KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐานคุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอมคุยกันสบาย...สบายครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 30
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกันสบาย...สบายครับ  (อ่าน 742109 ครั้ง)
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #375 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2015, 10:15:16 PM »

จากพระไตรปิฎกบ้าง

“ธรรมอันน่าปรารถนา ๑๐ประการ”(อิฏฐสูตร)
[๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้
เป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก
๑๐ ประการเป็นไฉน ? คือ ..
โภคสมบัติ ๑
วรรณะ ๑
ความไม่มีโรค ๑
ศีล ๑
พรหมจรรย์ ๑
มิตร ๑
ความเป็นพหูสูต ๑
ปัญญา ๑
ธรรม ๑
สัตว์ทั้งหลาย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล
เป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจหาได้ยากในโลก ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการเป็นอันตรายแก่ธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก คือ ..
ความเกียจคร้าน ความไม่ขยันหมั่นเพียร เป็นอันตรายแก่ โภคสมบัติ
การไม่ทำการสาธยาย เป็นอันตรายแก่ ความเป็นพหูสูต
การไม่ฟังด้วยดี ไม่สอบถามเป็นอันตรายแก่ ปัญญา
การไม่ประกอบความเพียร การไม่พิจารณาเป็นอันตรายแก่ ธรรมทั้งหลาย
การปฏิบัติผิด เป็นอันตรายแก่ สัตว์ทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่ธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม๑๐ ประการ เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก คือ ..
.. ความไม่เกียจคร้าน ความขยันหมั่นเพียร เป็นอาหารของ .. โภคสมบัติ
.. การประดับ การตกแต่งร่างกาย เป็นอาหารของ .. วรรณะ
.. การกระทำสิ่งเป็นที่สบาย เป็นอาหารของ .. ความไม่มีโรค
.. ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นอาหารของ .. ศีลทั้งหลาย
.. การสำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของ .. พรหมจรรย์
.. การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง เป็นอาหารของ .. มิตรทั้งหลาย
.. การกระทำการสาธยาย เป็นอาหารของ .. ความเป็นพหูสูต
.. การฟังด้วยดี การสอบถาม เป็นอาหารของ .. ปัญญา
.. การประกอบความเพียร การพิจารณาเป็นอาหารของ .. ธรรมทั้งหลาย
.. การปฏิบัติชอบ เป็นอาหารของ .. สัตว์ทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต หน้าที่ ๑๒๑/๓๓๓
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #376 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2015, 06:16:41 PM »

สาธุครับ ธรรมจากพระไตรปิฏก ได้อ่านแล้วเป็นปิติยิ่งนักครับผม

อนุโมทนาสาธุ ครับพี่ต่าย
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #377 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2015, 03:25:22 PM »

คุยถึงเรื่องสภาวะที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อ 3 ปีก่อน สู่กันฟังครับ...

สภาวะที่พอกล่าวได้บ้างเป็นแบบนี้ครับ

เมื่อมีสติตั้งมั่นดีแล้ว จะเห็นสังขารขันธ์ ทำงานแล้วส่งต่อการทำงานไปเรื่อยๆ
โดยส่วนใหญ่สภาวะผมมันจะเริ่มจากเกิดสัญญาขึ้นก่อน แล้วส่งต่อมาให้สังขารทำหน้าที่
แล้วส่งต่อไปให้เวทนาทำหน้าที่ โดยมีสติตามรู้อาการทำงานของขันธ์เป็นตัวๆเป็นทอดไป ซึ่งต่างก็ทำงานไปตามหน้าที่อย่างไม่แยแสและไม่รู้สึกรู้สาอะไร

หลังจากนั้นจิตจึงถอยออกมาดูอยู่ห่างๆจึงเห็นองค์ธรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดทุกองค์ทำงานอยู่อย่างนั้นหน้าที่ใครอย่างไรก็ทำกันไปไม่ยุ่งเกี่ยวกัน

หลังจากเห็นทั้งหมดแล้ว จิตจะถอยออกจากสมาธิเองทุกครั้งไป
องค์ธรรมที่มีหลายองค์อย่างปฏิจจสมุปบาทก็ในทำนองเดียวกันนี้

แต่เห็นพรึดเดียวแล้วจิตถอยออกจากสมาธิเลย

ไม่เห็นองค์ธรรมต่างๆ "แสดงพร้อมกัน" ทั้งหมดเหมือนขันธ์ องค์นามธรรมแต่ละองค์ในนี้แสดงเสร็จส่งต่อแล้วหายไปเลย...


บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #378 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2015, 08:54:12 PM »


ส่วนเสริมครับ...

***อาวัชนะในองค์ธรรมใดๆ สติก็จะระลึกถึงสัญญาเป็นปฐมอยู่แล้ว ไม่ได้กล่าวถึงธรรมใดเป็น อธิปติ หรือเป็น อัญญมัญญปัจจัย
วินิจฉัยยากว่า อยู่ ณ ที่ญาณใด มีอะไรเป็นอานิสงส์จากญาณนั้นบ้าง ขอให้เจาะจงเฉพาะ เพราะญาณ คือรู้จำเพาะเรื่อง
เช่นรู้เห็นเกิดและความดับ / ความเสื่อม ความดับไปของขันธ์ 5 / ภัยในขันธ์ 5 / ทุกข์โทษภัยในวัฏฏะ 3 / ความเบื่อในวัฏฏะ / ความดิ้นรนที่ใครจะออกจากวัฏฏะ / ความทบทวนธรรมในไตรลักษณ์ (ปฏิสังขาญาณ) และสังขารุเปกขาญาณ ที่สุดด้วย อนุโลมญาณ นับเป็น 9.

ญาณจะรู้รู้ชัด รู้แจ้ง รู้วิเศษ รู้จำเพาะ ในธรรมนั้นๆ โดยไม่ลังเลสงสัยอะไรแม้แต่นิดเดียว ไม่ขอร้องให้ใครเป็นสักขีพยานด้วย จึงได้ชื่อว่าเจริญญาณนั้นบริบูรณ์แล้ว

ยกตัวอย่าง ภังคญาณ มีอานิสงส์ 8 ประการ ประการสำคัญคือละ"สัสสตะทิฏฐิ" 20 ประการได้ จะรู้ชัดรู้แจ้งว่าละได้แล้ว...

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 09, 2015, 09:22:29 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #379 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2015, 12:26:27 PM »


เห็นจริงเข้าไปในกองขันธ์แต่ละองค์ เห็นหน้าที่การทำงานของขันธ์ที่ปฏิบัติตามหน้าที่กันไปสืบเนื่องกันไป

เมื่อเห็นอย่างนี้คุณและโทษก็ไม่จำเป็นหรือมีประโยชน์ใดๆเพราะรู้เห็นประจักษ์ชัดเสียแล้ว

โอ้...นี่เราแบกกองทุกข์เอาไว้นี่เอง นานมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #380 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2015, 09:14:42 PM »

พิจารณาได้ดังนั้นจึงเข้าทบทวนสภาวะปัจจุบันต่อไปไม่ให้เสียกาล

จิตมันตั้งมั่นดิ่งเข้าไปพิจารณาสภาวะที่กล่าวมาทั้งหมด(เหตุการณ์ที่กล่าวมาทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างขับรถ) ขบวนการทั้งหมดจึงรวดเร็วมากพอที่จะเข้าออกญาณ โดยที่ยังขับรถได้อย่างปลอดภัย

จิตนี่ช่างอัศจรรย์ปรวนแปรเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วนัก จึงไม่แปลกใจเลยกับคำพูดที่ว่า

" จิตเกิดดับได้รวดเร็วถึงแสนโกฏิขณะ ในเวลาชั่วลัดนิ้วมือเดียว"


{ เธอเป็นผู้บำเพ็ญมามาก กระทำมามาก ทำสิ่งที่ทำได้ยากได้โดยง่าย ทำเหมือนไม่ได้ทำ เกิดแล้วแทงตลอดชั่วลัดนิ้วมือ
เห็นเหตุเกิดและความดับพร้อมปัจจัยและขณะอันพระพุทธองค์สรรเสริญว่า"แม้มีชีวิตอยู่เพียงราตรีเดียว ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็น มีชีวิตอยูถึงร้อยปี" / ครูบาสร้อย ขันติสาโร 2535

“อุปฺปาโท ทุกฺขนฺติ ภยตูปฎฺเน ปญฺญา อาทีนเว ญาณํ ปวตฺตํ ฯลฯ อุปายาโส ทุกขนฺติภยตูปฎฺาเน ปญฺญา อาทีนเว ญาณํ”

อธิบายว่า ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่า “อุปฺปาโท ทุกฺข” กิริยาที่บังเกิดแล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่สิ้นไม่สุดไม่หยุดไม่ยั้งนี้
เป็นทุกข์อันใหญ่แห่งสรรพสัตว์ทั้งปวง พิจารณาเห็นอย่างนี้ จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑

ปัญญาพิจารณาเห็นว่า “ปวตฺติทุกฺขํ” กิริยาที่รูปธรรมแลอรูปธรรม แต่บรรดาที่บังเกิดแล้ว แลประพฤติเป็นไปในไตรภพนี้ประกอบไปด้วยทุกข์เป็นอันมากยิ่งนัก ไม่รู้หมดไม่รู้สิ้น เห็นอย่างนี้ก็จัดเป็นอาทีนวญาณประการ ๑
 
มีพระพุทธฎีกาโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนา ยกเอาปัญญาที่เห็นภัยนั้น มาสำแดงเป็นอาทีนวญาณด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุว่ากิริยาที่เห็นภัยกับเห็นโทษนี้จะได้ไกลกันหาบ่มิได้
เมื่อเห็นภัยแล้วก็เห็นโทษ ๆ แล้วก็เห็นภัย ภัยกับโทษนั้นอรรถอันเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะ พึงรู้เถิดว่า
ภยตูปัฏฐาน กับ อาทีนวญาณนี้ ต่างกันแต่ชื่อต่างกันแต่พยัญชนะ มีอัตถาธิบายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

มีพระพุทธฎีกาตรัสเทศนาอาทีนวญาณ ด้วยประการฉะนี้แล้วลำดับนั้นจึงตรัสเทศนาสำแดงสันติปทญาณ อันมีอารมณ์เป็นปฏิปักษ์กับอารมณ์แห่งอาทีนวญาณนั้นสืบไปว่า
“อนุปฺปาโท เขมนฺติ สนฺติปเท ญาณํ อปฺปวติตํ ฯ เป ฯ อนุปฺปายาโส เขมนฺติ สนฺติปเท ญาณํ”
อธิบายว่า ปัญญาอันพิจารณาเห็นว่ากิริรยาที่ไม่บังเกิดอีกนั้นแล เป็นเกษมปราศจากภัย พิจารณาเห็นอย่างนี้ ได้ชื่อว่าสันติปทญาณประการ ๑
อธิบายว่า ปัญญานั้นน้อมไปสู่พระนิพพาน อันเป็นที่ระงับสังขารธรรมทั้งปวง เหตุดังนี้ จึงเรียกว่าสันติปทญาณ
ใช่แต่เท่านั้น ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่ากิริยาที่รูปธรรมแลอรูปธรรม บ่มิได้ประพฤติเป็นไปในภพนี้ แลเป็นที่เกษมปราศจากภัยพิจารณาเห็นอย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่าสันติปทญาณเหมือนกัน
ใช่แต่เท่านั้น ปัญญาอันพิจารณาเห็นว่ากิริยาที่นิมิต คือหาสังขารธรรมบ่มิได้ สังขารธรรมสิ้นสูญไปไม่มีสืบต่อไปอีกนั้น ได้ชื่อว่าเกษมปราศจากภัยด้วยแท้
ถ้ายังมีสังขารธรรมอยู่ตราบใด ก็ได้ชื่อว่ามีภัยอยู่ตราบนั้น ถ้าไม่มีสังขารธรรม ขาดจากสังขารธรรมแล้วกาลใด ก็ได้ชื่อว่าถึงที่เกษมปราศจากภัยในกาลนั้น
ปัญญาอันพิจารณาเห็นว่ากิริยาที่หาสังขารธรรมบ่มิได้นั้น ได้ชื่อว่าถึงที่อันเกษมปราศจากภัย เห็นอย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่าสันติปทญาณประการ ๑}
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 09, 2015, 09:21:03 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #381 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2015, 10:03:52 AM »

อนุโมทนาสาธุ กับการปฏิบัติของพี่ต่ายด้วยนะครับผม

เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว รู้สึกว่าชีวิตนี้มีความหมายขึ้นมาก
ชีวิตมีทิศทางที่จะเดิน เพื่อขัดเกราจิตใจ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น
จึงได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ ( ผู้มีใจสูง ) อย่างแท้จริง

และขอขอบพระคุณสำหรับประสบการณ์ทางธรรม และบทความต่างๆ ด้วยนะครับพี่ต่าย
เพื่อยังประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจปฏิบัติธรรม ได้อ่านและเปรียบเสมือนเป็นเพื่อนร่วมทาง กัลยาณมิตร
ในเส้นทางที่ สงบ สะอาด สว่าง ตามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ อนุโมทนาสาธุ ครับผม
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #382 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2015, 12:53:54 PM »

อนุโมทนาครับน้องกอล์ฟ
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #383 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2015, 01:00:29 PM »

 

(ขณะขับรถ ต่อ)...หลังจากจิตวิเคราะห์พิจารณาได้ว่าขันธ์ทั้งหลายที่หลงแบกอยู่เป็นตัวทุกข์ นำมาซึ่งทุกข์ทั้งปวง
แต่เนื่องจากความหลง ความไม่รู้ชัด จึงเหนี่ยวเอาขันธ์ไว้ยึดเอาไว้ว่าเป็นของของเรามาแล้ว
ไม่รู้กี่ชั่วกัปชั่วกัลป์กี่อสงไขยกี่มหากัปก็นับไม่ได้ จึงต้องแบกกองทุกข์เอาไว้และเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏสงสารอยู่ร่ำไป

เมื่อพิจารณาอย่างนั้นจิตจึงเกิดความสลดสมเพชนักกับตัวเองที่แบกทุกข์แบกกองขันธ์มาเนิ่นนานนับชาติไม่ได้ด้วยความไม่รู้
เกิดความเบื่อหน่ายในการเวียนว่ายอยู่ต่อไปในสังสารวัฏ ทั้งยังไม่สามารถสลัดออกได้
น้ำตาแห่งความสลดสังเวชจึงไหลออกมาอย่างไม่ขาดสาย...

 

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #384 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2015, 10:32:19 AM »


แม้อย่างนั้นสติก็ตามเข้าพิจารณาในธรรมเวทนา,ความสลดสังเวช,การแสดงของรูปกายที่ปรากฎขึ้นต่อไปอีก

เพื่อพิจารณาใคร่ครวญเข้าไปสกัดกั้นกองสังขารทั้งปวงเสีย โดยไม่มัวยินดียินร้ายหรือมัวแต่ปีติต่อธรรมที่ปรากฏขึ้น
น้อมจิตพิจารณาอยู่กี่รอบเท่าไรองค์ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามเหตุแล้วก็ทำงานแสดงไปตามหน้าที่อยู่อย่างนั้น เมื่อเหตุหมด หมดหน้าที่ก็หายไป โดยไม่ได้รู้สึกรู้สาหรืออะไรๆเลย เราจะเข้าไปทำอะไรสกัดกั้นอย่างไรในองค์ธรรมต่างๆเหล่านั้นก็ไม่ได้ คงเพียงได้แต่ดู
จะกี่รอบๆองค์ธรรมต่างๆเหล่านั้นก็แสดงหน้าที่ของตัวเองอยู่อย่างนั้นเอง

เมื่อได้แต่เฝ้าดูอยู่เพียงแค่นั้น เข้าไปทำอะไรๆสกัดกั้นอย่างไรไม่ได้
มากรอบเข้า จิตจึงพิจารณาเข้าใจในความเป็นจริงของธรรมทั้งหลายที่แสดงจนชัดเจนแจ่มชัด
เห็นองค์ธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วแสดง หมดเหตุก็หายไป เป็นเพียงการสักว่าเห็น สักว่าดูองค์ธรรมที่แสดงไปอย่างนั้นเอง
จิตจึงปล่อยวางองค์ธรรมต่างๆเองบ้าง
และถอยออกจากญาณ ( แล้วขับรถต่อไป )...

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #385 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2015, 01:26:51 PM »

สังขารุเปกขญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า จะหนีไม่พ้นจึงเฉยอยู่ไม่ยินดียินร้าย ดุจบุรุษอันเพิกเฉยในภริยาที่ทิ้งขว้างหย่าร้างกันแล้ว
จิตเป็นกลางต่ออารมณ์ เพราะเห็นแล้วว่ามันเป็นของเกิดดับ และหนีมันไม่ได้ ยิ่งพยายามไปปฏิเสธมัน ยิ่งเป็นทุกข์มากขึ้น
จิตจึงไม่ปฏิเสธอารมณ์ เป็นกลางต่ออารมณ์

เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค
สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะมีจิตใจสงบวางเฉยไม่มีทุกขเวทนารบกวน และสามารถกำหนด สภาวะต่าง ๆ ได้ดียิ่ง ผู้ปฏิบัติได้เห็นคุณค่าของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างมาก
ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือเมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้น เป็นธรรมดา หรือเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง
จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท
ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพานเลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย

ญาณข้อนี้จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด

และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรคอันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึดหรือ ออกจากสังขาร
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #386 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 09:34:41 AM »

อานิสงส์ของสมถะและวิปัสสนา

การเจริญสมถะและวิปัสสนา มีอานิสงส์อย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็นธรรมมีส่วนแหงวิชชา ธรรม ๒ อย่าง คืออะไร คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อะไร? ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้วก่อให้เกิดประโยชน์อะไร? ย่อมละราคะได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิปัสสนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร? ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร? ย่อมละอวิชชาได้

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล ความสิ้นราคะ ชื่อเจโตวิมุติ  ความสิ้นอวิชชา จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ.....”

ป. ทุก. อํ. (๒๗๕-๒๗๖)
ตบ. ๒๐ : ๗๗-๗๘ ตท. ๒๐ : ๖๙-๗๐
ตอ. G.S. ๑ : ๕๕-๕๖
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #387 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2015, 11:39:26 AM »

  เหตุให้ไปสุคติและทุคติ    
 
พระศาสดาเสด็จจาริกไปยังแคว้นโกศล พร้อมด้วยหมู่ภิกษุ จำนวนมาก เสด็จถึงหมู่บ้าน ของพราหมณ์ ชื่อ สาละ (หมู่บ้านชื่อสาละ) ครั้งนั้น พราหมณ์ และคหบดีชาวบ้านสาละ สดับกิตติศัพท์ของพระพุทธองค์ แล้วพากันไปเฝ้า พระพุทธองค์

 

ทูลถามว่า "อะไรเป็นเหตุให้เป็นปัจจัยให้สัตว์บางจำพวก (หมายถึง คน) ในโลกนี้ ตายแล้วไปสู่สุคติ โลกสวรรค์ บางพวกตายแล้วไปนรก หรือ ทุคติ วินิบาตร?"

 

พระศาสดาตรัสตอบว่า ผู้ที่ประพฤติธรรม ประพฤติสุจริต สิ้นชีพแล้วไปสู่สุคติ โลกสวรรค์

ส่วนผู้ที่ไม่ประพฤติธรรม ไม่ประพฤติสุจริต เมื่อสิ้นชีพแล้วไปทุคติ วินิบาต นรก

 

ชาวบ้านสาละทูลขอร้องให้อธิบายคำว่า ประพฤติธรรม ประพฤติสุจริตให้ละเอียดกว่านี้ เพราะไม่เข้าใจข้อความที่ตรัสโดยย่อ พระศาสดาจึงตรัสจำแนกกุศลกรรมบท ๑๐ ว่า เป็นการประพฤติสุจริต กุศลกรรมบถ ๑๐ นั้น คือ

๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์

๒. เว้นจากการลักทรัพย์

๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๔. เว้นจากการพูดเท็จ

๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด ทิ่มแทง ด้วยคำหยาบคาย

๖. เว้นจากการพูดยุยงให้เกิดการแตกแยก

๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

๘. เว้นจากโลภอยากได้ของผู้อื่น

๙. เว้นจากปองร้ายผู้อื่น

๑๐. เว้นจากเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม


 

การไม่เว้น คือประพฤติล่วงละเมิด ๑๐ ประการนี้ จัดเป็น อกุศลกรรมบถ ทางแห่งอกุศล เป็นการไม่ประพฤติสุจริต นอกจากนี้ เว้นสิ่งที่ควรเว้นดังกล่าวแล้ว ควรต้องทำสิ่งที่ควร ทำด้วย เช่น เว้นจากการฆ่าสัตว์ แล้วควรมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ เป็นต้น

 

เมื่อสิ้นชีพแล้ว ย่อมไปเกิดเป็นเทพชั้นต่างๆ ตามสมควรแก่ธรรม ที่ประพฤติเช่นนั้น
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #388 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2015, 03:48:15 PM »

เป็นธรรมะอีกบทที่ผมชอบเหมือนกันครับ "กุศลกรรมบท10"
และเป็นธรรมะที่สำคัญสำหรับฆราวาสผู้ประพฤติธรรม
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #389 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2015, 11:37:23 PM »

ในวาระของวันสิ้นปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 นี้
ข้าพเจ้าขออวยพร พร้อมกับเป็นกำลังใจให้กับ ญาติธรรม ในเว็บ kammatan.com ให้ทุกท่าน
ได้ฟังธรรม พึงน้อมนำธรรมไปปฏิบัติเพื่อ เข้าใจในทุกข์ กายและใจนี้
จนเบาบางจากความเป็นตัวเป็นตน และได้เข้าถึงธรรมไม่มากก็น้อย จนตามองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สืบต่อไป
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 30
พิมพ์
กระโดดไป: