KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับรวมรูปภาพต่างๆเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พาเที่ยววัด ใน Kammatan.com Galleryบทความดีๆ เกี่ยวกับธรรมะคุณสมบัติของพระโสดาบัน
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คุณสมบัติของพระโสดาบัน  (อ่าน 15994 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 02:28:36 PM »

คุณสมบัติของพระโสดาบัน

 พระโสดาบัน หมายถึงบุคคลที่สามารถในการเริ่ม*ละสังโยชน์ ๓ ข้อแรก(เริ่มละความหลงหรืออวิชชา)ได้บ้างแล้ว ด้วยการเริ่มมีความรู้หรือความเข้าใจในเรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง(มีดวงตาเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอน)  รายละเอียดของสังโยชน์ ๓ ข้อที่พระโสดาบันเริ่มละได้ มีดังนี้

           ๑. ความเห็นว่าเป็นตัวของตนด้วยกิเลส(สักกายทิฏฐิหรือสังโยชน์ข้อที่ ๑) คือ การมีความเห็นหรือความคิดที่ยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสว่า ร่างกายและจิตใจ(ขันธ์ ๕)ที่มีอยู่นี้ เป็นเรา หรือเป็นของเรา หรือต้องเป็นไปตามที่เราปรารถนา หรือคงอยู่ตลอดไป(มีอุปาทานขันธ์ ๕ หรือมีอัตตา) ทั้งที่ร่างกายและจิตใจเป็นไตรลักษณ์ คือ เป็นของไม่เที่ยง(อนิจจตา) คงสภาพอยู่อย่างเดิมไม่ได้(ทุกขตา) ต้องเสื่อมสลายหรือดับไปเป็นธรรมดา(อนัตตา) จะช้าหรือเร็วก็แล้วแต่ เหตุปัจจัย.

           ข้อความที่ว่า “ความเห็นว่าเป็นตัวของตน” เป็นความหมายของสักกายทิฏฐิในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ซึ่งเข้าใจได้ยาก น่าจะใช้ภาษายุคปัจจุบันว่า “ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕” แทน.

           ตามธรรมชาติและความเป็นจริงแล้ว เมื่อเรายังมีชีวิตและมีสติสัมปชัญญะอยู่ ชีวิต(ร่างกายและจิตใจ)นี้เป็นเรา หรือเป็นของเรา และเราก็อยากให้เป็นไปตามที่เราปรารถนาด้วยกันทั้งนั้น แต่ขอเพียงอย่างเดียวคือ อย่าคิดด้วยกิเลสเท่านั้นเอง. ถ้าไม่คิดด้วยกิเลส ความเป็นตัวของตน(สักกายทิฏฐิ)ด้วยกิเลสก็จะไม่เกิดขึ้นในจิตใจ.

           ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ นั้น เกิดขึ้นจากการวิวัฒนาการทางจิตใจของมนุษย์เพื่อความอยู่รอดของชีวิต. ดังนั้น มนุษย์จึงมีข้อมูลของความยึดมั่นถือมั่นฝังแน่นอยู่ในความจำ(อาสวะหรือ อวิชชาสวะ) และครอบงำจิตใจให้คิดด้วยความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ อยู่เสมอ.
การมีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ (สักกายทิฏฐิ) ก็เพราะมีความหลง.

๒. ความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉาหรือสังโยชน์ข้อที่ ๒) คือ ความไม่รู้แจ้งชัดในอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ(มีความหลงหรือมีอวิชชา) จึงทำให้ยังมีความลังเลสงสัยในอริยสัจ ๔ เพราะยังรู้ไม่หมด.

          ตัวอย่างเรื่องความลังเลสงสัยที่ช่วยให้เข้าใจความหมายได้ง่าย คือ เมื่อเรียนจบวิชาใดด้วยคะแนนที่ดี เป็นการแสดงว่า มีความรู้ในวิชานั้นดี. การมีความรู้ดีในวิชาใด ก็จะไม่มีความลังเลสงสัยในวิชานั้น ๆ อีกต่อไป.
การมีความลังเลสงสัยในอริยสัจ ๔ (วิจิกิจฉา) ก็เพราะมีความหลง.

 ๓. ความถือมั่นศีลพรตต่าง ๆ นอกพระพุทธศาสนา(สีลัพพตปรามาสหรือสังโยชน์ข้อที่ ๓) คือ ความคิดที่ยึดมั่นถือมั่นในข้อปฏิบัติ(ศีลพรต)ต่าง ๆ เพื่อการดับความทุกข์ที่ไม่ตรงกับวิธีการในมรรคมีองค์ ๘ เช่น การขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ การทรงเจ้าเข้าผี ดูหมอ บนบานศาลกล่าว ปล่อยสัตว์เพื่อแก้กรรม เป็นต้น.

            ความคิดที่ยึดมั่นถือมั่นในข้อปฏิบัติ(ศีลพรต)ต่าง ๆ นอกพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นจากการไม่มีความรู้แจ้งชัดในอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ(มีความหลงหรือมีอวิชชา) จึงทำให้ไม่สามารถดับกิเลสและกองทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

            ข้อความที่ว่า “ความถือมั่นศีลพรตต่าง ๆ นอกพระพุทธศาสนา” นั้น น่าจะใช้ภาษาในยุคปัจจุบันว่า “การปฏิบัติธรรมที่ไม่ตรงกับมรรคมีองค์ ๘ “.
การมีความยึดมั่นถือมั่นในศีลพรตต่าง ๆ นอกพระพุทธศาสนา(สีลัพพตปรามาส) ก็เพราะมีความหลง.

            สังโยชน์ข้อที่ ๑ - ๓ เป็นเรื่องของความหลง(อวิชชา) การจะเริ่มลดหรือเริ่มละความหลง(เริ่มดับอวิชชา)ได้นั้น จำเป็นจะต้องศึกษาอริยสัจ ๔ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามสมควร.

            บุคคลที่ดับความหลงได้หมด(เสร็จกิจทางธรรม) คือ พระอรหันต์.

            พระโสดาบันจึงเป็นเพียงผู้เริ่มดับความหลง*(เริ่มดับอวิชชา) เพราะเพิ่งเริ่มศึกษาอริยสัจ ๔ และฝึกปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ อย่างถูกต้อง. ดังนั้น พระโสดาบันจึงต้องมีกิจที่ต้องทำอีก คือ ต้องศึกษาอริยสัจ ๔ และฝึกปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพิ่มเติมอีก จนกว่าจะพ้นความทุกข์ได้อย่างต่อเนื่อง(เป็นพระอรหันต์).

           เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ยังต้องศึกษา ทบทวน และปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเสื่อมหายของข้อมูลทางธรรมในความจำ และเพิ่มความรู้และความสามารถทางธรรมให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป็นผลให้มีข้อมูลทางธรรมในการสั่งสอนผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ.



ขอบพระคุณข้อมูลจาก : http://www.watnai.org
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 04, 2010, 02:31:53 PM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 02:28:45 PM »

การละกิเลสของอริยบุคคลระดับต่าง ๆ

            ธรรมชาติ ของมนุษย์เมื่อมีความหลง(มีอวิชชา) จะไม่สามารถควบคุมความคิดไม่ให้คิดด้วยกิเลสได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดการคิดด้วยกิเลส(เกิดสังขารในปฏิจจสมุปบาท).

            เมื่อมีการคิดด้วยกิเลส(คิดด้วยความโลภหรือโกรธ)ซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็จะทำให้เกิดความทะยานอยาก(เกิดตัณหา)ที่จะให้ได้มาตามความคิดที่เป็น กิเลส.
เมื่อคิดด้วยความทะยานอยากซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็จะทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น(เกิดอุปาทาน)ที่จะต้องให้ได้มาตามความคิด ที่เป็นกิเลส ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์.

            เนื่องจากหัวหน้าใหญ่ของกิเลส คือ ความหลง(อวิชชา) ดังนั้น การดับความหลงได้หมด(มีวิชชา) จะทำให้สามารถควบคุมความคิดไม่ให้คิดด้วยกิเลสได้อย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ความทะยานอยากและความยึดมั่นถือมั่นไม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วย.

           ในสมัยพุทธกาล พระโสดาบัน คือ บุคคลที่มาฟังธรรม(ศึกษาธรรม)แล้วเริ่มมีความรู้ในเรื่องอริยสัจ ๔ ที่ถูกต้องและครบถ้วนตามสมควร เรียกว่า ผู้มีดวงตาเห็นธรรม แต่เนื่องจากพระโสดาบันยังมีกิเลส(โลภ โกรธ หลง)เหลืออยู่มาก ดังนั้น พระโสดาบัน จึงเป็นเพียงผู้เริ่มดับความหลง(เริ่มดับอวิชชา)

           พระสกิทาคามี คือ บุคคลที่มีกิเลส(โลภ โกรธ หลง)ลดน้อยลงตามลำดับ.

           พระอนาคามี คือ บุคคลที่ละกิเลสที่เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำได้หมด.

           พระอรหันต์ คือ บุคคลที่ดับความหลง(ดับอวิชชา)ได้หมดสิ้น จึงไม่คิดด้วยกิเลส(ไม่มีสังขารในปฏิจจสมุปบาท) และไม่มีความทุกข์ที่เกิดจากความคิดที่เป็นกิเลสอีกเลย คงมุ่งปฏิบัติตนตามโอวาทปาฏิโมกข์ จิตใจจึงมีความบริสุทธิ์ผ่องใส เข้าถึงภาวะความดับทุกข์(นิโรธหรือนิพพาน)ได้อย่างต่อเนื่อง.
ระดับของ พระอริยบุคคลหรือความสามารถในการดับกิเลสนั้น ไม่ใช่เรื่องของอดีตหรืออนาคต แต่เป็นเรื่องของความรู้และความสามารถด้านสติปัญญาทางธรรมที่ใช้ดับกิเลสใน ปัจจุบันขณะเท่านั้น.

           ความรู้และความสามารถทั้งทางโลกและทางธรรมเป็นไตรลักษณ์ เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง ซึ่งสมองเป็นเพียงส่วนหนึ่งของร่างกาย และร่างกายนี้เป็นไตรลักษณ์. ดังนั้น ความรู้และความสามารถในการดับกิเลสของอนาคตจึงไม่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยต่าง ๆ ในอนาคต และก็เป็นไตรลักษณ์เช่นกัน.
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 02:29:34 PM »

พระโสดาบันคือบุคคลที่เริ่มละความหลงได้

            การละความหลง(ละอวิชชา) หรือละสังโยชน์ข้อที่ ๑ ถึง ๓ ได้หมดจริง ๆ (ละได้ ๑๐๐%)นั้น น่าจะเป็นพระอรหันต์เท่านั้นที่ทำได้.
พระ โสดาบันจึงเป็นผู้ที่เริ่มละความหลง(เริ่มดับอวิชชา)ได้* คือ เริ่มมีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ รวมทั้งมีความรู้เรื่องไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง(ไตรลักษณ์มีอยู่ในเรื่อง สติปัฏฐาน ๔ ).

            นางวิสาขา เมื่ออายุได้ ๗ ขวบ พร้อมกับเพื่อนทั้งหมด เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว ต่างก็มีดวงตาเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอน จึงเป็นพระโสดาบันทั้งหมด เพราะเริ่มรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง.

            ท่านอุปติสสะ(ชื่อเดิมของพระสารีบุตร)ได้ฟังธรรมเรื่องอริยสัจ ๔ จากพระอัสสชิ(หนึ่งในปัญจวัคคีย์)เพียงครั้งเดียว เมื่อฟังจบ ก็เริ่มมีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง หรือมีดวงตาเห็นธรรมตามความเป็นจริง จึงเป็นพระโสดาบัน.

            ในวันเดียวกัน ท่านอุปติสสะได้ไปเล่าเรื่องอริยสัจ ๔ ที่จดจำมาได้ให้กับท่านโกลิต(ชื่อเดิมของพระโมคคัลลานะ)ฟัง เมื่อท่านโกลิตฟังจบ ก็เริ่มมีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง หรือมีดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันในวันเดียวกันนั้นเอง.

            โจรองคุลิมาล ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว เมื่อฟังจบก็เริ่มมีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง หรือมีดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันทันที.

            พระเจ้าสุทโธทนะ(พระราชบิดาของพระพุทธเจ้า) ประทับยืนฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าบนถนนเพียงครั้งเดียว เมื่อทรงฟังธรรมจบ ก็เริ่มมีความรู้ในอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง หรือเป็นผู้ที่มีพระเนตรเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จึงเป็นพระโสดาบัน.

            จะเห็นได้ว่า การเป็นพระโสดาบันนั้น ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป ขอเพียงให้ท่านได้ศึกษาอริยสัจ ๔ ด้วยสติปัญญาอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามความเป็นจริง เพื่อเริ่มดับความหลง(เริ่มดับอวิชชา)ได้ตรงประเด็น ซึ่งมีเนื้อหาไม่มากนัก(เปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือเดียว) เพราะใช้เวลาสั้น ๆ ในการฟังธรรมเพียงครั้งเดียว.


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watnai.org
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: