phonsak « ตอบ #2 เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:29:00 am »
armageddon เขียน:
หมัดเด็ดน๊อคเอาท์มารพลศักดิ์
อนัตตา ไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้
อัตตา ก็อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ อ่ะจิ ครับตอบขันธ์ 5 เป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรเลย
ธรรมขันธ์ (ธรรมกาย) เป็นอัตตา เพราะอยู่ในวิสัยที่บังคับบัญชาได้ ไม่ให้เกิด ไม่ให้แก่ ไม่ให่เจ็บ ไม่ให้ตาย และจะเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรก็ได้ เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านจะเปลี่ยนเป็นใครก็ได้
จริงหรือ....ถ้านิพพานเป็นอัตตา ศาสนาพุทธก็คงไม่ต่างอะไรกับศาสนาอื่น?
ถ้านิพพานเป็นอัตตา ศาสนาพุทธก็คงไม่ต่างอะไรกับศาสนาอื่น ที่ปฏิบัติให้ถึงที่สุดเพื่อไปอยู่กับพระเจ้า..
อย่างนี้การนับถือศาสนาก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเลือก เพราะศาสนาไหนก็สอนธรรมอันเป็นที่สุดไม่ต่างกัน..
ท่านพลศักดิ์ว่าไหม..
ถามมาด้วยความเคารพ!
ตอบศาสนาอื่นๆ เช่น คริสต์ มุสลิม ฮินดู ฯลฯ เขาสอนให้คนไปอยู่กับพระเจ้า ไปพึ่งพาอาศัยพระเจ้า และรับสวรรค์รวมทั้งพรหมโลกต่างๆของพระเจ้าเท่านั้น
ไม่มีศาสนาใดที่สอนให้คนไปเป็นพระเจ้าเองเลย ยกเว้นศาสนาพุทธ เมื่อคุณบรรลุอรหันต์ ก็คือได้ธรรมกาย หรือนิพพานธาตุ นั่นแหละคือ คุณเข้าสู่ความเป็นพระเจ้า ศาสนาพุทธเรียกพระเจ้าว่า "พุทธะ" พระอรหันต์สาวกก็คือ "อนุพุทธะ"
ผมจะบอกคุณนะ นิพพานเป็นอัตตา เพราะนิพพานคือธรรมกายดวงใหญ่สุด ที่เป็นต้นกำเนิดธรรมกายอื่นๆ รวมทั้งธรรมกายของพระพุทธเจ้าต่างๆด้วย
พวกเราทุกคนระเบิดตัวเองออกมาจากธรรมกายดวงใหญ่สุด แยกตัวเองเป็นองค์เล็กๆ ธรรมกายองค์เล็กๆนี้ก็ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมกายดวงใหญ่สุด ศาสนาพราหมณ์เขาพูดถูกในส่วนนี้ เขาเรียกธรรมกายดวงใหญ่สุดว่า "ปรมาตมัน" และเรียกธรรมกายองค์เล็กๆว่า"อาตมัน"
นิพพานก็คือ ธรรมกายองค์เล็กๆ"อาตมัน" เข้าไปอยูกับธรรมกายดวงใหญ่สุด "ปรมาตมัน"
หลวงปู่ดุลย์ อตโล อธิบายว่า:
" โดยปราศจากรูปปรมาณู(หมายถึง ดับวิญญาณธาตุและดับนามรูปแล้ว) ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน"
ความว่างที่บริสุทธิ์และสว่างแต่ละดวง รวมเข้ากับ ความว่าง บริสุทธิ์ สว่างของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน" = อาตมัน เข้าไปรวมเข้ากับ ปรมาตมัน..... ตามที่ศาสนาพราหมณ์สอนไว้จริงๆ
ศาสนาพราหมณ์เขาพูดผิด คิดผิดตรงที่ เขาคิดว่าขันธ์ 5 เป็นอาตมัน เป็นอัตตา เพราะวิญญาณไม่มีวันตาย เพียงแต่ออกจากร่างนี้ไปอยู่ร่างอื่น เหมือนเปลี่ยนเสื้อผ้า พระพุทธเจ้าได้ปฏิเสทความคิดท่อนนี้ และสอนให้ชัดเจนว่า "อาตมัน" ที่ไม่มีวันตายนั้นคือ "อรหันต์" = อัตตา ส่วนสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อรหันต์ เช่น มนุษย์ สัตว์ เทวดา พรหม และอรูปพรหม สิ่งเหล่านั้นตายได้ทั้งนั้น
และพระพุทธองค์ยังสอนทางเข้าไปสู่ความเป็น"อาตมัน" ที่ไม่มีวันตาย หรือ "อรหันต์" ซึ่งเป็น อัตตา นั้นด้วย
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ โทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่ง นิพพานธาตุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ" นี่เป็นวิธีเดียวเท่านั้น ที่จะนำเรากลับเข้าไปเป็น
อัตตา(สิ่งที่เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา) ถ้าเรากำจัดราคะ โทสะ โมหะไม่หมด เราก็ยังเป็นสิ่งที่เป็น
อนัตตา อยู่ดี
ยังงงกันอยู่เหรอว่า...ทำไมนิพพานเป็นอัตตา หรืออสังขตธาตุ?คุณจิ๊กเปงเขียน:
1. อัตตา มีความหมายในทางยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน ของเรา ตัวเรา ซึ่งเป็นความเห็นผิด
2. พระพุทธศาสนา จึงไม่สอน นิพพานเป็นอัตตา คุณพลศักดิ์เอานิพพานเป็นอัตตามาจากไหน
3. นิพพานก็นิพพาน อัตตาก็อัตตา คนละเรื่องกัน ตอบ1. อัตตา มีความหมายในทางยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตน ของเรา ตัวเรา = อัตตานุทิฏฐิ หรือ อุปทาน
2. พระพุทธศาสนา จึงไม่สอน นิพพานเป็นอัตตา.... เป้าหมายของพระพุทธศาสนา คือ หนีออกจากอัตตนุทิฏฐิ โดยปฏิบัติสมถและวิปัสสนากรรมฐาน จนรู้อย่างจริงๆว่า อัตตานุทิฏฐิ ล้วนมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงเรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา เมื่อรู้อย่างเด่นชัดแล้ว จิตจะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ถอนกิเลส ตัญหา อุปทานได้ จึงได้ธรรมกาย(อายตนนิพพาน) ที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย
สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว) "สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา" 3. นิพพานก็นิพพาน อัตตาก็อัตตา คนละเรื่องกัน.... นิพพานก็คืออัตตา ในความหมายว่าเที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนตามกาลเวลา อัตตาของโลก คือ อัตตานุทิฏฐิ เป็นคนละเรื่องกับอัตตาทีพระพุทธเจ้าพูดถึง
นิพพาน = อสังขตธาตุ = อัตตา = ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย
อัตตาของโลก = อุปทาน หรืออัตตานุทิฏฐิ = มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย -------------------------------------------------------------
อ้างอิงผมขออนุญาตนำเอาพุทธพจน์ต่างๆเรื่องอัตตานุทิฏฐิ อัตตา อนัตตา มาถก เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไป
1. อัตตานุทิฏฐิ หรือ อัตตวาทุปาทาน สิ่งนี้เป็นอุปทาน หรือ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บางท่านเรียกว่า อัตตาของโลก
อัตตานุทิฏฐิ = ผู้ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา ทั้งๆที่มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน(อัตตา)ของเรา เขาหลงยึดมั่นถือว่าเป็นอัตตา เป็นตัวตนของเขา
ขันธสังยุตต์ - จุลปัณณาสก์ - ทิฏฐิวรรค - ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งอัตตานุทิฏฐิ
[๓๕๘] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดอัตตานุทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีอัตตานุ
ทิฏฐิ. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย
วิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ.
[๓๕๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๗.
2. ที่ท่านเรียกว่า อัตตาของโลก = อุปทาน หรือมิจฉาทิฏฐิ นั้น พระพุทธเจ้าเรียกสิ่งนี้ว่า "อนัตตา"
อนัตตลักขณสูตรภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตา
3. นิยาม "อัตตา" ในอนัตตลักขณะสูตร
จากอนัตตลักขณสูตรเช่นกัน พระพุทธองค์ให้นิยามคำว่า "อัตตา" ไว้ชัดเจน
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย....
ถ้ารูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ว่า รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย "
4. จากท่อนจบที่พระพุทธเจ้าถามปัญจวัคคีย์
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตต
สรุป ถ้ามีรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ใด ที่ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสิ่งนั้นว่า ขอให้มันเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย สิ่งนั้นก็เป็น "อัตตา"และพระพุทธองค์ยังตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ เพื่อสอบความเข้าใจด้วยว่า :
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ตอนนี้พระพุทธเจ้าฝากผมมาถามคุณนักดาบพเนจรว่า:
ภ. ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
คุณจิ๊กเปง ตอบว่า
....... ข้อนั้น ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อัตต�
อัตตา จึงเท่ากับ สิ่งที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้วอะไรล่ะที่เป็นอัตตา....ก็อสังขตธาตุ ยังไงล่ะ ดูลักษณะของอสังขตธาตุนะครับ
ลักษณะของอสังตธาตุอสังขตธาตุ หมายถึง ธาตุที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง และมีลักษณะความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมสลายไม่ปรากฏ ๑ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนไม่ปรากฏ ๑
ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณ ะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด = ไม่เกิด
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.
ท่านเข้าใจเรื่อง อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม หรือยัง? อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม ก็เป็นธรรมอันลุ่มลึกที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพบ และนำมาสอน
1. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนไม่มั่นคงและถึงทั่วแล้วซึ่งสักกายะ คือความทุกข์" ดังนี้"
พวกเราก็คือ จิต(สังขาร)ที่ทำให้เกิดขันธ์ 5 ในมนุษย์และสัตว์ และพวกเทพพรหมเปรต ฯลฯ ที่มีขันธ์ 4, 3, 2,1 แล้วแต่ภพภูมิที่เขาอยู่ และสถานะที่เขาเป็น (ยกเว้นพระนิพพาน)
2. ทุกสรรพสิ่งและสรรพชีวิต ต้นไม้ น้ำ .... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหมในชั้นโลกีย์ทุกชั้น ...ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นอนิจจัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่
นิพพานเป็นสภาวะที่ต่างออกไป คือ มันเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ และไม่เป็นอนิจจัง พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียกอนัตตา ที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ และไม่เป็นอนิจจัง ว่า "อัตตา" 3. ด้วยเหตุนี้ จากข้อ 1 และ 2 ในความว่างที่เป็นสุญญตา จึงแบ่งเป็น
(1.) ความว่างที่ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป = อนัตตา
(2.) ความว่างที่เที่ยง และไม่เป็นทุกข์ ไม่มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ ไม่เกิดขึ้น ไม่ตั้งอยู่ และไม่ดับไป = อัตตา
พระเทพสิทธิมุนี (พระอาจารย์โชฎก ญาณสิทธิ) " พระอรหันต์มี ความว่างจากตัวตน-ของตน โดยสิ้นเชิง มีอิสระเหนือทุกอย่าง ที่เรียกว่า "ว่าง" นี้ คือไม่ใช่ว่างชนิดที่เขาพูดกันว่า เช่นว่า จิตนึกคิดอะไรไม่ได้ กายก็แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ที่ถูกนั้น เป็นความว่างจากกิเลส ว่างที่เฉลียวฉลาดที่สุด
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต " สูญในพระนิพพานมีขอบเขต สูญจากกิเลสเท่านั้น รสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม
เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก" สรุป อนัตตาธรรม หรือ สุญญตาธรรม เป็นความว่าง ความว่างมี 2 แบบ
1. ความว่าง ที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มูลเหตุของการเกิดมาจากอวิชชาและกิเลส
2. ความว่าง ที่เป็นนิจจัง สุขขัง อัตตา(อนัตตาที่เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่เป็นอนิจจัง) เป็นผลมาจาก จิตว่างจากกิเลส หรือ จิตสูญจากกิเลส