รวมภาพพระธาตุพระอรหันต์สายหลวงปู่มั่น ลักษณะการเกิดพระธาตุ
เหตุแห่งการเป็นพระธาตุ
"กระดูกของปุถุชนผู้มีกิเลสหนา ตัณหาเหนียว ย่อมมีโครงสร้างสลับซับซ้อน
ประกอบด้วยสารผสมเชิงซ้อนหลายชั้นจนมีสีดำ
กระดูกของผู้มีศีลธรรม ผู้มีกิเลศเบา ตัณหาบาง
ย่อมมีโครงสร้างโปร่งประกอบด้วยสารประกอบที่มีความสับสนน้อย มักมีสีเทา
กระดูกของพระอรหันต์ ผู้หมดจดปราศจากกิเลศตัณหา เพราะตัดสายอุปทาน (อันเป็นแรงร้อยยึดเหนี่ยว) เสียได้
กระดูกของท่าน
จึงสลายตัวกลายเป็นธาตุเดี่ยว กล่าวคือ ส่วนที่เป็นแคลเซียมก็รวมตัวกับแคลเซียม
ส่วนที่เป็นซิลิคอนรวมกับซิลิคอน มีสีและคุณ
สมบัติเป็นธาตุอันอิสระตามเดิม ซึ่งเรียกว่า พระธาตุดังนี้ "
จากหนังสือ พระไตรปิฏกฉบับพิเศษ ธรรมธาตุ ธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง ของ ไชย ณ พล
\\\"พระอริยะหรืออริยบุคคลที่ปฏิบัติธรรมถูกหลักธรรมจักรฯนั้น กายและ
ใจของท่านจะได้รับการซักฟอก
ชำระล้างด้วยวิมุตติธรรม
(ธาตุธรรมอันบริสุทธิ์แท้อยู่ระหว่างรูปกับนาม อยู่เหนืออนิจจังแห่งภพสาม)อนุสัย และ
อาสวะกิเลสทั้งหลายค่อยๆ ถูกขจัดออก
ไปจากส่วนต่างๆทั้งกายและใจ (ทุกส่วนของขันธ์ 5)
ส่วนต่างๆที่ลมปราณเคยผ่านไปถึงจึงค่อยๆกลายเป็นพระธาตุไป กล่าวอย่างย่อ
ก็คือว่า จิตอันบริสุทธิ์ของพระอรหันต์นั้น มีอำนาจซักฟอกธาตุขันธ์ให้เป็นธาตุอันบริสุทธิ์
จึงเกิดเป็นพระธาตุได้\\\"
หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญวิเวก ต.บ้านป่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พระอริยะสำคัญสายพระอาจารย์มั่น
และ เป็นสหายร่วม
ธุดงค์ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้เคยกล่าวไว้ว่า
\\\"อำนาจตบะที่อริยบุคคลได้ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรเพื่อขัดเกลากิเลสนั้น มิได้แผดเผา
ชำระล้างเฉพาะกิเลสเท่านั้น หากแต่ได้แผดเผา ชำระล้าง
ซักฟอกกระดูกในร่างกายให้กลายเป็นพระธาตุไปด้วยในขณะเดียวกัน\\\"
จากหนังสือพระบรมธาตุ ของ อ.บริภัทร
การบังเกิดขึ้นของพระธาตุจากส่วนต่างๆนั้น คุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต ได้สังเกตและจดบันทึกเป็นขั้นตอน
ดังนี้
การแปรพระธาตุจากผงอังคาร
พระธาตุหลวงปู่กอง จันทวังโส
วัดสระมณฑล จ.อยุธยา
1. ผงอังคาร (ถ่าน)
2. มีจุดเล็กเหมือนไข่ปลา สีขาวเทาเกิดขึ้น
3. ไข่ปลานั้นเริ่มโตขึ้น สีเทาดำ
4. สีเทาดำ เริ่มขาวขึ้น พระธาตุมีขนาดใหญ่ขึ้น
5. องค์พระธาตุสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งจะเข้าลักษณะเมล็ดข้าวโพด
การแปรเป็นพระธาตุจากอัฐิ
ชิ้นอัฐิที่กำลังแปรเป็นพระธาตุ
พระธาตุที่แปรสภาพจากอัฐิ 1. กระดูกตามธรรมชาติ
2. กระดูกเริ่มแปรเป็นพระธาตุแยกเป็น 2 ลักษณะ
2.1 กระดูกที่มีลักษณะเป็นฟองกระดูกเป็นรูพรุน ฟองกระดูกเริ่มหดตัว รวมตัวเข้าเป็นผลึก
ฟองกระดูกบางส่วนจะยังคงสภาพอยู่
2.2 กระดูกที่เป็นขิ้นยาว แนวเยื่อกระดูกที่เห็นเป็นเส้นบางๆ ต่อไปจะแปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุตามแนวเส้น
จะเกิดผลึกขยายขึ้นจนเต็มองค์
3. สภาพใกล้เป็นพระธาตุมากขึ้น
3.1 พระธาตุลักษณะนี้แปรสภาพจาก 2.1 ส่วนที่เป็นผลึกหินปูนจะมากขึ้น
ส่วนที่เห็นเป็นฟองกระดูกจะน้อยลง
ลักษณะเริ่มมน มีสัณฐานกลม
รี เมล็ดข้าวโพด เห็นส่วนฟองกระดูกติดเพียงเล็กน้อย
3.2 พระธาตุลักษณะนี้ มักจะคงรูปกระดูกเดิมไว้ โดยแปรจาก 2.2
เยื่อกระดูกที่เกาะเป็นผลึกหินปูนจะขยายตื้นขึ้นจนเกือบเต็มรูพรุนกระดูก
ประมาณเห็นส่วนกระดูกเหลือเพียง 10-20%
4. เป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์
ลักษณะการแปรเป็นพระธาตุจากเกศา
เกศาหลวงปู่สนั่น รักขิตสีโล
วัดป่าสุขเกษมนิราศภัย จ.สกลนคร
1. เส้นเกศาตามธรรมชาติ
2. เส้นเกศาหย่งตัวขึ้นและมารวมตัวกันเข้า ติดกันเป็นแพเล็กๆ
3. แพเหล่านั้นจะรวมเป็นก้อน
4. เริ่มลักษณะเป็นพระธาตุ สีน้ำตาลอ่อนคล้ายพิกุล
5. เป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์ สีพิกุลแห้ง หรือ นวล
นอกจากนี้ การเกิดพระธาตุจากอัฐินอกเหนือจากที่คุณหญิงสุรีพันธ์บันทึกไว้นั้น ยังมีอีก 2 ลักษณะ
ที่มีผู้สังเกตไว้ดังนี้
ลักษณะการแปรเป็นพระธาตุจากอัฐิ
1. อัฐิตามธรรมชาติ
2. เกิดองค์พระธาตุผุดขึ้นมาจากชิ้นอัฐิ
3. องค์พระธาตุมีขนาดใหญ่ขึ้น
4. หลุดออกมาเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์
ลักษณะการเกิดพระธาตุขณะฌาปนกิจ พระธาตุพระสิทธิสารโสภณ
วัดอาวุธวิกสิตาราม จ.กรุงเทพฯ
1. สภาพศพตามธรรมชาติ เมื่อทำการเผา
2. เกิดวัตถุธาตุส่องแสงเป็นประกายหยดออกมาจากร่างกาย
3. เมื่อกระทบกับสิ่งที่รองรับก็กลิ้งกระจายออกเป็นขนาดต่างๆ
4. กลายเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์
หมายเหตุ การเกิดพระธาตุลักษณะนี้ มีผู้บันทึกไว้เพียง 2 ท่าน ได้แก่ พระสิทธิสารโสภณ (สงวน โฆสโก) และ
อุบาสิกา บุญเรือน โตงบุญเติม
และอีกลักษณะหนึ่งซึ่งพบกันมาก คือ การที่พระธาตุเสด็จมาประทับรวมกับอัฐิ เหรียญ หรือ
รูปหล่อเคารพของครูบาอาจารย์เอง จึงอาจจะเรียกวิธีนี้ว่า ปาฏิหาริย์
พระธาตุที่เกิดขณะที่ท่านยังมีชีวิต
ลักษณะการพบพระธาตุขณะท่านยังมีชีวิตอยู่
พระธาตุชานหมากหลวงพ่อ
พระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ)
วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
สำหรับพระสงฆ์ที่ยังไม่ดับขันธ์ก็สามารถพบว่าเกิดพระธาตุได้เช่นกัน ที่มีประจักษ์พยานชัดเจน เช่น
กรณีของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่ได้ทำการผ่าตัดกระดูกสะบ้าหัวเข่า
พบว่ากระดูกสะบ้าหัวเข่าท่านกลายเป็นพระธาตุแล้ว
1. การผ่าตัดเปลี่ยนกระดูก แล้วกระดูกที่ออกมาพบว่าเป็นพระธาตุ
2. เกศาที่ปลงไว้ แปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุ
3. เล็บที่ตัดแปรเป็นพระธาตุ
4. ฟันที่หลุด หรือ ถอน กลายเป็นพระธาตุ
5. ชานหมากหรือน้ำหมากที่ท่านเคี้ยว ตกผลึกเป็นพระธาตุ
6. มีพระธาตุเสด็จไปประทับรวมกับรูป ล๊อกเก็ต หรือ รูปเหมือนของท่านเอง
ต่อไปท่านจะได้พบกับ
พระธาตุพระอรหันต์สายหลวงปู่มั่น (เป็นบางส่วนเท่านั้นครับ)
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน
หลวงปู่เทสก์ เทสรังษี
http://images.torrentmove.com/show.php?id=389bbb8ecc58882df3cc2979b3edead1
หลวงปู่เทสก์ เทสรังษี
หลวงปู่เทสก์ เทสรังษี
หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต
พระทันตธาตุหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
พระธาตุหลวงปู่ขาว อนาลโย เกศาและจีวรของท่าน
เส้นเกศาธาตุ หลวงปู่แว่น ธนปาโล
เส้นเกศาธาตุ หลวงปู่บุดดา ถาวโร
เส้นเกศาธาตุ หลวงปู่ชา สุภัทโท
เส้นเกศาธาตุ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
เกศาธาตุหลวง ปู่ขาว อนาลโย
หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร
หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร
หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร
หลวงปู่คำตัน ฐิตธัมโม
หลวงปู่คำตัน ฐิตธัมโม
หลวงปู่เข่ง โฆษธัมโม
หลวงปู่เข่ง โฆษธัมโม
หลวงปู่สิม พุทธจาโร
หลวงปู่สิม พุทธจาโร
หลวงปู่สิม พุทธจาโร
พระอาจารย์วัน อุตตโม
พระอาจารย์วัน อุตตโม
หลวงปู่ขาว อนาลโย
<มีต่อ> ครับๆ