธิ เพื่อทำให้เกิดความเพียร ในการปฏิบัติให้พ้นจากโทษของกามเหล่านั้น

คบหากับคนที่มีความเพียร ฝักใฝ่ยินดีในการทำสมาธิ

หลีกเว้นจากคนที่ไม่ชอบทำสมาธิ หรือคนที่เบื่อหน่ายในสมาธิ

ส่วนมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอนนั้น มีวิธีแก้หลายวิธี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระโมคคัลลานะ สรุปได้เป็นขั้นๆ ดังนี้

ในขณะที่เพ่งจิตในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ เพื่อทำสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม แล้วเกิดความง่วงขึ้นมา ให้เพ่งสิ่งนั้นให้มาก หรือให้หนักแน่นขึ้นไปอีก ก็จะทำให้หายง่วงได้

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ตรึกตรอง พิจารณาธรรมที่ได้อ่าน หรือได้ฟัง ได้เรียนมาแล้ว โดยนึกในใจ

ถ้ายังไม่หายง่วงให้สาธยายธรรมที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว คือให้พูดออกเสียงด้วย

ถ้ายังไม่หายง่วงให้ยอนช่องหูทั้งสองข้าง (เอานิ้วไชเข้าไปในรูหู) เอามือลูบตัว

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ (คือให้มองไปทางโน้นทีทางนี้ที บิดคอไปมา)

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ทำในใจถึงอาโลกสัญญา (นึกถึงแสงสว่าง) ตั้งความสำคัญในกลางวัน ว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด (คือให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า กลางคืนนั้นสว่างราวกับเป็นกลางวัน)

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก (ควรเดินเร็วๆ ให้หายง่วง)

ถ้ายังไม่หายง่วงอีก ให้สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า (เหมือนพระพุทธรูปนอน) มีสติสัมปชัญญะ โดยบอกกับตัวเองว่า ทันทีที่รู้สึกตัวตื่นแล้ว จะรีบลุกขึ้นทันที ด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

4.) อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต แก้โดย
ใช้เทคนิคกลั้นลมหายใจ (เทคนิคนี้นอกจากจะใช้แก้ความฟุ้งซ่านได้แล้ว ยังใช้ในการแก้ความง่วงได้อีกด้วย) โดยการทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
เริ่มจากการหายใจเข้าออกให้ลึกที่สุด โดยทำเหมือนถอนหายใจแรงๆ สัก 3 รอบ จากนั้นทำสิ่งต่อไปนี้พร้อมกันคือ ใช้ลิ้นดุนเพดานปากอย่างแรง หลับตาปี๋ เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และกล้ามเนื้อทั่วร่างกายให้มากที่สุด กลั้นลมหายใจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับทำสมาธิ โดยกำหนดจิตไว้ที่การกลั้นลมหายใจนั้น เพิ่มความหนักแน่น หรือความถี่ของสิ่งที่ใช้ยึดจิตขึ้นไปอีก เพื่อให้สามารถประคองจิตได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือลดโอกาสในการฟุ้งให้น้อยลง เช่น ถ้าตอนแรกใช้กำหนดลมหายใจเข้า/ออก โดยบริกรรมว่าพุทธ/โธ หรือ เข้า/ออก ซ้ำไปซ้ำมา ก็เปลี่ยนเป็นนับลมหายใจแทน โดยหายใจเข้านับ 1 ออกนับ 1 เข้า-2 ออก-2 ... จนถึง เข้า-10 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่ การนับนี้ให้ลากเสียง(ในใจ) ให้ยาวตั้งแต่เริ่มหายใจเข้าหรือออก จนกระทั่งสุดลมหายใจ เพื่อให้จิตเกาะติดกับเสียงนั้นไปตลอด

ถ้ายังไม่หายก็เปลี่ยนเป็น เข้า-1 ออก-2 เข้า-3 ออก-4 ...... เข้า-9 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่

ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นรอบแรกนับจาก 1จนถึง 10 (เหมือนครั้งที่แล้ว) รอบที่สองนับจาก 1 - 9 ลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลือนับ 1 - 5 แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 1 - 6 ...... จนถึง 1 - 10 แล้วลดลงใหม่จนเหลือ 1 - 5 แล้วเพิ่มขึ้นจนถึง 1 - 10 กลับไปกลับมาเรื่อยๆ เพื่อให้ต้องเพิ่มความตั้งใจขึ้นอีก

ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นนับเลขอย่างเร็ว คือขณะหายใจเข้าแต่ละครั้งก็นับเลข 1,2,3,... อย่างรวดเร็วจนกว่าจะสุดลมหายใจ พอเริ่มหายใจออกก็เริ่มนับ 1,2,3,... ใหม่จนสุดลมหายใจเช่นกัน ทั้งนี้ไม่ต้องไปกำหนดว่าตอนหายใจเข้า/ออกแต่ละครั้งจะต้องนับได้ถึงเลขอะไร เช่น หายใจเข้าครั้งแรกอาจจะนับได้ถึง 12 พอหายใจออกอาจจะได้แค่ 10 หายใจเข้าครั้งต่อไปอาจจะได้แค่ 9 ก็ได้

*** ในการหายใจนั้นที่สำคัญคือให้หายใจให้เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด อย่าไปบังคับลมหายใจให้ยาวหรือสั้น บางขณะอาจหายใจยาว บางขณะอาจสั้นก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน เรามีหน้าที่เพียงแค่สังเกตดูเท่านั้น

*** ทำใจให้สบาย อย่ามุ่งมั่นมากเกินไปจนเครียด จะทำให้ฟุ้งซ่านหนักขึ้น ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ แล้วจะดีขึ้นเอง อย่าหวัง อย่ากำหนดกฎเกณฑ์ว่าวันนี้จะต้องได้อย่างนั้นอย่างนี้ ปล่อยวางให้มากที่สุด ทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน คือเพียงแค่สังเกตว่าตอนนี้เป็นอย่างไรก็พอแล้ว อย่าคิดบังคับให้สมาธิเกิด ยิ่งบีบแน่นมันจะยิ่งทะลักออกมา ยิ่งฟุ้งไปกันใหญ่

*** ถ้านับเลขผิดให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่ แล้วดูว่าวันนี้จะนับได้มากที่สุดถึงแค่ไหน

*** เมื่อนับถี่ที่สุดถึงขั้นไหนแล้วเอาจิตให้อยู่ได้ก็หยุดอยู่แค่ขั้นนั้น พอฝึกจิตได้นิ่งพอสมควรแล้ว ก็ลองลดการนับไปใช้ขั้นที่เบาลงเรื่อยๆ จิตจะได้ประณีตขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนกุกกุจจะคือความรำคาญใจ นั้นแก้ได้โดย
พยายามปล่อยวางในสิ่งนั้นๆ โดยคิดว่าอดีตก็ผ่านไปแล้ว คิดมากไปก็เท่านั้น อนาคตก็ยังมาไม่ถึง เรามาทำปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า ตอนนี้เป็นเวลาทำกรรมฐาน เพราะฉะนั้นอย่างอื่นพักไว้ก่อน ยังไม่ถึงเวลาคิดเรื่องเหล่านั้น
ถ้าแก้ไม่หายจริงๆ ก็ไปจัดการเรื่องเหล่านั้นให้เรียบร้อย แล้วถึงกลับมาทำกรรมฐานใหม่ก็ได้

5.) วิจิกิจฉา แก้ได้โดย พยายามศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุด
ถ้ายังไม่แน่ใจก็คิดว่าเราจะลองทางนี้ดูก่อน ถ้าถูกก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าผิดเราก็จะได้รู้ว่าผิด จะได้หายสงสัย แล้วจะได้พิจารณาหาทางอื่นที่ถูกได้ ยังไงก็ดีกว่ามัวแต่สงสัยอยู่ แล้วไม่ได้ลองทำอะไรเลย ซึ่งจะทำให้ต้องสงสัยตลอดไป



ที่มา : http://www.dhammathai.org/treatment/concentration/concentrate01.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2011, 02:43:11 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 11:59:27 AM »



สำหรับ ปฏิจสมุทปบาท คืออะไร เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ น่ะครับ

http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=459.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2011, 02:44:30 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
ballzazazz
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 2
กระทู้: 23


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2011, 12:25:53 AM »

ขอโมธนาสาธุ ครับ ที่เผยแพร่ครับ สอนของพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ อ่านคำสอนของพระองค์ทีไรรู้สึกจะมีน้ำตาปิติ มีความสุขมากครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
loadlike
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 5


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2011, 09:19:18 PM »

ขอโมธนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
siamclub16
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 4


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2012, 01:56:10 PM »

ขอโมธนาสาธุ ด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า
mikimiki
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 14


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2012, 09:42:53 PM »

ดูธรรมะแล้วต้องย้อนดูตนด้วย ถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด ขอบคุณสำหรับบทความดีๆอย่างนี้ค่ะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

ballzazazz
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 2
กระทู้: 23


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2012, 11:08:17 PM »

สาธุ
บันทึกการเข้า
keroro
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 37


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2012, 10:26:05 AM »

สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า

the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 01:56:48 PM »

ภาวนา  สู้ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
greenrider86
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 6


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2013, 11:26:44 AM »

ขอบคุณค่ะ ^^
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: