KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับห้องนั่งเล่น คุยกันสบายๆตามประสาชาวกรรมฐานคุยกันสบายๆ ตามประสาชาวกรรมฐาน.คอมคุยกันสบาย...สบายครับ
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คุยกันสบาย...สบายครับ  (อ่าน 731335 ครั้ง)
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #405 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2017, 12:22:55 PM »

•• ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา ••

สังฆบิดร ผู้อร่ามในธรรมและศีลาจารวัตร
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา
“สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อมฺพโร อัมพร ประสัตถพงศ์)”
เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
ขณะมีสิริอายุได้ ๘๙ ปี พรรษา ๖๘ ขึ้นเป็น
“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”
องค์ประมุขแห่งสังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร

นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สืบต่อจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง
สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารย อัมพราภิธานสังฆวิสุต
ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต
วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ
ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ
พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร
ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช”

••••••••••••••••••••••••••
ยิ้ม คำแปล-คำอ่านพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ
๑. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
(สม-เด็ด-พระ-อะ-ริ-ยะ-วง-สา-คะ-ตะ-ยาน)
: สมเด็จพระผู้มีญาณสืบมาแต่วงศ์พระอริยเจ้า
๒. สุขุมธรรมวิธานธำรง
(สุ-ขุม-ทำ-มะ-วิ-ทาน-ทำ-รง)
: ทรงเป็นผู้มีธรรมวิธีอันละเอียดอ่อน
๓. สกลมหาสงฆปริณายก
(สะ-กน-ละ-มะ-หา-สง-คะ-ปะ-ริ-นา-ยก)
: ทรงเป็นผู้นำพระสงฆ์หมู่ใหญ่ทั้งปวง
๔. ตรีปิฎกธราจารย
(ตรี-ปิ-ดก-ทะ-รา-จาน)
: ทรงเป็นอาจารย์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระปริยัติธรรม คือ พระไตรปิฎก
๕. อัมพราภิธานสังฆวิสุต
(อำ-พะ-รา-พิ-ทาน-สัง-คะ-วิ-สุด)
: ปรากฏพระนามฉายาในทางสงฆ์ว่า “อมฺพโร”
๖. ปาพจนุตตมสาสนโสภณ
(ปา-พด-จะ-นุด-ตะ-มะ-สาด-สะ-นะ-โส-พน)
: ทรงงดงามในพระศาสนาด้วยทรงพระปรีชากว้างขวาง
ในพระอุดมปาพจน์คือพระธรรมวินัย
๗. กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต
(กิด-ติ-นิ-ระ-มน-คุ-รุ-ถา-นี-ยะ-บัน-ดิด)
: ทรงดำรงพระเกียรติโดยปราศจากมลทิน และทรงเป็นครู
๘. วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ
(วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-นะ-ริด-ปะ-สัน-นา-พิ-สิด-ตะ-ประ-กาด)
: สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาด้วยเหตุที่ทรงพระราชศรัทธา เลื่อมใส
๙. วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ
(วิ-สา-ระ-ทะ-นาด-ทำ-มะ-ทู-ตา-พิ-วุด)
: ทรงเป็นที่พึ่งผู้แกล้วกล้าและมีพระปรีชาฉลาดเฉลียว
ทรงเป็นผู้ยังความเจริญแก่กิจการพระธรรมทูต
๑๐. ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร
(ทด-สะ-มิน-สม-มุด-ปะ-ถม-สะ-กน-ละ-คะ-นา-ทิ-เบด)
: ทรงเป็นใหญ่ในสงฆ์ทั้งปวง (คือทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช)
พระองค์แรกที่ได้รับพระราชทานสถาปนาในรัชกาลที่ ๑๐
๑๑. ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ
(ปะ-วิด-ทะ-เนด-ตะ-โย-พาด-วาด-สะ-นะ-วง-สะ-วิ-วัด)
: ทรงยังแสงสว่างแห่งแบบอย่างอันดีงามให้บังเกิด
โดยเจริญรอยตามสมเด็จพระอุปัชฌายะ
คือสมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร)
๑๒. พุทธบริษัทคารวสถาน
(พุด-ทะ-บอ-ริ-สัด-คา-ระ-วะ-สะ-ถาน)
: ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพของพุทธบริษัท
๑๓. วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร
(วิ-บูน-สี-ละ-สะ-มา-จาน-ระ-วัด-วิ-ปัด-สะ-นะ-สุน-ทอน)
: ทรงงดงามในพระวิปัสสานาธุระ ทรงพระศีลาจารวัตรอันไพบูลย์
๑๔. ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ
(ชิน-นะ-วอน-มะ-หา-มุ-นี-วง-สา-นุ-สิด)
: ทรงเป็นอนุศิษย์ผู้สืบวงศ์สมณะมาแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
๑๕. บวรธรรมบพิตร
(บอ-วอน-ทำ-มะ-บอ-พิด)
: ทรงเป็นเจ้าผู้ประเสริฐในทางธรรม
๑๖. สมเด็จพระสังฆราช
(สม-เด็ด-พระ-สัง-คะ-ราด)
: ทรงเป็นราชาแห่งหมู่สงฆ์
ที่มา : หนังสือพระประวัติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=53651
••••••••••••••••••••••••••
•• คำเรียกตำแหน่ง “สมเด็จพระสังฆราช” มี ๓ อย่าง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=51799
•• ประวัติและความสำคัญ “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม”
ที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช องค์สังฆบิดรถึง ๓ พระองค์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19364
•• พระประวัติ ปฏิปทา และพระนิพนธิ์
สมเด็จพระสังฆราชไทย ๑๙ พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=22
••••••••••••••••••••••••••
ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ขอพระองค์ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เสด็จสถิตเป็นบุณยฐาน
และเป็นประทีปธรรม ของปวงพุทธบริษัทตลอดไป
เกล้ากระหม่อม ทีมงานเว็บธรรมจักร www.dhammajak.net ยิ้ม
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #406 เมื่อ: มีนาคม 23, 2017, 02:25:21 PM »

อนุโมทนาสาธุครับผม
บุญรักษาประเทศไทยแล้ว : )
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #407 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2017, 09:30:25 PM »


วันวิสาขบูชาปีนี้ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐ มัวแต่ทำงานยังไม่มีโอกาศทำบุญตามวัดต่างๆเลย

วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เลยไปทำบุญและถวายสังฆทานที่วัดหลวงพ่อโสธร
วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ทำบุญถวายสังฆทานวัดต่างจังหวัด ๒ วัด ไม่ได้เจาะจง

ก็เป็นไปด้วยดีครับที่จอดรถสะดวกสบายแบบเดินไม่กี่ก้าวก็ถึงสถานที่ถวายสังฆทานทุกวัด

ทำไมถึงง่ายขนาดนั้น...สะดวกสบายทุกอย่าง?

นั่นคงเป็นเพราะเราเตรียมตัวเตรียมของเตรียมการและตั้งใจไว้นานแล้ว

ทุกอย่างที่ดำเนินไปจึงอาจเตรียมแล้ว จัดแจงไว้แล้วเท่านั้นเองครับ


เอาบุญมาฝากน้องกอล์ฟและทุกท่านครับ

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #408 เมื่อ: กันยายน 05, 2017, 09:52:23 PM »

อนุโมทนาสาธุ ครับพี่ต่าย

วันนี้วันพระใหญ่ 5 กย 2560
สวดมนต์ไหว้พระ เจริญสติ นั่งสมาธิ เดินจงกลม เอาบุญมาแบ่งครับผม : )
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #409 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2017, 11:48:47 PM »

อากาศเปลี่ยนแปลง ลมหนาวมาแล้ว รักษาสุขภาพกันครับ

ปัญญากับสังขารการปรุงแต่ง


ตามปกติคนเรามีปัญญาอยู่ในตัว
แต่ใช้ปัญญาไปในทางโลกเสียส่วนใหญ่
จึงได้ถูกตัณหา คือความอยาก
ชักลากเอาปัญญาไปครอบครอง

ปัญญาจึงกลายเป็นความคิดเห็น
เป็นลูกมือให้แก่กิเลสตัณหาไป
เหมือนกับอาวุธของตำรวจที่ถูกพวกโจรลักไปได้แล้ว
ก็จะเป็นเครื่องมือให้แก่พวกโจรไป
อยากจะทำอะไรให้คนอื่น
ได้รับความทุกข์เดือดร้อนอย่างไร ก็ทำตามใจ

นี้ฉันใด ปัญญาของเรา
เมื่อถูกกิเลสตัณหาลักพาไปได้แล้ว
ก็จะกลายเป็นความคิดเพื่อเสริมการทำงาน
ให้แก่กิเลสตัณหาได้เป็นอย่างดี

- ถ้าเป็นฝ่ายธรรม เรียกว่า "ปัญญา"
- ถ้าเป็นฝ่ายกิเลสตัณหา เรียกว่า
"ความคิดปรุงแต่งไปตามสังขาร"

"เหมือนกับปากกาด้ามเดียว"
ถ้าเขียนไปทางคดีโลก ก็เป็นเรื่องของทางโลกไป
ถ้าเขียนในทางธรรม ก็เป็นเรื่องของธรรม ..

คติธรรม: หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
วัดป่าบ้านค้อ จังหวัดอุดรธานี

************************************************
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 23, 2017, 11:50:45 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #410 เมื่อ: มีนาคม 03, 2018, 02:51:42 PM »

ไปทำบุญ 9 วัด อยุธยากันครับ
1.วัดใหญ่ชัยมคล
2.วัดเกาะแก้ว
3.วัดพนัญเชิงวรวิหาร
4.วัดพิชัยสงคราม
5.วัดกล้วย
6.วัดธรรมนิยม
7.วัดละมุด
8.วัดสัมมะกัน
9.วิหารหลวงพ่อมงคลบพิตร อุทยานประวัติศาสตร์ วัดพระศรีสรรเพชร


อนุโมทนาบุญด้วยกันครับ สาธุ


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2018, 02:53:32 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #411 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2018, 10:30:07 PM »

ไปทำบุญ 9 วัด อยุธยากันครับ
1.วัดใหญ่ชัยมคล
2.วัดเกาะแก้ว
3.วัดพนัญเชิงวรวิหาร
4.วัดพิชัยสงคราม
5.วัดกล้วย
6.วัดธรรมนิยม
7.วัดละมุด
8.วัดสัมมะกัน
9.วิหารหลวงพ่อมงคลบพิตร อุทยานประวัติศาสตร์ วัดพระศรีสรรเพชร


อนุโมทนาบุญด้วยกันครับ สาธุ


 

อนุโมทนาสาธุนะครับพี่ต่าย : )
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #412 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2018, 09:51:33 AM »

มีโอกาสได้ไปถวายผ้าไตรจีวร วัดศรัทธาธรรม จังหวัดสมุทรสงคราม
เอาบุญมาฝากเพื่อนๆครับ สาธุ

เรื่อง "พระอชิตะ อดีตชาติพระอาริยศรีเมตไตรย"

ประวัติ พระอชิตะ อดีตชาติของพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ในสมัยพุทธกาล เพื่อรับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ซึ่งท่านได้มาบวชในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เพื่อรับพุทธพยากรณ์

"พระอชิตะ" คือ พระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรู ประสูติแต่พระนางกาญจนาเทวี ซึ่งเป็นพระมารดา เป็นผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้พาบริวาร ๑,๐๐๐ คน ออกบวชเป็นภิกษุ คราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์ครั้งที่สอง

พระอชิตะเมื่อบวชใหม่ ๆ ได้เป็นผู้รับยุคลพัสตร์ (ผ้า ๒ ผืน)ของ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ซึ่งมีความพิสดารอย่างย่อว่าพระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงเสียพระทัย ที่ตั้งใจจะถวายให้แด่พระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงรับเพราะเพื่ออนุเคราะห์แก่สงฆ์ในอนาคต เพื่อให้ชนทั้งหลายซึ่งเกิดภายหลังให้เกิดจิตคิดการกระทำเคารพสงฆ์ให้จงมาก และทรงอนุเคราะห์แก่พระนางเองเพราะทานที่ให้แด่สงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขย่อมมีพลานิสงส์มากกว่า

พระนางมหาปชาบดีโคตมีไม่ทรงทราบดำริของพระพุทธองค์จึงเข้าไปหาพระอานนท์ ให้พระอานนท์ทูลถามว่า สาเหตุใดจึงไม่ทรงรับยุคลพัสตร์(ผ้า ๒ ผืน) นั้น กาลต่อมา พระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีสาเหตุใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่รับทรงรับยุคลพัสตร์(ผ้า ๒ ผืน) นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงปาฏิบุคลิกทักษิณาทานโดยพิสดาร แล้วตรัสเทศนาทักษิณาวิภังคสูตร จำแนกประเภทแห่งปาฏิบุคลิกทาน แลสังฆทาน โดยพิสดาร แก่พระอานนท์.เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีได้ทรงทราบในเทศนาทักษิณาวิภังคสูตรในภายหลังแล้ว จึงทรงถือซึ่งภูษาทั้งคู่เข้าไปหาพระสารีบุตรท่านก็ไม่ได้รับ เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะท่านก็ไม่ได้รับ แม้ในที่สุดแห่งพระอสีติมหาสาวกก็ไม่พระรูปใดรับไว้เลย จนกระทั่งองค์สุดท้ายซึ่งเป็นพระนวกะชื่อพระอชิตะท่านจึงรับไว้. ในเวลานั้นพระนางปชาบดีโคตมีก็ทรงน้อยพระทัยว่า พระนางตั้งใจในการทำผ้าทั้งคู่นี้ด้วยว่า จะถวายแด่พระผู้มีพระภาคแต่ก็ไม่ทรงรับ แม้นพระอสีติมหาสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็ไม่ทรงรับแต่มาบัดนี้ พระภิกษุหนุ่มซึ่งเป็นพระนวกะมารับซึ่งผ้าของพระนางพระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระนางเสียพระทัย จึงทรงพระดำริว่า จะทำให้พระนางบังเกิดโสมนัสในวัตถุทานนี้ จึงมีพระพุทธดำรัสเรียกพระอานนท์ว่า ท่านจงไปนำบาตรของตถาคตมา แล้วทรงพุทธาธิษฐานว่าพระอัครสาวกและสาวกทั้งปวงอย่าได้ถือบาตรนี้ได้เลย ให้พระอชิตภิกษุหนุ่มนี้จงถือซึ่งบาตรของตถาคตได้ แล้วทรงโยนบาตรนั้นขึ้นไปบนอากาศ แลบาตรนั้นก็ลอยขึ้นไปในกลีบเมฆอันตธานไปมิได้ปรากฏ ในลำดับ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระอสีติสาวกทั้งหลาย ก็อาสานำบาตรนั้นกลับคืนมา แต่ก็หาไม่พบ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสั่งพระอชิตภิกษุว่า ท่านจงไปนำบาตรของตถาคตมา

ในลำดับนั้น พระอชิตะได้มีดำริว่า ควรจะเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก พระอสีติมหาสาวกนี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์มีฤทธาอานุภาพมาก แต่มิอาจนำบาตรมาถวายแด่พระพุทธองค์ได้ แลอาตมะนี้ไซร้มีจิตอันกิเลสครอบงำอยู่ แลเหตุไฉนพระบรมครูจึงตรัสสั่งอาตมาให้แสวงหาซึ่งบาตรนั้น จะต้องมีเหตุอันใดอันหนึ่งเป็นมั่นคง จึงรับอาสาที่จะนำบาตรนั้นคืนมาพระอชิตะได้ไปยืนในที่สุดบริษัท มองขึ้นไปบนอากาศแล้วกระทำสัตยาธิษฐานว่า

“อาตมาบรรพชาในพระพุทธศาสนา ไม่ได้หวังซึ่งลาภยศทั้งหลาย แต่อาตมาบวชประพฤติพรหมจรรย์เพื่อประโยชน์ที่จะตรัสรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง อันอาจสามารถรื้อสัตวโลกให้พ้นจากสงสารทั้งสิ้น หากว่าศีลของอาตมามิขาดทำลายและด่างพร้อยบริสุทธิ์อยู่เป็นอันดี ขอให้บาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าจงมาสถิตในมือของอาตมาด้วยเทอญ”

พระอชิตะทรงตั้งสัตยาธิษฐานแล้ว จึงเหยียดมือออกไปขณะนั้น บาตรก็ปรากฏตกลงจากอากาศ ประดิษฐานอยู่ที่มือของพระอชิตะ พระอัครมหาสาวกและพระอสีติมหาสาวก ได้มีดำริว่า

บาตรนี้ควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ควรแก่มหาสาวกทั้งหลายแลภิกษุรูปนี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลเป็นแน่. พระนางประชาบดีโคตมีได้ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็มีความปิติโสมนัสเป็นกำลังด้วยวัตถุทานที่ถวายให้แก่พระอชิตะแล้วกราบทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จคืนพระราชนิเวศน์สถานเมื่อพระอชิตะได้รับผ้าคู่นั้นมาแล้ว เห็นว่า ไม่ควรแก่ท่านจึงนำผ้าผืนหนึ่งไปปูบนเพดานบนพระคันธกุฎี แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า อีกผืนหนึ่งแบ่งเป็น ๔ ท่อน ผูกเป็นม่านห้อยลงในที่สี่มุมแห่งเพดานนั้น แล้วอธิษฐานว่า ขอให้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต.พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า ท่านอชิตภิกษุรูปนี้เป็นพระโพธิสัตว์ จะได้ตรัสรู้เป็นพระเมตไตรยพุทธเจ้าในอนาคต(๑) ในอนาคตวงศ์(๒) เล่าว่า ในภัททกัลปนี้ ชาติสุดท้ายคือชาติที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น พระเมตไตรยพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ทรงผนวชก็ทรงพระนามว่า “อชิตะ”

๑. ปฐม. แปล. -/๓๑๕-๓๒๘
๒. อนาคตวํส. -/๔๓-๕๖
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #413 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2018, 03:15:44 PM »

วันนี้ ขึ้น15ค่ำเดือน8 ตรงกับวันที่ 27 กรกฏาคม 2561 : วันอาสาฬหบูชา
ร่วมฟังธรรมกันนะครับผม โอวาทสุดท้ายขององค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก่อนมรณภาพ _/\_ _/\_ _/\_

https://www.youtube.com/watch?v=tvO6S76flQU
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #414 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2018, 09:01:51 PM »

  ก็ เ ห มื อ น ผู้ ต้ อ ง ห า ..

"... เกิดขึ้นมาอายุสั้นอายุยาว ก็ท่องเที่ยวไปที่นั่นมาที่นี่ ไปใกล้ไปไกล ผลสุดท้ายก็มาที่จุดนี้ จะไปไหนก็มีกิเลสครอบงำเป็นนาย
บังคับจิตไปเรื่อย ๆ จะไปสู่ภพใดก็เพราะ
กรรม วิบาก ซึ่งเป็นอำนาจของกิเลส
พาให้เป็นไป ส่วนมากเป็นอย่างนั้น

มีกรรม วิบาก และกิเลส ควบคุมไปเหมือนผู้ต้องหา ไปสู่กำเนิดนั้นไปสู่กำเนิดนี้ เกิดที่นั่นเกิดที่นี่ ก็เหมือนผู้ต้องหา ไปด้วยอำนาจกฎแห่งกรรม โดยมีกิเลสเป็นผู้บังคับบัญชาไป สัตว์โลกเป็นอย่างนี้ด้วยกัน ไม่มีใครที่จะเป็นคนพิเศษ
ในการท่องเที่ยวใน “วัฏสงสาร” นี้ ต้องเป็นเช่นเดียวกัน

ผู้ที่เป็นคนพิเศษคือผู้ที่พ้นจากกงจักร
คือเครื่องหมุนของกิเลสแล้วเท่านั้น ..."

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี


ที่มา :: รวมคำสอนหลวงตามหาบัว
ญาณสัมปันโน http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=78
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #415 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2018, 02:46:31 PM »

เป็นธรรมะที่ซาบซ่านจริงๆ ครับพี่ต่าย
อนุโมทนาสาธุครับผม
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #416 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2018, 02:47:04 PM »

มีทำบุญกฐินที่สวนสันติธรรม กับที่ มูลนิธิหลวงปู่มั่น ไปนะครับ ในเดือน พย 2561 นี้ เอาบุญมาแบ่งนะครับพี่ต่าย : )
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #417 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2018, 04:39:22 PM »

อนุโมทนาครับน้องกอล์ฟ

สาธุ
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #418 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2019, 02:49:13 PM »

คำว่า บุญ กับคำว่า กุศล
พวกเราชาวพุทธคงได้ยินหรือได้ฟังกันบ่อยๆนะครับ
เราลองมาดูความหมายที่แท้จริงของ 2 คำนี้กันครับ

บุญ กับ กุศล

เมื่อใดมีการพิจารณากันให้ละเอียดถี่ถ้วน เมื่อนั้นจะพบความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่เรียกกันว่า "บุญ" กับ สิ่งที่เรียกว่า "กุศล" บ้างไม่มากก็น้อย
แล้วแต่ความสามารถในการพินิจพิจารณา แต่ว่าโดยเนื้อแท้แล้ว บุญ กับ กุศล ควรจะเป็น คนละอย่าง หรือ เรียกได้ว่า ตรงกันข้าม ตามความหมายของรูปศัพท์แห่งคำสองคำนี้ทีเดียว

คำว่า บุญ มีความหมายว่า ทำให้ฟู หรือ พองขึ้น บวมขึ้น นูนขึ้น,

ส่วนคำว่า กุศล นั้น แปลว่า แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป โดยความหมายเช่นนี้ เราย่อมเห็นได้ว่า เป็นของคนละอย่างหรือเดินคนละทาง

บุญ เป็นสิ่งที่ทำให้ฟูใจพอใจชอบใจ เช่น ทำบุญให้ทานหรือรักษาศีลก็ตาม แล้วก็ฟูใจ อิ่มเอิบ หรือ แม้ที่สุดแต่รู้สึกว่า ตัวได้ทำสิ่งที่ทำยาก ในกรณีที่ทำบุญเอาหน้า เอาเกียรติ อย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่า ได้บุญ เหมือนกันแม้จะเป็น บุญชนิดที่ไม่สู้จะแพ้ หรือแม้ในกรณีที่ทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
เพื่อเอาบุญกันจริงๆ ก็ยังอดฟูใจไม่ได้ว่า ตนจะได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์
มีความปรารถนาอย่างนั้น อย่างนี้ ในภพนั้น ภพนี้ อันเป็น ภวตัณหา นำไปสู่การเกิดในภพใหม่ เพื่อเป็น อย่างนั้น อย่างนี้ ตามแต่ ตนจะปรารถนา ไม่ออกไปจาก การเวียนว่ายตายเกิด ในวัฎสงสาร ได้ แม้จะไปเกิดในโลกที่เป็นสุคติ

อย่างไรก็ตาม ฉะนั้น ความหมายของคำว่า บุญ จึงหมายถึง สิ่งที่ทำให้ฟูใจและเวียนไปเพื่อความเกิดอีก ไม่มีวันที่สิ้นสุดลงได้

ส่วนกุศลนั้น เป็นสิ่งที่ ทำหน้าที่ แผ้วถาง สิ่งกีดขวาง ผูกรัด หรือ รกรุงรัง ไม่ข้องแวะ กับความฟูใจ หรือ พอใจ เช่นนั้น แต่มีความมุ่งหมายจะกำจัดเสียซึ่งสิ่งต่างๆ อันเป็นเหตุให้พัวพัน อยู่ในกิเลสตัณหา อันเป็น เครื่องนำให้ เกิดแล้วเกิดอีก และมีจุดมุ่งหมาย กวาดล้างสิ่งเหล่านั้นออกไปจากตัว

ในเมื่อบุญต้องการโอบรัด เข้ามาหาตัว ให้มีเป็น ของของตัว มากขึ้น ในเมื่อฝ่ายที่ถือข้างบุญยึดถืออะไรเอาไว้มากๆ และพอใจ ดีใจนั้น
ฝ่ายที่ถือข้างกุศล ก็เห็นว่า การทำอย่างนั้น
เป็นความโง่เขลา ขนาดเข้าไป กอดรัดงูเห่า ทีเดียว ฝ่ายข้างกุศล หรือ ที่เรียกว่า ฉลาด นั้นต้องการจะปล่อยวางหรือผ่านพ้นไป ทั้งช่วยผู้อื่น ให้ปล่อยวาง หรือ ผ่านพ้นไปด้วยกัน ฝ่ายข้างกุศล จึงถือว่าฝ่ายข้างบุญนั้น ยังเป็นความมืดบอดอยู่

แต่ว่า บุญ กับ กุศล สองอย่างนี้ ทั้งที่มี เจตนารมณ์ แตกต่างกัน ก็ยังมี การกระทำทางภายนอกอย่างเดียวกัน ซึ่งทำให้เราหลงใหลในคำสองนี้อย่างฟั่นเฝือ เพื่อจะให้
เข้าใจกันง่ายๆ เราต้องพิจารณา ดูที่ตัวอย่างต่างๆ ที่เรา กระทำกัน อยู่จริงๆ คือ
ในการให้ทาน ถ้าให้เพราะจะเอาหน้าเอาเกียรติ หรือ เอาของตอบแทน เป็นกำไร หรือ เพื่อผูกมิตร หาพวกพ้อง หรือ แม้ที่สุดแต่ เพื่อให้บังเกิดในสวรรค์ อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทานเอาบุญหรือได้บุญ แต่ถ้าให้ทาน อย่างเดียวกันนั่นเอง แต่ต้องการ
เพื่อขูดความขี้เหนียว ของตัว ขูดความเห็นแก่ตัว หรือให้เพื่อค้ำจุนศาสนา เอาไว้ เพราะเห็นว่า ศาสนาเป็น เครื่องขูดทุกข์ ของโลก หรือ ให้เพราะ เมตตาล้วนๆ
โดยบริสุทธิ์ใจ หรืออำนาจเหตุผล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง ปัญญาเป็นผู้ชี้ขาดว่า ให้ไปเสีย มีประโยชน์มากกว่าเอาไว้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทานเอากุศล หรือได้กุศล

ซึ่งมันแตกต่างๆ ไปคนละทิศ ละทางกับการให้ทานเอาบุญ เราจะเห็นได้กันสืบไป
อีกว่า การให้ทานเอาบุญนั่นเอง ที่ทำให้เกิดการฟุ่มเฟือยขึ้นในสังคม ฝ่ายผู้รับทาน
จนกลายเป็นผลร้ายขึ้น ในวงพระศาสนาเอง หรือในวงสังคมรูปอื่นๆ เช่น มีคนขอทานในประเทศมากเกินไป เป็นต้น การให้ทาน ถูกนักคิดพากันวิพากษ์วิจารณ์ในแง่เสื่อมเสีย ก็ได้แก่ การให้ทานเอาบุญนี้เอง

ส่วนการให้ทานเอากุศลนั้นอยู่สูง
พ้นการที่ถูกเหยียดอย่างนี้ เพราะว่ามีปัญญาหรือเหตุผลเข้าควบคุม แม้ว่าอยากจะให้ทาน เพื่อขูดเกลา ความขี้เหนียว ในจิตใจ ของเขา ก็ยังมีปัญญา รู้จักเหตุผลว่าควรให้ ไปในรูปไหน มิใช่เป็นการให้ไปในรูปละโมบบุญหรือเมาบุญ เพราะว่ากุศลไม่ได้เป็นสิ่งที่หวานเหมือนกับบุญ จึงไม่มีใครเมา และไม่ทำให้เกิดการเหลือเฟือผิดความสมดุลขึ้นในวงสังคมได้เลย นี่

เราพอจะเห็นได้ว่า ให้ทานเอาบุญ กับ ให้ทานเอากุศลนั่น ผิดกันเป็นคนละอันอย่างไร

ในการรักษาศีล ก็เป็นทำนองเดียวกันอีก รักษาศีลเอาบุญ คือรักษาไปทั้งที่ไม่รู้จักความมุ่งหมายของศีล เป็นแต่ยึดถือในรูปร่างของการรักษาศีล แล้วรักษาเพื่ออวด เพื่อนฝูง หรือ เพื่อแลกเอาสวรรค์ ตามที่ นักพรรณนาอานิสงส์ เขาพรรณนากันไว้หรือ ทำอย่างละเมอไปตามความนิยมของคนที่มีอายุล่วงมาถึงวัยนั้นวัยนี้ เป็นต้น
ยิ่งเคร่งเท่าใด ยิ่งส่อความเห็นแก่ตัว และความยกตัว มากขึ้น เท่านั้น ยิ่งมีความยุ่งยากในครอบครัว หรือวงสังคม เกิดขึ้นใหม่ๆ แปลกๆ เพราะ ความเคร่งครัดในศีลของบุคคลประเภทนี้อย่างนี้ เรียกว่ารักษาศีลเอาบุญ

ส่วนบุคคลอีกประเภทหนึ่ง รักษาศีลเพียงเพื่อให้เกิดการบังคับตัวเอง สำหรับจะเป็นทางให้เกิดความบริสุทธิ์ และความสงบสุขแก่ตัวเองและเพื่อนมนุษย์เพื่อใจสงบ สำหรับเกิดปัญญาชั้นสูง นี้เรียกว่า รักษาศีลเอากุศล รักษามีจำนวน เท่ากันลักษณะเดียวกัน ในวัดเดียวกัน แต่กลับเดินไป คนละทิศละทาง

อย่างนี้เป็นเครื่องชี้ ให้เห็นภาวะแห่งความแตกต่าง ระหว่างคำว่า บุญ กับคำว่า กุศล คำว่า กุศลนั้น ทำอย่างไรเสียก็ไม่มีทางตกหล่ม จมปลักได้เลย ไม่เหมือนกับคำว่า บุญ และกินเข้าไป มากเท่าไร
ก็ไม่มีเมา ไม่เกิดโทษ ไม่เป็นพิษ ในขณะที่ คำว่า บุญ แปลว่า เครื่องฟูใจนั้น คำว่ากุศล แปลว่า ความฉลาดหรือเครื่องทำให้ฉลาด และ ปลอดภัย ร้อยเปอร์เซ็นต์

ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญ ก็ได้ เอากุศลก็ได้
สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับ คนโน้นคนนี้ ที่โลกอื่น ตามที่ ตนกระหาย จะทำให้เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิ เพื่อการไปเกิด ในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่าสมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมายของมันนั่นเอง ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตราย แก่เจ้าของ ถึงกับต้อง รับการรักษา
เป็นพิเศษ หรือ รักษาไม่หาย จนตลอดชีวิต ก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่า สมาธิเช่นนี้มีตัณหาและทิฎฐิเป็นสมุฎฐาน แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุดก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสารตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน

ส่วนสมาธิ ที่มีความมุ่งหมาย
เพื่อการบังคับใจตัวเอง ให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้าง กิเลส อันกลุ้มรุมจิตให้ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฎฐิ อันจรมา ในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส เป็นทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล
ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึงตรงกันข้าม จากสมาธิเอาบุญ

ครั้นมาถึงปัญญา นี้ไม่มีแยกเป็นสองฝ่าย คือไม่มีปัญญาเอาบุญ เพราะตัวปัญญานั้น เป็นตัวกุศล เสียเองแล้ว เป็นกุศลฝ่ายเดียว นำออกจากทุกข์อย่างเดียว แม้ยังจะต้องเกิดในโลกอีก เพราะยังไม่แก่ถึงขนาด ก็มีความรู้สึกตัว เดินออกนอกวัฎสงสาร มีทิศทางดิ่งไปยังนิพพานเสมอ ไม่วนเวียน
จนติดหล่ม จมเลน โดยความไม่รู้สึกตัว ถ้ายังไม่ถึงขนาดนี้ ก็ยังไม่เรียกว่าปัญญาในกองธรรม หรือ ธรรมขันธ์ ของพุทธศาสนา ดังเช่น ปัญญาในทางอาชีพหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เป็นต้น

ตามตัวอย่าง ที่เป็นอยู่ในเรื่องจริง ที่เกี่ยวกับ การกระทำ ของพวกเราเอง
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า การที่เราเผลอหรือถึงกับหลงเอาบุญ กับ กุศล มาปนเป เป็นอันเดียวกันนั้น ได้ทำให้เกิด ความสับสนอลเวงเพียงไร และทำให้คว้าไม่ถูกตัวสิ่งที่เราต้องการ จนเกิดความยุ่งยากสับสนอลหม่าน ในวงพวกพุทธบริษัทเองเพียงไร ถ้าเรายังขืนทำสุ่มสี่สุ่มห้า เอา
ของสองอย่างนี้ เป็นของอันเดียวกัน อย่างที่ เรียกกัน พล่อยๆ ติดปากชาวบ้านว่า

"บุญกุศลๆ" เช่นนี้อยู่สืบไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถ แก้ปัญหา ต่างๆ อันเกี่ยวกับการทำบุญกุศลนี้ ให้ลุล่วงไปด้วยความดี จนตลอดกัลปาวสาน ก็ได้

ถ้ากล่าวให้ชัดๆ สั้นๆ บุญเป็นเครื่องหุ้มห่อ กีดกั้นบาป ไม่ให้งอกงาม หรือปรากฏ หมดอำนาจบุญเมื่อใด บาปก็จะโผล่ออกมา และงอกงามสืบไปอีก

ส่วนกุศลนั้น เป็นเครื่องตัด รากเหง้าของบาป อยู่เรื่อยไป จนมันเหี่ยวแห้ง สูญสิ้นไม่มีเหลือ

ความต่างกันอย่างยิ่งย่อมมีอยู่ ดังกล่าวนี้

คนปรารถนาบุญ จงได้บุญ คนปรารถนากุศล ก็จงได้กุศล
และปลอดภัย ตามความปรารถนา แล้วแต่ใคร จะมองเห็น
และจะสมัครใจ จะปรารถนาอย่างไร ได้เช่นนี้

เมื่อใดจึงจะชื่อว่า พวกเรารู้จัก บุญกุศล กันจริงๆ รู้ทิศทางแห่งการก้าวหน้าและทิศทางที่วกเวียน ว่าเป็นของที่ไม่อาจจะเอามาเป็นอันเดียวกันได้เลย แม้จะเรียกว่า "ทางๆ" เหมือนกัน ทั้งสองฝ่าย

วัดธารน้ำไหล

๒๕ มิ.ย. ๒๔๙๓
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 966


ดูรายละเอียด
« ตอบ #419 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2019, 03:29:01 PM »

การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2562 เป็นวันพระฤกษ์บรมราชาภิเษก

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระบรมมหาราชวัง เข้าทางประตูวิเศษไชยศรี ประตูพิมานไชยศรี

เวลา 09.58 น. รถยนต์พระที่นั่งเทียบที่พระทวารเทเวศรรักษา เสด็จเข้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ไปยังพระที่นั่งบุษบกมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร รัชกาลที่ 1-9 ที่หน้าพระที่นั่งบุษบกมาลา แล้วทรงกราบ

จากนั้นเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร (มหาดเล็กเชิญพระแสงดาบคาบค่ายตามเสด็จ ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตร และดุริยางค์) เสด็จฯไปทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัยหน้าพระแท่นมณฑล แล้วทรงกราบ ทรงรับการถวายความเคารพจากผู้มาเข้าเฝ้าฯ แล้วประทับพระราชอาสน์

จากนั้นทรงศีล สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก นำคณะสงฆ์ถวายศีล ขณะเดียวกันโหรหลวงบูชาฤกษ์ที่ศาลจตุโลกบาลทั้ง 4 และศาลพระอินทร์ที่มณฑปพระกระยาสนาน

เมื่อสมเด็จพระสังฆราชถวายศีลจบ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้าหอพระสุราลัยพิมาน ทรงเปลื้องฉลองพระองค์ ทรงเศวตพัสตร์ ทรงสะพักขาวขลิบทอง พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลเสด็จ

จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานโดยริ้วขบวนพราหมณ์นำไปยังมณฑปพระกระยาสนาน แล้วเสด็จไปยังเครื่องสังเวยกลางหาว ทรงจุดธูปเงิน เทียนทอง สังเวยเทวดากลางหาว แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนาน พันตำรวจโท ปัญญา สุดาทิพย์ ถอดฉลองพระบาทถวาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเหนืออุทุมพรราชอาสน์ แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา แล้วทรงเหยียบใบอ้อ

 

สรงพระมุรธาภิเษก

เวลาพระฤกษ์ 10.09-12.00 น. พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เลขาธิการพระราชวังถวายบังคม 3 ครั้ง ขึ้นมณฑปพระกระยาสนาน เปิดพระครอบพระมุรธาภิเษกรัชกาลที่ 1 ถวาย แล้วลงจากมณฑปพระกระยาสนาน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวักน้ำพระพุทธมนต์อันเจือด้วยน้ำเบญจสุทธคงคาและน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก 4 สระเมืองสุพรรณ จากพระครอบพระมุรธาภิเษก รัชกาลที่ 1 สรงพระนลาฏ (หน้าผาก)

เวลา 10.26 น. พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เลขาธิการพระราชวัง กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชานุญาตไขสหัสธาราอันเจือด้วยน้ำเบญจสุทธคงคาและน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก 4 สระเมืองสุพรรณ แล้วถวายบังคม 3 ครั้ง ขณะนั้นโหรหลวงลั่นฆ้องชัย พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พรามหณ์เป่าสังข์ ภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร และดุริยางค์ ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารปืนใหญ่ยิงปืนมหาฤกษ์ มหาชัย มหาจักร มหาปราบยุค กระบอกละ 10 นัด (ตามกำลังวันเสาร์) ที่สนามหญ้าศาลาสหทัยสมาคม ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ 101 นัด

ณ ขณะที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสรงมุรธาภิเษกจากสหัสธารานั้น ถือว่าเป็นวินาทีที่เปลี่ยนพระราชสถานะเป็น พระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ตามราชประเพณี หลังจากนั้นการออกพระนาม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนเป็น “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

เมื่อสรงสหัสธาราแล้ว สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระอนุวงศ์ และพราหมณ์ ถวายน้ำพระพุทธมนต์ และน้ำเทพมนตร์ ตามลำดับ

-สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถวายน้ำพระพุทธมนต์ด้วยพระครอบพระกริ่ง รัชกาลที่ 4 ที่พระปฎษฎางค์ (แผ่นหลัง) และถวายน้ำพระพุทธมนต์ด้วยพระครอบยันต์เดิม รัชกาลที่ 4 ที่พระหัตถ์

-พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ ทูลเกล้า ฯ ถวายน้ำอภิเษกที่พระหัตถ์ด้วยพระเต้าเบญจคัพย์ รัชกาลที่ 5

-พลตรี หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ทูลเกล้า ฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระเต้านวเคราะห์ รัชกาลที่ 4 ทรงวักน้ำและทรงแตะที่พระนลาฏ

-พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์ ทูลเกล้า ฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ที่พระหัตถ์ด้วยพระเต้าเบญจคัพย์ รัชกาลที่ 1

-พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์ ทูลเกล้า ฯ ถวายพระมหาสังข์เพชรใหญ่ ทรงรับและทรงสรงน้ำเทพมนตร์เหนือเส้นพระเจ้า

-พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์ ทูลเกล้า ฯ ถวายพระมหาสังข์เพชรน้อย ทรงรับและทรงสรงน้ำเทพมนตร์เหนือเส้นพระเจ้า

-พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์ ทูลเกล้า ฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระมหาสังข์พิธีพราหมณ์ที่พระหัตถ์ ทรงรับใบมะตูมทรงทัด แล้วทูลเกล้า ฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระมหาสังข์ทอง พระมหาสังข์นาก พระมหาสังข์เงิน พระมหาสังข์งา พระมหาสังข์สัมฤทธิ์ พระครอบเฟือง (สัมฤทธิ์) แล้วทูลเกล้า ฯ ถวายแหวนใบกระถินทรงสวม ที่พระอนามิกาขวา (นิ้วนาง)

-หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล ทูลเกล้า ฯ ถวายพระเต้าน้ำอภิเษกต่าง ๆ ทรงรับพระเต้ารดพระองค์ที่พระอังสา (บ่าไหล่) ซ้ายและขวา เว้นแต่พระเต้าเทวบิฐ รัชกาลที่ 4 ทรงรดที่พระชงฆ์ (แข้ง) และพระบาท  (เท้า)

– พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เลขาธิการพระราชวัง ทูลเกล้า ฯ ถวายพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ ทรงรับและทรงสรงน้ำเทพมนตร์เหนือเส้นพระเจ้า

เสร็จพิธีสรงพระมุรธาภิเษกแล้ว มหาดเล็กสอดฉลองพระบาทถวาย และถวายฉลองพระองค์คลุม หลังจากสรงมุรธาภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงรับน้ำอภิเษก ทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง เป็นลำดับถัดไป

 

ทรงรับน้ำอภิเษก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นหอพระสุราลัยพิมาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุยสายสะพาย นพรัตน์ราชวราภรณ์ สายสร้อยจุลจอมเกล้า ผู้ที่จะทูลเกล้าฯถวายน้ำอภิเษกเข้าไปยืนประจำที่รอบพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้าพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ภายใต้พระบวรเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่บูรพาทิศเป็นปฐม

– ทิศบูรพา (ตะวันออก) พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์  กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล  และทูลเกล้า ฯ  ถวายน้ำอภิเษกด้วยถ้วยศิลาจารึกพุทธคาถาเป็นทิศแรกแล้ว พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์ ทูลเกล้า ฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระครอบเฟือง (สัมฤทธิ์) เสร็จแล้ว ทูลเกล้า ฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระมหาสังข์ประจำทิศที่พระหัตถ์ทุกทิศตามลำดับ หลังผู้ถวายน้ำอภิเษก

– ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล

– ทิศทักษิณ (ใต้) พลโท หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล

– ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี

– ทิศประจิม  (ตะวันตก) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

– ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

– ทิศอุดร (เหนือ) นายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา

– ทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) นายจรัส สุวรรณเวลา ราชบัณฑิต

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรที่ประทับทรงรับน้ำอภิเษกนั้นไปตามทิศ แล้วประทับทิศบูรพาอีกครั้ง เพื่อทรงรับน้ำอภิเษกและน้ำเทพมนตร์แทนทิศกลาง

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และทูลเกล้า ฯ ถวายน้ำอภิเษกสำหรับทิศกลาง

พระราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์ ทูลเกล้าฯถวายพระครอบเฟืองสมฤทธิ์ บรรจุน้ำเทพมนต์ ทรงจุ่มพระหัตถ์ขวาลงในน้ำพระครอบเฟืองสัมฤทธิ์ แล้วทรงลูบที่พระนลาฏ และทูลเกล้าฯถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระมหาสังข์พิธีพราหมณ์ที่พระหัตถ์ขวา แล้วทรงลูบพระเศียร

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงรับการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง เป็นลำดับถัดไป..
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30
พิมพ์
กระโดดไป: