อัตตานุทิฏฐิ เมื่อถอนทิฏฐิ ถอนความยึดมั่นถือมั่นออก มันก็กลายเป็นอัตตาหลวงตามหาบัวชี้: ขจัดอัตตาที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นได้สำเร็จ จึงจะได้อัตตาเที่ยงแท้เป็นอมตะ คือ นิพพาน พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ชี้ว่า..
.ความยึดถือถือมั่นว่าเป็นอัตตาเก๊ ไม่ได้นำไปสู่อัตตาที่เที่ยงแท้เป็นอมตะ คือ นิพพาน ต้องขจัดอัตตาที่เป็นความยึดมั่นถือมั่นไปให้ได้ก่อน เหยียบข้ามอัตตาที่เป็นความยึดมั่นถือมั่นสำเร็จแล้ว จึงจะได้อัตตาที่เที่ยงแท้เป็นอมตะ คือ นิพพาน........เข้าใจกันไหมนี่ ผมเปิดมนต์สะกดแห่งอวิชชาออกให้แล้วนะนี่
พระอาจารย์มหาบัว
"........
อัตตาความยึดมั่นถือมั่น ก็ต้องพิจารณาอัตตานี้ เพื่อให้ผ่านอัตตานี้ไปได้แล้วจึงไปเป็นพระนิพพานได้ เหตุใดพระนิพพานจึงจะมาเป็นอัตตาเป็นอนัตตาเสียเอง เอาพิจารณาซิ "
อ่านฉบับเต็มกันเอาเองแล้วกัน
แสดงธรรมโดย พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
อย่าง ที่ว่าไว้ มีผู้มาอ้างในพระไตรปิฎกก็มีนี่นะ...
อัตตา ก็เป็นส่วนสมมุติ อัตตา คือความยึดถือ อัตตา ตนจะไปเป็นนิพพานได้ยังไง อัตตา ความถือตนถือตัว อตฺตานุทิฏฺฐึ อูหจฺจ
พระองค์แสดงไว้แล้วว่า สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต แล้วก็ อตฺตานุทิฏฺฐึ อูหจฺจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ
คือ ดูก่อนโมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติ ดูโลกให้เห็นเป็นของว่างเปล่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียได้ อัตตาฟังซิ ถอนอัตตานุทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิก็เป็นทางเดิน
ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พญามัจจุราชจะติดตามเธอไม่ทันอีกแล้ว นั่นท่านให้ถอนอัตตานุทิฏฐิ แล้วยังทำไม อัตตา จะมาเป็นนิพพานเสียเอง เอาพิจารณาซิ ยันกันอย่างนั้นซิ
อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ก็เป็นทางเดินเพื่อก้าวสู่พระนิพพาน อัตตาความยึดมั่นถือมั่น ก็ต้องพิจารณาอัตตานี้เพื่อให้ผ่านอัตตานี้ไปได้แล้วจึงไปเป็นพระนิพพานได้
เหตุใดพระนิพพานจึงจะมาเป็นอัตตาเป็นอนัตตาเสียเอง เอาพิจารณาซิ
สรุปชัดหรือยังครับ อัตตาที่เป็นความยึดมั่นถือมั่น นั้นคือ อัตตานุทิฏฐิ เมื่อถอนทิฏฐิ ถอนความยึดมั่นถือมั่นได้ "อัตตานุทิฏฐิ" มันก็กลับกลายเป็น "อัตตา" แทน "อัตตา" นั้น = นิพพาน
ความรู้สูงสุดของศาสนาพุทธ ที่ผู้ไม่เข้าถึงธรรมยากจะเข้าใจ ตอน 1 ความรู้สูงสุดของศาสนาพุทธ ที่ผู้ไม่เข้าถึงธรรมยากจะเข้าใจ ตอน 1 เมื่อวานผมคิดว่าจิตสังขารคือเจตสิก แต่วันนี้ทำสมาธิกรรมฐานดู จึงรู้ว่าจิตมันมี 2 ชนิดจริงๆ คือ
1. จิตของมนุษย์และสรรพจิตในจักรวาล ตัวนี้เป็นธาตุรู้ของอาทิสมานกาย หรือธาตุรู้ของกายทิพย์ ตัวนี้ไม่เป็นอมตะ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
2. จิตของพระอรหันต์ ตังนี้เป็นธาตุรู้ และเป็นธาตุอมตะ เป็นนิจจัง สุขขัง และอัตตาหรืออนัตตาที่เที่ยง เรียกว่า ธรรมกาย ธรรมธาตุ หรือ ธรรมขันธ์
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เข้านิพพาน ก็ต้องดับจิตมนุษย์หรือธาตุรู้ของมนุษย์ก่อน เพื่อจะได้ ธรรมกาย ธรรมธาตุ หรือ ธรรมขันธ์ ซึ่งเป็นธาตุรู้อมตะเท่าที่รู้มีเพียงเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นมนุษย์ ท่านไม่ต้องละลายหรือดับจิตมนุษย์หรือธาตุรู้ของมนุษย์ก่อน เพื่อจะได้ ธรรมกาย ธรรมธาตุ หรือ ธรรมขันธ์ ซึ่งเป็นธาตุรู้อมตะ
เพื่อจะยืนยันเรื่องนี้ ผมจึงอ่านคำอธิบายของหลวงปู่มั่น และอ่านตอนพระพุทธเจ้าเข้านิพพานอีกครั้ง จึงจะสามารถยืนยันและเข้าใจเรื่องสูงสุดของพุทธศาสนานี้ได้ถูกต้อง
นิพพานไม่สูญ ตามที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตเล่านิพพานเป็นแดนของวิสุทธิเทพคือผู้เป็นพระอรหันต์ ที่ละลายกายทิพย์หมดสิ้นแล้ว เหลืออยู่แต่จิตสุขใสเป็นดวงประกายพรึก พระอรหันต์สถิตย์อยู่ในแดนพระนิพพานนั้น.......
ไม่ใช่กายทิพย์ธรรมดาเหมือนโอปปาติกะทั้งหลาย กายทิพย์ หรือ ธรรมกาย ของพระอรหันต์ในแดนนิพพานเป็นกายทิพย์ที่นฤมิตขึ้นด้วยธรรมไม่ได้เกิดขึ้นเองเป็นเองโดยธรรมชาติของโลกวิญาณ ร่างธรรมกายของพระอรหันต์เป็นทิพย์ละเอียดใสสะอาดใสเป็นประกายคล้ายแก้วประกายพรึก
มีรัศมีสว่างไสวมากกว่าพระพรหมอย่างเทียบกันไม่ได้เลย มีความสุขที่สุดอย่างไม่มีอะไรเปรียบเทียบเพราะความรู้สึกอื่นไม่มี มีแต่จิตสงเคราะห์ !
ตอนพระพุทธเจ้าเข้านิพพานมีอยู่ในพระไตรปิฎกทั่วไป ไปอ่านดูได้ ผมขอนำ
คำำพูดของหลวงปู่ดูลย์ อตโล ที่ท่านวิเคราะกลันกรองมาแล้ว มาลงดีกว่า
....พระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนหรอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว
จิตขันธ์หรือนามขันธ์ ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันปกติของมนุษย์ ครอบพร้อมทั้งสติ และสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดมาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างสมบูรณ์ ภาวะนั้นเรียกว่า มหาสุญญตา หรือจักรวาลเดิม หรือเรียกกว่า นิพพาน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ .
สรุปเราจะพูดว่ามีจิตดวงเดียวก็ได้ หรือจะพูดว่ามี 2 จิตก็ได้ แต่มันเปลี่ยนสภาพไปจากนิพพานจิตเป็นจิตมนุษย์และสรรพสัตว์ใน 3 ภพ
หลวงปู่ดุลย์ พูดถูกแล้วว่า นี่เป็นจุดสุดยอดของการหลอกหลวงของรูปนาม
พวกเราล้วนเล่นอยู่ในโลกแห่งความฝันหรือโลกแห่งจินตนาการของจิต(สังขาร)มาลรวม พระอรหันต์คือผู้ตื่นแล้วจากฝันอันสยองนี้แล้ว
ถ้าคุณเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทอย่างถูกต้องแบบนี้ ศาสนาพุทธของแท้ ก็มีผู้สืบถอดท่านพลศักดิ์ฃ่วยอธิบาย เรืองจิตสังขารดวงที่หนี่ง ซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งสังสารวัฎ ที่พระไตรปิฎก พระอภิธรรมหาต้นไม่เจอ
แต่พลศักดิ์เจอ ให้ผมเข้าใจด้วย จะเป็นพระคุณมากตอบยกย่องเกินไปแล้วครับ เรื่องมันหาได้เป็นเช่่นนั้นไม่ พระไตรปิฎกบันทึกคำตรัสสอนของพระพุทธเจ้าเอาไว้ แต่คนส่วนใหญ่หาไม่เจอเิอง ถึงหาเจอก็ตีความไม่ได้ เช่น จิตสังขารดวงที่หนี่ง ต่อเนื่องมาจากจิตปภัสสร ไปหลงกลอวิชชา ทำให้เกิดปฏิจจสมุปบาท
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี = ถ้าจิตปภัสสรของเราไม่ไปหลงกลอวิชชา จิตของเราก็ยังปภัสสรเหมือนเดิม สังขารมันก็จะไม่มี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี = วิญญานตัวนี้คือ วิญญาณธาตุดวงที่ 1 ที่สังขาร(ความคิดปรุงแต่งสร้างขึ้นมา)
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี = วิญญาณธาตุดวงที่ 1 สร้างนามรูปหรือขันธ์ 5 เริ่มแรกขึ้นมา แล้ววิญญาณธาตุดวงที่ 1 ก็กลายพันธฺ์ เป็นขันธฺ์ 5 ซึ่งมีวิญญาณขันธ์ดวงที่ 1 อยู่ด้วย
กลไกของปฏิจจสมุปบาทฉบับสมบูรณ์สุด พระพุทธองค์ก็ตรัสสอนอยู่ใน สูตรที่ ๕ มหาวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๐. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน. ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้
...เพราะ วิญญาณ นั่นแล มีอยู่ นามรูป จึงได้มี : เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความรู้สึกอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
"เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
"วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป : ย่อมไม่เลยไปอื่น; ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้ พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง : ข้อนี้ได้แก่การที่ เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
สรุปเริ่มต้นเราเป็นจิตปภัสสร พอเราหลงกลอวิชชา ปฏิจจสมุปบาทจึงเกิดขึ้น นี่จะเป็นเหตุที่พระพุทธเจ้าสอนว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ต่อเนื่องไปให้เกิดวิญญาณธาตุดวง 1(กายทิพย์หรืออทิสมานกาย) แล้วกายทิพย์ดวง 1 มันก็ไปสิงสู่และเป็นปัจจัยสร้างนามรูปชุดแรกของเรา คือ ร่างกายชุดแรกของเรา พอนามรูปหรือร่างกายชุดแรกของเรา ตายห่า หรือจะตายโหงก็แล้วแต่
มันดันไม่ตายเปล่า มันดันทิ้งทายาทหรือวิญญาณธาตุดวง 2(กายทิพย์หรืออทิสมานกายดวง 2) เอาไว้ด้วย เราจึงต้องเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อยๆ เพราะมันเล่นต่อเทียนกันแบบนี้นี่เอง เราจึงต้องเล่นเกมกันอยู่ในโลกและในปรโลกไม่รู้จักจบแบบนี้
ถ้าคุณเข้าใจเรื่องที่ผมกล่าวได้จริงๆ ก็เท่ากับคุณเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างท่องแท้ สามารถสืบต่อพระพุทธศาสนาเถรวาทของแท้ได้แล้ว
จิตเกิดดับอยู่ตลอด และจิตดวงเดียวท่องเที่ยวไป หมายถึงอะไร?มีคนสอนว่า จิตดวงเดียวท่องเที่ยวไป และจิตเกิดดับๆๆๆทุกขณะแบบไฟ ...
จิต(สังขาร)ที่เกิดดับทุกขณะ เกิดดับๆๆๆแบบไฟ คือ อารมณ์ของจิต หรืออาการของจิต หรือสักษณะของจิต(สังขาร) ซึ่งเปรียบเหมือนตัว cursur ที่บอกตำแหน่งบนคอมพิวเตอร์ของคุณ การกระพริบตลอดของcursur ไม่ใช่ตัวcursur แต่เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของcursur จิตเกิดดับทุกขณะก็ไม่ใช่ตัวจิต(สังขาร) แต่เป็น ลักษณะหรือคุณสมบัติ หรืออาการของจิต(สังขาร)
จิตดวงเดียวท่องเที่ยวไป คือ จิตสังขาร จิตสังขารอยู่ในวิญญาณธาตุดวงที่ 1 แล้ว วิญญาณธาตุดวงที่ 1 ก็ไปสร้างนามรูป หรือขันธ์ 5 สิงอยู่เป็นคุณ ผม และคนอื่นๆ ท่องเที่ยวอยู่ในโลกสักพัก แล้วมันก็ตายไป
ตาย=นามรูป หรือขันธ์ 5 ตาย พอมันตาย ไอ้นามรูป หรือไอ้ขันธ์ 5 มันไม่ตายเปล่า มันไปสร้างวิญญาณธาตุดวงที่ 2 ให้เกิดขึ้นด้วย เพื่อรองรับผลของกรรม หรือวิบากกรรมที่ นามรูป หรือขันธ์ 5 ที่เกิดจากวิญญาณธาตุดวงที่ 1 สร้างไว้ในโลก
ปฏิจจสมุปบาทจึงเกิดขึ้น เพราะ- วิญญาณธาตุดวงที่ 1 เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป หรือขันธ์ 5(ตัวคุณชาตินี้)อันแรก พอมันตายลง นามรูป หรือขันธ์ 5 อันแรกไม่ได้ตายเปล่า เพราะนามรูป หรือขันธ์ 5 อันแรก เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณธาตุดวงที่ 2
- วิญญาณธาตุดวงที่ 2 เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป หรือขันธ์ 5อันสอง(ตัวคุณชาติหน้า) พอมันตายลง นามรูป หรือขันธ์ 5 อันสองไม่ได้ตายเปล่าอีกเช่นกัน มันเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณธาตุดวงที่ 3....อย่างนี้ไปเรื่อยๆ
ด้วยเหตุนี้ จิต(สังขาร)หรือวิญญาณ มันเกิดขึ้น ทรงอยู่ชั่วคราว แล้วดับไป ก่อนมันดับไป มันไปต่อไฟเทียนให้เกิดจิตดวงใหม่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไฟหรือจิตดวงนี้จึงไม่เคยตาย เพราะมันสามารถต่อเนื่องหรือสืบต่อไปเรื่อยๆ ถ้ายังมีกิเลสอวิชชาหรือกรรมหล่อเลี้ยงมันอยู่
ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องศาสนาไม่ว่ามากหรือน้อย ทั้งหมดก็เพราะ...ถูกมารลวงเรื่องจิตจิตมีอยู่ 2 ชนิด
1.
จิต (สงขาร) หรือ จิตในปฏิจจสมุปบาท สิ่งนี้หรือจิตตัวนี้ เป็นสิ่งที่หลวงปู่ดุลย์ เรียกว่า รูปนามของจักรวาล และหลวงปู่ดูลย์กล่าวถึงว่า “ภาวะที่แท้แห่งจิต เป็นสิ่งที่ก่อกำเนิดธรรมทั้งหลาย ที่เรียกว่าวิญญาณ" ธรรมทั้งหลาย ก็คือ จิต (สงขาร) คือ จักรวาล นั่นเอง
หรือที่พระพุทธเจ้า เรียกว่า
สพฺโพ ปจฺจลิโต โลโก
สพฺโพ โลโก ปกมฺปิโต
โลกทั้งโลก คือ ความกระเพื่อมไหว/หวั่นไหว (Trembling)
โลกทั้งโลก คือ ความสั่นสะเทือน (Vibration)
และนักวิทยาศาสตร์เรียกว่าอะตอมหรือสสาร หรือสรรพสิ่งในจักรวาล
2.
จิตบริสุทธิ์ หรือจิตสังขาร หรือนิพพานจิต สิ่งนี้ที่หลวงปู่ดุลย์ พูดว่า จิตหนึ่ง หรือ จิตคือพุทธะ นิพพาน เป็นการรวมของจิตบริสุทธิ์เข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของจักรวาลเดิม
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา คือ นำจิตสังขารที่อยู่ในจักรวาล(ฝั่งนี้) ออกไปเป็นจิตบริสุทธิ์นิพพาน(ฝั่งโน้น)
สรุป1. จิตในโลกและจักรวาลเป็นจิตที่ไม่บริสุทธิ์ แม้แต่จิตเจ้าแม่กวนอิม หรือจิตพระศรีอริยะเมตตรัย จิตของพวกท่านก็ยังไม่บริสุทธิ์ เพราะจิตของพวกท่านไม่ได้ตัดความเมตตากรุณาต่อมวลมนุษย์ออกจากใจ
2. จิตนิพพาน เป็นการรวมของจิตบริสุทธิ์เข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของจักรวาลเดิม จิตในนิพพานนี้ เป็นจิตต้นกำเนิด หรือเป็นธรรมกายต้นกำเนิด หรือเป็นพุทธภาวะ ที่เรียกว่า อาทิพุทธ ผู้ที่เข้าถึงนิพพาน ก็คือผู้ที่รู้และกลับไปเป็นส่วนหหนึ่งของ อาทิพุทธ ที่ศาสนาพราหมณ์เพรียกว่า อาตมัน(อรหันต์)กลับเข้าไปรวมกับปรมาตมัน (นิพพาน)
ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องศาสนาไม่ว่ามากหรือน้อย เกือบทั้งหมดก็เพราะ...ถูกมารหรืออวิชชาทำให้ไม่เข้าใจเรื่องจิตไม่บริสุทธิ์(จิตสังขาร)และจิตบริสุทธิ์(จิตนิพพาน)
ความรู้ในระดับสูงจากการทำสมถะและวิปัสสนาสมาธิ = จิตนิ่ง (ไม่ใช่กาย) นิ่งจนสามารถดับกิเลสทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ สมาธิในระดับสูงสุดเรียกว่า "เจโตวิมุติติ"
วิปัสสนา = การดูจิต ดูกายตน จนกระทั่งเกิดปัญญารู้ความจริงว่า มีจิตอันหนึ่งที่เป็นตัวรู้ ซ่อนอยู่ในจิตของเรา ซึ่งเป็นผู้เคลื่อนไหวไปตามแรงของกุศล/อกุศล และความคิดปรุงแต่ง วิปัสสนาในระดับสูงสุดเรียกว่า "ปัญญาวิมุติติ"
จิตตัวรู้ = จิตพุทธะ หรือจิตนิพพาน หรือจิตมีสติสัมปะชัญญะเต็มที่ ไม่หลงไปตามการลวงของกิเลสตัณหาใด
จิตที่เคลื่อนไหว =
จิตสังขาร หรือ จิตในปฏิจจสมุปบาท จิตสังขาร หรือ จิตในปฏิจจสมุปบาท นี้เอง ที่พาคุณไปเกิดเป็นคน สัตว์ เทพ พรหม เปรต สัตว์นรก ฯลฯ
ทำสมาธิอย่างเดียวโดยไม่ทำวิปัสสนา เข้าถึงนิพพานได้ยาก พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ทำสมาธิควบคู๋ไปกับวิปัสสนา ผลลัพท์ก็คือ รู้ก็สักแต่ว่ารู้ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น อะไรอะไรก็สักแต่ว่าทั้งนั้น จิตไม่คิดปรุงแต่งออกไปเป็นอย่างอื่น
เมื่อนั้นเราจะรู้ว่า ที่แท้เหล่ามนุษย์ สัตว์ เทพ พรหม เปรต สัตว์นรก ฯลฯ ล้วนกำลังอยู่ในความฝันของตัวเองที่บุญและบาปนำมาให้พบ และให้เล่นอยู่ในภพภูมิต่างๆตามกำลังบุญบาปของตน
มาเข้าใจเรื่อง นาม รูป วิญญาณ ให้ถูกต้องสักที จะได้ไม่โดนมารมันหลอกอีก อธิบาย นาม รูป วิญญาณ อย่างละข้อได้มะครับ ...
ปัญญาอ่อน โพสต์เมื่อ 30-1-2011 11:02
นาม รูป = ร่างกายของคุณ หรือที่เรียกว่า ขันธ์ 5
วิญญานดวงเดิม = จิต หรือกายทิพย์ หรืออาทิสมานกาย หรือผีซึ่งเป็นคุณในอดีตชาติ และมาสิงอยู่ในตัวของคุณในชาตินี้ สิงเมื่อตอนที่คุณยังเป็นทารกอยู่
วิญญานดวงเดิม ทำหน้าที่ให้พลังกับชีวิต และให้ระบบภายในร่างกายทำงาน วิญญานดวงเดิม เป็นเหมือนถ่านหรือแบตเตอรี่ ส่วนร่างกายเป็นเหมือนตัวหุ่นยนต์ แต่หุ่นยนต์ก็ทำงานไม่ได้ถ้าไม่มีแบตเตอรี่
วิญญานดวงใหม่ = จิต หรือกายทิพย์ หรืออาทิสมานกาย หรือผีตัวใหม่ ที่ออกจากร่างกาย(ขันธ์ 5)ของคุณ
เมื่อคุณตาย ขันธ์ 5 (ร่างกายของคุณ) รวมทั้งวิญญานดวงเดิมของคุณตายแตกดับไป แต่วิญญานดวงใหม่ (จิต หรือกายทิพย์ หรืออาทิสมานกาย หรือผีตัวใหม่ ที่สะสมความจำในชาตินี้และชาติอื่นๆเอาไว้) จะออกมารับผลกรรมดีกรรมชั่วในปรโลกสักพักหนึ่ง และก็กลับไปเกิดเป็นคนเป็นสัตว์เดรัจฉานใหม่
........................................................................................
แต่ถ้าคุณอ่าน แล้วยังไม่เข้าใจ ต้องไปยืมละครเรื่อง รอยรักรอยบาป มาดู เรื่องนั้น จวน โดนเฆี่ยนจนตาย แล้ววิญญาณของจวน มาเกิดเป็นหนูยิ้ม หนูยิ้มจำเรื่องราวเก่าๆที่จวนถูกทำร้ายโดยพ่อและแม่ได้ วิญญาณของจวนดวงเดิมต้องการล้างแค้นพ่อและแม่ แต่วิญญาณของจวนดวงใหม่ที่เป็นหนูยิ้ม ไม่ต้องการล้างแค้นพ่อและแม่
+++วิญญานของจวนที่ทำให้เกิดนามรูป คือ หนูยิ้ม สุดท้ายก็ต้องดับไป แต่วิญญาณตัวใหม่ของจวนที่เป็นหนูยิ้ม ที่หมดความแค้นพ่อและแม่ จะยังคงอยู่ต่อไป พวกเราเหล่ามนุษย์มาเกิดก็เพื่อค่อยๆปรับปรุงตัววิญญาณธาตุของเราให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ตัวเก่าก็ดับไป ตัวใหม่ที่มีประสพการณ์ใหม่ในชาตินี้ และมีประสพการณ์เก่าๆในชาติก่อนๆ ก็ยังสืบต่อไปเรื่อยๆ+++
.................................................................................
ในตัวของเรา มีจิตในอดีตชาติ เข้ามาสิงสู่ตอนเกิด สมัยใหม่เขาเรียกว่า "จิตใต้สำนึก" มันอยู่ร่วมกับวิญญาณธาตุตัวใหม่ หรือกายทิพย์ตัวใหม่ ซึ่งเป็นวิญญาณหรือจิตของเราในชาตินี้
วิญญาณธาตุตัวเก่า หรือกายทิพย์ตัวเก่า จะดับสลายไปเมื่อเราตาย เพราะมันได้กลับกลายเป็นตัวนามรูปหรือขันธ์ 5 ไปแล้ว (ตาย=ขันธ์ 5 รวมทั้งถ่านหรือแบตเตอรี่ของขันธ์ 5 ตาย) แต่จิต(สังขาร) ไม่ได้ตาย มันจึงมีวิญญาณธาตุตัวใหม่ หรือกายทิพย์ตัวใหม่ ออกมา
วิญญาณธาตุตัวใหม่ หรือกายทิพย์ตัวใหม่ จะเกิดขึ้นสมบูรณ์เมื่อกายทิพย์ตัวเก่า(ที่กลายเป็นนามรูปหรือขันธ์ 5 หรือกายของเรา)ตายแล้ว
มันสืบเนื่องอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะนิพพาน
ขบวนการสร้างวิญญาณและนามรูป(ร่างกาย หรือขันธ์ 5)ของกันและกันเป็นดังพุทธพจน์นี้:
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ในมหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ ว่า:
"ดูกรอานนท์เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป..."
สูตรที่ ๕ มหาวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๐. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน.ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้
...เพราะ วิญญาณ นั่นแล มีอยู่ นามรูป จึงได้มี : เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนาม
รูป" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
"เมื่ออะไรมีอยู่หนอ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความรู้สึกอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
"เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
"วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป : ย่อมไม่เลยไปอื่น; ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้ พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง : ข้อนี้ได้แก่การที่ เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
สรุป1.
วิญญาณะปัจจะยา นามรูปัง (วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามและรูป) = วิญญาณตัวเก่าเมื่อชาติก่อน เป็นปัจจัยให้เกิดร่างกายหรือขันธ์ 5 หรือนามรูปในชาตินี้
2.
นามรูปปัจจะยา วิญญาณนัง (นามและรูปเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ) = ร่างกายหรือขันธ์ 5 หรือนามรูปในชาตินี้ เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณในชาตินี้ = วิญญาณในชาติเก่าสะสมประสพการณ์ใหม่ๆ บุญบาปใหม่ๆ ในชาตินี้
เคล็ดลับความไม่ทุกข์ในทุกเรื่องของชีวิตพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูกรคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.นี่แหละครับ เคล็บลับของความไม่ทุกข์ เมื่อสามารถรับรู้และแยกจิตออกจากกายได้แล้ว กายมันจะเป็นทุกข์อย่างไร ถ้าจิตมันไม่ทุกข์ซะอย่าง ไม่ยอมรับ คือ ไม่นำเข้าข้อมูลจากโลกที่เข้ามาสู่จิตตน ไม่คิดว่าสิ่งนั้นเป็นตัวกู ของกู แล้วความทุกข์มันจะมีได้อย่างไร
ลองดูซิว่า คุณเห็นคนป่วย และข่าวความทุกข์ทรมานของคนมากมาย แต่ทำไมคุณไม่ทุกข์ล่ะ
ตอบกูไม่ทุกข์ ก็เพราะไม่ใช่เรื่องของกู ไม่มีตัวกู ของกู อยู่ตรงนั้น แต่ว่าเมื่อไรที่กูไปคิดว่า มีตัวกู ของกู อยู่ด้วย กูย่อมเป็นทุกข์มันทุกข์เรื่อง