พิจารณาความเรื่อง ปิติ และการเห็นไตรลักษณ์ ความเหมือนหรือความแตกต่าง
บทความนี้เป็นการย่อความจากคำบรรยายของท่านพุทธทาสเรื่อง “ สมาธิ วิปัสสนา ตามวิธีธรรมชาติ ” ซึ่งบรรยายไว้เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งธรรมสภาได้นำมาพิมพ์ใหม่เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีของการถือกำเนิดพระอริยสงฆ์นามพุทธทาส
......................................................................
การบรรลุจุดสูงสุดในทางศาสนาพุทธ คือมีความสุขอย่างยิ่ง หรือก็คือนิพพาน เกิดได้จากการที่จิตมีสมาธิจนควรแก่การทำงานทางจิต นั่นคือใช้จิตในการพิจารณาธรรมต่างๆจนกระจ่างแจ้งและหลุดพ้นไปได้
สมาธิที่ควรแก่งานทางจิต
เกิดได้ ๒ วิธี คือ โดยตามธรรมชาติ หรือสมาธิที่เราใช้ในการทำงานตามปกติ และโดยการบังคับเอาด้วยเทคนิค เช่นการเจริญวิปัสสนาต่างๆ ท่านพุทธทาสให้ความเห็นว่า อย่าได้ดูแคลนสมาธิตามธรรมชาติ เพราะในพุทธกาล มีผู้บรรลุอรหันต์มากมายโดยวิธีนี้
.
สำหรับการสร้างสมาธิ วิปัสสนาโดยวิธีธรรมชาตินั้น
กระบวนการเริ่มจากการศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาจนเข้าใจ มองโลกอย่างถูกต้องตามเป็นจริง แล้วรักษาศีล คือปรับปรุงในเรื่องกายวาจาให้ดี แล้วก็ดำเนินสมาธิ
แล้วการศึกษานั้น ควรศึกษาอะไร ?
“ พระพุทธศาสนาคือวิชา หรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ที่ว่ารู้อะไรเป็นอะไรนั้น คือ รู้ทุกสิ่งว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัตว์หลงไปในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ก็เพราะอำนาจของอุปาทาน จึงได้ติดแน่นอยู่ในสิ่งเหล่านั้น ไตรสิกขา เป็นวิธีปฏิบัติสำหรับจะให้ตัดอุปาทานได้ และชี้บอกว่า ขันธ์ ๕ หรือส่วน ๕ ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลกนี้เอง เป็นที่ตั้งเกาะของอุปาทาน ฉะนั้น เราจะต้องศึกษาให้รู้จักตัวขันธ์ห้า หรือโลกทั้งสิ้นนี้ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริง จึงจะเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดชนิดที่เป็นญาณทัสสนะ ทำการปล่อยวางหลุดพ้นได้ ”
สมาธิที่ควรแก่งานทางจิต
เกิดได้ ๒ วิธี คือ โดยตามธรรมชาติ หรือสมาธิที่เราใช้ในการทำงานตามปกติ และโดยการบังคับเอาด้วยเทคนิค เช่นการเจริญวิปัสสนาต่างๆ ท่านพุทธทาสให้ความเห็นว่า อย่าได้ดูแคลนสมาธิตามธรรมชาติ เพราะในพุทธกาล มีผู้บรรลุอรหันต์มากมายโดยวิธีนี้
.
สำหรับการสร้างสมาธิ วิปัสสนาโดยวิธีธรรมชาตินั้น
กระบวนการเริ่มจากการศึกษาพุทธศาสนา ศึกษาจนเข้าใจ มองโลกอย่างถูกต้องตามเป็นจริง แล้วรักษาศีล คือปรับปรุงในเรื่องกายวาจาให้ดี แล้วก็ดำเนินสมาธิ
แล้วการศึกษานั้น ควรศึกษาอะไร ?
“ พระพุทธศาสนาคือวิชา หรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ที่ว่ารู้อะไรเป็นอะไรนั้น คือ รู้ทุกสิ่งว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัตว์หลงไปในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ก็เพราะอำนาจของอุปาทาน จึงได้ติดแน่นอยู่ในสิ่งเหล่านั้น ไตรสิกขา เป็นวิธีปฏิบัติสำหรับจะให้ตัดอุปาทานได้ และชี้บอกว่า ขันธ์ ๕ หรือส่วน ๕ ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลกนี้เอง เป็นที่ตั้งเกาะของอุปาทาน ฉะนั้น เราจะต้องศึกษาให้รู้จักตัวขันธ์ห้า หรือโลกทั้งสิ้นนี้ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริง จึงจะเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดชนิดที่เป็นญาณทัสสนะ ทำการปล่อยวางหลุดพ้นได้ ”
เมื่อศึกษาอย่างถ่องแท้ เกิดทัศนคติที่ถูกต้องต่อธรรมชาติ จึงรักษาศีล สิ่งที่จะเกิดตามมาคือสิ่งที่เรียกว่า ปราโมทย์ และ ปิติ ในทางธรรม
.
...ปิติ..ที่เกิดอย่างสม่ำเสมอนี้เอง เป็นตัวนำไปสู่สมาธิ
นั่นคือ เมื่อทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทำทานหรือให้ธรรมทาน หรือพอใจในตนเองว่ารักษาศีลจนตนไม่ด่างพร้อย ก็เกิดความเคารพตนเอง จึงเกิดความปราโมทย์ และ ปิติ ขึ้น
ปิตินั้นมีอำนาจอยู่ในตัวอย่างหนึ่ง คือทำให้เกิด ปัสสัทธิ ความสงบระงับ เมื่อมีความสงบระงับ ก็ย่อมเกิดสมาธิ คือจิตอยู่ในสภาพที่เป็น กมฺมนิโย อันเป็นจิตที่มีสมาธิที่แท้จริงในการปฏิบัติธรรมจนเกิดปัญญาเพื่อตัดกิเลส
เมื่อพิจารณา
...ไตรลักษณ์..ด้วยปัญญาอย่างสม่ำเสมอ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่เกิดตามมาคือยถาภูตญาณทัสสนะ หรือก็คือที่ท่านสรุปสั้นๆคือเห็นว่า ไม่มีอะไรน่าเอา ไม่มีอะไรน่าเป็น
จนเมื่อความรู้สึกแรงกล้าขึ้น ก็จะเกิดนิพพิทา หรือความเบื่อหน่าย อยากปลดเปลื้องตนเองจากการเป็นทาสกิเลสขึ้น ตามสัดส่วนของการเห็น
เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมเกิด วิราคะ หรือความคลายกำหนัดตามมาเองโดยธรรมชาติ
สิ่งที่ตามมาคือ วิมุตติ คือความหลุดออกได้
เมื่อมีความหลุดออกได้ ไม่ตกเป็นทาสของโลกอีกต่อไป ก็จะมีอาการที่เรียกว่า วิสุทธิ คือบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง
เมื่อบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า สันติ คือความสงบอันแท้จริงสืบไป เป็นความร่มเย็นที่ปราศจากการรบกวน ปราศจากการดิ้นรนต่อสู้
...จากสันติ ก็คือนิพพาน... ท่านพุทธทาสว่าสันติกับนิพพานนี้แทบจะไม่ต้องแยกกัน ที่แยกกันก็เพื่อจะได้เห็นว่าเมื่อสงบ ก็นิพพาน
“ สรุปความว่า สมาธิ และวิปัสสนาตามธรรมชาติที่ทำให้บุคคลบรรลุมรรคผลได้ในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคตรงที่นั่งฟังนั้นเอง และเป็นวิธีที่เหมาะกับทุกคนนั้น ตั้งอาศัยอยู่บนรากฐานแห่งการพิจารณาความจริงในข้อที่ว่า ไม่มีที่น่าเอาน่าเป็นอยู่เป็นประจำทุกวัน
.
ผู้หวังจะได้ผลอันนี้จะต้องพยายามทำตนให้เป็นคนสะอาด มีอะไรเป็นที่พอใจตัว จนยกมือไหว้ตนเองได้ มีปิติปราโมทย์ตามทางธรรมอยู่เสมอ ไม่ว่าในเวลาปฏิบัติงานในหน้าที่ หรือเวลาพักผ่อน ปิติปราโมทย์นั้นเองทำให้เกิดความแจ่มใสสดชื่น มีใจสงบระงับ เป็นปัสสัทธิ เป็นเหตุให้มีสมาธิตามธรรมชาติอยู่อย่างอัตโนมัติ จนเห็นความจริงที่ว่า ไม่มีอะไรที่น่าเอาน่าเป็นอยู่เสมอ
.
ขณะใดเป็นไปแรงกล้า จิตก็หน่าย คลายกำหนัดจากสิ่งที่เคยยึดถือ หลุดออกมาได้จากสิ่งที่เคยยึดถือ แม้แต่การยึดถือว่าเป็นตัวตน หรือของตน ไม่มีความหลงอยากในสิ่งใดด้วยกิเลสตัณหาอีกต่อไป ความทุกข์ไม่มีที่ตั้งอาศัย ก็สิ้นสุดลง ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ไม่มีอะไรที่จะต้องทำให้เพื่อให้ตนพ้นทุกข์อีกต่อไป นับว่าเป็นของขวัญที่ธรรมชาติมีไว้สำหรับทุกคนโดยแท้จริง”
และขอนำคำบรรยายของพระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ.ปยุตฺโต ) มาเพิ่มเติมไว้ดังนี้
“ กล่าวคือ ในกระบวนการปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้ผลก้าวหน้าไปสู่จุดหมายนั้น ท่านจะกล่าวอยุ่เสมอถึงองค์ธรรมต่างๆที่จะเกิดตามกันมาเป็นชุด ได้แก่ เกิดความแช่มชื่นเบิกบาน ( ปราโมทย์ ) แล้วก็
...เอิบอิ่มใจ ( ปิติ)... จากนั้นกายใจก็ผ่อนคลาย ( ปัสสัทธิ) ความสุขก็เกิดตามมา ( สุข ) แล้วจิตกํตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว ( สมาธิ ) ต่อแต่นั้นก็สามารถเกิดญาณทัสสนะ ตลอดไปจนถึง
...วิมุตติ คือความหลุดพ้นไปในที่สุด.... ”
..........................................................................
อ้างอิง
พุทธทาสภิกขุ วิธีชนะความตาย ( หน้า ๑ – ๓๕ ) ธรรมสภา ๑ / ๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ. ปยุตฺโต ) รู้หลักก่อน ( หน้า ๖๔ ) ธรรมสภา ๑ / ๔-๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ขอบคุณ
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=379931..
.....ประเมินจากบทความนี้คือ ปิติก่อน ตามด้วย สมาธิ เห็นไตรลักษณ์ และนิพพาน......โมทนาบุญ