KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐานคุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอมวิถีแห่งท่าน phonsak(w)
หน้า: [1] 2 3 ... 7
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิถีแห่งท่าน phonsak(w)  (อ่าน 117797 ครั้ง)
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 02:39:50 AM »

ผมอยากจะเอาชนะลุงphonsakw ไปเพื่ออะไรกัน.......?  ลุงรู้ใจผมไหม รีบเข้าฌานมา....? ปรมจารย์พระอรหันต์พลศักดิ์ ทายใจผมไปเลย....?

ถ้าทายผิดเป็นปรมจารย์พระอรหันต์พลศักดิ์ ของ เก๊....อวดอุตตริ...มั่วไปวันๆ

ถ้าทายถูก ผมจะลงไปกราบแทบเท้าท่านทีเดียวเชียว....            

ให้เวลาคุณลุงคิด ๒๔ ชม.นับจากนี้...๐๒.๓๒.๒๒น.

แล้วมาดูกันถ้าไม่มาตอบผมปรับคุณลุงแพ้อยู่ดี....ผมรู้คุณลุงอ่านคำถามจบไปแล้ว

ทายผิดกระทู้ทั้งหมดของคุณลุง จะถูกรวบรวมไว้เป็นกองเดียวกัน....จะได้ไม่เปะปะเลอะเทอะเว็บบอร์ดนะจ๊ะ.....เดี๋ยวจัดให้... ยิ้มเท่ห์

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2010, 07:52:55 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 02:45:56 AM »

                                                 

                                                        TIME'S   UP
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 07:52:05 PM »

ผมขออนุญาตรวรวมกระทู้ของคุณลุงphonsak(w)ทั้งหมดเอาไว้ในหัวข้อกระทู้เดียวกันครับ

เพื่อเอาไว้สำหรับท่านที่จะเข้ามาศึกษาในแนวทางของคุณลุงphonsak(w)จะได้ไม่ต้องโยกไปมาหลายกระทู้

สำหรับคุณลุงphonsak(w)มีอะไรจะนำเสนอตามแนวทางของท่านก็เข้ามาโพสต์ได้ตามปกติครับ

ท่านที่จะเข้ามาศึกษาในแนวทางของคุณลุงphonsak(w) หรือมีคำถามสำหรับท่านก็เข้ามาที่นี่ได้เลยครับ
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:02:45 PM »

สติปัฏฐาน 4 เป็นโปรแกรมฆ่าไวรัสอวิชชาที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ


จิตเริ่มต้นของเราเป็นพุทธะ  เป็นอมตะ ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร  จิตพุทธะเริ่มต้นตัวนี้คือ "อสังขตธาตุ" ไม่มีจุดเกิด ไม่มีจุดตาย  ใครจะเรียกว่า "พระเจ้า" ก็ไม่ผิด  แต่ถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง ต้องเรียกว่า "นิพพาน" หรือ "นิพพานจิต"

จิตเริ่มต้น ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ มันจึงเป็นอมตะ  จุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธคือ ให้เรากลับไปหา และไปเป็นจุดเริ่มต้น

“....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ โทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่ง นิพพานธาตุ...."
"....ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ...."

จิตเริ่มต้นที่ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ และเป็นอมตะตัวนั้นแหละ = อัตตา = นิพพานจิต = นิพพานธาตุ = พระเจ้า =พระอรหันต์

- คนทุกคนในโลก ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ล้วนแล้วแต่ถูกไวรัสอวิชชา หรือไวรัสกิเลสตัณหา ครอบงำจิตใจ  หลังจากที่เราเหล่าพุทธะให้อิสระกับจิตปกัสสรของพวกเรา สามารถเข้าไปอยู่ในภพภูมิอื่นๆที่ไม่ใช่นิพพานได้   อย่างไรก็ตาม ภพภูมิเหล่านั้นล้วนเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงทั้งนั้น แม้แต่ภพภูมิรูปพรหมและอรูปพรหมก็ไม่เที่ยง เพราะตั้งอยู่ได้นานช่วงหนึ่ง  มากที่สุดคือ อรูปพรหม อยู่ได้นาน 84,000 มหากัป ก็ต้องตาย(จุติ) 

- สิ่งใดที่ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง และสิ่งใดที่เป็นทุกข์  สิ่งนั้นแหละเรียกว่า "อนัตตา"  ส่วนสิ่งใดที่เที่ยง เป็นนิจจัง และไม่มีทุกข์  ในอนัตตลักขณะสูตร พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า "อัตตา"

ถ้าเรายังกำจัดไวรัสอวิชชาไม่ได้  เราย่อมทำให้ไม่รู้ว่าตนเองคือพุทธะ หรือพระเจ้า

- สติปัฏฐาน 4 เป็นโปรแกรมฆ่าไวรัสอวิชชาที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ ก่อนหน้านั้น ศาสนาพราหมณ์ค้นพบสมถะกรรมฐาน หรือสมาธิ ซึ่งเป็นโปรแกรมฆ่าไวรัสอวิชชาอีกแบบหนึ่ง แต่โปรแกรมสมถะกรรมฐาน ใช้เวลานานมากกว่าโปรแกรมฆ่าไวรัสอวิชชาด้วยสติปัฏฐาน 4

พระพุทธองค์ทรงสอนให้ใช้ทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน(สติปัฏฐาน 4)ร่วมกัน จึงจะเข้าใจความจริงของโลกและพระนิพพานได้อย่างกระจ่าง เป็นพระอรหันต์ที่มีอภิญญาครบถ้วน

แต่ถ้าใช้แค่สติปัฏฐาน 4(วิปัสสนากรรมฐาน)อย่างเดียว  แม้ว่าจะฆ่าไวรัสอวิชชาได้หมด และเข้าถึงพระนิพพานได้เช่นกัน    แต่ก็จะไม่เข้าใจเรื่องโลกและภพภูมิต่างๆในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่อย่างกระจ่าง  เรียกว่า "อรหันต์แห้งแล้ง หรืออรหันต์สุกขวิปัสสโก"
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:03:38 PM »

อ้างจาก: golfreeze ที่ กรกฎาคม 13, 2010, 08:26:46 pm
ถ้าจิตเริ่มต้นของ เรานั้น ไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ แล้วเพราะเหตุใดเราจึงต้องมาเกิด
แล้วยังให้มี ราคะ โทสะ โมหะ ในชาติปัจจุบันหรอครับท่าน




ดีครับที่สงสัย     องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสบอกกับสาวกฝ่ายเถรวาทว่า

" ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โขอาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ " 

แปลว่า "ภิกษุทั้งหลายจิตนี้ปภัสสร ก็จิตนั้นแล ถูกอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมาทำให้เศร้าหมองแล้ว"
(เอกนิบาต อังคุตตรบาลี ฉบับฉัฏฐะ เล่มหนึ่ง หน้า ๙ ข้อ ๔๙/๕๐)

จิตปภัสสร คือ จิตที่บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสตัณหาทั้งปวง ปภัสสรคือ ขาวบริสุทธิ์ เมื่อเป็นดังนั้น จิตปภัสสรเริ่มแรกจึงเป็นจิตที่ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ เมื่อไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ = เราเคยเป็นนิพพานธาตุ และเป็นอมตะมาก่อน  เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ โทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ"

ย้ำ!! เมื่อจิตเราเป็นประภัสสร  ก็คือ มันไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ  = เราเคยเป็นนิพพานธาตุ และเป็นอมตะมาก่อน   

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เรียกนิพพานว่า "กลับบ้านเก่า"
หลวงพ่อสดบอกว่า "ช้าเร็วเราก็ต้องเข้านิพพานกันหมด"

ต้นตอของอวิชชามาจากไหน???

ถึงได้มาหลอก จิตนิพพานเริ่มแรกของเราให้ติดใจหลงใหลในภพ 3 ได้  เพราะตัวจิตปภัสสรหรือนิพพานเอง มันเองเป็นจิตผู้รู้ แล้วมันจะมาเสียท่ากิเลสอวิชชาจึงเป็นไปไม่ได้เด็ดขาด

นอกเสียจากว่า จิตปภัสสร หรือจิตนิพพานเริ่มแรก ที่เป็นจิตผู้รู้  พวกมันยอมไปเปิดสวิชท์ปล่อยให้กิเลสอวิชชาเช้ามาในจิตปภัสสรเอง ให้จิตปภัสสรเหล่านั้นลืมความเป็นพุทธะ(พระเจ้า)ของตัวเอง

      ในคัมภีร์อุปนิษัทระบุเหตุผลไว้ชัดเจนว่า "พระเจ้า(พุทธะ)ที่ไม่ทุกข์และเป็นอมตะ ไม่ยอมทรงสภาวะอมตะเอาไว้"

นั่นแหละคือเหตุผล:  พวกเราเหล่าพุทธะไม่ยอมทรงทรงภาวะที่ไม่ทุกข์และเป็นอมตะเอาไว้เอง  เราทำเช่นนี้เพื่ออะไรกันล่ะ  ต้องไปอ่านต่อใน กระทู้ตอบปริศนาชั่วนิรันดร์: พวกเราแท้จริงเป็นใคร? เกิดมาเพื่ออะไร?
 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:06:19 PM »

จิตมีดวงเดียว แต่นิยามของมันกลับมี 2


ธรรมะ คือธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว คือ จิต    แต่ธรรมชาติหรือจิตนี้มี 2 ชนิด ได้แก่

1. จิตสังขาร หรือจิตในปฏิจจสมุปบาท

จิตตัวนี้เป็นตัวที่อยู่ในโลกและจักรวาล  เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์  ที่เรียกว่า  วิญญาณธาตุ  ที่พูดถึงในพุทธศาสนาก็คือ  จิต หรือจิตสังขาร ตัวนี้นั่นเอง

2. จิตพุทธะ หรือนิพพานจิต หรือจิตหลุดพ้น หรือจิตพ้นวิเศษ

จิตพุทธะตัวนี้เป็นตัวที่เป็นที่พระพุทธเจ้าเจอและพบทางไปถึงได้ แล้วนำมาสอนให้พวกเราเข้าถึงให้ได้ จะได้พ้นทุกข์ทั้งปวง ธรรมชาติหรือจิตพุทธะตัวนี้ แหละที่เรียกว่า นิพพาน ซึ่งเป็น ธรรมชาติที่รู้แจ้ง(สัพพัญญู), สภาวะที่แจ่มใส และเป็นสุขอันหมดจด มีอานุภาพเหนือกว่าสุขทั้งปวง, ไม่จุดเกิด(จุดเริ่มต้น),ไม่มีการเสื่อม, ไม่มีความโศกไม่มีการเจ็บ, ตั้งอยู่ ไม่แปรปรวนมีเสภียรภาพสถาพรไม่มีความตาย(จุดสิ้นสุด) ) และไม่มีที่สุด อมตะนิรันดร์ 

พระสูตรในนิกายเซ็น: พระพุทธเจ้าตรัสว่า " ดูกรกัสสปะ ท่านมีธรรมจักษุครรถ์อันถูกต้อง เพราะนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะ เธอพึงรักษาไว้ให้ดี ”


พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดีอย่างไร จิต ของภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้วจากราคะ หลุดพ้นแล้วจาก โทสะ หลุดพ้นแล้วจากโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี อย่างนี้แล ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ นาถกรณวรรค อริยวสสูตรที่ ๒


อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าตาม นิยามแล้ว เหมือนกับว่าจิตมี 2 ตัว  แต่แท้จริงจิตนั้นกลับมีตัวเดียว

จิตที่เป็นแก่นบริสุทธิ์ อยู่ภายในจิตสังขารที่เป็นเปลือก
นิพพานจิตอยู่ภายในจิต(กายทิพย์ หรืออทิสมานกาย)
จิตพุทธะอยู่ภายในจิตที่สกปรกเละเทะของคุณ

ดวงอาทิตย์ ไม่มีเมฆใดๆ บังอยู่  มันก็เป็นดวงอาทิตย์ดวงเดียวกับที่โดนเมฆบดบังแสง

หากคุณเข้าใจ  คุณก็ย่อมหาจิตพุทธะที่เป็นแก่นเจอเมื่อเอาจิตสังขารเฮงซวยของคุณออกไป  เพราะจิตมี 1 เดียว  ที่บดบังมันอยู่คือ กิเลสตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ และความยึดมั่นถือมั่นเท่านั้น  สิ่งเหล่านี้ คือ จิตสังขารเป็นจิตเก๊ มันเป็นเพียงสิ่งที่มาลวงตาลวงจิตคุณเท่านั้น

แต่คุณอย่าไปบอกว่าพระไตรปิฎกบอกว่าจิตมี 89/121 ดวงนะ  ไอ้นั่นมันตีความผิด,   89/121 ดวง เป็นอารมณ์ของจิต หรืออาการของจิต  วันหลังจะเล่าให้ฟัง
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:08:06 PM »

จิตมีดวงเดียว แต่นิยามของมันกลับมี 2 ดวง ภาค 2


ในภาคแรก http://www.kammatan.com/board/index.php?action=post;topic=765.0;num_replies=1
ที่ผมเขียนว่า:

หากคุณเข้าใจ  คุณก็ย่อมหาจิตพุทธะที่เป็นแก่นเจอเมื่อเอาจิตสังขารเฮงซวยของคุณออกไป เพราะจิตมี 1 เดียว  ที่บดบังมันอยู่คือ กิเลสตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ และความยึดมั่นถือมั่นเท่านั้น  สิ่งเหล่านี้ คือ จิตสังขารเป็นจิตเก๊ มันเป็นเพียงสิ่งที่มาลวงตาลวงจิตคุณเท่านั้น

ท่อนนี้ต้องอธิบายว่า  จิตพุทธะ หรือนิพพานจิต เป็นจิตที่เป็นแก่น   และตัวนิพพานจิต/นิพพานธาตุนี้ เป็นสิ่งที่เที่ยง ไม่มีทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา = ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย  สิ่งนี้เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "พระตถาคตจะเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้นมีอยู่แล้ว"

ธรรมธาตุ = นิพพานจิต/นิพพานธาตุ = อสังขตธาตุ

บท สัพเพ ธัมมา อนัตตา แปลว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ทุกบทในนั้น ล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ขันธ์ 5 และสังขารทั้งสิ้น ( เช่น สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ สังขารา ทุกขา สัพเพธรรมมาอนัตตา)

นอกจากนี้...พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสว่า นิพพานเป็นอนัตตาเลยแม้แต่ครั้งเดียว  เพราะจิตบริสุทธิ์(จิตพุทธะ หรือนิพพานจิต) มันอยู่เป็นนิรันดร ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย นั่นเอง  = เที่ยง ไม่มีทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา = อัตตา (ตามความหมายที่พระพุทธเจ้าให้ไว้ในอนัตตลักขณะสูตร)

ในขณะที่ ธรรมชาติใน 3 ภพ มันเป็นสังขตธาตุ   คุณสมบัติของมัน เป็นอนิจจัง = เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ต้องดับไป   เมื่อสังขตธาตุหรือธรรมชาติใน 3 ภพ อยู่ภายใต้กฎอนิจจัง มันจึงหลีกหนีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่พ้น  มันจึงต้องเป็นทุกข์ทางกาย เมื่อต้องเผชิญกับสภาพทางกายภาพของมัน ที่ต้องแตกสลายเสื่อมและดับไป

อย่างไรก็ตาม เมือจิตเก๊(จิตสังขาร)ของมัน สามารถยอมรับสภาพของการแตกสลายเสื่อมและดับไปได้ 100%  ความทุกข์ทางใจของมันจะหมดไปเชิง

ในคัมภีร์มหายานหมวดอวตังสกะระบุว่า:

"พระพุทธองค์สอนอนัตตา ก็เพื่อให้เราค้นพบอัตตาที่แท้จริง
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:15:37 PM »

AVATAR: คำถาม ภาค 1

ถ้าผมเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งใน "จิตสังขาร" และ "จิตพุทธะ" แต่ผมไม่ยึดถือ และพร้อม สลัดทิ้งไปทั้ง ๒ จิต นี้

คุณลุง phonsak จะ บัญญัติ ลักษณะเช่นนี้ว่าอย่างไรครับ...?

จบคำถาม ภาค 1
---------------------------------------------------------------------------
หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า  คุณต้องสละอันใดอันหนึ่ง  ถ้าตุณเลือกละ "จิตสังขาร" คือละกิเลสตัญหาทุกอย่าง คุณก็จะได้ "จิตพุทธะ"

...จิตสังขาร สร้างขันธ์ 5 หรือกายมนุษย์และสัตว์ =อายตนะภายในและภายนอกของสรรพสัตว์
...จิตพุทธะ สร้างธรรมขันธ์ หรือธรรมกาย = อายตนะนิพพาน

คำถามของคุณคือ กูไม่เอาอะไรทั้งนั้น เมื่อเป็นอย่างนั้น  มหายานเรียกว่า ธรรมศูนยตา
บุคคลศูนยตาเป็นการละความยึดมั่นในขันธ์ 5 จะบรรลุอรหันต์  ได้ธรรมกาย หรืออายตนะนิพพาน

ส่วนธรรมศูนยตา ได้แก่การละความยึดถือแม้ในพระนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมสำหรับภูมิของพระโพธิสัตว์ชั้นสูง  ผมคงยากจะตอบเรื่องนี้

------------------------------------------------------------------------------
AVTAR:ขอขอบพระคุณสำหรับคำตอบขอรับ...

"มหายาน เรียกว่า ธรรมศูนยตา ได้แก่การละความยึดถือแม้ในพระนิพพาน"

"เถรวาท เรียกว่า มหาสุญญตา ได้แก่การไม่ยึดติดแม้ในพระนิพพาน"


to be continue...

คำถาม ภาค 2

มหาสุญญตสูตร และ มหาปรัชญาปารมิตาสูตร

มีความแตกต่างกันเช่นไรครับ..คุณลุง phonsak ?

จบคำถาม ภาค 2
------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้เล็งเห็นทุกข์ :ประมาณว่า
                       จิต+เจตสิก เป็นจิตทางโลก
                              แต่จิต - เจตสิก( ที่เอาเจตสิกออก) เป็นจิตทางโลกุตร 
-------------------------------------------------------------------------------------------


phonsak :จิต+เจตสิก เป็นจิตทางโลก = จิตสังขาร หรือจิตในปฏิจจสมุปบาท
แต่จิต ที่เอาเจตสิกออก = จิตหลุดพ้น หรือ นิพพานจิต....................

-------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้เล็งเห็นทุกข์:ประมาณว่า

                           จะเอาอะไรไปเข้า/สัมผัส นิพพาน

                                         ถ้าไม่ใช่จิต
--------------------------------------------------------------------------------------------
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:21:27 PM »

หัวข้อที่ 1.เรื่องถ้านิพพานเป็นอนัตตา (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวน) เราจะเข้านิพพานไปทำไม? ผมลงไว้นานแล้ว  แต่ถ้าไม่อ่านหัวข้อนี้  บางท่านอาจจะไม่เขาใจหัวข้อที่ 2 เรื่องกฎแห่งไตรลักษณ์ใช้ได้ใน 3 ภพ(สังขตธาตุ) แต่ใช้ไม่ได้กับพระนิพพาน(อสังขตธาตุ)


1.  ถ้านิพพานเป็นอนัตตา (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวน) เราจะเข้านิพพานไปทำไม?

ในอนัตตลักขณะสูตร พระพุทธองค์ตรัสให้นิยามอนัตตาไว้ว่า:


ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ

ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นตัวตนของเรา ?


ควรหรือหนอ ที่จะเห็นว่า นั่นเป็นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ? = อนัตตา

ด้วยเหตุนี้ อนัตตา จึงเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ผมขอถามว่า ถ้านิพพานเป็นอนัตตา (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวน) เราจะเข้านิพพานไปทำไม? เวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ไม่ดีหรือ?

และก็ขอถามด้วยว่า ในบท สัพเพ ธัมมา อนัตตา แปลว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ทุกบท ล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ขันธ์ 5 และสังขารทั้งสิ้น ( เช่น สัพเพสังขารา อนิจา สัพเพสังขารา ทุกขา สัพเพธรรมมาอนัตตา) ไฉนคณะสงฆ์ผู้ปฏิบัติไม่ถึงขั้น นำเอาไปตีความรวมถึง นิพพาน ด้วย

พุทธเจ้าไม่เคยตรัสว่า นิพพานเป็นอนัตตาเลยแม้แต่ครั้งเดียว


2.  กฎแห่งไตรลักษณ์ใช้ได้ใน 3 ภพ(สังขตธาตุ) แต่ใช้ไม่ได้กับพระนิพพาน(อสังขตธาตุ)


ธรรมชาติใน 3 ภพ ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ต้องดับไป =  สังขตธาตุ   

นิพพานเป็นสภาวะที่เที่ยง ไม่อยู่ภายใต้กฎอนิจจัง  และไม่อยู่ใต้กฎแห่งไตรลักษณ์ = อสังขตธาตุ 

กฎแห่งไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ใช้ได้กับ 3 ภพ เท่านั้น เพราะสิ่งเหล่านั้นใน 3 ภพ ย่อม เกิด แก่ เจ็บ ตาย  แต่ใช้ไม่ได้กับพระนิพพาน เพราะนิพพานมีคุณสมบัติที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับไตรลักษณ์ คือ....

พระนิพพาน เป็นสิ่งที่เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา  = ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

บท สัพเพ ธัมมา อนัตตา แปลว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ทุกบท ล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ขันธ์ 5 และสังขารทั้งสิ้น ( เช่น สัพเพสังขารา อนิจา สัพเพสังขารา ทุกขา สัพเพธรรมมาอนัตตา)

ผมจึงเห็นว่า บทนี้เป็นบทที่หมายถึงขันธ์และสังขารอย่างเดียว   สัพเพ = all  ผู้พูดกำลังพูดถึง  สรรพสิ่งในเมืองอยู่  all ก็คือทุกสิ่งในเมือง  แต่สิ่งที่อยู่นอกเมือง หรืออยู่นอกโลก ย่อมไม่ใช่ฉันใด  พระพุทธองค์กำลังพูดถึงเรื่องขันธ์และสังขารอยู่  สัพเพ =all ก็หมายถึงเฉพาะขันธ์และสังขารเท่านั้น
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:22:05 PM »

คุณสหายธรรม เว็บธรรมะไทย เขียน:

ถ้านิพพานเป็นอัตตา เราทุกคนก็คงเข้าใกล้นิพพานเข้าไปทุกขณะ เพราะ ทุกคนมีอัตตา เป็นพื้นเดืมอยู่แล้ว และ ก็คงต้องประกาศให้ทุกๆคนช่วยกันรักษาอัตตาที่มีอยู่ไว้อย่าได้ละเสีย เพราะจะไม่ได้เห็นนิพพาน ตรงกันข้ามต้องพยายามเพิ่มอัตตาที่ตนมีไว้ให้มากเท่าที่จะทำได้

สุนัข โคกระบือสุกร ตัวมันเองก็เห็นว่ามันเป็นอัตตาตัวตน มันคงไม่คิดว่าอันตัวมันนี้แท้จริงไม่ใช่อัตตาแต่เป็นอนัตตา สุนัข โคกระบือสุกร ก็คงจะเห็นนิพพานได้ในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน

ความจริงเมื่อมีสังขารธรรม ธรรมที่มีสิ่งปรุงแต่งก็ต้องมีวิสังขารธรรมที่ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง นิพพานจัดเป็นธรรมที่เป็นวิสังขารธรรม ก็เท่านั้นเอง ไม่มีอัตตา แต่ไม่ได้หมายความว่ามีอนัตตาก็ต้องมีอัตตา อนัตตาเป็นลักษณะของธรรมะ ไม่ใช่สังขารหรือวิสังขาร อัตตามีได้เพราะอุปาทานเป็นเหตุ ต้องละอัตตาเพื่เข้าถึงความเป็นอนัตตาเป็นวิสังขารจึงจะพ้นทุกข์พ้นความเวียนว่ายตายเกิดทางเดียวเท่านั้นทางเดียวจริงๆ ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มี

ตอบ

คุณสหายธรรมครับ


1.  เพราะความไม่เข้าใจในพุทธศาสนา และไม่ศึกษาให้กระจ่าง จึงทำสัทธรรมปฏิรูปได้ง่ายๆ

อัตตาที่พระพุทธเจ้าพูดถึง เป็นสิ่งที่เที่ยง ไม่มีทุกข์ และไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา สิ่งนี้คือ อายตนนิพพาน(ธรรมกาย ธรรมธาตุ ธรรมขันท์)

แต่อัตตาของท่านสหายธรรมกล่าว เป็นความเข้าใจผิด ไปเห็นว่าขันธ์ 5 ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนเป็นธรรมดา = อนัตตา ท่านสหายธรรมกลับคิดว่า อนัตตา มันเป็นตัวตน ทั้งๆที่สิ่งนี้เป็น อุปทาน หรือทิฏฐิ เท่านั้น พระพุทธเจ้าเรียกว่า

อัตวาทุปาทาน หรือ อัตตานุทิฏฐิ = ทิฏฐิที่ไปยึดมั่นในสึ่งมายา สิ่งลวงตาใน 3 ภพว่า นี่ตัวกู นี่ของกู


ขันธสังยุตต์ - จุลปัณณาสก์ - ทิฏฐิวรรค - ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร

๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ 


2.   คุณสหายธรรมครับ ความหมายของ อัตตา ที่พระพุทธเจ้าพูดถึง = สิ่งนั้นเที่ยง ไม่มีทุกข์ และไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา แล้วนิพพานเที่ยงหรือเปล่าครับ นิพพานมีทุกข์หรือเปล่าล่ะ นิพพานมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา(เกิด แก่ เจ็บ ตาย)หรือไม่

เมื่อ...นิพพานเที่ยง ไม่มีทุกข์ และไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา สิ่งนี้(พระนิพพาน)ก็คือ อัตตา นั่นเอง

พวกที่ปฏิเสทอัตตา และใช้คำอื่นแทน เช่น วิสังขาร ก็คือพวกที่ไม่ปฏิบัติให้ถ่องแท้ จึงไม่เข้าใจ

***** อายตนนิพพาน(ธรรมกาย ธรรมธาตุ ธรรมขันท์) = อัตตา

สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)

"สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"

พวกที่วินิจฉัยว่า นิพพานเป็นอนัตตา ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระ แม้แต่อรรถกถาจารย์ หรือฎีกาจารย์ พวกนี้ล้วนปฏิบัติไม่ถึงขั้นทั้งนั้น แล้วร่วมกันทำสัทธรรมปฏิรูป ร่วมกับมารยำใหญ่ศาสนาพุทธ จนศาสนาพุทธเถรวาทของเราเละตุ้มจนถึงทุกวันนี้
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:23:31 PM »

อนัตตา .... จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนา.... = ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ
 
 ไตรลักษณ์  ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

แต่อายตนะนิพพาน(ธรรมกาย)มันไม่ได้อาพาธ และเป็นไปตามความปราถนา มันจึง = อัตตา
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:24:18 PM »

มนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงที่มีปัญญาคิดได้

อนัตตาในอนัตตลักขณะสูตร  = ไม่เที่ยง ทุกข์  แปรปรวนเป็นธรรมดา   = เกิด แก่ เจ็บ ตาย
อัตตาในอนัตตลักขณะสูตร    = เที่ยง ไม่ทุกข์  ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา= ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย  ตรงกันข้ามกับอนัตตา

ลักษณะของอสังขตธาตุ 

ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณ ะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ) ;
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ) ;
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ?ิตสฺส อญฺ ญถตฺตํ
ปญฺญายติ).
ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.

ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗.

อสังขตธาตุ = นิพพานธาตุ

นิพพานธาตุ

นิพพานธาตุ อันพระผู้มีพระภาคผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ ได้ประกาศไว้แล้ว มีอยู่ ๒ อย่าง เหล่านี้คือ นิพพานธาตุอย่างหนึ่ง (มี) เพราะความสิ้นไปแห่งภวเนตติ เป็นไปในทิฎฐธรรมนี้ (อิธ ทิฎฺฐธมฺมิกา) ยังมีอุปาทิเหลือ, และนิพพาน-
ธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) ไม่มีอุปาทิเหลือ เป็นไปในกาลเบื้องหน้า(สมฺปรายิกา) เป็นที่ดับแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง.

บุคคลเหล่าใดรู้ทั่วถึงแล้วซึ่งนิพพานธาตุสองอย่างนั่นอันเป็นอสังขตบท เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นพิเศษแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งภวเนตติ; บุคคลเหล่านั้น ยินดีแล้ว ในความสิ้นไป (แห่งทุกข์) เพราะการถึงทับซึ่งธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละแล้วซึ่งภพทั้งปวง, ดังนี้.

อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๘-๒๕๙/๒๒๒.


1. สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)

"สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"

2. เปมงฺกโร ภิกฺขุ ชี้ว่า ตัวธรรม(พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) เป็นอัตตา

" ในโลกทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความจริง เกิดขึ้นแล้วสลายหมด เท็จทั้งสิ้น เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา
ส่วน สันตินิพพาน เป็นตัวสัจจะธรรม เที่ยงตรงมั่นคงอยู่เสมอ เป็นอสังขตะ ปราศจากเหตุ ไม่นอกไปจากจิตบริสุทธิ์ถึงขีดสุด เป็น ตัวธรรมที่รวมพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ เป็นอตฺตาตัวตนแท้ ......... .........."

พระพุทธภาษิตว่า

อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนของตนเองเป็นที่พึ่งของตน ตน(อัตตา)ในที่นี้หมายถึง จิตบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ไม่ใช่ตัวตนพึ่งพาอาศัยอะไรไม่ได้ โดยประการดังนี้ฯ

------- เปมงฺกโร ภิกฺขุ--------
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:25:05 PM »

เหล่าพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกที่ยืนยันว่า: นิพพานเป็นอัตตา


1. (บาลี มหา.ที. ๑๐/๑๑๘ /๙๓) (บาลี มหาวาร สํ. ๑๙/๒๐๕/ ๗๑๒-๓) ว่า

"อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่ง กายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ... มีสติ....
เป็นผู้ตามเห็นซึ่งธรรมในธรรม ฯลฯ

อานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า มี อัตตา เป็นเกาะ มี อัตตา เป็นสรณะ (ที่พึ่ง) ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง"

กายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ... มีสติ.... เป็นผู้ตามเห็นซึ่งธรรมในธรรม = กายที่อยู่ภายในกาย เมื่อเรามีสัมปชัญญะ...มีสติ นั่นแหละ "อัตตา"

2. จากพรหมชาลสูตร

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
จักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ "

แล้วตรัสต่ออีกว่า

"เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต."
.......................................

ผมย้ำท่อนนี้อีกที เพราะมารมันบังตาพวกเราไว้ให้ผ่านท่อนนี้ไป แต่คราวนี้เน้นเลย เอาอำนาจมารที่บังตาออกไปให้หมด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต (มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว) ยังดำรงอยู่ มนุษย์ทั้ง
หลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต

กายของตถาคต ยังดำรงอยู่ = กายที่ยังดำรงอยู่ นี่แหละ "อัตตา"
...

3. คราวนี้มาดูอนัตตลักขณสูตรบ้าง ผมขอตัดตอนที่อำนาจมารที่บังตาออกไปให้หมด นะครับ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา(มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง)แล้ว รูปนี้ไม่
พึงเป็นเพื่ออาพาธ(ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน) และบุคคลพึงได้(หมายถึง ย่อม
บังคับบัญชาได้ตามปรารถนา)ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึง
ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และ
บุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และ
บุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

จะเห็นว่า สิ่งที่จะเป็น อัตตาได้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (สิ่ง
นั้น)ต้องไม่อาพาธ (เสื่อม เจ็บไข้ ความแปรปรวน) และสามารถบังคับบัญชาสิ่งนั้นได้ตามปรารถนา

สรุป

ตอนนี้พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทุกองค์ในนิพพาน มีอยู่ ยังดำรงอยู่ และอายตนะนิพพาน
(ธรรมกาย)ของพวกท่าน ก็มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (สิ่งนั้น)ที่ไม่อาพาธ (เสื่อม เจ็บ
ไข้ ความแปรปรวน) และสามารถบังคับบัญชาสิ่งนั้นได้ตามปรารถนาด้วย

ย้ำ!!! สิ่งที่จะเป็น อัตตาได้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (สิ่งนั้น)ต้องไม่อาพาธ (เสื่อม
เจ็บไข้ ความแปรปรวน) และสามารถบังคับบัญชาสิ่งนั้นได้ตามปรารถนา

ด้วยเหตุนี้ ธรรมกายที่เป็นอายตนะนิพพาน ก็เป็นอัตตา

อัตตานี้มีขันธ์ 5 เป็นธรรมที่เรียกว่า ธรรมขันธ์ หรือธรรมกาย


4. ในจักกวัตติสูตร ๑๑/๘๔ ขันธสังยุต ๑๗/๕๓๓๓๓. มหาปรินิพพานสูตร ๑๐ มีความว่า:

(๑) “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจงมีตนเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย จงมีธรรมเป็นที่พึงเถิด อย่างมีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย"

ย้ำ! ! พวกเธอจงมี ตน เป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่ถึงเลย จงมี ธรรม เป็นที่พึงเถิด อย่างมีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย

หลักฐานนี้ชัดครับ

อัตตา = ตน ที่พระพุทธเจ้าหมายถึง คือ ธรรม ตน(อัตตา) กับ ธรรม จึงเป็นสิ่งเดียวกัน เรามีอัตตา(ธรรม)เป็นที่พึ่ง

เบญจขันธ์ = อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ธรรมขันธ์ = นิจจัง สุขขัง อัตตา


5. ข้อ 5 นี่ชัดเจนที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรชัดกว่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพุทธพจน์ปรากฏในพระไตรปิฎกบาลี ที.ปา.๑๓/๔๙/๘๕ ว่า

"ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีอัตตา (ตน) เป็นที่พึ่ง มีอัตตาเป็นสรณะ จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่เถิด

(อตฺตทีปา ภิกฺขเว วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา)"


อัตตา(ตน)นั้นแท้จริงก็คือธรรม 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2010, 11:07:20 am โดย phonsak » 
 
 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:29:44 PM »

อ้างจาก:
ผู้เล็งเห็นทุกข์ ที่ สิงหาคม 27, 2010, 12:04:25 pm
ประเมิน สถานการณ์ อนัตตา กับ อัตตาว่า
ช่างมัน  เถอะนะ


ก็คำว่า "ช่างมัน เถอะนะ"  ไอ้พวกที่ไม่เข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้า  มันก็ได้ใจใหญ่เลย  ทำสัทธรรมปฏิรูป  ทำของปลอมให้เกิดกับพระพุทธศาสนา  ชาวพุทธบอกว่า "ช่างเถอะ ช่างมัน"

แล้วอย่างนี้ศาสนาพุทธจะอยู่ครบ 5000 หลังพุทธกาลเหรอ  2700 ปีได้ก็เก่งแล้ว เพราะพุทธศาสนิกชนไม่ช่วยกันรักษาศาสนา
-----------------------------------------------------------------------------------------------
 AVATAR:
สำหรับท่านที่ได้ ปัญญาญาน ของแท้นั้น(ไม่มีเสื่อม)....ท่านจะไม่มีข้อสงสัยเลยว่า "ศาสนาพุทธในสมัยพระโคดมพุทธเจ้านั้นคงอยู่ได้ครบถ้วน ๕,๐๐๐ ปี"

ผมถึงบอกคุณ phonsak เสมอว่า จะมีคุณ phonsak อยู่ หรือ ไม่มีคุณ phonsak อยู่....มี AVATAR อยู่ หรือ ไม่มี AVATAR อยู่ มันก็ไม่ใช่สาระให้ พระศาสนาดำรงอยู่หรือเสื่อมไปตามกำหนดวาระไว้แล้วหรอกครับ


ผมเข้าใจครับท่าน...ผมจึงบอกว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ นิพพาน คือ อัตตา  แต่.ผมก็ไม่เคยพูดว่า นิพพาน คือ อนัตตา นะครับ

สำหรับท่านที่เข้าใจ "นิพพาน" แจ่มแจ้งแล้วจะเข้าใจครับ คงไม่ต้องมาหน้าดำหน้าแดงเถียงกันว่า"นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา" เห็นเถียงกันมาไม่รู้กี่สมัยแล้ว...?

แต่เราไม่อาจเข้าใจ"นิพพาน"ได้ ด้วยการ"คิด" พวกท่านเหล่านี้ใช้ "ภาวนามยปัญญา" ครับ ซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูงสุด (ขั้นรองลงมาคือ จินตามยปัญญาและสุตตมยปัญญา ตามลำดับ) จึงจะเข้าใจ

สำหรับท่านที่หน้าดำหน้าแดงคิดและเถียงกันอยู่ว่า "นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา...?"   

บอกได้เลยครับว่าท่านเหล่านั้นยังไม่เข้าใจคำว่า "นิพพาน" อย่างแจ่มแจ้ง

-----------------------------------------------------------------------------------
phonsak:
1. ศาสนาพุทธอยู่ครบ 5000 ปีแน่อยู่แล้วครับ เพราะพระพุทธเจ้าสามารถดูอนาคตที่ไม่เปลี่ยนแปลงได้  ปัญหาคือ  พระพุทธเจ้าได้ตรัสบอกถึงสาเหตุที่ศาสนาพุทธอยู่ครบ 5000 ปี ด้วย  เพราะกึ่งพุทธกาลพระศรีอริยะเมตตรัยมาช่วย  และในอีก 500 ปี ราวปีพศ. 3000 พระศรีอริยะเมตตรัยก็จะมาช่วยอีก  แต่ที่ข่วยนี้คือช่วยตีความตำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้าให้....ผมก็กำลังทำอยู่ ไม่ใช่หรือครับ  ผมอาจจะเป็นพระศรีอาร์ยมาเกิดก็ได้นะครับ

2. อัตตาหรืออนัตตา ต้องรู้นิยามก่อน  อนัตตลักขณสูตร บอกไว้ชัดเจนครับ  แต่มารมันมาบังจิต  ทำให้ส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าใจนิยามนั้นได้

บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:34:04 PM »

โลก(ธาตุ)ต่างๆและทุกสรรพสิ่งล้วนอยู่ในจิตทั้งนั้น


สังยุตตนิกาย สคาถวรรค อันธวรรคที่ ๗ จิตตสูตรที่ ๒

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า " โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมด เป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือ จิต "

โลกที่ว่านี้ไม่ใช่โลกที่เราอยู่อย่างเดียว  แต่เป็นโลกธาตุทั้งหมด  พวกเราล้วนอยู่ในโลกแห่งมายาของจิต

โลกมายาของจิต  =  ภวังค์จิต หรือจิตใต้สำนึก

ด้วยเหตนี้ ผู้บรรลุธรรมแห่งนิกายเทียนไห้ จึงบอกว่า:

"สุขาวดีห่างไกลจากโลกถึงแสนโกฐพุทธเกษตร แต่แท้ก็อยู่ในจิตขณะหนึ่งของเรานั่นเอง หาใช่ห่างไกลแตกต่างที่ใหนได้ พระอมิตาภะก็คือจิตตธาตุของเรา จิตตธาตุของเราเล่าก็คือพระอมิตตาภะ แต่เพราะสุขาวดีและพระพุทธเจ้าอมิตาภะในจิตของเราถูกอวิชากำบัง เราจึงไม่ได้อุบัติในสุขาวดี หรือรู้แจ้งว่าจริงแท้ แจ้งภาวะของตนเอง คือ ภาวะเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอมิตาภะนั่นเอง"

ก็คือ ทุกอย่างอยู่ในจิตทั้งนั้น

คุณxxl เขียน:

"เขาพระสุเมร เป็นคนละเรื่องกับแดนสุขาวดี(นิพพาน)  อย่าปนกันครับ...เขาพระสุเมร เป็นสถานที่ๆ อยู่ในภพ 3 เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลกทั้งในอบาย และสุคติโลกสวรรค์ รวมถึงพรหมโลก 16 ชั้น"

แล้วคุณจะบอกได้อย่างไรว่า  เขาพระสุเมรมิได้อยู่ในจิต  อีกอย่าง...พระพุทธองค์ไม่เคยตรัสว่า  แดนสุขาวดี คือ พระนิพพาน   พระพุทธองค์ตรัสว่า "แดนสุขาวดีเป็นกึ่งกลางระหว่างสังสารวัฏฏ์และพระนิพพาน" และตรัสว่า  "แดนสุขาวดี  เป็นโลกธาตุหนึ่ง  อยู่ทางทิศตะวันตก ผ่าน โลกธาตุ มากมาย นับไม่ถ้วน"

ผมย้ำว่า ภวังค์จิตนั่นแหละ เป็นประตูลับและเป็นทางเข้าไปสู่ทุกภพภูมิในสังสารวัฏฏ์

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้น  พึงพระหนักว่า โลกและจักรวาลอยู่ภายใต้อำนาจแห่งจิตสังขาร มีกิเลส ตัณหา อวิชชา หล่อเลี้ยง  แต่พุทธเกษตรต่างๆอยู่ภาตใต้อำนาจแห่งจิตบริสุทธิ์แห่งพระพุทธเจ้านิรมิตขึ้น  แต่ก็ไม่ใช่หมายความว่า พุทธเกษตรสุขาวดีเป็นพระนิพพาน
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
หน้า: [1] 2 3 ... 7
พิมพ์
กระโดดไป: