KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกอย่างที่เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเศษวิบากกรรมของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เศษวิบากกรรมของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน  (อ่าน 36361 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2009, 07:08:13 AM »

เศษวิบากกรรมของพระพุทธเจ้า
 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 213




พุทธาปทานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นให้สำเร็จได้ด้วยอปทานที่เป็นฝ่ายกุศลแล้ว
เพื่อที่จะให้พุทธาปทานนั้นนั่นแลพิสดารออกไป ด้วยอำนาจอปทานที่เป็น
ฝ่ายอกุศลบ้าง จึงตั้งหัวข้อปัญหาไว้ดังนี้ว่า


การทำทุกรกิริยา ๑
การกล่าวโทษ ๑
การด่าว่า ๑
การกล่าวหา ๑
การถูกศิลากระทบ ๑
การเสวยเวทนาจากสะเก็ดหิน ๑
การปล่อยช้างนาฬาคิรี ๑
การถูกผ่าตัดด้วยศาสตรา ๑
การปวดศีรษะ ๑
การกินข้าวแดง ๑
ความเจ็บปวดสาหัสที่กลางหลัง ๑
การลงโลหิต ๑
เหล่านี้เป็นเหตุฝ่ายอกุศล.
บรรดาข้อปัญหาเหล่านั้น




ปัญหาข้อที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
การทำทุกรกิริยาอยู่ถึง ๖ พรรษา ชื่อว่า ทำทุกรกิริยา.
ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต พระโพธิสัตว์บังเกิด
เป็นพราหมณ์มาณพชื่อว่า โชติปาละ โดยที่เป็นชาติพราหมณ์จึงไม่เลื่อม
ใสในพระศาสนา เพราะวิบากของกรรมเก่าแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เขาได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ. จึงได้กล่าวว่า การตรัสรู้ของ
สมณะโล้นจักมีมาแต่ที่ไหน การตรัสรู้เป็นของที่ได้โดยยากยิ่ง เพราะ
วิบากของกรรมนั้น พระโพธิสัตว์นั้นจึงได้เสวยทุกข์มีนรกเป็นต้นหลาย
ร้อยชาติ ถัดมาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนั่นแหละ เขาทำ
ชาติสงสารให้สิ้นไปด้วยกรรมที่ได้พยากรณ์ไว้นั้นนั่นแล ในตอนสุดท้าย

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 214)


ได้อัตภาพเป็นพระเวสสันดร จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในภพดุสิต.
จุติจากภพดุสิตนั้นด้วยการอาราธนาของเหล่าเทวดา บังเกิดในสักยตระกูล
เพราะญาณแก่กล้าจึงละทิ้งราชสมบัติในสกลชมพูทวีปเสีย แล้วตัดกำ
พระเกศาให้มีปลายเสมอกัน ด้วยดาบที่ลับไว้อย่างดี ที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานที
รับบริขาร ๘ อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ซึ่งเกิดขึ้นกลีบปทุม ในเวลาที่กัปยังตั้ง
อยู่ซึ่งพระพรหมนำมาให้แล้วบรรพชา เพราะญาณทัสสนะคือพระโพธิ-
ญาณยังไม่แก่กล้าก่อน จึงไม่รู้จักทางและมิใช่ทางแห่งความเป็นพระ-
พุทธเจ้า เป็นผู้มีสรีระเช่นกับเปรตผู้ไม่มีเนื้อและเลือด เหลือแต่กระดูก
หนังและเอ็น ด้วยอำนาจที่บริโภคอาหามื้อเดียว คำเดียว เป็นผู้เดียว
ทางเดียว และนั่งผู้เดียว บำเพ็ญทุกรกิริยามหาปธานความเพียรใหญ่
โดยนัยดังกล่าวไว้ในปธานสูตรนั่นแล ณ อุรุเวลาชนบทถึง ๖ พรรษา.
พระโพธิสัตว์นั้นนึกถึงทุกรกิริยานี้ว่า ไม่เป็นทางแห่งการตรัสรู้ จึงกลับ
เสวยอาหารประณีตในคาม นิคม และราชธานี มีอินทรีย์ผ่องใส มี
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ครบบริบูรณ์ เสด็จเข้าไปยังโพธิมัณฑ์โดยลำดับ
ชนะมารทั้ง ๕ ได้เป็นพระพุทธเจ้า.
ก็ในกาลนั้น เราได้เป็นพราหมณ์ชื่อ โชติปาละ ได้กล่าว
กะพระกัสสปสุคตเจ้าว่า การตรัสรู้ของสมณะโล้นจักมีนาแต่
ไหน การตรัสรู้เป็นของได้ยากยิ่ง.
เพราะวิบากของกรรมนั้น เราจึงต้องทำทุกรกิริยามากมาย
อยู่ที่ตำบลอุรุเวลาถึง ๖ ปี จากนั้น จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ.
เราไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุดโดยหนทางนั้น เรา
ถูกกรรมเก่าห้ามไว้ จึงได้แสวงหาโดยทางผิด.

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 215)

เรามีบุญและบาปสิ้นไปหมดแล้ว เว้นจากความเร่าร้อน
ทั้งปวง ไม่มีความโศก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีอาสวะ
จักปรินิพพานแล.


ในปัญหาข้อที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การกล่าวยิ่ง คือการคำว่า ชื่อว่า อัพภักขานะ. ได้ยินว่า ใน
อดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลศูทร เป็นนักเลงชื่อ มุนาฬิ ผู้ไม่
มีชื่อเสียง ไม่มีความชำนาญอะไรอาศัยอยู่. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธ-
เจ้านามว่า สุรภิ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากไปถึงที่ใกล้ของเขาด้วยกิจ
บางอย่าง. เขาพอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเท่านั้น ได้ด่าว่าด้วยคำ
เป็นต้นว่า สมณะนี้ทุศีล มีธรรมลามก. เพราะวิบากของอกุศลนั้น เขา
จึงได้เสวยทุกข์ในนรกเป็นต้น หลายพันปี ในอัตภาพครั้งสุดท้ายนี้ ใน
ตอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในภพดุสิต พวกเดียรถีย์ปรากฏขึ้น
ก่อน เที่ยวแสดงทิฏฐิ ๖๒ หลอกลวงประชาชนอยู่นั้น จึงได้จุติจาก
ดุสิตบุรี บังเกิดในสกุลสักยราช แล้วได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับ.
พวกเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ เสมือนหิ่งห้อยในตอนพระอาทิตย์ขึ้น จึง
ผูกความอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้าเที่ยวไปอยู่. สมัยนั้น เศรษฐีใน
กรุงราชคฤห์ผูกตาข่ายในแม่น้ำคงคาแล้วเล่นอยู่ เห็นปุ่มไม้จันทร์แดง
จึงคิดว่า ในเรือนของเรามีไม้จันทร์มากมาย จะให้เอาปุ่มไม้จันทร์แดง
นี้เข้าเครื่องกลึง แล้วให้ช่างกลึงกลึงบาตรด้วยปุ่มไม้จันทร์แดงนั้น แล้ว
แขวนที่ไม้ไผ่ต่อ ๆ ลำกัน ให้ตีกลองป่าวร้องว่า ผู้ใดมาถือเอาบาตรใบนี้
ได้ด้วยฤทธิ์ เราจักเป็นผู้จงรักภักดีต่อผู้นั้น.

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 216)

ในกาลนั้น พวกเดียรถีย์ปรึกษากันว่า บัดนี้ พวกเราฉิบหายแล้ว
บัดนี้ พวกเราฉิบหายแล้ว นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวกะบริษัทของตนอย่างนี้
เราจะไปใกล้ๆ ไม้ไผ่ ทำอาการดังว่าจะเหาะขึ้นในอากาศ พวกท่านจง
จับบ่าเราแล้วห้ามว่า ท่านอย่ากระทำฤทธิ์เพราะอาศัยบาตรที่ทำด้วยไม้
เผาผีเลย เดียรถีย์เหล่านั้นพากันไปอย่างนั้น แล้วได้กระทำเหมือน
อย่างนั้น.
ครั้งนั้น พระปิณโฑลภารทวาชะ และพระโมคคัลลานะ ยืนอยู่บน
ยอดภูเขาหินประมาณ ๓ คาวุต กำลังห่มจีวรเพื่อต้องการจะรับบิณฑบาต
ได้ยินเสียงโกลาหลนั้น . บรรดาพระเถระทั้งสองนั้น พระโมคคัลลานะ
ได้กล่าวกะพระปิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านจงเหาะไปเอาบาตรนั้น. พระ-
ปิณโฑลภารทวาชะนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านเท่านั้นที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเลิศของท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย ท่านนั่นแหละ
จงถือเอา. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านถูกพระโมคคัลลานะบังคับว่า ท่าน
นั่นแหละผมสั่งแล้ว จงถือเอาเถิด จึงทำภูเขาหินประมาณ ๓ คาวุต ที่
ตนยืนอยู่ ให้ติดที่พื้นเท้าแล้วให้ปกคลุมนครราชคฤห์เสียทั้งสิ้น เหมือน
ฝาปิดหม้อข้าวฉะนั้น. ครั้งนั้น ชนชาวพระนครแลเห็นพระเถระนั้น ดุจ
ด้ายแดงที่ร้อยในภูเขาแก้วผลึก พากันตะโกนว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ
ขอท่านจงคุ้มครองพวกกระผมด้วย ต่างก็กลัว จึงได้เอากระด้งเป็นต้น
กั้นไว้เหนือศีรษะ. ทีนั้น พระเถระได้ปล่อยภูเขานั้นลงไว้ในที่ที่ตั้งอยู่
แล้วไปด้วยฤทธิ์ถือเอาบาตรนั้นมา. ครั้งนั้น ชนชาวพระนครได้กระทำ
ความโกลาหลดังขึ้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ในพระเวฬุวนาราม ได้ทรงสดับ

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 217)

เสียงนั้น จึงตรัสถามพระอานนท์ว่า นั้นเสียงอะไร ? พระอานนท์
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระภารทวาชะถือเอาบาตรมา
ได้ ชนชาวพระนครจึงยินดีได้กระทำเสียงโห่ร้อง. ครั้งนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า เพื่อที่จะทรงปลดเปลื้องการกล่าวร้ายผู้อื่นต่อไป จึงทรงให้
นำบาตรนั้นมาทุบให้แตก แล้วทำการบดให้ละเอียดสำหรับเป็นยาหยอดทา
แล้วทรงให้แก่ภิกษุทั้งหลาย ก็แหละครั้นทรงให้แล้ว จึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรทำการแสดงฤทธิ์ ภิกษุใด
ทำ ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.
ลำดับนั้น เดียรถีย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า ข่าวว่าพระสมณโคดม
บัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย สาวกเหล่านั้นย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบท
ที่บัญญัติไว้นั้น แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต พวกเราจักทำอิทธิปาฏิหาริย์ จึง
พากันเป็นหมวดหมู่ทำความโกลาหลอยู่ในที่นั้น ๆ ครั้งนั้น พระเจ้า-
พิมพิสารได้ทรงสดับดังนั้น จึงเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงไหว้
แล้วประทับนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกเดียรถีย์บ่าวร้องว่า จักทำอิทธิปาฏิหาริย์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร แม้อาตมภาพก็จักทำ.
พระราชาตรัสถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติสิกขาบท
แก่สาวกทั้งหลายไว้แล้วมิใช่หรือ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร อาตมภาพจักถามเฉพาะ
พระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงตั้งสินไหมสำหรับผู้กินผลมะม่วงเป็นต้น
ในอุทยานของพระองค์ว่า สินไหมมีประมาณเท่านี้ แม้สำหรับพระองค์ก็
ทรงตั้งรวมเข้าด้วยหรือ.

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 218)

พระราชาทูลว่า ไม่มีสินไหมสำหรับข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่างนั้น มหาบพิตร สิกขาบทที่
บัญญัติไว้แล้ว ย่อมไม่มีสำหรับอาตมภาพ.
พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปาฏิหาริย์จักมีที่ไหน
พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ที่โคนต้นคัณฑามพพฤกษ์ ใกล้เมือง
สาวัตถี มหาบพิตร.
พระราชาตรัสว่า ดีละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จักคอยดูปาฏิหาริย์นั้น.
ลำดับนั้น พวกเดียรถีย์ได้ฟังว่า นัยว่าปาฏิหาริย์จักมีที่โคนต้น
คัณฑามพพฤกษ์ จึงให้ตัดต้นมะม่วงรอบ ๆ พระนคร. ชาวพระนคร
ทั้งหลาย จึงพากันผูกมัดเตียงซ้อน ๆ กัน และหอคอยเป็นต้น ในสถาน
ที่อันเป็นลานใหญ่ ชาวชมพูทวีปเป็นกลุ่ม ๆ ได้ยืนแผ่ขยายไปตลอด
๑๒ โยชน์ เฉพาะในทิศตะวันออก แม้ในทิศที่เหลือ ก็ประชุมกันอยู่
โดยอาการอันสมควรแก่สถานที่นั้น.
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อกาลเวลาถึงเข้าแล้ว ในวันเพ็ญเดือน ๘
ทรงทำกิจที่ควรทำให้เสร็จแต่เช้าตรู่ แล้วเสด็จไปยังที่นั้นประทับนั่งอยู่
แล้ว. ขณะนั้น นายคนเฝ้าอุทยานชื่อว่าคัณฑะ เห็นมะม่วงสุกดีในรัง
มดแดง จึงคิดว่า ถ้าเราจะถวายมะม่วงนี้แก่พระราชา ก็จะได้ทรัพย์อัน
เป็นสาระมีกหาปณะเป็นต้น แต่เมื่อน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
สมบัติในโลกนี้และโลกหน้าก็จักเกิดมี ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงน้อมถวายแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับมะม่วงนั้นแล้ว ดำรัสสั่ง

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 219)

พระอานนทเถระว่า เธอจงคั้นผลมะม่วงนี้ทำให้เป็นน้ำปานะ. พระเถระ
ได้กระทำตามพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดื่ม (น้ำ) ผลมะม่วง
แล้ว ประทานเมล็ดมะม่วงแก่นายคนเฝ้าอุทยานแล้วตรัสว่า จงเพาะเมล็ด
มะม่วงนี้. นายอุยยานบาลนั้นจึงคุ้ยทรายแล้วเพาะเมล็ดมะม่วงนั้น พระ-
อานนทเถระเอาคนโทตักน้ำรด. ขณะนั้น หน่อมะม่วงก็งอกขึ้นมา เมื่อ
มหาชนเห็นอยู่นั่นแหละ ก็ปรากฏเต็มไปด้วยกิ่ง ค่าคบ ดอก ผล และ
ใบอ่อน. ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นเคี้ยวกินผลมะม่วงที่หล่นลงมา ไม่อาจให้
หมดสิ้นได้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิรมิตรัตนจงกรมบนยอดเขา
มหาเมรุในจักรวาลนี้ จากจักรวาลทิศตะวันออกจนกระทั่งถึงจักรวาลทิศ
ตะวันตก เมื่อจะทรงยังบริษัทมิใช่น้อยให้บันลือสีหนาท จึงทรงกระทำ
มหาอิทธิปาฏิหาริย์ โดยนัยดังกล่าวแล้วในอรรถกถาธรรมบท ทรงย่ำยี
พวกเดียรถีย์ทำให้พวกเขาถึงประการอันผิดแผกไปต่าง ๆ ในเวลาเสร็จ
ปาฏิหาริย์ ได้เสด็จไปยังภพดาวดึงส์ โดยพุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าใน
ปางก่อนทรงประพฤติมาแล้ว ทรงจำพรรษาอยู่ในภพดาวดึงส์นั้น ทรง
แสดงพระอภิธรรมติดต่อกันตลอดไตรมาส ทรงทำเทวดามิใช่น้อยมีพระ-
มารดาเป็นประธาน ให้บรรลุพระโสดาปัตติมรรค ออกพระพรรษาแล้ว
เสด็จลงจากเทวโลก อันหมู่เทวดาและพรหมมิใช่น้อยห้อมล้อม เสด็จลง
ยังประตูเมืองสังกัสสะ ได้ทรงกระทำการอนุเคราะห์ชาวโลกแล้ว. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีลาภสักการะท่วมท้นท่ามกลางชมพูทวีป ประดุจ
แม่น้ำใหญ่ ๕ สาย (คือ คงคา อจิรวดี ยมุนา สรภู มหี) ฉะนั้น.

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 220)

ครั้งนั้น พวกเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ เป็นทุกข์ เสียใจ คอตก
นั่งก้มหน้าอยู่. ในกาลนั้น อุบาสิกาของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ชื่อนาง
จิญจมาณวิกา ถึงความเป็นผู้เลอเลิศด้วยรูปโฉม เห็นพวกเดียรถีย์
เหล่านั้นนั่งอยู่อย่างนั้น จึงถามว่า ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ท่านทั้งหลาย
จึงนั่งเป็นทุกข์ เสียใจอยู่อย่างนี้ ? พวกเดียรถีย์กล่าวว่า น้องหญิง ก็เพราะ
เหตุไรเล่า เธอจึงได้เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย. นางจิญจมาณวิกาถามว่า
มีเหตุอะไร ท่านผูเจริญ. เดียรถีย์กล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง จำเดิมแต่กาลที่
พระสมณโคดมเกิดขึ้นมา พวกเราเสื่อมลาภสักการะหมด ชาวพระนคร
ไม่สำคัญอะไร ๆ พวกเรา. นางจิญจมาณวิกาถามว่า ในเรื่องนี้ ดิฉันควร
จะทำอะไร. เดียรถีย์ตอบว่า เธอควรจะยังโทษมิใช่คุณให้เกิดขึ้นแก่พระ-
สมณโคดม. นางจิญจมาณวิกานั้นกล่าวว่า ข้อนั้น ไม่เป็นการหนักใจสำหรับ
ดิฉันดังนี้แล้ว เมื่อจะทำความอุตสาหะในการนั้น จึงไปยังพระเชตวันวิหาร
ในเวลาวิกาล แล้วอยู่ในสำนักของพวกเดียรถีย์ ครั้นตอนเช้า ในเวลาที่
ชนชาวพระนครถือของหอมเป็นต้นไปเพื่อจะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค-
เจ้า จึงออกมา ทำทีเหมือนออกจากพระเชตวันวิหาร ถูกถามว่า นอน
ที่ไหน จึงกล่าวว่า ประโยชน์อะไรด้วยที่ที่เรานอนแก่พวกท่าน ดังนี้
แล้วก็หลีกไปเสีย. เมื่อกาลเวลาดำเนินไปโดยลำดับ นางถูกถามแล้ว
กล่าวว่า เรานอนในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดมแล้วออกมา
พวกปุถุชนผู้เขลาเชื่อดังนั้น บัณฑิตทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้น ไม่เชื่อ.
วันหนึ่ง นางผูกท่อนไม้กลมไว้ที่ท้องแล้วนุ่งผ้าแดงทับไว้ แล้วไปกล่าว
กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งเพื่อทรงแสดงธรรมแก่บริษัทพร้อมทั้ง

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 221)

พระราชาอย่างนี้ว่า พระสมณะผู้เจริญ ท่าน (มัวแต่) แสดงธรรม ไม่
จัดแจงกระเทียมและพริกเป็นต้น เพื่อเราผู้มีครรภ์ทารกที่เกิดเพราะอาศัย
ท่าน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนน้องหญิง ท่านกับเราเท่านั้น
ย่อมรู้ภาวะอันจริงแท้. นางจิญจมาณวิกากล่าวว่า อย่างนั้นทีเดียว เรา
กับท่าน ๒ คนเท่านั้น ย่อมรู้คราวที่เกี่ยวข้องกันด้วยเมถุน คนอื่นย่อม
ไม่รู้.
ขณะนั้น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะแสดงอาการเร่าร้อน.
ท้าวสักกะทรงรำพึงอยู่ ทรงรู้เหตุนั้น จึงตรัสสั่งเทวบุตร ๒ องค์ว่า
บรรดาท่านทั้งสอง องค์หนึ่งนิรมิตเพศเป็นหนู กัดเครื่องผูกท่อนไม้กลม
ของนางให้ขาด องค์หนึ่งทำมณฑลของลมไห้ตั้งขึ้น พัดผ้าที่นางห่มให้
เวิกขึ้นเบื้องบน. เทวบุตรทั้งสองนั้นได้ไปกระทำอย่างนั้นแล้ว. ท่อนไม้
กลมตกลง ทำลายหลังเท้าของนางแตก. ปุถุชนทั้งหลายผู้ประชุมกันอยู่
ในโรงธรรมสภา ทั้งหมดพากันกล่าวว่า เฮ้ย! นางโจรร้าย เจ้าได้ทำการ
กล่าวหาความเห็นปานนี้ แก่พระผู้เป็นเจ้าของโลกทั้ง ๓ ผู้เห็นปานนี้
แล้วต่างลุกขึ้นเอากำปั้นประหารคนละที นำออกไปจากที่ประชุม เมื่อ
นางล่วงพ้นไปจากทัสสนะคือการเห็นของพระผู้มีพระภาคเจ้า แผ่นดินได้
ให้ช่อง. ขณะนั้น เปลวไฟจากอเวจีนรกตั้งขึ้น หุ้มห่อนางเหมือนหุ้มด้วย
ผ้ากัมพลแดงที่ตระกูลให้ แล้วซัดลงไปในอเวจีนรก. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้มีลาภสักการะอย่างล้นเหลือ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าผู้ทรงครอบงำสิ่งทั้งปวง มีสาวกชื่อว่านันทะ
เรากล่าวตู่พระสาวกชื่อว่านันทะนั้น จึงได้ท่องเที่ยวไปใน
นรก สิ้นกาลนาน.

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 222)

เราท่องเที่ยวไปในนรกตลอดกาลนานถึงหมื่นปี ได้ความ
เป็นมนุษย์แล้ว ได้รับการกล่าวตู่มากมาย.
เพราะกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมาณวิกาได้กล่าวตู่เรา
ด้วยคำอันไม่เป็นจริงต่อหน้าหมู่ชน.

ในปัญหาข้อที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การกล่าวยิ่ง คือ การด่า ชื่อว่า อัพภักขานะ. ได้ยินว่า ในอดีต
กาล พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดที่ไม่ปรากฏชื่อเสียง เป็นนักเลงชื่อว่า
มุนาฬิ เพราะกำลังแรงที่คลุกคลีกับคนชั่ว จึงได้ด่าพระปัจเจกพุทธเจ้า
นามว่า สุรภิ ว่า ภิกษุนี้ทุศีล มีธรรมอันลามก. เพราะวจีกรรมอันเป็น
อกุศลนั้น พระโพธิสัตว์นั้นไหม้อยู่ในนรกหลายพันปี ในอัตภาพครั้ง
สุดท้ายนี้ เกิดเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยกำลังแห่งความสำเร็จบารมี ๑๐ ได้
เป็นผู้ถึงลาภอันเลิศและยศอันเลิศ. พวกเดียรถีย์กลับเกิดความอุตสาหะขึ้น
อีก คิดกันว่า พวกเราจักยังโทษมิใช่ยศ ให้เกิดแก่พระสมณโคดมได้
อย่างไรหนอ พากันนั่งเป็นทุกข์เสียใจ.
ครั้งนั้น ปริพาชิกาผู้หนึ่งชื่อว่า สุนทรี เข้าไปหาเดียรถีย์เหล่านั้น
ไหว้แล้วยืนอยู่ เห็นเดียรถีย์ทั้งหลายพากันนิ่งไม่พูดอะไร จึงถามว่า ดิฉัน
มีโทษอะไรหรือ ? พวกเดียรถีย์กล่าวว่า พวกเราถูกพระสมณโคดม
เบียดเบียนอยู่ ท่านกลับมีความขวนขวายน้อยอยู่ ข้อนี้เป็นโทษของท่าน
นางสุนทรีกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ดิฉันจักกระทำอย่างไรในข้อนั้น
เดียรถีย์ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจักอาจหรือที่จะทำโทษมิใช่คุณให้เกิดขึ้น
แก่พระสมณโคดม. นางสุนทรีกล่าวว่า จักอาจซิ พระผู้เป็นเจ้า ครั้น
กล่าวแล้ว จำเดิมแต่นั้นมา ก็กล่าวแก่พวกคนที่ได้พบเห็นว่า ตนนอน

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 223)

ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดมแล้วจึงออกมา ดังนี้ โดยนัย
ดังกล่าวมาแล้วด่าบริภาษอยู่ ฝ่ายพวกเดียรถีย์ก็ด่าบริภาษอยู่ว่า ผู้เจริญ
ทั้งหลาย จงเห็นกรรมของพระสมณโคดม. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า
ในชาติอื่นๆ ในครั้งก่อน เราเป็นนักเลงชื่อว่ามุนาฬิ ได้
กล่าวตู่พระสุรภิปัจเจกพุทธเจ้าผู้ไม่ประทุษร้าย.
เพราะวิบากของกรรมนั้น เราจงท่องเที่ยวไปในนรกสิ้น
กาลนาน เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี.
ด้วยเศษกรรมที่เหลือนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เราจึงได้รับ
การกล่าวตู่ เพราะเหตุแห่งนางสุนทรี.

ในปัญหาข้อที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การด่า การบริภาษโดยยิ่ง คือโดยพิเศษ ชื่อว่า อัพภักขานะ.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ เป็นผู้ศึกษา
เล่าเรียนมาก คนเป็นอันมากสักการบูชา ได้บวชเป็นดาบส มีรากเหง้า
และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร สอนมนต์พวกมาณพจำนวนมาก สำเร็จการ
อยู่ในป่าหิมพานต์. ดาบสรูปหนึ่งได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ได้มา
ยังสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์นั้นพอเห็นพระดาบสนั้น
เท่านั้น ถูกความริษยาครอบงำ ได้คำว่าพระฤาษีผู้ไม่ประทุษร้ายนั้นว่า
ฤาษีนี้หลอกลวง บริโภคกาม และบอกกะพวกศิษย์ของตนว่า ฤาษีนี้
เป็นผู้ไม่มีอาจาระเห็นปานนี้. ฝ่ายศิษย์เหล่านั้นก็พากันด่า บริภาษอย่าง
นั้นเหมือนกัน . ด้วยวิบากของอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์นั้นจึงได้
เสวยทุกข์ในนรกอยู่พันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้เป็นพระพุทธเจ้า ถึง

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 224)

ความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศ ปรากฏดุจพระจันทร์เพ็ญในอากาศ
ฉะนั้น.
แม้ด้วยการด่าว่าถึงอย่างนั้น พวกเดียรถีย์ก็ยังไม่พอใจ ให้นาง
สุนทรีทำการด่าว่าอีก ให้เรียกพวกนักเลงสุรามาให้ค่าจ้างแล้วสั่งว่า พวก
ท่านจงฆ่านางสุนทรีแล้วปิดด้วยขยะดอกไม้ในที่ใกล้ประตูพระเชตวัน พวก
นักเลงสุราเหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้น แต่นั้น พวกเดียรถีย์จึงกราบทูล
แก่พระราชาว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่พบเห็นนางสุนทรี. พระราชา
รับสั่งว่า พวกท่านจงค้นดู เดียรถีย์เหล่านั้นจึงเอามาจากที่ที่ตนให้โยน
ไว้แล้วยกขึ้นสู่เตียงน้อยแสดงแก่พระราชา แล้วเที่ยวโฆษณาโทษของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ในพระนครทั้งสิ้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่าน
ทั้งหลายจงเห็นการกระทำของพระสมณโคดมและของพวกสาวก. แล้ว
วางนางสุนทรีไว้บนแคร่ในป่าช้าผีดิบ. พระราชารับสั่งว่า ท่านทั้งหลาย
จงค้นหาคนฆ่านางสุนทรี.
ครั้งนั้น พวกนักเลงดื่มสุราแล้วทำการทะเลาะกันว่า เจ้าฆ่านาง-
สุนทรี เจ้าฆ่า. ราชบุรุษทั้งหลาย จึงจับพวกนักเลงเหล่านั้นแสดงแก่
พระราชา พระราชาตรัสถามว่า แน่ะพนาย พวกเจ้าฆ่านางสุนทรีหรือ?
นักเลงเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ. พระราชาตรัส
ถามว่า พวกใครสั่ง ? นักเลงทูลว่า พวกเดียรถีย์สั่ง พระเจ้าข้า. พระราชา-
จึงให้นำพวกเดียรถีย์มาแล้วให้จองจำพันธนาการแล้วรับสั่งว่า แน่ะพนาย
พวกเจ้าจงไปป่าวร้องว่า เราทั่งหลายให้ฆ่านางสุนทรีเองแหละ โดยความ
จะให้เป็นโทษแก่พระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าและสาวกทั้งหลายของ
พระองค์ไม่ได้เป็นผู้กระทำ. พวกเดียรถีย์ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว. ชาว

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 225)

พระนครทั้งสิ้นต่างเป็นผู้หมดความสงสัย. พระราชาทรงให้ฆ่าพวกเดียรถีย์
และพวกนักเลงแล้วให้ทิ้งไป. แต่นั้น ลาภสักการะเจริญพอกพูนแก่
พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยยิ่งกว่าประมาณ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าจงตรัสว่า
เราเป็นพราหมณ์เรียนจบแล้ว เป็นผู้อันมหาชนสักการะ
บูชา ได้สอนมนต์กะมาณพ ๕๐๐ คนในป่าใหญ่.
พระฤาษีผู้กล้า สำเร็จอภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มาในที่นี้
นั้น และเราได้เห็นพระฤาษีนั้นมาแล้ว ได้กล่าวตู่ว่าท่านผู้ไม่
ประทุษร้าย.
แต่นั้น เราได้บอกกะศิษย์ทั้งหลายว่า ฤาษีนี้เป็นผู้บริโภค
กาม แม้เมื่อเราบอกอยู่ มาณพทั้งหลายก็พลอยยินดีตาม.
แต่นั้น มาณพทุกคนเที่ยวภิกขาไปทุก ๆ ตระกูล ก็บอก
กล่าวแก่มหาชนว่า ฤาษีนี้บริโภคกาม.
เพราะวิบากของกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้จึงได้รับการ
กล่าวตู่ด้วยกันทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทรี.



ขอบขอคุณ : http://www.hunsa.com
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2009, 07:09:09 AM »

(ต่อครับผม)

ปัญหาข้อที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สิลาเวโธ ได้แก่ ผู้มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว กลิ้งศิลาทับ.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์และน้องชายเป็นลูกพ่อเดียวกัน เมื่อ
บิดาล่วงลับไปแล้ว พี่น้องทั้งสองนั้น ทำการทะเลาะกัน เพราะอาศัย
พวกทาส จึงได้คิดร้ายกันและกัน พระโพธิสัตว์กดทับน้องชายไว้ด้วย
ความที่ตนเป็นผู้มีกำลัง แล้วกลิ้งหินทับลงเบื้องบนน้องชายนั้น. เพราะ

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 226)

วิบากของกรรมนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้เสวยทุกข์ในนรกเป็นต้นหลาย
พันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้ได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า.
พระเทวทัตผู้เป็นพระมาตุลาของพระราหุลกุมาร ในชาติก่อนได้
เป็นพ่อค้ากับพระโพธิสัตว์ ในครั้งเป็นพ่อค้าชื่อว่า เสริพาณิช พ่อค้า
ทั้งสองนั้นไปถึงปัฏฏนคาม บ้านอันตั้งอยู่ใกล้ท่าแห่งหนึ่ง จึงตกลงกันว่า
ท่านจงถือเอาถนนสายหนึ่ง แม้เราก็จะถือเอาถนนสายหนึ่ง แล้วทั้งสอง
คนก็เข้าไป. บรรดาคนทั้งสองนั้น ในถนนสายที่พระเทวทัตเข้าไป
ได้มีคน ๒ คนเท่านั้น คือภรรยาของเศรษฐีเก่าคนหนึ่ง หลานสาวคนหนึ่ง
ถาดทองใบใหญ่ของคนทั้งสองนั้น ถูกสนิมจับ เป็นของที่เขาวางปนไว้
ในระหว่างภาชนะ. ภรรยาของเศรษฐีเก่านั้นไม่รู้ว่าภาชนะทอง จึงกล่าว
กะท่านเทวทัตนั้นว่า ท่านจงเอาถาดใบนี้ไปแล้วจงให้เครื่องประดับมา.
เทวทัตนั้นจับถาดใบนั้นแล้วเอาเข็มขีดดู รู้ว่าเป็นถาดทอง แล้วคิดว่า
เราจักให้นิดหน่อยแล้วถือเอา จึงไปเสีย.
ลำดับนั้น หลานสาวเห็นพระโพธิสัตว์มายังที่ใกล้ประตู จึงกล่าวว่า
ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านจงให้เครื่องประดับ กัจฉปุฏะ แก่ดิฉัน. ภรรยา
เศรษฐีเท่านั้นจึงให้เรียกพระโพธิสัตว์นั้นมา ให้นั่งลงแล้วจึงให้ภาชนะ
นั้นแล้วจึงกล่าวว่า ท่านจงถือเอาภาชนะนี้แล้วจงให้เครื่องประดับกัจฉปุฏะ
แก่หลานสาวของข้าพเจ้า. พระโพธิสัตว์จับภาชนะนั้น รู้ว่าเป็นภาชนะ
ทอง และรู้ว่า นางถูกเทวทัตนั้นลวง จึงเก็บ ๘ กหาปณะไว้ในถุง
เพื่อตน และให้สินค้าที่เหลือ ให้ประดับเครื่องประดับ กัจฉปุฏะ ที่มือ
ของนางกุมาริกาแล้วก็ไป. พ่อค้านั้นหวนกลับมาถามอีก. ภรรยาเศรษฐี
นั้นกล่าวว่า นี่แน่ะพ่อ ท่านไม่เอา บุตรของเราให้สิ่งนี้ ๆ แล้วถือเอา
ถาดใบนั้นไปเสียแล้ว. พ่อค้านั้นพอได้ฟังดังนั้น มีหทัยเหมือนจะแตก
ออก จึงวิ่งติดตามไป. พระโพธิสัตว์ขึ้นเรือแล่นไปแล้ว. พ่อค้านั้น
กล่าวว่า หยุด! อย่าหนี อย่าหนี แล้วได้ทำความปรารถนาว่า เราพึง
สามารถทำให้มันฉิบหายในภพที่เกิดแล้ว ๆ.
ด้วยอำนาจความปรารถนา พ่อค้านั้นเบียดเบียนกันและกันหลาย
แสนชาติ ในอัตภาพนี้ บังเกิดในสักยตระกูล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ได้
ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับเจ้าอนุรุทธะเป็นต้น แล้ว
บวช เป็นผู้ได้ฌานปรากฏแล้ว ทูลขอพรพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ทั้งปวง จงสมาทานธุดงค์ ๑๓ มีเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตรเป็นต้น ภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นจงเป็นภาระของข้าพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต พระเทวทัตผูกเวร จึงเสื่อมจากฌาน
ต้องการจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า วันหนึ่ง ยืนอยู่เบื้องบน
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับยืนอยู่ที่เชิงเขาเวภาระ* กลิ้งยอดเขาลงมา ด้วย
อานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า ยอดเขายอดอื่นรับเอายอดเขานั้นที่กำลัง
ตกลงมา. สะเก็ดหินที่ตั้งขึ้นเพราะยอดเขาเหล่านั้นกระทบกัน ปลิวมา
กระทบหลังพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เมื่อชาติก่อน เราฆ่าน้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่ง
ทรัพย์ เราใส่ลงในซอกหิน และบดขยี้ด้วยหิน
เพราะวิบากของกรรมนั้น พระเทวทัตจึงกลิ้งหิน ก้อนหิน
บดขยี้นิ้วหัวแม่เท้าของเรา.

๑. ที่อื่นเป็น เขาดิชฌกูฏ.

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 228)



ปัญหาข้อที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

สะเก็ดหินกระทบ ชื่อว่า สกลิกาเวธะ. ได้ยินว่า ในอดีตกาล
พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่ง ในเวลาเป็นเด็ก กำลังเล่นอยู่ที่ถนน
ใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในถนนคิดว่า สมณะโล้น
นี้จะไปไหน จึงถือเอาสะเก็ดหินขว้างไปที่หลังเท้าของท่าน. หนังหลังเท้า
ขาด โลหิตไหลออก. เพราะกรรมอันลามกนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้
เสวยทุกข์อย่างมหันต์ในนรกหลายพันปี แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้เกิด
การห้อพระโลหิตขึ้น เพราะสะเก็ดหินกระทบที่หลังพระบาท ด้วยอำนาจ
กรรมเก่า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ เห็นพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าในหนทาง จึงขว้างสะเก็ดหินใส่.
เพราะวิบากของกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัต
จึงประกอบนายขมังธนูเพื่อฆ่าเรา.

ปัญหาข้อที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ช้างธนปาลกะที่เขาส่งไปเพื่อต้องการให้ฆ่า ชื่อว่า ช้างนาฬาคิรี.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นคนเลี้ยงช้าง ขึ้นช้าง
เที่ยวไปอยู่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในหนทางใหญ่ คิดว่า คนหัวโล้น
มาจากไหน เป็นผู้มีจิตถูกโทสะกระทบแล้ว เกิดเป็นดุจตะปูตรึงใจ ได้
ทำช้างให้ขัดเคือง. ด้วยกรรมนั้น พระโพธิสัตว์จึงได้เสวยทุกข์ในอบาย
หลายพันปี ในอัตภาพหลังสุดได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า. พระเทวทัต
กระทำพระเจ้าอชาตศัตรูให้เป็นสหายแล้วให้สัญญากันว่า มหาบพิตร
พระองค์ปลงพระชนม์พระบิดาแล้วจงเป็นพระราชา อาตมภาพฆ่าพระ-

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 229)

พุทธเจ้าแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ อยู่มาวันหนึ่ง ไปยังโรงช้างตาม
ที่พระราชาทรงอนุญาต แล้วสั่งคนเลี้ยงช้างว่า พรุ่งนี้ ท่านจงให้ช้าง
นาฬาคิรีดื่มเหล้า ๑๖ หม้อ แล้วจงปล่อยไปในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต. พระนครทั้งสิ้นได้มีเสียงเอิกเกริกมากมาย. ชน
ทั้งหลายกล่าวกันว่า เราจักดูการต่อยุทธ์ของนาคคือช้าง กับนาคคือ
พระพุทธเจ้า ดังนี้แล้วพากันผูกเตียงและเตียงซ้อน ในถนนหลวง จาก
ด้านทั้งสอง แล้วประชุมกันแต่เช้าตรู่.
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแล้ว อัน
หมู่ภิกษุห้อมล้อมเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์. ขณะนั้น พวก
คนเลี้ยงช้างปล่อยช้างนาฬาคิรี โดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ช้าง
นาฬาคิรีทำลายถนนและทางสี่แพร่งเป็นต้นเดินมา ครั้งนั้น หญิงผู้หนึ่งพา
เด็กเดินข้ามถนน ช้างเห็นหญิงนั้นจึงไล่ติดตาม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
นี่แน่ะนาฬาคิรี เธอถูกเขาส่งมาเพื่อจะฆ่าหญิงนั้นก็หามิได้ เธอจงมาทางนี้.
ช้างนั้นได้ฟังเสียงนั้นแล้ว ก็วิ่งบ่ายหน้ามุ่งไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่เมตตาอันควรแก่การแผ่ในจักรวาล อันหา
ประมาณมิได้ ในสัตว์อันหาที่สุดมิได้ ไปในช้างนาฬาคิรีตัวเดียวเท่านั้น.
ช้างนาฬาคิรีนั้นอันพระเมตตาของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกต้องแล้ว กลาย
เป็นช้างที่ไม่มีภัย หมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงวางพระหัตถ์ลงบนกระหม่อมของช้างนาฬาคิรีนั้น . ครั้งนั้น
เทวดาและพรหมเป็นต้นเกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยเป็น จึงพากันบูชาด้วย
ดอกไม้และเกสรดอกไม้เป็นต้น. ในพระนครทั้งสิ้น ได้มีกองทรัพย์

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 230)

ประมาณถึงเข่า. พระราชารับสั่งให้เที่ยวตีกลองป่าวร้อง ทรัพย์ที่ประตู
ด้านทิศตะวันตกจงเป็นของชาวพระนคร ทรัพย์ที่ประตูด้านทิศตะวันออก
จงนำเข้าท้องพระคลังหลวง. คนทั้งปวงกระทำอย่างนั้นแล้ว. ในครั้งนั้น
ช้างนาฬาคิรีได้มีชื่อว่า ธนบาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังพระ-
เวฬุวนาราม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า.
ในกาลก่อน เราได้เป็นนายควาญช้าง ได้ทำช้างให้โกรธ
พระปัจเจกมุนีผู้สูงสุด ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตรอยู่นั้น.
เพราะวิบากของกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีตัวดุร้ายหมุนเข้า
มาประจัญในบุรีอันประเสริฐ ชื่อว่า คิริพพชะ คือกรุง
ราชคฤห์.



ปัญหาข้อที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การผ่าฝีด้วยศาสตรา คือ ตัดด้วยผึ่ง ด้วยศาสตรา ชื่อว่า สัตถัจเฉทะ.
ได้ยินว่า ในอดีตกาลพระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชาในปัจจันต-
ประเทศ พระโพธิสัตว์นั้นเป็นนักเลง ด้วยอำนาจการคลุกคลีกับคนชั่ว
และด้วยอำนาจการอยู่ในปัจจัยตประเทศ เป็นคนหยาบช้า อยู่มาวันหนึ่ง
ถือมีดเดินเท้าเปล่า เที่ยวไปในเนือง ได้เอามีดฆ่าฟันคนผู้ไม่มีความผิด
ได้ไปแล้ว. ด้วยวิบากของกรรมอันลามกนั้น พระโพธิสัตว์นั้นไหม้ใน
นรกหลายพันปี เสวยทุกข์ในทุคติ มีสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้น ด้วยวิบาก
ที่เหลือ ในอัตภาพหลังสุดแม้ได้เป็นพระพุทธเจ้า หนึ่งก็ได้เกิดห้อพระ-
โลหิตขึ้น เพราะก้อนหินที่พระเทวทัตกลิ้งใส่กระทบเอา โดยนัยดังกล่าว
ในหนหลัง. หมอชีวกผ่าหนังที่บวมขึ้นนั้นด้วยจิตเมตตา. การทำพระ-

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 231)

โลหิตให้ห้อขึ้นของพระเทวทัตผู้มีจิตเป็นข้าศึก ได้เป็นอนันตริยกรรม.
การผ่าหนังที่บวมขึ้นของหมอชีวกผู้มีจิตเมตตา ได้เป็นบุญอย่างเดียว.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราเป็นคนเดินเท้า ฆ่าคนทั้งหลายด้วยหอก ด้วยวิบาก
ของกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้อยู่ในนรกอย่างรุนแรง.
ด้วยเศษของกรรมนั้น มาบัดนี้เขาจึงตัดหนังที่เท้าของเรา
เสียสิ้น เพราะยังไม่หมดกรรม.

ปัญหาข้อที่ ๙ มีวินิจฉัยต่อไปนี้.

อาพาธที่ศีรษะ คือเวทนาที่ศีรษะ ชื่อว่า สีสทุกขะ ทุกข์ที่ศีรษะ.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นชาวประมง ในหมู่บ้าน
ชาวประมง. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกับพวกบุรุษชาวประมง ไปยัง
ที่ที่ฆ่าปลา เห็นปลาทั้งหลายตาย ได้ทำโสมนัสให้เกิดขึ้นในข้อที่ปลาตาย
นั้น แม้บุรุษชาวประมงที่ไปด้วยกัน ก็ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นอย่างนั้น
เหมือนกัน. ด้วยอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔
ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้บังเกิดขึ้นตระกูลศากยราช พร้อมกับบุรุษเหล่านั้น
แม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับแล้ว ก็ยังได้เสวยความ
เจ็บป่วยที่ศีรษะด้วยตนเอง และเจ้าศากยะเหล่านั้น ถึงความพินาศกันหมด
ในสงความของเจ้าวิฑูฑภะ โดยนัยดังกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบท. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เราเป็นลูกชาวประมงในหมู่บ้านชาวประมง เห็นปลา
ทั้งหลายถูกฆ่า ได้ยังความโสมนัสดีใจให้เกิดขึ้น.

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 232)

เพราะวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะได้มีแก่เรา
แล้ว ในคราวที่เจ้าวิฑูฑภะฆ่าสัตว์ทั้งหมด (คือเจ้าศากยะ)
แล้ว.



ปัญหาข้อที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การกินข้าวสารแห่งข้าวแดงในเมืองเวสาลี ชื่อว่า ยวขาทนะ การกินข้าวแดง.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่งเพราะอำนาจชาติและ
เพราะความเป็นอันธพาล เห็นสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าผุสสะ
ฉันข้าวน้ำอันอร่อย และโภชนะแห่งข้าวสาลีเป็นต้น จึงด่าว่า เฮ้ย !
พวกสมณะโล้น พวกท่านจงกินข้าวแดงเถอะอย่ากินโภชนะแห่งข้าวสาลีเลย.
เพราะวิบากแห่งอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์จึงเสวยทุกข์อยู่ในอบายทั้ง ๔ หลายพันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้ถึงความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับ
เมื่อทรงกระทำความอนุเคราะห์ชาวโลก
เสด็จเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานีทั้งหลาย. สมัยหนึ่ง เสด็จ
ถึงโคนไม้สะเดาอันสมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบ ณ ที่ใกล้เวรัญชพราหมณ-
คาม. เวรัญชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อไม่อาจเอาชนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้โดยเหตุหลายประการ ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเสด็จเข้าจำพรรษาในที่นี้แหละ
ย่อมควร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำนิมนต์โดยดุษณีภาพ.
ครั้นจำเดิมแต่วันรุ่งขึ้นไป มารผู้มีบาปได้กระทำการดลใจชาวบ้าน
เวรัญชพราหมณคามทั้งสิ้น ไม่ได้มีแม้แต่คนเดียวผู้จะถวายภิกษาสักทัพพี
หนึ่ง แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จเข้าไปบิณฑบาต เพราะเนื่องด้วยมาร
ดลใจ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีบาตรเปล่า อันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมเสด็จ

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 233)

กลับมา. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จกลับมาอย่างนั้น พวกพ่อค้าม้า
ที่อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ได้ถวายทานในวันนั้น จำเดิมแต่วันนั้นไป ได้
นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร แล้วทำการแบ่งจาก
ภิกษุทั้งหลาย. เทวดาในพันจักรวาลแห่งจักรวาลทั้งสิ้น พากันใส่ทิพโอชะ
เหมือนในวันที่นางสุชาดาหุงข้าวปายาส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว
พระองค์เสวยข้าวแดงตลอดไตรมาส ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อล่วงไป ๓
เดือน การดลใจของมารก็หายไปในวันปวารณา เวรัญชพราหมณ์ระลึก
ขึ้นได้ถึงความสลดใจอย่างใหญ่หลวง จึงถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน ถวายบังคมแล้วขอให้ทรงอดโทษ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระ-
พุทธเจ้า พระนามว่า ผุสสะ ว่า พวกท่านจงเคี้ยว จงกินแต่
ข้าวแดง อย่ากินข้าวสาลีเลย
ด้วยวิบากของกรรมนั้น เราจึงได้เคี้ยวกินข้าวแดงตลอด
ไตรมาส เพราะว่า ในคราวนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว
จึงได้อยู่ในบ้านเวรัญชา.

ปัญหาข้อที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

อาพาธที่หลัง ชื่อว่า ปิฏิทุกขะ ทุกข์ที่หลัง. ได้ยินว่า ในอดีต-
กาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี สมบูรณ์ด้วยกำลัง ได้เป็นคน
ค่อนข้างเตี้ย. สมัยนั้น นักต่อสู้ด้วยการต่อสู้ด้วยมวยปล้ำคนหนึ่ง เมื่อ
การต่อสู้ด้วยมวยปล้ำกำลังดำเนินไปอยู่ในคามนิคม และราชธานีทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 234



ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้ทำพวกบุรุษล้มลง ได้รับชัยชนะ มาถึงเมืองอัน
เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์เข้าโดยลำดับ ได้ทำพวกคนในเมืองแม้นั้นให้
ล้มลงแล้ว เริ่มจะไป. คราวนั้น พระโพธิสัตว์คิดว่า ผู้นี้ได้รับชัยชนะ
ในที่เป็นที่อยู่ของเราแล้วก็จะไป จึงมายังบริเวณพระนครในที่นั้น ปรบ
มือแล้วกล่าวว่า ท่านจงมา จงต่อสู้กับเราแล้วค่อยไป นักมวยปล้ำนั้น
หัวเราะแล้วคิดว่า พวกบุรุษใหญ่โตเรายังทำให้ล้มได้ บุรุษผู้นี้เป็นคนเตี้ย
มีธาตุเป็นคนเตี้ย ย่อมไม่เพียงพอแม้แก่มือข้างเดียว จึงปรบมือบันลือ
แล้วเดินมา. คนทั้งสองนั้นจับมือกันและกัน พระโพธิสัตว์ยกนักมวยปล้ำ
คนนั้นขึ้นแล้วหมุนในอากาศ เมื่อจะให้ตกลงบนภาคพื้น ได้ทำลาย
กระดูกไหล่แล้วให้ล้มลง. ชาวพระนครทั้งสิ้นทำการโห่ร้อง ปรบมือ
บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยผ้าและอาภรณ์เป็นต้น. พระโพธิสัตว์ให้นักต่อสู้
ด้วยมวยปล้ำนั้นตรง ๆ กระทำกระดูกไหล่ให้ตรงแล้วกล่าวว่า ท่านจงไป
ตั้งแต่นี้ไปท่านจงอย่ากระทำกรรมเห็นปานนี้ แล้วส่งไป ด้วยวิบากของ
กรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ที่ร่างกายและศีรษะเป็นต้น ในภพ
ที่เกิดแล้ว ๆ ในอัตภาพหลังสุด แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้เสวยทุกข์
มีการเสียดแทงที่หลังเป็นต้น. เพราะฉะนั้น เมื่อความทุกข์ที่เบื้องพระ-
ปฤษฎางค์เกิดขึ้นในกาลบางคราว พระองค์จึงตรัสกะพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะว่า จำเดิมแต่นี้ไป พวกเธอจงแสดงธรรม แล้วพระองค์
ทรงลาดสุคตจีวรแล้วบรรทม. ขึ้นชื่อว่ากรรมเก่า แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่พ้น
ไปได้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
เมื่อการปล้ำกันดำเนินไปอยู่ เราได้เบียดเบียนบุตรนัก-
มวยปล้ำ (ให้ลำบาก)

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 235)

ด้วยวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง)
จึงได้มีแก่เรา.



ปัญหาข้อที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การถ่ายด้วยการลงพระโลหิต ชื่อว่า อติสาระ โรคบิด. ได้ยินว่า
ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี เลี้ยงชีพด้วยเวชกรรม
พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อจะเยียวยาบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งผู้ถูกโรคครอบงำ
จึงปรุงยาแล้วเยียวยา อาศัยความประมาทในการให้ไทยธรรมของบุตร
เศรษฐีนั้น จึงให้โอสถอีกขนานหนึ่ง ได้กระทำการถ่ายโดยการสำรอก
ออก เศรษฐีได้ให้ทรัพย์เป็นอันมาก. ด้วยวิบากของกรรมนั้น พระ-
โพธิสัตว์จึงได้ถูกอาพาธด้วยโรคลงโลหิตครอบงำในภพที่เกิดแล้ว ๆ ใน
อัตภาพหลังสุดแม้นี้ ในปรินิพพานสมัย จึงได้มีการถ่ายด้วยการลงพระ-
โลหิต ในขณะที่เสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะกัมมารบุตรปรุงถวาย พร้อม
กับพระกระยาหารอันมีทิพโอชะที่เทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นใส่ลงไว้. กำลัง
ช้างแสนโกฏิเชือก ได้ถึงความสิ้นไป. ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเพื่อต้องการปรินิพพานในเมืองกุสินารา ประ-
ทับนั่งในที่หลายแห่ง ระหายน้ำ ทรงดื่มน้ำ ทรงถึงเมืองกุสินาราด้วย
ความลำบากอย่างมหันต์ แล้วเสด็จปรินิพพานในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง.
แม้พระผู้เป็นเจ้าของไตรโลกเห็นปานนี้ กรรมเก่าก็ไม่ละเว้น. ด้วยเหตุ
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาบุตรของเศรษฐี ด้วย
วิบากของกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา.

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 236)

พระชินเจ้าทรงบรรลุอภิญญาพละทั่งปวง ทรงพยากรณ์
ต่อหน้าภิกษุสงฆ์ ณ อโนดาตสระใหญ่ ด้วยประการฉะนี้แล.
อปทานฝ่ายอกุศล ชื่อว่าเป็นอันจบบริบูรณ์ ด้วยการตั้งหัวข้อ
ปัญหาที่ท่านให้ปฏิญญาไว้ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า อิตฺถ สุท อธิบายว่า ด้วยประการฉะนี้ คือ ด้วยนัยที่กล่าวไว้
ในหนหลัง โดยประการนี้. ศัพท์ว่า สุท เป็นนิบาต มาในอรรถว่า
ทำบทให้เต็ม. พระผู้มีพระภาคเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระมหา-
กรุณาพระองค์นั้น ทรงเพียบพร้อมด้วยภาคยธรรม เป็นพระมหาสัตว์
ผู้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ทรงประกอบด้วยคุณ มีอาทิอย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีภาคบุญ คือโชค ผู้หักราน
กิเลส ผู้ประกอบด้วยภาคธรรมทั้งหลาย ผู้ทรงด้วยภาคธรรม
ทั้งหลาย ผู้ทรงจำแนกธรรม ผู้คบแล้ว ผู้คายการไปในภพ
ทั้งหลายแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.
ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นท้าวสักกะยิ่งกว่าท้าวสักกะ ทรงเป็น
พรหมยิ่งกว่าพรหม ทรงเป็นพระพุทธเจ้ายิ่งกว่าพระพุทธเจ้า เมื่อจะทรง
ยกย่อง คือทำให้ปรากฏซึ่งพุทธจริยา คือเหตุแห่งพระพุทธเจ้าของ
พระองค์ จึงได้ภาษิตคือตรัสธรรมบรรยาย คือพระสูตรธรรมเทศนา
ชื่อว่า พุทธาปทานิยะ คือ ชื่อว่า ประกาศเหตุแห่งพระพุทธเจ้าแล.
พรรณนาพุทธาปทาน
ในวิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาอปทาน



ขอขอบคุณ : http://www.hunsa.com
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
keroro
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 37


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 30, 2012, 11:33:53 AM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2013, 03:09:58 PM »

  ความเดิมตอนที่แล้ว นายจุนทะได้ถวายสูกรมัทวะแด่พระพุทธเจ้า
อาจมีผู้สงสัยว่า “สูกรมัทวะ” คืออะไร จึงหาคำตอบมาให้อ่านกัน

             สูกรมัทวะคือ อาหารหรือยาบำรุงกึ่งอาหารประเภทโสม ซึ่งเป็นสิ่งนายจุนทกัมมารบุตร อังคาสแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมื้อสุดท้ายก่อนปรินิพพาน ซึ่งนายจุนทะตบแต่งตามรสายนวิธี ด้วยประสงค์ว่า การปรินิพพานจะยังไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

            เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมารบุตรแล้ว ก็เกิดอาพาธอย่างร้ายแรง มีเวทนากล้าเกิดแต่การประชวรลงพระโลหิต (ถ่ายเป็นเลือด) ใกล้จะนิพพาน ทำให้บุรพาจารย์ท่านวินิจฉัยว่า สูกรมัทวะ เป็นอาหารหรือยา หรือสิ่งอะไรกันแน่

            โดยบุรพาจารย์ท่านวินิจฉัยไว้ ๗ ประการคือ

            ๑. ปวัตตมังสะ  ของสุกรที่ใหญ่ที่สุดตัวหนึ่ง  ไม่หนุ่มนัก ไม่แก่นัก.  นัยว่า ปวัตมังสะนั้นนุ่มสนิท.  อธิบายว่า  ให้จัดปวัตตมังสะนั้น  ทำให้สุกอย่างดี.

            ๒. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า  ก็คำว่า สูกรมัททวะนี้เป็นชื่อ ของข้าวสุกอ่อน  ที่จัดปรุงด้วยปัญจโครส  (ขีร นมสด  ทธิ นมส้ม ฆตํ  เนยใส  ตกฺตํ  เปรียง  และโนนีตํ  เนยแข็ง)และถั่ว  เหมือนของสุกชื่อว่า  ควปานะ  ขนมผสมน้ำนมโค.

            ๓. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า  วิธีปรุงรส  ชื่อว่าสูกรมัททวะ ก็สูกรมัททวะนั้นมาในรสายนศาสตร์.

            ๔. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สูกรมัทวะ ความว่า ไม่ใช่เนื้อสุกร แต่เป็นหน่อไม้ไผ่  ที่พวกสุกรแทะดุน.

            ๕. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า  เห็ด  ที่เกิดในถิ่นที่พวกสุกรแทะดุน.

            ๖. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า  บ่อเกิดแห่งรสชนิดหนึ่ง อันได้นามว่า  สุกรอ่อน.

            ๗. อีกพวกหนึ่งเห็นว่า  น่าจะเป็นอาหารบำรุงประเภทโสม  ซึ่งมีพวกสมุนไพรผสมอยู่ด้วย  ซึ่งเรียกว่า สูกรมัทวะ

            ในพระไตรปิฎก ฉบับฉลองศิริราชสมบัติ ๖๐ ปี กล่าวไว้ในเชิงอรรถ ว่า สูกรมัทวะ  หมายถึง เนื้อสันของสุกรที่เจริญเติบโตอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งกล่าวกันว่า อ่อนนุ่ม และอุดมด้วยไขมัน ได้รับการจัดแจงปรุงรสอย่างดี มีมติของอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า คำว่า สูกรมัทวะ หมายถึง ชื่อของวิธีปรุงน้ำซุปเบญจโครสผสมด้วยข้าวสุกนุ่ม  นอกจากนี้ ยังมีเกจิอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า “ชื่อว่าสูกรมัทวะ ได้แก่วิธีปรุงยาบำรุงกำลัง (รสายนวิธี) ชนิดหนึ่ง ซึ่งนายจุนทะตั้งใจปรุงเป็นพิเศษ ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงปรินิพพาน” อนึ่งในสูกรมัทวะนั้น เหล่าเทวดาในมหาทวีปทั้ง ๔ ซึ่งมีทวีปเล็กจำนวน ๒,๐๐๐ ทวีป เป็นบริวาร ต่างพากันใส่โอชารสเข้าไป (นัย ที.ม.อ. ๑๗๒)

            สรุปแล้วก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันต่อไปว่า สูกรมัทวะ คืออะไร แต่เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงต้องฉัน สูกรมัทวะ แล้วเกิดอาการประชวร ไม่ใช่พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงทราบ หากแต่เป็นกรรมเก่าที่พระองค์เคยสร้างไว้

บุพกรรมที่ทำให้ถ่ายด้วยการลงพระโลหิต

            การถ่ายด้วยการลงพระโลหิต  ชื่อว่า  อติสาระ  โรคบิด.ได้ยินว่าในอดีตกาล  พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี เลี้ยงชีพด้วยเวชกรรม.  พระโพธิสัตว์นั้น  เมื่อจะเยียวยาบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งผู้ถูกโรคครอบงำจึงปรุงยาแล้วเยียวยา  อาศัยความประมาทในการให้ไทยธรรมของบุตรเศรษฐีนั้น  จึงให้โอสถอีกขนานหนึ่ง  ได้กระทำการถ่ายโดยการสำรอกออก  เศรษฐีได้ให้ทรัพย์เป็นอันมาก.  ด้วยวิบากของกรรมนั้น  พระโพธิสัตว์จึงได้ถูกอาพาธด้วยโรคลงโลหิตครอบงำในภพที่เกิดแล้ว ๆ ในอัตภาพหลังสุดแม้นี้  ในปรินิพพานสมัย  จึงได้มีการถ่ายด้วยการลงพระโลหิต  ในขณะที่เสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะกัมมารบุตรปรุงถวาย  พร้อมกับพระกระยาหารอันมีทิพโอชะที่เทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นใส่ลงไว้.  กำลังช้างแสนโกฏิเชือก  ได้ถึงความสิ้นไป.

            ในวันเพ็ญเดือน  ๖  พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเพื่อต้องการปรินิพพานในเมืองกุสินารา  ประทับนั่งในที่หลายแห่ง กระหายน้ำทรงดื่มน้ำ  ทรงถึงเมืองกุสินาราด้วยความลำบากอย่างมหันต์  แล้วเสด็จปรินิพพานในเวลาปัจจุบันสมัยใกล้รุ่ง.   แม้เป็นพระพุทธเจ้ากรรมเก่าก็ไม่ละเว้น.  ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า

                ”เราเป็นหมอรักษาโรค  ได้ถ่ายยาบุตรของเศรษฐี   ด้วยวิบากของกรรมนั้น  โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา”

                 จะเห็นได้ว่าแม้เป็นอริยบุคคล ผู้สูงสุดคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังหนีกรรมเก่าไม่พ้น ไม่สามารถแก้กรรมได้ แต่ในปัจจุบันผู้ที่เรียกตนเองว่า ชาวพุทธกลับพยายามที่จะแสวงหาวิธีที่จะหลีกหนีจากกรรม หรือวิธีแก้กรรมกัน ซึ่งถ้ามีวิธีที่ว่าจริงพระพุทธเจ้า คงไม่ต้องรับเวทนาจากกรรมเก่าที่เคยกระทำมาในอดีตชาติ

                  ตอนต่อไปจะมีเรื่องใดๆเกิดขึ้นอีก นายจุนทะจะได้รับผลอย่างไรในการถวายสูกรมัทวะ โปรดติดตาม

                 ขออนุโมธนาบุญผู้มีบุญมากทุกท่าน ในการศึกษาพุทธประวัติ



ขอบพระคุณข้อมูลจาก : http://dhammaweekly.wordpress.com/2011/03/12/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B0-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%99/
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: