: สวนป่ากู่ทองโพธิญาณ พระพุทธรูปขาว
สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม
เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า
พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์) ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า
เถรภาษิต บ้าง
สาวกภาษิต บ้าง แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ เรียกว่า
เทวดาภาษิต เป็นต้น
พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า
ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล
พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก
ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก
พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ
กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้
น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์
สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ
ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยามานํ ธมฺมนฺเวติ กิญฺจิ
ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ขโณ โว มา อุปจฺจคา
ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว
วัยย่อมผ้านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง
พุทธศาสนสุภาษิต : ความโกรธ โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก
โกโธ สตฺถมลํ โลเก
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข
พุทธศาสนสุภาษิต : ความทุกข์ ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
ความจนเป็นทุกข์ในโลก
อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
พุทธศาสนสุภาษิต : สหาย อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้
สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบพึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร
มีมิตรเลว มีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและมีที่เที่ยวเลว
นตฺถิ พาเล สหายตา
ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล
ภริยา ปรมา สขา
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
พุทธศาสนสุภาษิต : มลทิน อสชฺฌายมลา มนฺตา
มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ
ความเกียจค้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ
มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
พุทธศาสนสุภาษิต : บริสุทธิ์ สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์มีเฉพาะตัว
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
ผู้อื่นพึงทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ
พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ
พุทธศาสนสุภาษิต : การชนะ สพฺพรติง ธมฺมรติ ชินาติ
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
น หิ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
ความชนะที่ไม่กลับแพ้เป็นดี
อสาธุง สาธุนา ชิเน
พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดีของตน
ชิเน กทริยํ ทาเนน
พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
สจฺเจนาลิกวาทินํ
พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
พุทธศาสนสุภาษิต : หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
มนาปทายี ลภเต มนาปํ
ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
บุญของผู้ให้ย่อมเจริญ
ทเทยฺย ปุรโส ทานํ
คนควรให้ทาน
ปุญฺญมากงฺขมานานํ สงฺโฆ เว ยชตํ มุขํ
พระสงฆ์นั้นแล เป็นประมุขของเหล่าชนผู้จำนงบุญบูชาอยู่
พุทธศาสนสุภาษิต : ผู้ครองเรือน ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ฯ
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทินฯ
โภคา สนฺนิจฺจยํ ยนฺติ วมฺมิโก วุปจียติ
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้นฯ
พุทธศาสนสุภาษิต : ภรรยา ภตฺตา ปุญฺญาณมิตฺถิยา
ภัสดาเป็นสง่าของสตรีฯ
ภตฺตารํ นาติมญฺญติ
ภรรยาดี ไม่ดูหมิ่นภัสดา
ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา
ภรรยาย่อมคล้อยตามอำนาจแห่งความพอใจของภัสดา
ภตฺตุญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชติ ปณฺฑิตา
ภรรยาผู้ฉลาดย่อมนับถือภัสดาและคนควรเคารพทั้งปวง
ภตฺตุมนา ปญฺจรติ
ภรรยาดีย่อมประพฤติเป็นที่พอใจของภัสดา
สมฺภตํ อนุรกฺขติ
ภรรยาดีย่อมคอยรักษาทรัพย์ที่ภัสดาหามาได้ไว้
สุสํวิหิตกมฺมนฺตา
ภรรยาดีเป็นผู้จัดทำการงานดี
สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ
บรรดาภิรยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
พุทธศาสนสุภาษิต : วาจา หทยสฺส สทิสี วาจา
วาจาเช่นเดียวกับใจ
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำสำนวน
ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
คนโกรธมีวาจาหยาบคาย
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน
อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์
ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิง
ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ
วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิง
ควรเปล่งวาจางาม
โมกฺโข กลฺยาณิกา สาธุ
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
มนุญฺญเมว ภาเสยฺย
ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
นามนุญฺญํ กุทาจนํ
ในกาลไหนๆ ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ
ไม่ควรกล่าววาจาที่ดี ให้เกินกาล
พุทธศาสนสุภาษิต : ความกตัญญูและพรหมวิหาร หิริโอตฺตปฺ ปิยญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ
หิริและโอตตับปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
อรติ โลกนาสิกา
ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห
อัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาเป็นลักษณะของความเป็นมหาบุรุษ
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
สพฺพญฺเจ ปฐวิง ทชฺชา เนว นํ อภิราธเย
ถึงแม้ให้แผ่นดินทั้งหมดก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
พุทธศาสนสุภาษิต : คนชั่วกับลาภสักการะ หนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ
โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ
สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
พุทธศาสนสุภาษิต : การงาน อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺติง
คนไม่เกียจคร้าน พึงได้รับความสงบใจ
สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก
อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน
นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่