KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับธรรมมะกับมนุษย์ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน ธรรมมะจากพระสงฆ์ สุปฏิปันโน เป็นข้อคิด และแนวทาง เพื่อเป็นแรงใจในการปฏิบัติภาวนาการฝึกหัดจิตให้มีสติตลอด หลวงปู่เทสก์
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: การฝึกหัดจิตให้มีสติตลอด หลวงปู่เทสก์  (อ่าน 14839 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2009, 08:37:09 PM »



หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

แสดง  ณ  วัดหินหมากเป้ง   อ.ศรีเชียงใหม่  จ.หนองคาย

วันที่ ๑๒ เมษายน  พ.ศ. ๒๕๒๔

จากหนังสือ  เทสกานุสรณ์  หน้า ๑๗๑



         วันนี้ จะเทศนาเรื่อง  การฝึกหัดจิต    จิตของคนเราต้องฝึกหัด  เช่นเดียวกับสัตว์ที่อยู่ในป่าที่เขาจับมาใช้  จะใช้งานได้ต้องฝึกต้องหัดเสียก่อน    จิตของเรายังไม่ได้ฝึกหัดก็เหมือนกับสัตว์ที่อยู่ในป่านั่นแหละ  เราจับจิตมาฝึกหัด คือ เราตั้งใจฝึกหัดจริงๆ จึงจะเรียกว่าเราฝึกหัดจิต

         การ ฝึกหัดสัตว์ป่า เช่น ช้าง เป็นต้น  พอจับได้มาเขาก็ผูกมันไว้กับต้นเสา  ตอนแรกมันก็แข็งแรงอยู่จะต่อสู้ดิ้นรนมาก  เขาจึงไม่ให้กินหญ้ากินนํ้า  หรือให้แต่เพียงเล็กน้อยพอไม่ให้ตาย  จนซูบซีดผอมลงไป  ทีนี้ก็เริ่มหัดมัน  หัดจนกระทั่งมันยอมคนขึ้นขี่คอได้  หัดให้อยู่ในอำนาจของเราทุกอย่างได้   เมื่อมันอยู่ในอำนาจของเราเรียบร้อยดีแล้ว  เราจึงให้อาหารมันกินอย่างอุดมสมบูรณ์

         การฝึกหัดจิตก็คล้ายๆกันนั่นแหละ  แต่ไม่ต้องถึงอย่างนั้น  เพราะสัตว์เป็นของภายนอกมีตัวตน  ต้องฝึกหัดด้วยการทรมาน  การฝึกหัดจิตต้องหัดด้วยอุบายวิธี  จิตเป็นของไม่มีตัว  จะขับขี่ก็ไม่ได้  จะตีก็ไม่ได้  แต่ทำให้มันอยู่ในอำนาจของตนนั้นได้  แต่ก็ยากแสนยากที่มันจะอยู่ในบังคับของเรา  ต้องฝึกฝนอบรม

         ที่ว่าคล้ายกัน คือ  ให้อดอาหารหรือฉันอาหารเพียงเล็กน้อย  เพื่อให้มันมักน้อยที่สุด  เป็นการฝึกหัดอบรมกาย แต่มันเนื่องถึงจิต    เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่เสวยพระกระยาหาร แต่ไม่สำเร็จมรรคผลนิพพาน  พระองค์จึงค่อยผ่อนเสวยพระกระยาหารทีละน้อยๆ จนกระทั่งพอดีพองาม  ฉันพอสมควรไม่ฉันฟุ่มเฟือย พอให้กายอยู่ได้ไปวันๆหนึ่ง    อาหารนั้นถ้าฉันมากจิตใจมันทื่อ  มันกำเริบเฟิบฟาย  มันไม่อยู่ในอำนาจของตน  ผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรม รับประทานอย่างอิ่มหนำสำราญก็ให้มันรับประทานเรื่อยไป    แต่ สำหรับคนที่ฝึกหัดอบรมใจนั้นจะฉันน้อยพอประมาณพอบำรุงร่างกาย  เพื่อยังชีวิตให้เป็นไปในวันหนึ่งๆเท่านั้น  แล้วก็ไม่สะสม  การสะสมเป็นเรื่องของกิเลส  ลองคิดดู ถ้าสะสมแล้วมันเป็นการพะวักพะวน ท่านจึงไม่ให้สะสม นี่พูดเฉพาะเรื่องของพระภิกษุ คือ ฉันแล้วก็ทิ้งไป ให้มันหมดเรื่องหมดราว วันหลังหาใหม่ ได้เท่าไรก็ฉันเท่านั้น ฉันเท่าที่มีอยู่    ถึงฆราวาสก็ดี ผู้ฝึกหัดจิตต้องฝึกฝนอบรมอย่างนั้น คือรับประทานมื้อเดียว  ไม่ให้เกี่ยวข้องพัวพันในเรื่องอื่นๆ  เอาปัจจุบัน  แม้ว่าจะต้องเกี่ยวข้องพัวพันบ้างก็ตาม หากลงปัจจุบันในขณะนั้นก็ไม่มีอะไร  เอาปัจจุบันเท่านั้น  ไม่คิดอดีต  อนาคต  มันถึงจะเป็นไปได้  การฝึกฝนอบรมใจมันต้องไปจากกายนี้เหมือนกัน

(webmaster - กล่าวคือ กายที่สมบูรณ์จากการกินเกินพอดี นอกจากทำให้มิทธะง่วงเหงาซึมเซาแล้ว ย่อมยังทำให้เกิดความกำหนัดคือราคะอีกด้วย หรือโผฏฐัพพะแต่ภายในเอง เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่เนื่องหรือกระตุ้นจิตให้เกิดตัณหาขึ้น  พึงเข้าใจว่า อดอาหารก็ด้วยสิ่งนี้เป็นเหตุ  มิได้ด้วยเจตนาจะทรมานตนแต่ประการใด แต่เป็นไปเพื่อการลดละความซึมเซา ตัณหาและราคะโดยตรง)

         นอก จากอบรมทางกายแล้ว  ยังต้องอบรมวาจาด้วย  พูดให้น้อย  พูดด้วยความสำรวมระวัง    การที่ว่าสำรวมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไม่ให้พูด พูดได้แต่หากว่าให้มีสติควบคุมอยู่  พูดก็รู้เรื่องว่าพูดอยู่ พูดดีชั่ว หยาบละเอียด จะพูดสักเท่าไรก็ตามแต่รู้เท่ารู้ทันอยู่ทุกขณะ เรียกว่าสำรวมวาจา  จะพูดอะไรก็พูดเถอะ  การทำอะไรก็ทำเถอะ  แต่รู้เรื่องอยู่ทุกขณะ    สติควบคุมอยู่อย่างนี้ เรียกว่า มีสติระวังกายวาจา

(webmaster - กล่าวคือ เหมือนกันทั้งกาย วาจา ใจ  จึงไม่ใช่การไปหยุดการกระทำทางกาย วาจา ใจ  แต่เป็นเมื่อกระทำทางกาย วาจา ใจ แล้วให้มีสติควบคุมอยู่  จึงไม่ใช่การปฏิบัติในลักษณะหยุดกระทำ หยุดพูด หยุดคิดเสียดื้อๆ)

         ส่วนการสำรวมระวังใจ  ถ้าอยู่เฉยๆ ใจไม่มีเครื่องอยู่  ให้เอาคำบริกรรมอันใดอันหนึ่งมาเป็นเครื่องอยู่มาเป็นหลักผูกใจ  เช่น  พุทโธ  อานาปานสติ ตามลมหายใจเข้าออก  ยุบหนอพองหนอ  หรือสัมมาอรหังก็ได้    เอาอันนั้นมาเป็นเครื่องอยู่เสียก่อน  นึกคิดอยู่เสมอๆจนเป็นอารมณ์  มีสติควบคุมจิตอยู่ตรงนั้นแหละ  จิตอยู่ที่ใดให้เอาสติไปตั้งตรงไว้ในที่นั่น  จึงจะเรียกว่าควบคุมจิต  รักษาจิต  ที่จะห้ามไม่ให้คิดไม่ให้นึกนั้น ห้ามไม่ได้เด็ดขาด  ธรรมดาของจิตมันต้องมีคิดมีนึก แต่หากมีสติควบคุมจิตอยู่เสมอ คิดนึกอะไรก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เรียกว่า บริกรรมภาวนา

         การบริกรรมภาวนานี้ มิใช่ของเลว คนบางคนเข้าใจว่าเป็นของเลว เป็นเบื้องต้น ที่จริงไม่ใช่เบื้องต้น   ธรรมไม่มีเบื้องตน ท่ามกลาง ที่สุดหรอก ธรรมะอันเดียวกันนั่นแหละ   ถ้าหากสติอ่อนเมื่อไรก็เป็นเบื้องต้นเมื่อนั้น   สติแก่กล้าเมื่อไรก็เป็นท่ามกลางและที่สุดเมื่อนั้น  คือหมายความว่าสติคุมจิตอยู่ทุกขณะ  จนกระทั่งเป็นมหาสติปัฏฐาน  จะยืน  เดิน  นั่ง  นอน ในอิริยาบถใดๆทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ  แต่มันเป็นของมันเอง  สติ ควบคุมจิตไปในตัว   เมื่อมีสติเช่นนั้นมันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่างๆ    เมื่อตาเห็นรูป  หูได้ยินเสียง  ลิ้นลิ้มรสต่างๆ  กายได้สัมผัส  มันก็เป็นสักแต่ว่า  สัมผัสแล้วก็หายไปๆ  ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์  ไม่เอามาคำนึงถึงใจ  อันนั้นเป็น มหาสติ  แท้ทีเดียว

(webmaster - ถ้าบริกรรมอย่างมีสติ หมายถึงไม่ปล่อยให้เลื่อนไหลไปลงภวังค์ กล่าวคือไม่ลงลึกไปในฌานหรือสมาธิอันละเอียดจนเคลิบเคลิ้มท่องเที่ยวไปในภวังค์หรือเพลิดเพลินไปในนิมิต  ก็จักเกิดประโยชน์อย่างมาก  จะทำให้เห็นจิตคือคำบริกรรมนั้นๆ อันย่อมเป็นจิตสังขารอย่างหนึ่ง จึงเป็นการฝึกให้เห็นจิตหรือจิตสังขารอย่างหนึ่งหรือจิตตานุปัสสนาอย่างหนึ่งอย่างดียิ่ง ที่เมื่อสั่งสมอย่างถูกต้องดีงามแล้วก็จะเกิดอาการเห็น จิตมีโทสะ จิตมีราคะ จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ ฯ.   ตลอดจนยังเป็นวิหารธรรมหรือเครื่องอยู่ของจิต จิตจึงไม่ส่งออกไปปรุงแต่งฟุ้งซ่าน)

         ถ้าจิตอ่อนเมื่อไร จิตจะส่งไปตามอายตนะทั้ง ๖ เมื่อนั้น  เช่น  ตาได้เห็นรูปอะไร  หูได้ยินเสียงอะไร  มันก็จะพุ่งไปตามรูปที่ เห็น  เสียงที่ได้ยินนั้นแหละ    เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องเอาบริกรรมมา ใช้อีก  ให้จิตมันอยู่กับบริกรรมนั้นอีก   บริกรรม คือ สัมมาอรหัง  พุ ทโธ  อานาปานสติ  อะไรต่างๆก็ตาม ที่ท่านสอนแต่ละสำนักนั้น  มันเป็นไปตาม ความชำนาญของแต่ละท่าน มันเป็นนโยบายของท่านต่างหาก  แท้ที่จริงก็อันเดียวกันนั่นแหละ  ใครจะเลือกภาวนาบริกรรม อันใดก็ได้  ความต้องการคือ มุ่งหมายเอาสติอย่างเดียว  เพื่อตั้งสติให้มั่นคง  จึงว่าคำบริกรรมเป็นคู่กับการฝึกหัดจิต  คำบริกรรมเปรียบเหมือนกับเครื่องล่อจิต  เหมือนกับเด็กเล็กๆที่มันร้องไห้ เราเอาขนมมาล่อให้มันกิน  มันก็หยุดร้อง   จิตของเราก็ยังเป็นเด็กอยู่เหมือนกัน คือว่ายังไม่เป็นผู้ใหญ่ ยังรักษาตัวเองไม่ได้  ยังต้องอาศัยคำบริกรรมอยู่ จึงเรียกว่าเป็นเด็ก   คน เฒ่าคนแก่กระทั่งผมหงอกผมขาวก็ตาม  ถ้ายังควบคุมจิตของตนไม่ได้ก็ยังเป็นเด็กอยู่นั่นแหละ   ถ้าหากควบคุมจิตได้แล้ว  แม้จะเป็นเด็กก็ตามนับเป็นผู้ใหญ่ได้    ในพุทธศาสนา  ผู้บวชตั้งร้อยพรรษา  โดยธรรมแล้ว  ถ้าควบคุมจิตไม่ได้ก็เรียกว่ายังเป็นเด็กอยู่  องค์ใดบวชในพรรษานั้นแต่ว่าควบคุมจิตได้  ก็เรียกว่าเป็นเถระ  การรักษาจิตควบคุมจิตจึงต้องมีเครื่องอยู่  ได้แก่  การบริกรรม

         จิต เป็นของสูงๆตํ่าๆ คือ ฝึกหัดไม่สมํ่าเสมอ  สูงหมายถึงว่าเจริญขึ้นไป คือ มีสติควบคุมอยู่  ขณะที่มีสติควบคุมอยู่ก็กล้าหาญเด็ดเดี่ยว  ต่อสู้กับอารมณ์ได้ อะไรมาก็ไม่กลัว   พอสัมผัสมากระทบเข้าจริงๆจังๆ อ่อนปวกลงไปเลย นั่นมันตํ่าลงไปแล้ว มันไม่เป็นผู้ใหญ่  ดังนั้นจึงต้องหัดสติตัวนี้ให้แก่กล้า  ให้แข็งแรงที่สุด

         ใน พุทธศาสนานี้มีการฝึกหัดสติอันเดียว  การฝึกหัดเรื่องอะไรก็ตาม  ฝึกหัดสติอันเดียวเท่านั้น    พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนสาวกทั้งหลายแต่ก่อนนี้ ก็ทรงสอนให้ฝึกสติอันเดียวเท่านั้น  ทรงสอนฆราวาสก็เหมือนกัน ทรงสอนเรื่องสติ  ให้มนุษย์คนเราพากันมีสติ    พวกเราก็พากันถือคำสอนของพระองค์นั่นแหละมาพูด เช่น พอพลั้งๆเผลอๆ ก็ว่า ไม่มีสตินี่  ก็พูดกันไปอย่างนั้นแหละ  ตัวผู้พูดเองก็ไม่รู้เรื่องว่าตัวสติมันเป็นอย่างไร  พูดไปเฉยๆ อย่างนั้นแหละ  มิหนำซํ้าบางคนไม่มีสติอยู่แล้ว ยิ่งไปดื่มสุรายาเมาเข้า ยิ่งไปใหญ่จนเสียสติเป็นบ้าไปก็มี    เหตุนี้จึงว่า คำสอนของพุทธศาสนาทั้งหมดมาลงที่สติอันเดียว  ตั้งแต่เบื้องต้นก็สอนสติ  ท่ามกลาง  ที่สุดก็สอนสติ  เป็นศาสนาที่สอนถึงที่สุด  แต่คนทำนั่น ทำสติไม่ถึงที่สุดสักที  ทำมากี่ปีกี่ชาติก็ไม่สมบูรณ์สักที  พระพุทธเจ้าพระองค์ใดก็ทรงสอนสติตัวเดียวนี้

         เรา เกิดมากี่ภพกี่ชาติก็มาหัดสติตัวเดียวนี้  แต่ก็หัดสติไม่สมบูรณ์สักที  เหตุนั้นจึงควรที่พวกเราจะพากันรีบเร่งหัดสติทุกคนแต่บัดนี้    อายุอานามมาถึงป่านนี้แล้ว  เรียกว่าจวนเต็มที  จวนจะหมดสิ้น  จวนจะตายอยู่แล้ว  ไม่ทราบว่าจะตายวันไหน   ควรที่จะหัดสติให้อยู่ในเงื้อมมือของตนให้ได้  อย่าให้จิตไปอยู่ในเงื้อมมือของความหลงมัวเมา  ผู้ใดจิตไม่อยู่ในอำนาจของตนก็ชื่อว่าเราเกิดมาแล้วเสียเปล่า  ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียเปล่า  เปล่าจากประโยชน์

         อย่า ให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของกิเลส  ให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของสติ  สติเป็นตัวระมัดระวัง  อันนั้นแหละเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยแท้   ถ้าจิตอยู่ใต้อำนาจของกิเลสแล้วหมดท่า  ตัวของเราจึงเป็นทาสของกิเลส  เหตุนั้นจึงควรที่จะพากันรู้สึกตัว  ตื่นตัวเสียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  แล้วฝึกอบรมกัมมัฏฐาน

         การอบรมกัมมัฏฐานนั้น  ทุกคนต้องอบรมเหมือนกันหมด  มิใช่อบรมเฉพาะพระภิกษุ  สามเณร  แม่ชี  อุบาสกอุบาสิกาเท่านั้น  การฝึกหัดธรรมะก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ  ถือพุทธศาสนาก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ  มีสติสมบูรณ์บริบูรณ์ก็เรียกว่าถึงศาสนา  ถ้ายังไม่มีสติเสียเลยก็เรียกว่ายังไม่ถึงศาสนา  เอาละ  วันนี้เทศน์ให้ฟังเพียงเท่านี้  เอวํฯ

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.nkgen.com/tess802.htm
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: