เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหารประวัติของวัดสระเกศ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมเรียกชื่อว่า วัดสะแก มีตำนาน เนื่องใน พงศาวดารเมื่อปีขาลจัตวาศกจุลศักราช ๑๑๔๔ พุทธ ศักราช ๒๓๒๕ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหารตั้งอยู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานคร วัดสระเกศมีข้อความปรากฏตามตำนานว่า เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าจะได้สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
เดิมมีชื่อว่า "วัดสะแก" เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวัดสระเกศเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๑ ตอนที่ได้สร้างกรุงเทพมหานครเป็น ครั้งแรกมีปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช๑๑๓๔ เบญจศก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๖นั้นพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้ลงมือก่อสร้างพระนครรวมทั้งพระบรมมหาราช วังและพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รวมผู้คนให้ขุดคลองรอบเมืองตั้งแต่บางลำพู เรื่อยไปจนจดแม่น้ำด้านใต้ตอนเหนือวัดจักรวรรดิราชาวาส แล้วโปรดให้ขุดคลอง หลอดแลขุดคลองใหญ่เหนือวัดสะแกอีกคลองหนึ่ง พระราชทานนามว่าคลองมหานาค เพื่อให้เป็นที่สำหรับประชาชนชาวพระนคร ได้ลงประชุมเล่นเพลงและสักวาใน เทศกาลฤดูน้ำเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุทธยาและวัดสะแกนั้นเมื่อขุดคลองมหา นาค แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า"วัดสระเกศ"และทรงปฏิสังขรณ์วัดสระเกศ ทั้งพระอารามตั้งต้น แต่พระอุโบสถตลอดถึงเสนาสนะสงฆ์และขุดคลองรอบวัดอีกด้วย คำว่า "สระเกศ" นี้ ตามรูปคำ ก็แปลว่าชำระหรือทำความสะอาดพระเกศานั่นเอง
มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ ๑๑ ว่า"รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณะปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร"ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า"ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่าๆกันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า 'วัดสระเกศ'
ประวัติของบรมบรรพต บรมบรรพตนี้ โดยมากเรียกกันว่า ภูเขาทอง สร้างเป็นรูปภูเขา มีพระเจดีย์อยู่บนยอด มีบันไดเวียนเ ป็นทางขึ้นไปถึงพระเจดีย์ ๒ ทางคือด้านเหนือทางหนึ่ง ด้านใต้ทางหนึ่ง สำหรับขึ้นและลงคนละทางเพื่อสะดวกในเวลาเทศกาล และยังมีบันไดตรงด้านใต้อีกทาง หนึ่งแต่บันไดตรงได้รื้อเสียเมื่อคราวบูรณะปฏิสังขรณ์ พ.ศ ๒๔๙๓ ฐานโดยรอบวัดได้
๘ เส้น ๕ วา ส่วนสูง ๑ เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก บรมบรรพตนี้ นับว่าเป็นปูชนียสถานอันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา แห่งหนึ่ง และเป็นสมบัติทรงคุณค่าของชาติอีกด้วยการสร้างบรม บรรพตนี้ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ ๓ ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช ประสงค์จะสร้างพระเจดีย์ให้เหมือนอย่างวัดภูเขาทองในจังหวัดพระนครศรีอยุทธ ยา ซึ่งที่วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นตั้งอยู่ที่ชายทุ่ง มีพระเจดีย์อยู่องค์หนึ่ง เป็นที่สำหรับชาวพระนครศรีอยุธยาลงไปประชุมเล่นเพลงและสักวาในเทศกาลประจำปี จุดประสงค์เดิมก็เพื่อจะไปนมัสการพระเจดีย์ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการประชุม รื่นเริงโดยทาง เรือกันอยู่ทรงพิจารณาเห็นว่าที่วัดสระเกศเป็นสถานที่เหมาะสมจึงโปรดให้ สมเด็จ พระบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองสร้างเมื่อแรกลงมือสร้างแล้ว พระราชทานนามว่า พระเจดีย์ภุเขาทอง
[ ข้อมูลเพิ่มเติม และ การเดินทาง ]ที่อยู่ : 344 ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทร.02-621-0576
เว็บไซต์ :
http://www.watsrakesa.comเวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน 8.00 น. - 17.00 น.
การเดินทาง : รถประจำทาง: สาย 8, 15, 37, 47, 49 ปอ. 37, 49
เรือโดยสาร: ท่าผ่านฟ้าลีลาศ (คลองแสนแสบ), ท่าภูเขาทอง (คลองผดุงกรุงเกษม)
รถส่วนตัว : จอดภายในบริเวณวัดได้
ค่าใช้จ่าย : คนไทยไม่คิดเงิน, ชาวต่างชาติ 10 บาท
เทศกาล : งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ 7 วัน 7 คืน ในช่วงวันลอยกระทง มีการจัดงานวัดที่ถือเป็นงานวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงเทพฯ และทางวัดจะเปิดให้ประชาชนขึ้นไปกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุในตอนกลางคืนเป็น ช่วงเวลาพิเศษ
สิ่งที่ไม่ควรพลาด : การขึ้นไปกราบนมัสการปิดทองพระบรมสารีริกธาตุ, ชมพระบรมบรรพต ภูเขาทองที่ชั้นบนสุด, การเข้าไปชมความงามของพระพุทธรูปและภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก :
http://www.watsrakesa.com รูปโดย golfreeze[at]packetlove.com